วันเวลาปัจจุบัน 09 พ.ค. 2025, 11:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2025, 04:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1740224136100.jpg
FB_IMG_1740224136100.jpg [ 25.27 KiB | เปิดดู 1433 ครั้ง ]
กถาว่าด้วยสัมมสนญาณ
อ้างพระบาลีในสัมมสนญาณ
[๖๙๔] ในกลาปสัมมสนะนั้นมีพระบาลีดังต่อไปนี้.
ปัญญาในการกำหนดสังเขปธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน ชื่อญาณในสัมมสนะอย่างไร ?
รูปอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอดีต อนาคล และปัจจุบัน เป็นรูปภายในก็ตาม
ฯลฯ เป็นรูปไกลหรือเป็นรูปใกล้ก็ตาม ภิกษุกำหนดรูปทั้งหมดโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เป็นสัมมสนะอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์เป็นสัมมสนะอย่าง
หนึ่ง กำหนดโดยความเป็นอนัตตาเป็นสัมมสนะอย่างหนึ่ง เวทนาอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ฯลฯ วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ภิกษุกำหนดโดยความเป็นอนัตตา เป็น
สัมมสนะอย่างหนึ่ง
จักขุ ฯลฯ ชรา มรณะ ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภิกษุกำหนดโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นสัมมสนะอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความเป็นทุกข์ โดย
ความเป็นอนัตตา เป็นสัมมสนะอย่างหนึ่ง.
ปัญญาในการกำหนดสังเขปว่า รูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไม่
เที่ยง เพราะอรรถคือ สิ้นไป เป็นทุกข์ เพราะอรรถคือ เป็นภัย เป็นอนัตตา
เพราะอรรถคือ หาสาระมิได้ ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ ปัญญาในการกำหนด
สังเขปว่า เวทนา ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ชรา มรณะ ฯลฯ เป็นญาณใน
สัมมสนะ.
ปัญญาในการกำหนดลังเขปว่า รูปที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น
ของไม่เที่ยง เป็นของที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น อาศัยกันและกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป
เป็นธรรมดา มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา มีความคลายไปเป็นธรรมดา มีความ
ดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ ปัญญาในการกำหนดสังเขปว่า
เวทนา ฯลฯ วิญญาณ ฯลฯ จักขุ ฯลฯ ขรา มรณะ ฯลฯ ที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นของที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ฯลฯ มีความดับไปเป็น
ธรรมดา ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2025, 04:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8564


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาในการกำหนดสังเขปว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ เมื่อ
ชาติไม่มี ขรา มรณะก็ไม่มี ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ. ปัญญาในการกำหนด
สังเขปว่า แม้อดีตกาล แม้อนาคตกาล เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ เมื่อ
ชาติไม่มี ชรา มรณะก็ไม่มี ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ. ปัญญาในการกำหนด
สังเขปว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ ฯลฯ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังมีสังขาร
เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ. ปัญญาในการกำหนด
สังเขปว่า แม้อดีตกาล แม้อนาคตกาล เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เมื่อ
อวิชชาไม่มี สังขารก็ไม่มี ดังนี้ เป็นญาณในสัมมสนะ.

ความรู้นั้นชื่อว่า ญาณ เพราะอรรถว่า รู้แล้ว ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถ
ว่า รู้ทั่ว ด้วยเหตุนั้น ปัญญาในการกำหนดสังเขปธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นญาณในสัมมสนะ" ดังนี้.
ก็ในพระบาลิว่าด้วยสัมมนญาณนี้ กลุ่มธรรมทั้งหลายนี้ พึงทราบว่า ท่านสังเขป
ไว้ด้วยไปยาลนี้ว่า จกฺขุํ ฯเปฯ ชรามรณํ แปลว่า จักขุ ฯลฯ ชรา มรณะ ดังนี้ คือ : ธรรม
ทั้งหลายอันเป็นไปในทวารพร้อมทั้งตัวทวารและอารมณ์, ขันธ์ ๕. ทวาร ๖. อารมณ์ ๖.
วิญญาณ ๖, ผัสสะ ๖, เวทนา ๖, สัญญา ๖, เจตนา ๖, ตัณหา ๖, วิตก ๖, วิจาร ๖.
ธาตุ ๖, กลิณ ๑๐, โกฏฐาส ๓๒, อายตนะ ๑๒, ธาตุ ๑๘, อินทรีย์ ๒๒, ธาตุ ๓, ภพ
๙, ฌาน ๔, อัปปมัญญา ๔, สมาบัติ ๔, องค์ปฏิจจสมุปบาท ๑๒. เข้าไว้ด้วย.

อ้างพระบาลีอภิญไญยนิทเทส
ข้อนี้ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอภิญโญยนิทเทสดังนี้ว่า.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นสิ่งที่พึงรู้ยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่ง
ทั้งปวงเป็นสิ่งที่พึงรู้ยิ่ง ได้แก่อะไร ? ดูการภิกษุทั้งหลาย ได้แก่ จักขุเป็นสิ่งที่พึง
รู้ยิ่ง รูปทั้งหลาย ฯลฯ จักขุวิญญาณ ฯลฯ จักขุสัมผัส ฯลฯ แม้ความเสวยอารมณ์
นี้ใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัส
เป็นปัจจัย แม้ความเสวยอารมณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่พึงรู้ยิ่ง โสตะ ฯลฯ แม้ความเสวย
อารมณ์นี้ใด เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์บ้าง เกิดขึ้นพราะมโน
สัมผัสเป็นปัจจัย แม้ความเสวยอารมณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่พึงรู้ยิ่ง.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร