วันเวลาปัจจุบัน 15 ก.ค. 2025, 02:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


7. อาวัฏฏหารสัมปาตะ

[69] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมอาวัฏฏหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ คำว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้ เป็นสมถะ ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" นี้เป็นวิปัสสนา ฯ คำว่า "รู้ความเกิด และความเสื่อมแล้ว" นี้เป็นทุกขปริญญา คือ การกำหนดรู้ทุกข์ ฯ คำว่า "ภิกษุครอบงำถีนมิทธะ" นี้ เป็นการละสมุทัย ฯ คำว่า "พึงละทุคติทั้งปวง" นี้เป็นนิโรธ ฯ ธรรม 4 ตามที่กล่าวแล้วนี้ เป็นสัจจะ 4 ฉะนี้ ฯ
จบ อาวัฏฏหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


8. วิภัตติหารสัมปาตะ

[70] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมวิภัตติหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร"เป็นต้นนี้ ธรรมฝ่ายกุศลพึงแสดงโดยฝ่ายกุศล ฝ่ายอกุศลพึงแสดงโดยฝ่ายอกุศล ฯ
คือ ฝ่ายกุศล ได้แก่ สติสังวร ฝ่ายโลกียะ 6 โลกุตตระ 2 ทัสสนภูมิ และภาวนาภูมิ ฯ สังกัปปะ 3 มีเนกขัมมะ เป็นต้น ฯ สัมมาทิฏฐิ 8 มีญาณในทุกข์เป็นต้น ฯ อุทยัพพยญาณ ฝ่ายเกิด 25 ดับ 25 มีรูปเกิดเพราะอวิชชาเป็นต้น ฯ การครอบงำถีนมิทธะ ด้วยอำนาจมรรค 4 ฯ
ฝ่ายอกุศล คือ อสังวร 8 ได้แก่ จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายอสังวรโจปนกายอสังวร วาจาอสังวร และมโนอสังวร ฯ มิจฉาสังกัปปะ 3 ฯ อัญญาณ(ความไม่รู้) 8 ฯ ถีนมิทธะ 5 โดยภูมิที่เกิด โดยย่อฉะนี้ ฯ
จบ วิภัตติหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


9. ปริวัตตนหารสัมปาตะ

[71] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมปริวัตตนหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ พึงปริวรรต(เปลี่ยนไป) อย่างนี้ คือ เมื่อสมถะและวิปัสสนา อันบุคคลเจริญแล้ว การดับอกุศล (นิโรธะ) เป็นผลย่อมมี ทุกข์ที่กำหนดรู้แล้วย่อมมี สมุทัยที่เขาละแล้วย่อมมี มรรคที่เจริญแล้วย่อมมี โดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออกุศล โดยนัยที่กล่าวในวิภัตติหารสัมปาตะนั้นแล ฯ
จบ ปริวัตตนหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


10. เววจนหารสัมปาตะ

[72] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมเววจนหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจร" เป็นต้น ฯ บทว่า "จิต"ในคำว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต" นี้แห่งคาถานั้น คำว่า "จิต มโนวิญญาณ มนินทรีย์ มนายตนะ วิชานนา (การรู้แจ้ง) วิชานิตัตตะ (ภาวะที่รู้แจ้ง)"นี้ เป็นเววจนะของจิต ฯ
บทว่า "สัมมาสังกัปปะ" ในคำว่า "สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" นี้ คำว่า "เนกขัมมสังกัปปะ อัพยาปาทสังกัปปะ อวิหิงสาสังกัปปะ" นี้ เป็นเววจนะแห่งบทสัมมาสังกัปปะ ฯ
บทว่า "สัมมาทิฏฐิ" ในคำว่า "สมฺมาทิฏฺฐิปุเรกฺขาโร" นี้ คำว่า "ปัญญาเพียงดังศาสตรา ปัญญาเพียงดังพระขรรค์ ปัญญาเพียงดังรัตนะ ปัญญาเพียงดังแสงสว่าง ปัญญาเพียงดังปฏัก ปัญญาเพียงดังปราสาท ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ" นี้เป็นเววจนะแห่งบทสัมมาทิฏฐิ ฯ
จบ เววจนหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


11. บัญญัติหารสัมปาตะ

[73] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมบัญญัติหาระนั้นเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ คำว่า"เพราะเหตุนั้นภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต" ดังนี้ ชื่่อว่า บัญญัติแห่งปทัฏฐานของสติ ฯ
คำว่า "มีความดำริชอบเป็นโคจร" ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งสมถะ ฯคำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้ว" ชื่อว่านิกเขปบัญญัติแห่งทัสสนภูมิ ฯ คำว่า "ครอบงำถีนมิทธะ" ชื่อว่า ปหานบัญญัติโดยไม่เหลือแห่งสมุทัย ฯ คำว่า "พึงละทุคติทั้งปวง" ชื่อว่า ภาวนาบัญญัติแห่งมรรค ฯ
จบ บัญญัติหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


12. โอตรณหารสัมปาตะ

[74] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมโอตรณหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" เป็นต้น ฯ ข้อว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" ความว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิ อันบุคคลถือเอาแล้ว อินทรีย์ 5 ย่อมเป็นอันถือเอาแล้ว นี้ชื่อว่า โอตรณา (การหยั่งลง) ด้วยอินทรีย์ทั้งหลาย ฯ
อินทรีย์เหล่านั้นนั่นเอง เป็นวิชชา เพราะความเกิดขึ้นแห่งวิชชา อวิชชาจึงดับ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ
ธรรมทั้งปวงเป็นไปอย่างนี้ นี้ชื่อว่า โอตรณาแห่งอินทรีย์ทั้งหลายด้วยปฏิจจสมุปบาท ฯ
อินทรีย์ 5 เหล่านั้นนั่นแหละ สงเคราะห์ด้วยขันธ์ 3 คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ นี้ชื่่อว่า โอตรณาแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยขันธ์ทั้งหลาย ฯอินทรีย์ 5 เหล่านั้นนั่นแหละ นับเนื่องในสังขาร สังขารเหล่าใด ไม่มีอาสวะ และไม่เป็นองค์แห่งภพ สังขารเหล่านั้น สงเคราะห์ด้วยธัมมธาตุ นี้ชื่อว่าโอตรณาแห่งอินทรีย์ 5 ด้วยธาตุทั้งหลาย ฯ
ธัมมธาตุนั้น นับเนื่องในธัมมายตนะ อายตนะใดไม่มีอาสวะและไม่เป็นองค์แห่งภพ นี้ชื่อว่า โอตรณาแห่งธัมมธาตุด้วยอายตนะทั้งหลาย ฯ
จบ โอตรณหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


13. โสธนหารสัมปาตะ

[75] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมโสธนหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" ดังนี้ ฯ ในปัญหาใด มีอรรถะที่พระองค์ทรงเริ่มวิสัชชนาบริบูรณ์แล้ว ปัญหานั้นบริสุทธิ์แล้วฯ แต่ในปัญหาใด ทรงเริ่มแล้วเนื้อความยังไม่บริบูรณ์ ปัญหานั้นชื่อว่า ยังมิได้วิสัชชนาก่อน ฯ
จบ โสธนหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


14. อธิฏฐานหารสัมปาตะ

[76] คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" ดังนี้ ฯ คำว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต" นี้มีภาวะเป็นอย่างเดียวกัน ฯ จิต มโน วิญญาณนี้มีอรรถะที่ต่างกัน ฯ คำว่า "มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้ มีภาวะอย่างเดียวกัน ฯ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริในการไม่เบียดเบียน นี้เป็นอารมณ์ที่ต่างกัน ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" นี้ มีภาวะเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
ญาณในทุกข์ ญาณในทุกขสมุทัย ญาณในทุกขนิโรธ ญาณในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ญาณในเหตุ ญาณในธรรมที่เกิดขึ้นสัมปยุตกับเหตุ ญาณในปัจจัยญาณในธรรมที่เกิดขึ้นสัมปยุตกับปัจจัยอันใด ชื่อว่า สัมมาทิฏฐิ ญาณทัสสนะตามความเป็นจริงในญาณนั้น ๆ อันใด การตรัสรู้ และการถึงสัจจะ อันเป็นอารมณ์นั้น ๆ อันใด นี้เป็นภาวะที่ต่างกัน ฯ
คำว่า "รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้ว" นี้ มีภาวะเป็นอย่างเดียวกัน ฯ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยโดยการเกิดขึ้น สังขารทั้งหลายจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี ธรรมทั้งปวงเป็นไปอย่างนี้ ความเกิดขึ้นจึงมี ฯ ว่าโดยความเสื่อมไป เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ธรรมทั้งปวงเป็นอย่างนี้ความดับจึงมี นี้เป็นความต่างกัน ฯ
คำว่า "ภิกษุครอบงำถีนมิทธะ" นี้ มีภาวะอย่างเดียวกัน ฯ ความป่วยความไม่ควรแก่การงานของจิตอันใด นี้ชื่อว่า ถีนะ ความหดหู่แห่งกายอันใดชื่อว่า มิทธะ นี้เป็นความต่างกัน ฯ
คำว่า "พึงละทุคติทั้งปวง" นี้ เป็นภาวะอย่างเดียวกัน ฯ อบายทั้งหลายชื่อว่า ทุคติ เพราะเปรียบกับเทวดาและมนุษย์ อุปปัตติ (การเกิด) ทั้งปวงชื่อว่า ทุคติ เพราะเปรียบกับพระนิพพาน นี้เป็นความต่างกันแห่งทุคติ ฯ
จบ อธิฏฐานหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


15. ปริกขารหารสัมปาตะ

[77] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมปริกขารหาระเป็นไฉน
คาถาว่า "ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส สมฺมาสงฺกปฺปโคจโร" ดังนี้ ฯ ธรรมนี้เป็นปริกขารของสมถะและวิปัสสนา ฯ
จบ ปริกขารหารสัมปาตะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ม.ค. 2022, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


16. สมาโรปนหารสัมปาตะ

[78] ในหารสัมปาตะ 16 นั้น การประชุมสมาโรปนหาระเป็นไฉน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า"เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความเกิดและความเสื่อมแล้ว ครอบงำถีนมิทธะ พึงละทุคติทั้งปวง" ดังนี้ ฯ
คำว่า "เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงรักษาจิต มีความดำริชอบเป็นโคจร" นี้เป็นปทัฏฐานแห่งสุจริต 3 คือ เมื่อจิตอันตนรักษาแล้ว กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม นั้นก็ย่อมเป็นอันตนรักษาแล้ว ฯ
คำว่า "มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า" ความว่า เมื่อสัมมาทิฏฐิอันตนอบรมแล้ว อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 ย่อมเป็นอันตนอบรมแล้ว เพราะเหตุไรเพราะ สัมมาสังกัปปะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาอาชีวะสัมมาสติย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสติสัมมาวิมุตติย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเพราะสัมมาวิมุตติ นี้เป็นบุคคลผู้มีอุปาทิเหลืออยู่ และนิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ ฯ
จบ สมาโรปนหารสัมปาตะ
เพราะเหตุนั้น ท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่าหาระ 16 ควรกระทำก่อนแล้วใคร่ครวญธรรมที่เป็นทิศ (กุศล 9 อกุศล 9)ด้วยนัยที่ชื่อว่า ทิสโลจนะแล้วย่อไว้ด้วยอังกุสนัย พึงแสดงพระสูตรด้วยนัยทั้ง 3 อย่างนี้แล" ดังนี้ ฯ
จบ หารสัมปาตะ 16 ฉะนี้ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 04:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


+นยสมุฏฐาน

[79] ในสมุฏฐานนั้น เหตุที่เกิดแห่งนัย เป็นไฉน
ที่สุดเบื้องต้น แห่งอวิชชาและภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ ฯ ในอวิชชาและภวตัณหานั้น เครื่องกางกั้น คือ อวิชชา เครื่องผูกพัน คือ ตัณหา ฯ สัตว์ทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเครื่องกางกั้น มีอวิชชาประกอบไว้ ย่อมประพฤติเป็นไป โดยฝ่ายแห่งอวิชชา สัตว์เหล่านั้น ท่านเรียกว่า ทิฏฐิจริต ฯ สัตว์ทั้งหลายมีตัณหาเป็นเครื่องผูกพัน มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ย่อมประพฤติเป็นไป โดยฝ่ายแห่งตัณหา สัตว์เหล่านั้น ท่านเรียกว่า ตัณหาจริต ฯ สัตว์ผู้ทิฏฐิจริตบวชในภายนอกจากพระศาสนานี้ ย่อมขวนขวายในอัตตกิลมถานุโยคอยู่ ฯ สัตว์ผู้ตัณหาจริตบวชในภายนอกจากพระศาสนานี้ ขวนขวายในกามสุขัลลิกานุโยคในกามทั้งหลายอยู่ ฯ
ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น อะไรเป็นเหตุ เหตุทั้งหลายมีอยู่เหตุนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตบวชในภายนอกจากพระศาสนานี้เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ลำบาก บุคคลผู้มีตัณหาจริต บวชในภายนอกจากพระศาสนานี้ เป็นผู้ขวนขวายในการประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลายอยู่ ฯ การกำหนดสัจจะ ย่อมไม่มีในภายนอกจากพระศาสนานี้การประกาศสัจจะ 4 หรือความเป็นผู้ฉลาดในสมถวิปัสสนา หรือการถึงสุขอันสงบ จักมีแต่ที่ไหน ฯ ชนเหล่านั้น ไม่รู้แจ้งซึ่งสุขอันสงบระงับ มีใจวิปริต ย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า "ความสุข อันบุคคลพึงบรรลุด้วยความสุข ย่อมไม่มี ชื่อว่าความสุข อันบุคคลพึงบรรลุด้วยความทุกข์ มีอยู่" ดังนี้ ฯ ชนเหล่านั้น มีความสำคัญอย่างนี้ มีความเห็นอย่างนี้ว่า "ชนใดย่อมเสพกาม ชนนั้นย่อมยังโลกให้เจริญ คนใดยังโลกให้เจริญ คนนั้น ย่อมประสบซึ่งบุญเป็นอันมาก" ดังนี้ เมื่อปรารถนาสุขด้วยทุกข์ มีความสำคัญบุญในกามทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ขวนขวายในอัตตกิลมถานุโยค และขวนขวายในกามสุขัลลิกานุโยค ชนเหล่านั้น ไม่รู้ความสุขอันสงบ มีอยู่ ย่อมยังโรคเท่านั้นให้เจริญ ย่อมยังฝีนั่นแหละให้เจริญย่อมยังลูกศรนั่นแหละให้เจริญ ชนเหล่านั้นผู้อันโรคครอบงำแล้ว ผู้อันฝีเบียดเบียนแล้ว ผู้อันลูกศรเสียบแทงแล้ว ก็กระทำการจุติและเกิดขึ้นในนรก ในกำเนิดสัตว์เดรัจฉาน ในกำเนิดเปรตและอสุรกาย เสวยอยู่เฉพาะซึ่งการฆ่าและถูกข่มเหง ย่อมไม่ประสบเภสัชเป็นเครื่องเยียวยารักษาโรค ฝี และลูกศร ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาสังกิเลส โวทาน โรคและเภสัชเป็นต้นนั้น อัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยค เป็นสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) สมถวิปัสสนาเป็นโวทานอัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยคเป็นโรค สมถวิปัสสนาเป็นเภสัชกำจัดโรค อัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยคเป็นฝี สมถวิปัสสนาเป็นเภสัชกำจัดฝีอัตตกิลมถานุโยคและกามสุขัลลิกานุโยคเป็นลูกศร สมถวิปัสสนาเป็นเภสัชถอนลูกศร ฯ
ในธรรมมีสังกิเลสเป็นต้นเหล่านั้น สังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) เป็นทุกข์ตัณหาเกี่ยวข้องกับทุกข์นั้นเป็นสมุทัย การดับตัณหาเป็นการดับทุกข์ สมถวิปัสสนาเป็นปฏิปทาให้ถึงการดับทุกข์ บัณฑิตพึงประกอบสัจจะ 4 เหล่านี้ ในสัจจะ 4เหล่านั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ มรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ฯ
[80] บรรดาทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลผู้ทิฏฐิจริต ย่อมยึดรูปโดยความเป็นตน ย่อมยึดเวทนา ฯลฯ ย่อมยึดสัญญา ฯลฯ ย่อมยึดสังขารทั้งหลาย ฯลฯ ย่อมยึดวิญญาณ โดยความเป็นตน (อัตตา) ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต ย่อมยึดตนมีรูป หรือยึดรูปในตน หรือว่า ยึดตนในรูป ย่อมยึดตนมีเวทนาฯลฯ ย่อมยึดตนมีสัญญา ฯลฯ ย่อมยึดตนมีสังขาร ฯลฯ ย่อมยึดตนมีวิญญาณหรือย่อมยึดตนวิญญาณในตน หรือว่า ย่อมยึดตนในวิญญาณ มิจฉาทิฏฐิ มีวัตถุ 20 นี้ ท่านเรียกว่า สักกายทิฏฐิ ฯ
โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ (ปฐมมรรค) เป็นปฏิปักษ์ต่อสักกายทิฏฐิ 20 นั้นสัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะสัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ย่อมคล้อยตามสัมมาทิฏฐินั้น ธรรมมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้นนี้ เป็นอริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 มรรค 8 เหล่านั้นเป็นขันธ์ 3 คือสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ ฯ สีลขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นสมถะ ปัญญาขันธ์เป็นวิปัสสนา ฯ ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น สักกายะ (กายของตน)เป็นทุกข์ สักกายสมุทัยเป็นเหตุเกิดของทุกข์ สักกายนิโรธเป็นการดับทุกข์อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์ ธรรมเหล่านี้เป็นสัจจะ 4 ในสัจจะเหล่านั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่พึงละมรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้งแล ฯ
ในทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลเหล่าใด ย่อมยึดรูป โดยความเป็นตน ย่อมยึดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ ย่อมยึดวิญญาณโดยความเป็นตน บุคคลผู้มีทิฏฐิจริตเหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกล่าวว่าขาดสูญ(อุจเฉทวาทะ) เพราะมีรูปเป็นต้นเป็นตน และความที่ธรรมมีรูปเป็นต้นไม่เที่ยงและแม้ความที่อัตตาก็ไม่เที่ยง อัตตาย่อมขาดสูญ อัตตาย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกอัตตาย่อมขาดสูญ ฯ บุคคลเหล่าใด ย่อมยึดตนมีรูปหรือยึดรูปในตน หรือยึดตนมีในรูป ย่อมยึดตนมีเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


สังขาร ฯลฯ ย่อมยึดตนมีวิญญาณ หรือยึดวิญญาณในตน หรือยึดตนมีในวิญญาณ บุคคลมีทิฏฐิจริตเหล่านี้ เรียกว่า มีปกติกล่าวว่าเที่ยง (สัสสตวาทะ) ฯ เพราะเห็นเป็น 2 อย่าง ฯ
ในบุคคลผู้มีปกติกล่าวว่าขาดสูญและเที่ยงนั้น วาทะว่าขาดสูญและเที่ยงเป็นปฏิปทาที่สุด (โต่ง) 2 อย่าง ฯ ปฏิปทาทั้ง 2 ที่สุดโต่งนี้ ย่อมเป็นไปในสังสาร ฯ ในปฏิปทาที่เป็นไปในสังสารและไม่เป็นไปในสังสารนั้น ปฏิปทาที่เป็นไปในสังสารเป็นทุกข์ ตัณหาที่เกี่ยวข้องกับทุกข์นั้นเป็นสมุทัย การดับตัณหาเป็นการดับทุกข์ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 เป็นปฏิปทาให้ถึงการดับทุกข์ธรรมเหล่านี้เป็นสัจจะ 4 ในสัจจะ 4 นั้น ทุกข์เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ สมุทัยเป็นธรรมที่ควรละ มรรคเป็นธรรมที่ควรเจริญ นิโรธเป็นธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ฯ
ในอุทเฉทะ สัสสตะและมรรคนั้น อุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ได้แก่สักกายทิฏฐิมีวัตถุ 20 โดยย่อ โดยพิสดาร ได้แก่ ทิฏฐิ 62 ประการ ฯ ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อทิฏฐิเหล่านั้น ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม 43 วิโมกข์ 8 และ กสิณายตนะ 10 ฯ ทิฏฐิ 62 เป็นโมหะและชาละ อันเป็นไปไม่มีที่สุดในเบื้องต้น ฯ
โพธิปักขิยธรรม 43 เป็นวชิรญาณ เป็นเครื่องทำลายโมหะและ ชาละอันเป็นไปไม่มีที่สุดในเบื้องต้น ฯ ในโมหะและชาละ (ข่าย) ทั้ง 2 นั้น โมหะ ได้แก่อวิชชา ข่าย (ชาลํ) ได้แก่ ภวตัณหา เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ที่สุดเบื้องต้นแห่งอวิชชาและภวตัณหา ย่อมไม่ปรากฏ" ดังนี้ ฯ
[81] ในบุคคลผู้มีทิฏฐิจริตและตัณหาจริตเหล่านั้น บุคคลผู้ทิฏฐิจริต บวชในพระศาสนานี้ย่อมประพฤติสืบต่อเนือง ๆ ในการขัดเกลา เป็นผู้คารวะกล้าในการขัดเกลา ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต บวชในพระศาสนานี้ เป็นผู้ประพฤติเนือง ๆ ในสิกขา เป็นผู้เคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ฯ บุคคลผู้ทิฏฐิจริต เมื่อก้าวลงสู่สัมมัตตนิยาม ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า ธัมมานุสารี ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต เมื่อก้าวล่วงลงสู่สัมมัตตนิยาม ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สัทธานุสารี ฯ บุคคลผู้ทิฏฐิจริต ย่อมออก(จากสังสาร) ด้วยสุขาปฏิปทาทันธาภิญญา และย่อมออกไปด้วยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริต ย่อมออกด้วยทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาและทุกขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


ในบุคคลทั้ง 2 เหล่านั้น บุคคลใดย่อมออกด้วยเหตุใด เหตุนั้นเป็นไฉน กามทั้งหลายของบุคคลผู้ตัณหาจริตนั้น เป็นกามไม่สละได้โดยง่าย เหตุใด เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้ตัณหาจริต จึงออกด้วยปฏิปทาที่ลำบากทั้งตรัสรู้ช้า และออกไปด้วยปฏิปทาที่ลำบากและตรัสรู้เร็ว ฯ บุคคลผู้ตัณหาจริตนั้น ผู้อันวัตถุกามและกิเลสกามรึงรัดอยู่ สลัดออกโดยยากและรู้ธรรมช้า ฯ แต่บุคคลใด คือ ผู้มีทิฏฐิจริตนี้ไม่ต้องการกามทั้งหลายตั้งแต่ต้นทีเดียว บุคคลผู้ทิฏฐิจริตนั้น ผู้อันกามเหล่านั้นไม่รึงรัดอยู่ (ปล่อยอยู่) จึงสลัดออกได้พลัน และย่อมรู้ธรรมได้เร็วพลัน ฯ ปฏิปทา แม้ลำบากก็มี 2 อย่าง คือ ตรัสรู้ช้าและตรัสรู้เร็ว ฯ ปฏิปทาแม้สบายก็มี 2 อย่างคือ ตรัสรู้ช้าและตรัสรู้เร็ว ฯ แม้สัตว์ทั้งหลายก็มี 2 อย่างคือ ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มีิอินทรีย์แก่กล้าก็มี ฯ สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์อ่อน สัตว์เหล่านั้น ย่อมสลัดออกช้าและรู้ธรรมช้า ฯ สัตว์เหล่าใด มีอินทรีย์แก่กล้า สัตว์เหล่านั้น ย่อมสลัดออกได้เร็วและย่อมรู้ธรรมได้เร็ว ฯ ปฏิปทา 4 เหล่านี้ มีอยู่ ฯ
จริงอยู่ สัตว์เหล่าใด ออกไปด้วยปฏิปทา 4 ในอดีตบ้าง หรือย่อมออกไปในปัจจุบันบ้าง หรือจักออกไปในอนาคตบ้าง สัตว์เหล่านั้นก็ออกไปด้วยปฏิปทา 4 เหล่านี้ ฯ
ด้วยประการตามที่กล่าวแล้วนี้ พระอริยะทั้งหลาย ย่อมประกาศหมวด 4 แห่งมรรคปฏิปทา 4 เพื่ออันไม่หมุนไปแห่งภวตัณหา อันเพลิดเพลิน อันมีปกติอยู่ในราตรีของผู้กำหนัด อันชนผู้ไม่มีปัญญาเสพแล้ว อันชนพาลใคร่ ความประกอบสัจจะ 4 ด้วยอำนาจตัณหา อวิชชา และด้วยอำนาจสมถวิปัสสนา นี้เรียกว่า ภูมิ เพราะเป็นสมุฏฐานแห่งนัย ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ แล เพราะเหตุนั้นท่านพระมหากัจจายนะจึงกล่าวว่า "ตณฺหญฺจ อวิชฺชมฺมิ จ สมเถน" เป็นต้น ฯ
[82] ก็ธรรมเหล่าใด (ที่เป็นทิศ) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "กุศลและอกุศล"ในไวยากรณ์ทั้งหลาย ธรรมเหล่านั้น บัณฑิตพึงใคร่ครวญ โดยภาวะ 2 อย่างคือโลกวัฏฏานุสารี (หมุนไปตามโลก) และโลกวิวัฏฏานุสารี (ไม่หมุนไปตามโลก) ฯ
สังสาร ชื่อว่า วัฏฏะ ฯ พระนิพพาน ชื่อว่า วิวัฏฏะ ฯ กรรมและกิเลสเป็นเหตุแห่งสังสาร ฯ บรรดากรรมและกิเลสนั้น บัณฑิตพึงแสดงว่า เจตนาเป็นกรรม และเป็นเจตสิก ฯ คำนั้นพึงเห็นได้อย่างไร กรรมพึงเห็นได้โดยการสั่งสม กิเลสแม้ทั้งหมดพึงเห็นได้ด้วยวิปลาส ฯ กิเลสเหล่านั้น พึงเห็นได้ในที่ไหน ในกองแห่งกิเลสมีวัตถุ 10 หมวด ฯ วัตถุ 10 หมวดเป็นไฉน วัตถุ 10 คืออาหาร 4 วิปลาส 4 อุปาทาน 4,โยคะ 4 คันถะ 4 อาสวะ 4,โอฆะ 4 สัลละ 4 วิญญาณฐิติ 4,การถึงอคติ 4 ฯ,
วิปลาสที่ 1 (รูปสุภะ) ย่อมเป็นไปในกวฬิงการาหารที่ 1 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 2 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 3 เป็นอารมณ์,วิปลาสที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาหารที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ม.ค. 2022, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8574


 ข้อมูลส่วนตัว


อุปาทานที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 1 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 2 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 2 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 3 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 3 เป็นอารมณ์,อุปาทานที่ 4 ย่อมเป็นไปในวิปลาสที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
โยคะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 1 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 2 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 3 เป็นอารมณ์,โยคะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอุปาทานที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
คันถะที่ 1 (อภิชฌา) ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 1 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 2 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 2 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 3 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 3 เป็นอารมณ์,คันถะที่ 4 ย่อมเป็นไปในโยคะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
อาสวะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 1 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 2 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 2 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 3 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 3 เป็นอารมณ์,อาสวะที่ 4 ย่อมเป็นไปในคันถะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
โอฆะที่ 1 (กาม) ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 1 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 2 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 2 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 3 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 3 เป็นอารมณ์,โอฆะที่ 4 ย่อมเป็นไปในอาสวะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
สัลละ (ลูกศร) ที่ 1 (ราคะ) เป็นไปในโอฆะที่ 1 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 2 เป็นไปในโอฆะที่ 2 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 3 เป็นไปในโอฆะที่ 3 เป็นอารมณ์,สัลละที่ 4 เป็นไปในโอฆะที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
วิญญาณฐิติที่ 1 เป็นไปในลูกศร (สัลละ) ที่ 1 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 2 เป็นไปในลูกศรที่ 2 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 3 เป็นไปในลูกศรที่ 3 เป็นอารมณ์,วิญญาณฐิติที่ 4 เป็นไปในลูกศรที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ
อคติที่ 1 (ฉันทะ) เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 1 เป็นอารมณ์,อคติที่ 2 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 2 เป็นอารมณ์,อคติที่่ 3 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 3 เป็นอารมณ์,อคติที่ 4 เป็นไปในวิญญาณฐิติที่ 4 เป็นอารมณ์ ฯ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 129 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร