วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 05:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




17.jpg
17.jpg [ 103.53 KiB | เปิดดู 685 ครั้ง ]
อาสึวิโสปมสูตร
หมู่บ้านร้าง = อายตนะภายใน ๖

หลังจากที่บุรุษนั้นพบว่ามีสายลับหรือศัตรูภายในอยู่ จึงหนีต่อไป
เขาไปถึงหมู่บ้านร้างแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพักอาศัย หมู่บ้านร้างนี้เปรียบ
เสมือนอายตนะภายใน ๖ นั่นเอง เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีแก่นสาร

คำว่า อายตนะ มีความหมายตามรากศัพท์ว่า "สภาวะก่อให้เกิด
สังสารทุกข์อันยาวนาน" นั่นก็คือ เมื่อเรามีอายตนะภายใน ๖ ได้แก่ ตา
หู จมูก ลิ้น กาย และใจ รวมไปถึงมีอายตนะภายนอก ๖ คือ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์คือมโนสัมผัส เราจึงต้องเวียนว่าย
ตายเกิดต่อไป เพราะอายตนะเหล่านี้เป็นสภาวะก่อให้เกิดสังสารทุกข์
อันยาวนานนั่นเอง^

ชาวโลกมักยึดติดผูกพันกับอายตนะภายในเหล่านี้ เช่น ในเวลา
ที่เห็นรูป เรามักรู้สึกว่าดวงตาของเรามองเห็นได้ชัดเจน จึงยึดติดผูกพัน
กับดวงตาของตน อีกทั้งยังรู้สึกว่าดวงตาเป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นของเที่ยง
เพราะตอนนี้เรายังไม่เห็นความแปรปรวนของดวงตา เนื่องจากยังไม่มี
ทุกข์เกิดขึ้น และเป็นอัตตาตัวตน คือเป็นส่วนหนึ่งในร่างกายของเรา

เมื่อเรารู้สึกยินดีพอใจเช่นนี้ นับว่าเกิดกิเลสโดยเนื่องด้วยดวงตา
และเมื่อเป็นเช่นนั้นดวงตาจึงนับว่าเป็นสิ่งที่ขยายภพชาติของเรา ดวงตา
นั้นทำให้เห็นรูปที่สวยงาม ส่งผลให้เกิดความยินดีพอใจ ต้องการที่จะให้
อาสวใสปมสูตร
รูปนั้นอยู่กับเรานานๆ อยู่กับเราตลอตไป หรืออยากครอบครองให้ได้มา
เป็นสมบัติของเรา ตังนั้น การยืดติดผูกพันในตวงตาจึงทำให้ภพชาติต้อง
ยืดยาวออกไปด้วยอำนาจของกิเลสซึ่งเกิดขึ้นโดยอาศัยดวงตา

นอกจากนั้น คนที่ตวงตาไม่ดี มีดวงตาฝ้าฟาง ก็ต้องการจะให้
ดวงตาของตนตีขึ้น สิ่งนี้คือความโลภ ในบางขณะเราก็ไม่พอใจควงตา
ของเรา ซึ่งอาจไม่สวยงามหรือมองเห็นไม่ชัดเจนในขณะนั้นเราเกิดโทสะ
อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นความไม่ชอบใจ เราก็รู้สึกว่าดวงตานั้นเป็นของ
เที่ยง เป็นสุข และเป็นอัตตาตัวตนอยู่ตลอดเวลา ดวงตายังมองเห็นรูปที่
ไม่พึงพอใจ ก่อให้เกิดโทสะโดยเนื่องด้วยรูปที่เห็นอีกด้วย

ดังนั้น ดวงตาหรือรูปจึงเป็นเหตุให้เกิดกิเลสทางใจ ไม่ว่าจะเป็น
ความโลภ ความโกรธ หรือความหลงก็ตาม ความหลง หมายความว่า
ในทุกขณะที่เรารู้สึกว่ามีรูปร่างสัณฐาน เป็นต้น นั่นคือเราเกิดโมหะหรือ
ความหลงตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ อายตนะจึงมีความหมายว่า สภาวะขยาย
ภพชาติ

พระพุทธองค์ตรัสเปรียบอายตนะภายใน ๖ ว่าเหมือนหมู่บ้าน
ร้าง คือ ดวงตาของเรานี้ไม่มีแก่นสารแต่อย่างใด เป็นของไม่เที่ยงซึ่งมี
การเกิดดับตลอดเวลา เป็นทุกข์เพราะถูกบีบคั้นด้วยการเกิดดับ และไมใช่
ตัวตนเพราะไม่อยู่ในบังคับบัญชาที่เราต้องการ ถึงแม้เราต้องการให้
ดวงตาของเราสวยงามใสกระจ่าง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนอยู่เสมอ แต่
มันก็มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะดวงตาดำรงอยู่ตามเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 08:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




17.jpg
17.jpg [ 110.28 KiB | เปิดดู 678 ครั้ง ]
ตามหลักพระอภิธรรม จักขุทสกกลาป ได้แก่ กลาปที่ประกอบ
ด้วยกัมมชรูป ๑๐มชนิดที่มีจักขุประสาทเป็นประธาน (จักขุประสาทเป็น
รูปใสอยู่กลางตาดำภายในลูกตา) ได้แก่ ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี
ก็สิน รส โอชา (คือสารอาหาร) และ ชีวิตินทรีย์ หรือชีวิตรูป ซึ่งเป็นรูป
ที่ทำหน้าที่รักษารูปต่างๆ ให้ดำรงอยู่ใด้ ตราบจนถึงที่สุดของชีวิตซึ่งรูป
เหล่านั้นจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาจนกระทั่งตาย เมื่อนั้นการทำงานของ
รูปเหล่านั้นจึงจะหยุดลง

นอกจากดวงตาจะประกอบด้วยรูปกลาป ๑๐ ชนิดเหล่านี้แล้ว
ก็ยังมีจิต อุตุ และอาหารทำหน้าที่อุปถัมภ์ดวงตา ถ้าธาตุทั้ง ๔ แปรปรวน
หรือจิต อุตุ และอาหารแปรปรวน ย่อมส่งผลให้ดวงตาเปลี่ยนแปลง จะ
เห็นได้ว่า ดวงตาในขณะเกิดกุศลจิต เช่น ขณะแผ่เมตตาจะมีแววตา
อ่อนโยน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากดวงตาในขณะเกิดโทสะที่มีแววตา
ดุดัน แข็งกร้าว

รูปเกิดจาก ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ และ อาหาร ตาม
สมควร กรรม หมายถึงกรรมเก่าในอดีตและกรรมใหมในปัจจุบัน ถ้าเรา
นอนพอ ดวงตาของเราก็กระจ่างใส ถ้านอนไม่พอ ดวงตาของเราจะ
ฝ้าฟางเกิดการเปลี่ยนแปลงในดวงตา จิตก็เช่นเดียวกัน หากจิตที่ผ่องใส
เป็นกุศลเกิดขึ้น ดวงตาของเราย่อมดูดี ถ้าจิตที่เปี่ยมด้วยความโลภหรือ
ความโกรธเกิดขึ้น ดวงตาของเราก็มักเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้น อุต
คืออุณหภูมิ หรืออาหารก็ทำให้ดวงตาของเราเปลี่ยนแปลงได้เช่นเดียวกัน
จะเห็นได้ว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจล้วนขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย
คือ ธาตุทั้ง ๔ กรรม จิต อุตุ และอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่าอายตนะภายใน ๖ เหมือน
หมู่บ้านร้างซึ่งปราศจากเครื่องอุปโภคบริโภค ไร้แก่นสารโดยสิ้นเชิง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ก.ค. 2022, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




1361133511-url-o.jpg
1361133511-url-o.jpg [ 96.54 KiB | เปิดดู 679 ครั้ง ]
โจร ๖ คน = อายตนะภายนอก ๖"

เมื่อบุรุษผู้นี้พบหมู่บ้านร้างแล้วเห็นว่าไม่อาจยืดเป็นที่พำนักได้
จึงออกเดินทางต่อไปจนพบกับโจร ๖ คน ซึ่งก็คืออายตนะภายนอก ๖
หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ หมายความว่า
โจรเป็นผู้ที่ปลันทรัพย์จากเราไป ฉันใด อายตนะภายนอก ๖ ก็ปล้นกุศล
จากใจของเรา ฉันนั้น

ในขณะที่เรามองเห็นรูปต่างๆ ทางตา เรามักเกิดกิเลสทางใจ
คือ ถ้าเป็นรูปที่สวยงามน่าพอใจ ความโลภย่อมเกิดขึ้น หรือถ้าเป็นรูปที่
ไม่สวยงามไม่น่าพอใจ โทสะก็ย่อมเกิดขึ้น และในขณะนั้นก็มีโมหะเกิด
ขึ้นร่วมกับโลภะและโทสะเสมอ ทั้งนี้เพราะโมหะทำหน้าที่ปิดบังโทษของ
ความโลภและความโกรธ จึงทำให้เรายินดีพอใจที่จะโลภและโกรธต่อไป

ความจริงในขณะรับรู้อารมณ์ภายนอกหรืออายตนะภายนอก
ดังกล่าว ถ้าเราเกิดโยนิโสมนสิการ คือ การใสใจด้วยปัญญา มีความ
ระมัดระวังไม่ให้เกิดกิเลส โจรซึ่งเปรียบกับอายตนะภายนอกเหล่านั้น
ก็ไม่สามารถจะปล้นกุศลจากเราไปได้

วิธีกำหนดรู้อายตนะ

ดังนั้น ในขณะที่สภาวะเห็นปรากฏอยู่ ผู้ปฏิบัติควรกำหนดว่า
"เห็นหนอ " โดยเพียงแต่รับรู้สภาวะเห็น ในขณะนั้นจัดว่าเราเกิดศรัทธา
ที่เชื่อมั่นเสื่อมใสเพราะศรัทธาเป็นเหตุให้เจริญสติได้ ถ้าไม่มีศรัทธาเราก็
เจริญสติไม่ได้ เกิดวิริยะความเพียรในการปฏิบัติธรรม เกิดสติที่ระลึกรู้
สภาวะเห็นในปัจจุบันขณะ เกิดสมาธิคือความตั้งมั่น และเกิดปัญญาคือ
การรู้เห็นสภาวะเห็นตามความเป็นจริงโดยปรมัตถ์ว่าเป็นเพียงสภาที่
ปรากฏขึ้นอาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์ ไม่มีบุคคลสิ่งของที่ถูกเห็น
แต่อย่าง

สภาวะเห็นนี้เป็นเพียงนามธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเกิดทางใจและเกิด
ขึ้นตามเหตุปัจจัยเช่นเดียวกัน บุคคลที่สามารถรับรู้เช่นนี้ถือว่าได้รับรู้
สภาวะเห็น เมื่อเป็นเช่นนั้น โจรซึ่งเปรียบได้กับอายตนะภายนอก ๖ ก็
ไม่อาจปล้นทรัพย์ที่เปรียบได้กับกุศลของเราไปได้

อย่างไรก็ตาม ในขณะพบกับรูปารมณ์เป็นต้นที่น่าชอบใจ โดย
ทั่วไปแทบทุกคนไม่อาจจะปฏิเสธความพอใจในสิ่งที่เห็นหรือเสียงไพเราะ
ที่ได้ยินได้เลย อีกทั้งในขณะที่พบกับรูปารมณ์เป็นต้นที่ไม่น่าชอบใจ คน
ส่วนมากมักมีใจประทุษร้าย ดังนั้น อายตนะภายนอก ๖ เหล่านี้จึงเหมือน
กับโจรที่ปลันทรัพย์ซึ่งเปรียบได้กับกุศลของเราในขณะที่เกิดความโลภ
หรือความโกรธ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร