วันเวลาปัจจุบัน 22 พ.ค. 2025, 01:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

“คนเราปรารถนาจะหาความสุข โดยหาที่พักผ่อน
สลัดทิ้งความเหนื่อยอ่อน เห็นลำธารบังเกิดปีติ
เรียกเรี่ยวแรงกลับคืนมา.....ยังไม่สายเกินไป
ถ้าเราเหลียวกลับมาดู ณ พื้นที่อันรกร้างกลางใจเรานั้น
ยังมีลำธารใสซุกซ่อน พร้อมจะให้เราเบิกบานใจได้เสมอ”


จาก...หนังสือเส้นโค้งแห่งความสุข งานเขียนโดย....รินใจ


คัดลอกจาก... http://www.budnet.org/goodpage/happyline.html

:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


:b48: เส้นโค้งแห่งสุขจากทรัพย์
งานเขียนโดย....รินใจ


แม้พุทธศาสนาจะถือว่า นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง
แต่ก็มิได้ปฏิเสธคุณประโยชน์ของทรัพย์สินเงินทอง
พระพุทธองค์ทรงเห็นว่า ทรัพย์เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขอย่างหนึ่ง
อย่างน้อยๆ การมีทรัพย์ก็ช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ไปได้หลายส่วน
ดังมีพุทธพจน์รับรองว่า "ความจนเป็นทุกข์ในโลก"
และ "การกู้หนี้เสียดอกเบี้ยเป็นทุกสำหรับคฤหัสถ์"


อย่างไรก็ตามความสุขจากทรัพย์นั้นมีหลายระดับหลายประเภท
แต่ละประเภท พุทธศาสนาก็มีท่าทีต่างกันออกไป
ถ้าจะจำแนกตามระดับหรือขีดขั้น
การบริโภคเพื่อประโยชน์ส่วนตัว

ก็สามารถแยกความสุขจากทรัพย์ได้เป็น ๔ ประเภท คือ
๑) ความสุข เพราะพ้นจากความหิวโหยหรือภัยคุกคามชีวิต
๒) ความสุข เพราะความสะดวกสบาย
๓) ความสุข เนื่องจากอยู่ดีกินดี
๔) ความสุข เนื่องจากมีชีวิตหรูหราฟุ่มเฟือย


รูปภาพ

คนเป็นอันมากเข้าใจว่าพุทธศาสนาสนับสนุนความสุขประเภทแรกเท่านั้น
คือ มีทรัพย์พอให้ชีวิตดำรงอยู่ได้
แต่ที่จริงพระพุทธองค์ทรงเห็นว่า
ความสุขอันเกิดจากความสะดวกสบายก็สำคัญ
ดังทรงสอนให้บุคคลรู้จักทำความสบายแก่ตนเอง
เพื่อจักมีอายุยืน (อายุวัฒนธรรม)
ทั้งยังทรงให้ความสำคัญกับหลักธรรมเรื่องสัปปายะ
ซึ่งคลุมไปถึงการมีที่อยู่และอาหารที่เกื้อกูลหรือ "สบาย" ด้วย
(ไม่ใช่เพียงแค่คุ้มหัวหรือพอประทังชีวิตให้อยู่รอดได้เท่านั้น)

นอกจากนั้นในหมวดธรรมว่าด้วยกามโภคี
ก็ทรงสรรเสริญคนที่ไม่เพียงแต่จะหาทรัพย์มาโดยชอบธรรมเท่านั้น
แต่ยังใช้ทรัพย์เลี้ยงตัวเองให้มีความสุข คือ มีความสะดวกสบายด้วย
มีบางพระสูตรที่พระองค์ทรงตำหนิคนรวยที่ตระหนี่ถี่เหนียว
เลี้ยงตัวให้ลำบาก ด้วยการบริโภคอาหารเพียงปลายข้าวกับน้ำส้ม
สวมเสื้อผ้าแบบหยาบๆ

แต่ถ้าเลยพ้นความสะดวกสบาย
กลายเป็นการแสวงหาและใช้ทรัพย์เพื่ออยู่ดีกินดี
หรือมีชีวิตอย่างหรูหราฟุ่มเฟือยแล้วพุทธศาสนาไม่สรรเสริญ
สาเหตุประการหนึ่ง ก็เพราะทรัพย์ดังกล่าว
นอกจากจะไม่ก่อประโยชน์แก่ผู้อื่นแล้ว
มันยังเป็นโทษหรือก่อทุกข์แก่เจ้าของ

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ในทางพุทธศาสนาถือว่า ทรัพย์นั้นสามารถให้ความสุขแก่เจ้าของได้
ในระดับหนึ่งเท่านั้น ถ้าหากเลยระดับนั้นไป
แม้ทรัพย์จะเพิ่มมากขึ้น แต่ความสุขกลับลดลง
ขณะที่ความทุกข์เพิ่มมากขึ้น


สำหรับคนที่อดอยากหิวโหย
เงิน ๑๐ บาท ให้ความสุขแก่เขาอย่างล้นเหลือ
เพราะมันหมายถึง อาหารต่อชีวิต
เมื่อเขาพ้นจากความหิวโหย เริ่มกินอิ่มนอกอุ่น
เงินจำนวนเดียวกันนั้นย่อมให้ความสุขแก่เขาได้น้อยลง
เขาจะมีความสุขเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น
ก็ต่อเมื่อเพิ่มจำนวนเงินขึ้นเป็น ๑,๐๐๐ บาท สำหรับซื้อวิทยุหรือโทรทัศน์

ครั้นมีงานทำมั่นคง ชีวิตสะดวกสบายขึ้น
ความสุขจะเพิ่มขึ้นก็ต่อเมื่อมีเงินมากขึ้นเป็นแสนสำหรับซื้อรถยนต์
เมื่อฐานะความเป็นอยู่ดี ขึ้นถึงขั้นอยู่ดีกินดีหรือหรูหราล้นเหลือ
ความสุขจะคงตัวอยู่ในระดับเดิมหรือกระเตื้องขึ้นได้
ต้องอาศัยเงินนับล้านเป็นฐานรองรับ
แต่สำหรับคนเป็นอันมาก มาถึงขั้นนี้แล้ว
ไม่ว่าจะมีเงินเพิ่มขึ้นเท่าไร ก็ไม่สามารถทำให้ตนประสบกับสุข
ระดับเดียวกับสมัยที่กินอิ่มนอนอุ่น หรือมีชีวิตแบบสะดวกสบายตามอัตภาพ
พูดอีกอย่างคือ เงินล้านสำหรับเศรษฐี
ให้ความสุขน้อยกว่าเงิน ๑๐ บาทที่อยู่ในมือคนหิวโหย


ข้อความข้างต้นจะเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น
หากนึกถึงเส้นกราฟครึ่งวงรีหรือพาราโบลา
(ความคิดและเส้นกราฟดังกล่าวดัดแปลงจากหนังสือเรื่อง
Your Money or Your Life โดย Joe Dominguez และ Vicki Robin)

จะเห็นว่าความสุขระดับความอยู่รอดนั้น
อาศัยทรัพย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
ก็สามารถเพิ่มขีดขั้นความสุขขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
จากความอยู่รอดมาเป็นความสะดวกสบาย
ความสุขยังสามารถเพิ่มขึ้นได้แต่ต้องอาศัยทรัพย์เพิ่มขึ้น
กระนั้นความสุขก็เพิ่มขึ้นได้ไม่มากนัก
การมีทรัพย์มากขึ้นยังสามารถทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างช้าๆ
แต่เมื่อทรัพย์เพิ่มขึ้นถึงจุดหนึ่ง ความสุขจะเริ่มลดลง
และจะลดลงเรื่อยๆ เป็นปฏิภาคผกผันกับจำนวนทรัพย์ที่มี


รูปภาพ

เห็นได้ว่าความสุขจากทรัพย์นั้นมีขอบเขตจำกัด
ทรัพย์นั้นจะก่อให้เกิดความสุขเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ตราบใดที่ความสุขที่หมายมุ่งนั้นยังเป็นความสุขระดับความอยู่รอด
หรือเพื่อยังชีวิตให้สะดวกสบายเท่านั้น
แต่ถ้าต้องการใช้ทรัพย์เพื่อความอยู่ดีกินดี
หรือเพื่อชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยแล้ว
ความสุขจะลดต่ำลงหรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ
เมื่อมีความสุขอยู่ในขั้นสะดวกสบายแล้ว
ถ้ายังแสวงหาทรัพย์หรือใช้ทรัพย์เพิ่ม
เพื่อให้มีความสุขยิ่งขึ้น ผลที่ตามมาก็คือความสุขกลับลดลง


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาเหตุที่ความสุขลดลง ประการหนึ่งก็เพราะ
ภาระในการดูแลรักษาทรัพย์มีมากขึ้น
หากเป็นเศรษฐีร้อยล้านเพราะทำโรงงานปลากระป๋อง
ก็หมายความว่า มีคนงานนับร้อย ต้องดูแลมีภาระต้องหมุนเงินมิให้ขาด
มีหนี้ที่ผูกพันกับธนาคาร มีบ้านราคาหลายล้านที่ต้องรักษาการณ์อย่างแข็งขัน
ยิ่งถ้าเป็นเศรษฐีเพราะค้ายาบ้าด้วยแล้ว
ความวิตกกังวลยิ่งเพิ่มเป็นทวีตรีคูณ
ยังไม่ต้องพูดถึงความทุกข์ เพราะอยากจะได้มากยิ่งขึ้นไปอีก
นี้เป็นเหตุผลว่าเหตุใดยากล่อมประสาท
ยาแก้โรคกระเพาะและยารักษาความดันเลือด จึงขายดีในหมู่คนมีเงิน


ตรงนี้เองที่พุทธศาสนาต่างกับลัทธิบริโภคนิยมอย่างสำคัญ
ฝ่ายหลังนั้นเชื่อว่า ยังมีทรัพย์มากขึ้นยิ่งเสพมากขึ้นความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้น
ความสุขในทัศนะบริโภคนิยมเป็นเส้นตรงที่พุ่งขึ้นไม่รู้จบ
ขณะที่ในทางพุทธศาสนา ความสุขจากการบริโภคทรัพย์นั้น
มีพัฒนาการเป็นเส้นโค้ง
คือ เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วไม่ว่าจะมีทรัพย์เพิ่มขึ้นเท่าไรเสพมากเท่าไร
ความสุขมีแต่จะลดลง ความทุกข์กลับเพิ่มมากขึ้น


รูปภาพ

เนื่องจากความสุขจากการบริโภคทรัพย์มีขีดจำกัด
มันจึงมีขีดสูงสุดอยู่จุดหนึ่ง
ในทางพุทธศาสนาถือว่า
จุดแห่งความสุขสูงสุดอยู่ระหว่างความสะดวกสบายกับความอยู่ดีกินดี
นั่นหมายความว่า ถ้าเราใช้ทรัพย์เพื่อความสะดวกสบายมากเกินไปแล้ว
ก็จะเริ่มสุขน้อยลง ดังนั้นเราจึงต้องรู้จัก "พอดี"
กล่าวคือ เมื่อเสพวัตถุจนได้รับความสะดวกสบายถึงจุดหนึ่งแล้ว
ก็ควรหยุดหาหรือหยุดเสพไม่ให้เกินจุดนั้นไป
หากเราสามารถหยุดตักตวงเมื่อถึงจุดนั้นได้
เรียกว่า "รู้จักพอดี" หรือ "รู้จักประมาณ" จุดพอดี
นั้นคือจุดที่เรามีความสุขสูงสุด
ถ้าเราไม่รู้จักจุดนั้น เมื่อเสพจนเลยจุดนั้นไป
ความสุขก็จะลดลงตามลำดับ


:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

นี้คือคำตอบว่าเหตุใดการมีทรัพย์เพิ่มขึ้น
ทำให้บางคนมีความสุขแต่กลับทำให้อีกคนมีความทุกข์
คำอธิบายนั้นส่วนหนึ่งอยู่ตรงที่ว่า
บุคคลดังกล่าวบริโภคอยู่ขั้นไหน ต้องการความสุขระดับใด
สำหรับคนที่ยากจนข้นแค้น
การมีทรัพย์เพิ่มขึ้นจนช่วยให้กินอิ่มนอนอุ่น
ย่อมทำให้มีความสุขเพิ่มขึ้น
แต่ถ้ามีชีวิตหรูหรา อยู่ดีกินดี
การมีทรัพย์เพิ่มขึ้นไม่ช่วยให้มีความสุขเพิ่มขึ้นเลย
แม้ทีแรกดูเหมือนจะมีความสุขก็ตาม
เป็นเพราะเราไม่ตระหนักถึงขีดจำกัด ของความสุขจากทรัพย์
พากันเข้าใจไปว่ายิ่งได้มากเท่าไรก็ยิ่งมีความสุขเท่านั้น
จึงอยากได้ไม่หยุดหย่อน ครั้นได้มาแล้วก็ไม่เคยพอใจสักที
เพราะมันไม่ได้ให้ความสุขอย่างต้งการ


โจ โดมิงเกซ และวิคกี้ โรบิน ผู้เขียน Your Money or Your Life
เคยสำรวจความเห็นของคนอเมริกันโดยตั้งคำถามว่า
"เงินจำนวนเท่าใดถึงจะทำให้คุณมีความสุข"
ปรากฏว่ามากกว่าครึ่งตอบว่า "มากกว่าที่มีอยู่ตอนนี้"
ผู้คนดูเหมือนจะลืมไปว่า ปัจจุบันตนมีเงินมากกว่าหลายปีก่อน
แต่แทบไม่มีใครเลยที่รู้สึกว่าตนมีความสุขมากกว่าเมื่อก่อน


รูปภาพ

ในการสำรวจคล้ายๆ กันนี้ รอย คาปลาน แห่งสถาบันเทคโนโลยีแห่งฟอริดา
ได้ติดตามคนถูกล็อตเตอรี่ ๑,๐๐๐ คน ในช่วงเวลา ๑๐ ปี
ปรากฏว่าน้อยคนมากที่รู้สึกว่าตนมีความสุขน้อยลง
หลังจากได้รับเงินรางวัลไปแล้ว ๖ เดือน

ควรกล่าวด้วยว่า ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้
เจาะจงเฉพาะความสุขที่เกิดจากการใช้ทรัพย์ เพื่อประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น
ไม่ได้พูดความสุขจากการใช้ทรัพย์เพื่อผู้อื่น (หรือแบ่งปันให้ผู้อื่น)
และไม่ได้หมายความว่าผู้มีทรัพย์มากๆ
จะมีความสุขน้อยกว่าผู้มีทรัพย์แค่พออยู่พอกิน
เพราะหากว่ามหาเศรษฐีผู้นั้น แม้จะมีเงินมากมาย
แต่ใช้ทรัพย์เพื่อตัวเองเพียงเล็กน้อย ที่เหลือเผื่อแผ่ให้ผู้อื่น
ก็อาจจะมีความสุขมากกว่าคนที่มีทรัพย์แค่พอกินพอใช้
แต่ไม่มีเหลือพอที่จะเผื่อแผ่ให้แก่ผู้อื่นหรือสร้างสมความดีเพื่อส่วนรวมได้

:b51: :b52: :b53:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2009, 15:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

การเผื่อแผ่แบ่งปันแก่ผู้อื่น นำความสุขมาให้
ก็เพราะ "ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข"
ดังมีพุทธพจน์รับรอง ความสุขจากทรัพย์มีขอบเขตจำกัด
ตราบใดที่ยังเป็นการใช้ทรัพย์นั้น เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
แต่เมื่อใดที่ใช้ทรัพย์นั้นเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
ความสุขก็จะเพิ่มพูนขึ้นเรื่อยๆ


นอกจากนั้นพึงย้ำด้วยว่า การที่พุทธศาสนาเห็นว่า
ความสุขจากความสะดวกสบายเป็นสิ่งสำคัญนั้น
ไม่ใช่เพราะว่ามันดีโดยตัวมันเอง
หากแต่เห็นว่ามันเป็นสิ่งเกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิตในระดับที่สูงขึ้น
ไม่ว่าในระดับศีล จิตและปัญญา
ในทางพุทธศาสนาถือว่า ความสะดวกสบายหรือความสุขทางกาย
จะต้องเป็นไปเพื่อ
เกื้อกูลต่อการพัฒนาชีวิตในทางศีล จิต ปัญญางอกงามขึ้น
หรือส่งเสริมให้เกิดความสุขจากศีล จิตและปัญญา
เช่น เมื่อมีความเป็นอยู่ผาสุกและสะดวกสบายแล้ว
ก็ควรช่วยเหลือผู้อื่น (เช่น ให้ทาน)
หรือใช้ความสะดวกสบายนั้น เพื่อบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตและปัญญา
ดังเห็นได้ว่าหลักธรรมเรื่องสัปปายะ นั้น
มุ่งหมายเพื่อการบำเพ็ญภาวนาโดยตรง
พุทธศาสนาไม่สรรเสริญการเอาความสะดวกสบายเป็นเป้าหมาย
หรือหยุดแค่ความสะดวกสบาย
แต่จะต้องการก้าวต่อไปโดยใช้ความสะดวกสบายนั้นให้เป็นประโยชน์
คนที่หยุดแค่ความสะดวกสบาย แล้วไม่ทำอะไรต่อจัดว่าเป็นคนขี้เกียจ
(ถ้าเป็นสันโดษก็เป็นสันโดษที่ผิด)


ความสุขทางกาย (หรือความสะดวกสบาย) นั้น

ไม่ได้เป็นแค่เหตุปัจจัยแห่งความสุข อันเนื่องจากศีล จิตและปัญญาเท่านั้น
หากยังเป็นผลจากความสุขทั้งสามด้วย
กล่าวคือ ต้องอาศัยความสุขทั้งสามเป็นฐานรองรับด้วย
หาไม่แล้วความสะดวกสบายอาจเกินเลยจากการอยู่พอดีกินพอดี
กลายเป็นความอยู่ดีกินดีหรือหรูหราฟุ่มเฟือยไป

การที่บุคคลจะดำรงตนอยู่ในความพอดี
หรือรู้จักประมาณในความสุขทางกายได้
ต้องอาศัยความสุขทางใจเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง
รวมทั้งมีสันโดษ (ยินดีในสิ่งที่ตัวเองมี)
เพราะถ้าไม่มีความสุขทางใจหรือความสุขประณีต
รวมทั้งสันโดษเป็นตัวหล่อเลี้ยงจิต
ก็ยังจะดิ้นรนแส่ส่ายหาความสุขให้มากขึ้นไปอีก
ซึ่งเมื่อเสพวัตถุมากขึ้น จนเลยความพอดีไป
ความสุขก็มีแต่จะลดน้อยถอยลง และเกื้อกูลผู้อื่นน้อยลงด้วย

ในทำนองเดียวกัน ปัญญา หรือความรู้เท่าทันในคุณและโทษของวัตถุ
และความสุขทางกาย (กาม) ก็ช่วยให้จิตไม่ถลำตัวเป็นทาสวัตถุ
หรือสยบมัวเมาในความสุขดังกล่าว
ทำให้รู้จักประมาณในการเสพ พอใจในความสะดวกสบายที่มี
ไม่ดิ้นรนแสวงหาจนเลยเถิด กาลายเป็นการปรนเปรอตนไป


รูปภาพ

ความสุขทางใจ

ไม่เพียงแต่จะเหนี่ยวรั้งไม่ให้บุคคลบริโภคเกินพอดีเท่านั้น
หากยังช่วยให้บุคคลพึ่งพาความสุขจากวัตถุหรือทรัพย์น้อยลง
เป็นเหตุให้บริโภคน้อยลงไปอง
เมื่อถึงตรงนี้ ความสะดวกสบายก็พลอยลดระดับลงไปด้วย
กล่าวคือเพียงแค่มีทรัพย์เพียงเล็กน้อย ก็ถือว่าสะดวกสบายแล้ว
ความเป็นอยู่ที่เคยจัดว่าอยู่ในขั้นสะดวกสบายก็กลายเป็นความอยู่ดีกินดี
หรือหรูหราไป เมื่อเป็นเช่นนี้ก็พลอยทำให้จุด "พอดี" ลดลงมาด้วย

ความพอดีของแต่ละคนจึงไม่เหมือนกัน สุดแท้แต่พัฒนาการทางจิตใจ
จิตยิ่งพัฒนามากเท่าไร ความพอดีก็ยิ่งลดระดับลงมามากเท่านั้น
ทรัพย์เพียงเล็กน้อยจึงทำให้มีความสุขได้มากมาย
ชีวิตที่เรียบง่ายหรือสันโดษเป็นชีวิตที่เปี่ยมสุขได้ก็เพราะเหตุนี้


:b51: :b52: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร