วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 07:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




78-783113_girl-girlpower-baby-babygirl-little-littlegirl-sit-girl.png
78-783113_girl-girlpower-baby-babygirl-little-littlegirl-sit-girl.png [ 206.28 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง วุฑฒิธรรม

วุฑฒิธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องเจริญ
หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดความเจริญ ความงอกงาม

วุฑฒิธรรม มี ๔ ประการ คือ

๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ คือ คบหา เข้าหา ไต่ถาม สนทนากับคนดี
คนที่มีคุณธรรม หรือผู้รู้ ด้วยความใฝ่ใจใคร่รู้
๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังคำสอนคำแนะนำของสัตบุรุษที่คบหา ด้วยความเคารพตั้งใจ
๓. โยนิโสมนสิการ ทำไว้ในใจโดยแยบคาย คือไตร่ตรองพิจารณาคำสอนนั้นให้ดี
๔. ธัมมานุธัมมปฏิบัติ ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ไตร่ตรองแล้ว
คือประพฤติปฏิบัติตามคำสอนคำแนะนำของสัตบุรุษนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




imagesCA8A1C48.jpg
imagesCA8A1C48.jpg [ 14.05 KiB | เปิดดู 5149 ครั้ง ]
เรื่อง เวทนา

เวทนา แปลว่า ความเสวยอารมณ์
เป็นนามธรรมอย่างหนึ่งมีการกล่าวถึงในพระพุทธศาสนา
หมายถึง การเสวยอารมณ์, ความรู้สึก

เวทนา สามารถจัดออกเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายแบบ เช่น

เวทนา ๑ ได้แก่
เวทนาขันธ์ เป็นองค์ประกอบหนึ่งของขันธ์๕ (หรือ เบญจขันธ์ อันได้แก่ รูปขันธ์
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์)

เวทนา ๒ ได้แก่
แบ่งการเสวยอารมณ์ ออกเป็นสองอย่าง คือ
๑. กายิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางกาย การเสวยอารมณ์ทางกาย ความรู้สึกทางกาย
๒. เจตสิกเวทนา หมายถึง เวทนาทางใจ การเสวยอารมณ์ทางใจ ความรู้สึกทางใจ

เวทนา ๓ ได้แก่
แบ่งการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก รสของอารมณ์ ออกเป็นสามอย่าง คือ
๑. สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
๒. ทุกขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกทุกข์ ไม่สบาย ทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม
๓. อทุกขมเวทนา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุเบกขาเวทนา

เวทนา ๕ ได้แก่
แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นห้าอย่าง คือ
๑. สุข หมายถึง ความสุข ความสบายทางกาย
๒. ทุกข์ หมายถึง ความทุกข์ ความไม่สบาย ความเจ็บปวดทางกาย
๓. โสมนัส หมายถึง ความแช่มชื่น ปลื้มใจ สุขใจ (อันเกิดจากสุขจึงเกิดโสมนัส)
๔. โทมนัส หมายถึง ความเสียใจ ความเศร้าโศก เศร้าหมอง ทุกข์ใจ (อันเกิดจากทุกข์จึงเกิดโทรมนัส)
๕. อุเบกขา หมายถึง ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์

เวทนา ๖ ได้แก่
แบ่ง การเสวยอารมณ์ ออกเป็นหกอย่าง คือ
๑. จักษุสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางตา
๒. โสตสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางหู
๓. ฆานสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางจมูก
๔. ชิวหาสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางลิ้น
๕. กายสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางกาย
๖. มโนสัมผัสชา เวทนา หมายถึง เวทนาอันเกิดจากสัมผัสทางใจ

เวทนา ในภาษาธรรม มิได้หมายถึง ความเจ็บความปวด ความทุกข์ทรมาน
ความน่าสงสาร ความน่าสมเพช ตามแบบภาษาที่ชาวโลกเข้าใจกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




sacks-of-grain.png
sacks-of-grain.png [ 42.97 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่องเวยยาวัจจมัย

เวยยาวัจจะ แปลว่า การช่วยขวนขวายการช่วยเหลือ
หมายถึงความมีจิตเอื้ออาทร ความมีน้ำใจช่วยจัดช่วยทำกิจที่เป็นประโยชน์
กิจที่ไม่มีโทษของผู้อื่นให้สำเร็จด้วยดี แม้เป็นเรื่องเล็กน้อย เช่นช่วยซักผ้า
ตักน้ำ ช่วยทำนา ทำไร่ หรือช่วยแนะนำ ช่วยบอกทางให้ เป็นต้น
ด้วยกำลังกายบ้าง ด้วยคำพูดบ้าง ตามโอกาสอันควรโดยไม่นิ่งดูดาย

เรียกบุคคลผู้ทำกิจที่ชอบเช่นนั้นให้แก่วัดว่า ไวยาจักร

เวยยาวัจจมัย เป็นเหตุนำมาซึ่งความนับถือกัน
สามารถพึ่งพาอาศัยกันได้ ทำให้ได้รับความสะดวกสบาย
เมื่อมีเหตุขัดข้องย่อมได้คนช่วยเหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 มิ.ย. 2014, 16:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




buff.png
buff.png [ 78.51 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง เวรมณี

เวรมณี แปลว่า เจตนาเครื่องกำจัดเวร
เจตนาอันเป็นเครื่องมือในการกำจัดเวรออกไป

เวรที่ควรกำจัด คือบาปกรรม ๕ อย่าง ได้แก่ การฆ่าสัตว์
การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ และ การดื่มสุราเมรัย

บาปกรรม ๕ อย่างนี้จัดเป็นเวร เพราะเป็นเหตุก่อเวรก่อภัยให้ผู้ทำ
เป็นเหตุให้ได้รับทุกข์โทษในอบายภูมินรกเป็นต้น และเมื่อพ้นจากอบายภูมิ
แล้วบาปกรรมนั้นยังตามมาให้ผลต่อไปอีก เช่นทำให้เป็นคนอายุสั้น
เป็นคนพิการแต่เกิด เป็นคนมีจิตวิปริตผิดเพศ

เวรมณี ก็คือ วิรัติ และ สิกขาบทหรือศีล นั่นเอง
เพราะเป็นเครื่องมือในการกำจัดเวรโดยเฉพาะ

การถือศีล ๕ จัดเป็นเวรมณี ด้วยมีเจตนา จะกำจัดเวรคือบาปกรรม ๕ ประการให้ห่างตัว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 06:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha-1256753_960_720.png
buddha-1256753_960_720.png [ 139.32 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง ศรัทธา

ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายถึงเฉพาะศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญา
เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ เชื่อด้วยเหตุผล ศรัทธามี ๔ อย่าง

๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง
คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม

๒. วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง
คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี
ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว

๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน

๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง ๙ ประการ
ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้
หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้

ความเชื่อทั้ง ๔ ประการนี้เป็นคุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา ไม่เชื่อใครง่ายแบบงมงาย
ไม่หลงเชื่อเรื่องการดลบันดาล เรื่อปาฏิหาริย์ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 มิ.ย. 2014, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




75-752115_indianmanwithcattle-indian-farmer-image-png.png
75-752115_indianmanwithcattle-indian-farmer-image-png.png [ 180.48 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง ศีล

ศีล แปลว่า ปกติ สงบเย็น คือข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนา
เพื่อควบคุมความประพฤติ ทางกายและวาจา ให้ตั้งอยู่ในความดีงามมีความปกติสุข
เพื่อให้เป็นกติกาข้อห้ามที่ใช้แก้ปัญหาขั้นพื้นฐาน ๕ ปัญหาหลัก ซึ่งทำให้เกิดความสงบสุข
และ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกันในสังคม อันมี ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ เป็นต้น

ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ
สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ
และป้องกันมิให้ตกไปในสิ่งที่ชั่ว ล่วงพ้นอบายภูมิ ๔ ได้จริง

ศีล ระดับต้น เรียกว่า จุลศีล คือ ศีล ๕
เป็นศีลที่ต้องถือเป็นเนืองนิจจ์ เป็นศีลของคนทั่วๆไป

ศีล ระดับกลาง เรียกว่า มัชฌิมศีล ได้แก่ศีล ๘ ศีล ๑๐
ศีล ๘ เป็นศีลของอุบาสกอุบาสิกา ศีล ๑๐ เป็นศีลของสามเณร

ศีล ระดับสูง เรียกว่า มหาศีล ได้แก่ศีล ๓๑๑ ศีล ๒๒๗
ศีล ๓๑๑ เป็นศีลของภิกษุณี ศีล ๒๒๗ เป็นของภิกษุสงฆ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 มิ.ย. 2014, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




normal_lotus-009.jpg
normal_lotus-009.jpg [ 38.02 KiB | เปิดดู 5121 ครั้ง ]
เรื่อง สติ

สติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้
หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้
นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม
ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้น

สติ ตามปกติใช้เป็นความหมายคำว่า อัปปมาทะ ความไม่ประมาท

สติ จัดเป็น พหุปการธรรม ธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ
เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ
จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด
หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดี
ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ
ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง

สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้อง ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝน
รวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่น ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนา เป็นต้น

สติใช้เพื่อที่จะรู้เท่าทันในสังขาร ๓
๑. รู้เท่าทันในการเคลื่อนไหว (กายสังขาร)
๒. รู้เท่าทันในอารมณ์ที่ปรุงแต่งจิต (จิตสังขาร)
๓. รู้เท่าทันความคิดทั้งหลายที่จะพูด (วจีสังขาร)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 มิ.ย. 2014, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




7043813_preview.png
7043813_preview.png [ 118.41 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่องสมาธิ

สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นของจิต
หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน จิตที่เป็นสมาธิ เรียกว่าเอกัคคตาจิต

ความหมายของสมาธิ
การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้
ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้น และอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ
เช่น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์
สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้เป็นข้อควรปฏิบัติ
เพื่อการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ
และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

ลักษณะผลของสมาธิ
สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อย่างต่อเนื่อง
หรือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบ
รวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ
จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ
กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน

สมาธิ แบ่งได้ ๓ ระดับ เช่น

๑. ขณิกสมาธิ สมาธิเล็กน้อย สมาธิชั่วขณะ ที่ใช้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่นใช้อ่านหนังสือ
หรือขับรถ เป็นสมาธิใช้ในการเจริญวิปัสสนา หรือเป็นสมาธิเบื้องต้นเป็นระดับให้เข้าถึงฌาน

๒. อุปจารสมาธิ สมาธิที่แน่วแน่มากกว่าขณิกสมาธิ แต่แน่วแน่น้อยกว่าอัปปนาสมาธิ
สมาธิเฉียดๆ หรือสมาธิจวนจะแน่วแน่ เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ได้ ก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน
หรือสมาธิในบุพภาคแห่งอัปปนาสมาธิ

๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิที่ไม่หวั่นไหว หมายถึงสมาธิระดับฌานสมาบัติ ปฐมฌาณขึ้นไป
อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่หรือสมาธิที่แนบสนิท เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งมีในฌานทั้งหลาย
ถือว่าเป็นผลสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ ละนิวรณ์ทั้ง ๕ ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




22-229145_joint-hand-arm-worried-meme-transparent.png
22-229145_joint-hand-arm-worried-meme-transparent.png [ 142.53 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง สมุทัย

สมุทัย แปลว่า เหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งที่ทำให้ทุกข์เกิดได้แก่ ตัณหา
เช่น เราต้องการ อยากได้ อยากดี อยากเป็น แล้วขวนขวายหาก็ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์
ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง เศร้าโศกเสียใจเดือดร้อนวุ่นวาย
เรียกว่า มันประสบเหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยาก พระองค์เรียกว่าตัณหา ๓
คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่นอกเหนือไปจากตัณหา ๓ ประการนี้

๑. กามตัณหา คือ ความอยากได้ คนเกิดขึ้นมาด้วยกาม
กินอยู่ด้วยกาม นอนอยู่ในกาม นั่งอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ไม่หนีไปจาก ๕ อย่างนี้ ผู้ใดเกิดมาต้องวุ่นวายอยู่กับของเหล่านี้แหละ
เดือดร้อนอยู่กับของเหล่านี้ คือมันข้องมันติด ไปไม่หลุด ไปไม่พ้น

๒. ภวตัณหา คือความอยากเป็น อยากได้โน่นอยากได้นี่
ได้แล้วก็อยากได้อีก เป็นแล้วก็อยากเป็นอีก เช่น อยากได้ฌานที่สูงขึ้นไปอีก
นี่ก็เป็นทุกข์ เพราะความไม่อิ่มไม่พอ เรียกว่า ภวตัณหา

๓. วิภวตัณหา คือความไม่อยากเป็น ไม่อยากได้โน่นไม่อยากได้นี่
เช่น ไม่อยากเป็นในความเป็นอยู่ของตน ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะความไม่อยาก
จึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ เรียกว่า วิภวตัณหา

สมุทัยเป็นของควรละ อย่างความอยาก เราอยากได้โน่น อยากได้นี่ เราไม่เอาละ
สละทิ้งเลย ปล่อยวางเลย สละได้จริงๆ นั่นแหละสมุทัยคือ ตัณหา
สมุทัย เป็นอริยสัจจ์ประการที่ ๒ ในอริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมัย นิโรธ มรรค

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 08:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




Portada_2.png
Portada_2.png [ 210.2 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง สมาบัติ

สมาบัติ
แปลว่า คุณวิเศษที่พึงเข้าถึง, การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน,
ธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน, การบรรคุณวิเศษนั่นเอง,

คำว่า สมาบัติ แปลว่า สมบัติ หมายถึง สมบัติของผู้ได้ฌานการเข้าอยู่ในฌานหรือเข้าสมาบัติ
อุปมาเหมือนกับ บุรุษผู้หลบความร้อน เข้าไปอยู่ในบ้านที่ตนสร้างไว้ดีแล้ว
ผู้ที่จะเข้าสมาบัตินั้น โดยมาคิดว่า ความสุขที่เกิดขึ้นจากปริตตารมณ์
เป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ สู้ความสุขในฌานไม่ได้ จึงหลีกออกจากหมู่
ไปสู่ที่สงบแห่งใดแห่งหนึ่ง ยกจิตของตนขึ้นสู่อารมณ์กัมมัฏฐาน
บริกรรมจนจิตสงบเป็นอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ เข้าสู่ฌานธรรม

สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน
ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง

สมาบัติ มี ๘ อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔, อรูปฌาน ๔,
เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูป สมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ

สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งคือ นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ
ซึ่งละเอียดสุขุมกว่าอรูปฌาน เมื่อรวมกับสมาบัติ ๘ ข้างต้นก็เป็น ๙
มีคำเรียกต่างหากว่า อนุปุพพวิหารสมาบัติ คือธรรมเป็นเครื่องอยู่
ที่ละเอียดปราณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 12:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




Village_Institutions_img.png
Village_Institutions_img.png [ 57.38 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง สังขาร (๑)

สังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง

สังขาร ในไตรลักษณ์ หรือสามัญญลักษณะ สังขารหมายถึงร่างกาย ตัวตน สสาร
สิ่งที่ประกอบกันขึ้นหรือถูกปรุงแต่งขึ้นจากธาตุ ๔

สังขารในความหมายนี้แบ่งเป็น ๒ คือ

๑. สังขารมีใจครอง (อุปาทินนกสังขาร) คือสิ่งมีชีวิต
มีจิตวิญญาณ สามารถเคลื่อนไหว รับ จำ คิด รู้อารมณ์ได้
ได้แก่มนุษย์ อมนุษย์ สัตว์ดิรัจฉาน

๒. สังขารไม่มีใจครอง (อนุปาทินนกสังขาร) คือ สิ่งไม่มีชีวิต
ไม่มีจิตวิญญาณ จำไม่ได้ คิดไม่ได้ ได้แก่ ต้นไม้ ภูเขา ดิน น้ำ รถ เรือ เป็นต้น

สังขารในความหมายนี้ จัดเป็นรูปขันธ์ในขันธ์ ๕ มิใช่สังขารขันธ์
และมีลักษณะเสมอกันโดยเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.ค. 2014, 13:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




tumblr_oxii3vAgdp1wtg8hyo1_500.png
tumblr_oxii3vAgdp1wtg8hyo1_500.png [ 340.29 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่องสังขาร (๒)

สังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง สิ่งถูกปรุงแต่ง
สังขาร ในเรื่องขันธ์ ๕ (ดูเรื่องขันธ์ ๕) หมายถึง สิ่งปรุงแต่งจิต
ระบบคิดปรุงแต่งจิต แยกแยะ สิ่งที่รู้สึกและจำได้ ซึ่งได้แก่ ความคิด ความรู้สึกปกติทั่วไป
ของคนเรา เช่น รัก ชัง โกรธ ละอายใจ อยากได้ เป็นต้น

สังขารขันธ์ ในทางพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น ๓

๑. กายสังขาร การปรุงแต่งกาย คือ ลมหายใจ
หมายเอาการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายในอิริยาบถต่างๆ

๒. วจีสังขาร การปรุงแต่งวาจา คือ วิตก การตรึก วิจาร การตรอง
หมายถึงการคิดปรุงแต่งต่างๆ

๓. จิตสังขาร การปรุงแต่งจิต คือ เจตสิก ได้แก่อารมณ์ต่างๆ
ที่ปรุงแต่งจิตให้มีอาการเป็นไปต่างๆ

คำว่า สังขาร ในเรื่องไตรลักษณ์กับในเรื่องขันธ์จะต่างกัน
คือสังขารในเรื่องไตรลักษณ์เป็นรูปธรรม ในเรื่องขันธ์เป็นนามธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




person-diving-png-7.png
person-diving-png-7.png [ 809.71 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรื่อง สัจจะ

สัจจะ แปลว่า ความจริงใจ พูดจริง ทำจริง มีความซื่อตรง
มีความตั้งใจอย่างมุ่งมั่นในสิ่งที่ตนปรารถนา สะสมความดีอย่างพิเศษ
เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างสูงสุด เรียกว่าสัจจะ บารมี
มี ๒ ประเภท ในใจและพูดออกเสียง

สัจจะ ในใจ ที่เป็นคุณธรรม คือ ความชื่อสัตย์ ความจริงใจ ความมีสติซื่อตรง
ไม่คิดคด ไม่คิดโกหกหลอกลวง รักษาคำมั่นสัญญา

สัจจะ ที่เป็นคำพูด คือคำจริง หมายถึง คำตรง คำแท้ คำที่ไม่โกหกเหลวไหล
หลอกลวง บิดพริ้ว ที่เรียกว่า สัจจวาจา (คำสัตย์จริง)

ลักษณะของผู้มีสัจจะ คือ

- พูดอย่างไร ทำอย่างนั้น รักษาคำพูด
- ซื่อสัตย์ จริงใจ ไว้วางใจได้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
- มีความบริสุทธิ์ใจต่อคู่ครองของตน และบุคลอื่นทั่วไป
- ไม่เป็นคนสับปรับ วันนี้พูดพรุ่งนี้ลืม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ก.ค. 2014, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




IE-holy-man-standing-in-robes.png
IE-holy-man-standing-in-robes.png [ 35.72 KiB | เปิดดู 2070 ครั้ง ]
เรือง สัญญา

สัญญา แปลว่า จำได้ หมายรู้ คือ ระบความจำที่สามารถจำคน จำสิ่งของ
เช่น จำเหตุการณ์ต่างๆ จำเครื่องหมายต่างๆ จำสิ่งที่เคยเห็น จำเสียงที่เคยได้
จำกลิ่นที่เคยดม จำรสที่เคยลิ้มได้ จำสิ่งที่เคยสัมผัสได้ จำชื่อคน ชื่อสัตว์
รูปร่างสัณฐาน จำผู้หญิงผู้ชายได้จำหนังสือได้ จำบทสวดมนต์ได้
เป็นการจำที่เคยผ่านมาแล้วในอดีตทั้งสิ้น เป็นต้น

สัญญาในภาษาธรรมมิได้หมายถึง การให้คำมั่นสัญญา
หรือข้อตกลงกันทั้งสองฝ่ายเช่น การทำสัญญาชื้อขาย สัญญาว่าจะให้หรือใช้คืน
สัญญาว่าจะไป จะมา ตามความแบบภาษาชาวโลก
สัญญาเป็นขันธ์ๆ หนึ่งในขันธ์ ๕ เรียก สัญญาขันธ์ (ดูเรื่องขันธ์ ๕)

สัญญาวิปลาส เป็นการจำที่คลาดเคลื่อนไปจากความจริง จำมาผิด
หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู เป็นต้น

วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง วิปลาสในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
วิปลาสในสิ่งที่ไม่เป็นตัวตน ว่าเป็นตัวตน วิปลาสในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม
เรียกว่าภาวะที่คลาดเคลื่อน จากความเป็นจริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.ค. 2014, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว




5033(1).jpg
5033(1).jpg [ 56.29 KiB | เปิดดู 5033 ครั้ง ]
เรื่อง สัทธรรม

สัทธรรม แปลว่า ธรรมของสัตบุรุษ ใช้ หมายถึงพระพุทธพจน์หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า
เรียกโดยเคารพว่า พระสัทธรรม

สัทธรรม แบ่งเป็น ๓ อย่าง คือ

๑. ปริยัติสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงหลักสำหรับศึกษาเล่าเรียน ทรงจำ แนะนำสั่งสอนกัน ได้แก่ พระสูตร คาถา ชาดก เป็นต้น

๒. ปฏิปัตติสัทธรรม คือ คำสอนที่แสดงถึงหลักปฏิบัติตามที่ศึกษามา แสดงวิธีปฏิบัติสูงขึ้นไปตามลำดับ คือระดับศีล ระดับสมาธิ ระดับปัญญา

๓. ปฏิเวธสัทธรรม คือคำสอนที่แสดงถึงผลที่เกิดจากการปฏิบัติ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ และนิพพาน ซึ่งเรียกว่า โลกุตรธรรม

เรียกพระสัทธรรม ๓ อย่างนี้ย่อๆ ว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ก็ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 248 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 5 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron