วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 14:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงจะยังบริโภคกามสุข ก็ต้องมีปัญญารักษาอิสรภาพไว้ รู้หนทางปลอดภัยจากกามทุกข์
อย่างไรก็ตาม พึงตระหนักว่า ตามปกติ กามสุข กับความสุขอย่างประณีตนั้น ไปด้วยกันไม่
ค่อยได้ เพราะกามสุขพัวพันอยู่กับอารมณ์ที่ให้ตื่นเต้น ประกอบด้วยความเร่าร้อนกระวนกระวาย
หาอารมณ์มาสนองระงับให้เกิดความสงบ ส่วนความสุขประณีตเริ่มต้นจากความสงบ ดังจะเห็นว่า
ฌานสุขจะเกิดขึ้น ต่อเมื่อจิตสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายก่อน

ดังนั้น สำหรับปุถุชน การที่จะเสวยทั้งกามสุข และทั้งได้ความสุขประณีต โดยเฉพาะฌานสุขด้วย
จึงเป็นไปได้ยาก เพราะปุถุชนพอใจอะไรแล้ว มักติด มักหมกมุ่นหลงใหลง่าย เมื่อฟุ้งซ่านกระวนกระ
วายเพริดไปด้วยแรงปรารถนากามสุขแล้ว ก็ยากที่จะให้สงบเข้าสู่แนวแห่งฌานสุข จึงปรากฏเรื่อง
ราวที่ฤษีและนักบวชเสื่อมจาก เพราะติดใจกามกันบ่อยๆ ต่อเมื่อเป็นอริยชน อย่างบุคคลโสดาบัน
จึงจะอยู่กับกามสุขได้ด้วยดีโดยปลอดภัย

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนย้ำให้รู้จักวางใจอย่างถูกต้องต่อกามสุข ให้มีปัญญาที่จะสลัดตัว
ออกได้ ดังท่าทีในการปฏิบัติที่ตรัสไว้ต่อไปนี้

ในปาสราสิสูตร ท่านเปรียบกามคุณเหมือนบ่วงดักของนายพราน แล้วกล่าวถึงสมณพรามณ์
ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไว้ ๓ พวก

พวกที่หนึ่ง คือ สมณพราหมณ์ที่บริโภคกามคุณทั้ง ๕ โดยมีความติด หลงใหล หมกมุ่น ไม่รู้เท่า
ทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาพาตัวรอด เป็นเหมือนเนื้อป่าที่ติดบ่วงและนอนทับบ่วงอยู่ ย่อมจะประสบ
ความเสื่อมความพินาศ ถูกพรานทำเอาได้ตามปรารถนา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 มิ.ย. 2021, 04:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


พวกที่สอง คือ สมณพราหมณ์ที่บริโภค กามคุณ ๕โดยไม่ติด ไม่หลงใหล ไม่หมกมุ่น รู้เท่าทันเห็น
โทษ มีปัญญาพาตัวรอดได้ เป็นเหมือนเนื้อป่าที่นอนทับบ่วง แต่ตัวไม่ติดบ่วง ย่อมจะไม่ประสบ
ความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานคือมารร้ายทำอะไรเอาตามปรารถนา

พวกที่สาม คือ ภิกษุที่สงัดจาก กามปลอดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้บรรลุรูปฌาน และอรูป
ฌาน ขั้นใดขั้นหนึ่ง ตลอดจนบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธและเป็นผู้สิ้นอาสวะแล้ว (ประสบสุขประณีต
สูงสุดแล้ว) ได้ชื่อว่าทำให้มารตาบอด มองไม่เห็นร่องรอย ถึงภาวะที่มารมองไม่เห็น เป็นเหมือน
เนื้อป่าเที่ยวไปในป่าใหญ่ จะเดินจะนั่งจะนอน ก็ปลอดโปร่งเบาใจ เพราะไม่อยู่ในสายตาของ
นายพราน

ข้อที่ต้องการเน้นในที่นี้ ก็คือ ตามความในสูตรนี้ จะเห็นว่า พระพุทธเจ้ามิได้ทรงเพ่งแต่จะสอน
ให้ละเลิกความเกี่ยวข้องกับกามคุณไปถ่ายเดียว แต่ทรงสอนให้รู้จักปฏิบัติต่อกามคุณอย่างถูกต้อง
โดยยังคงความเป็นอิสระอยู่ได้ ไม่ตกไปเป็นทาสของกามคุณ และมิให้กามคุณกลายเป็นสิ่งก่อ
โทษทุกข์ภัย

การเกี่ยวข้องเสพกามคุณตามแบบของสมณพราหมณ์พวกที่สอง นับว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่พึงเน้นมาก
ที่สุดสำหรับคนทั่วไป ตามวิธีปฏิบัติแบบนี้ คำแสดงหลักที่ควรสังเกตเป็นพิเศษ คือคำว่า ปัญญาพา
ตัวรอด ซึ่งแปลจาก “นิสสรณปัญญา” จะแปลว่า ปัญญารู้ทางรอดก็ได้ หมายถึง ปัญญาที่รู้จักทำ
ตนให้เป็นอิสระได้ อาจเรียกแบบง่ายๆ ว่า ปัญญาที่ทำให้ตัณหาล่อเอาไว้ไม่อยู่ หรือปัญญาที่ทำให้
ตัณหาดักไม่ติด

นิสสรณปัญญานี้ ตามปกติอรรถกถาทั้งหลายอธิบายว่า หมายถึงการรู้จักพิจารณาเมื่อบริโภคใช้
สอย โดยมองถึงความมุ่งหมายที่แท้จริงของการบริโภคสิ่งเหล่านั้น คือมองที่ตัวประโยชน์ หรือคุณ
ค่าที่แท้ของสิ่งเหล่านั้นต่อชีวิต เช่น ใช้เครื่องนุ่งห่มเพื่อป้องกันหนาวร้อนแดดลมเหลือบยุง และปก
ปิดที่อาย มิใช่มุ่งเพื่อยั่วยวนอวดโก้หรูหรา เป็นต้น บริโภคอาหารเพื่อยังชีพให้ร่างกายมีกำลังอยู่สบาย
ทำกิจได้ด้วยดี มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมาหรืออวดโก้ฟุ้งเฟ้อ เป็นต้น

การรู้จักปฏิบัติโดยใช้ปัญญาพิจารณาอย่างนี้ นอกจากจะทำให้จิตใจเป็นอิสระ ไม่ตกเป็นทาสของ
วัตถุ ไม่ก่อให้เกิดโทษ และความทุกข์ ที่เกิดจากการวกเวียนวุ่นอยู่ในวงจรอันคับแคบแห่งความหงุด
หงิดดีใจเสียใจสมใจผิดหวังแล้ว ยังทำให้เกิดความพอดีในการบริโภคหรือใช้สอย ซึ่งเป็นคุณแก่
ชีวิตอีกด้วย ท่านจึงเรียก การปฏิบัติด้วยนิสสรณปัญญา ว่าเป็นความรู้จักประมาณ

ผู้ปฏิบัติถูกต้องต่อกามสุข ย่อมก้าวหน้าไปสู่สุขที่ประณีตได้ง่ายขึ้น เมื่อประสบสุขประณีตแล้ว สุข
ประณีตนั้น ก็กลับเป็นเครื่องช่วยควบคุมการแสวงหาและการเสพกามสุข ให้อยู่ในขอบเขตแห่ง
ความถูกต้องดีงาม เพราะบุคคลผู้นั้นเห็นคุณค่าของสุขประณีตที่สูงกว่า และความสุขประณีตต้อง
อาศัยกุศลธรรม

ครั้นบุคคลนั้นบรรลุภูมิธรรมสูงยิ่งขึ้นไปอีก ประสบสุขประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ในที่สุดก็จะไม่วกเวียน
มาหากามสุขอีกเลย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร