วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2021, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


กายานุปัสสนา

โค้ด:
การกำหนดรู้ในขณะที่เห็น

เมื่อสมถยานิกเข้าถึงฌานใด ออกจากฌานนั้นแล้ว ย่อมพิจารณากำหนดรู้
ฌานนั้น และรูปอันเป็นที่อาศัยของฌานนั้น พร้อมทั้งรูปที่เกิดเพราะฌานนั้น ฉันใด
แม้วิปัสสนายานิกะ ก็ควรกำหนดรู้ฉันนั้นเช่นกัน คือ จิตกำหนดรู้จิตเห็น จิตได้ยิน
จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส จิตกระทบสัมผัส จิตคิด ซึ่งเพิงจะเกิดขึ้นแล้วดับไปในตอนนั้น
พร้อมทั้งรูปอันที่อาศัยของจิตทั้งหลายเหล่านั้น และรูปที่เกิดเพราะจิตเหล่านั้น
รวมถึงรูปที่เป็นอารมณ์ของจิตเหล่านั้นด้วย ซึ่งข้อนี้ได้เปรียบเทียบไว้แล้วที่ผ่านมา

คำว่า "จิตเห็น" ในที่นี้หมายถึง จักขุทวารวิถีทั้งวิถี ซึ่งเริ่มต้นที่อาวัชชนะ
สิ้นสุดที่ตทารัมมณะ ทั้งนี้เพราะว่า ในการเจริญวิปัสสนานั้น โยคีไม่สามรถนำเอา
จิตตุปบาทแต่ละดวงมากำหนด หรือพิจารณาแยกเป็นดวงๆ ได้เลย จึงต้องกำหนด
วิถีจิตทั้งวิถี ตามที่ได้เสนอเทียบเคียงกับหลักฐานจากพระไตรปิฎกอัฏฐกถา
และฎีกาไปแล้วนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปริเฉทที่ ๖ ตอนที่ว่าด้วยเรื่องของ
ภังคญาณนั้น จะได้กล่าวไว้ในเรื่องนี้อีก

โค้ด:
ถามว่า: จะกำหนด "จิตเห็น" อย่างไร?

ตอบว่า : ในขณะที่เห็น พึงกำหนด "เห็นหนอ" ให้ทันทุกขณะของการเห็นเลยทีเดียว
แม้ในขณะที่เห็นอื่นๆ ก็พึงกำหนดได้ในทำนองเดียวกันนี้ เช่น ในขณะที่ได้ยินเสียง
ก็พึงกำหนดว่า "ได้ยินเสียงหนอๆ"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2021, 11:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า: ในการกำหนดว่า"เห็นหนอๆ"ในขณะที่เห็นอยู่นั้น เรียกว่า
เป็นการกำหนดรู้สภาวธรรมใด?

ตอบว่า: เป็นการกำหนดรู้ธรรม ๕ ประการ คือ จักขุปสาท รูปายตนะ จักขุวิญญาน
ผัสสะ เวทนา โดยมีลักษณะของการกำหนดรู้ดังนี้ คือ จักษุรูป(จักขุปสาท)
ที่มีความใสหมดจดนั้นปรากฏเด่นชัดขึ้นมา โยคีก็จะสมารถเห็นจักษุรูปที่มีความผ่องใส
ซึ่งเรียกว่า"จักขุปสาท"เป็นอารมณ์ แล้วในกรณีเดียวกัน หากสภาวธรรมฝ่ายที่เป็นรูปารมณ์
ปรากฏชัด ก็เรียกว่าดป็นการรู้รูป(สีสันวรรณะ)ซี่งเรียกว่า"รูปายตนะ"นั้นเป็นอารมณ์หลัก
โดยทำนองเดียวกันหากจิตที่รู้ปรากฏเกิดขึ้นชัดมากว่าทั้งสอง(จักขุปสาทและรูปายนตนะ)
ก็เรียกว่าเป็นการรู้ตัวจิตซึ่งเป็นตัวเห็น ซึ่งเรียกว่า"จักขุวิญญาณ"นั้น เป็นอารมณ์หลัก
หากการการกระทบสัมผัสระหว่างรูปสีสันกับการเห็นปรากฏชัดกว่า ก็เรียกว่าเป็นการกำหนด
รู้การเห็นการกระทบสัมผัส ซึ่งเรียกว่า"จักขุสัมผัสสะ" นั้นเป็นอารมณ์หลัก
โดยทำนองเดียวกัน หากเห็นแล้วรู้สึกดี เห็นแล้วรู้สึกไม่ดี เห็นแล้วรู้สึกดีและไม่ดี
ก็เรียกว่าเป็นการกำหนดรู้ความรู้สึกจากการเห็นดังกล่าว ซึ่งเรียกว่า"จักขุสัมผัสสชาเวทนา"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2021, 16:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า: ในการกำหนดนั้น ควรที่จะกำหนดโดยใช้ศัพท์และความหมาย
มีความสอดคล้องกัน เช่น หากจักขุปสาทปรากฏชัด โยคีก็ควรกำหนดด้วยภาษา
ของตนให้สอดคล้องกับความหมายของบาลี ดังนี้ว่า"ตาใสหนอๆ" หรือ
หากสีสันฐานปรากฏชัด ก็ควรกำหนดว่า"เห็นรูปหนอๆ" หรือหากจักขุวิญญาณ
ปรากฏชัดก็ควรกำหนดว่า"รู้เห็นหนอ"หรือหากผัสสะปรากฏชัด ก็ควรกำหนดว่า
"ประจวบหนอ" หรือถ้าเวทนาปรากฏชัดก็กำหนดว่า"รู้สึกหนอ"มิใช่หรือ?

ตอบว่า : แม้จะควรกำหนดให้สอดคล้องกันก็ตาม แต่ว่าหากมัวแต่จดจ้อง
กำหนดอยู่อย่างนั้น ในแต่ละครั้งที่มีการเห็นเกิดขึ้น ก็จะทำให้การพจารณา
ใคร่ครวญเกี่ยวกับการเห็นนั้นโดยทำนองที่ว่า ธรรมใดหนอ จะปรากฏชัดกว่า
เราจะกำหนดธรรมนั้นอย่างใดหนอ ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะก่อให้เกิดช่องว่างระหว่าง
การกำหนดหน้ากับการกำหนดหลังได้ ซ้ำยังไม่สามารถกำหนดให้เป็นปัจจุบัน
จะๆได้และไม่สามารถกำหนดจิตทั้งหลายที่ทำหน้าทีพิจารณาได้ จึงทำให้สติสมาธิ
และปัญญาแก่กล้าช้า ดังนั้น โยคีจึงไม่กำหนดโดยมัวแต่เน้นให้ศัพท์และ
ความหมายมีความสอดคล้องกัน แต่ควรทำการกำหนดรู้โดยลักษณะพื้นๆ เช่น
ในขณะที่เห็น ก็ควรพิจารณาว่า"เห็นหนอ"เท่านั้น ซึ่งการกำหนดเช่นนี้ จะทำให้
โยคีหมดปัญหาตามที่กล่าวมาแล้วและก็จะทำให้โยคีผู้นั้นสามารถเน้นและ
รู้สภาวะใดสภาวะหนึ่งที่ปรากฏชัดที่ขณะเห็นได้อย่างชัดเจน ก็การที่โยคี
สามารถรู้เช่นที่กล่าวมานี้นั้น จะทำให้สำนวนโวหารที่เป็นที่เรียกกิริยาอาการ
เบ่น"เห็นหนอ" ได้ชื่อว่าเป็นวิชชมานบัญญัติ ตัชชาบัญญัติ แก่โยคีผู้นั้นผู้ซึ่ง
มุ่งประสงค์จะรู้ชัดแต่เพียงสภาวะของรูปนามที่ปรากฏในขณะที่เห็นเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2021, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า วิชชมานบัญญัติ นั้น หมายถึง ชื่อว่านามบัญญัติที่ใช้เรียกปรมัตถธรรม
ซึ่งมีปรากฏอยู่จริง ก็แล ชื่อของปรมัตถ์นี้ ยังได้ชื่อว่า ตัชชาบัญญัติด้วย
ในฐานะเป็นสื่อแสดงให้รํถึงสภาวะของปรมัตถ์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยสอดคล้องต้องกัน
ตามที่มีอยู่จริงดังที่ในคัมภีร์ทั้งหลายท่านได้ตั้งรูปวิเคราะห์ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้ว่า

โค้ด:
ตสฺส ปรมตฺถสภาวสฺส อนุรูปํ ชายตีติ ตชฺชา, สา เอว ปญฺญาเปตพฺพํ
ปรมตฺถสภาวํ ปญฺญาเปตีติ ตชฺชาปญฺญตฺติ.


สาเหตุที่เรียกว่า ตชฺชา เพราะเป็นชื่อหรือนามบัญญัติที่ตั้งขึ้นโดยสอดคล้อง
กับสภาวะปรมัตถ์นั้น เนื่องจากเป็นทั้งชื่อหรือนามที่ตั้งขึ้นโดยสอดคล้องกับ
สภาวะปรมัตถ์และสามารถสื่อสภาวะปรมัตถ์ให้บุคคลเข้าใจได้ ดังนั้น จึงเรียกชื่อ
หรือนามนั้นว่า ตัชชาบัญญัติ

ตามนัยที่กล่าวมานี้ พึงทราบว่า ชื่อหรือนามชของปรมัตถ์ทั้งหมดทั้งปวง ไม่ว่า
จะเป็นชื่อที่เป็นภาษาใดๆ เช่น ชื่อในภาษาบาลีว่า ปถวี ผสฺส ดังนี้เป็นต้น หรือชื่อ
ในภาษาไทย เช่น ดิน แข็งกระด้าง นุ่ม เห็น ได้ยิน เป็นต้น ก็ล้วนแล้วแต่ได้
ชื่อว่าเป็นตัชชาบัญญัติทั้งสิ้น ซึ่งประเด็นนี้ก็ได้แสดงไปแล้วในตอาที่ว่าด้วยเรื่อง
ปรมัตถ์กับบัญญัติในปริเฉทที่ ๓ ผ่านมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2021, 04:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า; หากโยคีทำการกำหนดโดยใช้ซื่อตัชชาบัญญัติ เช่น "เห็นหนอ"
เป็นต้น แล้วจะไม่เป็นการกำหนดอารมณ์ที่เป็นบัญญัติดอกหรือ

ตอบว่า: ใช่ หากเป็นแต่ในช่วงต้นๆ ที่ภาวนายังไม่แก่กล้าเทานั้น ด้วยว่า
ในตอนเริ่มต้นเจริญวิปัสสนานั้น หากโยคีผู้ใดได้ทำการกำหนดรู้โดยใช้ชื่อเป็นตัว
กำหนดแล้วไซร้โยคีจะมีจิตที่ตั้งมั่นได้ไว ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้สามารถรู้สภาวะ
ของรูปนามตามความเป็นจริงและสามารถทำลายสันตติฆนบัญญัติกล่าวคือทิวแถว
แห่งรูปนามจนทะลุทะลวงมองเห็นไตรลักษณ์ตามความเป็นจริงได้ในที่สุด ยิ่งเมื่อ
ภาวนาของโยคีนั้นแก่กล้าเต็มที่แล้ว ก็จะทำให้จิตกำหนดอยู่นั้นสามารถละทิ้ง
อารมณ์ที่เป็นบัญญัติได้โดยอัตโนมัติ โดยจะรับรูปนามปรมัตถ์แท้ที่กำลังเกิดดับอยู่
มาเป็นอารมณ์เท่านั้น สำหรับโยคีผู้ยังไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ควร
ที่จะปลงใจเชื่อตามนยะหรือหลักการที่ท่านได้แสดงไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมัคค์มหาฎีกา
(๑/๒๖๖)ดังนี้ว่า
โค้ด:
นนุ จ ตชฺชาปญฺญตฺติวเสน สภาวธมฺโม คยฺหตีติ? สจฺจํ คยฺหติ ปุพฺพภาเค,
ภาวนาย ปน วทฺฒมานาย ปญฺญตฺติ สมติกฺกมิมิตฺวา สภาเวเยว ติฏฺฐติ.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2021, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามว่า : ควรที่โยคีจะกำหนดรู้(มนสิการ)สภาวธรรมโดยอาศัย
หรือนามที่เป็นตัชชาบัญญัติหรือไม่ ?

ตอบว่า : ในตอนเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมนั้น โยคีสามารถทำการกำหนด
เช่นนั้นได้ แต่เมื่อภาวนาแก่กล้าแล้ว จิตของโยคีนั้นจะสามารุข้ามพ้นบัญญัติ
ดังกล่าวแล้วรับเอาสภาวะปรมัตถ์เท่านั้นเป็นอารมณ์
นี่คือคำที่กล่าวไว้ในพุทธานุสสติวรรณนา ตอนที่ว่าด้วยการอธิบายเกี่ยวกับ
พุทธานุสสติกัมมัฏฐาน แม้ถึงกระนั้น คำฎีกานี้ก็สามารถเป็นสาธกหลักฐานที่จะ
ทำให้เรามีความเชื่อถือเป็นแบบในเรื่องของวิปัสสนาได้

อนึ่งในช่วงที่วิปัสสนาญาณทั้งหลายมีอุทยัพพญาณเป็นต้นนั้น
เนื่องจากรูปนามเกิดรวดเร็วมากจึงทำให้ไม่สามารถที่จะกำหนดโดออกชื่อไม่ทัน
จึงเพียงแต่กำหนดรู้สภาวะการเกิดดับได้เท่านั้น ซึ่งข้อนีโยคีจะได้ศึกษา
ในปริเฉทที่ ๕ และจะต้องประสบกับตัวเองโดยตรงในเวลาปฏิบัติถึงญาณเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น โยคีจึงไม่ควรนั่งนึกตรึกเอาว่า เราจะต้องกำหนดธรรมใด สภาวะใด
แต่จะต้องสำเหนียกว่า ทุกๆครั้งที่มีการเห็น ก็ให้กำหนดรู้ว่า"เห็นหนๆ" ผู้ที่
กำหนดเช่นนี้ได้อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสภาวธรรมปรากฏชัดนั้นในเบื้องต้นของ
การปฏิบัติธรรมนั้น สภาวธรรมที่จะปรากฏแก่โยคีนั้น ก็จะปรากฏโดยลักษณะ รสะ
ปัจจุปัฏฐานและปทัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น โนคีก็จะรู้ตามทันสภาวธรรมที่
ปรากฏนั้น เพราะฉะนั้น เพื่อให้โยคีสามารถกำหนดรู้ได้อย่างถูกต้อง และให้
สภาวธรรมปรากฏได้อย่างถูกต้อง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านจึงได้กล่าวคำนี้ว่า
"ลกฺขณรสาทิวเสนปริคฺคเหตพฺพา โยคีพึงกำหนดโดยเป็นลักษณะรสะเป็นต้น"
ซึ่งคำอธิบายข้อความนี้ได้กล่าวไว้ในปริเฉทที่ ๓ ตอนว่าด้วยเริ่องของ การ
ปฏิบัติที่ควรถือเป็นแนวทาง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร