วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 17:25  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2025, 14:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1738715277176.jpg
FB_IMG_1738715277176.jpg [ 145.02 KiB | เปิดดู 1784 ครั้ง ]
:b55:
วิโมกข์มุข ๓ ได้แก่ อริยมรรค

[๗๖๙] ถามว่า วิโมกข์ที่มีอนุปัสสนาเป็นมุขได้แก่อะไรบ้าง ?
ตอบว่า วิโมกข์ทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ :-
๑.อนิมิตตวิโมกข์ ๒.อัปปณีหิตวิโมกข์ ๙. สุญญตวิโมกข์.

ข้อนี้ สมด้วยคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า "ภิกษุมนสิการไปโดย
ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ ย่อมได้เฉพาะซึ่งอนิมิตตวิโมกข์ มนสิการ
ไปโดยความเป็นทุกข์ เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้เฉพาะซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์ มนสิการ
ไปโดยความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยเวท (คือความรู้) ย่อมได้เฉพาะซึ่งสุญญตวิโมกข์"

อธิบายพระบาลี

ในพระบาลีนี้ คำว่า อนิมิตตวิโมกข์ ได้แก่ อริยมรรคอันกระทำพระนิพพานให้เป็น
อารมณ์เป็นไปโดยอาการอันหานิมิตมิได้ ก็อริยมรรคนั้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อนิมิต เพราะ
เกิดขึ้นด้วยธาตุอันหานิมิตมิได้ และชื่อว่า วิโมกข์ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย

โดยนัยนี้แหละ อริยมรรคอันกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็นไปโดยอาการ
อันหาปณิธิมิได้ พึงทราบว่า ชื่อว่า อัปปฏิหิตวิโมกข์ อริยมรรคอันกระทำพระนิพพานให้
เป็นอารมณ์โปโดยอาการอันว่างเปล่า พึงทราบว่า ชื่อว่า สุญญตวิโมกข์.

วิโมกข์มุข ๓ ได้แก่ อริยมรรค

(๗๖๙] ท่านอาจารย์ครั้นแสดงวิโมกขมุขเป็นต้นอย่างนี้แล บัดนี้ ประสงค์จะ
แสดงวิโมกข์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า กตเม ปน ดังนี้.
(๓๐๐) คำว่า ภิกษุมนสิการไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง คือ ประกอบเนืองๆ
ซึ่งอนิจจานุปัสสนา. คำว่า เป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ คือ เป็นผู้มากด้วยสัทธินทรีย์ ว่าโดย
พิเศษ อนิจจานุปัสสนาของภิกษุใด เป็นธรรมชาติเข้มแข็ง กล้าหาญ สัทธินทรีย์ของภิกษุ
นั้นย่อมมีประมาณยิ่ง. เพราะเมื่อเธอปฏิบัติด้วยเพียงมีศรัทธาแต่ต้นว่า สังขารทั้วหลาย
ไม่เที่ยง ดังนี้ เห็นโดยประจักษ์อย่างยอดเยี่ยมซึ่งความที่สังขารเหล่านั้น แม้ในวัตถุมีแก้ว
และทองเป็นต้น ก็เป็นของไม่เที่ยง เหมือนอย่างในใบอ่อนของต้นไม้เป็นต้น ด้วยวิปัสสนา
ชั้นอุกฤษฏ์ ศรัทธาในพระศาสดาว่า พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะ
หนอ ดังนี้ ย่อมเป็นไปอย่างมีกำลัง เพราะเหตุนั้น เธอจึงเป็นผู้มากด้วยอธิโมกข์ และเป็น
ผู้มีครัทธามีประมาณยิ่ง. วฏฐานะ (การออกจากสังขารปวัตตะ) โดยอาการเป็นของไม่เที่ยง
ย่อมมีเพราะความที่เธอเป็นผู้มากไปด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะเหตุนั้น ท่านพระธรรม
เสนาบดีจึงกล่าวว่า ย่อมได้เฉพาะซึ่งอนิมิตตวิโมกข์.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2025, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า เป็นผู้มากด้วยปัสสัทธิ ความว่า ประกอบเนือง ๆ อยู่ซึ่งทุกขนนุปัสสนา น้อม
ใจไปสู่ความที่พระนิพพาน เป็นธรรมสงบ ประณีต เป็นสุข ด้วยอำนาจการมนสิการ ว่า
สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และว่านี้โรธเป็นสุข เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขารนั้น ดังนี้ ย่อม
เป็นผู้มากไปด้วยปัสสัทธิ เพราะประกอบด้วยปิติและปราโมทย์เนือง ๆ. และต่อแต่นั้น
การประสบอัปปณิหิตวิโมกข์ก็ย่อมสำเร็จ เพราะความที่ราคปณิธิอยู่ห่างไกล เพราะการ
ได้สมาธินทรีย์อันมีประมาณยิ่ง เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า มนสิการไปโดย
ความทุกข์ เป็นผู้มากไปด้วยปัสสัทธิ ย่อมได้เฉพาะซึ่งอัปปณิหิตวิโมกข์. คำว่า เป็นผู้
มากด้วยเวท (คือความรู้) ความว่า เมื่อประกอบเนือง ๆ ซึ่งอนัตตานุปัสสนา ย่อมเป็นผู้
มากด้วยญาณ เพราะความเป็นผู้มีญาณอันละเอียดเป็นวิสัยด้วยอัตตสุญญตา. และต่อ
แต่นั้น ความประสบสูญญัตวิโมกข์ก็ย่อมสำเร็จ เพราะความที่โมหะอยู่ห่างไกล ด้วยการ
ได้ปัญญินทรีย์อันมีประมาณยิ่ง เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า มนสิการไปโดย
ความเป็นอนัตตา เป็นผู้มากด้วยเวท ย่อมได้เฉพาะซึ่งสูญญูตวิโมกย์ ดังนี้.

ภิกษุใดกำหนดสังธารทั้งหลายด้วยอำนาจเป็นนิมิตแห่งอนิจจานุปัสสนา ประกอบ
เนือง ๆ อยู่ซึ่งวิปัสสนา น้อมใจไปโดยอาการอันหานิมิตมิได้ว่า สังขารนิมิตนี้ไม่มีโดยประการ
ทั้งปวงในธรรมชาติใด ธรรมชาตินั้นเป็นนิพพานอันหานิมิตมิได้ เชื่อมไปกับมรรคอันเป็น
วุฏฐานคามืนี มรรคของภิกษุนั้นท่านกล่าวว่า ย่อมทำให้แจ้งจังซึ่งพระนิพพานโดยหานิมิตมิได้
เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า อริยมรรคอันกระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์
เป็นไปโดยอาการอันหานิมิตมิได้ ดังนี้ อาการอันหานิมิตมิได้ของพระนิพพานนี้นั้น มิใช่
มรรคกระทำขึ้น มิใช่วิปัสสนากระทำขึ้น โดยที่แท้สำเร็จแล้วโดยสภาวะ. ท่านอาจารย์เมื่อ
จะแสดงว่า ก็มรรคท่านเรียกว่า อนิมิต เพราะมีนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ จึงกล่าวว่า ชื่อว่า
อนิมิต เพราะเกิดขึ้นด้วยธาตุอันหานิมิตมิได้ ดังนี้.

พึงประกอบความด้วยคำว่า ภิกษุใดน้อมใจไปสู่อัปปณิหิตะ ด้วยการกระทำความ
ที่ปณิธิให้ห่างไกล ด้วยอำนาจทุกขานุปัสสนา ดังนี้เป็นต้น และด้วยคำว่า ภิกษุใดน้อมใจ
ไปสู่สุญญตะ ด้วยการกระทำการเข้าไปได้ซึ่งอัตตาให้ห่างไกลด้วยอำนาจอนัตตานุปัสสนา
ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า โดยนัยนี้แหละ ดังนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร