วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 17:45  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2022, 11:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




buda.gif
buda.gif [ 2.43 MiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ส่วนชนเหล่าใดเจริญสติในกองรูปเป็นนิตย์ ไม่ทำสิ่งที้ไม่ควรทำ
ทำเฉพาะสิ่งที่ควรทำเสมอ [สำหรับชนผู้มีสติสัมปชัญญะพร้อมมูลเหล่านี้ อาสวะย่อมหมดไป]
โค้ด:
อิติ กายคตา สติยา วุตฺตาย วุตฺตา ภวนฺติ เวทนาคตา สติ จิตฺตคตา ธมฺมคตา จ. ตถา ยํ กิญฺจิ ทิฏฐํ วา สุตํ วา มุตํ วาติ วุตฺเต ภวติ วิญฺญาตํ. ยถา จาห ภควา

ตสฺมาติห ตฺวํ ภิกฺขุ กาเย กายานุปสฺสี วิหราหิ อาตาปี สมฺปลาโน สติมา วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

อาตาปี"ติ วิริยินฺทริยํ. สมฺปชาโน"ติ ปญฺญินฺทฺริยํ. "สติมา"ติ สตินฺทฺริยํ. "วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺ"ติ สมาธินฺทฺริย๋.เอวํ กายานุปสฺสิโน วิหรโต จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวนาปาริปูรึ  คจฺฉนฺติ. เกน การเณน. เอกลกฺขณตฺตา จตุนฺนํ อินฺทฺริยานํ
โดยประการดังนี้ เมื่อพระพุทธองค์ตรัสถึงสติที่เป็นไปในกองรูป ก็เป็นอันตรัสสติที่เป็นไปในเวทนา จิต
และสภาวธรรม[เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกันโดยความเป็นที่ตั้งของสติ]

นอกจากนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอันบุคคลเห็นแล้ว ได้ยินแล้ว
หรือรู้ทางวิญญาน ๓ มีฆานวิญญานเป็นต้นแล้ว ก็เป็นอันตรัสอารมณ์ที่รู้ทางมโนวิญญาณ
[เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกันโดยความเป็นสิ่งที่จิตรับเอาเป็นอารมณ์]

สมจริงดังพระพุทธดำรัสว่า

ดูกรภิกษุ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอจงตามรู้ในกองรูปว่าเป็นกองรูป มีความเพียรเผากิเลส
มีปัญญาหยั่งเห็น มีสติ ข่มอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่

คำว่า อาตาปี (มีความเพียรเผากิเลส) คือ วิริยินทรีย์
คำว่า สมฺปชาโน(มีปัญญาหยั่งเห็น) คือ ปัญญินทรีย์
คำว่า สติมา (มีสติ) คือ สตินทรีย์
คำว่า วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ(ข่มอภิชฌาและโทมนัสในโลก) คือ สมาธินทรีย์
โดยประการดังนี้ เมื่อภิกษุตามรู้ในกองรูปว่าเป็นกองรูปอยู่ สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา

ถามว่า : เหตุใดสติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา
ตอบ : เพราะอินทรีย์ทั้ง ๔ [วิริยินทรีย์ ปัญญินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์] มีลักษณะอย่างเดียวกัน[ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔]

คำว่า สมฺปชาโน(ปัญญาหยั่งเห็น) คือ ประกอบด้วยปัญญาที่เรียกว่า สัมปชัญญะ คือ อสัมโมหสัมปชัญญะ(การหยั่งเห็นโดยไม่หลง)

อนึ่ง วิปัสสนาปัญญาเกิดจากสติที่ต่อเนื่องซึ่งทำให้สมาธิมีกำลัง เมื่อจิตของผู้ปฏิบัติธรรม
ได้รับรู้สภาวธรรมปัจจุบันด้วยสติแล้ว ปัญญาที่เกิดร่วมกัสติและสมาธิย่อมแก่กล้าตามลำดับ
และสติจะเป็นเครื่องปรับวิริยะกับสมาธิให้สมดุลกัน โดยยกจิตที้หดหู่ให้ร่าเริง และข่มจิตที่ฟุ้งซ่านให้สงบลง

https://www.youtube.com/watch?v=pdi8BzFa9D8

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.พ. 2022, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบรรดาหาระเหล่านั้น ลักขณหาระเป็นไฉน ?
คาถาว่า “วุตฺตมฺหิ เอกธมฺเม (เมื่อท่านกล่าวธรรมอย่างหนึ่ง)” เป็นต้นนั้น ชื่อว่า ลักขณหาระ. ลักขณหาระกำหนดอะไร ? กำหนดดังนี้ คือ ธรรมเหล่าใดมีลักษณะเหมือนกัน เมื่อท่านกล่าวธรรมอย่างหนึ่งแห่งธรรมเหล่านั้น ธรรมที่เหลือก็เป็นอันท่านกล่าวแล้ว. สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นสิ่งที่ไม่ตั้งมั่น มีขณะสั้น มีขณะน้อย มักเสื่อมเสีย เป็นศัตรู เป็นทุกข์ มีการเสียไป หวั่นไหว เหมือนผู้แสดง มีการปรุงแต่ง เป็นผู้ฆ่า อยู่ท่ามกลางศัตรู. เมื่อท่านกล่าวจักษุในสูตรนี้แล้ว ก็เป็นอันกล่าวอายตนะภายในที่เหลือด้วย. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า อายตนะภายใน ๖ ทั้งปวงมีลักษณะเหมือนกันโดยสภาพเป็นผู้ฆ่า. และสมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

ดูก่อนราธะ เธอจงเป็นผู้เพ่งเล็งในรูปขันธ์ที่เป็นอดีต. อย่ายินดีรูปขันธ์ที่เป็นอนาคต. จงปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อการสละ เพื่อการพ้นรูปขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน.๑ เมื่อท่านกล่าวรูปขันธ์ในสูตรนี้แล้ว ก็เป็นอันกล่าวขันธ์ที่เหลือด้วย. เพราะเหตุไร ? เพราะว่าปัญจขันธ์ทั้งปวงท่านกล่าวว่า มีลักษณะเหมือนกันโดยสภาพความเป็นผู้ฆ่า ในยมโกวาทสูตร.๒ และสมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า

กายคตาสติ (สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ อันมีรูปกายเป็นอารมณ์) อันชนเหล่าใดเพียรพยายามดีแล้วเป็นนิจ ชนเหล่านั้นย่อมไม่เสพกิจที่ไม่ควรทำ เป็นผู้มีปกติกระทำอย่างต่อเนื่องในกิจที่ควรทำ (คือ การเจริญกรรมฐาน)

1. สํ. ข. 17/9,79/16,71, สํ. สฬา. 18/10–12/5 2. สํ. ข. 17/85/87,92
3. ขุ. ธ. 25/293/67

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2022, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อท่านกล่าว กายคตาสติ (สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ อันมีรูปกายเป็นอารมณ์)
ในคาถานี้แล้ว เวทนาคตาสติ (สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ อันมีเวทนาเป็นอารมณ์)
จิตตคตาสติ (สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ อันมีจิตเป็นอารมณ์)
และ ธัมมคตาสติ (สติที่ประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ อันมีธรรมเป็นอารมณ์)
ก็เป็นอันท่านกล่าวแล้ว. เหมือนเช่นนั้น เมื่อท่านกล่าว “เห็นรูปายตนะอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี”
ดังนี้แล้วรูปที่เหลือซึ่งจัดอยู่ในธัมมารมณ์ที่รู้ได้ด้วย มโนวิญญาณ ก็เป็นอันท่านกล่าวแล้ว.
และสมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า ๔ ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุนั้นเธอจงเป็นผู้พิจารณาดู
กายในรูปกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก อยู่ในศาสดานี้.
ท่านกล่าววิริยินทรีย์ด้วยคำว่า “อาตาปี” กล่าวปัญญินทรีย์ด้วยคำว่า “สมฺปชาโน” กล่าวสตินทรีย์
ด้วยคำว่า “สติมา” กล่าวสมาธินทรีย์ด้วยคำว่า “วิเนยฺยโลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ”.
สติปัฏฐาน ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา แก่บุคคลผู้พิจารณาดูกายในรูปกายอย่างนี้อยู่.
เพราะเหตุไร ? เพราะอินทรีย์ทั้ง ๔ มีลักษณะเหมือนกัน

4 สํ. มหา. 19/369,413/125,164

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2022, 05:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว สัมมัปปธาน ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
เมื่อเจริญสัมมัปปธาน ๔ แล้ว อิทธิบาท ๔ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
เมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว อินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
เมื่อเจริญอินทรีย์ ๕ แล้ว พละ ๕ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
เมื่อเจริญ พละ ๕ แล้ว โพชฌงค์ ๗ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
เมื่อเจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว อริยมรรคอันมีองค์ ๘ ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา.
โพธิปักขิยธรรมทั้งปวง อันเป็นธรรมที่ตรัสรู้ (อริยสัจ ๔) มีลักษณะเหมือนกัน
โดยลัฏษณะที่ออกจากวัฏฏะ. โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเหล่านั้น ย่อมถึงความบริบูรณ์แห่งภาวนา ฉันใด).

แม้อกุศลธรรมทั้งหลาย ก็ถึงซึ่งการหายไป การตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะมีลักษณะเหมือนกัน ฉันนั้น.
เมื่อเจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว วิปัลลาส ๔ ย่อมหายไป. แม้อาการ ๔ ของวิปัลลาสนั้น ย่อมถึง
การกำหนดรู้ เป็นผู้ไม่มีความยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔ เป็นผู้ปราศจากการประกอบด้วยโยคะ
ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประกอบกับคันถะทั้งหลาย เป็นผู้ไม่มีอาสวะด้วยอาสวะทั้งหลาย
เป็นผู้ข้ามพ้นโอฆะทั้งหลาย และ เป็นผู้ที่ปราศจากลูกศรด้วยลูกศรทั้งหลาย มีตัณหาเป็นต้น.
แม้วิญญาณฐิติทั้งหลาย ก็ย่อมถึงการกำหนดรู้แก่บุคคลนั้น ย่อมไม่ถึงซึ่งอคติ ด้วยการถึงสิ่งที่ไม่ควรถึง.
แม้อกุศลธรรมทั้งหลายก็ย่อมถึงซึ่งการหายไป การตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะมีลักษณะเหมือนกันอย่างนี้.
ท่านแสดงรูปอินทรีย์ในเทศนาใด ก็เป็นอันแสดง รูปธาตุ รูปขันธ์ และ รูปายตนะ ในเทศนานั้นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง รูปอินทรีย์ (มีความแปรผันเป็นลักษณะ) พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ใน
เทศนาใดรูปธาตุ รูปขันธ์ รูปายตนะ ก็เป็นอันว่าแสดงไว้ในเทศนานั้น เพราะมีลักษณะอย่างเดียวกัน ฯ

ก็หรือว่า สุขเวทนาที่ทรงแสดงไว้ในเทศนาใด สุขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์และทุกขสมุทยสัจจะ
ก็ทรงแสดงไว้ในเทศนานั้น ฯ หรือว่า ทุกขเวทนาที่่ทรงแสดงไว้ในเทศนาใด ทุกขินทรีย์
โทมนัสสินทรีย์ และทุกขอริยสัจจะ ก็ทรงแสดงไว้ในเทศนานั้นฯ หรือว่า อทุกขมสุขเวทนา
ที่ทรงแสดงไว้ในเทศนาใดอุเบกขินทรีย์ และปฏิจจสมุปบาททั้งปวง ก็เป็นอันว่าทรงแสดงไว้ในเทศนานั้น ฯ

ก็อทุกขมสุขเวทนากับอุเบกขินทรีย์ มีลักษณะเสมอกันก็ควร แต่ปฏิจจสมุปบาทนั้นทรงแสดงไว้
เพราะเหตุไร เพราะอวิชชานอนเนื่องอยู่ในอทุกขมสุขเวทนา ฯ

ปฏิจจสมุปบาททั้งปวง ซึ่งมีอวิชชาเป็นมูล คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารทั้งหลาย
เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย
จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
จึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์
โทมนัสและอุปายาส การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนั้น ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ

การเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนั้นอันบุคคลพึงละ เพราะเป็นฝ่ายสังกิเลส คือ เป็นไปกับราคะ
เป็นไปกับโทสะเป็นไปกับโมหะ (ฝ่ายอนุโลม) และการเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนั้น
อันอริยธรรม คือ ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ผู้มีโทสะไปปราศแล้ว ผู้มีโมหะไปปราศแล้วพึงละ (ฝ่ายปฏิโลม) ฯ

บัดนี้ เพื่อแสดงนัยแห่งการประกอบลักขณหาระ ด้วยการชี้แจงความที่ธรรมมีลักษณะอย่างเดียวกัน
จึงกล่าวว่า ธรรมเหล่าใดมีลักษณะอย่างเดียวกันโดยกิจ มีกิจแห่งปฐวีธาตุเป็นต้น และแห่งนามมีผัสสะเป็นต้น โดยลักษณะมีความกระทบกับความแข็งเป็นต้น เป็นลักษณะ โดยสามัญญะ มีการน้อมไป
ในรุปปนะเป็นต้น และโดยอนิจจตาเป็นต้น และโดยจุตูปปาตะ คือ โดยภังคะและอุปบัติ ได้แก่
ดับพร้อมกัน เกิดพร้อมกัน เมื่อธรรมเหล่านั้นธรรมอย่างหนึ่ง ท่านแสดงไว้แล้ว ธรรมที่เหลือ
ก็ชื่อว่าท่านแสดงแล้ว ด้วยเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะ จึงกล่าวว่า "เมื่อธรรมอย่างหนึ่ง
ท่านกล่าวไว้แล้ว" ดังนี้ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร