วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 00:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2021, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




7d0f07251742a7ac875d7eb95257d7b2.png
7d0f07251742a7ac875d7eb95257d7b2.png [ 112.52 KiB | เปิดดู 2003 ครั้ง ]
ต่อไปนี้จะเป็นการแสดงสภาวะธรรมที่โยคีจะนำมาเป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนา โยคีผู้ปรารถนาที่จะได้ซึ่งวิปัสสนาอันมีนามรูปปริเฉทญาณเป็นต้นนั้น จำเป็นต้องกำหนดพิจารณารูปและนามที่เป็นตัวแท้จริงเท่านั้น มิใช่พิจารณาบัญญัติ ขึ้นชื่อว่าบัญญัติทั้งหมดทั้งปวง โยคีจะไม่สามารถที่จะพิจารณาเป็นวิปัสสนาได้ แม้ในบรรดารูปนามที่เป็นปรมัตถ์นั้น โยคีก็พึงนำเอาเฉพาะรูปนามที่เป็นโลกียะ เท่านั้นที่มากำหนดพิจารณาวิปัสสนา ส่วนสภาวะที่เป็นโลกุตตระนั้นไม่สามารถที่กำหนดให้เห็นเป็นวิปัสสนาได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะโลกุตตรธรรมทั้งหลายนั้น ได้ชื่อว่าเป็นธรรมปุถุชนยังไม่เคยรู้มาก่อน เพราะฉะนั้น การที่ปุถุชนจะสามารถรู้โลกุตตรธรรมทั้งหลายเหล่านั้นโดยสภาวะลักษณะเป็นต้นนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ แม้ในส่วนแห่งพระอริยะเจ้าทั้งหลายเอง ถึงแม้จะรู้โลกุตตรธรรมนั้น ตามความเป็นจริงได้ แต่การกำหนด โลกุตตรธรรมนั้นมาเป็นวิปัสสนานั้นเป็นสิ่งทีไม่เกิดประโยชน์อันใด หมายความว่า การกำหนดโลกียธรรมให้เห็นเป็นไตรลักษณ์เป็นต้น ย่อมสามารถกำจัดกิเลสและความยึดมั่นถือมั่นในธรรมทั้งหลายที่วิปริตผิดเพี้ยนทั้งหลายว่าเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นของตนได้ ส่วนในโลกุตตรธรรมนั้นไม่มีกิเลสที่จะยึดมั่นถือมั่นเหมือนในโลกุตตรธรรมแล้ว

เพราะฉะนั้น แม้โยคีจะกำหนดเอาโลกุตตรนั้นมาเป็นอารมณ์ก็ไม่เกิดประโยชน์ ในการละกิเลสได้ อุปมาเหมือนกับว่าผู้ที่ต้องการที่จะทำพื้นที่ให้สม่ำเสมอราบเรียบ การแชะสถานที่ที่สูงและก็เติมถมที่ยังต่ำอยู่ ย่อมมีประโยชน์ให้เกิดความสม่ำเสมอราบเรียบตามที่ตนต้องการได้ ส่วนในสถานที่ที่มีความส่ำเสมอราบเรียบโดยธรรมชาติอยู่แล้ว บุคคลก็ไม่ไม่ควรไปขุดแซะหรือไปถมเติมแต่อย่างใด การทำเช่นนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค (๒/๒๒๓) จึงได้แสดงเหตุไว้ว่า อนธิคตตฺตา "เพราะการไม่เคยได้โลกุตตรธรรมมา" หมายความว่าโลกุตตรธรรมนั้นเป็นสิ่งที่ปุถุชนไม่เคยได้จึงไม่สามารถนำมากำหนดพิจารณาเป็นวืปัสสนาได้ ซึ่งคำพูดนี้มุ่งถึงปุถุชนเท่านั้น

อนึ่ง สำหรับในคัมภีร์ฎีกาทีฆนิกาย มหาวรรค (๓๔๓) ท่านได้แสดงเหตุผลโดยรวม ถึงพระอริยเจ้าด้วยว่า อวิสยตฺตามวิสยตฺเตปิ จ ปโยชนาภาวโต ซึ่งคำบาลีทั้งสาม หมายความว่า เนื่องจากปุถุชนไม่อยู่ในวิสัยที่จะนำเอาโลกุตตรมาทำเป็นอรมณ์ได้ ปุถุชนจึงไม่สามารถนำเอาโลกุตตรมาเป็นอารมณ์ได้ แม้ในส่วนพระอริยะเองถึงแม้จะอยู่ในวิสัยที่จะนำเอาโลกุตตรธรรม มาทำเป็นอารมณ์ได้ก็จริง แต่ไม่เกิดประโยชน์อันใด จึงไม่ควรที่จะนำเอาโลกุตตรมาพิจารณาเป็นอารมณ์สำหรับวิปัสสนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2021, 09:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมดาว่า วิปัสสนา มี ๒ ประเภท คือ ปัจจักขวิปัสสนาและอนุมานวิปัสสนา ในบบรดาวิปัสสนา ๒ อย่างนั้น พึงทราบว่า ญาณที่การกำหนดรู้พิจารณาได้เห็นรูปนามที่เกิดขึ้นโดยประจักษ์ เหมือนสัมผัสด้วยมือ ฉันนั้น ท่านเรียกว่า ปัจจักขวิปัสสนา โยคีย่อมรู้ลักษณะของรูปนามตามความเป็นจริงของรูปนามที่แท้จริง ด้วยปัจจักขวิปัสสนาญาณนี้นั่นเทียว รู้กระทั่งอนิจจลักษณะเป็นต้นที่เป็นลักษณะของการเกิดดับได้ตามความเป็นจริง เพราะเหตุนั้น โยคีผู้เจริญวิปัสสนา จึงควรเจริญปัจจักขวิปัสสนานี้เท่านั้นโดยไม่ขาดสาย นับตั้งแต่เริ่มต้นของการลงมือเจริญวิปัสสนาจนกระทั้งถึงขั้นอนุโลมญาณ

เมื่อปัจจักขวิปัสสนาญาณแก่กล้า เต็มที่ไปตามลำดับเริ่มตั้งแต่นามรูปปริเฉทญาณ ญาณที่เปรียบเทียมรูปนามที่เห็นด้วยประจักษ์กับรูปนามที่ยังไม่เห็นประจักษ์ก็จะเกิดขึ้น นี้ท่านเรียกว่า อนุมานวิปัสสนา ซึ่งอนุมานวิปัสสนานี้ก็จะนำเอาโลกียธรรมทั้งหมดทั้งปวงทั้งที่เป็นอัชฌัตตะกล่าวคือธรรมภายใน พหิทธะกล่าวคือธรรมภายนอก ธรรมที่เป็นอดีต ธรรมที่เป็นอนาคต และธรรมที่เป็นปัจจุบันมาเป็นอารมณ์ แต่ว่าไม่ใช่เป็นการรู้โดยทำอารมณ์ตามที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง ไม่รู้สถาวะลักษณะเป็นต้นของรูปนาม เหมือนปัจจักขวิปัสสนาญาณข้างต้นแต่อย่างใเ และก็ไม่ใช่ญาณที่โยคีควรตระหนักหรือเอาใจใส่ให้มากจนเกินไป เพราะญาณนี้เมื่อปัจจักขญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ก็จะแสดงเฉพาะอารมณ์ของปัจจักขวิปัสสนาเท่านั้น เพื่อให้เกิดสูงสุดของผู้ปฏิบัติ


----------------------------------------------------------------
ปัจจักขวิปัสสนา = รู้อย่างแจ่มแจ้งด้วยปัญญา
อนุมานวิปัสสนา = คล้อยตามปัจจักขญาณ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2021, 04:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ในบรรดาโลกียธรรมทั้งหลาย พึงทราบว่า บุคคลผู้เริ่มวิปัสสนา ไม่สามารถจะนำเอาเนวสัญญานาสัญญายตนฌานมากำหนดได้พิจารณาได้ ด้วยว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดังกล่าวนั้นมีความละเอียดอ่อน ประณีตมากกว่าฌานอื่นๆ แม้บุคคลผู้มีปัญญา เช่น พระสารีบุตร ฌานดังกล่าวก็ยังไม่ปรากฏชัดในญาณ ดังในอนุปปทสูตรได้ เล่าเรื่องกับการแสวงหาเนวสัญญานาสัญญายตนะฌานไว้


เพราะฉะนั้น บุคคลผู้สามารถที่จะนำเอาเนวสัญญานาสัญญายตนฌาสมาเป็นอารมณ์ได้นั้น ก็ต้องเป็นผู้มีฌานที่เป็นมหัคคตฌานจึงจะสามารถเห็นเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นได้ สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราธรรมที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นในขันธ์สันดานของตนนั้นจะไม่ปรากฏชัดเจนโดยคใามเป็นสภาวะลักษณะเป็นต้นแก่ผู้นั้นเป็นอันขาด เกี่ยวกับเรื่องนี้ในคัมภีร์อรรถกถาท่านให้เหตุผลในเรื่องโลกุตตรธรรมไว้ว่า อนธิคตตฺตา แปลว่า โยคีไม่พึงกำหนดพิจารณาโลกุตตรธรรม เนื่องจากเป็นธรรมที่ยังไม่เคยเข้าถึงหรือได้มาก่อน ด้วยเหตุนี้ ในคัมภีร์วิสึทธิมรรคมหาฎีกา (๒/๓๕๓) ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

ลาภิโน เอว มหคฺคตจิตฺตานิ สุปากฏานิ โหนฺติ.

สำหรับโยคีผู้ได้ฌานเท่านั้น มหัคคตจิตทั้งหลายจึงจะปรากฏให้นำมากำหนดพิจารณาเป็นอารมณ์ ด้วยปัจจักขญาณได้ ในข้อความข้างต้นนี้ เนื่องจากว่าพระบาลีมีการกำหนดใช้คำว่า เอว ไว้หลังศัพท์ ปากฎานิ ซึ่งคำว่า เอว นี้มีความหมายเป็นอวธารณะ คือเน้นโดยการกำหนดขอบเขตตายตัว เพราะฉะนั้น จากการเน้นคำว่า "เอว" ที่เป็นอวนธารณะย่อมแสดงให้ทราบถึงความหมายนี้ว่า มหัคคจิตทั้งหลายย่อมปรากฏชัดแก่บุคคลผู้ได้ฌานเท่านั้น แต่จะไม่ปรากฏสำหรับผู้ที่ไม่ได้ฌาน ซึ่งคำว่า "ปรากฏชัด" ในที่นี้หมายความว่า เป็นการปรากฏชัดสามารถให้เห็นเป็นอารมณ์ปัจจักขญาณถึงภาวะลักษณะเป็นต้นของฌานธรรมนั่นเทียว ส่วนคำว่า "ไม่ปรากฏชัด" นั้นหมายความว่า ไม่สามารถเห็นได้ด้วยปัจจักขญาณได้ แต่อาจรู้ได้ด้วยการเทียบเคียงพอให้เห็นลางๆ ด้วยอนุมานญาณได้ เพราะฉะนั้น บุคคลที่ยังไม่เคยได้ฌานก็ไม่สามารถที่จะนำเอามหัคคตธรรมมาเป็นอารมณ์ได้ แต่สามารถกำหนดพิจารณาเฉพาะกามาวจรธรรมเท่านั้นมาเป็นอารมณ์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2021, 04:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


จะอย่างไรก็ตาม ในกามธรรมเอง เมื่อปัจจักขญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว ก็สามารถเกิดอนุมานญาณในมหัคคตธรรมนั้นด้วย เพราะฉะนั้น โยคีจึงไม่ควรที่จะสำคัญผิด "ยังมีสังขารที่ควรพิจารณาหลงเหลืออยู่อีก" อนึ่ง แม้ในบรรดากามาวจรธรรมทั้งหลาย ก็พึงทราบว่า นามรูปที่ปรากฏชัดเท่านั้นเป็นสิ่งที่ควรทำมากำหนดควรพิจารณา นามรูปบางอย่างที่ไม่ปรากฏชัด ก็ไม่ควรนำเอามาพิจารณา เปรียบเทียบหรืออนุมานคาดคะเนด้วยสุตะตามคัทภีร์ที่ตนได้เคยศึกษาเล่าเรียนมาแล้ว ซึ่งข้อนี้ตรงกับคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ (๒/๓๔๔) ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้ว
โค้ด:
เยปิ จ สมฺมสนุปฺคา, เตสุ เย ยสฺส ปากฏา โหนฺติ, สุเขน ปริตฺคหํ คณฺหาติ, เตสุ เตน สมุมสนํ อารภิตพฺพํ,
แม้ว่าโลกียธรรมทั้งหลายที่ควรนำมากำหนดพิจารณานั้น หากโยคีท่านใดเห็นว่า รูปนามทั้งหลายเหล่าใดเป็นสภาวะที่ปรากฏชัดแก่ตนเอง โดยความเป็นสภาวะที้ถูกนำมาพิจารณาเป็นวิปัสสนาได้โดยง่าย โยคีนั้นควรขวนขวายพยายามเจริญหรือกำหนดพิจารณารูปนามที่ตนสามารถเจริญได้โดยง่ายนั้นเทียว

ในบรรดารูปที่มีอยู่ทั้งหมด ๒๘ นั้น พึงทราบว่า รูป ๑๘ เท่านั้นที่โยคีพึงนำมากำหนดพิจารณาเป็นวิปัสสนา ในฐานะที่รูปเหล่านั้นมีความเป็น รูปรูปํ เนื่องจากว่าเป็นรูปปรมัตถ์ที่แท้จริง ก็ดี ในฐานะะที่เป็นนิปผันนรูป เนื่องจากว่าเป็นรูปที่เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหารโดยตรง ก็ดี ในฐานะที่เป็น สลักขณรูป เนื่องจากเป็นรูปที่มีลักษณะเป็นสังขตรูป กล่าวคืออยู่ใต้กฏ อุปาทะ ฐีติ และภังคะ ก็ดี ในฐานะของความเป็น สัมมสนรูป เนื่องจากว่าเป็นรูปที่โยคีพึงกำหนดนำมาพิจารณาเป็นวิปัสสนา ก็ดี ดังนั้น นอกจากนิปผันนรูป ๑๘ แล้ว อนิปผันนรูป ๑๐ ประการที่เหลือ เนื่องจากมิใช่รูปแท้ จึงไม่จำเป็นต้องนำกำหนดพิจารณาเป็นวิปัสสนา เพราะฉะนั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกาเล่ม ๒ หน้า ๓๕๓ ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า
โค้ด:
รูปรูปาเนว หิ อิย ปริคฺคยฺทนฺติ, น รูปปริจฺเฉทวิการลกฺขณานิ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 พ.ย. 2021, 09:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว


เกี่ยวกับเรื่องนี้ รูปรูป ๑๘ ซึ่งท่านเรียกว่า นิปผันนรูป หรือสลักขณรูป หรือสัมมสนรูปเท่านั้น เป็นสิ่งที่โยคีพึงมากำหนดพิจารณาเป็นวิปัสสนา ส่วนอากาสธาตุ ซึ่งเป็นรูปแสดงขอบเขตของรูปทั้งหลายเท่านั้น ก็ดี วิการรูป ๕ ได้แก่ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ รูปลหุตา รูปมุทุตา และรูปกัมมัญญตา ก็ดี ลักขณรูป ๔ กล่าวคือ อุปจยรูป สันตติรูป ชรตารูป และอนิจจตารูป ก็ดี เป็นรูปที่โยคีไม่พึงนำเอามากำหนดพิยารณาเป็นวิปัสสนา

แม้ในบรรดาจิตและเจตสิกทั้งหลาย ปุถุชนและเสกขบุคคลไม่ควรที่จะนำเอากิริยาบวนจิตที่เป็นจิตของพระอรหันต์มากำหนดพิจารณา ดังนั้น ในกรณีของปุถุชนและเสกขบุคคลทั้งหลาย ผู้เป็นวิปัสสนายานิก จึงควรกำหนดจดจำอารมณ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับปัจจักขวิปัสสนาญาณของตนที่จะนำมาแสดงไว้ในตอนต่อแต่นี้ด้วย ก็อารมณ์ที้เกี่ยวข้องกับปัจจักขวิปัสสนาญาณของปุถุชนและเสกขบุคคลนั้น มีดังนี้คือ นิปผันนรูป ๑๘ ซึ่งประกอบด้วยปสาทรูป ๕ วิสสยรูป ๗ ภาวรูป ๒ อาโปธาตุ ๑ หทยรูป ๑ อาหารรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ รวมทั้งหมดเป็นนิปผันนรูป ๑๘ กามจิตหรือกามาวจรจิต ๔๕ ซึ่งประกอบด้วยอกุศลจิต ๑๒ อเหตุกจิต ๑๗ (เว้นหสิตุปปาทจิต ๑) มหากุศลจิต ๘ มหาวิบาก ๘ รวมทั้งหมดเป็นกามจิต ๔๕ และเจตสิก ๕๒ ที่ประกอบกับจิต ๔๕ เหล่านั้นด้วย แม้ในบรรดารูปจิตเจตสิกที่กล่าวไว้แล้วนี้ โยคีควรนำเอาสภาวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ปรากฏง่าย และชัดเจนเท่านั้นมากำหนดพิจารณาเป็นอารมณ์ของตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร