วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2022, 07:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




lovepik-panoramic-mountain-and-river-forest-landscape-map-picture_500635069.jpg
lovepik-panoramic-mountain-and-river-forest-landscape-map-picture_500635069.jpg [ 116.65 KiB | เปิดดู 676 ครั้ง ]
กัมมปัจจัย

กรรมเป็นปัจจัยช่วยเกื้อกูล

ปัจจยธรรม ได้แก่ กรรมในชาติปัจจุบันกับกรรมในอดีตชาติ
ปัจจยุปันนธรรม ได้แก่ ผลดี ผลชั่ว คุณโทษต่างๆ
พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า เจตนาห์ ภิกขเว กมมํ วทามิ. เจตนาเป็นตัว
กรรม, การกระทำทางกายโดยมีเจตนา เรียกว่า "กายกรรม" การพูดโดยมีเจตนา
กว่า "วจีกรรม" การมีเจตนานึกคิด เรียกว่า "มโนกรรม" เพราะกรรม
จึงก่อให้เกิดการเสวยผลทั้งทางที่ตีและไม่ดีต่างๆ นานา นี้แหละที่พระพุทธองค์
ทรงเรียกว่า การทำอุปการะแห่งกัมมปัจจัย

กรรมที่ว่านี้มี ๒ ประเภท คือ ๑) สหชาตกรรม คือ กรรมที่ก่อให้เกิดผลใน
ขณะที่กำลังทำกรรมนั้น ๒) นานักขณิกกรรม คือกรรมที่ก่อให้เกิดผลภายหลัง
จากที่ทำกรรมนั้นแล้ว ยกตัวอย่าง ในกรณีของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต พึงทราบ
ว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะฆ่าผู้อื่นให้ถึงแก่ความตาย จะก่อให้ทั้งภาค
นามธรรมกล่าวคือจิตใจ และภาครูปธรรมกล่าวคือร่างกายของบุคคลผู้จะฆ่านั้น
เกิดภาวะแข็งกระด้าง, หยาบ, เหี้ยม, โหด

ในกรณีของบุคคลผู้ทำการช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพ้นจากความตาย พึงทราบ
ว่า ด้วยกำลังแห่งกรรมเจตนาที่มุ่งจะช่วยชีวิตผู้อื่นให้รอดพันจากอันตราย จะก่อ
ให้ทั้งภาคนามธรรมและรูปธรรมของผู้นั้นเกิดภาวะสุภาพอ่อนโยน
เจตนาที่หยาบ ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายหยาบไปด้วย เจตนาที่อ่อนโยน
ย่อมทำให้จิตใจและร่างกายอ่อนโยนไปด้วย ก็ลักษณะเช่นนี้แล ท่านเรียกว่า
เป็นการทำอุปการะด้วยสหชาตกัมมปัจจัย

ในอดีตกาลครั้งหนึ่งผู้ที่คยให้ความช่วยเหลือบุคคลผู้หนึ่ง พอถึงปัจจุบัน
เมื่อตนเองต้องการความช่วยเหลือบ้าง ผู้นั้นก็จะได้รับการช่วยเหลือตอบ ก็ดี
ได้รับเบี้ยบำเหน็จ บำนาญ เมื่อตอนเกษียณอายุงาน ก็ดี ในกาลครั้งหนึ่งเคยทำ
ผิดกฎหมาย แม้ว่าจะสามารถหลบซ่อน หรือหลบหลีกกฎหมายได้
ต่เมื่อความจริงปรากฏ เขาก็จะต้องรับโทษทัณฑ์ที่ได้กระทำไว้อย่างแน่นอน
นี้แล คือตัวอย่างของการได้รับผลดี ผลชั่ว เพราะอำนาจของนานักขณิกเป็นเหตุ
การที่บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างแท้จริงนั้น จะต้องเป็นผู้ที่
เข้าใจเรื่องกรรมและเชื่อกรรมและผลของกรรม พระพุทธองค์ทรงรับรองไว้ด้วย
พระองค์เองว่า เพราะบารมีกรรมที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญมาตลอด ๔ อสงไข
กับอีก ๑ แสนกัปป์ จึงทำให้พระองค์สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขอให้ท่านทั้งหลาย นึกถึงความแตกต่างแห่งกรรมและผลของกรรม
ระหว่างพี่น้องฝาแฝดผู้ซึ่งมีความละม้ายคล้ายคลึงกันในทางกายภาพ แต่จิตธาตุ
(สภาพจิต) รวมถึงการได้รับผลแห่งกรรมนั้น แตกต่างกันราวกับฟ้ากะดิน ที่เป็น
เช่นนี้ ก็เป็นเพราะความวิจิตรพิสดารแห่งกรรมนั่นเอง

สุดท้ายนี้ ขอให้ท่านทั้งจงเอาใจใส่ตระหนักในเรื่องของกรรมให้ดี และจ
ศรัทธาสถาปนาจารึกไว้แต่กรรมดีเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร