วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 05:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2022, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




teenager.jpg
teenager.jpg [ 57.02 KiB | เปิดดู 734 ครั้ง ]
อารัมมณปัจจัย
ธรรมที่เป็นอารมณ์ของจิตใจ

ปัจจัยธรรม คือ ธรรมที่เป็นฝ่ายอารมณ์(สิ่งที่ถูกรับรู้โดยจิตใจ) ได้แก่อารมณ์ ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น
รส สัมผัส (โผฏฐัพพะระและธรรมารมณ์)
ปัจจยุบันนล?ธรรม ที่เป็นฝ่ายอารัมมณิกะ(จิตใจตัวที่รับรู้อารมณ์)ได้แก่ จิตที่เห็น จิตที่ได้ยิน จิตที่รู้กลิ่น จิตที่รู้รส จิตที่สัมผัส และจิตที่รู้ธัมมารมณ์

พระพุทธองค์ทรงแสดงความเป็น อารัมมณะปัจจัยไว้ดังนี้ว่า "เพราะการปรากฏเกิดขึ้นแห่งอารมณ์
มีรูปารมณ์เป็นต้น จึงทำให้เกิดจิตวิญญาณตัวรับรู้ เช่น เพราะการปรากฏแห่งรูป จึงทำให้เกิดการเห็น
เพราะมีเสียงจึงทำให้เกิดการได้ยินเป็นต้น

ทุกครั้งที่เกิดการบรรจบหรือการกระทบกับอารมณ์ไม่ว่าจะเป็นดีหรือชั่วก็ให้เราฝึกฝนใช้สติพิจารณา(มองดู)
อารมณ์นั้นด้วยหลักโยนิโสมนสิการซึ่งเป็นหลักของการมองโลกในแง่หากเรามองโลกอารมณ์ที่มากระทบ
ในแง่ดีจิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบุญเป็นกุศลหรือเป็นจิตที่งดงามแต่ตรงธรรม หากเรามองโลก
ด้วยอโยนิโสมสิการ ซึ่งเป็นหลักมองโลกในแง่ร้ายจิตใจของเราก็จะมีสภาพเป็นบาปเป็นอกุศล
เป็นจิตมาร หรือกลายเป็นจิตเน่า ยกตัวอย่างในเวลาที่เราเห็นพระพุทธรูปปฏิมาหรือพระพุทธรูป
ซึ่งงดงามเหลืองอร่าม ไปด้วยสีแห่งทองคำนำมาซึ่งความน่าเลื่อมใสยิ่ง บางคนอาจเกิดผิดศรัทธา
เลื่อมใสแต่บางคนอาจเกิดจิตทรามอยากจะไปลักขโมยขูดเอาทองคำไปขายก็ได้

บางคนอาจชื่นชมผู้ที่บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์แต่บางคนอาจจะมองในแง่ร้ายไม่พึงพอใจต่อบุคคลนั้นก็ได้
ท่านทั้งหลายลองคิดดูสิว่าความจริงแล้วอารมณ์ก็อยู่ตามธรรมชาติของเขาไม่สามารถมีอิทธิพล
ต่อความงามและความต่ำทรามให้กับจิตใจของเราได้แต่เราเองไปปรุงแต่งจนเกิดจิตงามหรือจิตที่จะด้วย
เหตุนี้การเกิดภาวะจิตไม่ ว่าจะดีหรือชั่วจึงขึ้นอยู่กับมุมมองของเราทั้งหลายเป็นสำคัญคือหากเรามอง
อารมณ์นั้นในแง่ดีจิตเราก็จะดีหากเรามองในแง่ร้ายจิตเราก็ร้ายดังนั้นจึงไม่ควรที่จะไปโทษอารมณ์
ภายนอกใดๆเพราะแม้จะมีรูปารมณ์อยู่แต่หากเราไม่ดูเราก็ไม่เห็นแม้จะมีเสียงหากเราไม่เอาใจใส่เราก็
จะไม่ได้ยินดังนี้ เป็นต้น

สรุปว่าหากเราไม่เอาใจใส่ต่ออารมณ์ใดๆแล้ว ไปอารมณ์นั้นๆก็จะไม่มีบทบาทสำคัญหรือมีอิทธิพลเหนือจิตใจ
เราได้จึงควรที่จะโทษตัวเองเสียดีกว่าในฐานะที่ไม่สำรวมระวังด้วยสติสัมปชัญญะในการรับอารมณ์นั้นๆ
ด้วยเหตุนี้เราตั้งทั้งหลายจงตระหนักให้ดีว่าอารมณ์นี้ได้เป็นผู้เนรมิตให้จิตเราดีหรือไม่ดีแต่โยนิโสมนัสต่างหาก
และอโยนิโสมนัสนิคมที่ปรุงแต่งจิตใจเราเมื่อรู้ตัวเช่นนี้เราท่านทั้งหลาย จึงควรเลือกโยนิโสมมะหน้าที่การ
มาใช้ในทุกครั้งทุกขณะที่จิตรับรู้อารมณ์ทั้งนี้ยกเว้นเวลานอนเพื่อให้จิตมีสภาพปกติไม่ยินดียินร้าย
กับอารมณ์ที่มากระทบนั่นเอง
คาถาเตือนใจ
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ
อโสกํ วิรชํ เอตํ มงฺคลมุตฺตมํ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร