วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2022, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




lesson-in-elementary-school-cartoon-vector-23977459.jpg
lesson-in-elementary-school-cartoon-vector-23977459.jpg [ 107.07 KiB | เปิดดู 681 ครั้ง ]
อุปนิสสยปัจจัย
ธรรมอันเป็นที่พึ่งหลัก

ปัจจยธรรม หมายถึง ทั้งสิ่งมีชีวิต เช่น มารดาบิดา ครู อาจารย์เป็นต้นเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น ต้นไม้ ภูผา หิน ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น
ปัจจยุบันนธรรม ได้แก่ ความเจริญ ความสำเร็จ ความพินาศ ความล้มเหลว ทั้งหลายทั้งปวง

ขึ้นชื่อว่ามนุษยชาตินั้นโดยส่วนใหญ่แล้วไม่ชอบพึ่งพาตนเองแต่ชอบพึ่งพาสิ่งอื่นมากกว่าเช่นชอบพึ่งพาสิ่งไม่มีชีวิตมี ต้นไม้ ภูเขาเป็นต้น หรือไม่ก็ชอบพึ่งพาผู้อื่นมี มารดา บิดา เป็นต้น ซึ่งหากพึ่งพาโดยถูกทาง พวกเขาก็จะพบกับความเจริญรุ่งเรือง แต่ตรงกันข้ามหากพึ่งพาโดยผิดทางก็จะพบกับความเสื่อมความวิบัติหรือความ พ่ายแพ้ก็แล การที่มนุษย์ได้ประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว เพราะการอาศัยผู้อื่นหรือสิ่งอื่นนั้น พระพุทธองค์ทรงเรียกว่าการได้ความอุปการะจากอุปนิสสยปัจจัยหรือการได้หลักที่พึ่งพิงหรือการได้สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งยิงเป็นหลัก

ธรรมดาเมื่อฟ้าฝนตกต้องตามฤดูกาลธัญพืชทั้งหลายรวมถึงพฤกษชาตินานาพันธุ์ย่อมเจริญงอกงามเติบโตผลิตจากออกผล ให้ผู้คนได้ใช้สอยเสวยสุขนี้ เป็นลักษณะของการอุปนิสสยปัจจัยเช่นกัน

นักวิทยาศาสตร์นักประดิษฐ์เป็นบุคคลผู้สร้างสรรค์วัฒนธรรมของใช้ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่มวลมนุษย์เชื้อชาติทั้งของใช่ทำให้ชาวโลกได้รับความสะดวกสบายในขณะเดียวกันสิ่งของแปลกใหม่เหล่านั้นก็กลายเป็นดาบสองคมคือให้ทั้งความสบายและความทุกข์ยากลำบากซึ่งข้อนี้แสดงให้เห็นว่ามี อุปนิสสยปัจจัย ฝ่ายดีและอุปนิสสยปัจจัยฝ่ายชั่ว จึงควรที่ท่านทั้งหลายจงใช้ปัญญาพิจารณาแยกแยะให้ออกแล้วเลือกบริโภคใช้สอยแต่เฉพาะกลุ่มฝ่ายนิตยะปัจจัยที่มีคุณประโยชน์ในขณะเดียวกันก็ให้พยายามหลีกเลี่ยงบริเวณปัจจัย ที่ให้โทษตัวอย่างเช่นด้วยอำนาจของความโลภทำให้มนุษย์ใช้สอย อุปนิสสยปัจจัยในทางที่ผิดโดยการตัดต้นไม้ทำลายป่า ระเบิดภูเขา สัมปทานขุดหน้าดินในที่สุดก็ทำให้โลกหมดทรัพยากรเกิดความไม่สมบูรณ์ทั้งทางกายภาพและชีวภาพส่งผลให้เกิดความแปรปรวนระหว่างธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำไฟจนเกิดเภทภัยใหญ่ไปทั่วโลก เช่น เกิดภัยสึนามิ น้ำแข็งทั่วโลกละลาย เป็นต้น นี่แหละคือผลของการใช้สอยอุปนิสสยปัจจัยในทางที่ผิดส่งผลกระทบเป็นมหันตภัยต่อโลกในอนาคตอย่างร้ายแรง

แม้ในทางที่เกี่ยวกับอุปนิสสยปัจจัยที่มีจิตวิญญาณ เช่น พ่อ แม่ ครู อาจารย์ ก็เช่นเดียวกัน คือ ในยุคสมัยนี้น้อยนักจะมี บุตร ธิดาลูกศิษย์ ผู้ให้ความสนใจ ในการทำวัตรปฏิบัติ อุปนิสสปัจจัยของตนส่วนใหญ่แล้วขาดการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบต่อมารดาบิดาครูอาจารย์ เป็นต้น จึงทำให้พวกเขาเหล่านั้นมีความเดือดเนื้อร้อนใจมีชีวิตอยู่อย่างสับสนไร้ความสุข

อนึ่ง ในบรรดาปัจจัย ๒๔ นั้นพึงทราบว่า อุปนิสสยปัจจัยมีขอบเขตกว้างขวางกว่าปัจจัยอื่นๆนั้น หมายความว่า เป็นการรวมสรรพสิ่งในสากลโลกทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตลงในความเป็นอุปนิสสยปัจจัยทั้งสิ้น สรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะปราศจากของอุปนิสสยยปัจจัยไปได้เลย

สุดท้ายนี้ขอให้ท่านทั้งหลายจงพิจารณาใช้จ่ายอุปนิสสยปัจจัยให้ถูกทางและจงช่วยกันทำนุบำรุงรักษาภาวะแวดล้อมอย่าได้ พากันทำลายจงให้เกียรติและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเถิด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร