วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2022, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




SmartSelectImage_2022-03-08-08-12-22.jpg
SmartSelectImage_2022-03-08-08-12-22.jpg [ 137.24 KiB | เปิดดู 936 ครั้ง ]
๓๐๖
คำว่า"อวิชชา"เป็นคำสามัญ ส่วนคำนี้ว่า
อวิชชาในเรื่องนั้น คืออะไร
อวิชชาเป็นความไม่รู้ในทุกข์
ความไม่รู้ในเหตุเกิดของทุกข์
ความไม่รู้ความดับทุกข์
ความไม่รู้ในทางแห่งความดับทุกข์

ความไม่รู้ใน ขันธ์ อายตนะ ธาตุอันเป็นส่วนอดีต
ความไม่รู้ใน ขันธ์ อายตนะ ธาตุอันเป็นส่วนอนาคต
ความไม่รู้ใน ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ทั้งส่วนที่เป็นอดีตและอนาคต

ความไม่รู้ในธรรมที่เป็นเหตุของสังขารเป็นต้นนั้น
และผลที่เกิดขึ้นโดยอาศัยเหตุ ความไม่รู้
ความไม่เห็น ความไม่ตรัสรู้ ความไม่รู้ตาม
ความไม่รู้ตามความเป็นจริง ความไม่แทงตลอด
ความไม่พิจารณา การไม่เข้าไปกำหนด
การไม่เข้าไปกำหนดเฉพาะสภาวะ

การไม่เห็นโดยชอบอย่างสม่ำเสมอ การไม่เข้าไปประจักษ์
ความทรามปัญญา ความเชลา ความไม่รู้ชัด ความหลง
ความหลงยิ่ง ความหลงทั่ว อวิชชา
โอฆะคืออวิชชา โยคะคืออวิชชา อนุสัยคืออวิชชา
ปริยุฏฐานคืออวิชชา ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูลคือโมหะ เป็นรายละเอียด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มี.ค. 2022, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว




person-diving-png-7.png
person-diving-png-7.png [ 809.71 KiB | เปิดดู 475 ครั้ง ]
คำว่า"วิชชา"เป็นคำสามัญ ส่วนคำนี้ว่า วิชชาในเรื่องนั้นคืออะไร
วิชชาเป็นความรู้ในทุกข์
ความรู้เหตุเกิดของทุกข์
ความรู้ในความดับทุกข์
ความรู้ในทางแห่งความดับทุกข์
ความรู้ในส่วนเบื้องต้น
ความรู้ในส่วนเบื้องปลาย
ความรู้ในส่วนเบื้อต้นและส่วนเบื้อปลาย
ความรู้ในเหตุของสังขารเป็นต้นนั้นและผลที่เกิดขึ้น
โดยอาศัยเหตุ สภาวะรู้ชัด กิริยารู้ชัด
การหยั่งเห็น การหยั่งเห็นโดยประการต่างๆ
การหยั่งเห็น(สัจ)ธรรม การกำหนด(ไตรลักษณ์)
การเข้าไปกำหนด การเข้าไปกำหนดเฉพาะสภาวะ
ความฉลาด ความชำนาญ ความรู้ละเอียด
การรู้เห็นไตรลักษณ์ ความดำริ ความใคร่ครวญ
ปัญญาดังแผ่นดิน ปัญญากำจัดกิเลส ปัญญานำไป
ปัญญาหยั่งเห็นไตรลักษณ์ สภาวะเห็นโดยชอบ
ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ
ปัญญาเหมือนศาตรา ปัญญาเหมือนปราสาท แสงสว่างคือปัญญา
โอภาสคือปัญญา ดวงประทีป
คือปัญญา ปัญญาดั่งแก้ว ความไม่หลง การหยั่งเห็น(สัจ)ธรรม
ความเห็นชอบ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
เหตุใกล้อริยมรรค ธรรมที่นับเข้าในอนิยมรรค
เป็นรายละเอียด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร