วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2021, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะแห่งนิพพาน

เมื่อสังสารวัฏฏ์ หายไป ก็กลายเป็นวิวัฏฏ์ขึ้นเองทันที เป็นของเสร็จพร้อมอยู่ในตัว
ไม่ต้องเดินทางออกจากสังสารวัฏฏ์ที่แห่งหนึ่ง ไปสู่วิวัฏฏ์อีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการพูด
ในเชิงภาพพจน์ หรืออุปมา เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไป นิพพานก็ปรากฏแทนที่
พร้อมกัน จะพูดให้มั่นเข้าอีกก็ว่า การดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นแหละ คือนิพพาน

ตามปกติของปุถุชน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมคอยครอบงำเคลือบแฝงจิตใจ
กำบังปัญญา และเป็นตัวชักใยนำเอาต่างๆ ให้ไหลเข้ามาสู่จิตใจ ทำใจให้ไหว ให้วุ่น
ให้ขุ่น ให้มัว ให้ฝ้าหมอง ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดบ้าง ให้บิดเบือนไปเสียบ้าง ตลอดจน
ถ่วงดึงเหนี่ยวรั้งไว้ ให้วนเวียนติดตังข้องขัดและคับแคบอยู่กับเครื่องผูกมัดหน่วงเหนี่ยวชนิดต่างๆ

เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานนั้น ดับหายไปแล้ว ก็เกิดปัญญา เป็นวิชชาสว่างแจ้งขึ้น มองเห็น
สิ่งทั้งหลาย กล่าวคือโลกและชีวิต ถูกต้องชัดเจน ตามที่มันเป็นของมัน ไม่ใช่ตามที่อยากให้มัน
เป็น หรือตามอิทธิพลของสิ่งเคลือบแฝงกำบัง การมองเห็น การรับรู้ต่อโลกและชีวิต ก็จะเปลี่ยนไป
ความรู้สึกและท่าทีต่อสิ่งต่างๆ ก็จะเปลี่ยนไป ยังผลให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไปด้วย

สิ่งที่ปรากฏอยู่ แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือแม้แต่นึกถึง เพราะถูกปิดกั้นคลุมบังเงาไว้ หรือ
เพราะมัวสาละวนเพลินอยู่กับสิ่งอื่น ก็ได้รู้ได้เห็นขึ้น เกิดเป็นความรู้เห็นใหม่ๆ จิตใจเปิดเผย
กว้างขวาง ไม่มีประมาณ

โปร่งโล่ง เป็นอิสระ เป็นภาวะที่แจ่มใส สะอาด สว่าง สงบ ละเอียดอ่อน ประณีต ลึกซึ้ง
ซึ่งผู้ยังมี อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำใจอยู่ อย่างที่เรียกกันว่า นึกไม่เห็น
คิดไม่เข้าใจ แต่เข้าถึงเมื่อใด ก็รู้เห็นประจักษ์แจ้งเองเมื่อนั้น ดังคุณบท คือคำแสดง
คุณลักษณะของว่า:

“นิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล เรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเอาเข้ามาไว้
อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2021, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดา
ของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็น
พื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ
ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคน
ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ไม่เข้าใจ
นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยาเป็นต้นของผู้พูดแล้ว อาจจะนึกว่า
ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่าผู้พูดกล่าวคำภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง
หรืออาจจะนึกว่าผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรือนึกคิดอะไรต่างๆ
ไปได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์

แต่ถ้าผู้พูดกล่าวว่า “ฉันเห็นช้าง” ผู้ฟังนั้น จะมีความเข้าใจขึ้นหน่อยหนึ่งว่า ช้างเป็นอะไร
อย่างหนึ่งที่เห็นได้ด้วยตา ถ้าผู้พูดอธิบายต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง” เขาก็เข้าใจ
เพิ่มขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง โดยอาจจะนึกไปถึงสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าสัตว์ ไม่จำกัดชนิดและขนาด
ตั้งแต่มดถึงไดโนเสาร์ ตั้งแต่ปลากัดถึงปลาวาฬ ตั้งแต่ยุงถึงนกอินทรีย์ เมื่อผู้พูดกล่าว
ต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์บก” เขาก็เข้าใจชัดขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ครั้นบอกว่า “ช้าง เป็นสัตว์
ตัวโตมาก” เขาก็เห็นภาพจำกัดชัดเข้าอีก

จากนั้น ผู้พูดก็อาจบรรยายลักษณะของช้าง เช่น ใบหูโต ตาเล็ก มีงาสองข้าง มีจมูกยาว
เป็นงวง เป็นต้น ผู้ฟังก็จะได้ภาพจำเพาะที่ชัดเจนในใจของเขามากขึ้น ภาพนั้นอาจใกล้
ของจริงก็ได้ หรือห่างไกลไปมากมาย ชนิดที่ว่า ถ้าให้เขาวาดภาพที่เขาเห็นในใจเวลานั้น
ออกมาเป็นรูปวาดบนแผ่นกระดาษ เราอาจได้รูปสัตว์ประหลาดเพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง
สำหรับนิยายโบราณเรื่องใหม่ก็ได้ เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็นจริงนี่แหละ มักใช้สัญญาต่างๆ
สร้างภาพได้วิจิตรพิสดารนัก ทั้งนี้ ภาพในใจของเขาจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นต่อความ
แม่นยำของสัญญาเกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆ ที่ผู้เล่ายกขึ้นมาพูดฝ่ายหนึ่ง และสัญญา
ที่ผู้ฟังเอามาประสานเป็นองค์ประกอบสร้างสัญญาใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง

จะเห็นว่า คำว่า “เห็น” ก็ดี “สัตว์” ก็ดี “บก” “ตัวโต” เป็นต้น ก็ดี ล้วนเป็นสัญญาที่ผู้ฟังมี
อยู่แล้วทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่สิ่งที่นำมาบอกเล่า แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยรู้เห็นมี
สัญญาอยู่ก่อนแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะอาการใดที่จะเทียบกันได้เลย ผู้ฟังจะ
ไม่มีทางนึกเห็นหรือเข้าใจได้ด้วยประการใดทั้งสิ้น

เมื่อมีการสอบถามเทียบเคียงขึ้น คือผู้ฟังขอนำเอาสัญญาของตนออกมาต่อความรู้ใหม่
ก็จะทำได้อย่างเดียว คือปฏิเสธ หรือถ้าผู้เล่าขืนพยายามจะชี้แจงด้วยสัญญาที่ผู้ฟังพอ
จะเอามาเทียบได้บ้าง ก็เสี่ยงอันตรายอย่างมากต่อการที่ผู้ฟังจะสร้างสัญญาผิดๆ ต่อสิ่ง
ที่นำมาเล่านั้น ถ้าผู้ฟังไม่สร้างสัญญาผิด ก็อาจไปสู่สุดทางอีกข้างหนึ่ง คือปฏิเสธคำบอก
ของผู้เล่า โดยกล่าวหาว่าผู้เล่ากล่าวเท็จ หลอกลวง สิ่งที่นำมาเล่านั้นไม่มีจริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2021, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่การที่ผู้ฟังจะปฏิเสธ โดยกล่าวว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีจริง เพียงเพราะเหตุที่ตนไม่เคยเห็น
ไม่เคยรู้จัก ไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยรู้จักและตนเองไม่อาจนึกเห็นหรือเข้าใจ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง

นิพพานเป็นภาวะที่พ้นจากสภาพทั้งหลายที่ปุถุชนรู้จัก นอกเหนือออกไปจากการรับรู้ที่
ถูก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำ เป็นภาวะที่เข้าถึงทันที พร้อมกับการละกิเลสที่
เคลือบคลุมใจ หรือพ้นจากภาวลักษณะต่างๆ ที่เป็นวิสัยของปุถุชน เหมือนเลื่อนฉากออก
ก็มองเห็นท้องฟ้า นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใด ที่ปุถุชนเคยรู้เคยเห็น ปุถุชน
จึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิด
เข้าใจได้ แต่จะว่านิพพานไม่มี ก็ไม่ถูก มีผู้กล่าวอุปมาบางอย่างไว้ เพื่อให้ปุถุชนพอสำนึก
ได้ว่า สิ่งที่ตนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องไม่มี

ข้อเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องปลาไม่รู้จักบก มีความย่อของนิทานว่า ปลากับเต่า
เป็นเพื่อนสนิทกัน ปลาอยู่แต่ในน้ำ รู้จักแต่เรื่องราวความเป็นไปในน้ำ เต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำ
สะเทินบก รู้จักทั้งบกทั้งน้ำ

วันหนึ่งเต่าไปเที่ยวบกมาแล้ว ลงในน้ำพบปลา ก็เล่าให้ปลาฟัง ถึงความสดชื่นที่ได้ไปเดินเที่ยว
บนผืนดินแห้ง ในท้องทุ่งโล่งที่ลมพัดฉิว ปลาฟังไปได้สักหน่อย ไม่เข้าใจเลย อะไรกันนะที่ว่าเดิน
อะไรกันพื้นดินแห้ง อะไรกันทุ่งโล่ง อะไรกันลมพัดฉิว แม้แต่ความสดชื่นอย่างนั้น ปลาก็ไม่รู้จัก
ความสุขโดยปราศจากน้ำ จะเป็นไปได้อย่างไร มีแต่จะตายแน่ๆ

ปลาทนไม่ได้ จึงขัดขึ้น และซักถามหาความเข้าใจ เต่าเล่าและอธิบายด้วยศัพท์บก ปลาซักถาม
ด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ ปลาจะให้เต่าอธิบายด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็อธิบายไม่ได้ เพราะไม่รู้
จะเอาอะไรมาเทียบ

ในที่สุด ปลาก็ลงข้อสรุปว่า เต่าโกหก เรื่องที่เล่าไม่จริงทั้งสิ้น เดินก็ไม่มี ผืนดินแห้งก็ไม่มี
ทุ่งโล่งก็ไม่มี ลมพัดฉิวต้องตัวแล้วสดชื่น ก็ไม่มี

ตามเรื่องนี้ ความจริงปลาเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่เต่าเล่า มีอยู่จริง แต่พ้นวิสัยแห่งความรู้ของปลา
เพราะปลายังไม่เคยขึ้นไปอยู่บก จึงไม่อาจเข้าใจได้

ข้อเทียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ทางอายตนะที่ต่างกัน ธรรมดาว่า ความรู้ทางอายตนะคนละ
อย่าง ย่อมมีลักษณะอาการที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจเทียบกันได้ รูปกับเสียงไม่มี
อะไรเทียบกันได้ เสียงกับกลิ่นไม่มีอะไรเทียบกันได้ ดังนี้เป็นต้น

สมมติว่า คนผู้หนึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ไม่เคยมีสัญญาเกี่ยวกับรูป ย่อมไม่มีใครสามารถไป
อธิบายสีเขียว สีแดง สีส้ม สีชมพู หรือลักษณะอาการต่างๆ ของรูป ให้เขาเข้าใจได้ด้วยความรู้
จากสัญญาที่เขามีทางอายตนะอื่นๆ ไม่ว่าจะอธิบายว่า รูปนั้นดัง เบา ทุ้ม แหลม เหม็น หอม เปรี้ยว
หวาน อย่างไร หรือถ้าใครไม่มีประสาทจมูกมาแต่เกิด ใครจะอธิบายให้เขาเข้าใจ เหม็น หอม
กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ ได้อย่างไร เพราะคงจะต้องปฏิเสธ เขียว เหลือง แดง น้ำเงิน
หนัก เบา อ้วน ผอม ดัง เบา ขม เค็ม เป็นต้น ที่เขาใช้ซักถามทั้งหมด

ยิ่งกว่านั้น มนุษย์มีอายตนะขั้นต้นสำหรับรับรู้ลักษณะอาการต่างๆ ของโลก ที่เรียกว่า อารมณ์
เพียง ๕ อย่าง ถ้ามีแง่ของความรู้ที่นอกเหนือจากนั้นไป มนุษย์ย่อมไม่อาจรู้ และแม้แต่ห้าอย่างที่รู้
ก็รู้ไปตามลักษณะอาการด้านต่างๆ เท่านั้น การไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ
ของมนุษย์เพียงอย่างเดียว จึงยังมิใช่เครื่องชี้ขาดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรงมีพุทธดำริว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกหยั่งไม่ถึง (ไม่อยู่ใน
วิสัยของตรรก) ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงทราบ”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2021, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า

“ธรรม เราลุถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควรประกาศ, ธรรมนี้ มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะโทสะครอบงำ
จะรู้เข้าใจได้ง่าย, สัตว์ทั้งหลายผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืด () ห่อหุ้ม จักไม่เห็นภาวะ
ที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เห็นยาก ละเอียดยิ่งนัก”

คำว่า “ธรรม” ในที่นี้ หมายถึง ปฏิจสมุปบาท และ นิพพาน (จะว่าอริยสัจ ๔ ก็ได้ใจความเท่ากัน)
แต่ถึงแม้จะยากอย่างนี้ ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยายามสั่งสอนชี้แจงอธิบาย
อย่างมากมาย ดังนั้น คำว่านิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ จึงควรมุ่งให้เป็น
คำเตือนเสียมากกว่า คือ เตือนว่าไม่ควรเอาแต่คิดสร้างภาพและถกเถียงชักเหตุผลมา
แสดงกันอยู่ จะเป็นเหตุให้สร้างสัญญาผิดๆ ขึ้นมาเสียเปล่า ทางที่ดีหรือทางที่ถูก ควร
จะลงมือปฏิบัติให้เข้าถึง เพื่อรู้เห็นประจักษ์ชัดกับตนเอง เพราะถึงแม้ว่านิพพานนั้น
เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็น ก็นึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่รู้ได้ เห็นได้ เข้าถึงได้ เพียงแต่ว่ายากเท่านั้น

เมื่อตกลงกันได้เช่นนี้แล้ว ก็อาจเปลี่ยนข้อความจากที่นิยมพูดกันว่า นึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ
(หรือที่บางท่านถึงกับว่า พูดไม่ได้ บรรยายไม่ได้) มาใช้ตามพุทธพจน์นี้ว่า “เห็นได้ยาก
หยั่งรู้ตามได้ยาก”

คําแสดงคุณลักษณะของนิพพาน
ในเมื่อนิพพานเป็นสิ่งเห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้ยาก เมื่อยังไม่เห็น ก็นึกไม่เห็น เมื่อยังไม่เข้าถึง
ก็คิดไม่เข้าใจ ถ้อยคำที่จะใช้บอกตรงๆ และสัญญาที่จะใช้กำหนดก็ไม่มี ดังได้กล่าวมาฉะนี้
จึงน่าสังเกตว่า ในการกล่าวถึงนิพพาน ท่านจะพูดอย่างไร หรือใช้ถ้อยคำอย่างไร

ตามที่ได้ประมวลดู พอจะสรุปวิธีพูดถึง หรืออธิบายนิพพาาได้ ๔ อย่าง คือ

๑. แบบ ปฏิเสธ คือ ให้ความหมายอันแสดงถึงการละ การกำจัด การเพิกถอนภาวะไม่ดี
ไม่งาม ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์ต่างๆ ที่มีอยู่ในวิสัยของฝ่ายวัฏฏะ เช่นว่า “นิพพานคือ
ความสิ้นราคะ สิ้นโทสะ สิ้นโมหะ” “นิพพานคือความดับแห่งภพ” “นิพพานคือความสิ้น”
“ที่จบสิ้นของทุกข์” ดังนี้เป็นต้น หรือใช้คำเรียกอันแสดงภาวะที่ตรงข้ามกับภาวะ
ฝ่ายวัฏฏะโดยตรง เช่น “เป็น” (ไม่ถูกปรุงแต่ง) “อชระ” (ไม่แก่) “อมตะ” (ไม่ตาย) เป็นต้น

๒. แบบ ไวพจน์ หรือเรียกตามคุณภาพ คือ นำเอาคำพูดบางคำที่ใช้พูดเข้าใจกันอยู่แล้ว
อันมีความหมายเกี่ยวกับภาวะที่สมบูรณ์ หรือดีงามสูงสุด มาใช้เป็นคำเรียกนิพพาน เพื่อ
แสดงถึงคุณลักษณะของนิพพานนั้น ในบางแง่บางด้าน เช่น “สันตะ” (สงบ) “ปณีตะ” (ประณีต)
“สุทธิ” (ความบริสุทธิ์) “เขมะ” (ความเกษม) เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2021, 14:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


แบบ อุปมาถ้อยคำอุปมา มักใช้บรรยายภาวะและลักษณะของผู้บรรลุนิพพาน
มากกว่าจะใช้บรรยายภาวะของนิพพานโดยตรง เช่น เปรียบพระอรหันต์เหมือนโคนำฝูง
ที่ว่ายตัดกระแสน้ำข้ามถึงฝั่งแล้ว เหมือนคนข้ามมหาสมุทร หรือห้วงน้ำใหญ่ที่มีอันตรายมาก
ถึงฟากขึ้นยืนบนฝั่งแล้ว จะว่าไปเกิดที่ไหน หรือจะว่าไม่เกิดเป็นต้น ก็ไม่ถูกทั้งสิ้น
เหมือนไฟดับไปเมื่อสิ้นเชื้อ

อย่างไรก็ตาม คำเปรียบเทียบภาวะของนิพพานโดยตรงก็มีอยู่บ้าง เช่นว่า นิพพาน
เป็นเหมือนภูมิภาคอันราบเรียบน่ารื่นรมย์ เหมือนฝั่งโน้นที่เกษมไม่มีภัย และเหมือนพจนสาร
แจ้งข่าวความตามที่เป็นจริง เป็นต้น ที่ใช้เป็นคำเรียกเชิงเปรียบเทียบอยู่ในตัว ก็หลาย
คำ เช่น “อาโรคยะ” (ความไม่มีโรค, สุขภาพสมบูรณ์) “ทีปะ” (เกาะ, ที่พ้นภัย) “เลณะ”
(ถ้ำ, ที่กำบังภัย) เป็นต้น ในสมัยคัมภีร์รุ่นต่อๆ มา ที่เป็นสาวกภาษิต ถึงกับเรียกเปรียบ
เทียบนิพพานเป็นเมืองไปก็มี ดังคำว่า “อุดมบุรี” และ “นิพพานนคร” ซึ่งได้กลายมาเป็น
คำเทศนาโวหารและวรรณคดีโวหารในภาษาไทยว่า อมตมหานครนฤพาน บ้าง เมืองแก้ว
กล่าวแล้วคือพระนิพพาน บ้าง แต่คำหลังนี้ ไม่จัดเข้าในบรรดาถ้อยคำที่ยอมรับว่า
ใช้แสดงภาวะของนิพพานได้

๔. แบบบรรยายภาวะโดยตรง แบบนี้มีน้อยแห่ง แต่เป็นที่สนใจของนักศึกษา นักค้นคว้ามาก
โดยเฉพาะผู้ถือพุทธธรรมอย่างเป็นปรัชญา และมีการตีความกันไปต่างๆ ทำให้เกิดข้อถกเถียงกัน
ได้มาก จะได้คัดมาให้ดูต่อไป

ทั้ง ๔ แบบนี้ ถ้าเป็นคำเรียก หรือคำแสดงคุณลักษณะ บางทีท่านก็ใช้เสริมกัน มาด้วยกัน
ในข้อความเดียวกัน หรือมาเป็นกลุ่ม ในที่นี้จะเอามาแสดงรวมๆ กันไว้ เท่าที่เห็นสมควร
พอให้ผู้ศึกษาเห็นแนว และขอให้แยกแบบเอาเอง (แสดงตามลำดับอักษรบาลี)

อกัณหอสุกกะ ไม่ดำไม่ขาว (ไม่จำกัดชั้นวรรณะ, ไม่เป็นบุญไม่เป็นบาป)
ตัณหักขยะ ภาวะสิ้นตัณหา

อกตะ ไม่มีใครสร้าง
ตาณะ เครื่องต้านทาน, ที่คุ้มกัน

อกิญจนะ ไม่มีอะไรค้างใจ, ไร้กังวล
ทีปะ เกาะ, ที่พึ่ง

อกุโตภัย ไม่มีภัยแต่ที่ไหน
ทุกขักขยะ ภาวะสิ้นทุกข์

อัจจุตะ ไม่เคลื่อน, ไม่ต้องจากไป
ทุททสะ เห็นได้ยาก

อัจฉริยะ อัศจรรย์
ธุวะ ยั่งยืน

อชระ, อชัชชระ ไม่แก่, ไม่คร่ำคร่า
นิปุณะ ละเอียดอ่อน

อชาตะ ไม่เกิด
นิปปปัญจะ ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า, ไม่มีปปัญจะ

อนตะ ไม่โอนเอนไป, ไม่มีตัณหา
นิพพาน ความดับกิเลสและกองทุกข์

นิพพุติ ความดับเข็ญเย็นใจ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2021, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อนันต์ ไม่มีที่สุด
นิโรธ ความดับทุกข์

อนาทาน ไม่มีการถือมั่น
บรมสัจจ์ ความจริงอย่างยิ่ง, สัจจะสูงสุด

อนาประ ไม่มีอื่นอีก, ประเสริฐ, ดีที่สุด
ปณีตะ ประณีต

อนาลัย ไม่มีอาลัย, ไม่มีความติด
ปรมัตถ ประโยชน์สูงสุด

อนาสวะ ไม่มีอาสวะ
ปรมสุข บรมสุข, สุขอย่างยิ่ง

อนิทัสสนะ ไม่เห็นด้วยตา
ปรายนะ ที่ไปข้างหน้า, ที่หมาย

อนีติกะ ไม่มีสิ่งเป็นอันตราย
ปัสสัทธิ ความสงบระงับ, สงบเยือกเย็น

อนุตตระ ไม่มีอะไรยิ่งกว่า, ยอดเยี่ยม
ปาระ ฝั่ง, ที่หมายอันปลอดภัย

อปโลกิตะ (-นะ) ไม่ผุพัง, ไม่เสื่อมสลาย
มุตติ ความพ้น, หลุดรอด

อภยะ ไม่มีภัย
โมกขะ ความพ้นไปได้

อมตะ ไม่ตาย
โยคักเขมะ ธรรมอันเกษมจากโยคะ, ปลอดเครื่องผูกรัด

อโมสธรรม ไม่เสื่อมคลาย, ไม่กลับกลาย
เลณะ ที่เร้น, ที่กำบังภัย

อัพภูต ไม่เคยมีไม่เคยเป็น, น่าอัศจรรย์
วิมุตติ ความหลุดพ้น, เป็นอิสระ

อัพยาธิ ไม่มีโรคเบียดเบียน
วิโมกข์ ความหลุดพ้น

อัพยาปัชฌะ ไม่มีความเบียดเบียน, ไร้ทุกข์
วิรชะ ไม่มีธุลี

อภูตะ ไม่กลายไป
วิราคะ ความจางคลายหายติด

อสังกิลิฎฐะ ไม่เศร้าหมอง
วิสุทธิ ความบริสุทธิ์, หมดจด

อสังกุปปะ ไม่หวั่นไหว, ไม่โยกคลอน
สัจจะ ความจริง

อสังขตะ ไม่ถูกปรุงแต่ง
สันตะ สงบ, ระงับ

อสังหิระ ไม่คลอนแคลน
สันติ ความสงบ

อโสกะ ไม่มีความโศก
สรณะ ที่พึ่ง, ที่ระลึก

อาโรคยะ ไม่มีโรค, สุขภาพสมบูรณ์
สิวะ แสนเกษมสำราญ

อิสสริยะ อิสรภาพ, ความเป็นใหญ่ในตัว
สุทธิ ความบริสุทธ์, สะอาด

เขมะ เกษม, ปลอดภัย
สุทุททสะ เห็นได้ยากยิ่งนัก

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2021, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์ชั้นอรรถาธิบายและคัมภีร์ที่เป็นสาวกภาษิต (เช่น นิทเทส, ปฏิสัมภิทามัคค์, เถรคถา,
เถรีคาถา, อปาทาน ) ตลอดมาจนถึงคัมภีร์รุ่นหลังๆ เช่น อภิธานัปปทีปิกา ยังกล่าวถึงหรือ
จัดคำเข้ามาแสดงความหมายของอีกเป็นนิพพานอันมาก เช่น

อักขระ ไม่รู้จักสิ้น, ไม่พินาศ
เกวละ ไม่กลั้วระคน, สมบูรณ์ในตัว,ไกวัลย์

อขลิตะ ไม่พลั้งพลาด
นิจจะ เที่ยง, แน่นอน

อจละ ไม่หวั่นไหว
นิรุปตาปะ ไม่มีความเดือดร้อน

อนารัมมณะ ไม่ต้องอาศัยสิ่งยึดหน่วง
ปฏิปัสสัทธิ ความสงบรำงับ, เยือกเย็น

อนุปปาทะ ความไม่เกิด
ปทะ ที่พึงถึง, จุดหมาย

อปวัคค ปราศจากสังขาร, พ้นสิ้นเชิง
ประ ภาวะตรงข้าม, ภาวะยอดยิ่ง

อมรณะ ไม่ตาย
ปริโยสาน จุดสุดท้าย, จุดหมาย

อรูปะ ไร้รูป, ไม่มีทรวดทรงสัณฐาน
ปหานะ การละกิเลส

อสปัตตะ ไม่มีข้าศึก
วูปสมะ ความเข้าไปสงบ

อสัมพาธะ ไม่คับแคบ, ไม่ข้องขัด
วิวัฏฏ์ ภาวะพ้นวัฏฏะ, ปราศจากวัฏฏะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มิ.ย. 2021, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาคำทั้งหมดนี้ บางคำถือได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะใช้เป็นคำแทน หรือคำแสดงอรรถ
ของนิพพานอยู่เสมอ เช่น อสังขตะ นิโรธ วิมุตติ วิราคะ สันตะ หรือสันติ เป็นต้น แต่อีกหลายคำ
มีที่ใช้น้อยเหลือเกิน บางคำมีที่ใช้แห่งเดียว บางคำใช้บ้างสองสามแห่ง จึงไม่ควรถือเป็นสำคัญนัก
นำมาลงไว้เพียงเพื่อประกอบความรู้เพราะอาจช่วยเป็นแนวความเข้าใจเพิ่มขึ้นบ้าง แม้คำแปลที่
ให้ไว้ ก็พอให้จับความหมายได้บ้างเท่านั้น ไม่อาจให้อรรถรสลึกซึ้งสมบูรณ์ เพราะขาดข้อความแวด
ล้อมที่จะช่วยเสริมความเข้าใจ

ข้อที่สำคัญอย่างยิ่ง ก็คือ หลายศัพท์เป็นคำพูดที่คุ้นหูคุ้นปากของคนเฉพาะยุคสมัยและถิ่นฐานหรือ
ชุมชนนั้นๆ เกี่ยวด้วยสิ่งที่เขานิยมหรือลัทธิศาสนาที่เขาเชื่อถือ ซึ่งเมื่อกล่าวขึ้นมา ชนพวกนั้นย่อม
ทราบซึ้งเป็นอย่างดี บางทีพระพุทธเจ้าทรงนำเอาคำนั้นๆ มาใช้เรียกนิพพาน เพียงเพื่อเป็นสื่อเชื่อม
โยงความคิดกับคนเหล่านั้น แล้วจึงนำเอาความหมายใหม่ตามแนวพุทธรรมใส่เข้าไปแทน คำเช่นนี้
คนที่นอกยุคสมัย นอกถิ่นฐานชุมชนนั้น ย่อมไม่อาจซึมทราบในความหมายเดิมได้โดยสมบูรณ์ คำ
แปลตามรูปศัพท์อย่างที่ให้ไว้ข้างบนนั้น คงจะช่วยความเข้าใจได้เพียงเล็กน้อย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร