วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 22:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.พ. 2025, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




33050322_IMG_captureImage.png
33050322_IMG_captureImage.png [ 540.54 KiB | เปิดดู 1255 ครั้ง ]
อธิบาย สัจฉิกิริยากิจ

สัจฉิกิริยา (การทำให้แจ้ง เป็นกิจในนิโรธ ตามหลักว่า ทุกฺขนิโรโธ อริยสจฺจํ สจฺฉิกาตพฺพํ นิโรธควรทำให้แจ้ง คือ เข้าถึง หรือบรรลุ ได้แก่การเข้าถึงสภาวะที่ปราศจากปัญหา บรรลุจุดหมายที่ต้องการ

[๘๕๒] ข้อว่า แม้สัจฉิกิริยา มีความว่า สัจฉิกิริยาแม้จำแนกเป็น ๒ ส่วน คือ
๑.โลกียสัจฉิกิริยา ๒. โลกุตตรสัจฉิกิริยา
แต่สำหรับโลกุตตรสัจจิกิริยามี ๓ อย่าง โดยจำแนกเป็นทัสสนะและภาวนา
ในสัจฉิกริยา ๒ อย่างนั้น การสัมผัสฌานมีปฐมฌานเป็นต้น อันมาแล้วโดยนัยมี
อาทิว่า "เราเป็นผู้ได้ปฐมฌาน เราเป็นผู้ชำนาญในปฐมถาน ปฐมฌานเราได้กระทำให้
แจ้งแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า โลกียสัจฉิกิริยา

คำว่า การสัมผัส คือ ได้บรรลุแล้ว ได้ถูกต้องแล้ว โดยญาณผัสสะอย่างประจักษ์
ว่า "สิ่งนี้เราได้บรรลุแล้ว" ก็หมายถึงความข้อนี้ ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจึงได้ยก
ขึ้นแสดงว่า "สัจฉิกิริยาเป็นญาณ ในอรรถว่า ถูกต้องด้วยปัญญา" แล้วได้กล่าวการแสดง
ขยายความสัจฉิกิริยาว่า "ธรรมทั้งหลายใด ๆ ย่อมเป็นอันโยคาวจรได้กระทำให้แจ้งแล้ว
ธรรมทั้งหลายนั้น ๆ ก็เป็นอันเธอได้ถูกต้องแล้ว" ดังนี้.
อีกประการหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด แม้โยคาวจรมิได้ทำให้เกิดขึ้นในสันดานของ
ตน อันธอรู้แล้วด้วยญาณ มิได้มีผู้อื่นเป็นปัจจัยอย่างเดียว ธรรมทั้งหลายเหล่านั้นก็ย่อม
เป็นอันเธอกระทำให้แจ้งแล้ว ก็ด้วยเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสไว้ได้มีอาทิว่า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงอันภิกษุพึงกระทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวง
อันภิกษุพึงกระทำให้แจ้งคืออะไร ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักขุอันภิกษุพึงกระทำให้แจ้งดีงนี้

แม้พระบาลีอื่นอีก ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็กล่าวไว้ว่า "ภิกษุเห็นหมู่ย่อม
กระทำให้แจ้งซึ่งรูป ภิกษุเห็นอยู่ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเวทนา ฯลฯ ภิกษุเห็นอยู่ย่อมกระทำ
ให้แจ้งซึ่งวิญญาณ ภิกษุเห็นอยู่ย่อมทำให้แจ้งซึ่งจักขุ ฯลฯ ซึ่งชรามรณะ ภิกษุเห็นอยู่ย่อม
ทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันหยั่งลงสู่อมตะ ว่า "ธรรมทั้งหลายใด ๆ ย่อมเป็นอันโยคาวจรกระทำ
ให้แจ้งแล้ว ธรรมทั้งหลายนั้น ๆ ก็ย่อมเป็นอันอันเธอถูกต้องแล้ว" ดังนี้.

ก็การเห็นพระนิพพานในขณะแห่งปฐมมรรค ชื่อว่า ทัสสนสัจฉิกิริยา การเห็น
นิพพานในขณะแห่งมรรคที่เหลือ ชื่อว่า ภาวนาสัจฉิกิริยา สัจฉิกิริยาทั้ง ๒ อย่างนั้น ท่าน
ประสงค์เอาในสัจฉิกิริยากิจนี้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า การทำให้แจ้งซึ่งซึ่งพิพานด้วย
อำนาจทัสสนะและภาวนา เป็นกิจแห่งญาณนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.พ. 2025, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1738061491009.jpg
FB_IMG_1738061491009.jpg [ 385.57 KiB | เปิดดู 1143 ครั้ง ]
อธิบาย สัจฉิกิริยากิจ

(๘๕๒) (๓๕๔) การกระทำให้แจ้งโลกิยะ หรือการกระทำให้เจ้งอันเป็นโลกียะ
ชื่อว่า โลกิยสัจฉิกิริยา. พึงทราบว่า โลกุตตรสัจฉิกิริยา อย่างนี้. บทว่า ลาภิมฺหิ ตัดเป็น
ลาภี อมฺหิ แปลว่า เราเป็นผู้ได้. แม้ในบทว่า วสิมฺหิ นี้ ก็อย่างนั้น. คำว่า โดยญาณผัสสะ
อย่างประจักษ์ คือ โดยญาณผัสสะ กล่าวคือการทำให้เป็นอารมณ์อย่างประจักษ์, ก็ด้วย
คำว่า อย่างประจักษ์ นี้ ท่านอาจารย์ย่อมห้ามการกระทำให้เป็นอารแณ์โดยอนุมาน ด้วย
ว่าความรู้อย่างประจักษ์ด้วยอำนาจการพิจารณาว่า "สิ่งนี้เป็นเช่นนี้" ท่านประสงค์เอาว่า
"ญาณผัสสะ". บทว่า ผุสิตา ความว่า อันเธอถูกต้องแล้วด้วยญาณ. ญาณที่เข้าไปด้วย
การกำจัดอย่างนั้น ด้วยอำนาจกำจัดสัมโมหะอันปกปิดสัจจะนั้น แม้มิให้เกิดขึ้นในสันดาล
ของตน เหมือนดังฌานและมรรคผล ชื่อว่า ญาณมิได้มีผู้อื่นเป็นปัจจัย. เห็นอยู่ คือ รู้โดย
ประจักษ์. คำว่า อันหยั่งลงสู่อมตะ คือ อันนับเนื่องในอมตะ อธิบายว่า กล่าวคืออมตะ.

โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า ทัสสนะ เพราะเห็นนิพพานก่อน, การทำให้แจ้งด้วยทัสสนะ
นั้น ชื่อว่า ทัสสนสัจฉิกิริยา. โคตรภูญาณเห็นนิพพานก่อนกว่าโสดาปัตติมรรคนั้นแม้โดย
แท้ ถึงอย่างนั้นก็หาเรียกว่าทัสสนะไม่ เพราะมิได้ทำกิจที่พึงเห็นโดยการทำให้เป็นอารมณ์
แล้วจึงทำ คำว่า สัจฉิกิริยาทั้ง ๒ อย่าง ได้แก่ สัจฉิกริยากิจทั้ง ๒ อย่าง คือที่ทัสสนะ
ภาวนา.
คำว่า ด้วยอำนาจทัสสนะและภาวนา ได้แก่ คือทัสสนมรรค และภาวนามรรค
ด้วยคำนั้น ท่านอาจารย์ย่อมห้ามการกระทำให้แจ้งด้วยการพิจารณานิพพาน อันเป็นไป
ด้วยอำนาจธรรมที่มิใช่เป็นมรรค.

ส่วนด้วยคำว่า ซึ่งนิพพาน นี้ ท่านอาจารย์ย่อมห้ามการทำให้แจ้งด้วยการพิจารณา
ในมรรคแลผล. คำว่า แห่งญาณนี้ ความว่า แห่งญาณนี้ คือ ตามที่ได้บรรลุแล้ว.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร