วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 11:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนเสีย หรือข้อด้อยของกามสุข

กาม คืออะไร? “กาม” แปลว่า ความอยาก ความรัก ความใคร่ ความปรารถนา หรือสิ่งที่อยาก
ที่รัก ที่ใคร่ ที่ปรารถนา พูดง่ายๆ ว่า สิ่งเสพ วัตถุบำรุงบำเรอความสุข เครื่องอำนวยความสะ
ดวกสบาย คน สัตว์ ทรัพย์สินเงินทอง ข้าวของสารพัด ที่อยากได้อยากมี ที่จะครอบครองเอา
ไว้ให้ได้ความสุข รวมแล้วก็จัดแยกได้เป็น “กามคุณ ๕” คือ รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งต้องกาย ที่ใคร่
ที่ใฝ่ปรารถนา ที่จะให้ “กามสุข” คือสุขทางประสาททั้ง ๕ สุขทางวัตถุ หรือสุขทางเนื้อหนัง
บางทีเรียกว่า สามิสสุข คือสุขอาศัย อามิส หรือสุขจากสิ่งเสพ (อามิสสุข ก็เรียก)

ถึงตอนนี้มีปัญหาว่า กามสุขนั้น มีมากมาย หลายอย่าง หลายระดับ ที่ล้ำเลิศก็มี ที่เป็นทิพย์ก็มี
และท่านก็ยอมรับว่าเป็นความสุข แต่กามสุขทั้งหมดนั้นมีข้อบกพร่องอย่างไร และความสุขที่
ว่าประณีตยิ่งขึ้นไปอีกนั้นดีอย่างไร ทำไมท่านผู้ได้ประสบรู้จักสุขประณีตนั้นแล้ว จึงว่าดีเยี่ยม
กว่ากามสุข ถึงกับละเลิกกามสุขไปเสียทีเดียว

ส่วนเสีย คือโทษและข้อบกพร่องต่างๆ ของกามนี้ กล่าวโดยย่อ มองได้ ๓ ด้าน หรือมี ๓ ตำแหน่ง
คือ มองที่ภายในตัวบุคคล มองที่ตัวกามนั้นเอง และมองที่ปฏิบัติการของผู้เสพเสวยกามในสังคม
หรือในโลก

อย่างแรก มองที่ในตัวบุคคล หมายถึง มองที่กระบวนการก่อทุกข์ภายในตัวบุคคล คือการที่บุค
คลปฏิบัติผิดต่อโลกและชีวิต ทำให้สิ่งทั้งหลายกลายเป็นกาม แล้วก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ตนเอง

อย่างที่สอง มองที่ตัวกาม หมายถึง มองที่สิ่งซึ่งได้ชื่อว่ากาม ที่มนุษย์พากันแสวงหามาเสพเสวย
หรือมองดูที่รสของกาม มองดูความสุขความพึงพอใจอันจะได้จากกามนั้นเองว่า มีจุดบกพร่องอย่างไร

อย่างที่สาม มองที่ปฏิบัติการในโลก หมายถึง มองดูที่ผลอันเกิดจากความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นต้น
ของมนุษย์ทั้งหลายผู้แสวงหาและเสพเสวยกาม

ความจริง ทั้งสามอย่างสัมพันธ์อาศัยกัน แต่แยกมอง เพื่อเห็นลักษณะที่เป็นไปในด้านต่างๆ

ด้านที่ ๑ มองดูที่ในตัวบุคคล ได้แก่ กระบวนการก่อทุกข์ตามหลัก ปฏิจจสมุปบาท เริ่มแต่การรับ
รู้ประสบการณ์ต่างๆ แล้ว วางท่าทีต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างผิดพลาด ปล่อยให้กระแสกระบวนธรรมด
เนินไปตามแนวทางของอวิชชา-ตัณหาอยู่เสมอ จนกลายเป็นการสั่งสมอันเคยชิน จะเรียก
ง่ายๆ ว่า การสั่งสมความพร้อมที่จะมีทุกข์ หรือความพร้อมที่จะมีและก่อปัญหา ก็ได้ กระบวนการนี้
พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในเรื่องพัฒนาการของบุคคล เริ่มต้นตั้งแต่เกิดในครรภ์จนเติบโต ดังที่
ได้เล่ามาส่วนหนึ่งแล้ว จึงจะเล่าต่อจากส่วนนั้นต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


“สมัยต่อมา เด็กนั้น อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกามคุณทั้ง ๕ พรั่งพร้อม
บริบูรณ์ ย่อมปรนเปรอตน...เขาเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมติดใจในรูปที่น่ารัก ย่อมขัดใจในรูปที่ไม่น่า
รัก...ฟังเสียงด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก...ลิ้มรสด้วยลิ้น...ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...ทราบธรรมา
รมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมติดใจในเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่น่ารัก ย่อมขัดใจในเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะ...
ธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก มิได้ตั้งสติไว้กำกับตัว เป็นอยู่โดยมีจิตคับแคบ ไม่รู้จักตามเป็นจริง ซึ่งภาวะ
หลุดรอดปลอดพ้นของจิต และภาวะหลุดรอดปลอดพ้นด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรม
ซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ;

“เขาคอยประกอบเอาความยินดียินร้ายเข้าไว้อย่างนี้แล้ว พอเสวยเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใด
เป็นสุขก็ตาม ทุกข์ก็ตาม ไม่สุขไม่ทุกข์ก็ตาม เขาย่อมครุ่นคำนึง ย่อมบ่นถึง ย่อมหมกใจอยู่กับ
เวทนานั้น, เมื่อเขาครุ่นคำนึง เฝ้าบ่นถึง หมกใจอยู่กับเวทนานั้น ความติดใจใคร่อยาก (นันทิ,
ความหื่นเหิมใจ) ย่อมเกิดขึ้น ความติดใจใคร่อยากในเวทนาทั้งหลายนั่นแหละ (กลาย) เป็นอุ
ปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เขาก็มีภพ เพราะภพเป็นปัจจัย ก็มีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย
ก็มีชรามรณะ ความโศก ความคร่ำครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นผิดหวัง ก็มีพรั่ง
พร้อม ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จึงมีด้วยประการฉะนี้”

ด้านที่ ๒ ข้อบกพร่องของกามเอง ท่านมักแสดงด้วยอุปมาต่างๆ ซึ่งมีกล่าวถึงบ่อยๆ ว่า กามทั้ง
หลายมีความหวานชื่นน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่งนัก

๑. เปรียบเหมือนสุนัขที่เพลียและหิวโหย เขาโยนท่อนกระดูกเปื้อนเลือดให้ ก็แทะอยู่นั่นเอง
จนเหนื่อยอ่อน ก็อร่อยไม่เต็มอยาก และไม่เต็มอิ่มได้จริง

๒. เปรียบเหมือนชิ้นเนื้อที่แร้งหรือเหยี่ยวเป็นต้นคาบบินมา เหยี่ยวแร้งตัวอื่นเห็นเข้า ก็โผเข้า
มารุมจิกแย่งเอา คือเป็นของไม่สิทธิขาดแก่ตัว ผู้อื่นแย่งชิงได้ คนทั้งหลายต่างก็ต้องการหมาย
ปองจะเอา เป็นเหตุให้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงเบียดเบียนประทุษร้ายตลอดจนสังหารเข่น
ฆ่ากัน ถ้าไม่รู้จักวางใจ ก็จะเดือดร้อนแสนสาหัส

๓. เปรียบเหมือนคนถือคบเพลิงหญ้าลุกโพลงเดินทวนลม ไม่ช้าก็จะต้องทิ้งเสีย มิฉะนั้นก็จะไหม้
มือไหม้แขนและอวัยวะต่างๆ อาจถึงตาย หรือไม่ก็สาหัส

๔. เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิงอันร้อนแรง ผู้ที่รักชีวิต ทั้งที่รู้ว่า หากตกลงไป ถ้าไม่ตาย ก็ต้องเจ็บ
สาหัส และไม่อยากตกหลุม แต่ก็มีคนแข็งแรงคอยจับแขนฉุดดึงเข้าไปหาหลุมอยู่เรื่อย

๕. เปรียบเหมือนความฝัน มองเห็นทุกอย่างเฉิดฉันอำไพ แต่ไม่ทันนาน ก็ผ่านหายหมดไป พอ
ตื่นขึ้นมา ก็มองไม่เห็นอะไร เหลือไว้แต่ความเสียดาย

๖. เปรียบเหมือนทรัพย์สมบัติที่ขอยืมเขามา เอาออกแสดงดูโก้เก๋หรูหรา วางท่าอวดกัน ผู้คนก็
กล่าวขวัญชื่นชม แต่ครอบครองเอาไว้ได้เพียงชั่วคราว และอย่างไม่มั่นใจ ไม่เป็นสิทธิของตน
แท้จริง เจ้าของ (ธรรมชาติ) ตามมาพบที่ไหนเมื่อไร ก็ต้องคืนเขาไปที่นั้น เมื่อนั้น ไม่มีทางผ่อน
ปรน ส่วนตนเองก็มีแต่ตัว โผล่มาแล้ว ก็ผลุบไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 10:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. เปรียบเหมือนต้นไม้มีผลดกในราวป่า ผู้คนผ่านมา เมื่ออยากได้ลูกผล เขาจะได้ด้วยวิธีใด ก็ใช้
วิธีนั้น ผู้ที่ขึ้นต้นไม้เป็น ก็ปีนป่ายขึ้นไปเก็บ ส่วนคนที่ขึ้นไม่เป็น ก็จะเอาให้ได้ ที่เป็นคนร้ายนิสัยพาล
มีมีดมีขวานก็จะตัดทำลายเสียทั้งต้น คนที่อยู่บนต้นไม้ ถ้าลงมาไม่ทัน ก็จะถูกต้นไม้ล้มทับแขนขา
หักชอกช้ำ หรือถึงล้มตายไป

๘. เปรียบเหมือนเขียงสับเนื้อ เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย ก็เท่ากับเอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงให้ถูกบั่นถูกสับ

๙. เปรียบเหมือนหอกและหลาว มักจะคอยทิ่มแทงให้ได้แผล ไม่เล็กก็ใหญ่ ไม่เจ็บน้อยก็เจ็บมาก

๑๐. เปรียบเหมือนหัวงู เข้าไปเกี่ยวข้อง ก็ไม่วายต้องคอยระแวง ไม่อาจปลงใจสนิท หรือวางจิตปลอด
โปร่งได้แท้จริง อาจฉกเอา คือนำภัยอันตรายมาให้ได้เสมอ

ข้อเสีย หรือจุดบกพร่องของกามสุขนี้ อาจกล่าวโดยย่อว่า ความเอร็ดอร่อยสนุกสนานหวานชื่นที่คน
ปรารถนา กามอำนวยให้เพียงชั่วครู่ยามในเวลาที่เสพ แต่ความเจ็บปวดชอกช้ำที่คนไม่ต้องการ กาม
กลับประทับลงให้อย่างแน่นแฟ้น ติดตามฝังใจไปนานแสนนาน เท่านั้นยังมิหนำ แม้ส่วนที่เป็นความ
เอร็ดอร่อยสนุกสนานหวานชื่นนั่นแหละ เมื่อจางคลายหายลับดับล่วงผ่านไปแล้ว ยังทิ้งความเสีย
ดายหวนหาอาลัยเอาไว้ทรมานใจคนบางคน ให้พิไรรำพันไปได้อีกนาน

ด้านที่ ๓ เกี่ยวกับปฏิบัติการโดยสัมพันธ์กับโลกและสังคม ข้อเสียของกามในด้านนี้ ท่านบรรยาย
เริ่มตั้งแต่ความทุกข์ยาก ความลำบากเดือดร้อนที่ต้องประสบ ในการทำมาหาเลี้ยงชีพ และแสวงหาสั่ง
สมกามวัตถุไว้เสพเสวย ซึ่งเป็นสิ่งปกติธรรมดาที่แต่ละคนจะต้องอดทนในการดำรงชีวิตอยู่ในโลก
ต้องทนแดดทนฝน ทนหนาวทนร้อน ทนเหนื่อยทนยาก บ้างขาดแคลนอดอยากถึงตายไปก็มี บ้าง
ขยันหมั่นเพียรสู้ทำงานด้วยความเหนื่อยยาก แต่งานกลับไม่สัมฤทธิ์ผล ไม่ได้เงินทอง หรือขาดทุน
ย่อยยับไป ต้องเศร้าโศกกลัดกลุ้มทุรนทุราย เมื่อหามาได้แล้ว ก็เป็นทุกข์ในการระวังรักษา บางทีประ
สบภัย เช่น ถูกโจรปล้น คนลัก ไฟไหม้ เดือดร้อนวุ่นวายไปอีก

ครั้นได้กามวัตถุมาไว้ครอบครอง มนุษย์ผู้เขลาต่อสัจจธรรม ก็ลุ่มหลงตกเป็นทาสของมัน ยกเอา
กามวัตถุ ที่เป็นของไม่จริงไม่แท้ มาเป็นเหตุดูถูกเหยียดหยามกัน ก่อทุกข์ให้แก่กันมากขึ้น บ้างก็อิจ
ฉาริษยากัน ทะเลาะวิวาทขัดแย้งเบียดเบียนกัน เพราะเห็นแก่กามวัตถุ แย่งชิงกันซึ่งกามวัตถุใน
รูปของทรัพย์สินต่างๆ

อย่างที่กล่าวในบาบีว่า “ราชาก็วิวาทกับราชา กษัตริย์ก็วิวาทกับกษัตริย์ พราหมณ์ก็วิวาทกับพราหมณ์
คหบดีก็วิวาทกับคหบดี แม่ทะเลาะกับลูก ลูกก็ทะเลาะกับแม่ พ่อก็ทะเลาะกับลูก ลูกก็ทะเลาะกับพ่อ
พี่น้องชายก็ทะเลาะกับพี่น้องชาย พี่น้องหญิงก็ทะเลาะกับพี่น้องชาย พี่น้องชายก็ทะเลาะกับพี่น้อง
หญิง เพื่อนก็ทะเลาะกับเพื่อน” บ้างก็ลงไม้ลงมือ หรือถึงกับใช้ศัสตราวุธเข่นฆ่ากัน ถึงตายบ้าง
ทุกข์ปางตายบ้าง

ถึงพวกที่ตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ เข้าปะทะทำสงครามล้างผลาญกัน ใช้หอกดาบแหลนหลาว
ง้าวปืน ยิง แทง ตัดศีรษะ ระเบิดกัน ก็เพราะกาม ต่างด้วยผลประโยชน์หลากหลาย เป็นเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


บ้างก็ประกอบการทุจริต มีจี้ ปล้น แย่งชิง คบชู้ เป็นต้น ถูกจับได้ เขาก็นำไปลงโทษทัณฑ์ต่างๆ เป็น
ครุโทษบ้าง ลหุโทษบ้าง ครั้นตายแล้ว ก็ยังต้องได้รับความทรมานในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
อีก ทั้งนี้ก็เพราะสาเหตุจากกาม

มีข้อน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ที่มองเห็นโทษ หรือส่วนเสียของ ว่ามีข้อบกพร่องต่างๆ ดังที่กล่าว
มาอย่างนี้ และได้ประสบความสุขที่ประณีตดีเยี่ยมกว่า ประจักษ์กับตน จนไม่นึกอยากได้กามคุณ
แล้วนั้น ท่านมองเห็นความจริงเกี่ยวกับกามสุขว่ามีสภาวะหรือธรรมชาติเป็นอย่างไร ในเรื่องนี้
พระพุทธเจ้าได้ตรัสชี้แจงไว้ในรูปของการเปรียบเทียบต่อไปอีก มีใจความว่า

เปรียบเหมือนคนโรคเรื้อน ตัวสุกเป็นแผลไปทั่ว ถูกเชื้อโรคบ่อนไช ใช้เล็บเกาปากแผล ย่างตัวที่หลุม
ถ่านไฟ ต่อมามีหมอรักษาเขาหายโรค มีความสุขสบาย จะไปไหนหรือทำอะไรก็ได้ตามปรารถนา
เขาเห็นคนอื่นที่เป็นโรคเรื้อนเกาแผลย่างตัวอยู่ที่หลุมถ่านไฟ เขาย่อมไม่รู้สึกกระหยิ่มยินดีต่อคน
โรคเรื้อนนั้น ที่จะย่างตัวที่หลุมไฟ หรือที่จะกินยาเช่นนั้นอีก นี้ฉันใด ผู้ที่เคยได้รับการบำรุงบำเรอ
ด้วยกามคุณทั้งหลายก็เหมือนกัน เมื่อเขาละกามตัณหาแล้ว และได้ประสบสันติสุขภายใน ชนิดที่ไม่
ต้องอาศัยกาม ซึ่งดีเยี่ยมยิ่งกว่าแม้แต่ทิพยสุข เขาเห็นคนอื่นๆ ที่ปรนเปรอเสพเสวยกามอยู่ ย่อมไม่นึก
กระหยิ่มทะยานต่อคนเหล่านั้น และไม่รู้สึกยินดีในกามนั้น

คนที่เคยเป็นโรคเรื้อน และรักษาตัวหายแล้วนั้น ถ้ามีคนแข็งแรงกว่า มาช่วยกันจับตัวเขาฉุดเข้าไปหา
หลุมถ่านไฟ เขาจะดิ้นรนพยายามเบี่ยงตัวหลบ เพราะไฟนั้นร้อนมาก ถูกเข้าไม่สบายเลย เรียกว่ามีสัม
ผัสเป็นทุกข์ ต่างจากครั้งก่อน เมื่อเขายังเป็นโรคเรื้อนอยู่ เขาเข้าไปเอง ไปผิงย่างตัวที่ไฟ เห็นเป็น
สุขสบาย ทั้งที่ไฟนั้นก็หลุมเดียวกันแท้ๆ ร้อนมากเหมือนกัน ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะคนเป็นโรคเรื้อน มี
อินทรีย์เสียหายบกพร่องไป เกิดสัญญาวิปริตต่อไฟ ซึ่งมีสัมผัสทุกข์ว่าเป็นความสุข ข้อนี้ฉันใด กาม
ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน

ความจริงนั้น กามทั้งหลายเป็นสิ่งมีสัมผัสทุกข์ มีความเผาลน เร่าร้อน เป็นปกติธรรมดาเหมือนกัน
ทุกกาลเวลา แต่คนถูกกามตัณหาบ่อนไช มีอินทรีย์เสียหายบกพร่องไป จึงเกิดสัญญาวิปริตต่อ
กาม ซึ่งมีสัมผัสทุกข์แท้ๆ ว่าเป็นความสุข

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 11:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


คนโรคเรื้อนที่เอาเล็บเกาปากแผล ผิงย่างตัวที่หลุมถ่านไฟนั้น เขายิ่งเกา และยิ่งย่างตัว ปากแผลก็
ยิ่งสกปรก มีกลิ่นเหม็น เน่าเฟะยิ่งขึ้น ความสุข ความเอร็ดอร่อย ความฉ่ำชื่นใจที่เขาจะได้ ก็อยู่ที่การ
ได้เกาที่ปากแผล หรืออยู่ตรงแค่ปากแผลที่ได้เกาเท่านั้น ถ้าเขายังไม่หายจากอาการคันตราบใด การ
ที่จะให้เขารู้จักความสุขอย่างอื่นที่ดียิ่งกว่านั้น ย่อมไม่อาจทำได้ ก็เขายังคันนัวอยู่ จะให้เขารู้จักความ
สุขชนิดไม่ต้องเกาที่คันได้อย่างไร เมื่อใด เขาหายโรค มีสุขภาพดีเป็นปกติแล้ว เมื่อนั้น เขาจึงจะสามา
รถรู้จักความสุขอย่างอื่นที่ดีกว่า และเมื่อนั้นเขาจะไม่ปรารถนาความสุขอันพึงได้จากการเกา ณ ที่
คันอีกต่อไป

ในเรื่องกามนี้ก็เช่นเดียวกัน คนที่ถูกกามตัณหาบ่อนไช เมื่อเขาเสพเสวยกามทั้งหลาย กามตัณหาก็
ยิ่งขยายตัวแรงกล้ายิ่งขึ้น และความร่านรนกามก็ยิ่งเร้ารุนมากขึ้น และแล้วความสุขความเอร็ดอร่อย
ความฉ่ำชื่นใจที่เขาจะได้ ก็มีแต่ที่จะเกิดจากกามคุณทั้ง ๕ เท่านั้น ถ้าเขายังไม่พ้นหาย ไม่ปลอด
โปร่งจากความบ่อนไชของกามตัณหา ยังถูกความร่านรนกามเร้ารุนอยู่ตราบใด การที่จะให้เขารู้จัก
ความสุขอย่างอื่น ที่ดีกว่า ประณีตกว่านั้น ย่อมไม่อาจทำได้ ก็กามตัณหายังเร้ารุนเขาอยู่ จะให้เขารู้
จักความสุขภายใน ชนิดไม่ต้องร่านรน หรือไม่ต้องอาศัยกามได้อย่างไร

เมื่อใด กามตัณหาไม่บ่อนไชเขา เขาปลอดโปร่งจากความเร้ารุนของกามแล้ว เมื่อนั้น เขาจึงจะ
สามารถรู้จักความสุขภายใน ที่ประณีตกว่าได้ และนี้คือภาวะไร้โรค ไม่มีอะไรบ่อนเบียนจิตใจ
หรือความมีสุขภาพจิตสมบูรณ์ ซึ่งท่านกล่าวว่าเป็นความหมายอย่างหนึ่งของ นิพพาน

ในสักกสูตร พระพุทธเจ้าทรงสนทนากับอุบาสกชาวแคว้นศากยะจำนวนมาก ทรงซักถาม
ได้ความยอมรับจากอุบาสกเหล่านั้นว่า คนที่ประกอบการงานอันสุจริต ไม่แตะต้องอกุศลกรรม
ใดๆ เลย ได้ทรัพย์วันละครึ่งเหรียญทุกวัน หรือวันละ ๑ เหรียญ ๒ เหรียญ ตลอดขึ้นไปจน
ถึงวันละ ๑๐๐ เหรียญ ทุกวัน ย่อมสมควรจะเรียกได้ว่าเป็นคนขยันหมั่นเพียร

แต่คนที่ขยันหมั่นเพียรนั้น แม้จะเก็บรักษาทรัพย์ที่ได้มาเอาไว้สักร้อยปี จนมีทรัพย์สินเงินทอง
มากมาย ทรัพย์สมบัติกองใหญ่นั้น ก็ไม่สามารถทำให้เขามีความสุขอย่างเดียวล้วนๆ ได้ แม้แต่
เพียงคืนเดียว วันเดียว หรือแม้แต่ครึ่งวัน ทั้งนี้เพราะกามทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ขาดแก่นสาร
ไม่แท้ไม่จริง เป็นสิ่งที่จะต้องเลือนหายไปเป็นธรรมดา ต่างจากผู้ที่มาปฏิบัติธรรมตามคำสอน
ของพระพุทธเจ้า ซึ่งสามารถบรรลุผลที่ทำให้มีความสุขอย่างเดียวล้วนได้ ตลอดเวลายืดยาว นาน
แสนนาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร