วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2021, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน

ฌานสมาบัติทั้งหลาย นอกจากจะเป็นพื้นฐานที่ดีในการปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพานแล้ว บางครั้งท่านยังเรียกเป็นนิพพานโดยปริยาย คือโดยอ้อม หรือโดยความหมายบางแง่บางด้านอีกด้วย เช่น มีพุทธพจน์ตรัสเรียกฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และ สัญญาเวทยิตนิโรธ (เรียกอีกอย่างว่านิโรธสมาบัติ) แต่ละอย่างๆ ว่าเป็น ตทังคนิพพาน (นิพพานด้วยธรรมคู่ปรับ หรือ นิพพานชั่วคราว) บ้าง ทิฏฐธรรมนิพพาน (นิพพานเห็นทันตา) บ้าง สันทิฏฐิกนิพพาน (นิพพานที่ผู้บรรลุจะเห็นได้เอง) บ้าง เช่น ข้อความในบาลีว่า

“ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลกรรม ฯลฯ เข้าถึงปฐมฌานผกเ แม้เท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยปริยาย (โดยอ้อมหรือแง่หนึ่ง); ฯลฯ

“ภิกษุก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่, เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะทั้งหลายของเธอก็หมดสิ้นไป, แม้นถึงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า เป็นทิฏฐธรรมนิพพาน โดยนิปริยาย (โดยตรง)”

ผู้ที่ (กำลังเจริญ ปัญญา) มองเห็นขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีอันจะต้องผันแปรไปเป็นธรรมดา ละความโศกเศร้าเป็นต้นเสียได้ หมดความร่านรนกระวนกระวาย อยู่เป็นสุข ท่านก็เรียกว่าเป็นผู้ตทังคนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2021, 17:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์น่าสนใจแห่งหนึ่งตรัสว่า คนที่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ ย่อมคิดในทางที่จะทำตนเองให้ลำบากเดือดร้อนบ้าง ทำคนอื่นให้ลำบากเดือดร้อนบ้าง ทำทั้งตนเองและผู้อื่นให้ลำบากเดือดร้อนทั้งสองฝ่ายบ้าง ย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจบ้าง, ครั้นเขาละราคะ โทสะ โมหะ ได้แล้ว เขาก็ไม่คิดในทางที่จะทำตนเองหรือทำผู้อื่น หรือทำทั้งสองฝ่ายให้ลำบากเดือดร้อน ไม่ต้องเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ, อย่างนี้แหละเป็นสันทิฏฐิกนิพพาน; เมื่อใดบุคคลผู้นี้เสวยภาวะปลอดราคะสิ้นเชิง ภาวะปลอดโทสะสิ้นเชิง ภาวะปลอดโมหะสิ้นเชิง (ราคักขัย โทสักขัย โมหักขัย), อย่างนี้แล คือนิพพานที่เป็นสันทิฏฐิกะ (ซึ่งผู้บรรลุเห็นได้เอง) อกาลิกะ (ไม่ขึ้นกับกาล) เอหิปัสสิกะ (เชิญให้มาพิสูจน์ดูได้) โอปนยิกะ (ควรน้อมเข้ามาไว้ในใจ) ปัจจัตตัง เวทิตัพพัง วิญญูหิ (ซึ่งวิญญูชน พึงทราบจำเพาะตน)

คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ แบ่งนิโรธ ซึ่งเป็นไวพจน์สำคัญของนิพพาน ออกเป็น ๕ อย่าง หรือ ๕ ระดับ คือ

๑. วิกขัมภนนิโรธ ได้แก่การที่ผู้เจริญปฐมฌาน ดับนิวรณ์ได้ด้วยการข่มไว้ (สมาบัติทั้ง ๘ คือ และอรูปฌาน ๔ เป็นวิกขัมภนนิโรธทั้งหมด เพราะนับแต่เข้าถึงปฐมฌานแล้วเป็นต้นไป อกุศลธรรมทั้งหลายมีนิวรณ์เป็นต้น ย่อมถูกข่มให้ระงับดับไปเอง แต่ก็ดับชั่วเวลาที่อยู่ในฌานสมาบัติเท่านั้น; พูดอย่างง่ายว่า ข่มธรรมที่เป็นข้าศึกคือกิเลสต่างๆ เช่น นิวรณ์เป็นต้นได้ ด้วยโลกิยสมาธิ เป็นการดับกิเลสแบบเอาหินทับหญ้า)

๒. ตทังคนิโรธ ได้แก่การที่ผู้เจริญถึงขั้นชำแรกทำลายกิเลส ดับความเห็นผิดต่างๆ ลงได้ด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับกัน (หมายถึงการดับกิเลสในขั้นวิปัสสนา คือใช้ปัญญาพิจารณาสภาวะของสิ่งทั้งหลาย เช่น พิจารณาความไม่เที่ยงเป็นต้น พิจารณาเห็นแง่ใด ก็เกิดญาณขึ้นกำจัดความเห็นหรือความยึดถือในทางตรงข้ามที่ขัดต่อสัจธรรมในแง่นั้นๆ ลงได้ เช่น กำหนดเห็นตัวตนเราเขาเป็นเพียงนามรูป ก็ดับสักกายทิฏฐิได้ พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ก็ดับนิจจสัญญาได้ พิจารณาเห็นทุกข์ ก็ดับสุขสัญญาได้ พิจารณาเห็นอนัตตา ก็ดับอัตตสัญญาได้ เป็นต้น เป็นการดับกิเลส แบบจุดดวงไฟ ดับความมืด แต่ก็ยังเป็นการดับชั่วคราว เหมือนว่าพอไฟดับ ก็มืดอีก)

๓. สมุจเฉทนิโรธ ได้แก่ การที่ผู้เจริญโลกุตรมรรค ซึ่งให้ถึงความสิ้นกิเลส ดับกิเลสลงได้ด้วยการตัดขาด (หมายถึง อริยมรรคทั้ง ๔ คือ โสตาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค ซึ่งดับกิเลสเช่นสังโยชน์ทั้งหลายได้อย่างเด็ดขาด ไม่กลับงอกงามขึ้นมาได้อีก เหมือนต้นไม้ถูกสายฟ้าฟาด หรือขุดรากถอนโคนทิ้ง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2021, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ได้แก่ การดับกิเลสในขณะแห่งผล โดยเป็นภาวะที่กิเลสราบคาบไปแล้ว (หมายถึง อริยะผลทั้ง ๔ คือ โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล ซึ่งเป็นภาวะสงบเรียบซึ้งสนิท เพราะกิเลสได้ถูกมรรคตัดขาดระงับดับสิ้นไปแล้ว)

๕. นิสสรณนิโรธ ได้แก่ การดับกิเลสที่เป็นภาวะพ้นออกไปแล้วจากกิเลส ดำรงอยู่ต่างหาก ห่างไกลจากกิเลส ไม่เกี่ยวข้องกับกิเลสเลย นิโรธข้อนี้แหละ คือนิพพาน หรือที่เรียกว่า อมตธาตุ ซึ่งเป็นภาวะที่ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ

ในนิโรธ ๕ ข้อนี้ ๒ ข้อแรก คือ วิกขัมภนนิโรธ และตทังคนิโรธ เป็นขั้นโลกีย์ ส่วนสามข้อท้าย เป็น โลกุตระ สี่ข้อแรกเรียกว่าเป็นนิพพานได้โดยปริยาย คือโดยอ้อมหรือในบางแง่บางด้าน ส่วนข้อสุดท้าย คือ นิสสรณนิโรธ จึงจะเป็นนิพพานโดยนิปริยาย คือเป็นนิพพานแท้ โดยตรง เต็มตามความหมาย

นอกจากนิโรธแล้ว คัมภีร์ปฏิสัมภิทามัคค์ยังแบ่งปหานะ วิเวก วิราคะ และโวสสัคคะ (การปล่อยวาง) เป็นอย่างละ ๕ ข้อ เช่นเดียวกับนิโรธ ๕ นี้ มีข้อย่อยและความหมายตรงกันทั้งหมด

ส่วนคัมภีร์รุ่นอรรกถา นิยมแบ่งเป็น ๕ ข้อ มีข้อย่อยและความหมายของแต่ละข้อตรงกันกับนิโรธ ๕ ที่กล่าวมาแล้วเช่นเดียวกัน

ขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน อย่างที่รู้จักกันทั่วไป ก็คือการแบ่งแบบมรรคผล หรือมรรค ๔ ผล ๔ ได้แก่ โสตาปัตติมรรค โสตาปัตติผล สกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล อรหัตตมรรค และอรหัตตผล

อย่างไรก็ดี การแบ่งแบบนี้ มักพูดถึงโดยสัมพันธ์กับบุคคลผู้บรรลุ จึงจะยกไปกล่าวในตอนต่อไป ว่าด้วยประเภทและระดับแห่งผู้เข้าถึงนิพพาน

ส่วนในที่นี้ ขอย้ำไว้เพียงว่า มรรคผลนั้นไม่ใช่นิพพาน แต่เป็นเพียงขั้นตอนหรือระดับแห่งการเข้าถึงนิพพาน

นอกจากนี้ มีข้อควรทราบพิเศษอีกอย่างหนึ่งว่า:

มรรคข้อแรก คือโสดาปัตติมรรค มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ทัสสนะ” (การเห็น) เพราะเป็นการเห็นนิพพานครั้งแรก

ส่วนมรรคเบื้องสูงอีก ๓ คือ สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหันตมรรค มีชื่อเรียกรวมกันอีกอย่างหนึ่งว่า “” (การเจริญ) เพราะเป็นการเจริญในธรรมที่โสดาปัตติมรรค ที่เห็นไว้แล้วนั่นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร