วันเวลาปัจจุบัน 22 พ.ค. 2025, 23:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 15:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

วิธีทำจิตให้บริสุทธ์

อ.วศิน อินทสระ



ที่มา... http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=60

:b48: :b8: :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 15:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


วิธีทำจิตให้บริสุทธิ์
คำนำ



คนเราประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ กายและจิต
คนบริสุทธิ์เพราะจิตบริสุทธิ์ ไม่ใช่เพราะกาย
กายนั้นโดยธรรมชาติเป็นสิ่งปฏิกูล โน้มไปในทางชำรุดทรุดโทรม
จะแก้ไขอย่างไร บำรุงดีเท่าไร ในที่สุดก็ต้องแตกดับ
เหมือนเลี้ยงไฟไว้ด้วยน้ำมัน
พอน้ำมันหมดไฟก็ดับ ไม่เคยรู้สึกต่อผู้บำรุงเลี้ยงเลย


ส่วนจิตนั้น เมื่อบำรุงรักษาดี ก็มีแต่เจริญรุ่งเรือง ผ่องแผ้ว บริสุทธิ์ ผ่องใส
นำความสุขมาให้ผู้ฝึกฝนอบรม จนไม่มีทุกข์หลงเหลืออยู่เลย


หนังสือเล่มนี้ ว่าด้วยวิธีทำจิตให้บริสุทธิ์
ตามแนวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนไว้ในสัพพาสวสังวรสูตร
คัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระไตรปิฎก (ฉบับบาลี) เล่มที่ 12


ภาษาที่ใช้ในหนังสือเล่มนี้ เป็นสำนวนพูด
เพราะลูกศิษย์ได้ถอดจากเทปคำบรรยายออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียง
โดยที่ผู้พูดไม่ได้ตัดแต่งให้เป็นสำนวนภาษาหนังสือเลย


ขอขอบใจคณะศิษย์ผู้มีฉันทะอุตสาหะในการทำให้หนังสือเล่มนี้ออกมาได้
อย่างที่ท่านเห็นอยู่นี้ ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ที่เห็นคุณค่าในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
และวิถีชีวิตอันดีงาม ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ให้กำลังใจแก่ผู้เขียนเสมอมา


ขอให้ทุกคนปราศจากเวรภัย โรคาพาธ อันตรายทั้งปวง
มีความสุข ความเจริญในวิถีชีวิตอันถูกต้องดีงามตลอดไป

ด้วยความปรารถนาดีอย่างยิ่ง
วศิน อินทสระ
14 มิถุนายน 2545


*******************************************


อารัมภบท


สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังทุกท่านครับ นี่คือรายการธรรมะและทรรศนะชีวิต
มาพบกับท่าน ผู้ฟังตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์นะครับ
โดยผม วศิน อินทสระ จะได้นำธรรมะต่างๆ มาคุยกับท่านผู้ฟัง
รวมทั้งทรรศนะชีวิตเท่าที่เห็นสมควรจะนำ มาคุยกั


วันนี้จะคุยกับท่านผู้ฟังเรื่องวิญญาณ วิญญาณนี้ตามตัวแปลว่า รู้แจ้ง
คำว่า วิ แปลว่า แจ้ง หรือ ต่าง ส่วน ญาณ ก็แปลว่า รู้
ความรู้ ก็มีหลายอย่าง บางทีก็เรียกตามแหล่งที่เกิดของวิญญาณ
เกิดทางตา ก็เรียกวิญญาณทางตา ก็คือความรู้ทางตา
เช่น จักขุวิญญาณ เกิดทางหูก็เรียกว่า โสตวิญญาณ คือความรู้ทางหูนั่นเอง
รู้อะไร ก็รู้รูปารมณ์ทางตา รู้สัททารมณ์คือเสียง ทางหู เป็นต้น


วิญญาณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า ภวังค- วิญญาณ
หรือวิญญาณที่เป็นส่วนที่เก็บกรรม
กรรมดีหรือกรรมชั่วต่างๆ ก็รวมกันอยู่ในภวังค-วิญญาณเป็นอุปนิสัย
เป็นนิสัย เป็นอัธยาศัย คือ สิ่งที่เราได้ทำแล้ว ได้คิดแล้ว ได้รู้สึกแล้ว
บางทีเรานึกว่ามันหายไปแล้ว แต่ความจริงมันไม่ได้หายไปไหน
มันลงไปสะสมกันอยู่ในภวังควิญญาณ
หรือเรียกว่า Unconcious mind หรือจิตใต้สำนึก


ทีนี้ก็วิญญาณทางตา ทางหู เรียกว่า จักขุ-วิญญาณ โสตวิญญาณ
ก็เป็นวิถีวิญญาณ วิญญาณความรู้แจ้งอารมณ์ที่ไปตามจักษุบ้าง
ตามโสตคือหูบ้าง อาศัยสิ่งใดเกิดก็เรียกตามสิ่งที่อาศัยเกิด
ที่ท่านเปรียบเหมือนไฟฟาง คือ ไฟที่เกิดจากฟาง
ไฟที่เกิดจากแกลบก็เรียกไฟแกลบ เกิดจากไม้เรียกว่าไฟไม้ ก็ไฟนั่นแหละ


มีคนสงสัยว่า คำว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง
มีหลายชื่อเรียกเหมือนกันหรือต่างกัน


มีคำกล่าวว่า จิตฺตํ มโนวิญฺญาณนฺติ อตฺถโต เอกํ คำว่า จิต มโน วิญญาณ
มีความหมายอย่างเดียวกัน ด้วยใจความก็เป็นอย่างเดียวกัน
เพราะฉะนั้นไม่ต้องแยก ไม่ต้องพยายามวิเคราะห์ศัพท์
แล้วตีความหมายไปตามการวิเคราะห์ ไม่ต้องพยายามผ่าเส้นผม
เอาว่าคำนี้ท่านเรียกจิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง มนัสบ้าง เรียกได้หลายอย่าง


บางคนเชื่อเรื่องตายแล้วไปเกิด อันนี้พูดเรื่องวิญญาณที่ไปเกิดมาเกิด
ถามว่าคนที่เกิดในชาติก่อนมาเกิดในชาตินี้ หรือว่าตายแล้วไปเกิดในชาติใหม่
อะไรไปเกิดมาเกิด ตอบว่าวิญญาณนี่แหละไปเกิดมาเกิด


บางคนบอกว่า เมื่อก่อนนี้เคยเชื่อเรื่องตายแล้วเกิด หมายถึง 100%
คือ ยังมีความสงสัยอยู่บ้าง ต่อมาก็เชื่อว่าตายแล้วเกิด 100%
เหตุที่เชื่อก็ด้วยเหตุบางอย่าง คือเชื่อในสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้าว่า
พระพุทธเจ้าทรงรับรองเรื่องนี้


ประการที่ 2 ก็อาศัยสังเกตพิจารณาสิ่งต่างๆ โดยแยบคาย
คือ โดยโยนิโสมนสิการ


ประการที่ 3 มีข้อความมากมายในตำราทั้งชั้นพระไตรปิฎก
ทั้งชั้น อรรถกถา ฎีกา และอนุฎีกา รวมทั้งปกรณ์พิเศษต่างๆ
ก็ได้ระบุถึงวิญญาณได้ระบุถึงจิต
คือ เรื่องตายแล้วเกิดเอาไว้มาก ก็เลยเชื่อ 100%


จริงอยู่นะครับในกาลามสูตร มีข้อความที่ว่า มาปิฏกสัมปทาเนนะ
อย่าเชื่อโดยการอ้างตำรา แต่ก็คงไม่ได้หมายความว่าปฏิเสธตำราทั้งหมด
เพียงแต่ว่าไม่ให้เชื่อตามตำรา เท่านั้น คือว่าให้พิจารณาตำราบ้าง
ตำราก็อาจจะผิดได้เหมือนกัน เพราะว่าตำราก็มีคนแต่งขึ้น
คนแต่งตำราก็มีโอกาสที่จะผิดพลาดได้ ไม่ใช่ว่าจะถูกต้องเสมอไป
เพราะฉะนั้น ผู้อ่านก็ต้องพยายามพินิจพิจารณาใช้ปัญญาของตนเองบ้างตามสมควร
มิฉะนั้นแล้วเราจะศึกษา เล่าเรียนกันไปทำไมมากมาย
ถ้าเผื่อว่าไม่ใช่เพื่อจะมีโอกาสได้ใช้ปัญญาของเราเองบ้างตามสมควร
แต่ก็ไม่อวดดีเกินไปจนไม่ยอมเชื่อตำราใดๆ เสียเลย
ตำรานั้นกว่าจะเป็นตำราขึ้นมาได้ ท่านผู้รู้ท่านก็คิดแล้วคิดอีก
เรียบเรียงแล้วเรียบเรียงอีก ไตร่ตรองแล้วไตร่ตรองอีกกว่าจะออกมาเป็นตำราได้
แต่ก็นั่นแหละครับ มันก็มีตำราที่ใช้ได้บ้าง ใช้ไม่ได้บ้าง
เราก็ใช้ปัญญาพิจารณาตำราอีกทีหนึ่ง


เมื่อได้ตำราที่เป็นหลักฐานแล้ว ก็หมั่นตริตรองตำรานั้น
โดยโยนิโส- มนสิการ ด้วยการนำมาสอบสวนพิจารณาความเป็นไปในชีวิตมนุษย์
ซึ่งมี ปกติขึ้นลงไม่เสมอกันด้วยประการต่างๆ
ประการสำคัญก็คือว่า เราเชื่อใน พระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
และเชื่อว่าเรื่องทำนองนี้พระพุทธเจ้าจะต้องตรัสไว้จริง
ไม่มีประโยชน์อะไรที่พระองค์จะหลอกหรือว่าพูดไม่จริง


ในพระไตรปิฎกบางแห่งได้กล่าวถึงพระอานนท์ทูลถามพระพุทธเจ้า
ว่าที่เรียกว่าภพนั้นคืออย่างไร พระพุทธเจ้าก็ตรัสย้อนถามว่า
อานนท์ หากกรรมอันสำเร็จจากกามธาตุไม่มี กามภพจะมีหรือไม่
พระอานนท์ก็ทูลตอบว่า มีไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสย้ำว่า
อิติ โข อานนฺท กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญาณํ พีชํ ตณฺหาสิเนโห
นี่แหละอานนท์ กรรมเป็นเหมือนเนื้อนา กรรมเป็นเหมือน เนื้อดิน
วิญญาณเป็นเหมือนพืช ตัณหาเป็นเหมือนยางในพืช


ขอสรุปลงว่า พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ยอมรับ
เชื่อว่าวิญญาณหรือจิตเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง และมีอยู่ 2 อย่าง
หรือ 2 ระดับ หรือ 2 ประเภทก็ได้ คือ วิญญาณที่บริสุทธิ์แล้ว
หมายถึง วิญญาณของพระอรหันต์ ซึ่งเมื่อท่านสิ้นชีวิตไป
วิญญาณก็จะดับครั้งสุดท้ายแล้วก็ไม่เกิดขึ้นอีก
ประการที่ 2 ก็เรียกว่าที่ยังไม่บริสุทธิ์หรือวิญญาณของผู้ที่ยังมีกิเลส
ยังต้องท่องเที่ยว ระหกระเหินอยู่ในสังสารวัฏฏ์
ประสบสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ใน พระไตรปิฎก ขุททกนิกาย
กล่าวถึงบุคคลหรือวิญญาณ 2 ประเภท
อันนี้ก็ในกรณียเมตตสูตร ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ พระไตรปิฎก เล่มที่ 25
หน้าต้นๆ 2 ประเภท คือ ภูตาและสัมภเวสี


ภูตา หมายถึง พระอรหันต์


สัมภเวสี หมายถึง วิญญาณหรือบุคคลที่ยังวนเวียนตายเกิดอยู่
ตั้งแต่พระอนาคามีลงมาจนถึงสัตว์ทั้งหลายทุกประเภท
ทั้งหมดทุกภพ ทุกภูมิ นอกจาก พระอรหันต์ นอกนั้นเป็นสัมภเวสีหมด


คนที่คิดว่าสัมภเวสีคือวิญญาณที่เที่ยวแสวงหาที่เกิด
ถ้าในความหมายที่ว่ายังต้องเกิดอีก อันนี้ก็ถูก
แต่ไม่ใช่เห็นผีและบอกว่านี่สัมภเวสี ไม่ใช่ อันนั้นเขาเกิดแล้ว
เกิดเป็นอย่างที่เราเห็นนั่นแหละ วิญญาณที่ยังแสวงหาภพที่เกิด ยังไม่หมดกรรม
ต้องประสบสุขบ้างทุกข์บ้าง ต้องขอรับความช่วยเหลือจากมนุษย์บ้างเป็นครั้งคราวไป
บางคราวมนุษย์ช่วยเหลือ เขาก็ได้รับความ สุขไป
บางคราวก็คอยมนุษย์ไม่ได้ช่วยเหลือ เขาก็ต้องคอยต่อไป


วิญญาณที่ยังไม่บริสุทธิ์ ยังระหกระเหิน สุขบ้าง ทุกข์บ้าง
วนเวียน อยู่ในสังสารวัฏฏ์ วิญญาณที่อาศัยอยู่ในร่างของพวกเราก็มีเช่นเดียวกัน
ส่วนใหญ่ก็เป็นความทุกข์มากกว่าความสุข
สัตว์ทั้งหลายที่มีวิญญาณยังหมักหมมอยู่ด้วยกิเลส
ก็ต้องระหกระเหินไปในความทุกข์นานาประการ
เมื่อใดที่วิญญาณบริสุทธิ์แล้ว เมื่อนั้นก็จะพบความสุขสงบก็สบาย


ทีนี้ถ้าจะตั้งคำถามว่าทำอย่างไรวิญญาณจึงจะบริสุทธิ์
วิญญาณนี้ หมายถึงจิต ทำอย่างไรจิตจึงจะบริสุทธิ์
ไม่ใช่วิญญาณในความหมายของ ชาวบ้านที่ว่าเร่ร่อนอะไรอย่างนั้น
ทำอย่างไรวิญญาณหรือจิตจึงจะบริสุทธิ์
ก็จะมาถึงเรื่องวิธีที่จะพัฒนาวิญญาณ พัฒนาจิตไปสู่ความบริสุทธิ์


ในพระสูตรบางพระสูตร เช่น สัพพาสวสังวรสูตร ในมัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
พระไตรปิฎก เล่มที่ 12 ได้กล่าวไว้ว่า
วิธีที่จะทำให้จิตหรือวิญญาณบริสุทธิ์นั้น มี 7 วิธี ดังจะได้กล่าวต่อไป


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ทำจิตให้บริสุทธิ์ วิธีที่ 1. ทัสสนะ


1. ทัสสนะ


ทัสสนะ คือ การได้ดูได้เห็นอะไร ต้องมีโยนิโสมนสิการ
ให้พิจารณาอย่างแยบคาย พิจารณาโดยตลอดถึงต้นตอ
ถึงเหตุเกิดเหตุดับ ไม่เพียงแต่ดูหรือ เห็นเฉยๆ
มีผลในทางทำให้คลายความติดได้ เรียกว่า ดูเป็น
การเห็นนี่สำคัญ เพราะวันหนึ่งๆ เราใช้ตาเยอะเลย
เห็นสิ่งนั้นบ้างสิ่งนี้บ้าง เห็นแล้วทำให้เกิดบุญบ้าง เกิดบาปบ้าง
เห็นแล้วทำให้เกิดโทสะบ้าง เห็นแล้วทำให้เกิดโลภะบ้าง
เห็นแล้วทำให้เกิดเมตตาบ้าง เกิดปัญญาบ้าง
อันนี้มันอยู่ที่โยนิโสมนสิการ อยู่ที่การรู้จักพิจารณา
ว่าควรจะคิดอย่างไร คิดให้เป็น
คนเห็นสิ่งเดียวกัน หรือว่าได้ฟังสิ่งเดียวกัน
คนที่คิดเป็นได้ประโยชน์จากการเห็นการฟัง
คนที่คิดไม่เป็นก็จะไม่ได้ประโยชน์จากการเห็นจากการฟัง
คนที่คิดเป็นได้ประโยชน์หมด เอามาใช้ประโยชน์ได้หมดไม่มีเหลือ


ลองคิดดูสิ่งที่เป็นรูปธรรมง่ายๆ ของที่เราใช้แล้ว
เวลาที่มันเสียแล้วซ่อมไม่เป็น เราก็ทิ้งมันไป คนที่เขาซ่อมเป็น
ทำเป็น คิดเป็น เขาเอาไปซ่อมใช้ได้ หรือเขาไม่ซ่อม
เขาเอาไปทำอย่างอื่น เอาไปขายก็ยังได้เงิน
เอาไปดัดแปลงทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ เขาทำเป็น คนที่ทำไม่เป็น ก็ทำไม่ได้
เหมือนๆ กัน ข้อนี้ฉันใด ข้อนั้นก็เหมือนกัน
ถือว่าได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้รู้แล้ว มีเรื่องราวเกิดขึ้นในชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด เขาเอามาคิดเป็นประโยชน์ได้หมด
เหมือนคนซ่อมเก่ง ของที่คนอื่นใช้ไม่ได้ เขาเอาไปใช้ได้หมด มันดีครับ
คือ ทุกข์ไม่เป็น มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น มีคนถามว่าเป็นยังไง
คิดไหม กังวลไหม เป็นทุกข์ไหม ทุกข์ไม่เป็น
ไม่รู้จะทุกข์ไปทำไม อย่างนี้ชีวิตก็จะเป็นชีวิตที่ดี


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

สาธุครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2009, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 เม.ย. 2009, 15:36
โพสต์: 435

ที่อยู่: malaysia

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาสาธุค่ะ คุณลูกโป่ง :b8:
คุณลูกโป่งสบายดีนะคะ
:b48: ธรรมะสวัสดีค่ะ :b48:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร