วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 07:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2025, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




twitteryogiturkiyejpg-xXu4gdk0f0idsOJNjJ2Hhw.jpg
twitteryogiturkiyejpg-xXu4gdk0f0idsOJNjJ2Hhw.jpg [ 138.23 KiB | เปิดดู 1384 ครั้ง ]
เกิดสังขารุเบกขาญาณ
[๗๖๖] ครั้นเห็นโดยความเป็นของสูญอย่างนี้แล้ว กำหนดจับสังขารยกขึ้นสู่
พระไตรลักษณ์ ย่อมเป็นผู้ละความกลัวและความยินดีเสียได้ วางตนเป็นกลาง วางเฉยใน
สังขารทั้งหลาย ไม่ถือเอาว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา ดังบุรุษผู้มีภริยาอันหย่ากันแล้ว
ฉะนั้น.
อุปมาเหมือนภริยาของบุรุษ พึงเป็นหญิงน่าปรารถนา น่ารักโคร่ น่าชอบใจ บุรุษ
ผู้นั้นไม่อาจทนพรากจากหล่อนแม้ครู่เดียว เขาหวงหล่อนเหลือเกิน บุรุษนั้นนั้นเห็นหญิงนั้น
ยืน หรือนั่ง หรือคุย หรือหัวเราะ กับบุรุษอื่น พึงโกรธ เสียใจ เสวยโทมนัสเกินประมาณ
ต่อมาบุรุษนั้นเห็นโทษของหญิงนั้น เป็นผู้ประสงค์จะปล่อยไป จึงหญิงหย่าหญิงนั้น ไม่พึงยืด
ถือหญิงนั้นว่าเป็นของเรา ตั้งแต่นั้นมา แม้เห็นหญิงนั้นทำอย่างใดอย่างหนึ่งกับบรุษอื่นก็
ไม่พึงโกธ ไม่พึงถึงโทมนัส วางตนเป็นกลาง เป็นผู้วางเฉยโดยแท้ ข้อนี้ฉันใด โยคาวจรนี้
ก็เหมือนฉันมั้นทีเดียว เป็นผู้ต้องการจะปล่อยจากสังขารทั้งปวง จึงกำหนดสังขสรทั้งหลาย
ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ไม่เห็นความที่สังขารทั้งหลายเป็นสิ่งที่น่าถือเอาว่า เป็นเรา เป็น
ของเรา ละความกลัวและความยินดีเสียได้ วางตนเป็นกลาง ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสังขาร
ทั้งหลาย.
โยคาวจรนั้นเมื่อรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมถอย ย่อมหด ย่อมกลับ ไม่
เหยียดยื่นไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาวาส ๙ อุเบกขา หรือ
ความที่สังขารน่าเกลียด ย่อมตั้งมั่น.
เปรียบเหมือนหยาดน้ำทั้งหลายในใบปทุนที่เอียงไปมิตหน่อย ย่อมถอย ย่อมกลับ
ไม่ยึดไป แม้ฉันใด จิตของโยคีนั้น ก็ฉันนั้นหมือนกัน. แม้อุปมาหนึ่ง เปรียบขนหมือนไก่
หรือเอ็น และหนังแห้ง ใส่เข้าไปในไฟ ย่อมหดงอกลับไม่เหยียดออกไป ฉันใด จิตของ
โยคาวจรนั้น ย่อมถอย ย่อมหด ย่อมกลับ ไม่เหยียดยื่นไปในภพ ๓ ฯลฯอุเบกขา หรือ
ความที่สังขารน่าเกลียด ย่อมตั้งมั่น ฉันนั้น สังขารุเบกขาญาณย่อมเป็นอันเกิดขึ้นแก่โยคี
นั้นด้วยประการฉะนี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ก.พ. 2025, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


เกิดสังขารุเบกขาญาณ
[๗๖๖] (๒๙๗) ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงว่า เมื่อโยคาวจรแม้กำหนดความเป็น
ของสูญโดยอาการ ๔๒ อย่าง ในขันธ์ทั้งหลายเฉพาะแต่ละขันธ์ด้วยอำนาจตีรตีรณปริญญา
อย่างนี้ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนาด้วยอำนาจอนุปัสสนา ๓ อย่างนั่นเอง ย่อมมีความเกิด
ขึ้นแห่งสังขารุเบกขาญาณได้ จึงกล่าวคำว่า โดยความเป็นของสูญอย่างนี้ ดังนี้ เป็นต้น
ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า กำหนด คือ พิจารณา. คำว่า ละความกลัวและละความยินดีเสีย
ได้ ความว่า ละความกลัวที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยความวิบัติแห่งสังขารทั้งหลาย และปีติที่
เกิดขึ้น เพราะอาศัยสมบัติแห่งสังขารเหล่านั้นเสียได้ เพราะความเป็นผู้วางเฉย. อีกอย่าง
หนึ่ง ความว่า ละความกลัวด้วยญาณที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจกภยตุปัฏฐานญาณ และความยืนดี
กล่าวคือปีติที่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจสัมมสนญาณ. ก็เมื่อได้เห็นความเป็นของว่างเปล่าโดย
ประการทั้งปวงแล้ว ความกลัวและความยินดีจะมีโอกาสหยั่งลงก็หาไม่ โดยที่ อุเบกขา
เท่านั้นย่อมดำรงอยู่. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ย่อมเป็นผู้วางเฉยในสังขาร
ทั้งหลาย. ในคำนั้น ความเป็นผู้ไม่ว่างเฉยพึงมิได้ด้วยการถึดใด ท่านอาจารย์เมื่อจะ
แสดงความไม่มีการถือผิดนั้น จึงกล่าวว่า ไม่ถือเอาว่าเป็นเรา หรือว่าเป็นของเรา ดังนี้
บัดนี้ ท่านอาจารย์เมื่อจะแสดงอุปมาแห่งความที่โยคาวจรนั้นเป็นผู้วางเฉย จึงกล่าวว่า
ดังบุรุษผู้มีภริยาอันหย่ากันแล้ว ฉะนั้น ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น ท่านอาจารย์กล่าวคำว่า พึงเป็นหญิงน่าปรารถนา น่ารักใคร่
ดังนี้เป็นต้น เพื่อจะแสดงว่า ความเป็นผู้วางเฉย มีความเป็นผู้ไม่วางเฉยเป็นเบื้องต้น ที่
กำลังกล่าวอยู่ ย่อมแผ่ไปเพื่อความเป็นอุปมาในที่นี้. ชื่อว่า เขาหวงหล่อนเหลือเกิน เพราะ
ไม่รู้ความเป็นคนโอ้อวด ความเป็นคนโกง และความเป็นคนคดป็นต้น ของหญิงทั้งหลาย
สองบทว่า มุญฺจิตุกาโม หุตฺวา อธิบายว่า ประสงค์จะปล่อยไป. จึงหย่าหญิงนั้น เสีย
ด้วยอำนาจแห่งความเป็นผู้ไม่ใจดีนั่นเอง. อยํ โยค โยคาวจร แปสว่า โยคาวจรนี้ พ้น
มุญจิตุกัมยตาญาณไป วิปัสสนาที่เป็นไปตลอดเวลาที่สังขารุเบกญาณยังไม่ไปเกิด เป็น
ปฏิสังขานุปัสสนาอย่างเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า จึงกำหนดสังขาร
ทั้งหลายด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ดังนี้. คำว่า ย่อมถอย ความว่า ย่อมแอบไป คือเป็น
เหมือนแอบไปข้างหนึ่ง. คำว่า ย่อมหด คือ ย่อมงอ. คำว่า ย่อมกลับ คือ ย่อมเปลี่ยนไป
คำว่า ไม่เหยียดยื่นไป คือ ไม่ซ่านไป อธิบายว่า ไม่แล่นไปด้วยอำนาจความยินดียินดียิ่ง
บทความ อิจฺจสฺส ตัดเป็น อิติ อสฺส อิติ ความเท่ากับ เอวํ อสฺส โยค โยคิโน
แปลว่า แก่โยคีนั้นด้วยประการฉะนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร