วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 05:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2014, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

อาเสวนปัจจัย ก็คือ การอบรมบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การฝึกฝนจนเกิดความเคยชิน
การอธิษฐานก็ควรกระทำให้ติดเป็นอุปนิสัยทุกครั้งที่ทำ ทาน ศีล ภาวนา

บุญกิริยวัตถุ10 ย่อลงก็คือ ทาน ศีล ภาวนา

เวลาเราทำกุศลสำเร็จแล้วนั้น เราจะอธิษฐานบารมี เพื่อให้เกิดในศาสนาพุทธต่อไป มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา เพื่อให้เราทำกุศลเพื่อให้เกิดเป็นสัมมาทิฏฐิตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอน จะทำให้เราพ้นทุกข์ไปได้ในที่สุด

ดังนั้นเราจึงอธิษฐานไว้เป็นบารมีเพื่อไม่ให้เราหลงไปเกิดในลัทธิต่างๆ ซึ่งบางลัทธิก็มีล่วงเกินมารดาบ้าง มีฆ่าสัตว์การบูชายันต์บ้าง มีการไหว้ผีบ้าง เป็นต้น ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ทำอย่างนั้น ดังนั้นเราจึงอธิษฐานเพื่อให้ได้เกิดมาแต่ในพระพุทธศาสนา จะได้ไม่หลงผิดไปในความเชื่อต่างๆ ซึ่งทำให้การพ้นออกไปจากสังสารวัฏฏ์เนิ่นช้าออกไป

ในบุญกิริยาวัตถุ 10 นั้นสรุปลงใน ทาน ศีล ภาวนา
ในข้อ4 คือ อปจายนจัดเข้าอยู่ในหมวดศีล เป็นการประพฤติอ่อนน้อมด้วย กาย วาจา แก่บุคคลผู้มีคุณวุฒิ และวัยวุฒิ
ผู้มี คุณวุฒิ หรือคุณสมบัติ ได้แก่ ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์ และผู้มี ชาติวุฒิ ได้แก่พระมหากษัตริย์ และเชื้อพระวงศ์
ผู้มี วัยวุฒิ ได้แก่พ่อแม่ ญาติพี่น้องและผู้สูงอายุ

ไม่ว่าจะเป็นใครถ้ามีคุณวุฒิ หรือ วัยวุฒิ เราไหว้ได้อ่อนน้อมได้ ยิ่งมีทั้ง2 อย่างยิ่งต้องอ่อนน้อมเช่น พ่อแม่ของเรามีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ พระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เราล่วงเกิน เราต้องอ่อนน้อม ดังนั้นการล่วงเกินด้วยกายกรรม วจีกรรม นั้นเราถือเป็นบาปก็คือการทำอกุศลนั่นเอง แต่ในบางลัทธินั้นทำได้เพราะมีความเชื่อที่ผิดว่ากระทำได้ แต่ผู้กระทำนั้นก็เกิดเป็นบาป แม้จะบอกว่าไม่ผิดศีลของลัทธิของเค้า เช่นแม่อนุญาติให้ลูกชายล่วงเกินสมสู่ ก็ถือเป็นบาป แม่ต้องเป็นผู้ที่ลูกควรเคารพกราบไหว้ ไม่ใช่มีความเชื่อที่ยึคถือผิดไปไม่สามารถแยกได้ว่า สิ่งใดเป็นความดี สิ่งใดเป็นความชั่ว ซึ่งการแยกสิ่งดี สิ่งไม่ดีนั้น ศาสดาของเราคือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนไว้เป็นเหตุเป็นผลทั้งหมดทั้งสิ้น ผู้ใดกระทำผิดลงไปหรือไม่งดเว้นก็เป็นบาป มนุษย์เรานั้นต่างจากสัตว์เดรัจฉานตรงที่มนุษย์รู้จักการงดเว้น รู้ว่าสิ่งใดดี สิ่งใดไม่ดี สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์ ไม่ควรให้อาหารแก่กิเลสเหมือนสาดน้ำมันเข้ากองไฟเรื่อยๆ ไฟก็ไม่ดับ ซ้ำจะยิ่งจะลุกลามไปเรื่อยๆ มนุษย์ก็จะมีแต่ความเร่าร้อน วุ่นวาย ไร้ความสงบสุข ท่านพุทธทาสกล่าวไว้ว่า ถ้าศีลธรรมไม่กลับมาโลกาจะวินาศ ดิฉันเห็นเป็นจริงตามที่ท่านกล่าวค่ะ

ดังนั้นการที่จะทำให้เราอยู่ในศาสดาที่มีแต่สัมมาทิฏฐิ จึงต้องอาศัยการอธิษฐานหลังจากทำทาน ศีล ภาวนาแล้วก็ อธิษฐานออกจากสังสารวัฏฏ์ก่อนคือ มรรค ผล นิพพาน ต่อไปก็อธิษฐานว่าเกิดภพไหนก็ขอให้ระลึกถึงแต่การทำกุศลคือทาน ศีล ภาวนา และสุดท้ายก็ขอให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ เกิดมาพบแต่กัลยาณมิตรห่างไกลคนพาล เป็นต้น จะต้องอาศัยการมีอินทรีย์๕ที่แก่กล้าอธิษฐานหลังจากทำทาน ศีล ภาวนา ไว้ทุกครั้ง

ซึ่งเป็นการทำให้ถึงคุณสมบัติ ๕ อย่าง คือต้องมีอินทรีย์ ๕ แก่กล้าในภพต่อๆ ไปทุกชาติ ไม่ไปเกิดในลัทธิอื่น

ตราบใดที่ยังไม่เห็นมรรคครั้งแรก คือ โสดาปัตติมรรค ก็อย่าหวังว่าจะรอดพ้นภัย 4 ประการได้ง่ายๆ ค่ะ
คือ ยังต้องวนเวียนเกิดในอบายแน่นอนค่ะ หากยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีหลักประกัน
นะคะว่า ท่านจะไม่ไปอบายภูมิ ท่านจะสามารถพ้นไปได้ทุกชาติไป ก็ขอบอกว่าเป็นไปไม่ได้ล้านเปอร์เซ็นต์
หากยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ต่อไป ต้องได้ไปเที่ยวอบายภูมิแน่นอน ยิ่งพลัดหลงไปในลัทธิต่างๆ ที่มีการประพฤติปฏิบัติผิด โอกาสไปเกิดในอบายภูมิย่อมเป็นไปได้โดยง่ายค่ะ

ภัยทั้ง 4 นั้นคือ
1. นานาสัตถอุลโลกนภัย คือ ยังไม่พ้นจากการเคารพนับถือศาสดาต่างๆ
2. วินิปาตภัย คือ การไปเกิดในที่ไม่แน่นอน
3. อปายภัย คือ ยังไม่พ้นจากการไปเกิดในอบายภูมิ
4. ทุจริตภัย คือ ยังไม่พ้นจากการกระทำอันเป็นทุจริตต่างๆ

ก็ต้องมีคุณสมบัติถึงพร้อม ๕ อย่างนี้ทุกๆ ชาติไปจึงจะหนีพ้น และในการที่จะหนีพ้นด้วย
การมีคุณสมบัติครบทั้ง ๕ ได้นั้นที่สำคัญ ก็อยู่ที่การกระทำในภพนี้ คือ
๑. ต้องเป็นผู้ที่อยู่ในศีลธรรม มีการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา อยู่เสมอ แล้วตั้งความปราถนาไว้ว่าขอให้การบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้านี้จงเป็นอุปนิสัยปัจจัยไปทุกๆ ชาติด้วย
๒. มีความพอใจอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรม และตั้งความปราถนาว่าขอให้ได้เกิดอยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยศีลธรรมทุกๆ ชาติไป
๓. ในการสมาคมต้องไม่เกลือกกลั้วกับคนพาล พยายามคบหาสมาคมกับผู้มีความรู้และมีศีลธรรม
และตั้งความปราถนาว่าขอให้ได้พบกับสัปบุรุษทุกๆ ชาติไป
๔. ต้องสนใจฟังและศึกษาในธรรมะที่มีประโยชน์และถูกต้อง (แนะนำเรียนพระอภิธรรมค่ะ) พร้อม
ทั้งตั้งความปราถนาว่าด้วยอำนาจแห่งการฟังการศึกษาธรรมะของข้าพเจ้านี้ขอจงเป็นพลวปัจจัย
ให้ข้าพเจ้าได้โอกาสฟังพระสัทธรรมและเรียนธรรมะที่ถูกต้อง
ทุกๆ ชาติไปด้วยเทอญ
๕. มีการรักษากาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นไปในทางสุจริตอยู่เสมอ และตั้งความปราถนาว่า
ด้วยอำนาจแห่งการที่ข้าพเจ้าได้ประพฤติกาย วาจา ใจ ในทางสุจริตนี้ขอจงเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้
ข้าพเจ้าได้มีจิตใจตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม และได้ประพฤติอยู่แต่ในทางสุจริตทุกๆ ชาติไป

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 มิ.ย. 2014, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

:b42: จากหนังสือ ธรรมบทเทศนา เล่ม ๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ)

พระพุทธนิพนธคาถา ๓ พระคาถา ซึ่งมีข้อความดังนี้

ความไม่ประมาทเป็นเหตุบรรลุถึงซึ่งพระนิพพานอันไม่ตาย
ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย พวกนรชนที่ไม่ประมาทแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย
พวกนรชนที่ประมาทแล้ว เป็นเหมือนคนตายแล้ว

ท่านผู้เป็นบัณฑิตในเพราะความไม่ประมาททั้งหลาย รู้ความต่างกันอย่างนี้แล้ว ย่อมบันเทิง
ใจอยู่ในความไม่ประมาท เป็นผู้ยินดีในธรรมอันเป็นอารมณ์ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

บัณฑิตผู้ไม่ประมาท ซึ่งเป็นปราชญ์เหล่านั้น เป็นผู้เจริญฌาน มีความเพียรติดต่อกัน
มีความบากบั่นอันเข้มแข็งเป็นนิจ ย่อมได้ถูกต้องนิพพานอันเป็นธรรมขั้นสุดยอด
ปลอดจากกิเลสเครื่องประกอบไว้ในวัฏฏสงสาร

ในพระธรรมเทศนาพุทธนิพนธคาถาเหล่านี้ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ว่า

คำว่า อัปปมาทะ ที่แปลว่า ความไม่ประมาท นี้นั้น หมายความกว้างขวางมาก
เฉพาะคำเดียวนี้กินความถึงพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกหมดทั้งสิ้นทีเดียว
ข้อนี้สมด้วยพระบาลีในคัมภีร์มหาวารวรรคสังยุตตนิกายว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารอยเท้าของสัตว์ทั้งหลายที่สัญจรไปบนแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง
รอยเท้าทั้งหมดนั้นย่อมถึงซึ่งอันรวมลงในรอยเท้าช้าง ชาวโลกย่อมกล่าวกันว่า รอยเท้าช้างเป็นยอดแห่งรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายกุศลธรรมทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมทั้งหมดนั้น มีความไม่ประมาทเป็นมูลฐาน รวมลงในความไม่ประมาท เรากล่าวว่าความไม่ประมาทเป็นยอดแห่งกุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน"

อะไรชื่อว่า "ความไม่ประมาท" ความไม่ประมาทนั้นโดยความหมาย ได้แก่ ความไม่อยู่ปราศจากสติ
คือความมีสติปรากฏอยู่เป็นนิจทุกๆ อิริยาบถน้อยใหญ่ทั้งหลาย

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2014, 16:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

หลักสูตรมัชฌิมอาภิธรรมิกะโท วิปัสสนากรรมฐาน
เรื่อง วิสุทธิ 7 , สีลวิสุทธิ
บรรยายโดย อาจารย์พรชัย เจริญดำรงเกียรติ

https://www.youtube.com/watch?v=GKlGeeQ ... Ik&index=2

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2014, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

"มนุสสา มาแต่ไหน"

อนันตพุทธ ตรัสรู้ กู้โลกสัตว์
เหล่ามนุษย์ ยังอุบัติ ไม่สิ้นสูญ
ปัจจุบัน ยิ่งมาก ยิ่งเพิ่มพูน
ทวีคูณ หาได้ลด หมดจางจา

แสนสงกา มนุสสา มาแต่ไหน
เหตุไฉน มีแต่เพิ่ม เริ่มอิดหนา
เกิดแต่จิต มากพิษ อวิชชา
ท่วมตัณหา อุปาทาน ผลาญดิ้นรน

ไม่สงบ ไม่ตั้งมั่น กระสันสร้าง
จึงเข้าทาง อัตตา โกลาหล
หลงก่อตัว ตนเขา เหล่าบุคคล
กระเสือกสน วนว่าย สายวัฏฏา

แล้วก็มา ตรมทุกข์ คลุกเดือดร้อน
อ่วมขย้อน ตาเหลือก เสือกถลา
แหวกวุ่นวาย ตายเกิด ในวัฏฏา
มะงุมหงา ในสงสาร อ่วมอานเอย...

ภภภ รจนาจาก ข้อธรรมของ :- หลวงปู่สิม พุทธาจาโร 30/1/2558 7:36

:b47: :b47: :b47: :b47: :b47:


ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี หมายความว่า อย่างตาข่ายที่นายพรานใช้เวลาจับนกนั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะสามารถรวบนกเอาไว้ได้ทั้งฝูงได้นกตัวเล็กๆบางตัวยังสามารถหลุดรอดจากตาข่ายนั้นไปได้. แต่โมหะนั้นเมื่อมีอยู่กับผู้ใดแล้วย่อมรวบรัดผู้นั้นเอาไว้ได้ทั้งหมด ยากที่จะหลุดรอดไปได้ เพราะฉะนั้น ข่ายที่เสมอด้วยโมหะย่อมไม่มี

จากหนังสือ การได้ฟังพระสัทธรรมเป็นของยาก
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ม.ค. 2015, 18:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส


การศึกษาแนวพุทธ

พระพรหมคุณาภรณ์
http://www.roong-aroon.ac.th/?page_id=1942
ศึกษาไปพร้อมด้วยกันทั้ง 3 ด้าน
แล้ววัดผลโดยดูพัฒนาการที่แยกเป็น 4
ที่ว่าแนวพุทธก็นี่แหละ คือพัฒนาคนให้รู้จักเป็นอยู่ได้อย่างดี โดยสอดคล้องกับความจริงของชีวิตที่ เป็นไปตามธรรมดา นี่เอง เราเอาความจริงของธรรมดานี่แหละมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนามนุษย์ ก็เรียกว่าการศึกษา การศึกษานั้นเป็นระบบการพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม แล้วก็ด้านจิตใจเจตจำนง และด้านปัญญาความรู้เข้าใจดำเนินประสานไปด้วยกันและส่งผลต่อกัน โดยเจตจำนงของจิตใจ แสดงตัวออกมาสู่พฤติกรรมและการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมpresent7
ปัญญาที่รู้เข้าใจก็มาพัฒนาพฤติกรรมให้ทำได้ผลดียิ่งขึ้น และทำให้จิตใจมีขอบเขตขยายออกไปแล้วมีสภาพที่ดีขึ้น เช่น เมื่อรู้เข้าใจเหตุผล รู้ว่าคนอื่นเขาก็รักชีวิตของเขาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรไปทำร้ายเขา แต่ควรจะมีเมตตากรุณา การพัฒนาเมตตากรุณา จึงต้องอาศัยปัญญาความรู้เข้าใจ ถ้าไม่อย่างนั้น ก็ได้แค่ความเคยชิน เป็นการพัฒนาแค่ระดับศีล
เมื่อทั้งสามส่วนนี้ประสานกันไป ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นด้านที่สนองและป้อนเลี้ยงด้านจิตและ ด้านปัญญา ส่งผลหนุนกันไป
1. การพัฒนาในด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เรียกว่า ศีล
2.การพัฒนาด้านเจตจำนง ลงไปถึงคุณสมบัติในจิตใจ ก็เป็นสมาธิ ซึ่งรวมถึงเรื่องของคุณธรรมความดี เรื่องของสมรรถภาพและประสิทธิภาพของจิตใจ เช่น ความเข้มแข็ง หนักแน่น เพียรพยายามสติ สมาธิ แล้วก็เรื่องความสุข ความร่าเริงเบิกบานผ่องใส ฯลฯ ที่เป็นคุณสมบัติสำคัญของจิตใจ
3.การพัฒนาด้านปัญญา ความรู้ความเข้าใจ การรู้จักมองสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น และความสามารถแยกแยะวิเคราะห์สืบสาวหาเหตุปัจจัยอะไรต่างๆ สามแดนนี้จะต้องพัฒนาไปด้วยกัน เป็นระบบ ที่เราเรียกว่าบูรณาการก็มาในระบบที่เรียกว่า ไตรสิกขานี้แหละ และเมื่อไตรสิกขาพัฒนาคนไปอย่างนี้แล้ว ก็วัดผลด้วยภาวนา 4 ดังที่โรงเรียนทอสีกับโรงเรียนอนุบาลหนูน้อย ทดลองค้นหากันไป และมาก็บอกว่าตกลงใช้หลักนี้แหละในตอนที่พัฒนาคน เพราะว่ามันเป็นองค์รวม ทั้งสามอย่างนี้ต้องไปด้วยกันในแต่ละเรื่อง
คือต้องใช้ทั้ง 3 เพราะฉะนั้น ท่านจึงถือหลัก 3 ไม่ว่าในเรื่องใด ทุกเรื่องเรามีทั้งสาม คือ ศีล สมาธิ ปัญญาต้องสืบเนื่องกันมา คือในขณะที่เรามีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม เราก็มีเจตจำนงต่อสิ่งนั้น มีท่าทีความตั้งใจต่อมันอย่างใดอย่างหนึ่งพร้อมกันนั้นเราก็ทำได้ในขอบเขตของความรู้ และเราต้องเรียนรู้มันไปตลอดเวลา
แล้วในการที่เราเรียนรู้เพิ่มขึ้น เราก็จะพัฒนาได้ สภาพจิตของเราก็เปลี่ยนไป การมีพฤติกรรมสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมก็จะเปลี่ยนจะพัฒนาไปด้วย ก็ไปด้วยกันทั้งหมด ฉะนั้นจึงมี 3 อย่าง แต่พอวัดผล ท่านแยกเป็น 4 คือ แยกเป็น ภาวนา 4 เพราะตอนแยกนี่ ไม่ใช่ตอนทำงานแล้ว
แต่ต้องการความชัดเจน ว่าด้านไหนไปได้แค่ไหน จึงแยกเป็น
1. กายภาวนา การพัฒนาด้านความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เป็นกายภาพ หรือทางวัตถุ
2. ศีลภาวนาการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคมด้านเพื่อนมนุษย์รวมทั้งสัตว์ทั้งหลายอื่นด้วย อันนี้แยกได้ชัด กายภาวนาสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น พวกธรรมชาติ พวกวัตถุ พวกสิ่งเสพ บริโภค สิ่งที่ตาดู หูฟัง อะไรต่างๆ ส่วนศีลภาวนา เป็นการสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์คือทางสังคม
3. จิตตภาวนา การพัฒนาด้านจิตใจ ที่อาศัยสมาธิเป็นตัวแกนในการฝึกและมีบทบาทออกมาทางเจตจำนง
4. ปัญญาภาวนา การพัฒนาด้านปัญญา ความรู้ความเข้าใจคิดได้ หยั่งเห็นเรื่องนี้แปลกมากที่เรามาเจอภายหลังว่าของฝรั่งมี physical development, mental development, emotional develop- ment, social development อ้าว ของพระพุทธศาสนาก็มี 4 และว่ามาตั้งสองพันกว่าปีแล้ว พอมาเจอก็ตรงกันเลยแต่ขอบเขตไม่เท่ากัน
ของฝรั่ง Physical development เน้นเรื่องการให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ส่วน ของพระพุทธศาสนา กายภาวนา หมายถึง การพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพทั้งหมดว่าสัมพันธ์เป็นไหม ได้ผลดีไหม เสพบริโภคเป็นไหม กินอาหารเป็นไหม เป็นต้น เช่น เมื่อกินเป็น สุขภาพดีก็มาด้วย

เชิญอ่านต่อที่ http://www.roong-aroon.ac.th/?page_id=1942

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2015, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


การจะทำกรรมฐาน ไม่ว่าจะทำสมถะ หรือวิปัสสนานั้น
มีสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ อย่าข้ามขั้นตอน
ในระดับศีลควรกระทำให้ดี ตั้งใจรักษาศีลให้ได้ดีที่สุดในชีวิตประจำวัน
ถึงแม้ว่าจะผิดพลาดไปบ้าง ก็ตั้งใจใหม่ว่าเราจะพยายามทำให้ดีที่สุด
หากชีวิตประจำวันยังไม่ตั้งใจรักษาศีลให้ดี เมื่อท่านมาปฏิบัติกรรมฐาน
จะทำให้ฐานของท่านไม่แข็งแรง ไม่มีศีลรักษา ฐานไม่ดี
ปฏิบัติกรรมฐานไป อาจทำให้จิตฟั่นเฟื่อนได้ ยิ่งผู้ที่ทำเองโดยไม่มีครูอาจารย์ดูแล ยิ่งอันตราย
จึงขอให้ทุกท่านตั้งใจรักษาศีลให้ดี. และฝึกให้ตนเองมีสติไว้บ่อยๆ เนืองๆ ในแต่ละวัน
ไม่ว่าท่านจะไปทำสมาธิ หรือเจริญสติปัฏฐานสี่ ท่านก็จะมีฐานที่มั่นคงคอยรักษาตัวท่าน
อย่างน้อยท่านก็ได้รักษาตนให้ปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่หากมีสิ่งใดเป็นอุปสรรคเข้ามา
สติที่ท่านได้หมั่นรักษาไว้ก็จะทำให้ท่านมีสติกลับมาดูทีใจได้ทัน และควบคุมอารมณ์ได้
ควรศึกษาว่าศีลที่ปฏิบัติให้ดีนั้นครอบคลุมถึงเรื่องใดบ้าง
การปฏิบัติวิปัสสนานั้นเบื้องต้นต้องปฏิตบัติตนอย่างไรในเรื่องของศีล
ศีลสำหรับเป็นฐานในการปฏิบัติตนนั้นควรทำอย่างไรในชีวิตประจำวัน
ศีลคือฐานแรก หมั่นตั้งตนไว้ให้ถูกต้องไปพร้อมๆกับการปฏิบัติกรรมฐาน
เมื่อฐานของท่านตั้งไว้ดีแล้ว ฐานนั้นจะเป็นเหตุให้ท่านก้าวไปสู่ผลสำเร็จได้ค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ม.ค. 2015, 06:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

เหตุ ๖
viewtopic.php?f=66&t=41815

ธรรมทานกับเหตุ ๖

ในการทำกุศลทานในแต่ละครั้งนั้น ขอให้หยุดคิดสักนิดก่อน สำรวจดูใจตนเองว่า
ในขณะที่กำลังทำธรรมทานนั้น ท่านทำเพื่อประโยชน์ใคร. เพื่อประโยชน์ท่านหรือประโยชน์ผู้อื่น
ถ้าท่านเป็นผู้ทำบารมี. การให้ธรรมทานในแต่ละครั้งนั้นจะไม่มีการทำเพื่อตนเองเลยในการให้
เช่น ท่านเผยแผ่ธรรมะนั้น จะไม่มีความรู้สึกเชิดชูตัวตนของท่าน ไม่ต้องการคำยกย่องจากผู้อ่านว่าท่านเก่งและจะมีความรู้สึกว่าท่านกำลังให้ความเข้าใจแก่เพื่อนร่วมเดินทาง เป็นการให้ด้วยความเมตตา ให้ด้วยความกรุณาต่อกัน ให้ปัญญาแก่ผู้อ่าน เป็นต้น

การทำกุศลต่างๆนั้น ท่านควรสำรวจใจท่านก่อนว่าท่านมีเหตุ ๓ นี้หรือไม่. คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ถ้าหากขณะท่านทำกุศล หากท่านรู้ว่าเหตุ ๓ นี้มีในใจท่าน. คือโลภะ โทสะ โมหะ ตัวใดตัวหนึ่งเข้ามาเข้ามา ขอให้มีสติ และเปลี่ยนความตั้งใจใหม่ในการทำกุศลขณะนั้น เพราะการทำกุศลในขณะที่มีโลภะ โทสะ โมหะ ตัวใดตัวหนึ่งเกิดขึ้นเป็นเหตุ ๑ หรือเหตุ ๒ นั้น การกระทำธรรมทานในครั้งนั้นอกุศลได้เกิดขึ้นแล้ว

ขอให้มีสติคิดก่อนทำธรรมทานค่ะ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ก.พ. 2015, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

อนริยโวหาร 8 อย่าง

1. สิ่งที่ตนไม่เห็น บอกว่าเห็น
2. สิ่งที่ตนไม่ได้ยิน บอกว่าได้ยิน
3. สิ่งที่ตนไม่พบ บอกว่าพบ
4. สิ่งที่ตนไม่รู้ บอกว่ารู้
5. สิ่งที่ตนเห็น บอกว่าไม่เห็น
6. สิ่งที่ตนได้ยิน บอกว่าไม่ได้ยิน
7. สิ่งที่ตนพบ บอกว่าไม่พบ
8. สิ่งที่ตนรู้ บอกว่าไม่รู้


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ก.พ. 2015, 17:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ก.พ. 2011, 08:23
โพสต์: 1328


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: นโมตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

ข้อความบางส่วนจากวัดท่ามะโอ

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่หาได้ยากมี ๒ จำพวก คือ
๑. คนที่ทำบุญคุณก่อน
๒. คนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ
ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า คนที่ทำบุญคุณก่อน เหมือนเจ้าหนี้ ส่วนคนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ เหมือนลูกหนี้ หมายความว่า ถ้าเราได้รับบุญคุณจากผู้อื่น ไม่จำกัดเพียงเงินทองสิ่งของ แม้กระทั่งการเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือการอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ก็ต้องรู้จักบุญคุณและตอบแทนในเวลาที่เหมาะสม จึงจะเป็นการปลดหนี้ของตัวเอง คนที่ยังไม่ได้ตอบแทนบุญคุณของผู้อื่น ก็เหมือนคนที่มีหนี้อยู่ ไม่อาจเป็นอิสระไปได้เลย

:b8: :b8: :b8:

ความกตัญญูเป็นเครื่องหมายของคนดีค่ะ

.....................................................
พระพุทธศาสนามี ๒ นัย ดังนี้...นัยที่ ๑ คือคำสอนของพระพุทธองค์มี ๓ ประการ...เพื่อประโยชน์ในภพนี้ ในภพหน้า เพื่อเข้าถึงความสุขโดยส่วนเดียวคือพระนิพพาน...นัยที่ ๒ คือแก่นแท้ของพระพุทธศาสนาคืออริยสัจจ ๔ ซึ่งเป็นสภาวะธรรมที่ทำให้ผู้เห็นแจ้ง พ้นทุกข์ทั้งปวงได้ การศึกษาพระอภิธรรมว่าด้วยสภาวะธรรมทั้งสิ้น ผู้เห็นประโยชน์ย่อมได้รับประโยชน์ค่ะ
(เกิดมาไม่ได้เป็นผู้สร้าง ก็จงเป็นผู้ที่รักษา แต่จงอย่าเป็นผู้ที่ทำลาย)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2025, 20:09 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2538

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2025, 16:46 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 41 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร