วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ย. 2024, 17:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 23:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[ภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ “พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ภายหลังแสดง
พระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา” : สร้างสรรค์โดย อ.จักรพันธ์ โปษยกฤต]



ความเข้าใจในพระอภิธรรม :
เปรียบเทียบเถรวาทและมหายาน
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

• ค ว า ม เ ป็ น ม า พ ร ะ อ ภิ ธ ร ร ม

อภิธรรมปิฎก เป็นเรื่องที่นักปราชญ์ทางศาสนาตั้งข้อสังเกตว่า
เป็นพุทธพจน์หรือไม่ หรือเป็นคัมภร์ในชั้นหลัง
และมีที่มาที่ไปอย่างไร
มีปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฎกอื่นหรือไม่
เหล่านี้ทั้งหมดก็ยังมีส่วนในการตั้งข้อสังเกตถามกันอยู่เสมอมา

สำหรับพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทนั้นไม่มีข้อสังสัยว่า
อภิธรรมปิฎกนั้นเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
โดยให้คำอธิบายว่า
หลักปรมัตถธรรมที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎกนั้น
ก็ปรากฏอยูในพระสูตรนั่นเอง


ยังมีหลักฐานในการสนับสนุนว่า
พระอภิธรรมนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้หลายครั้ง


ในครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ ๔ หลังการตรัสรู้
พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาพระอภิธรรม
ณ รัตนฆรเจดีย์ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์

ต่อมาในพรรษาที่ ๗
หลังจากทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ทรมานนิครนถ์แล้ว
พระพุทธเจ้าก็เสด็จไปทรงแสดงพระอภิธรรม
แสดงโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นเวลานาน ๓ เดือน

ข้อความเหล่านี้ปรากฏใน คัมภีร์อรรถกถาอัฏฐสาลินี
คัมภีร์ปรมัตถทีปนี และ ธัมปทัฏกถา ที่ระบุชัดว่า


“พระพุทธเจ้าทรงดำริว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว
เสด็จไปจำพรรษา ณ ภพดาวดึงส์...”


พระอภิธรรมนั้นทรงแสดงโปรดพระมารดาเป็นประธาน
พร้อมทั้งเทพยดาทั้งหลาย
เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อพระพุทธมารดา


นอกเหนือจากนั้น
พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระอภิธรรมแก่พระสารีบุตร
ณ ป่าไม้จันทร์แดง ใกล้สระอโนดาต
โดยแสดงกถาวัตถุโดยย่อไว้
พระสารีบุตรแสดงต่อพระภิกษุทั้งหลาย ๖ หมวด
คือ ธรรมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ ยมก และปัฏฐาน

ในอังคุตตรนิกายมีข้อความว่า

“พระภิกษุทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต
ภายหลังแห่งภัตแล้ว
ประชุมสันนิบาตสนทนาพระอภิธรรมกันอยู่...”


ในพระวินัยปิฎกแห่งมหาวิภังค์ปรากฏข้อความว่า

“ภิกษุเหล่าใดศึกษาอภิธรรม ภิกษุเหล่านั้นรวมเป็นคณะ
พระทัพพมัลลบุตรเถระจัดเสนาสนะไว้ด้วยคิดว่า
ท่านเหล่านี้จักมีธรรมสากัจฉาพระอภิธรรมกัน....”


ยังมีข้อความในพระวินัยอีกว่า

“ภิกษุณีผู้ถามปัญหาแก่ภิกษุ
ขอโอกาสอันใดต้องถามอันนั้น

ถ้าขอโอกาสถามพระสูตรแล้ว
กลับไปถามพระวินัยก็ดี
ถามพระอภิธรรมก็ดี
เป็นอาบัติปาจิตตีย์...”


ในคราวปฐมสังคายนา
พระมหากัสสปะถามอภิธรรมต่อพระอานนท์
และพระอานนท์เป็นผู้เฉลย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์เหล่านี้
คือข้อความสนับสนุนความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎก


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 00:06, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[ภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ “พระพุทธเจ้าในทิพยสถาน”
: สร้างสรรค์โดย อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]



• โ ค ร ง ส ร้ า ง พ ร ะ อ ภิ ธ ร ร ม

พระอภิธรรมปิฎก คือประมวลพระพุทธพจน์ที่ว่าด้วยปรมัตถธรรม
ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และสถานที่
คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
โดยที่เรียกเพียงสั้นๆ หรือที่เรียกว่าหัวใจพระอภิธรรม คือ จิ เจ รุ นิ
ว่าโดยพระธรรมขันธ์มีถึง ๔๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

คัมภีร์พระอภิธรรมมีทั้งหมด ๗ พระคัมภีร์
และมีรายละเอียดโดยย่อ ดังนี้

๑. ธรรมสังคณี (A Buddhist Manual Psychological Ethics)

เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยการจัดสภาวธรรม
ให้เข้าเป็นหมวดหมู่ แม่บทเรียกว่า มาติกา
ที่มีทั้งอภิธรรมมาติกา และ สุตตันติกทุกมาติกา

โดยแบ่งออกเป็น มาติกา

คือ ทุกมาติกา มี ๒ บทในแต่ละหมวด
เมื่อรวมแล้วได้ ๑๐๐ หมวด

เช่น เหตุ ธัมมา, น เหตุ ธัมมา และติกมาติกามี ๓ บท

ในแต่ละหมวดเมื่อรวมแล้วมี ๒๓ หมวด
เช่น กุสลาธัมมา อกุสลาธัมมา , อัพยากตาธัมมา

ในการแบ่งตามมาติกาข้างต้น
ธรรมสังคณีแบ่งออกเป็น กัณฑ์ คือ

๑) จิตตุปปาฑกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องจิตและเจตสิก
๒) รูปกัณฑ์ ว่าด้วยเรื่องรูป
๓) นิกเขปกัณฑ์ การนำเอามาติกามาแสดงได้อย่างเหมาะสม
๔) อัฏฐกถากัณฑ์ ว่าด้วยการนำเอาองค์ธรรมมาแสดง


๒. วิภังค์ (The Book of Analysis)

เป็นคัมภีร์ที่จำแนกมาติกาในธรรมสังคณีออกเป็น ๑๘ วิภังค์
เช่น ขันธวิภังค์ อายตนวิภังค์ ธาตุวิภังค์สัจจวิภังค์ อินทริยวิภังค์
ปฏิจจสมุปบาทวิภังค์ สติปัฏฐานวิภังค์
เป็นต้น

๓. ธาตุกถา (Discourse of Element)

เป็นคัมภีร์ที่อธิบายเรื่องขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘
โดยเอามาติกามาแสดงให้เข้ากันได้
หรือเข้ากันไม่ได้กับขันธ์อายตนะและธาตุ

(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 28 ธ.ค. 2009, 23:57, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 23:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

๔. ปุคคลาบัญญัติ (Designation of Human Types)

เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยบัญญัติ คือการประกาศแสดงหรือชี้แจงในเรื่อง คือ

๑) ขันธบัญญัติ
๒) อายตนบัญญัติ
๓) ธาตุบัญญัติ
๔) สัจจบัญญัติ
๕) อินทริยบัญญัติ
๖) ปุคคลบัญญัติ


๕. กถาวัตถุ (Points of Controversy)

เป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยกถาของฝ่ายปรวาที
คือวาทะที่ไม่ตรงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งมีอยู่ ๒๒๖ กถา มีคำถามอยู่ ๕๐๐ คำถาม

และกถาของฝ่ายสกวาที
คือวาทะที่ตรงกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีอยู่ ๕๐๐ คำตอบ
ลักษณะการถามและตอบนั้นเต็มไปด้วยตรรกะที่ถือว่า
เป็นคัมภีร์ทางพุทธตรรกวิทยาเล่มแรก


๖. ยมก (Pairs of Dialoque)

เป็นคัมภีร์ว่าด้วยการถาม-ตอบ สภาวธรรม
ทั้งที่เป็นอนุโลม และปฏิโลมเป็นคู่ๆ
โดยยกสภาวธรรม ๑๐ หมวดมาเป็นบทตั้ง
ซึ่งเรียกว่า ยมก คือ เป็นคู่ ได้แก่

๑) มูลยมก
๒) ขันธยมก
๓) อายาตนยมก
๔) ธาตุยมก
๕) สัจจยมก
๖) สังขารยมก
๗) อนุสยยยมก
๘) จิตตยมก
๙) ธัมมยมก
๑๐) อินทริยยมก


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 00:11, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 23:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ
[ภาพจิตรกรรมพุทธศิลป์ “ฉัพพรรณรังสี”
: สร้างสรรค์โดย อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์]



๗. ปัฏฐาน (Conditional Relation)

เป็นคัมภีร์การนำมาติกาทั้งหมดมาแสดงด้วยปัจจัย ๒๔ ปัจจัย
ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันและกัน

คัมภีร์ปัฏฐานเป็นคัมภีร์ที่ยาวและมีเนื้อหาอันละเอียดลึกซึ้ง
แบ่งเป็น ภาค ในที่นี้จะแสดงปัจจัยทั้ง ๒๔ ปัจจัย เอาไว้ให้ได้ทราบ ดังนี้


๑) เหตุปัจจัย
๒) อารัมณปัจจัย
๓) อธิปัตติปัจจัย
๔) อนันตรปัจจัย
๕) สมนัตตรปัจจัย
๖) สหปัจจัย
๗) อัญญมัญญปัจจัย
๘) นิสสยปัจจัย
๙) อุปนิสสยปัจจัย
๑๐) ปุเรชาตปัจจัย
๑๑) ปัจฉาชาตปัจจัย
๑๒) อาเสวนปัจจัย
๑๓) กัมปัจจัย
๑๔) วิปากปัจจัย
๑๕) อาหารปัจจัย
๑๖) อินทริยปัจจัย
๑๗) ฌานปัจจัย
๑๘) มัคคปัจจัย
๑๙) สัมปยุตตปัจจัย
๒๐) วิปปยุตตปัจจัย
๒๑) อัตถปัจจัย
๒๒) นัตถิปัจจัย
๒๓) วิคตปัจจัย
๒๔) อวิคตปัจจัย


คัมภีร์พระอภิธรรมนี้ ถือว่าเป็นหลักธรรมที่มีความละเอียดลึกซึ้ง
ต้องอาศัยสติปัญญาในการพิจารณาอย่างมาก


ยังมีคัมภีร์พระอภิธรรมอีกเล่มหนึ่ง
ที่แสดงความพิสดารของจิต เจตสิก รูป นิพพาน เอาไว้เช่นกัน
ได้แก่ คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ
ที่รจนาโดย พระอนุรุธาจารย์ ชาวศรีลังกา
ได้แบ่งพระปรมัตถธรรมไว้ดังนี้

o จิต โดยย่อมี ๘๙ ดวง

โดยพิสดารแบ่งตามองค์ฌานของพระอรหันต์มี ๑๒๑ ดวง
แบ่งตามนัยนี้ คือ กุศล ๓๗ อกุศล ๑๒ วิปากจิต ๕๒ กิริยาจิต ๒๐

o เจตสิกมี ๕๒ ดวง

ได้แก่ อัญญสมานเจตสิก ๑๓ อกุศลเจตสิก ๑๔ โสภณเจตสิก ๒๕

o รูปมี ๒๘ รูป

ทั้งที่เป็น มหาภูตรูป ๔ และอุปทายรูป ๒๔

o นิพพานมี ๑ หรือ ๕ ตามลักษณะของนิพพาน ได้แก่

๑. สอุปาทิเสสนิพพาน
๒. อนุปาทิเสสนิพพาน
๓. สุญญตนิพพาน
๔. อนิมมิตตนิพพาน
๕. อัปปนิหิตนิพพาน


(มีต่อ)


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 00:00, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 23:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 เม.ย. 2007, 17:21
โพสต์: 4148

อายุ: 0
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

• พ ร ะ อ ภิ ธ ร ร ม ปิ ฎ ก ม ห า ย า น

อภิธรรมปิฏกในฝ่ายของมหายานนั้น
หมายความว่า พระไตรปิฎกที่ถูกแปลจากภาษาสันสกฤตไปสู่ภาษาจีน
และภาษาอื่นๆ ตามประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน


พระอภิธรรมปิฎกที่แปลไปสู่ภาคภาษาจีน
เป็นพระอภิธรรมที่แปลได้จำนวนมาก
และมาจากต้นฉบับที่หลากหลายนิกาย

แต่นิกายที่มีพระไตรปิฏกครบถ้วนทุกปกรณ์
เมื่อเทียบกับพระอภิธรรมปิฎกภาษาบาลีคือ นิกายสรวาสติวาท


ดังนั้นจีนจึงแปลมาจากนิกายนี้เป็นส่วนมาก
ยิ่งไปกว่านั้น นิกายสรวาสติวาทนั้นยังถือว่า
ให้ความสำคัญคืออภิธรรมปิฎกเป็นพิเศษ
จนได้นามว่า นิกายอภิธรรม เหมือนดังนิกายโคกุลิกะด้วย

อภิธรรมที่ได้รับการยอมรับว่า มีอายุเก่าแก่
ได้แก่อภิธรรม ๖ ปกรณ์ เรียกว่า “ษัฑปาทาภิรรม”


๑. อภิธรรมสังคีติบรรยายปาทศาสตร์

แปลเป็นภาษาจันโดยสมณเฮี่ยงจังได้ ๒๐ ผูก แบ่งเป็น ๑๒ วรรค
เทียบได้กับคัมภีร์ธัมมสังคณีของฉบับบาลี

๒. อภิธรรมสกันธปาทศาสตร์

แบ่งเป็น ๒๑ ขันธะ เทียบได้กับคัมภีร์วิภังค์ของฉบับบาลี

๓. อภิธรรมปรัชญาปติปาทศาสตร์

แปลเป็นภาษาจีนโดยพระธรรมปาละ
เป็นหนังสือได้ ๗ ผูก แต่ก็ยังไม่ค่อยสมบูรณ์

๔. อภิธรรมวิชญาณกายปาทศาสตร์

แปลเป็นภาษาจันโดยสมณเฮี่ยงจัง
เป็นหนังสือได้ ๑๖ ผูก แบ่งเป็น ๖ ขันธะ
เทียบได้กับคัมภีร์กถาวัตถุของฉบับภาษาบาลี

๕. อภิธรรมปกรณะปาทศาสตร์

แปลเป็นภาษาจันโดยสมณเฮี่ยงจัง
เป็นหนังสือได้ ๑๖ ผูก แบ่งเป็น ๖ ขันธะ
และยังมีฉบับแปลของพระคุณภัทรแลพระโพธิยศะด้วย

๖. อภิธรรมธาตุกายปาทศาสตร์

แปลเป็นภาษาจีนโดยสมณเฮี่ยงจังเป็นหนังสือได้ ๓ ผูก

ยังมีคัมภีร์อื่นอีกที่ได้รับการยอมรับจากมหายานว่า
มีหลักธรรมอันลึกซึ้งเป็นอภิธรรมของมหายาน

ได้แก่ “คัมภีรชญาณปรสถานศาสตร์”
ที่เป็นเหมือนคัมภีร์อรรถกถาของคัมภีร์อภิธรรม
ทั้งหมด ๖ ปกรณ์ข้างต้น โดยแบ่งออกเป็น ๘ ขันธะ
ทั้ง ๗ ปกรณ์นี้จังได้ชื่อว่า “สัตตปกรณ์”

อีกคัมภีร์หนึ่งคือ “มหาวิภาษาศาสตร์”
เป็นคัมภีร์ที่อรรถาธิบายทั้ง ๗ ปกรณ์ข้างต้นอีกทีหนึ่ง
และยังรวมมติของคณาจารย์ทางพระพุทธศาสนานิกายอื่นๆ
และยังรวมถึงมติของปรัชญาฮินดูเอาไว้ด้วย


เชื่อว่า คัมภีร์มหาวิภาษาศาสตร์ นี้ ท่านอาศวโฆษเป็นผู้แต่ง
เป็นโศลกได้ ๑ แสนโศลก
แปลเป็นภาษาจีนได้ ๒ ฉบับ
คือ ฉบับของท่านพุทธภัทร ซึ่งไม่สมบูรณ์นัก
แต่ฉบับของสมณะเฮี่ยงจัง
นั่นมีความสบูรณ์เป็นหนังสือยาวถึง ๒๐๐ ผูก

ในยุคต่อมาคณาจารย์ฝ่ายมหายานได้แต่งคัมภีร์อภิธรรมอีกหลายคัมภีร์
เช่น คัมภีร์สังยุกตาภิธรรมของพระธรรมตาระ
คัมภีร์ อภิธรรมอมฤตรสศาสตร์ ของท่านพระศีระโฆษะ

และคัมภีร์สำคัญอีกคัมภีร์หนึ่ง
ที่ใช้เป็นหลักสูตรในมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วย
นั่นคือ คัมภีร์อภิธรรมโกษษศาสตร์ ของพระวสุพันธุ
พระน้องชายของพระอสังคะ แห่งนิกายโยคาจารย์

:b8: :b8: :b8:

(คัดลอกบางตอนมาจาก : เอกสารประกอบการสอบเข้าศึกษาต่อหลักสูตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา; วิชาเปรียบเทียบคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาทและมหายาน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ปี พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๖๗-๗๑)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง :

:b44: ประวัติความเป็นมาของพระอภิธรรม
อาจารย์ทวี สุขสมโภชน์ วัดบุรณศิริมาตยาราม

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=66&t=28770


แก้ไขล่าสุดโดย กุหลาบสีชา เมื่อ 29 ธ.ค. 2009, 00:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2009, 00:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกใหม่
สมาชิกใหม่
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ธ.ค. 2009, 14:19
โพสต์: 2

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปรมัตถธรรม คือ ธรรมะทั้งหมด ที่อยู่ ใน พระอภิธรรม

ปรมัตถสัจจะ หรือ สัจจะปรมัตถ คือ รูป จิต เจตสิค นิพาน

ตีธรรม ไห้แตก ทุกวันนี้ แทบทุกที่สอน เหมือน อ่านหนังสือไห้ ฟัง

ปรมัตคือ สิ่งที่เป็นจริง ถ้ามีแค่ จิต เจตสิค รูป นิพพาน ก็ ศืกษาแค่นี้พอ เพราะ สิ่งที่เป็น จริงมีแค่นี้

คุณรู้ไหม๊ ว่า พระพุทธองค์ ตรัสรู้อะไร !!!! ทุกคนคิดว่าคำถามนี้ง่าย

เพิ่มเติมที่ mail_sclib_fee@hotmail.com (ศิษ อริยะ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ม.ค. 2010, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ม.ค. 2010, 16:32
โพสต์: 323

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


.onion.

สาธุ สาธุ สาธุ

อ่านจนเมื่อย เข้าใจมั่ง ไม่เข้าใจมั่ง พอเป็นอุปนิสัย

หลวงจีนงมงาย ขอแจม แบบงมงาย

ขอมาแจมให้ครึกครื้น ดูวิเวกวังเวงชอบกล กลัวผีหลอกคนตั้งกระทู้


:b42: :b42: :b42:

อภิธรรม ว่า ด้วย ความจริง

ความจริง มี อยู่ ๒ อย่าง

ความจริง แบบ สมมุติ (สมมุติสัจจะ) เช่น คน รถยนต์ บ้าน ถนน หลวงจีนงมงาย

ความจริงแบบจริง (ปรมัตถสัจจะ) เช่น จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ทีนี้ จิต เจตสิก รูป นิพพาน

ก็ร่ายยาวออกไป แตกแขนง เป็นกิ่งเล็กกิ่งใหญ่

วาดคิ้ว เขียนปากออกไปพิสดารแล



:b53:

โอม มณีปทฺเม หุมฺ

ขอปัญญาจงบังเกิดมี

หลวงจีนงมงาย


. :b48: :b48: :b48: .


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ม.ค. 2010, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 พ.ย. 2009, 17:20
โพสต์: 532

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง ยิ่งกว่าธรมโดยทั้งมวล ย่อมไม่ใช่แค่ การท่องจำ การแบกสัญญา การบันทึกเป็นลายอักษร การยกมาสื่อสาร นำมาแสดงเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับนกแก้ว นกขุนทอง ที่พูดได้แต่ไม่มีเนื้อหา ตัวไหนเลียนเสียงคนได้เยอะก็พูดได้เยอะ ประมาณนั้น หากเป็นแค่การเลียนจากของจริงนั้นก็ย่อมหมายถึงยังตรงต่อเนื้อหาของอภิธรรมเลย ไม่ได้มีเจตนาว่าให้ใครท่านใดที่สื่อไปเพื่อให้เข้าใจว่าอภิธรรมนี้ไม่ใช่แค่ การอ่าน ท่องจำเท่านั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ม.ค. 2010, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


yodchaw เขียน:
อภิธรรม ธรรมอันยิ่ง ยิ่งกว่าธรมโดยทั้งมวล ย่อมไม่ใช่แค่ การท่องจำ การแบกสัญญา การบันทึกเป็นลายอักษร การยกมาสื่อสาร นำมาแสดงเท่านั้น หากเป็นเช่นนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับนกแก้ว นกขุนทอง ที่พูดได้แต่ไม่มีเนื้อหา ตัวไหนเลียนเสียงคนได้เยอะก็พูดได้เยอะ ประมาณนั้น หากเป็นแค่การเลียนจากของจริงนั้นก็ย่อมหมายถึงยังตรงต่อเนื้อหาของอภิธรรมเลย ไม่ได้มีเจตนาว่าให้ใครท่านใดที่สื่อไปเพื่อให้เข้าใจว่าอภิธรรมนี้ไม่ใช่แค่ การอ่าน ท่องจำเท่านั้น


การอ่านแม้เพียงท่องจำ ก็ยังนำไปสอบ เอา ประโยชน์ โภชน์ผล ทางโลกได้
แต่ประโยชน์ที่ยิ่งกว่า ในทางธรรมคือ การนำไปพิจารณา ให้เกิดปัญญา หยั่งลงไปให้ถึง... ให้แจ้ง

อนุโมทนาสาธุค่ะ

:b8:

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ต.ค. 2011, 13:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2011, 02:08
โพสต์: 45

อายุ: 0
ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว www


กราบขอบคุณครับที่นำมาให้อ่าน ภาพสวยดี :b8:

.....................................................
อย่าหลงเหยื่อ เชื่ออยาก จะยากจิต อย่าหลงติดรสเหยื่อ เชื่อตัณหา อย่าหลงนอน หลงกินสิ้นเวลา อย่าหลงว่า ชีวิตเราจะยาวนาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มี.ค. 2012, 11:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.พ. 2012, 12:01
โพสต์: 376


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาค่ะ :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2018, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2158

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


จิตตามพระอภิธรรมของเถรวาทนั้น

จิตฺเตตีติ จิตฺตํ อารมฺมณํ วิชานาตีติ อตฺโถ ฯ

ซึ่งแปลเป็นใจความว่า ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต มีอรรถว่า
ธรรมชาติที่รู้อารมณ์คือ จิต
ในปฏิสัมภิทาพระบาลีมหาวัคค แสดงว่าจิตนี้มีชื่อที่เรียกใช้เรียกขานกันตั้ง ๑๐ ชื่อ
แต่ละชื่อก็แสดงให้รู้ ความหมายว่าจิตคืออะไร ดังต่อไปนี้

ยํ จิตฺตํ มโน หทยํ มานสํ ปณฺฑรํ มนายตนํ มนินฺทฺริยํ วิญฺญาณํ
วิญฺญาณกฺขนฺโธ ตชฺชา มโนวิญฺญาณธาตุ อิทํ จิตฺตํ ฯ
ซึ่ง อัฏฐสาลินีอรรถกถา อธิบายว่า
๑. ธรรมชาติใดย่อมคิด ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จิต
๒. ธรรมชาติใดย่อมน้อมไปหาอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า มโน
๓. จิตนั่นแหล่ะได้รวบรวมอารมณ์ไว้ภายใน ดังนั้นจึงชื่อว่า หทัย
๔. ธรรมชาติคือ ฉันทะที่มีในใจนั่นเอง ชื่อว่า มานัส
๕. จิตเป็นธรรมชาติที่ผ่องใส จึงชื่อว่า ปัณฑระ
๖. มนะนั่นเองเป็นอายตนะ คือเป็นเครื่องต่อ จึงชื่อว่า มนายตนะ
๗. มนะอีกนั่นแหละที่เป็นอินทรีย์ คือครองความเป็นใหญ่ จึงชื่อว่า มนินทรีย์
๘. ธรรมชาติใดที่รู้แจ้งอารมณ์ ธรรมชาตินั้นชื่อว่า วิญญาณ
๙. วิญญาณนั่นแหละเป็นขันธ์ จึงชื่อว่า วิญญาณขันธ์
๑๐. มนะนั่นเองเป็นธาตุชนิดหนึ่ง ที่รู้แจ้งซึ่งอารมณ์ จึงชื่อว่า มโนวิญญาณธาตุ


แต่....ในมหายาน ในเซน สิ่งเหล่านั้น ที่เถรวาทคิดว่าเป็นจิต สิ่งเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงจิตเลย
แต่สิ่งเหล่านั้น คือ คือเจตสิก หรือสังขาร คือความปรุงแต่ง ไม่ใช่จิต ไม่อาจกล่าวว่านั่นคือจิต


ซึ่งถูกต้องตรงกับพุทธพจน์ พระสูตร ทั้งของเถรวาท และมหายาน ที่ว่า


“ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ”

“จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
ใครควบคุมจิตนี้ได้ ย่อมพ้นจากบ่วงมาร”

แม้จิตประภัสสร ก็ยังไม่ใช่จิตแบบในมหายาน แต่เป็นอภิเจตสิก เท่านั้น ตาม ติก. อํ ๒๐/๓๒๙-๓๓๑/๕๔๒

นี่คือความแตกต่างของความแจ้งใจในพระธรรมค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มี.ค. 2018, 03:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2158

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระอภิธรรม

นาม คือ จิต มี 1
เจตสิก มี 52
รูปคือ สภาวะรูป มี 18
อสภาวะรูป มี 10

รวมกันเป็นนามรูป 82 ประการ

แท้จริงคือ มีนามรูปเพียง 81 บวกกับนิพพาน อีก 1
จึงเป็น 82

ซึ่งในพระอภิธรรมถือว่านิพพานเป็นนาม จึงรวมนามรูปได้ 82


ต่อเมื่อรู้แจ้งในพระอภิธรรมแล้ว จึงไม่มีนิพพานนามหรือรูป ของพระอภิธรรม


"ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใสโดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ อุปาทยรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมนี้ นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ เพราะวิญญาณดับ นามและรูปย่อมดับ ไม่มีเหลือในธรรมชาติ ดังนี้ฯ" (ที.สี.14/350)

นี่คือสภาวะในธรรมที่แตกต่างกันค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ส.ค. 2022, 11:54 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 14 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร