วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 17:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มิ.ย. 2021, 05:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




cats__27_-removebg-preview.png
cats__27_-removebg-preview.png [ 35.45 KiB | เปิดดู 611 ครั้ง ]
มรรค เป็นอริยะ ในฐานะทางให้ถึงความสิ้นกรรม

“มรรคาอันเป็นอริยะ มีองค์ประกอบ ๘ ประการนี้แล เป็นทางนำไป
สู่ความดับแห่งกรรม คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ”

ในที่นี้ มัชฌิมาปฏิปทามีความหมายว่า เป็นทางให้ถึงความดับกรรม หรือสิ้นกรรม ข้อสำคัญ
ในที่นี้ ก็คือ ต้องไม่เข้าใจว่า เป็นการสิ้นเวรสิ้นกรรม อย่างที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปซึ่งเป็นเรื่อง
แคบๆ ต้องไม่เข้าใจว่าจะหมดกรรมได้โดยไม่ทำกรรม หรือไม่ทำอะไร ซึ่งกลายเป็นลัทธิ
นิครณถ์ไป อย่างที่กล่าวในตอนว่าด้วยกรรม และต้องไม่เข้าใจว่าเป็นทางนำไปสู่ความดับ
กรรมสิ้นกรรม คือ จะได้เลิกกิจการอยู่นิ่งเฉยไม่ต้องทำอะไร

ประการแรก จะเห็นว่า การที่จะดับกรรม หรือสิ้นกรรมได้ ก็คือต้องทำ และทำอย่างเอาจริง
เอาจังเสียด้วย แต่คราวนี้ทำตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทำตามหลักการวิธีการที่ถูกต้อง เลิก
การกระทำที่ผิดพลาด

ประการที่สอง ที่ว่าดับกรรม หรือสิ้นกรรม ไม่ใช่หมายความว่า อยู่นิ่งๆ เลิก ไม่ทำอะไรหมด
แต่หมายความว่า เลิกการกระทำอย่างปุถุชน เปลี่ยนเป็นทำอย่างอริยบุคคล

อธิบายง่ายๆ ว่า ปุถุชนทำอะไร ก็ทำด้วยตัณหาอุปาทาน มีความยึดมั่นในความดีความชั่วที่
เกี่ยวข้องกับตัวฉันของฉัน ผลประโยชน์ของฉัน ในรูปใดรูปหนึ่ง การกระทำของปุถุชนจึงเรียก
ตามศัพท์ธรรมว่า “กรรม” แบ่งเป็นดี เป็นชั่ว และก็ยึดถือเอาไว้ว่าเป็นอย่างนั้นๆ ด้วยตัณหา
อุปาทาน

ดับกรรม คือ เลิกกระทำการต่างๆ ด้วยความยึดมั่นในความดีชั่ว ที่เกี่ยวข้องกับตัวฉันของฉัน
ผลประโยชน์ของฉัน เมื่อไม่มีดีมีชั่วที่ยึดมั่นไว้กับตัว ทำอะไรก็ไม่เรียกว่ากรรม เพราะกรรม
ต้องเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่ดีก็ชั่ว การกระทำของพระอริยบุคคล จึงเป็นการกระทำไปตาม
ความหมาย และวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ทำนั้นล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับตัณหาอุปาทานภายใน

พระอริยบุคคลไม่ทำชั่ว เพราะหมดเหตุปัจจัยที่จะให้ทำชั่ว (ไม่มีโลภะ โทสะ โมหะ ที่จะให้
ทำอะไรเพื่อให้ตัวฉันได้ฉันเป็น) ทำแต่ความดีและประโยชน์ เพราะทำการต่างๆ ด้วยปัญญา
และกรุณา แต่ที่ว่าดี ก็ว่าตามที่ปรากฏยอมรับของโลก ไม่ได้ยึดว่าเป็นดีของฉัน หรือดีที่จะ
ให้ฉันเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

เมื่อปุถุชนบำเพ็ญประโยชน์อะไรสักอย่าง ก็จะไม่มีเพียงการทำประโยชน์ตามความหมายและ
วัตถุประสงค์ของเรื่องนั้นๆ เท่านั้น แต่ย่อมจะมีความหวังผลประโยชน์ตอบแทนอะไรสักอย่าง
หนึ่ง ถ้าไม่มี ก็อาจจะละเอียดลงมาเป็นชื่อเสียงเกียรติคุณของฉัน หรือละเอียดลงมาอีก ก็อาจ
จะเอาพอให้สำหรับรู้สึกอุ่นๆ ภูมิๆ ไว้ภายในว่าเป็นความดีของฉัน

ส่วนพระอริยบุคคล เมื่อบำเพ็ญประโยชน์อันนั้น มีแต่การกระทำตามความหมาย ตามวัตถุประ
สงค์ เหตุผล ความควรจะเป็นอย่างไรๆ ของเรื่องนั้นๆ เอง ล้วนๆ เท่านั้น ภาษาธรรมจึงไม่เรียก
ว่ากรรม

มรรคหรือมัชฌิมาปฏิปทานี้ เป็นข้อปฏิบัติเพื่อให้หมดการกระทำซึ่งมีเจตนาปรุงแต่ง ที่เรียกว่า
กรรม ดับกรรมนั้นแล้ว มีแต่การกระทำบริสุทธิ์ตามที่ปัญญาบอกล้วนๆ (ซึ่งเรียกว่ากิริยา) ต่อไป

อันนี้จึงเป็นวิถีที่ต่างกัน ระหว่างโลกียะ กับโลกุตระ พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลาย จึง
เที่ยวบำเพ็ญประโยชน์สั่งสอนประชาชน โดยไม่เป็นกรรม ทั้งที่เป็นการกระทำซึ่งคนธรรมดา
เรียกกันว่าเป็นความดี

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร