วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 12:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2021, 09:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8578


 ข้อมูลส่วนตัว




ดาวน์โหลด.jpeg
ดาวน์โหลด.jpeg [ 10 KiB | เปิดดู 1253 ครั้ง ]
ถามว่า :- วุฏฐาคามินีวิปัสสนา มีอะไรเป็นอารมณ์หรือ ?

ตอบว่า :- มีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ (ที่ถามเช่นนี้เพราะอาจเกิดความสงสัยว่าวุฏฐาคามินีนี้
มีอะไรเป็นอารมณ์ มีสังขารเป็นอารมณ์ หรือว่ามีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์กันแน่ ด้วยว่าถ้ามี
สังขารเป็นอารมณ์ก็ไม่สามารถกำหนดไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ได้ และถ้ากำหนด
ไตรลักษณ์เป็นอารมณ์ โคตรภูจิตและมรรคจิตก็ชื่อว่ายังไม่หลุดพ้นจากอารมณ์คือสังขาร)
ชื่อว่าไตรลักษณ์นั้นสภาพเป็นบัญญัติ คือความเป็นธรรมที่ไม่ควรกล่าวว่าเป็นโลกียะหรือ
โลกุตตระ ก็ถ้าผู้ใดกำหนดไตรลักษณ์ กล่าวคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ๕ ของผู้นั้น
ก็จะปรากฏดุจซากศพที่แขวนไว้ที่คอ หมายความว่า ขันธ์ ๕ กับไตรลักษณ์เป็นสิ่งที่ไม่แยก
จากกัน ดังนั้น ญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ จึงหลุดพ้นจากสังขารดังกล่าว อุปมาเหมือนกับ
ภิกษุรูปหนึ่งต้องการจะซื้อบาตร เมื่อเห็นพ่อค้าบาตรนำมาขายก็เกิดความดีใจ แต่พอพลิก
บาตรดูมาดูไป ก็พบบาตรนั้นมีรูทะลุอยู่สามแห่ง จึงหมดความอยากได้บาตรนั้นทันที
ฉันใดนักปฏิบัติก็ฉันนั้น คือเมื่อกำหนดรู้ไตรลักษณ์แล้ว ย่อมหมดอาลัยสังขารทั้งหลาย
เช่นเดียวกัน ดังนั้น พึงทราบว่านักปฏิบัติผู้นั้น ชื่อว่าลุกออก (หลุดพ้น) จากสังขารได้ ด้วย
ญาณอันสังขารเป็นอารมณ์ นั่นเอง แม้การมาเปรียบเทียบกับการเชื้อผ้า ก็พึงทราบ
โดยนัยนี้เหมือนกัน

อธิบายว่า วุฏฐาคามินีวิปัสสนา ก็คือ สังขารุเปกขาญาณซึ่งถึงที่สุดแล้ว และอนุ
โลมญาณ ก็เมื่อวิปัสสนาดังกล่าวกำหนดเห็นสังขารตามสภาพที่เป็นจริง(คือเห็นสภาว
ปรมัตถ์ เช่น ลักษณะของปฐวีธาตุ กล่าวคือแข็งกระด้างลักษณะของจิต กล่าวคือรับ
รู้อารมณ์ดังนี้เป็นต้น) และยิ่งกำหนดไป ก็จะสามารถเห็นภังคะ ความแตกดับของสังขาร
เหล่านั้น ด้วยเหตุจึงชื่อว่า เห็นลักษณะใดลักษณะหนึ่งของไตรลักษณ์ และเมื่อเห็นลักษณะ
ของไตรลักษณ์แล้ว สังขารซึ่งมรความเกี่ยวพันกับไตรลักษณ์จึงปรากฏเป็นสิ่งที่
น่าขยะแขยง น่าเบื่อหน่ายกับผู้นั้น เหมือนกับได้เอาซากเน่าของสัตว์ เช่น งู หนู เป็นต้น
แขวนคอไว้ ย่อมเกิดความรังเกียจขยะแขยงในซากเหล่านั้น จะต้องรีบทิ้งซากเน่าเหล่านั้น
ทันที ฉันใดก็ฉันนั้นสังขารทั้งหลายย่อมปรากฏดุจซากเน่าต่อญาณของโยคีผู้นั้นจนทำ
ให้เกิดความขยะแขยงในสังขารดังกล่าว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ย. 2021, 14:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8578


 ข้อมูลส่วนตัว


ด้วยข้อความที่กล่าวมานี้แสดงให้เห็นว่า เวลาปฏิบัติวิปัสสนาจริงๆนั้น มิใช่จะมีแต่ไตรลักษณ์
เป็นอารมณ์อย่างเดียว ถึงสังขารก็ปรากฏด้วย ซึ่งเท่ากับว่าเป็นการกำหนดสังขารโดยความ
เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง เพราะฉะนั้น โคตรภูจิต มรรคจิตซึ่งอยู่ในช่วงหัวเลี้ยว
หัวต่อ ระหว่างปุถุชนกับพระอริยะ ซึ่งถัดจากอนุโลมจิตอันเป็นจิตที่กำหนดสังขาร ย่อม
ได้ชื่อว่าหลุดพ้น(ลุกออก)จากสังขารประการฉะนี้

ก็คำว่าหลุดพ้นหรือหลุดออก นี้หมายความว่า เป็นการไม่นำสังขารเหล่านั้นมากำหนดเป็น
อารมณ์แล้ว หันมากำหนดนิพพานเป็นอารมณ์แทน อนึ่งในขณะที่เห็นไตรลักษณ์แล้วเกิด
ความอยากจะสลีดสังบารที่ตนกำหนดอยู่นั้น มีอุปมาเปรียบเทียบดังนี้

ภิกษุต้องการซี้อบาตร แต่พอเห็นบาตรมีรูทะลึ ๒-๓ แห่งก็หมดความต้องการทันที ซึ่งก่อน
หน้าที่จะเห็นตำหนินี้ ภิกษุนั้นยังมีความต้องการบาตรอยู่ แต่พอเห็นบาตรมีตำหนิจึงหมดความ
ต้องการบาตรทันที การหมดความต้องการอันนี้เป็นการหมดความต้องการในตัวบาตร แต่มิใช่
เป็นการหมดความต้องการในรูตำหนิ ฉันใดแม้โยคีก็ฉันนั้น คือเมื่อตนยังไม่เห็นไตรลักษณ์
ตราบใด ก็ยังมีความหลง มีความต้องการในขันธ์ ๕ อยู่ตราบนั้น แร่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า
โยคีมีความต้องการไตรลักษณ์แต่อย่างใเ เพราะถึงอย่างไร โยคีก็ไม่ต้องการไตรลักษณ์อยู่แล้ว
เพราฉะนั้น ความต้องการหรือไม่ต้องการนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับสังขารโดยตรง และเมื่อได้เห็น
สังขารพร้อมไตรลักษณ์(ซึ่งจะอย่างไรก็ตาม สังขารและไตรลักษณ์ก็ขาดจากกันไม่ได้
เพราะเป็นสิ่งคู่กัน) เป็นสิ่งที่น่าขยะแขยง แล้วหลังจากนั้นโคตรภูญาณและมรรคญาณ
ซึ่งมีนิพพานเป็นอารมณ์ก็เกิดขึ้นตามลำดับ ความเกิดขึ้นของจิตทั้งสองนี้ ชื่อว่าเป็นการลุกออก
จากสังขารโดยตรง แต่มิได้หมายความว่า เป็นการลุกออกจากไตรลักษณ์ซึ่งเป็นบัญญัติ
เพียงอย่างเดียว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร