วันเวลาปัจจุบัน 11 พ.ย. 2024, 02:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง





กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์พระราชทาน
ในการพระราชพิธีฉลองพระชนมายุ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ครบ ๘๐ พรรษา วันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จะทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ เป็นเหตุควรที่จะพระโสมนัสปราโมทย์และเป็นโอกาสดีที่จะได้ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเฉลิมพระชนมาพรรษาสนองพระเดชพระคุณตามราชประเพณี

ในอภิลักขิตกาลมงคลสมัยอันอุดมนั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศล ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยและโปรดเกล้าให้จัดพิมพ์หนังสือที่ทรงคุณค่า คือเรื่อง “การบริหารทางจิต” กับ “ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน” สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกหนังสือเรื่อง “การบริหารทางจิต” เกิดจากการบรรยายธรรมทางวิทยุของสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต คือเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต จัดรายการบริหารทางจิตเป็นประจำทุกเช้าวันอาทิตย์

โดยโปรดให้อาราธนา สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร แต่ครั้งยังเป็นพระสาสนโสภณ จัดดำเนินรายการทั้งสำหรับผู้ใหญ่ เด็กวัยรุ่น และเด็กเล็ก ต่อมาเมื่อดำเนินรายการมาครบปีแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมคำบรรยายสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรเรียบเรียงและคำบรรยายสำหรับเด็กวัยรุ่น ซึ่งคุณหญิงโสมรัศมิ์ จันทรประภา เรียบเรียงนั้น พิมพ์เป็นเล่มขึ้นพระราชทานในวันวิสาขบูชา พ.ศ. ๒๕๑๒ และ พ.ศ. ๒๕๑๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ เนื่องในการพระราชพิธีฉลองพระชนมายุสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบ ๗๒ พรรษา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมคำบรรยายที่ได้พิมพ์ขึ้นไว้ ๒ ศกนั้น กับทั้งคำบรรยายในศกต่อมาพิมพ์ขึ้นใหม่ให้ติดต่อกัน พร้อมกับจัดรวบรวมคำบรรยายสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งนางบรรจบพันธุ์ นวรัตน ณ อยุธยา เรียบเรียงพิมพ์ขึ้นด้วยให้สมบูรณ์ครบชุด

ในครั้งนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมคำบรรยายที่ได้ออกอากาศภายหลังนั้นจนถึงปัจจุบันเพิ่มเติมอีก แล้วพิมพ์ขึ้นไว้ให้สมบูรณ์ หนังสือเรื่อง “ธรรมกถาในการอบรมกรรมฐาน” เกิดจากการบรรยายธรรมอบรมกรรมฐานของสมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) ที่มีเป็นประจำในคืนวันธรรมสวนะและคืนหลังวันธรรมสวนะ ณ ตึก สว. ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลือกเรื่องที่จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การปฏิบัติกรรมฐานและอบรมจิตทั่วไป มารวบรวมพิมพ์ไว้อีกเล่มหนึ่ง

ทรงหวังพระราชหฤทัยว่า หนังสือที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้น ทั้งนี้จะเป็นประโยชน์เกื้อกูลการศึกษาพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติบริหารจิตของสาธุชนให้สัมฤทธิ์ผลอันถูกต้องที่พึงประสงค์โดยไพศาล


พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันที่ ๒๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๒๓

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระนามเดิมว่าสังวาล เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๔๓ ที่บ้านถนนสมเด็จเจ้าพระยา (ซอยช่างนาคเดิม) ตำบลสมเด็จเจ้าพระยา อำเภอคลองสาน กรุงเทพมหานคร (เดิมเรียกว่าจังหวัดธนบุรี) พระชนกนามว่าชู พระชนนีนามว่าคำ เมื่อเจริญพระชนมายุได้ ๙ พรรษา ทรงกำพร้าทั้งพระชนกและพระชนนี

ในช่วงเวลานั้นประทับอยู่ในสวนสี่ฤดู พระราชวังดุสิต ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนสตรีวิทยา ตำบลตึกดิน ซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับโรงเรียนสตรีวิทยาปัจจุบัน ทรงใช้เวลาเรียนในโรงเรียนสตรีวิทยา ๕ ปี คือตั้งแต่ชั้นเตรียมจนถึงชั้นประถมปีที่ ๓ แล้วทรงลาออกจากโรงเรียนสตรีวิทยา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๖ พระชนมายุได้ ๑๓ พรรษา และในวันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๕๖ ทรงสมัครเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และพยาบาลแห่งศิริราช ซึ่งอยู่ในสังกัดของกระทรวงธรรมการ และทรงเป็นนักเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และพยาบาลที่มีอายุน้อยที่สุดในโรงเรียน โดยสมเด็จพระปุตุจฉาเจ้า เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเป็นผู้ปกครอง (ปรากฏในสมุดทะเบียนประวัติของโรงเรียน)

ทรงสำเร็จการศึกษา และทรงรับประกาศนียบัตรจากโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และพยาบาล แห่งศิริราช ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๐ พระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ซึ่งเป็นระยะเวลาประจวบกับที่ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ กำลังทรงตั้งพระทัยที่จะช่วยเหลือปรับปรุงกิจการแพทย์และพยาบาล และทรงมีลายพระหัตถ์จากสหรัฐอเมริกา หารือมายังกรมขุนชัยนาทนเรนทร ซึ่งทรงเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และพยาบาล แห่งศิริราช ในขณะนั้น ขอให้กรมขุนชัยนาทนเรนทรทรงคัดเลือกนักเรียนที่เหมาะสมสำหรับไปเรียนต่อ

โดยจะพระราชทานทุนแก่นักเรียนแพทย์ ๒ ทุน และทุนสำหรับนักเรียนวิชาพยาบาลผดุงครรภ์นั้นทรงขอพระราชทานจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้าพระราชมารดา ซึ่งนักเรียนทุนวิชาพยาบาลผดุงครรภ์นั้น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงได้รับการคัดเลือกให้รับทุนพระราชทานของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า ไปทรงศึกษาวิชาพยาบาลต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยพยาบาลอีกคนหนึ่ง คือนางสาวอุบล ปาลกวงศ์ ณ อยุธยา (ปัจจุบันนางอุบล ลิปิธรรมศรีพยัตต์) ประทับที่เมืองเบอร์คลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย และทรงศึกษาภาษาอังกฤษในโรงเรียนอีมเมอร์สัน

ในปีพุทธศักราช ๒๔๖๑ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเข้ารับการศึกษาต่อในโรงเรียนนอร์ธเวสเทิร์น ณ เมืองฮาร์ทฟอร์ด รัฐคอนเนคติคัต สหรัฐอเมริกา และได้ทรงพบกับสมเด็จพระบรมราชชนก ซึ่งกำลังทรงศึกษาวิชาการแพทย์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นครั้งแรก และในปีต่อมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงศึกษาที่โรงเรียนของนางสาวอีดิธ จอห์นสัน ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาซูเซตส์ และในฤดูร้อนปีนั้นก็ได้ทรงเข้าศึกษาในแผนกสาธารณสุขศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาซูเซตส์ (เอม.ไอ.ที) ร่วมกันจัดขึ้น ณ เอม.ไอ.ที ทรงเลือกศึกษาวิชาอนามัยโรงเรียน ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวิชาสาธารณสุข

ปีพุทธศักราช ๒๔๖๓ สมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระยาชนินทรภักดี ผู้ปกครองนักเรียนไทย เพื่อทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จพระบรมราชชนก โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ทำการอภิเษกสมรสได้

พระราชพิธีอภิเษกสมรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดขึ้น ณ วังสระปทุม ในวันที่ ๑๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๓ หลังจากพระราชพิธีอภิเษกสมรสแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ตามเสด็จฯ สมเด็จพระบรมราชชนกไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเสด็จ ฯ กลับไปทรงศึกษาต่ออีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๖๓ โดยสมเด็จพระบรมราชชนนี ได้ทรงศึกษาวิชา Basic Science in Nursing Home Economics ที่ ซิมมอนส์ คอลเลจ เมืองบอสตัน รัฐแมสซาซูเซตส์ และในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๔๖๔ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ ทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปยังประเทศต่างๆ ในยุโรปอีกหลายประเทศ

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีพระราชโอรส พระราชธิดา ๓ พระองค์ คือ :-

๑. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา สมภพ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๖

๒. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมันนี เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๘

๓. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาซูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐

สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จนิวัตประเทศไทยพร้อมด้วยพระราชโอรสและพระราชธิดา เมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๑ โดยสมเด็จพระบรมราชชนกเสด็จฯ ไปประทับและทรงฝึกงานที่จังหวัดเชียงใหม่ และเนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่ค่อยจะทรงสมบูรณ์ ประกอบกับทรงตรากตรำในพระราชกรณียกิจมากเกินไป สมเด็จพระบรมราชชนกจึงประชวรหนัก และเสด็จสวรรคตในปีพุทธศักราช ๒๔๗๒ ขณะนั้นสมเด็จพระบรมราชชนนี พระชนมายุเพียง ๒๙ พรรษาเท่านั้น

สมเด็จพระบรมราชชนนี ประทับอยู่ในประเทศไทย จนถึงพุทธศักราช ๒๔๗๖ จึงเสด็จฯ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา ไปประทับ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เพื่อการศึกษาของพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้งสามพระองค์ ประทับ ณ “วิลลาวัฒนา” เมืองโลซานน์ และในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ คณะรัฐบาลในขณะนั้น อันมีพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติสืบสันตติวงศ์ เป็นรัชกาลที่ ๘ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งเป็นผลให้สมเด็จพระบรมราชชนนี ทรงดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระราชชนนีนับแต่บัดนั้น และทำให้พระราชภาระของพระองค์หนักยิ่งขึ้น เพราะต้องทรงถวายอภิบาลและถวายคำแนะนำเกี่ยวกับราชประเพณีขนบธรรมเนียมต่างๆ เกี่ยวกับหน้าที่ของพระมหากษัตริย์ และเรื่องในพระราชสำนักแด่พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

ในเดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๘๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรก นับแต่ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ สมเด็จพระบรมราชชนนี โดยเสด็จพระราชดำเนินกลับมาพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ และสมเด็จพระอนุชาธิราช (คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน) ทั้ง ๔ พระองค์ประทับอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาอันสั้นก็ต้องเสด็จพระราชดำเนินกลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีก เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลยังทรงศึกษาไม่จบ ต้องเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อ จนถึงพุทธศักราช ๒๔๘๘ สมเด็จพระบรมราชชนนีจึงได้โดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล กลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของรัฐบาลไทย

แต่การเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยในครั้งนี้ ทำให้สมเด็จพระบรมราชชนนีทรงประสบกับความโทมนัสอย่างใหญ่หลวงในพระชนม์ชีพของพระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ แต่ด้วยน้ำพระทัยอันเข้มแข็ง และทรงศึกษาธรรมมาแล้ว จึงทำให้พระองค์ทรงสามารถระงับความทุกข์อันยิ่งใหญ่ไว้ได้ เพราะพระองค์จะต้องทรงถวายอภิบาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ซึ่งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อเป็นรัชกาลที่ ๙ และขณะนั้นยังทรงพระเยาว์ โดยเสด็จฯ กลับไปประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีก เนื่องเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันต้องทรงศึกษาต่อ

ภายหลังที่ได้ทรงถวายอภิบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันซึ่งเป็นพระบรมราชปิโยรสที่เหลืออยู่เพียงพระองค์เดียวแล้ว สมเด็จพระบรมราชชนนีได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยที่จะศึกษาเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญา โดยทรงเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยโลซานน์ และนอกจากวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาแล้ว ยังทรงศึกษาวิชาประกอบอื่นๆ อาทิ สังคมวิทยา กฎหมายระหว่างประเทศ ประวัติศาสตร์วรรณคดี รัฐประศาสนศาสตร์ ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต และนับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเสด็จนิวัตประเทศไทย และประทับใจในประเทศไทยเป็นการถาวรตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔ เป็นต้นมา สมเด็จพระบรมราชชนนีมิได้ตามเสด็จ ฯ กลับด้วย แต่ได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปคราวหลัง ประทับ ณ พระตำหนัก วังสระปทุมและได้เสด็จฯ ไปประทับพักผ่อนพระราชอิริยาบถ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์เป็นครั้งคราวเป็นประจำแทบทุกปี ตลอดระยะเวลาที่ประทับอยู่ในประเทศไทยได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ต่อมวลพสกนิกร ต่อประเทศชาติ ต่อศาสนาและต่อพระมหากษัตริย์ เป็นอเนกอนันต์นานัปการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงรำลึกถึงพระคุณอันประเสริฐ ที่พระราชชนกและพระราชชนนี ทรงมีต่อพระองค์และทวยราษฎร์ตลอดมา จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศเฉลิมพระนามพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ทรงพระราชฐานันดรศักดิ์เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าในพระบรมราชวงศ์ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ดังปรากฏข้อความในพระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมนามาภิไธย เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๓ ตอนหนึ่งว่า

อนึ่งทรงพระราชดำริรำลึกถึงสมเด็จพระราชชนนี ว่าทรงพระคุณอันประเสริฐได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันได้บังเกิดประโยชน์แก่บ้านเมืองและประชาชนเป็นอเนกปริยาย มีพระหฤทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาธิคุณ ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป ได้เสด็จออกไปสอดส่องดูแลทุกข์สุขของราษฎรตามจังหวัดต่างๆ อยู่เป็นเนืองนิตย์ แม้ว่าจะเป็นท้องที่ห่างไกลทุรกันดารก็ทรงพระอุตสาหะเสด็จไปจนทั่วถึง โปรดให้จัดสร้างโรงเรียนชายแดนขึ้นเป็นหลายแห่งเพื่อให้เยาวชนในท้องถิ่นนั้นๆ ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ทรงจัดตั้งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ขึ้น และโปรดให้ออกไปทำการรักษาพยาบาลประชาชนในท้องที่ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร เมื่อใดมีภัยพิบัติเกิดขึ้น ก็เสด็จออกไปเยี่ยมเยียนผู้ประสบเคราะห์ประสบภัยโดยทั่วหน้า ประทานทรัพย์สินส่วนพระองค์แก่ทางราชการและองค์การกุศลต่างๆ ให้จัดหาเครื่องอุปโภคบริโภคตลอดจนยารักษาโรค เพื่อนำไปแจกจ่ายบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ ยังได้เสด็จออกเยี่ยมเยียนเจ้าหน้าที่ตำรวจทหารและพลเรือน ซึ่งมีหน้าที่ปฏิบัติราชการ ณ ชายแดนจนถึงฐานที่ปฏิบัติงาน โดยมิได้ทรงหวั่นเกรงต่อความยากลำบากและภยันตรายใดๆ ด้วยทรงมุ่งหวังตั้งพระหฤทัยที่จะให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนส่วนรวมเป็นสำคัญ ในด้านการพระศาสนานั้น ก็ได้ทรงสนับสนุนการศึกษาและปฏิบัติธรรมอย่างกว้างขวาง และได้ทรงบริจาควัตถุปัจจัยเกื้อกูลกิจการต่าง ๆ ในพระบวรพุทธศาสนาและในศาสนาอื่นๆ อยู่เสมอ ในส่วนพระองค์เล่า ก็ทรงเป็นอุปการิณีมีคุณูปการยิ่งกว่าผู้ใด เบื้องต้นแต่ได้ทรงอภิบาลบำรุง และทรงอนุสาสน์สั่งสอนความดีงามตามขัตติยราชประเพณีตั้งแต่ทรงพระเยาว์มา และยังมีพระหฤทัยสิเน่หาห่วงใยอยู่มิได้ขาด ทั้งได้ทรงรับพระราชภาระปฏิบัติราชการแผ่นดินในคราวที่เสด็จพระราชดำเนินไปต่างประเทศเป็นหลายครั้ง บัดนี้ สมเด็จพระราชชนนีเสด็จเหลืออยู่พระองค์เดียวที่ทรงเป็นเขตอันล้ำเลิศอันจะให้เกิดสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคลแด่พระองค์

จึ่งมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ประกาศเฉลิมพระนามสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย อำนาจแห่งพระกตัญญูกตเวทิตาธรรมและเทพยดาเจ้าผู้ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงดลบันดาลอภิบาลรักษาพระองค์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้ทรงเจริญพระชนมายุ พรรณ สุข พล ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ สรรพสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล วิบุลศุภผล สกลเกียรติยศ ปรากฏมโหฬารตลอดจิรัฏฐิติกาลเทอญ

ในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงมีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๒๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓ ขออัญเชิญอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย และอำนาจอานิสงส์แห่งพระราชกุศลศรัทธาที่ได้ทรงสัมมาปฏิบัติบำเพ็ญเป็นอเนกประการ จงอภิบาลรักษาให้ทรงพระเจริญด้วยจตุรพิธพรชัยสัมฤทธิในพระราชกรณียกิจ สฤษฏิ์ในพระราชประสงค์ เสด็จสถิตธำรงอยู่ยั่งยืนนานโดยทรงพระเกษมสำราญ เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกร เป็นจิรกาลนิรันดรเทอญ

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


สารบัญ

๑. จากคณะสงฆ์ไทย
๒. มหามงคลพิธี
๓. ดำเนินตามรอยพระบาทให้ถูกต้อง
๔. สามัคคีก่อให้เกิดสุข
๕. พิจารณาก่อนแล้วจึงทำ
๖. กรรมมีความสำคัญเหนือกว่าตัวบุคคลทั้งปวง
๗. ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์
๘. ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
๙. ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้เผชิญทุกข์ก็เป็นสุขได้
๑๐. ดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มีเลย
๑๑. เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน
๑๒. สำหรับผู้ล่วงลับแล้ว ที่พึ่งคือบุญ
๑๓. การคิดอยู่ในปัจจุบันเป็นธรรม
๑๔. การควบคุมความคิดได้ จะเป็นสุขได้
๑๕. การเพิ่มพูนปัญญา คือการลดความทุกข์
๑๖. ในตนเองที่ต้องพิจารณา
๑๗. ไตรลักษณ์ ลักษณะสามที่มีคุณ
๑๘. ผู้ขาดสติย่อมทำลายตัวเอง
๑๙. ทางพ้นทุกข์
๒๐. ใจที่ไม่ขาดแคลน
๒๑. ทุกข์เป็นสิ่งวางได้
๒๒. การใช้หนี้กรรม
๒๓. จะไม่เดือดร้อนได้ แม้มีผู้นินทาว่าร้าย
๒๔. ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
๒๕. พึงทำเสียงสรรเสริญ ให้ดังกว่าเสียงนินทา
๒๖. ผู้ถูกนินทาพึงมีเหตุผล
๒๗. ผู้นินทาคือผู้ทำกรรมไม่ดี
๒๘. อดีตและอนาคตไม่เช่นสิ่งพึงยึด
๒๙. ความไม่สมหวังที่ไม่ต้องเป็นทุกข์
๓๐. ไม่มีสิ่งใดที่ดีงามให้ความเบิกบานได้เสมอพระรัตนตรัย
๓๑. ใจของคนดีเป็นใจที่คุ้นเคยกับความดี
๓๒. ค่าของใจสำคัญยิ่งกว่าความสมหวังทั้งหลาย
๓๓. วิธีตัดทุกข์ที่จะเกิดจากความไม่ได้ดังใจ
๓๔. ทุกสิ่งเป็นไปตามอำนาจดีชั่วของใจ
๓๕. ผู้แผ่เมตตาจะได้รับคุณแห่งเมตตาด้วยตนเองก่อน
๓๖. ความไม่สงบของใจ คือเครื่องปิดกั้นสติปัญญา
๓๗. การเอาแต่ใจตัวเป็นความทุกข์
๓๘. คนช่างคิด คือคนเป็นทุกข์
๓๙. อันคนอกตัญญูนั้นทุกคนรังเกียจ
๔๐. มารดาบิดามีความเมตตากรุณาต่อบุตรธิดายิ่งกว่าชีวิตของท่านเอง
๔๑. ความร่มเย็นเกิดจากระลึกรู้พระคุณท่าน
๔๒. คนดีย่อมไม่หลีกหนีการทดแทนพระคุณ
๔๓. การคิดถึงความดีเป็นการบริหารจิต
๔๔. ประเทศชาติเปรียบร่มโพธิ์ร่มไทร
๔๕. พระคุณของพระศาสนาและพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งอัศจรรย์
๔๖. ความอกตัญญูเป็นบาปกรรมที่หนัก
๔๗. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องคุ้มครองรักษา
๔๘. ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องพาให้งาม
๔๙. พึงทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเสมอ
๕๐. กรรมเป็นเครื่องจำแนก
๕๑. ความลืมเป็นเหตุให้ให้ไม่เข้าใจเรื่องกรรม
๕๒. ไม่มีอำนาจใดเปลี่ยนแปลงผลของกรรมได้
๕๓. กรรมปัจจุบันอาจชนะกรรมในอดีตได้

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2008, 14:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๑. จากคณะสงฆ์ไทย

สัมมาสติ แปลว่า ความระลึกชอบ อันความระลึกนั้น มักพูดกันเช่นว่า ระลึกถึง คือนึกขึ้นมาได้ถึงบุคคล เหตุการณ์ หรือแม้วัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บางทีความระลึกถึงเป็นไปในทางไม่สงบต่างๆ เพราะก่อให้เกิดภาวะเป็นต้นว่า ความโกรธแค้นขึ้งเคียดจนถึงใช้กำลังประหัตประหารกันให้ย่อยยับลงไป บางทีความระลึกถึงเป็นไปในทางสงบต่างๆ เพราะก่อให้เกิดภาวะ เป็นต้นว่า ความมีมิตรภาพไมตรีจิต ความประนีประนอมผ่อนปรนแก่กันและกัน ความช่วยเหลือกันและกันให้เกิดความสุขความเจริญ ความระลึกถึงอย่างแรกมิใช่เป็นสัมมาสติ แต่เป็นมิจฉาสติ ส่วนความระลึกถึงอย่างหลังเป็นสัมมาสติ ความระลึกชอบ ในฐานที่เราทั้งหลาย ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ต่างก็เกิดมาเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นสัตวโลกชนิดที่มีปัญญาสูงมาโดยกำเนิด ทั้งยังได้รับการศึกษาส่งเสริมปัญญาให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้นไปอีก ก็ควรที่จะมีความระลึกชอบ คือใช้ปัญญาระลึกโดยรอบคอบ ไม่ลุอำนาจหรือดึงดันไปด้วยอำนาจความโลภโกรธหลง ซึ่งจะเป็นเหตุให้พบเหตุผลเป็นเครื่องแก้ไขเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนตัวทั้งที่เป็นส่วนรวมได้ดียิ่ง ความพบเหตุผลที่ถูกต้องดังนี้แหละเป็นตัวปัญญา ซึ่งเป็นผลที่มุ่งหมายสำหรับแก้เหตุการณ์ทั้งหลาย ตามที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า สัมมาสติและปัญญา ต่างก็ต้องอาศัยกันและกัน ในที่นี้ยกสัมมาสติขึ้นเป็นประธาน เพราะมุ่งหมายว่าเป็นข้อสำคัญในหน้าที่เตือนใจให้ใช้ปัญญาแทนที่จะใช้อารมณ์และกิเลสแก่กันและกัน ทุกๆ คนต่างก็มีปัญญาอยู่ด้วยกันแล้วอาจแต่จะยังเผลอปัญญาไปบ้างเพราะขาดสัมมาสติเท่านั้น จะควรระลึกอย่างไรจึงจะเป็นสัมมาสติ และจะระลึกอย่างนั้นได้หรือ

ขอแถลงข้อหลังก่อนว่า ทุกคนระลึกให้เป็นสัมมาสติได้ เพราะเป็นเรื่องของจิตใจที่อาจน้อมจิตใจให้คิดไปได้ จึงขอแต่เพียงว่า ขอให้น้อมจิตใจคิดไปในทางสงบเท่านั้นโดยพยายามระงับดับจิตใจเร่าร้อนไม่สงบลงเสีย ดังจะลองแนะแนวคิดดู ที่จะนำไปสู่สัมมาสติ

๑. เราทั้งหลายเป็นอะไรกัน ถ้าคิดด้วยความโกรธก็จะได้คำตอบว่า เป็นศัตรูกัน โกรธเกลียดกัน ซึ่งจะต้องเอาชนะกันให้ได้แม้ด้วยการใช้กำลังประหัตประหารกัน ถ้าคิดด้วยจิตใจที่สงบก็จะได้คำตอบว่า เราเป็นพี่น้องกัน ร่วมชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์เดียวกัน หรือแม้ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกัน บรรพบุรุษสตรีของเราได้เสียสละทุกอย่างรักษาสถาบันต่าง ๆ ของชาติไทยไว้ให้แก่เรา เราทั้งหลายจึงเหมือนอยู่ ในครอบครัวเดียวกัน ผู้ที่เป็นผู้ใหญ่ก็เป็นเหมือนเป็นพ่อเป็นแม่ เป็นตาเป็นยาย เป็นปู่เป็นย่า เป็นน้า เป็นอา ผู้ที่เป็นเด็กกว่าก็เหมือนอย่างเป็นลูกเป็นหลาน ที่เป็นชั้นเดียวกันก็เป็นเหมือนอย่างเป็นพี่เป็นน้องกันทั้งนั้น ไม่ใช่ใครที่ไหน ความระลึกได้อย่างนี้จะทำให้จิตใจอ่อนโยนลง จะทำให้เกิดความคิดที่จะปรองดองกัน สมัครสมานกันขึ้น

๒. เราทั้งหลายกำลังจะทำอะไรแก่กัน ถ้าตอบด้วยความโกรธ ก็จะได้คำตอบว่าเราจะต้องไม่ยอมกันเด็ดขาด จะต้องบังคับเอาสิ่งที่เราต้องการ หรือจะไม่ยอมให้ทุกอย่างตามที่ได้รับการเรียกร้อง แม้ด้วยการใช้กำลัง แต่ถ้าคิดด้วยใจที่สงบ ก็จะมองเห็นว่า เราทั้งหลายต่างก็เป็นญาติกันทั้งหมด มิใช่ใครอื่นที่ไหน ควรที่จะผ่อนปรนกัน สมมติว่าผ่อนความต้องการของตนบ้าง เหมือนอย่างว่าคนละครึ่งหนึ่ง ทุกฝ่ายต่างได้ต่างเสียด้วยกัน เพราะการที่ดึงดันเอาแต่ใจของตนฝ่ายเดียวนั้นยากที่จะตกลงกันได้ หลักของความสามัคคีประการหนึ่งก็คือ ความที่รู้เอาใจเขามาใส่ใจเราหรือเอาใจเราไปใส่ใจเขา แต่จะต้องทำใจให้สงบเสียก่อนจึงจะเกิดความคิดผ่อนปรนประนีประนอมดังกล่าวได้

๓. เราทั้งหลายกำลังมุ่งอะไรเพื่ออะไร สิ่งที่มุ่งนั้น ถ้าไม่ขัดกันก็ไม่เกิดปัญหาขัดแย้ง แต่ถ้าขัดกันก็เกิดปัญหาขัดแย้ง แต่ก็จะต้องมีจุดที่มุ่งหมายว่าเพื่ออะไร เมื่อมีจุดมุ่งหมายเป็นอันเดียวกัน เช่นเพื่อชาติ ก็น่าที่ทุกฝ่ายจะพากันเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อส่วนรวมคือชาติ อันหมายถึงประชุมชนทั้งหมดพร้อมทั้งสถาบันทั้งหลายของชาติ ด้วยสันติวิธี พยายามหาทางปฏิบัติโดยสันติที่จะให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมาย ทุกๆ คนย่อมรวมอยู่ในชาติ ต่างเป็นกำลังของชาติดังที่เรียกกันว่า “พลเมือง” จึงต้องรักษาตนเองไว้ให้ดีด้วยกัน การที่จะมาทำลายกันเองลงไป เท่ากับเป็นการทำลายกำลังของชาตินั้นเอง ทำให้ชาติอ่อนกำลังลง และเราทั้งหลายต่างก็มีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นองค์พระประมุขของชาติ ผู้ทรงดำรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงสุด ปรากฏว่าพระองค์ทรงมีพระราชวิตกห่วงใยเป็นอันมาก ทรงมีพระมหากรุณาแผ่ไปอย่างยิ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าจะรุนแรงขึ้นเพียงใด ความทุกข์อย่างหนักก็ย่อมจะเกิดขึ้นในพระราชหฤทัยเพียงนั้น จึงน่าที่ทุกๆ ฝ่ายจะรำลึกถึงพระมหากรุณา และปฏิบัติผ่อนปรนแก่กันด้วยมุ่งประโยชน์แก่ประเทศชาติอันเป็นส่วนรวมเป็นที่ตั้ง และระลึกถึงพระศาสนาซึ่งสอนให้ใช้สัมมาสติ กล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมสอนให้ใช้สัมมาสติทั้งนั้น

แนวคิดทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นแนวคิดที่ขอเสนอแนะแก่ทุกๆ คน ทุกๆ ฝ่าย ขอให้ทุกคนทุกฝ่ายพากันยับยั้ง คิดรำลึก ถึงจะต้องใช้เวลาสักหน่อย ก็ยังดีกว่าการทำอะไรลงไปด้วยความผลุนผลัน พอให้อารมณ์ที่ตึงเครียดผ่อนคลาย พอให้จิตใจสงบและคิดรำลึกตามแนวที่เสนอแนะ หรือแม้แนวอื่นที่จะนำไปสู่ความพบเหตุผลที่ดีกว่าย่อมจะได้สัมมาสติและปัญญา ในอันที่จะแก้ไขผ่อนปรนนำไปสู่วัตถุประสงค์ที่ต้องการร่วมกัน โดยสวัสดี

๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2008, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๒. มหามงคลพิธี

เมื่อวาน ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ คือวันเสาร์ที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา เป็นวันที่คณะสงฆ์ทั่วประเทศประชุมกันเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่ประเทศชาติและประชาชน ในกรุงเทพมหานคร พระเถระนุเถระ มีสมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะ และเจ้าอาวาสทุกวัด นำเจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าทั้งสองพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมพิธีนี้ด้วย

การเจริญพระพุทธมนต์เช่นนี้ นับว่าเป็นมหามงคลพิธีที่มีเป็นครั้งแรกในระยะเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ก่อนหน้านี้พิธีเช่นนี้กระทำในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชการที่ ๒ แห่งพระราชวงศ์จักรี เนื่องด้วยเกิดมีโรคระบาดใหญ่ ผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ต่อจากนั้นก็มิได้มีอีกเลย เพิ่งจะมามีครั้งนี้ เมื่อวันวานนี้

สภาพระธรรมกถึก วัดพระเชตุพน ได้เชิญชวนให้น้อมรับสวัสดิมงคลทั่วกันด้วยการบูชาพระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน ตั้งใจสมาทานศีล ๕ ตั้งใจสดับฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ด้วยจิตอันสงบ

เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้วให้ตั้งจิตแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้าดังนี้ “ขอสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า จงอย่าได้มีเวรมีภัยต่อกันและกัน จงอย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน จงอย่าได้มีความลำบากกายลำบากใจเลย จงมีความสุขกายสุขใจนำตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด”

แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้ตนเองและครอบครัว ประเทศชาติ พระมหากษัตริย์ ตลอดทั้งประชาชนทุกหมู่เหล่า จงประสบความสุขความเจริญ ขอให้สรรพสัตว์ทั้งปวง และเทพยดาอารักษ์ทุกหมู่ทุกเหล่า จงได้รับส่วนแห่งบุญนี้โดยทั่วกัน

บัดนี้ พิธีมหามงคลเพื่อสวัสดิมงคลของประเทศไทยคนไทยทุกถ้วนหน้า ได้กระทำเสร็จสิ้นแล้ว พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ แผ่รังสีปกป้องคุ้มครองทั่วประเทศ ทั่วทุกชีวิตจิตใจอยู่แล้ว เป็นหน้าที่ของแต่ละคนที่จะน้อมรับรังสีแห่งสิริมงคลแห่งความสุขสวัสดีไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

โดยทำใจให้ผ่องใส ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งของจิตใจไว้ให้สม่ำเสมอ ความรู้สึกใดๆ ที่จะเป็นเหตุให้จิตใจเศร้าหมองเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอาลัยรัก ความโกรธแค้นพยาบาท มากหรือน้อยก็ตาม ให้พึงถือว่าจะเป็นเหตุทำให้ใจไม่ผ่องใส ไม่ถึงพระรัตนตรัยได้ใกล้ชิดเท่าที่ควร

การทำใจให้ผ่องใสในลักษณะเช่นนี้ ไม่หมายความว่าจะทำให้ไม่สามารถแก้ไขความไม่ดีให้เป็นความดีขึ้นได้ เพราะเรื่องของใจกับเรื่องของการกระทำนั้นอาจแยกออกให้เป็นคนละเรื่องได้ ความผ่องแผ้วในจิตใจเป็นสิ่งที่เจ้าตัวย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง ย่อมเป็นสุขอย่างยิ่งด้วยตนเองด้วยอำนาจของความผ่องแผ้ว คือความไม่ปล่อยใจให้ตกอยู่ใต้อำนาจความเศร้าโศกเสียใจเพราะอาลัยรัก ความเดือดร้อนรุนแรงเพราะโกรธแค้นพยาบาท ดังกล่าวนั้น

แต่การกระทำหรือการแสดงออกเป็นอีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมควรต้องแสดงออกอย่างใดก็ต้องแสดงออกอย่างนั้น เช่น เมื่อควรชมก็ต้องชมเมื่อควรรางวัลก็ต้องรางวัล เมื่อควรกล่าวติก็ต้องกล่าวติ เมื่อควรปลีกตัวห่างก็ต้องปลีกตัวห่าง กล่าวได้ว่าอะไรที่สมควรพูดสมควรทำ ก็พูดก็ทำไปตามที่สมควร อะไรที่ไม่สมควรพูดไม่สมควรทำก็ไม่พูดไม่ทำ แม้การพูดการทำหรือการไม่พูดไม่ทำนั้นจะเหมือนเป็นการแสดงว่าจิตใจของผู้พูดผู้ทำขาดเมตตากรุณา แต่เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสม ก็เป็นการถูกต้องที่จะต้องพูดต้องทำดังกล่าว

เรื่องความผ่องใสของใจกับเรื่องการแสดงออกทางกายทางวาจา ต้องแยกจากกันเช่นนี้ จึงจะสามารถดำรงตนเองและช่วยดำรงหมู่คณะทั้งเล็กใหญ่ให้เป็นไปด้วยดีอย่างมีสวัสดิมงคลอย่างยิ่ง

๒๘ ตุลาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2008, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๓. ดำเนินรอยตามพระพุทธบาทให้ถูกต้อง

ทุกสิ่งในโลกนี้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วย่อมทนอยู่ไม่ได้ ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลงและดับไปในที่สุด นี่เป็นสัจจรรม สมเด็จพระบรมศาสดาผู้ทรงรู้โลกได้ตรัสเตือนให้พยายามระลึกถึงความจริงนี้กันไว้ ทั้งนี้ด้วยทรงมีพระมหากรุณาปรารถนาจะให้ผู้ระลึกอยู่ถึงความจริงนี้ได้มีสติไม่ทุกข์โศกเสียใจเมื่อต้องประสบกับความไม่เที่ยง คือความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย ในขณะที่ไม่ปรารถนาจะให้ความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นกับตนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับตน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกวันเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์อย่างชัดแจ้งว่า ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเตือนไว้นี้เป็นสัจธรรม เป็นความจริงแท้ ผู้ที่ยอมรับฟังและน้อมใจเชื่อพระพุทธดำรัสนี้พอสมควร

ย่อมเป็นผู้ที่สามารถรักษาจิตใจให้เป็นปรกติได้สม่ำเสมอ
ไม่ยินดียินร้ายจนเกินไป เมื่อต้องประสบพบเหตุการณ์ทั้งหลาย
ที่เป็นไปตามสัจธรรม คือเกิดขึ้นแล้ว ก็เปลี่ยนแปลง ก็ดับไป
ทั้งที่ชอบและที่ไม่ชอบ ทั้งที่ปรารถนาและไม่ปรารถนา

ผู้ที่สามารถรักษาจิตใจให้เป็นปรกติได้
ไม่ว่าจะประสบเหตุการณ์ที่พึงยินดีหรือพึงยินร้ายเพียงใดก็ตาม
ย่อมเป็นผู้มีความสุขทางใจสม่ำเสมอ
อันความสุขทางใจนี้เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง
และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ก็ด้วยการมีสติควบคุมใจของตนเอง
ให้รู้เท่าทันความจริงดังกล่าวแล้ว
ไม่ยึดมั่นว่าอะไรๆ ทั้งนั้นจะไม่เปลี่ยนแปลง
จะไม่สิ้นสุด เหตุการณ์ก็เช่นกัน
ชีวิตก็เช่นกัน ต้องเปลี่ยนแปลง ต้องสิ้นสุด


อย่างไรก็ตาม มิได้หมายความว่า เมื่อรู้ทันความจริงคือสัจจธรรมนี้แล้ว ก็งอมืองอเท้ายอมให้เปลี่ยนแปลง ยอมให้สิ้นสุด ไม่ป้องกันแก้ไขตามเหตุผลที่สมควร การไม่ระวังไม่ป้องกันไม่คิดแก้ไขเป็นความประมาท ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางแห่งความตาย ดังนั้นแม้จะรู้ว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง ต้องแปรปรวนเปลี่ยนแปลง และดับไปในที่สุด ก็ต้องไม่ประมาท ต้องป้องกัน ต้องคิดแก้ไข พร้อมๆ กันไปกับที่ระลึกรู้ความจริง คือสัจจธรรมดังกล่าว

ที่ถูกต้อง เรื่องของใจให้เป็นเรื่องของใจ เรื่องของการแสดงออกให้เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากตามความเหมาะสม พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำใจให้ผ่องแผ้ว ให้ปราศจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ให้มีพรหมวิหาร คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข ช่วยให้พ้นทุกข์ ยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ดี และวางใจเป็นกลางเมื่อไม่สามารถจะช่วยได้แล้ว

จึงควรทำใจรักษาใจตามที่พระพุทธองค์ทรงสอน ลดความโลภ ความโกรธ ความหลง มีพรหมวิหาร นี้เป็นเรื่องของใจ ที่ควรทำให้ได้เป็นอย่างยิ่ง เพราะจะให้ผลงดงามอย่างยิ่งแก่จิตใจ ก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่จิตใจอย่างประมาณค่ามิได้ ดังกล่าวมา

เรื่องของใจให้เป็นเรื่องของใจ เรื่องของการแสดงออกต้องเหมาะสมกับเหตุการณ์ แม้พระพุทธองค์ก็ทรงปฏิบัติพระองค์เช่นนี้ ไม่ทรงมีความโลภความโกรธความหลงแล้ว แต่ก็ยังทรงได้ตำหนิพระภิกษุสงฆ์ ทรงข่มเมื่อเห็นว่ามีความผิดควรแก่อาบัติโทษสถานใด มิได้ทรงแสดงออกเช่นที่น้ำพระหฤทัยเป็นอยู่

คือเปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาโดยบริสุทธิ์ มิได้ทรงถือโทษผู้ใด ทรงแสดงออก ตามที่ควรแสดงออก ด้วยน้ำพระหฤทัยเมตตากรุณาไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าไม่ทรงตำหนิผู้ที่ควรตำหนิ ไม่ทรงลงพุทธอาณาผู้ที่ควรแก่พุทธอาณา (พุทธอาณา = อำนาจปกครองของพระพุทธเจ้า, อำนาจปกครองฝ่ายพุทธจักร) ก็จะทรงปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อยงดงามไม่ได้

นี้เป็นตัวอย่างประกอบเป็นเหตุผลที่กล่าวว่า เรื่องของใจให้เป็นเรื่องของใจ การแสดงออกต้องให้เหมาะสมแก่เหตุการณ์ แก่บุคคล ไม่เช่นนั้นก็ไม่เรียกว่าเป็นการดำเนินการตามรอยพระพุทธบาทอย่างแท้จริง อย่างถูกต้อง

๔ พฤศจิกายน ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2008, 09:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๔. สามัคคีก่อให้เกิดสุข

ในบรรดาคำอันเป็นสุภาษิตทั้งหลาย มีอยู่หนึ่งซึ่งอาจถือเป็นประโยชน์ได้ทุกกาลสมัย แก่ทุกคนไม่ว่าจะที่รวมกันเป็นส่วนน้อยหรือส่วนใหญ่ คำอันเป็นสุภาษิตนั้นคือ “สามัคคีก่อให้เกิดสุข”

สามัคคีก่อให้เกิดสุข ลองย้ำประโยคนี้ดูให้หนักแน่นกว่าปรกติสักหน่อย พร้อมกับพิจารณาให้ลึกซึ่งสักนิด ไม่สักแต่ว่าปล่อยให้ผ่านหูผ่านใจไปง่ายๆ ทุกคนก็น่าจะได้ความรู้สึกว่า สามัคคีก่อให้เกิดสุขจริงๆ เมื่อสามัคคีก่อให้เกิดสุขแล้ว ทุกข์ก็ย่อมเกิดจากความไม่สามัคคีนั่นเอง

สามัคคีก่อให้เกิดสุขได้จริงอย่างไร อาจคิดให้เห็นได้ทุกคน ตามระดับแห่งวัยและความรู้ของตน ที่ไม่เห็นคุณของสามัคคี ไม่เห็นว่าสามัคคีก่อให้เกิดสุขนั้น เป็นเพราะไม่ได้คิดกันให้เห็น จึงน่าจะพยายามคิดกันดู คิดได้ลึกซึ้งเพียงใดก็จะเห็นคุณสามัคคีถนัดชัดเจนแก่จิตใจเพียงนั้น จะเกิดความเข้มแข็งที่จะก่อให้เกิดสามัคคีขึ้นในหมู่คณะของตน ในประเทศชาติของตน ทั้งนี้ก็เพราะทุกคนต่างก็ปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งนั้น สามัคคีเกิดขึ้นกว้างขวางเพียงไรมั่นคงเพียงไร ความสุขก็จะยิ่งใหญ่และมั่นคงเพียงนั้น เหมือนเงาตามตัว

แต่คำว่าสามัคคีนั้นต้องใช้กับคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นอย่างน้อย มิได้ใช้ได้แต่กับคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว ดังนั้นสามัคคีที่เกิดขึ้นได้จึงต้องประกอบด้วยจิตใจของคนอย่างน้อยสองคนขึ้นไป และอย่างมากก็เป็นหมู่คณะประเทศชาติ

จิตใจของคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน เห็นดีเห็นชอบไม่ตรงกัน สามัคคีจะเกิดได้จึงจำเป็นต้องอาศัยความเสียสละของแต่ละคน ทุกคน คนละมากบ้าง คนละน้อยบ้าง เพื่อให้ความคิดเห็นของตนโอนอ่อนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้โดยพร้อมเพรียงกัน

คือเสียสละความไม่เห็นด้วยของตนแต่ละคนให้เข้าสู่ระดับที่จะอาจกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเกิดขึ้นจุดใด จุดนั้นคือจุดแห่งความสามัคคี จุดที่จะก่อให้เกิดสุขดังกล่าวนั่นเอง

เมื่อจิตใจปรับระดับเข้าสามัคคีกันได้ ไม่แย่งแยกจากกันด้วยความคิดเห็นว่าเขาเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างนี้ เขาไม่ถูก เราถูก หน้าที่ของเขา ไม่ใช่หน้าที่ของเรา ฯลฯ อะไรทำนองนี้ สามัคคีทางกายหรือทางการกระทำก็จักเกิดตามมา ความสุขอันเกิดจากความสามัคคีก็จักตามมาเช่นกัน

อย่างน้อยก็เป็นความสุขที่เกิดจากความสำเร็จ อันความสำเร็จทั้งหลายย่อมจักไม่เกิดหากขาดเสียซึ่งสามัคคี ความสำเร็จที่เกิดขึ้นแล้วในขั้นหนึ่งย่อมจักล้มเหลวไปได้แม้ความสามัคคีไม่มีอยู่ในการดำเนินขั้นต่อๆ ไป ผู้ที่เคยผ่านการทำงานมาแล้วย่อมเข้าใจในเรื่องนี้ แต่หากขาดสติก็ย่อมจะทำให้ลืมนึกถึงความสำคัญของสามัคคีไปได้

ดังนั้นความมีสติไม่ลืมนึกถึงความสำคัญของสามัคคีจึงเป็นสิ่งที่ผู้ปรารถนาความสุขความสำเร็จทั้งนั้นจะพึงอบรมให้มีอยู่ประจำตน

แต่ดังกล่าวแล้ว คนแม้เพียงสองคนจิตใจก็ยังแตกต่างกันเป็นสองอย่าง คนมากคนเพียงใด จิตใจก็ยิ่งแตกต่างกันออกไปมากอย่างเพียงนั้น สามัคคีจะเกิดได้จึงต้องมีการเสียสละความคิดเห็นของตนเสียโดนควร มุ่งให้จิตใจสามารถปรับระดับเข้ากันได้จนเกิดเป็นความสามัคคีดังได้กล่าวในการนี้ การใช้ขันติและการให้อภัยเป็นสิ่งขาดเสียไม่ได้ จำเป็นต้องมีด้วยกันทุกคน ไม่เช่นนั้นก็จะดำเนินไปจนถึงจุดมุ่งหมายไม่ได้ จะต้องแตกสามัคคีกันเสียก่อน ผลก็จะเป็นความทุกข์นั่นเอง

เมื่อพิจารณาดูการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสามัคคีแล้วเห็นว่าเป็นสิ่งทำได้ยากหมู่คณะใดประเทศชาติใดทำได้เมื่อใด เมื่อนั้นหมู่คณะนั้น ประเทศชาตินั้น ย่อมได้รับความสุขอันจักเกิดจากความสำเร็จประโยชน์ที่มุ่งหมาย

แม้การปฏิบัติเพื่อให้เกิดสามัคคีจะเป็นสิ่งทำได้ยากแต่ก็เป็นสิ่งที่อาจทำได้ในหมู่คณะประเทศชาติที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีปัญญามีความไม่เห็นแก่ตัวยิ่งกว่าเห็นแก่ประโยชน์สุขของหมู่คณะและประเทศชาติ การมีสตินึกถึงผลดีผลเสียของหมู่คณะประเทศชาติอยู่ทุกเวลา ไม่หลงลืมเสีย นั่นแหละจักเป็นการนำให้สามารถปฏิบัติเพื่อให้เกิดสามัคคีได้ และสามัคคีจักก่อให้เกิดสุขได้จริง

๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 พ.ย. 2008, 08:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๕. พิจารณาก่อนแล้วจึงทำ

พิจารณาก่อนแล้วจึงทำ หรือใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ นี้เป็นพุทธศาสนาภาษิตที่ผู้ปรารถนาความสามัคคีพึงน้อมนำไปปฏิบัติตาม

พิจารณาก่อนแล้วจึงทำ หรือใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ ทำในที่นี้หมายถึงการกระทำทั้งทางกาย ทั้งทางวาจาและทั้งทางใจ คือจะทำอะไรก็ตาม จะพูดอะไรก็ตาม จะคิดอะไรก็ตาม พึงพิจารณาใคร่ครวญเสียก่อน อย่าทำ อย่าพูด อย่าคิด โดยไม่พิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบด้วยดี เพราะการทำ การพูด การคิดโดยไม่พิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบด้วยดี เพราะการทำ การพูด การคิดโดยไม่พิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบย่อมเกิดความผิดพลาด
อันจะให้ผลที่ไม่ดี ที่เป็นภัย ที่เป็นโทษได้โดยง่าย


นี้มีตัวอย่างปรากฏให้เห็นอยู่แล้วเสมอ ทั้งในอดีต ทั้งในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเรื่องของตนเอง และทั้งที่เป็นเรื่องของคนอื่น แต่แม้กระนั้นส่วนมากก็ไม่เห็นโทษของการไม่พิจารณาก่อนแล้วทำ ยังมักพากันทำไปตามอำนาจความปรารถนาพอใจชั่วแล่น ความเสียหายอันเกิดจากการทำเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นอยู่เป็นอันมาก และเสมอ

การพิจารณาหรือการใคร่ครวญ คือการใช้สติปัญญาดูเหตุดูผลให้รอบคอบ ทำอย่างไรจะให้ผลดี ทำอย่างไรจะให้ผลเสีย พิจารณาใคร่ครวญให้รอบคอบจริงๆ เมื่อแน่ใจแล้วว่าทำเช่นใดจึงจะได้ผลดี จึงทำเช่นนั้น เมื่อไม่แน่ใจ พึงใช้สติปัญญาหลีกเลี่ยงเสีย อย่าทำ

นอกเสียจากว่าจะปรารถนาให้ผลร้ายเกิดขึ้น ซึ่งความปรารถนาหรือความมุ่งตั้งใจเช่นนั้นเป็นเหตุไม่ดี เป็นกรรมทางใจที่ไม่ดี ดังนั้นผลที่ไม่ดีที่จะเกิดขึ้นจึงจะเป็นของผู้อื่นก็หาไม่ จะต้องเป็นของผู้ทำกรรมไม่ดีนั้นเอง เพราะกรรมนั้นย่อมให้ผลแก่ผู้กระทำแน่นอนเสมอไป ผู้ไม่ทำกรรมใดไว้จะได้รับผลของกรรมนั้นหามีไม่ ผู้มาบริหารจิตพึงอบรมจิตใจให้เชื่อมั่นในสัจจะนี้ แล้วผลดีที่จะเกิดตามมาจักเป็นของตนเองก่อนผู้อื่น

ปุถุชนหรือสามัญชนย่อมยังยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเป็นโลกธรรม ฝ่ายที่น่ายินดีพอใจ แต่ถ้าความปรารถนายินดีในโลกธรรมดังกล่าวแรงเกินขอบเขตไปก็จะทำให้ไปตัดรอนความแรงแห่งแสงสว่างของปัญญาให้ลดน้อยลง จนถึงทำให้มืดมิดไปได้ในบางเวลา และเมื่อปัญญาอ่อนแสงลง ก็มีปัญญาน้อยหรือไม่มีปัญญาเลยที่จะพิจารณาใคร่ครวญก่อนจะทำสิ่งทั้งปวง การกระทำสิ่งทั้งปวงจึงเกิดโทษได้ง่าย

ดังนั้น แทนที่จะได้รับโลกธรรมส่วนที่ไม่ดีไม่น่าปรารถนาพอใจ ผู้ที่มุ่งปรารถนาแรงเกินไปจึงมักไปได้รับโลกธรรมส่วนที่ไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนาพอใจเสียเป็นส่วนมาก นี้เป็นเพราะขาดปัญญาที่จะนำมาใช้พิจารณาใคร่ครวญก่อนทำการใดๆ นั่นเอง ดังนั้นการมุ่งปรารถนาสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุนแรงจึงมีโทษ ทำให้สติปัญญาอ่อนลง และสติปัญญานั้นเป็นสิ่งจำเป็นทุกเมื่อของทุกคน ขาดสติและปัญญาเสียแล้ว ความสมบูรณ์ทางจิตใจย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

สิ่งหนึ่งที่ผู้บริหารจิตควรทำจึงต้องเป็นการอบรมจิตใจให้สามารถควบคุมความปรารถนาต้องการให้อยู่ในขอบเขตที่สมควร นั่นคือ อบรมจิตใจให้มีเวลาสงบไว้บ้างเสมอไม่แล่นแรงไปในทางแสวงหา ลาภ ยศสรรเสริญ สุข ให้แก่ตนจนเกินไป เตือนตนเองไว้ให้เสมอว่านั่นเป็นกิเลสและกิเลสนั้นมีน้อยเท่าใดให้คุณเท่านั้น มีมากเท่าใดให้โทษเท่านั้น

ไม่มีผู้ใดหนีโทษของกิเลสในจิตใจตนเองพ้น เพราะเมื่อกิเลสปรากฏออกมาในการพูดการทำเพียงใดก็จะรับเอาทุกข์โทษเข้าไปใส่ตนเพียงนั้น กิเลสมากปัญญาก็น้อย เหตุผลก็น้อย ความสามารถที่จะพิจารณาใคร่ครวญก็ต้องน้อยตามไปด้วย

ผู้ที่สามารถลดกิเลสในใจตนได้มากเพียงใด แสงแห่งปัญญาของผู้นั้นย่อมสว่างไสวขึ้นเพียงนั้น ย่อมสามารถน้อมนำพุทธศาสนภาษิตที่ว่าพึงพิจารณาก่อนแล้วจึงนำไปปฏิบัติตามให้เกิดความสวัสดีแก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายได้เพียงนั้น

๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2008, 08:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๖. กรรมมีความสำคัญเหนือกว่าตัวบุคคลทั้งปวง

“บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่
แต่เป็นคนเลวเพราะกรรม เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะกรรม”


ที่ยกมากล่าวข้างต้นนี้เป็นพุทธศาสนาภาษิต ที่ควรได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เรื่องของกรรมเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้จะกล่าวว่าเรื่องของกรรมเป็นเรื่องสำคัญที่สุดก็ไม่ผิด เพราะกรรมเท่านั้นที่เป็นเหตุให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข และกรรมเท่านั้นที่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนเป็นทุกข์ สุขทุกข์ทั้งหลายบรรดามี ในที่ทุกแห่ง ในกาลทุกเมื่อ มิได้เกิดจากเหตุอื่นใด เกิดจากกรรมตัวเดียวเท่านั้น

ที่กล่าวว่าทำให้ผู้นั้นเป็นสุข ผู้นี้ทำให้เป็นทุกข์นั้น ที่จริงแล้วหมายถึงว่ากรรมของผู้นั้นทำให้เป็นสุข กรรมของผู้นี้ทำให้เป็นทุกข์ มิใช่ตัวผู้นั้นผู้นี้โดยลำพัง คือโดยปราศจากกรรมของเขา จะสามารถก่อให้เกิดความสุขหรือความทุกข์ขึ้นได้

กรรมจึงมีความสำคัญยิ่งนัก สำคัญเหนือกว่าตัวบุคคลทั้งหลายทั้งปวงเป็นอันมาก บุคคลจะได้สุขได้ทุกข์ จะดีจะเลว ก็เพราะกรรมของเขาเองพาให้เป็นไป มิใช่เพราะอะไรอื่น ดังพุทธศาสนาภาษิตข้างต้นที่กล่าวว่า บุคคลเป็นคนเลวเพราะชาติก็หาไม่ เป็นผู้ประเสริฐเพราะชาติก็หาไม่ แต่เป็นคนเลวเพราะกรรม เป็นผู้ประเสริฐก็เพราะกรรม

การบริหารจิตโดยตรงวิธีที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ
การทำใจให้น้อมลงเชื่อพุทธศาสนาภาษิตนี้
เชื่อว่ากรรมเท่านั้นสำคัญที่สุด
คำนึงถึงกรรมของตนเองเท่านั้นเป็นใหญ่ที่สุด

ถ้ากรรมของตนเองเป็นกรรมไม่ดีคือเป็นการกระทำที่ไม่ดี
จะเป็นการกระทำทางกายทางวาจาหรือทางใจก็ตาม
ถ้าไม่ดี กรรมนั้นก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลไม่ดีแก่ตน
ผลไม่ดีนั้นก็ทำให้ตนเองนั้นนั่นแหละเป็นคนไม่ดี


ไม่ว่าจะเกิดเป็นคนชาติใดภาษาใดสกุลรุนชาติสูงต่ำอย่างใด ชาติภาษาและสกุลรุนชาติก็หาช่วยให้พ้นจากผลไม่ดีของกรรมไม่ดีได้ไม่ นั่นก็คือชาติภาษาสกุลรุนชาติหาอาจทำให้ผู้ที่ทำกรรมไม่ดี ได้ชื่อว่าเป็นคนดีได้ไม่ คนทำกรรมไม่ดีต้องเป็นคนไม่ดีอย่างแน่นอนเสมอไป จนกว่าจะหยุดการทำกรรมไม่ดีและทำกรรมดีเมื่อใด เมื่อนั้นแหละจะได้ชื่อว่าเป็นคนดีไม่ว่าจะมีชาติใดภาษาใด สกุลรุนชาติเช่นใด

อย่างไรก็ตาม การจะดูให้รู้ว่าตนกำลังทำกรรมดีหรือกรรมชั่วอยู่ ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมตนให้มีจิตใจพ้นจากภาวะที่ท่านเรียกว่าเป็นพาลเสียก่อน เพราะพระพุทธศาสนภาษิตก็มีกล่าวไว้ด้วยว่า “คนพาลมีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก”

การจะอบรมจิตใจตนเองให้พ้นจากภาวะเป็นพาลได้ ก็อยู่ที่ต้องทำกรรมดี ไม่ทำกรรมชั่ว ทำใจให้ผ่องใส ผู้ที่ปฏิบัติอยู่ดังนี้ย่อมเชื่อตนเองได้ว่าจิตพ้นจากภาวะเป็นพาลอย่างแน่นอน สามารถจะดูตัวเองให้รู้ได้ว่ากำลังทำกรรมดีหรือกรรมชั่วอยู่ในขณะนั้น

นอกจากในพุทธศาสนภาษิตจะมีกล่าวว่า “คนพาลมีปัญญาทราม ทำกรรมชั่วอยู่ก็ไม่รู้สึก” ยังมีกล่าวต่อไปอีกว่า “ย่อมเดือดร้อนเพราะกรรมของตน เหมือนถูกไฟไหม้”

พุทธศาสนภาษิตนี้เป็นสัจจะ คือเป็นจริง
กรรมชั่วย่อมทำให้ผู้กระทำเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้นั้นเทียว
ผู้น้อมใจลงเชื่อพุทธศาสนภาษิตนี้ ย่อมหลีกเลี่ยงการทำกรรมชั่ว
เพราะย่อมกลัวความเดือดร้อนที่จะเกิดเพราะกรรมชั่ว


การบริหารจิตที่จะทำให้ผลเลิศที่สุด จึงอยู่ที่การต้องพยายามอบรมจิตใจ ให้น้อมลงเชื่อมั่นในเรื่องของกรรมนี้แหละ อาจกล่าวได้ที่เดียวว่า ผู้ที่เชื่อกรรมเสียอย่างเดียวเท่านั้น จะสามารถพาตนให้พ้นจากบาปอกุศล บรรลุถึงความสวัสดีได้

ดังนั้น เมื่อทุกคนต่างก็ปรารถนาจะประสบแต่ความสุขสวัสดีตลอดชีวิต ทุกคนจึงควรที่จะอบรมใจตนเองให้เชื่อในเรื่องกรรม คือเชื่อว่า

ผลของกรรมมีจริง กรรมดีให้ผลดีจริง กรรมชั่วให้ผลชั่วจริง
และผู้กระทำกรรมเท่านั้นจะเป็นผู้ได้รับผลของกรรม
อบรมใจตนเองให้เชื่อมั่นแน่นอนในเรื่องดังกล่าวเสียก่อน
แล้วการกระทำกรรมทุกอย่างจะเป็นการกระทำกรรมดีเท่านั้น
ไม่เป็นการกระทำความชั่ว


ที่ทุกวันนี้ยังมีการทำบาปทำชั่วก่อทุกข์โทษภัยกันอยู่มากมาย ก็เพราะจิตใจยังขาดการอบรมให้เชื่อมั่นในเรื่องกรรมอันเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ดังกล่าว

๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 พ.ย. 2008, 09:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๗. ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์

ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ นี้เป็นพุทธศาสนาภาษิตข้อหนึ่ง และเป็นข้อที่น่าจะได้รับความสนใจเป็นพิเศษสำหรับสมัยนี้ อันเป็นสมัยอะไรๆ จะดำเนินไปด้วยดีได้พอสมควร ก็ด้วยอาศัยความอดทนนี้แหละเป็นสำคัญประการหนึ่ง

ความอดทนในทางหนึ่ง เป็นความอดทนที่จำเป็น คือหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นผู้อยู่ใต้อำนาจของผู้มีอำนาจที่ขาดเหตุผลและความเมตตากรุณา เมื่อเกิดอะไรขึ้นที่แม้ไม่เห็นด้วย ไม่ชอบใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ผู้อยู่ใต้อำนาจก็จำเป็นต้องอดทน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าต้องยอมทน

การยอมทนในกรณีดังกล่าวนี้ บางทีก็เป็นไปเพื่อรักษาตัวไม่ให้ต้องพบเหตุการณ์อื่นที่จะทำให้ต้องเดือดร้อนยิ่งกว่าการยอมอดทนเสียดังกล่าว การอดทนเช่นนี้เป็นเครื่องประดับอย่างหนึ่ง คือเป็นเครื่องทำให้ผู้มีความอดทนนั้นงามได้อย่างหนึ่ง

แต่ความอดทนของผู้ที่ไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงเสียก็ได้ เช่น ผู้มีอำนาจยอมอดทนให้แก่ผู้อยู่ใต้อำนาจ โดยคำนึงถึงเหตุผลและมีความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง การอดทนเช่นนี้นับได้ว่าเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์โดยแท้ ตรงกับพุทธศาสนภาษิตที่ยกมากล่าวไว้ข้างต้น

ตัวอย่างของผู้มีความอดทน หรือผู้มีเครื่องประดับของปราชญ์ ก็เช่น
ผู้มีอำนาจหรือผู้เป็นใหญ่ยอมเหนื่อยยากลำบากกายลำบากใจ
เมื่อรู้ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขแก่ผู้น้อยหรือแก่ส่วนรวม
โดยที่แม้จะไม่ยอมเหนื่อยยากอย่างใดเลยก็เป็นไปได้
ปราศจากผู้บังคับ ปราศจากสิ่งบังคับ

บางทีแม้ไม่ปรารถนาจะทำเลยก็ต้องทำต้องอดทนทำ
เพราะคำนึงถึงส่วนรวมที่จะได้รับประโยชน์สุขจากการที่ตนอดทนทำนั้น
ความอดทนเช่นนี้เป็นความอดทนที่เกิดจากปัญญา
เกิดจากเมตตากรุณา เกิดจากความไม่เห็นแก่ตัวยิ่งกว่าเห็นแก่ส่วนรวม

อีกตัวอย่างหนึ่งของผู้มีความอดทน หรือผู้มีเครื่องประดับของปราชญ์ ก็เช่น
ผู้มีอำนาจหรือผู้เป็นใหญ่ ไม่ว่าจะมีอำนาจหรือเป็นใหญ่ในบ้านเมือง
ในประเทศชาติหรือในสถานที่ใดก็ตาม เมื่อถูกจ้วงจาบล่วงเกิน
ไม่ว่าหนักหรือเบา ก็อดทน ก็ไม่แสดงความมีอำนาจ ไม่ใช้อำนาจ
ในอันที่จะเป็นเหตุให้ผู้ล่วงเกินละเมิดนั้นๆ ต้องได้รับโทษเป็นการตอบแทน

แม้จนกระทั่งจะแสดงความไม่พอใจในการล่วงเกินจ้วงจาบอันจะเป็นเหตุให้ส่งผลสะท้อนเป็นโทษแก่ผู้อื่น ก็อดทนเสียไม่แสดง ทั้งนี้ด้วยมีเมตตากรุณาอย่างสูง จนสามารถดับความอาฆาตโกรธแค้นเสียได้ความอดทนเช่นนี้ผู้ที่เคยได้รับการจ้วงจาบจากผู้น้อยทั้งๆ ที่ตนเป็นผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจย่อมเข้าใจได้ดีว่าเป็นการอดทนที่ต้องอาศัยพลังสูงยิ่งจากเมตตากรุณา


ตัวอย่างเพียงสองประการที่นำมากล่าว คือตัวอย่างของความอดทนที่เกิดจากความมีเมตตากรุณาจนทำให้สามารถดับไฟโทสะของตนเสียได้ และที่เกิดความเมตตากรุณา จนทำให้สามารถยอมอดทนเหนื่อยยากลำบากกายใจเพื่อประโยชน์และเพื่อความสุขของผู้อื่น

ตัวอย่างดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนภาษิตที่ว่า “ความอดทนเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์” นั้นเป็นความจริง เมตตากรุณามีในผู้ใดย่อมทำให้ผู้นั้นงาม หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือเมตตากรุณามีในผู้ใดเป็นเครื่องประดับของผู้นั้น ซึ่งย่อมทำให้ผู้นั้นเป็นคนงาม เป็นคนดี

แต่ปราชญ์นั้น เมตตากรุณาในท่านไม่เพียงเป็นเมตตากรุณาที่อาจมีในคนที่มีเมตตากรุณาทั้งหลายเท่านั้น แต่เป็นเมตตากรุณาอย่างสูงจนทำให้ท่านต้องใช้ความอดทนเพื่อยังให้เมตตากรุณาบังเกิดผลโดยสมบูรณ์ เมตตากรุณาขั้นนี้ที่เป็นเหตุให้เกิดความอดทนดังกล่าวนี้ นี่แหละเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ดั่งพุทธศาสนภาษิตข้างต้นกล่าวไว้

ผู้บริหารจิตทั้งหลายควรจะอบรมจิตให้มีเมตตากรุณาเป็นขั้นต้น ด้วยการช่วยเหลือให้ความสุขแก่ผู้อื่น ต่อจากนั้นก็อบรมให้เมตตากรุณานั้นสูงยิ่งขึ้น จนสามารถอดทนเพื่อให้เมตตากรุณาบังเกิดผลที่ยิ่งขึ้นไปได้ สมดังพุทธศาสนภาษิตอีกบทที่กล่าวว่า “ความอดทนนำมาซึ่งประโยชน์สุข” นั้นแล

วันพุธที่ ๕ ธันวาคม ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ผู้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณสูงส่ง ทรงดำรงความอดทนอันเป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ไว้ได้เป็นนิตย์

ขออานุภาพคุณพระรัตนตรัยและอานุภาพพระบุญญาบารมีกุศลบุญญราศีเอกอุดมที่ทรงสั่งสมตลอดมา ได้บันดาลให้ทรงพระเกษมสำราญสวัสดีในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมราชชนนี ฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์

เสด็จสถิตรุ่งเรืองอยู่เพื่อทรงเป็นนาถรัตน์กำจัดความทุกข์ยากน้อยใหญ่ให้สิ้นไปจากราชสีมาอาณาเขต ยังความสามัคคีสวัสดีมงคลให้แผ่ไปทั่วประเทศตลอดนิรันดรกาล ขอถวายพระพร

๒ ธันวาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ย. 2008, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๘. ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนพาล ทั้งบัณฑิต ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า นี้เป็น พุทธศาสนภาษิตอีกบทหนึ่ง ที่แสดงสัจจะซึ่งไม่มีผู้ใดจะอาจคัดค้านหรือเกิดความเคลือบแคลงสงสัยได้แม้แต่น้อย ทุกชีวิตมีความแตกดับ มีความตายรออยู่เบื้องหน้า ไม่มีชีวิตใดเลยที่จะพ้นความตายไปได้

ดังที่พุทธศาสนภาษิต กล่าวไว้นั่นแหละ คือทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งคนดี ทั้งคนไม่ดี ล้วนต้องตาย จะเร็วหรือช้าก็ต้องตาย อำนาจของความตายไม่มีผู้ใดจะหนีพ้น เพียงหนีความตายไม่ได้ ทุกคนต้องตาย นี้ก็ยังไม่สมบูรณ์นักถ้าจะไม่นำพุทธภาษิตอีกบทหนึ่งมากล่าวไว้เสียในทีนี้ด้วย คือบทที่ว่า ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้

ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ พุทธศาสนภาษิตบทนี้ก็เช่นเดียวกัน แสดงสัจจะที่ไม่มีผู้ใดจะอาจคัดค้านหรือเกิดความเคลือบแคลงสงสัยได้แม้แต่น้อย ทุกคนได้รู้ได้เห็นประจักษ์ชัดแก่ตนเองอยู่ด้วยกันแล้วในความจริงนี้ ไม่มีผู้ใดจะนำทรัพย์แม้สักนิดของตนติดตัวไปด้วยได้ยามต้องตาย ผู้ที่เมื่อดำรงชีวิตอยู่ มีความสุขเพราะได้สั่งสมทรัพย์ หรือเพราะมีทรัพย์มากมาย เมื่อถึงเวลาตายจะนำความสุขเพราะทรัพย์ติดตัวไปด้วยไม่ได้ ในเวลาสิ้นชีวิตสิ่งเดียวที่จะนำความสุขมาให้คือบุญ

มีพุทธศาสนภาษิตกล่าวไว้ด้วยว่า บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต จึงควรทำบุญอันนำสุขมาให้และความสุขอันเกิดแต่บุญนี้มีอยู่แก่ผู้สั่งสมบุญทั้งโลกนี้และโลกหน้า คือทั้งเมื่อยังไม่ตายก็เป็นสุข เมื่อตายแล้วก็เป็นสุข

ดังที่มีกล่าวไว้ว่า ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ละไปแล้วย่อมยินดี ชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น ตรงกันข้ามกับผู้ทำบาปเพราะ ผู้ทำบาปย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ละโลกนี้ไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน

ด้วยเหตุนี้คนจึงไม่ควรทำบาป ควรทำแต่บุญ และควรทำบุญบ่อยๆ เรียกว่าควรสั่งสมบุญ ถ้ากล่าวว่าควรสั่งสมความสุขอันเกิดแต่สั่งสมบุญก็ได้ เพราะการสั่งสมอย่างอื่นหาอาจนำความสุขมาให้ได้ยั่งยืนหรือแท้จริงไม่ การสั่งสมบุญเท่านั้นที่จะนำความสุขมาให้ยั่งยืนและแท้จริง แม้ความตายก็หาอาจพรากไปจากบุญหรือความสุขที่เกิดแต่บุญอันสั่งสมไว้แล้วได้ไม่

ทุกคนต้องตาย และทุกคนก็ต้องการความสุข แม้คิดถึงความจริงนี้ให้ลึกซึ้งพอสมควรทุกคน ก็น่าจะยินดีทำบุญคือทำความดี น่าจะยินดีสั่งสมบุญคือสั่งสมความดีไม่เช่นนั้นแล้วก็จะสมปรารถนาไม่ได้ คือจะมีความสุขไม่ได้ ในทางตรงกันข้ามจะกลับมีความทุกข์ เพราะธรรมดานั้นผู้ที่จะอยู่โดยไม่ทำกรรมใดเลยไม่มี คือไม่ทำทั้งกรรมดีคือบุญและไม่ทำทั้งกรรมไม่ดีคือบาปไม่มี จะต้องทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่ง มักเป็นปรกติเช่นนี้

ดังนั้นผู้ไม่ทำบุญในเวลาใดจึงมักจะทำบาปในเวลานั้น ไม่มากก็น้อย ผลของบาปเป็นความทุกข์ ผู้ไม่ทำบุญจึงมักทำบาป จึงไม่มีความสุข ไม่เป็นสุข ดังกล่าวว่าจะสมปรารถนาไม่ได้ในเมื่อทุกคนปรารถนาความสุข

ทุกคนต้องตาย ท่านก็ตาย เราก็ตาย ไม่มีผู้ใดหนีความตายพ้น ไม่ช้าก็เร็วทุกคนจะต้องตาย นึกถึงความจริงนี้ไว้ให้เสมอ พร้อมๆ กับที่นึกด้วยว่า ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้ บุญหรือบาปเท่านั้นที่จะติดตามทุกคนไป ให้ความสุขให้ความ ทุกข์แก่ทุกคนผู้กระทำบุญหรือบาปไว้ นึกไว้เช่นนี้เสมอๆ นั่นแหละจะเป็นการบริหารจิต ห้ามจิตเสียจากความโลภได้ มากน้อยตามควรแก่ความปฏิบัติ

๙ ธันวาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 พ.ย. 2008, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๙. ผู้ประกอบด้วยปัญญา แม้เผชิญทุกข์ก็เป็นสุขได้

พุทธศาสนภาษิตที่ว่า “ละเหตุทุกข์ได้ เป็นสุขในที่ทั้งปวง”

การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่จะพยายามหาทางช่วยให้ทุกคนผู้มีทุกข์หรือมีเหตุแห่งทุกข์ต่างๆ กัน ได้เป็นสุขโดยสมควร แต่ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่บรรดาผู้มีทุกข์ทั้งหลายจะต้องร่วมมือช่วยตัวเองเต็มตามความสามารถ เพราะแม้แต่สมเด็จพระบรมศาสดา ก็ยังทรงแต่เพียงชี้ทางแห่งความพ้นทุกข์ให้ได้เท่านั้น การปฏิบัติให้สำเร็จผล อยู่ที่ตัวเราเอง ผู้ต่างก็มีทุกข์อยู่ด้วยกันทั้งหมด

เมื่อเกิดขึ้นแล้วทุกชีวิตย่อมเป็นทุกข์ ในบทสวดทำวัตรเช้ามีกล่าวถึงทุกข์ไว้ละเอียดพอสมควร ดังนั้นก่อนจะกล่าวถึงวิธีแก้ทุกข์ทั้งหลาย จะได้นำบางตอนในบทสวดนั้นมาแสดงไว้ให้พอได้รู้จักค่าตาของทุกข์กันตามสมควร ดังนี้

“พระสุคต ประกาศแล้ว เราได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงรู้อย่างนี้ว่า แม้ความเกิดเป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความแห้งใจ ความร่ำไรเพ้อ ความทุกข์ ความเสียใจ ความคับแค้นใจ เป็นทุกข์ ความประจวบสิ่งอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้แม้อันใด แม้อันนั้นเป็นทุกข์”

อันความแก่ความเจ็บความตายเป็นทุกข์ ก็เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ปรารถนา ไม่เป็นที่ชอบใจทุกวินาทีนี้มีผู้กำลังต้องเป็นทุกข์อย่างยิ่งเพราะความเจ็บความตาย ของตนเองบ้าง ของผู้เป็นที่รักที่เคารพใกล้ชิดสนิทสนมบ้าง

กล่าวได้ว่าทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคต ทุกวินาทีมีผู้ต้องเป็นทุกข์อย่างยิ่งเพราะความเจ็บความตาย ดังกล่าวโดยไม่เคยขาดระยะ ไม่เคยว่างเว้น ไม่เคยมีเวลาที่โลกว่างจากผู้มีความทุกข์ดังกล่าวแล้วเลย หรือแม้จะกล่าวก็ไม่ผิดว่า ไม่เคยมีเวลาที่โลกเบาบางจากผู้มีความทุกข์ดังกล่าวแล้วเลย ผู้มีความทุกข์ดังกล่าวมีเต็มโลกติดต่อกันอยู่เสมอ ทั้งๆ ที่หาได้มีผู้ใดสักคนเดียวไม่ ที่ปรารถนาจะมีความทุกข์

นี่กำลังกล่าวถึงความทุกข์ ที่เกิดจากความเจ็บและความตายเท่านั้น เพียงความทุกข์จากสองเหตุนี้เท่านั้นโลกก็ยังหนาแน่น ไม่มีขณะว่างเว้น ความเจ็บและความตายจึงนับได้ว่ามีอำนาจเหนือจิตใจยิ่งนัก จึงควรยิ่งนักที่จะได้ช่วยกันหาทางทำอย่างไรให้จิตใจตกอยู่ใต้อำนาจความเจ็บความตายให้น้อยที่สุด

กล่าวง่ายๆ ก็คือควรยิ่งนักที่จะช่วยตนเองรักษาจิตใจ ให้พ้นจากความทุกข์เพราะความเจ็บความตายแม้ไม่สามารถทำให้สิ้นทุกข์ในเรื่องนี้ได้สิ้นเชิง แต่ก็ควรทำให้บรรเทาเบาบางลงให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้

การแก้ทุกข์นั้น ความสำเร็จมากน้อยเพียงใดอยู่ที่การใช้ปัญญาคือใช้ความคิดนั่นเองให้ถูกต้องกับเรื่องราว ให้มีเหตุผล อย่าให้ขาดเหตุผล เหตุผลหรือปัญญาเป็นเครื่องแก้ไขสิ่งทั้งปวงได้ รวมทั้งแก้ไขทุกข์ทั้งปวงได้ด้วย

อย่าว่าแต่ทุกข์เล็กทุกข์น้อยเลย แม้แต่ทุกข์ยิ่งใหญ่ที่สุดปัญญาและเหตุผลก็แก้ได้ พระพุทธเจ้าทรงล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ พระอรหันต์ทั้งหลายล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ ก็ด้วยอำนาจของปัญญาและเหตุผลนี้แหละ การอบรมปัญญา อบรมให้มีเหตุผล จึงเป็นสิ่งสำคัญเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งนัก ผู้บริหารจิตทั้งหลายไม่ควรละเลยเสีย

ที่ว่าการอบรมปัญญาเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งจำเป็น ก็เพราะปัญญานี้แหละที่จะยังให้เกิดสุข ในพุทธศาสนภาษิตก็ยังกล่าวไว้ว่า “ความได้ปัญญาให้เกิดสุข” จนกระทั่งถึงมีกล่าวว่า “ปัญญาประเสริฐกว่าทรัพย์ และคนฉลาดนั้นถึงกับกล่าวว่าปัญญาประเสริฐสุด”

กล่าวไว้ข้างต้นว่า การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่จะพยายามหาทางช่วยทุกคนผู้มีทุกข์ให้ได้เป็นสุขโดยควร จะได้กระทำเป็นลำดับไปในรายการบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ทุกครั้ง สำหรับวันนี้เน้นลงในเรื่องการอบรมปัญญาเพราะสัจธรรมมีอยู่ว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เผชิญทุกข์ก็เป็นสุขได้

ดังพุทธศาสนภาษิตมีกล่าวว่า

“ปัญญาเป็นเครื่องวินิจฉัยสุตะ ปัญญาเป็นเครื่องเพิ่มพูนเกียรติคุณและชื่อเสียง นรชนในโลกนี้ประกอบด้วยปัญญาแล้ว แม้เผชิญทุกข์ก็ประสบสุขได้”

การอบรมปัญญาจึงจำเป็นสำหรับผู้ปรารถนาความสุขดังนี้แล

๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2008, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๐. ดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มีเลย

เมื่อเกิดขึ้นแล้วทุกชีวิตย่อมเป็นทุกข์ ละเหตุทุกข์ได้จึงจะเป็นสุข เหตุที่แท้จริงของทุกข์คือความเกิด จะได้ละทุกข์อย่างสิ้นเชิงจึงต้องไม่เกิดเท่านั้น ซึ่งในที่นี้จะไม่กล่าวถึง จะกล่าวถึงแต่เพียงการละเหตุแห่งทุกข์ที่ไม่ถึงกับหมดอย่างสิ้นเชิง แต่เป็นเพียงการละเหตุแห่งทุกข์ที่สามารถจะยังให้เกิดสุขได้พอสมควร แม้เพียงบางครั้งบางคราวเท่านั้นเป็นต้นว่า เมื่อเป็นทุกข์เพราะความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก จะมีทางละเหตุแห่งทุกข์นั้นได้อย่างไร

การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักนั้น
ในที่นี้หมายรวมถึงบุคคลผู้เป็นที่รัก
พูดอีกอย่างก็คือการสูญเสียผู้เป็นที่รักเป็นทุกข์ และการสูญเสียนี้ก็มีความหมายกว้าง
อาจหมายถึงการสูญเสียด้วยการตายจากของผู้เป็นที่รักหรือด้วยเหตุอื่นต่างๆ


ผู้เป็นที่รักนั้นก็หมายรวมถึงทุกคนผู้เป็นที่รัก เช่นมารดา บิดา สามี ภริยา บุตร ธิดา ตลอดถึงครูอาจารย์เพื่อนสนิทมิตรสหาย ซึ่งต่างก็มีความแก่ เจ็บ ตาย และความไม่เที่ยงอยู่ด้วยกันทั้งหมด ไม่มีผู้ใดเลยสักคนจะพ้นจากสัจธรรมนี้ได้ และสัจธรรมคือความแก่บ้าง ความเจ็บบ้าง ความตายบ้าง ความไม่เที่ยงบ้าง ของแต่ละคนนี้เองที่ทำให้เกิดความพลัดพราก เกิดความทุกข์ขึ้นอย่างที่กล่าวแล้วว่าเต็มแน่นโลกติดต่อกันอยู่ตลอดเวลาทุกวินาที โลกไม่เคยว่างเว้นจากผู้มีความทุกข์เพราะเหตุดังกล่าวเลย

และได้กล่าวแล้วด้วยว่า ให้ใช้ปัญญาในการแก้ทุกข์ เพราะผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น แม้เผชิญทุกข์ก็เป็นสุขได้ การใช้ปัญญาก็คือการใคร่ครวญพิจารณาให้เหตุผลเกิดขึ้นในจิตใจจนสามารถเอาชนะความคิดอันปราศจากเหตุผลที่เป็นเหตุแห่งความทุกข์เสียได้ เป็นความจริงแท้ที่ว่าความคิดอันประกอบด้วยปัญญาคือเหตุผลนั้น เมื่อผู้ใดสามารถนำมาใช้ให้ถูกต้องได้ในการแก้ทุกข์ดับทุกข์ของตน ผู้นั้นย่อมสามารถเป็นสุขได้ แม้ต้องเผชิญกับสิ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์ของคนผู้ไม่ประกอบด้วยปัญญาทั้งหลาย

ในการอบรมปัญญานี้ พุทธศาสนิกชนได้เปรียบเป็นอย่างยิ่ง เหตุด้วยมีพระพุทธเจ้าผู้ทรงบริบูรณ์ด้วยพระปัญญาคุณเป็นพระศาสดา ผู้ทรงสั่งสอนไว้ และมีพระสงฆ์สาวกทรงจำสั่งสอนสืบต่อมาจนทุกวันนี้ ทำให้มีแนวทางเป็นร่องรอยสำหรับพุทธศาสนิกทั้งหลายได้ดำเนินไปสู่ความสุขอันเกิดแต่การอบรมปัญญาได้

เมื่อต้องเผชิญกับความพลัดพรากอันเกิดจากการตายของผู้เป็นที่รัก ความทุกข์แม้เกิดขึ้นในผู้ไม่เคยอบรมปัญญา ไม่เคยสดับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ย่อมเป็นความทุกข์ที่หนัก และจักดำรงอยู่ยืนนานกว่าเมื่อเกิดขึ้นในผู้เคยสดับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ และผู้เคยอบรมปัญญา

พระพุทธองค์ทรงสอนให้มีสติใช้ปัญญาพิจารณาดับทุกข์อันเกิดแต่ความตายไว้เป็นอันมากต่าง ๆ กัน แต่ละอย่าง แม้ตามลำพังเพียงอย่างเดียว ก็สามารถนำให้ผู้ประสบกับความพลัดพรากจากตายของผู้เป็นที่รักคลายความทุกข์ความเศร้าโศกเสียใจได้ ถ้ารู้จักน้อมนำที่ทรงสั่งสอนไว้นั้นมาพิจารณาจนเกิดปัญญาเข้าใจเห็นจริงด้วยแม้เพียงเล็กน้อย เป็นต้นว่า ในพุทธศาสนภาษิตมีกล่าวไว้ว่า “จะอยู่ในอากาศ อยู่กลางสมุทรเข้าไปสู่หลืบเขา ก็ไม่พ้นจากมฤตยูได้ ประเทศคือดินแดนที่มฤตยูจะไม่รุกรานผู้อยู่ ไม่มี”

แม้ผู้ได้สดับจะน้อมนำไปพิจารณาจนเกิดความเห็นจริงในสัจจะนี้ในขณะที่เกิดความทุกข์ เพราะการพลัดพรากจากตายของผู้เป็นที่รัก ความทุกข์ก็ย่อมบรรเทาลงได้เป็นธรรมดาเมื่อเกิดความคิดแม้เพียงชั่ววูบแวบว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่มีผู้ใดหนีความตายพ้นจริงๆ ไม่ตายวันนี้ก็ต้องตายวันหน้า จริงอยู่อาจจะคิดไปว่าถึงจะตายก็ให้อยู่ช้าไปกว่านี้ก็ยังดี แต่ความระลึกรู้ในความจริงว่าทุกคนต้องตายแน่ ก็จะช่วยผ่อนคลายความทุกข์โศกลงได้ตามสมควร อย่างไรก็ตาม ยังมีสิ่งที่ควรนำมาติดประกอบกับสัจธรรมที่ว่าทุกชีวิตหนีความตายไม่พ้น ต้องตายด้วยกันหมดทั้งสิ้น

๒๓ ธันวาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2008, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๑. เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน

อาทิตย์นี้เป็นอาทิตย์สุดท้ายของปี ๒๕๑๖ ซึ่งเมื่อ ๕๑ อาทิตย์มาแล้วเป็นปีใหม่และกำลังจะเป็นปีเก่าไปในอีก ๒ วันข้างหน้านี้ นี่เป็นอนิจจังความไม่เที่ยงอย่างหนึ่งที่ผู้บริหารจิตทั้งหลายสมควรจะหยิบยกขึ้นพิจารณา ให้เห็นว่าความไม่เที่ยงมีอยู่จริง วันเวลาก็ไม่เที่ยง ต้องล่วงไป

พุทธศาสนภาษิตบทหนึ่งมีว่า “วันคืนย่อมล่วงไป ชีวิตย่อมหมดเข้าไป อายุของสัตว์ย่อมสิ้นไป ดุจน้ำแห่งลำธารย่อมหมดไปฉะนั้น” ขอขณะจะสิ้นไปแห่งปี ๒๕๑๖ ได้เป็นประโยชน์แก่ทุกจิตใจด้วยการน้อมนำมาคิดอย่างผู้มีปัญญา อย่างผู้ไม่ประมาท จนสามารถบรรเทาความทุกข์ที่มีอยู่ให้ลดน้อยลงและเพิ่มความสุขให้ทวียิ่งขึ้นแก่จิตใจโดยทั่วกันเถิด

พุทธศาสนภาษิตที่นำมากล่าวข้างต้นนี้ อาจพิจารณาแล้วน้อมนำให้เกิดคุณเกิดประโยชน์นานาประการ อาจทำให้เกิดความไม่ประมาท ไม่มัวผัดวันประกันพรุ่งที่จะทำกิจอันควรทำทั้งปวง เพราะเมื่อวันคืนล่วงไป ชีวิตหมดเข้าไป หรืออายุสิ้นไปเหมือนลำธารหมดน้ำ การผัดวันประกันพรุ่งก็ย่อมหมายถึงการมีเวลาน้อยเข้าหรือบางทีก็หมดเวลาเสียเลยสำหรับจะทำกิจอันควรทำนั้นๆ ได้

เป็นต้นว่าจะทำบุญทำทานการกุศลจะเข้าวัดถือศีลฟังเทศน์ฟังธรรม ถ้ามัวผัดวันประกันพรุ่งให้ถึงเทศกาลนั้นเทศกาลนี้หรือให้อายุเท่านั้นเท่านี้เสียก่อน เวลาก็จะน้อยเข้าสำหรับที่จะได้ทำสิ่งที่ควรทำเหล่านั้นหรือบางทีก็อาจจะไม่มีเวลาเลยก็ได้ เพราะดังในพุทธศาสนภาษิตบทข้างต้นนั้นที่กล่าวว่า อายุของสัตว์คือของเราทุกคนนี้เอง ย่อมจะต้องสิ้นไป และเมื่อสัตว์จะตายไม่มีผู้ป้องกันได้

“เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน” นี้ก็เป็นพุทธศาสนภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งแม้นำมาพิจารณาใคร่ครวญตรองตามด้วยดีจะสามารถทำให้ผู้มีความทุกข์เพราะการพลัดพรากจากตายของผู้เป็นที่รัก สามารถผ่อนคลายความทุกข์ของตนได้ โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดความรู้สึกว่าผู้ตายไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเอาใจใส่จริงจังจึงต้องเสียชีวิตไปในกรณีที่ความทุกข์เกิดเพราะความรู้สึกดังกล่าว

แม้มีสติคิดขึ้นได้ถึงพุทธศาสนสุภาษิตดังกล่าวที่ว่า “เมื่อสัตว์จะตาย ไม่มีผู้ป้องกัน” ก็จะเข้าใจได้ว่าเพราะจะตายจึงพ้นความสามารถของผู้จะรักษาเพื่อป้องกันไว้ได้ เพราะสัจจะมีอยู่เช่นนั้นจริง เมื่อจะตายก็ไม่มีผู้ป้องกันได้ คิดเสียเช่นนี้ก็จะทำให้ความทุกข์ลดน้อยลง อย่าคิดว่าเพราะไม่มีผู้ป้องกันจึงต้องตาย การคิดว่าเพราะไม่มีผู้ป้องกันจึงตายเป็นการใช้ความคิดที่ผิดที่จะเป็นเหตุแห่งความทุกข์ที่ยิ่งขึ้น

ผู้บริหารจิตคือผู้ปรารถนาจะรักษาจิต ยกจิต ให้สูง ให้ห่างไกลจากความทุกข์ความเศร้าหมอง ดังนั้นไม่ว่าความทุกข์ใดเกิดขึ้น จึงไม่ควรจะปล่อยให้ความคิดในทางเพิ่มทุกข์มีอำนาจเหนือจิตใจ ควรต้องมีสติมีอำนาจเหนือความคิดโดยใช้ปัญญาควบคุมความคิด แม้บางทีปัญญาของตนเองไม่พอก็อาจพึ่งพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ได้ ด้วยการระลึกถึงพระธรรมคำที่สั่งสอนไว้ที่ทรงชี้แจงแสดงไว้ ดังระลึกถึงพุทธศาสนสุภาษิตดังกล่าวเป็นต้น

บางทีเมื่อผู้พลัดพรากจากตายเป็นผู้มีอายุน้อย ผู้อยู่หลังก็จะโศกเศร้าเสียใจเป็นทุกข์หนัก ด้วยความคิดว่า อายุยังน้อย ยังควรจะอยู่ต่อไปได้อีกนานนัก ไม่ควรจะด่วนมาสิ้นชีวิตไปในวัยอันไม่สมควร แก่เฒ่าเสียก่อนแล้วตายจะไม่เสียใจเลยเพราะสมควรแล้ว ความคิดเช่นนี้เป็นเหตุเพิ่มทุกข์ให้หนักขึ้นอีกประการหนึ่ง จึงเป็นความคิดอีกประการหนึ่งที่ไม่ถูก ที่ไม่ให้คุณ ให้แต่โทษโดยแท้

ผู้มาบริหารจิตควรได้สังวรระวังอย่างดีที่สุด ที่จะไม่ปล่อยให้ความคิดเช่นนี้มีอำนาจเหนือจิตใจ จนถึงก่อโทษให้เป็นความทุกข์ที่ยิ่งขึ้น ควรต้องใช้สติใช้ปัญญาเปลี่ยนความคิดที่ไม่ถูกต้องนี้ให้เป็นความคิดที่ถูก คือให้เป็นความคิดที่จะช่วยผ่อนคลายความทุกข์อันเกิดจากการพลัดพรากจากตายให้ลดน้อยลงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

เช่นคิดว่าผู้ที่ตายตั้งแต่ยังไม่ทันได้ทำบาปและความไม่ดีใด ๆ ที่จะให้ผลไม่ดีนั้นดีกว่าผู้ที่มีอายุยืนยาวแต่ทำบาปกรรมและความไม่ดีมากมาย เพราะผู้ทำกรรมเช่นใดย่อมจะได้รับผลของกรรมนั้น อายุยืนแต่ทำบาปกรรมมากก็จะต้องได้รับผลของบาปกรรมมาก พยายามคิดว่าผู้ที่เสียชีวิตเมื่ออายุน้อยนั้น ก็ดีอยู่ที่ไม่มีโอกาสอยู่ทำความไม่ดี เพราะก็ไม่มีใครรู้ได้ว่าหากมีอายุยืนยาวสืบไปเขาจะทำบาปกรรมเพียงใดหรือไม่

เมื่อเขาตายไปแล้ว ตั้งแต่อายุยังน้อย ยังไม่ได้ทำบาปกรรมหรือทำก็เพียงเล็กน้อย และแม้เขาจะไม่ทันได้ทำบุญกรรมหรือทำก็เพียงเล็กน้อย เราผู้อยู่หลังก็สามารถจะทำอุทิศให้เขาได้ บุญนี้แหละจะเป็นที่พึ่งของเขา เช่นเดียวกับบุญนี้แหละจะเป็นที่พึ่งของเราเป็นที่พึ่งของทุกคนนั่นแล

ปีใหม่ใกล้จะมาถึง และปีนี้กำลังจะล่วงผ่านพ้นไปเป็นปีเก่า รายการบริหารทางจิตขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคลสมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ทรงสั่งสมขึ้นซึ่งบุญอยู่เป็นนิตย์ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระบรมราชชนนี ฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ฯ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ขอถวายพระพร

กับขออำนวยพรให้ทุกท่านมีศรัทธามั่นคงในการทำบุญทำดีอันจะนำสุขมาให้ทั้งปัจจุบันและอนาคตทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ขออำนวยพร

๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๖

(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2008, 10:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ต.ค. 2006, 14:49
โพสต์: 1342


 ข้อมูลส่วนตัว www


๑๒. สำหรับผู้ล่วงลับแล้ว ที่พึงคือบุญ

ปีใหม่แล้ว จากพุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นพุทธศักราช ๒๕๑๗ แล้ว เหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นในปีเก่าก็ได้ผ่านพ้นไปแล้ว จะยังเหมือนไม่ผ่านพ้นไป ไม่หมดสิ้นไปก็แต่เพียงสำหรับผู้ที่ยังผูกพันยึดมั่นไว้หนาแน่นเท่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ทุกสิ่งเกิดขึ้นแล้วย่อมผ่านไป ย่อมหมดสิ้นไป เหมือนกาลเวลาและเหมือนชีวิตสัตว์บุคคล การไม่ยึดมั่นถือมั่นจนเกิดเป็นความทุกข์ทำลายจิตใจตนเองนั่นแหละถูก

นั่นแหละคือพรปีใหม่สำหรับตนเองที่ประเสริฐสุด จึงขอให้ผู้มาบริหารจิตทั้งหลายพยายามอย่ายึดมั่นในสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนเกินไปจนกลายเป็นความทุกข์ การวางความยึดมั่นถือมั่นลงได้เพียงใดนั่นแหละจะสามารถมีความสุขได้เพียงนั้น

ได้กล่าวมาแล้วถึงวิธีแก้ทุกข์อันเกิดจากความพลัดพรากจากตายของผู้เป็นที่รักว่าประการหนึ่งคือ ต้องเชื่อว่าบุญจะเป็นที่พึ่งได้ ด้วยการอุทิศส่วนแห่งบุญที่เราทำแล้วเพื่อผู้ล่วงลับ เราก็ได้ช่วยเพิ่มที่พึ่งให้แก่เขา ให้เขาได้มีที่พึ่ง อันผู้มีที่พึ่งนั้นเป็นผู้ที่จะดำรงอยู่ได้ด้วยความเกษมสวัสดีมากน้อยตามความมั่นคงของที่พึ่ง

ที่พึ่งมั่นคงมากก็สามารถยังให้เกิดความสุขสวัสดีได้มาก ที่พึ่งมั่นคงน้อยก็ยังให้เกิดความสุขสวัสดีได้ น้อยผู้ใดเป็นที่รัก เราก็ควรหาที่พึ่งให้เขา ให้มั่นคงที่สุดเท่าที่จะสามารถหาได้ สำหรับผู้ล่วงลับแล้วที่พึ่งมีอยู่อย่างเดียวคือบุญ

เราก็ต้องทำบุญอุทิศให้เขาเต็มตามกำลังความสามารถของเรา ถ้าเป็นการต้องเสียเงินทองก็ทำชนิดที่เรียกว่ามีน้อยทำน้อย มีมากทำมาก ทำอย่างไม่ให้ตนเองเดือดร้อน ทำอย่างไม่ให้ผู้ใดเดือดร้อน นั่นเรียกว่าทำบุญพอสมควร ทำบุญถูกต้อง และบุญนั้นจะเป็นที่พึ่งช่วยปกป้องคุ้มครองผู้ล่วงลับแล้วได้จริง

ดังนั้นแทนที่จะทุ่มเทจิตใจหมกมุ่นอยู่กับความเศร้าโศกเสียใจอาลัยถึง ควรจะทุ่มเทเพื่อการบุญการกุศลอุทิศไป จึงจะเกิดผลเป็นการช่วยเหลือเขาได้จริง ขณะเดียวกันก็ช่วยเหลือตนเองได้ด้วย ไม่ให้จิตใจต้องมืดมนด้วยความทุกข์ความโศกเศร้าโดยหาประโยชน์มิได้ทั้งแก่ตัวเราเองและผู้ล่วงลับแล้ว

อย่างไรก็ตาม เรื่องการทำบุญนี้เป็นเรื่องอัศจรรย์จะศรัทธาหรือไม่ก็ตาม ในผลของบุญ คือจะเชื่อหรือไม่ก็ตามว่าการทำบุญจะให้ผลดี แต่ถ้าทำแล้ว บุญก็ย่อมส่งผลที่ดีแน่นอน ในกรณีที่จะแก้ทุกข์เพราะความพลัดพรากจากตายของผู้เป็นที่รัก แม้ไม่เชื่อว่าทำบุญแล้วจะช่วยให้ใจสบายขึ้นได้ แต่ถ้าลงมือทำให้เต็มความสามารถดังกล่าว ผลคือความสบายใจย่อมเกิดขึ้นแน่นอน

บางคน ซึ่งน่าจะมีมาก มักปล่อยใจให้คิดวนเวียนอยู่แต่ว่า ผู้ที่ล่วงลับแล้วเคยพูดอย่างนั้น เคยทำอย่างนั้น น่าสงสารอย่างนั้น อะไรทำนองนี้ ที่เป็นการเพิ่มความเศร้าโศกเสียใจให้แก่ตนเอง เช่นนี้ควรจะคิดดูว่า การคิดจนโศกเศร้าเสียใจหนักขึ้นเช่นนั้นทำให้อะไรดีขึ้นบ้าง จะช่วยให้ผู้ล่วงลับแล้วเป็นสุขขึ้นหรือ กลับมีชีวิตขึ้นหรือก็เป็นไปไม่ได้ทั้งสิ้น

สำหรับผู้ที่เชื่อว่าผู้ล่วงลับแล้วสามารถรู้เห็นอะไรๆ ได้ก็น่าจะเชื่อว่า หากเขาได้รู้เห็นความทุกข์โศกนักหนาของเรา เขาย่อมเกิดความทุกข์ความห่วงใยเป็นการเพิ่มทุกข์ให้แก่เขา ไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีความรักความหวังดีพึงทำต่อกัน

ดังนั้น ก็ควรหักห้ามความคิดวนเวียนอยู่ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับผู้ล่วงลับที่เป็นเหตุเพิ่มความเศร้าโศกเสียใจอาลัยถึงนั้นเสีย ทำความมั่นใจให้เกิดว่านั่นไม่ใช่สิ่งถูกต้อง ไม่ใช่กิจอันพึงทำ แม้จะเป็นการยากที่จะห้ามความคิดดังกล่าวได้สำเร็จ เพราะการปล่อยใจให้คิดวุ่นวายเป็นเรื่องที่พอจะคิดเป็นเรื่องเคยชินกันเสียมากแล้ว จนแก้ไขได้ยากแล้ว

แต่ผู้มาบริหารจิตแม้พิจารณาด้วยเหตุผลให้เห็นโทษของการคิดแบบฟุ้งซ่านไร้ประโยชน์เช่นนั้น ก็ย่อมสามารถจะฝืนใจตนเองห้ามความคิดนั้นได้ อาจจะได้ผลไปทีละเล็กละน้อย แต่ก็ดีกว่าจะไม่ลงมือทำเสียเลย ใจที่เต็มไปด้วยความเศร้าโศกเสียใจอาลัยถึงผู้ล่วงลับแล้วเป็นใจที่หนัก มืด ผู้ใดต้องการให้จิตใจของตนมีลักษณะเช่นนั้น จึงควรปล่อยใจให้คิดฟุ้งวุ่นไป

แต่ถ้าต้องการให้ใจตนเองโปร่งเบาผ่องใส มีความร่าเริงเป็นสุข สามารถคิดทำการบุญการกุศลได้ ก็ควรมีสติระงับความทุกข์โศกของตนด้วยการหยุดคิดถึงผู้ล่วงลับแล้วในทำนองดังกล่าวเสีย เขาตายไปแล้ว ช่วยตัวเองไม่ได้แล้ว ถ้าเขาเป็นผู้ที่เรารัก เราก็ต้องช่วยเขา ทำบุญอุทิศให้เป็นที่พึ่งของเขา แต่ก่อนจะช่วยเขาได้ เราต้องช่วยตนเองได้ก่อน ต้องดึงใจให้พ้นความมืดมนเพราะความทุกข์โศกเสียก่อนจึงควร

๖ มกราคม ๒๕๑๗


(มีต่อ)

.....................................................
.. ทุกข์ใดดับได้ด้วยปัญญา ทุกข์นั้นจะไม่เกิดอีก ..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 58 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 10 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร