วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 06:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2021, 13:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ปฐมนิยยานะกับอาวรณธรรม
โค้ด:
เนกฺขมฺมํ อริยานํ นิยฺยานํ, เตน จ เนกฺขมฺเมน อริยา นิยฺยนฺติ.
กามจฺฉนฺโท นิยฺยานิวรณํ, เตน จ กามจฺฉนฺเทน นิวุตตฺตา เนกฺขมฺมํ
อริยานํ นิยฺยานํ นปฺปชานาตีติ กามจฺฉนฺโท นิยฺยานาวรณํ

เนกขัมมะ คือวิปัสสนากุศล ชื่อว่าทางหลุดพ้นของพระอริยเจ้าทั้งหลาย
สาเหตุที่วิปัสสนาได้ชื่อว่า นิยยานะนั้น เนื่องจากเป็นเครื่องมือให้พระอริยเจ้าทั้งหลาย
ออกจากวัฏฏทุกข์ กามฉันทะความยินดีพอใจ ได้ชื่อว่า นิยยานาวรณะ เครื่องปิดกั้น
นิยยานธรรม สาเหตุที่ได้ชื่อว่า นิยยานาวรณะนั้น เนื่องจากกามฉันทะความพึงพอใจนี้
เป็นเครื่องมือปกปิดหรือปิดกั้นไม่ให้กุศลเกิด เป็นเหตุให้บุคคลย่อมไม่รู้ ซึ่งนิยยานธรรม
ของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย อันเป็นเหตุนำออกจากวัฏฏทุกข์ เพราะเหตุนั้น กามฉันทะ
นั้นจึงได้ชื่อว่า นิยยานาวรณธรรม ธรรมเป็นเครื่องปิดกั้นออกจากวัฏฏทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2021, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


โค้ด:
ปพฺพชฺชา ปฐมํ ฌานํ นิพฺพานญจ วิปสฺสนา
สพฺเพปิ กุสลา ธมฺมา เนกฺขมฺมนฺติ ปวุจฺจเร.
(อิติวุต.อัฏ.๓๓๑)

ตามคาถาข้างต้นนี้พึงทราบว่า การบรรพชาเป็นภิกษุ ก็ดี
ปฐมฌาน ก็ดี พระนิพพาน ก็ดี วิปัสสนาและกุศลทั้งหมดทั้งปวง ก็ดี
ท่านเรียกว่ เนกขัมมะ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมหาฎีกาท่านได้อธิบาย
ความหมายของเนกขัมมะว่าหมายถึงกุศลที่มี อโลภเจตสิกเป็นประธาน
ซึ่งก็ถือว่าเป็นการไขความตามสมควรแก่ฐานะนั้นๆ สำหรับในที่นี้ เนื่องจาก
เป็นเรื่องของวิปัสสนาและสมาธิ เนกขัมมะ จึงหมายเอาวิปัสสนากุศล
เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งในเรื่องที่เกี่ยวกับนิยยานะตอนต่อไปก็พึงทราบ
โดยทำนองเดียวกันนี้ คือ ล้วนแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิปัสสนาสมาธิเท่านั้น
ซึ่งจะได้แสดงให้ทราบพอสังเขป ดังต่อไปนี้

ถ้าหากแม้ว่า โยคีไม่ได้กำหนดพิจารณารูปนามที่ปรากฏต่อเนื่องในทวารทั้ง ๖
ก็ย่อมจะรู้รูปนามเหล่านั้นตามความเป็นจริง ไม่รู้เหตุและผลของรูปนามเหล่านั้นด้วย
ไม่รู้ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วย เมื่อไม่รู้ตามความเป็นจริง
โดยประการดังกล่าวนี้ ความยินดีพอใจในอารมณ์ที่ตนไม่ได้กำหนดรู้และในอารมณ์
หรือวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกันก็เกิดขึ้น ตัณหาก็ย่อมเกิดขึ้น แต่โยคีสามารถกำหนด
พิจารณารูปนามทุกๆครั้งที่รูปนามปรากฏได้ ก็ย่อมจะรู้ว่า"นี่คือรูป นี่คือนาม"
รู้เหตุและผลของรูปนามนั้น รู้ไตรลักษณ์ กล่าวคืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของ
รูปนามนั้น เพราะเหตุที่รู้เช่นนี้ โยคีย่อมยึดมั่น ตัณห่ก็ไม่เกิดขึ้นแก่โยคี

ผู้มีการกำหนดรู้เช่นนั้น การที่สามารถหลุดพ้นจากตัณหาความยินดีพอใจเข่นนี้
เป็นหน้าที่ของ วิปัสสนากุศล ซึ่งเรียกว่า เนกขัมมกุศล พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ย่อมออกจากวัฏทุกข์โดยอาศัยวิปัสสนา ที่เรียกว่าเนกขัมมกุศลนี้ หมายความว่า
เมื่อโยคีเจริญวิปัสสนาไปตามลำดับจนกระทั่ง ถึงขั้นมรรคญาณย่อมรู้แจ้งพระนิพพาน
และออกจากวัฏฏทุกข์ได้ดังนั้นวิปัสสนากุศล ซึ่งเป็นสาเหตุให้พระอริยะสามารถออก
จากสัฏฏทุกข์ได้ จึงได้ชื่อว่า เป็นนิยยานธรรม ของพระอริยะทั้งหลาย
หมายความว่า เป็นธรรมเครื่องพ้นทุกข์ของพระอริยะเจ้าทั้งหลายนั้นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2021, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนกามฉันทะอันเป็นความยินดี รักใคร่ พึงพอใจ ความปรารถนานั้น
ท่านเรียกว่า นิยยานาวรณธรรม เพราะเป็นธรรมที่ปิดกั้นมิให้วิปัสสนาเกิด
ซึ่งลักษณะการปิดกั้นมิให้วิปัสสนาเกิดนั้น พึงทราบดังนี้ ธรรมดาทุกคนย่อม
มีกิจที่ควรกระทำมีมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจวัตรของตนหรือของบุคคลอื่น
หรือของผู้เกี่ยวข้อง เช่น สามี ภรรยา บุตรธิดา ญาติสนิท มิตรสหาย ทายกทายิกา
ครูอาจารย์ เป็นต้น ทั้งนี้ให้ได้มาซึ่งความสุขในปัจจุบันชาตินั่นเอง ซึ่งการ
กระทำกิจทั้งหลาย เหล่านั้น พึงทราบว่า กามฉันทะเป็นการเปิดโอกาส เพราะเป็น
ตัวปรารถนาความสุข กามฉันทะจะเป็นตัวผู้ริเริ่ม ตรึกนึกคิด พยายามทุกวิถีทางเพื่อ
ให้ได้มาซึ่งความสุข จะเป็นตัวแสวงหาสิ่งที่ไม่เคยได้ เมื่อได้มาแล้วก็ยินดี
และจะพยายามที่จะรักษาสิ่งที่หามาได้นั้นเสื่อมไป ไม่มีเวลาว่างแม้สักวินาทีเดียว

เพราะฉะนั้นการที่จะดำริเพื่อจะเจริญวิปัสสนาอย่าหวังจะสำหรับบุคคลเช่นนั้นเลย
และถึงแม้จะคิดอยากเจริญวิปัสสนาก็ไม่สามารถจะปฏิบัติได้อย่างที่ตนคิด แม้แต่
เพื่อจะรักษาจิตของตนเอง ก็ไม่สามารถที่จะหาเวลา หาโอกาสมาทำอย่างที่
ต้องการได้ ได้แต่จินตนาการหรือความปรารถนาที่จะทำเท่านั้น พวกเขาเหล่านั้นก็ยินดี
อยู่แต่ในการพูดการกระทำในอิริยาบถ มีการเดินยืนเป็นต้นตามที่ต้องการนั้นเทียว
เพราะความหลงไหลในยินดีคลั่งใคล้เหล่านี้ จึงทำให้พวกเขาแม้แต่คิดอยากจะ
ปฏิบัติธรรมแต่ก็กลัวว่าจะทำให้ความสุขเล็กๆน้อยๆโดยทางกายทางใจของตน

เหือดหายไปจึงไม่สามารถเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้เมื่อไม่สามารถเข้าปฏิบัติได้
วิปัสสนาก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในขันธสันดานของตน เพราะฉะนั้น พวกเขาเหล่านั้น
จึงไม่สามารถจะประจักษ์ด้วยปัญญาของตนว่า วิปัสสนามีสภาวธรรมเช่นไร บุคคล
ผู้ที่ไม่ได้นิยยานธรรมกล่าวคือวิปัสสนาย่อมไม่สามารถหลุดพ้นจากวัฏฏทุกข์ได้อย่างแน่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.ค. 2021, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8580


 ข้อมูลส่วนตัว


สาเหตุของการที้ไม่สามารถหลุดพ้นออกจากวัฏฏทุกข์ได้นั้นเมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว
ก็จะเห็นว่าเป็นเพราะกามฉันทักล่าวคือความยินดีความต้องการที่จะให้ตนเองมีความ
อยู่ดีมีสุขนั่นเองเพราะเหตุนั้นกามฉันทะนั่นแหละได้ชื่อว่าเป็นเครื่องปิดกั้นเป็นเครื่อง
ขวางกั้นมิให้วิปัสสนาเกิดขึ้นได้ เมื่อวิปัสสนาไม่เกิดก็ไม่รู้ความจริงเมื่อไม่รู้ความจริง
ก็ไม่สามารถออกจากวัฏฏทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้น กามฉันทั จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้น
มิให้บุคคลออกจากทุกข์ไดเอาศัยกามฉันทะที่ปรารถนาจะมีสุขอยากจะมีชีวิต
ที่ดีในสังสารวัฏฏ์ข้างหน้า ทำให้บุคคลไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ กามฉันทะที่
ปรารถนาชีวิตในอนาคต จึงเป็นเครื่องปิดกั้นมิให้วิปัสสนานิยยานธรรมเกิดขึ้น

แม้ในเวลาที่โยคีกำลังปฏิบัติวิปัสสนาอยู่ กามฉันทะนี้ก็อาจเกิดขึ้นได้ในช่องว่าง
ระหว่างการกำหนดวิปัสสนา ซึ่งกามฉันทะจะเกิดขึ้นและเป็นปฏิปักข์กับวิปัสสนา
คือห้ามมิให้วิปัสสนาเกิด ลักษณะของการปิดกั้นห้ามมิให้วิปัสสนาเกิดนั้นพึงทราบดังนี้

เมื่อโยคีตรึกแล้วต้องการกามรมณ์ทั้งหลาย ความต้องการนั้นก็จะเกิดขึ้นอย่างหยาบๆ
เหมือนกับตอนที่โยคียังไม่ลงมือปฏิบัตินั่นเอง แต่ถ้าเป็นการปรารถนาเกี่ยวการ
ปฏิบัติวิปัสสนาแล้วกามฉันทะนั้นก็จะเกิดขึ้นอย่างละมุนละไมอ่อนโยนละเอียดไม่หยาบ
เช่น โยคีมีความยินดีพึงพอใจในกรณีที่ตนกำหนดพิจารณาได้ชัดเจนดี ยินดีพึงพอใจ
อารมณ์ที่ปรากฏชัดเจนในการกำหนดของตนทำให้เกิดโสมนัสอย่างปลาบปลื้มทุกๆครั้ง
ที่ทำการพิจารณา บางครั้งโยคีนั้นต้องการที่จะเล่าถึงที่ตนกำหนกพิจารณาได้ดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร