วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 07:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติมีส่วนที่เป็นบทสนทนาอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อมุมมอง
ว่าด้วยชีวิต การดําเนินชีวิตและการจัดการปัญหาชีวิต ซึ่งขอคัดสรรนํามาเล่าใหม่ในบทความนี้
รวม ๔๐ เรื่องดังต่อไปนี้**

๑. เรื่องคําถามตอบของชีวิต
ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปเทศนาโปรดชาวเมืองอาฬวี โดยทรงสอนให้ชาวเมืองเจริญ
มรณสติ คือให้ระลึกถึงวาชีวิตนี้สั้นนัก ชีวิตนี้ไม่แน่นอน แต่ที่แน่นอนคือทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย
ผู้ที่นึกถึงความจริงข้อนี้อยู่เนืองๆ เมื่อถึงคราวต้องตายจะวางใจได้อยางสงบ ่ “เปสการี” บุตรสาว
ช่างทอผ้า ประทับใจพระธรรมเทศนานี้มาก นางจึงเจริญมรณสติทุกวันติดต่อกนเป็นเวลาสามปี

วันหนึ่งพระพุทธเจ้าตรวจดูด้วยญาณทราบว่าเปสการีนี้เจริญมรณสติมา ๓ ปี แล้ว และ
นางกำลังจะตายในไม่ช้านี้ถ้าตายโดยยังไม่บรรลุธรรมจะเป็นการที่นางเสียโอกาส ควรที่จะเสด็จ
ไปสนทนาธรรมกับนางก่อนที่นางจะตาย โดยเมื่อถามปัญหา ๔ ข้อ นางจักแก้ปัญหานั้น และ
จักบรรลุโสดาปัตติผล เรื่องราวชีวิตอันเล็กน้อยของนางจักเป็นประโยชน์แก่มหาชนในภายหน้าด้วย
พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังเมืองอาฬวีอีกครั้งเพื่อโปรดเปสการีโดยตรง ชาวเมืองเมื่อทราบข่าวว่า
พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาก็ดีใจ ต่างเตรียมภัตตาหารเพื่อถวายพระสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็น
ประธาน เปสการีก็รู้สึกแสนจะดีใจและตั้งใจจะไปร่วมฟังธรรมด้วย

แต่วันนั้นบิดาของเปสการีสั่งให้นางกรอด้ายหลอดไว้ให้เพียงพอแล้วให้รีบนําไปส่งให้บิดา
ซึ่งจะรออยูที่โรงทอผ้า เปสการีคิดว่า ถ้าจะไปฟังธรรมโดยไม่ทํางานให้บิดาก่อน บิดาก็จะโกรธ
และทุบตีเอา นางจึงตัดสินใจทํางานให้บิดาก่อน ถ้าทําเสร็จเร็วก็จะมีโอกาสฟังธรรมบ้างแม้จะไม่ได้
ฟังแต่ต้นก็ตาม นางรีบกรอด้ายหลอดจนเพียงพอ เอาใส่ตะกร้าแล้วเดินไปยังโรงทอผ้า
ซึ่งโรงทอผ้าอยูเลยสถานที่ที่พระพุทธเจ้าจะแสดง ่ธรรม นางจึงแวะนมัสการพระพุทธเจ้าก่อน
ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าประทับนังท่ามกลางชาวเมือง
นางรู้สึกปีติจึงวางตะกร้าด้ายหลอดและเข้าไปถวายบังคม
พระพุทธเจ้าตรัสถามเปสการีวา ่ “เธอมาจากไหน”
เปสการีกราบทูลวา ่ “ไม่ทราบ พระเจ้าค่ะ”
พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า“เธอจะไปไหน”
เปสการีกราบทูลว่า “ไม่ทราบ พระเจ้าค่ะ”
พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “เธอไม่ทราบหรือ”
เปสการีกราบทูลว่า “ทราบพระเจ้าค่ะ”
พระพุทธเจ้าตรัสถามอีกว่า“เธอทราบหรือ”
เปสการีกราบทูลว่า “ไม่ทราบพระเจ้าค่ะ”

ชาวเมืองที่นังฟังอยู่ ต่างก็มีความรู้สึกวาเปสการีกำลังพูดจาแบบกวนๆ จึงพากันบ่นอื้ออึงวา่
เด็กสาวคนนี้ช่างไม่รู้ความควรไม่ควรเสียบ้างเลย ถึงขนาดมาพูดจาลักษณะเช่นนี้กบั พระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงทําสัญญาณให้ชาวเมืองสงบเสียงลง แล้วตรัสถามเปสการีว่า “เมื่อเราถาม
ว่า เธอมาจากไหน ทําไมเธอจึงตอบว่าไม่ทราบ”
เปสการี กราบทูลว่า “พระองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่าหม่อมฉันย่อมต้องมาจากบ้านของ
หม่อมฉัน ดังนั้น ที่พระองค์ทรงถามจึงคงมิได้หมายความตามธรรมดา หากแต่คงหมายความว่า
หม่อมฉันมาจากไหนจึงมาเกิดในชาตินี้ ซึ่งเรื่องนี้หม่อมฉันไม่ทราบ จึงกราบทูลไปตามนั้น”
“แล้วที่เราถามวา ่ เธอจะไปไหน ทําไมเธอจึงตอบวาไม่ทราบ”

“พระองค์ทรงทราบอยู่แล้วว่า หม่อมฉันจะไปโรงทอผ้า พระองค์คงไม่ทรงถามเรื่องนี้แน่
หากแต่คงหมายความว่า เมื่อหม่อมฉันตายจากชาตินี้แล้ว จะไปเกิดที่ไหน ซึ่ งเรื่ องนี้หม่อมฉัน
ก็ไม่ทราบเช่นกน จึงกราบทูลไปตามนั้น”
“ถ้าเช่นนั้น เมื่อเราถามว่า เธอไม่ทราบหรือ เธอกลับตอบว่าทราบ ครั้นเราถามซํ้าว่า
เธอทราบหรือ เธอตอบว่าไม่ทราบ ทําไมจึงเป็นเช่นนั้น”
“เรื่องนี้ก็เช่นกันพระเจ้าค่ะ เมื่อทรงถามว่าไม่ทราบหรือ คงหมายความวาไม่ทราบหรือว่า
จะตาย หม่อมฉันจึงกราบทูลวาทราบ คือทราบว่าต้องตายแน่นอน ส่วนเมื่อพระองค์ตรัสถามอีกว่า
ทราบหรือ คงหมายความว่าทราบหรือว่าจะตายเมื่อใด เรื่องนี้หม่อมฉันไม่ทราบ จึงกราบทูลว่า ไม่ทราบ”
ชาวเมืองได้ฟังเช่นนั้นก็พากนั อึ้งด้วยความรู้สึกทึ่งในความฉลาดแหลมคมของเปสการี
พระพุทธเจ้าทรงประทานสาธุการวา ดีแล้ว ่

จากนั้นพระองค์ทรงตรัสว่า “ชีวิต แท้จริงแล้วเป็นเพียงสิ่งประกอบด้วยขันธ์ห้าคือ
รูปความรู้สึก ความจําได้หมายรู้ ความคิดปรุงแต่ง และความรับรู้อันเป็นกองทุกข์ล้วนๆ
แต่สัตว์ทั้งหลายไม่รู้ความจริง คิดว่าเป็นกองสุขบ้างทุกข์บ้าง จึงคอยติดยึดลุ่มหลงว่าเป็นตัวตน
ของตน โลกนี้มืดมนนัก น้อยคนที่จะรู้แจ้ง แต่หากได้รู้แจ้งแล้วก็เปรียบเสมือนนกที่หลุดพ้น
ออกจากตาข่ายได้”

เปสการีพิจารณาตามด้วยใจอันเป็นสัมมาสมาธิก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน เสร็จแล้วเปสการี
ก็ถวายบังคมลาพระพุทธเจ้า และรีบไปยังโรงทอผ้าเพื่อนํากระเช้าด้ายหลอดไปส่งให้บิดา
แต่เวลานั้นบิดาของนางนังรออยู ่ ่นานจนผล็อยหลับคาเครื่องทอผ้า โดยมือหนึ่งยกไม้ที่ใช้กระตุก
ด้ายค้างอยู ครั้นเปสการียื่นกระเช้าให้บิดา บิดาตกใจตื่น กระชากไม้ที่ยกค้างอยู่
เข้าหาตัวอย่างแรง ปลายไม้กระแทกแทงทะลุทรวงอกเปสการี นางล้มตายอยู่ตรงนั้นเอง
และไปเกิดใหม่เป็นเทพธิดาในสวรรค์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. เรื่องฆ่าอะไรจึงเป็นสุข

นางพราหมณีคนหนึ่งชื่อ “ธนัญชานี” มีสามีเป็นพราหมณ์ชื่อ “พราหมณ์ภารทวาชโคตร”
นางธนัญชานีเป็นอุบาสิกาที่บรรลุโสดาบันแล้ว ส่วนพราหมณ์ภารทวาชโคตรไม่มีความเลื่อมใส
ในพระพุทธเจ้า ทั้งสองแม้มีความนับถือต่างกันแต่ก็รักกันและอยู่กันด้วยดี วันใดที่พราหมณ์
ภารทวาชโคตรเลี้ยงอาหารแก่พวกพราหมณ์ นางธนัญชานีก็จะช่วยเหลือสามีในการทําอาหาร
แต่วันใดที่นางธนัญชานี ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน พราหมณ์
ภารทวาชโคตรก็จะหนีออกจากบ้านแต่เช้าตรู่เพราะไม่ชอบใจที่นางธนัญชานีมักจะกล่าว
คําสรรเสริญพระพุทธคุณ

วันหนึ่ง พราหมณ์ภารทวาชโคตรบอกกับนางธนัญชานีว่า “พรุ่งนี้จะมีพวกพราหมณ์
จํานวนมากมาทานอาหารที่บ้านเรา ขอร้องสักวันหนึ่งเถิดว่าเธออย่าได้กล่าวคําสรรเสริญ
พระพุทธคุณเป็นอันขาด เพราะเมื่อพวกพราหมณ์ได้ยินแล้วจะไม่พอใจ เธอจงอยาได้ทําให้เราแตก ่
จากเพื่อนพราหมณ์ทั้งหลายเลย”

ครั้นวันรุ่งขึ้น ขณะที่นางธนัญชานี กาลังนําอาหารเข้าไปให้แก่พวกพราหมณ์ที่พราหมณ์
ภารทวาชโคตรเชิญมาที่บ้าน นางได้ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า “ขอนอบน้อมแด่
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เมื่อนางธนัญชานีกล่าวอยางนี ่ ้แล้ว พวกพราหมณ์ก็พากนโกรธแค้นและพูด
กันว่า “พวกเราถูกคนนอกลัทธิของเราหลอกลวงให้มาที่นี่” ว่าแล้วต่างก็พากันออกจากบ้านของ
พราหมณ์ภารทวาชโคตร พราหมณ์ภารทวาชโคตรโกรธมากจึงพูดกับนางธนัญชานีว่า
“แม่หญิงถ่อยนี้กล่าวคุณของสมณะโล้นไม่รู้จักงด เราจักไปยกวาทะกับสมณะโล้นให้รู้เรื่องกันเสียที”

นางธนัญชานีก็กล่าวว่า “ท่านพราหมณ์ ฉันยังไม่เห็นบุคคลใดจะพึงยกถ้อยคําต่อ
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย เอาเถิด ท่านจงไป แม้ไปแล้วก็จักรู้”
พราหมณ์ภารทวาชโคตรรู้สึกโกรธมากขึ้น จึงไปยังเชตวันวิหารและเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
ถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรก็กล่าวทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
“บุคคลฆ่าอะไรได้ ถึงจะนอนเป็นสุข ฆ่าอะไรได้ถึงจะไม่
เศร้าโศก พระโคดมชอบใจการฆ่าอะไรมากที่สุด”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “บุคคลฆ่าความโกรธได้ย่อมนอนเป็นสุข ฆ่าความโกรธได้ ยอมไม ่ ่
เศร้าโศก ดูก่อน พราหมณ์ ความโกรธมียอดหวานแต่มีรากเป็นพิษ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย
ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ เพราะว่าเมื่อบุคคลฆ่าความโกรธนั้นได้แล้ว ใจย่อมสงบ รู้เหตุ
และผล รู้ควรรู้คลาย ปล่อยวางได้ และเข้าถึงความจริง”

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ภารทวาชโคตรก็ได้สติ กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า
“ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ทรงประกาศพระธรรมอันตัดตรง
เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่ควํ่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องไฟให้แก่ที่มืด
ด้วยคิดว่า คนมีจักษุย่อมเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอนับถือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
วาเป็นสรณะ ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาในสํานักของพระโคดมผู้เจริญ ่ ”

หลังจากที่พราหมณ์ภารทวาชโคตรได้บรรพชาในสํานักของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ปฏิบัติ
วิปัสสนากรรมฐานในวิถีแห่งสติปัฏฐานสี่ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 10:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๓. เรื่องการกล่าววาจาของพระพุุทธเจ้า

สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับ ณ เวฬุวนาราม ใกล้กรุงราชคฤห์ “นิครนถนาฏบุตร”
อาจารย์ของนักบวชลัทธิหนึ่ง ได้เกลี้ยกล่อมเสี้ยมสอนให้ “เจ้าชายอภัยราชกุมาร” ไปทูลถาม
พระพุทธเจ้าเกี่ยวกบการกล่าววาจา โดยออกอุบายให้เจ้าชายอภัยราชกุมารทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
พระพุทธเจ้ากล่าววาจาที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นหรือไม่ ถ้าตอบวากล่าว ก็ให้ย้อนวา ่
พระองค์จะต่างอะไรกบปุถุชน เพราะปุถุชนก็กล่าววาจาเช่นนั้น แต่ถ้าตอบวา ไม่ลกล่าว ก็ให้ย้อนวา ่
พระองค์เคยว่ากล่าวพระเทวทัตอย่างรุ นแรงจนพระเทวทัตไม่พอใจอย่างมาก

การถามปัญหา สองเงื่อนเช่นนี้ ก็โดยคาดหมายวาพระพุทธเจ้าจะทรงมีอาการเหมือนกลืนไม่เข้าคายไม่ออกต่อมาวันหนึ่ง เจ้าชายอภัยราชกุมารจึงกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “พระตถาคตตรัสวาจาที่ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจของคนอื่นหรือไม่” พระพุทธเจ้าตรัสตอบวา ่ “ในข้อนี้ มิใช่ปัญหาที่จะ
พึงตอบในแง่เดียว”และตรัสถามเจ้าชายอภัยราชกุมารว่า “เด็กที่อมเอาไม้หรือกระเบื้องเข้าไป
ในปาก เพราะความพลั้งเผลอของท่าน ท่านจะทําอย่างไร” เจ้าชายอภัยราชกุมารกราบทูลตอบว่า

“ถ้านําออกในเบื้องแรกไม่ได้ ก็ต้องประคองจับศีรษะเด็กด้วยมือหนึ่ง แล้วใช้นิ้วของอีกมือหนึ่ง
ดึงเอาสิ่งของนั้นออกมา ซึ่งอาจทําให้เด็กเจ็บบ้าง แต่ก็จําเป็ นต้องทําเพื่อความอนุเคราะห์ในเด็กนั้น”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสวา ่ “ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กล่าวคือ

วาจาใดไม่จริง ไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่วาจะเป็น ่ ที่รักเป็นที่พอใจของคนอื่นหรือไม่ก็ตาม ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น วาจาใดจริง แท้ แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นที่รักเป็นที่พอใจของคนอื่นชหรือไม่ก็ตาม ตถาคตก็ไม่กล่าววาจานั้น
วาจาใดจริงแท้ประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตยอมรู้และเลือกเวลาอันควรที่จะกล่าชววาจานั้นวาจาใดจริง แท้
ประกอบด้วยประโยชน์ เป็ นที่รัก เป็ นที่พอใจของคนอื่น ตถาคตก็ย่อมรู้และเลือกเวลาอันควรที่จะกล่าววาจานั้น ทั้งนี้เพราะตถาคตมีความอนุเคราะห์ในสัตว์ทั้งหลาย”

เจ้าชายอภัยราชกุมารกราบทูลถามว่า “ในการที่พระตถาคตทรงตอบปัญหาได้กระจ่างแจ้ง
ทุกอยางเช่นนี้ เป็นเพราะพระองค์ทรงคิดไว้ล่วงหน้าก่อนหรือไม่วาถ้ามีคนถามเช่นนี้ จะตอบเช่นนี้หรือวาเรื่องนั้นแจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยฐานะทีเดียวพระพุทธเจ้าตรัสย้อนถามว่า “ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในส่วนประกอบน้อยใหญ่ของรถใช่หรือไม่” เจ้าชายอภัยราชกุมารทูลตอบวา ่ “เป็นเช่นนั้น”
พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “เมื่อมีผู้ถามว่า สิ่งนั้นเป็นส่วนประกอบน้อยใหญ่ของรถ ใช่หรือไม่

ท่านสามารถตอบได้เพราะคิดไว้ล่วงหน้าก่อนหรือไม่วาถ้ามีคนถามเช่นนี้ จะตอบเช่นนี้
หรือว่าเรื่องนั้นแจ่มแจ้งแก่ท่านโดยฐานะทีเดียว” เจ้าชายอภัยราชกุมารทูลตอบว่า “ข้าพระองค์
เป็นช่างประกอบรถรู้เจนจบในส่วนประกอบน้อยใหญ่ของรถ เรื่องรถจึงเป็นเรื่องที่แจ่มแจ้งแก่
ข้าพระองค์โดยฐานะทีเดียว”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบวา ่ “เราตถาคตก็ฉันนั้น ได้รู้แจ้งแทงตลอดธรรมธาตุทั้งปวงแล้ว
เรื่องนั้นจึงแจ่มแจ้งแก่เราโดยฐานะทีเดียว” เจ้าชายอภัยราชกุมารกราบทูลสรรเสริญพระธรรม
เทศนาและแสดงพระองค์เป็นอุบาสกขอนับถือพระรัตนตรัยไปตลอดพระชนม์ชีพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. เรื่องสิ่งที่อยากรู้กับสิ่งที่ควรรู้

พระภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อ “พระมาลุงกยบุตร”กราบทูลถามพระพุทธเจ้า ในเรื่องเกี่ยวกับปัญหา
สารพัน เช่น โลกนี้จะคงอยู่ไปนิรันดรหรือไม่ หรือว่าจะสิ้นสุด และหากสิ้นสุดจะสิ้นสุดเมื่อใด
หลังสัตว์ตายแล้ว วิญญาณจะคงอยู่หรือไม่ และจะไปอยู่ที่ไหน หรือว่าจะสูญสลายหายไป
พระพุทธเจ้าไม่ทรงตอบ พระมาลุงกยบุตรก็คาดคั้นจะเอาคําตอบให้ได้ โดยกราบทูลว่า
“ถ้าไม่ตอบให้หายข้องใจ ก็จะหนีไปนับถือลัทธิศาสนาอื่น”

พระพุทธเจ้าทรงยกเรื่องเล่ามาเปรียบเทียบให้ฟังว่า “ชายคนหนึ่งถูกยิงด้วยลูกธนูอาบยาพิษ
ญาติพี่น้องหามไปหาหมอ หมอเตรียมจะถอนลูกธนูและใส่ยาสมานแผลให้ ชายคนนั้นยกมือห้ามว่า
อย่าเพิ่งถอนลูกธนูออก เพราะฉันยังไม่รู้เลยว่าใครเป็ นคนยิงฉัน เขามีชื่อโคตรว่าอย่างไร
เกิดวรรณะไหน อายุเท่าใด บ้านอยู่ที่ไหน และมายิงฉันด้วยเหตุอะไร ลูกธนูนี้เขาได้มาจากไหน
ทํามาจากวัสดุใด ทําเองหรือซื้อมา ราคาเท่าไร ฉันต้องรู้รายละเอียดทั้งหมดก่อนถึงจะให้ถอนลูกธนูนี้ได้
เมื่อทรงเล่าอยางนี ่ ้แล้ว ก็ตรัสถามพระมาลุงกยบุตรวา ่ “เธอคิดอยางไรกับชายคนนี" เขาเป็นคน
โง่หรือฉลาด”

พระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า “เขาเป็นคนโง่ พระเจ้าข้า ทําไมไม่ให้หมอถอนลูกธนู และ
รักษาแผลให้หายก่อน แล้วค่อยไปถามรายละเอียดเหล่านั้นภายหลังก็ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เขาอาจ
เสียชีวิตเสียก่อนที่จะรู้เรื่องราวทั้งหมด”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เช่นเดียวกนนั้นแล มีเรื่องราวมากมายในโลกที่ไม่จําเป็นต้องรู้
เพราะรู้ไปก็ไม่ทําให้อะไรดีขึ้น รู้ไปก็ไม่มีคุณประโยชน์อะไรขึ้นมา คือไม่ทําให้กิเลสอาสวะหมด
ไปได้ ควรรีบเร่งสนใจในเรื่องที่จําเป็นในขณะปัจจุบันดีกวา สิ่งจําเป็นที่ควรรู้ในขณะปัจจุบันก็คือ
ทําอยางไรจึงจะดับทุกข์ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๕. เรื่องเมื่อมีผู้มาด่าว่า

พราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ “อักโกสกภารทวาชพราหมณ์” รู้สึกโกรธแค้นพระพุทธเจ้าอย่างมาก
เนื่องจากพี่ชายและน้องชายของพราหมณ์ผู้นี้ต่างออกบวชเป็นพระภิกษุ และเป็นที่รู้กนว่าคําสอน
ของพระพุทธเจ้าล้วนหักล้างความเชื่อและวิถีปฏิบัติดั้งเดิมหลายประการของพวกพราหมณ์
พราหมณ์ผู้นี้รู้สึกอับอายพวกพราหมณ์ด้วยกันจึงตามไปด่าวาพระพุทธเจ้าถึงที่ประทับ โดยคําด่าว่า
ก็มีทั้งคําดูหมิ่นและคํากล่าวหา กับเป็นคําที่หยาบคาย เสียดสี กระแทกแดกดัน เผ็ดร้อนและรุนแรง
ทั้งสิ้น พระพุทธเจ้าก็ปล่อยให้เขาด่าวาไปเรื่อยๆ โดยไม่ตอบโต้แม้แต่คําเดียว

พราหมณ์ด่าว่าจนสะใจและเหน็ดเหนื่อยแล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสถามเขาว่า “พราหมณ์
ที่บ้านของท่านมีแขกไปเยี่ยมเยือนบ้างหรือไม่”
พราหมณ์ตอบอย่างทะนงตนว่า “มีแน่นอน ข้าพเจ้าเป็นคนมีเกียรติ และมีคนนับถือกัน
มากนะจะบอกให้” พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “เวลาแขกไปเยี่ยมเยือนท่านถึงบ้าน
ท่านเอาอะไรมาต้อนรับ” พราหมณ์ตอบอย่างมันใจว่า ่ “ก็ต้องหานํ้าและอาหารมาต้อนรับ
ตามธรรมเนียมสิ ข้าพเจ้าไม่ใช่คนไร้วัฒนธรรมนี่”

พระพุทธเจ้าตรัสถามอีกวา ่ “แล้วถ้าแขกไม่กินของที่ท่านนํามาต้อนรับ ของนั้นจะเป็นของใคร”
พราหมณ์ตอบวา ่ “ก็เป็นของข้าพเจ้าตามเดิมสิคําถามอย่างนี้ท่านยังถามมาได้”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ก็เช่นเดียวกันนั้น เมื่อครู่นี้ท่านด่าว่าเราเสียมากมาย เมื่อเราไม่รับ
คําด่าวาเหล่านั้น คําด่าวาเหล่านั้นก็ตกเป็ นของท่านตามเดิมสินะ”

จากนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาว่า “ผู้ฝึกฝนตนแล้ว มีสติรู้ทันในปัจจุบัน
สมํ่าเสมอ ย่อมรู้ชอบ รู้สงบ และรู้ความจริง ความโกรธก็เป็ นสิ่งไม่เที่ยง เมื่อเกิดแล้วก็ย่อมดับไป
ผู้ใดโกรธตอบบุคคลผู้โกรธก่อน ผู้นั้นเป็นผู้ลามกยิงกว่าบุคคลผู้โกรธก่อน ผู้ใดไม่โกรธตอบบุคคล
ผู้โกรธก่อนแล้ว ชื่อว่ายอมชนะสงครามอันบุคคลชนะได้โดยยาก ผู้ใดรู้วาบุคคลอื่นโกรธแล้ว มีสติ ่
รู้สงบเสี ยได้ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมประพฤติในทางที่เป็ นประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ าย คือแก่ตนและ บุคคลอื่น”

อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ได้ฟังธรรมนั้นแล้วก็ได้สติ และเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า
จึงกราบทูลขอบรรพชาเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย หลังจากที่อักโกสกภารทวาชพราหมณ์
ได้บรรพชาในสํานักของพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ได้บําเพ็ญเพียรฝึกสติดูกายและจิตอย่างต่อเนื่อง
จนกระทังเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งวาชีวิตและสรรพสิ่งล้วนแต่เป็นมายา มีสภาวะภายนอกที่ไม่เที่ยง

มีสภาวะภายในที่ปรวนแปรอยู่ตลอดเวลาไม่อาจคงทนอยูได้ และในสภาวะที่ลึกที่สุดก็ไม่มีตัวตน
ที่แท้จริงอยูเลย ในที่สุดพระ ่ อักโกสกภารทวาชก็สามารถละกิเลสอาสวะทั้งปวงได้โดยสิ้นเชิงและ
บรรลุเป็นพระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 13:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๖. เรื่องเหตุที่การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าจําแนกตามกลุ่มผู้ฟัง

ครั้งหนึ่งมีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งชื่อ อสิพันธกบุตร มากราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
“พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระเมตตาต่อคนทั้งหลายถ้วนหน้ากัน โดยมิได้ลําเอียงว่าคนนั้นเป็นพระภิกษุ
พระภิกษุณีผู้เป็นสาวกของพระองค์ คนนั้นเป็นอุบาสกอุบาสิกาผู้เป็นสาวกของพระองค์ และคนนั้น
เป็นผู้นับถือคําสอนอื่นซึ่งไม่เป็นสาวกของพระองค์ ใช่หรือไม่”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ตถาคตเมตตาต่อคนทั้งหลายถ้วนหน้ากัน โดยมิได้ลําเอียงว่า
คนนั้นเป็นหรือไม่เป็นสาวกของตถาคต”
อสิพันธกบุตรกราบทูลถามต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น ไฉนบางครั้งพระองค์ก็แสดงธรรมแก่คน
กลุ่มหนึ่ง และบางครั้งพระองค์ก็ไม่แสดงธรรมแก่คนอีกกลุ่มหนึ่ง”
พระพุทธเจ้าย้อนถามว่า “ชาวนาคนหนึ่งมีนาอยู่สามแปลง แปลงหนึ่งมีเนื้อดินดีเลิศ
แปลงหนึ่งมีเนื้อดินปานกลาง และอีกแปลงหนึ่งมีเนื้อดินเลว เมื่อเขาจะหว่านพืช จะหว่าน
ในแปลงใดก่อน”

อสิพันธกบุตรกราบทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวนาคนนั้นแม้ปรารถนาจะให้นา
ทั้งสามแปลงมีพืชเติบโตอุดมสมบูรณ์เหมือนกันหมด แต่ก็จําเป็นต้องหวานพืชในแปลงที่มีเนื้อดิน
ดีเลิศก่อน เสร็จแล้วก็จะหว่านพืชในแปลงที่มีเนื้อดินปานกลาง ต่อจากนั้นจึงจะหว่านพืชในแปลง
ที่มีเนื้อดินเลวด้วยหวังว่าอาจจะมีโอกาสอยู่บ้างที่พืชจะเติบโตในแปลงที่มีเนื้อดินเลวได้ หรือ
มิฉะนั้นก็ยังเป็ นอาหารของโคได้”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “มีอีกตัวอย่างหนึ่งที่ท่านพึงพิจารณา ชายคนหนึ่งมีขวดนํ้า
อยู่สามใบ ใบหนึ่งไม่ทะลุไม่รั่วไม่ซึม ใบหนึ่งไม่ทะลุแต่ทั้งรั่วและซึม อีกใบหนึ่งทั้งทะลุ รั่วและ
ซึม หากชายคนนั้นจะเก็บนํ้าในขวดจะพึงเก็บในขวดใบไหนก่อน”

อสิพันธกบุตรกราบทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชายคนนั้นย่อมจะเก็บนํ้าไว้ในขวด
ใบที่ไม่ทะลุไม่รั่วไม่ซึมก่อน ครั้นขวดใบนั้นเต็มแล้วก็จะเก็บนํ้าในขวดใบที่ไม่ทะลุแต่ทั้งรั่วและ
ซึมเป็นลําดับถัดมา ส่วนขวดใบที่ทั้งทะลุ รั่วและซึมก็อาจจะเก็บนํ้าไว้บ้างด้วยเขาคิดว่าอาจจักใช้
ล้างสิ่งของได้บ้าง”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ตถาคตเมตตาต่อคนทั้งหลายถ้วนหน้ากัน แต่คน
แต่ละกลุ่มเปรียบได้กับนาที่มีเนื้อดินต่างกัน หรือเทียบได้กับขวดน้ำที่มีสภาพต่างกัน มีความพร้อม
ที่จะฟังและเข้าถึงธรรมได้ไม่เหมือนกัน กล่าวคือ พระภิกษุพระภิกษุณีผู้เป็นสาวกของเรา นับแต่
บรรพชาแล้วจักต้องอยู่ในพระธรรมวินัย และมีใจพร้อมจะศึกษาพระธรรมวินัยนั้น เราจึงแสดง
ธรรมโดยบริบูรณ์ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแก่พระภิกษุพระภิกษุณีผู้เป็นสาวกของเรา
เป็นหลักก่อน เพราะเขาเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่งโดยชัดแจ้งจริงแท้

เขาเหล่านั้นมีความพร้อมจะบรรลุธรรมได้โดยง่าย ส่วนอุบาสกอุบาสิกาผู้เป็นสาวกของเรา
นับแต่ประกาศตนนับถือพระรัตนตรัยแล้วอาจมีใจพร้อมจะศึกษาพระธรรมวินัยนั้น
เราจึงแสดงธรรมโดยบริ บูรณ์ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแก่อุบาสกอุบาสิกาผู้เป็นสาวกของเรา
เป็นหลักถัดมาเพราะเขาเหล่านั้นมีเราเป็นที่พึ่งโดยชัดแจ้งจริงแท้ เขาเหล่านั้นมีความพร้อมจะบรรลุธรรมได้
และสําหรับผู้นับถือคําสอนอื่น

ซึ่งไม่เป็นสาวกของเรา แม้เขายังไม่มีใจพร้อมจะศึกษาพระธรรมวินัยนั้น แต่เราก็แสดงธรรม
โดยบริบูรณ์ทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแก่เขาเหล่านั้นในกาลเวลาอันควร ด้วยเราคิดว่า
หากเขาจะได้รู้ธรรมสักบทหนึ่งก็อาจจะมีโอกาสบรรลุธรรมได้ หรือมิฉะนั้นเขาก็อาจจะได้พิจารณา
ธรรมนั้นต่อไปซึ่งจักเป็ นประโยชน์เกื้อกูลเขาในวันข้างหน้า”

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อสิพันธกบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
ดุจหงายของที่ควํ่า เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง ส่องไฟในที่มืดด้วยหวังวา่ คนมีจักษุ
จักเห็นรูปได้ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอตั้งจิตสักการะพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์โปรดทรงจําข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้มีพระรัตนตรัยเป็นที่
เคารพยิง่ ตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 14:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๗. เรื่องพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นเพียงผู้บอกทาง

ครั้งหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับที่บุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อ
คณกโมคคัลลานะ กราบทูลถามว่า “พระโคดมผู้เจริญ การเรียนวิชาต่างๆ ในทางโลกมีการจัดทํา
หลักสูตรเนื้อหาการเรียนเป็นลําดับขั้นตอน อาทิจากขั้นที่หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หก เป็นต้น
ในพระธรรมวินัยของพระองค์สามารถจัดทําหลักสูตรเนื้อหาการเรียนเป็นลําดับขั้นตอนได้หรือไม่
พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ได้เช่นกัน เปรียบเหมือนผู้เชี่ยวชาญการฝึกม้า ได้ม้าที่อาจฝึกได้มา
ตัวหนึ่งแล้ว ขั้นแรกก็ย่อมจะฝึกม้าให้รู้จักการรับสวมบังเหียนก่อน แล้วจึงค่อยฝึกอย่างอื่น
เป็นลําดับไป การที่ตถาคตจะฝึกอบรมภิกษุก็เช่นเดียวกัน ขั้นแรกย่อมแนะนําก่อนว่า
เธอจงเป็นผู้มีศีลสํารวมดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัย

แม้ในโทษที่เล็กน้อย ครั้นภิกษุนั้นเป็นผู้มีศีลดีแล้วตถาคตย่อมแนะนําให้
ยิ่งขึ้นไปวา เธอจงเป็นผู้สํารวมในอินทรีย์ทั้งหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ระมัดระวังไว้ไม่ให้เผลอ
ไปตามอารมณ์ ครั้นภิกษุเป็นผู้สํารวมอินทรี ย์ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า เธอจงเป็นผู้รู้
ประมาณในอาหาร จงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงฉัน ไม่ฉันอาหารเพื่อเล่นมัวเมา แต่ฉันอาหาร
เพียงเพื่อให้กายนี้ตั้งอยูได้เพื่ออนุเคราะห์ให้มีกำลังปฏิบัติธรรมต่อไปได้เท่านั้น

ครั้นภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในอาหารดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า เธอจง
ประกอบความเพียรในการมีสติอยูเนืองๆ เพื่อเป็นเครื่องตื่นและรู้รอบคอบในอิริยาบถต่างๆ
ครั้นภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรในการมีสติอยู่เนืองๆ ดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปว่า
เธอจงหมันบําเพ็ญสมาธิภาวนาคอยชําระจิตให้บริสุทธิ ่ ์ละออกจากกามและอกุศลทั้งหลาย
ครั้นภิกษุเป็ นผู้บําเพ็ญสมาธิภาวนาดีแล้ว ตถาคตย่อมแนะนําให้ยิ่งขึ้นไปเพื่อให้ภิกษุนั้น
บรรลุฌานที่หนึ่งถึงฌานที่สี่ไปโดยลําดับอันจะเป็นบาทฐานให้บรรลุมรรคผลสิ้นอาสวะทั้งหลายในที่สุด”

คณกโมคคัลลานะกราบทูลถามว่า “เมื่อพระองค์สอนสาวกของพระองค์ตามลําดับขั้นตอน
เช่นนี้แล้ว สาวกเหล่านั้นยินดีและปฏิบัติตามจนสําเร็จเป็นพระอรหันต์หมดทุกรูปหรือไม่ หรือว่า
บางรูปก็ไม่ยินดีหรือไม่ปฏิบัติตาม”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า“บางรูปก็ยินดีและปฏิบัติตาม และบางรูปก็ไม่ยินดีหรือไม่ปฏิบัติตาม”
คณกโมคคัลลานะกราบทูลถามต่อไปอีกว่า “เหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้นเล่า ในเมื่อ
พระนิพพานก็มีอยู่จริง ทางดําเนินไปถึงพระนิพพานก็มีอยู่จริง และพระองค์ผู้สามารถแนะนําทาง
ดําเนินไปพระนิพพานก็มีพร้อมอยู”่

พระพุทธเจ้าตรัสย้อนถามว่า “ท่านรู้จักทางไปกรุงราชคฤห์หรือไม่”
คณกโมคคัลลานะกราบทูลตอบวา ่ “ข้าพระองค์รู้จักเป็นอยางดีพระเจ้าข้า ่ ”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “มีผู้ประสงค์จะไปกรุงราชคฤห์จึงมาขอให้ท่านช่วยแนะนําทาง
ท่านได้แนะนําเขาไปว่า ทางนี้ไปกรุงราชคฤห์ บอกให้เขาเดินทางไปตามทางนี้ระยะหนึ่งจะถึง
หมู่บ้านชื่อนั้น เดินทางต่อไปอีกก็จะถึงชุมชนใหญ่ ถึงสวน ถึงป่า ถึงแอ่งนํ้าขนาดใหญ่ และถึง
กรุงราชคฤห์โดยลําดับ ผู้นั้นรับคําแนะนําแล้วกลับเปลี่ยนใจไม่เดินทางไป

หรือเดินทางไปยังทิศทางอื่นซึ่งผิดทาง จึงไม่ถึงกรุงราชคฤห์ ในขณะที่มีอีกคนหนึ่งมา
ขอให้ท่านช่วยแนะนําทางไปกรุงราชคฤห์เช่นกันและท่านก็แนะนําเขาอย่างเดียวกันกับที่แนะนํา
คนก่อน ผู้นั้นเดินทางไปตามทางที่ท่านแนะนําและถึงกรุงราชคฤห์โดยสวัสดี
เหตุใดจึงแตกต่างกันเช่นนั้นเล่า ในเมื่อกรุงราชคฤห์ก็ตั้งอยู่อย่างเดิม ทางดําเนินไป
ถึงกรุงราชคฤห์ก็มีอยู่ ท่านผู้สามารถแนะนําทางก็แนะนําทางให้แล้ว แต่ไฉนคนหนึ่งไปไม่ถึง
อีกคนหนึ่งไปถึงเล่า”

คณกโมคคัลลานะกราบทูลตอบว่า “จะทําอย่างไรได้ ข้าพระองค์ก็เป็ นเพียงผู้บอกทางให้เท่านั้น”
พระพุทธเจ้าตรัสวา ่ “ฉันใดก็ฉันนั้น พระนิพพานมีอยู่จริง ทางดําเนินไปถึงพระนิพพาน
มีอยู่จริง และตถาคตผู้แนะนําพรํ่าสอนก็ได้แนะนําพรํ่าสอนอยูเพื่อบอกทางดําเนินไปพระนิพพาน ่
แต่บางรูปก็ยินดีและปฏิบัติตาม และบางรูปก็ไม่ยินดีหรือไม่ปฏิบัติตาม จะทําอย่างไรได้
ตถาคตก็เป็ นเพียงผู้บอกทางให้เท่านั้น”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 15:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๘. เรื่องทางข้างหน้าของชีวิตย่อมขึ้นอยู่กับการกระทําของผู้นั้นเอง

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับที่ป่ามะม่วงใกล้เมืองนาลันทา มีผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่งมาเฝ้า
กราบทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีพราหมณ์ผู้หนึ่งเป็นชาวปัจฉาภูมิ เลื่องชื่อว่ามีคุณวิเศษ
มีวัตรปฏิบัติคือ นุ่งผ้าเป็นริ้วดังสาหร่าย ลงอาบนํ้าในแม่นํ้าศักดิ์สิทธิ์วันละสามเวลาและบูชาไฟ
มีพลังมากสามารถอ้อนวอนหรือร้องขอให้เทพยดาดลบันดาลให้ผู้ตายไปสู่สวรรค์ก็ได้ ลงนรกก็ได้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วจะมีพลังหรือดลบันดาลเช่นนั้นได้
หรือไม่ พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสย้อนถามว่า “มีคนผู้หนึ่ง เป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย ถือเอาของที่คนอื่น
ไม่ได้ให้มาเป็นของตน เป็นชู้กับคนที่มีคู่ครองอยู่แล้ว พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย พูดนินทา
ทุจริตเพ่งอยากได้ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดจากครรลองคลองธรรม ต่อมา
ขณะผู้นั้นถึงแก่ความตาย กลับมีมหาชนมาประชุมพร้อมกนแล้วพากันอ้อนวอน พากันปลอบโยน
พากันกล่าววาจาว่า ขอให้ผู้นั้นจงไปสู่สวรรค์เถิด ถามวา ผู้นั้นจะพึงไปสู่สุคติในสวรรค์เพราะเหตุ
แห่งการพากันอ้อนวอน การพากันปลอบโยน การพากันกล่าววาจาของมหาชนเช่นนั้นได้หรือ”
ผู้ใหญ่บ้านกราบทูลตอบว่า “หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “มีศิลาขนาดมหึมาก้อนหนึ่งถูกทิ้งลงไปในห้วงนํ้าลึก และ
มีมหาชนมาประชุมพร้อมกันแล้วพากันอ้อนวอน พากันปลอบโยน พากันกล่าววาจาวา ขอให้ศิลา ่
ก้อนนั้นจงลอยขึ้นมาบนบกเถิด ถามว่า ศิลาก้อนนั้นจะลอยขึ้นมาบนบกเพราะเหตุแห่งการพากัน
อ้อนวอน การพากันปลอบโยน การพากันกล่าววาจาของมหาชนเช่นนั้นได้หรือ”
ผู้ใหญ่บ้านกราบทูลตอบว่า“หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อผู้นั้นขณะมีชีวิตอยู่ เป็นผู้ฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย
ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน เป็นชู้กับคนที่มีคู่ครองอยู่แล้ว พูดเท็จ พูดส่อเสียด
พูดหยาบคาย พูดนินทาว่าร้าย มีจิตทุจริตเพ่งอยากได้ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิดจาก
ครรลองคลองธรรม แม้ขณะผู้นั้นถึงแก่ความตายมีมหาชนมาประชุมพร้อมกนแล้วพากันอ้อนวอน
พากันปลอบโยน พากันกล่าววาจาว่า ขอให้ผู้นั้นจงไปสู่สวรรค์เถิด ก็ไม่อาจทําให้ผู้นั้นไปสู่
สวรรค์ได้ เพราะบาปกรรมที่ผู้นั้นทําไว้ยอมพาผู้นั้นไปสู่ทุคติในนรก”

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “มีคนอีกผู้หนึ่ง เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิตให้ตาย งดเว้น
จากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม งดเว้นจาก
การพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดหยาบคาย งดเว้นจากการพูดนินทาว่าร้าย
มีจิตสุจริตไม่เพ่งอยากได้ของผู้อื่น ไม่มีจิตพยาบาท มีความเห็นถูกต้องตามครรลองคลองธรรม
ต่อมาขณะผู้นั้นถึงแก่ความตาย กลับมีมหาชนมาประชุมพร้อมกนแล้วพากันร้องขอ พากันด่าทอ
พากันกล่าววาจาว่า ขอให้ผู้นั้นจงไปสู่นรกเถิด ถามว่า ผู้นั้นจะพึงไปสู่ทุคติในนรกเพราะเหตุแห่ง
การพากนร้องขอ การพากันด่าทอ การพากันกล่าววาจาของมหาชนเช่นนั้นได้หรือ”
ผู้ใหญ่บ้านกราบทูลตอบวา ่ “หาเป็นเช่นนั้นไม่พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “มีหม้อบรรจุเนยใสหม้อหนึ่ง ถูกตีแตกและทิ้งลงไปในห้วงนํ้าลึก
ตัวหม้อจมลง แต่เนยใสในหม้อลอยขึ้นข้างบน และมีมหาชนมาประชุมพร้อมกันแล้วพากัน
ร้องขอ พากันด่าทอ พากนกล่าววาจาวา ขอให้เนยใสนั้นจงจมลงไปใต้นํ้าเถิด ถามวา เนยใสนั้นจะ
จมลงไปใต้นํ้าเพราะเหตุแห่งการพากันร้องขอ การพากันด่าทอ การพากันกล่าววาจาของมหาชน
เช่นนั้นได้หรือ”ผู้ใหญ่บ้านกราบทูลตอบวา ่ “หาเป็นเช่นนั้นไม่ พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อผู้นั้นขณะมีชีวิตอยู่ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
มีชีวิตให้ตาย งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน งดเว้นจากการประพฤติผิด
ในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด งดเว้นจากการพูดหยาบคาย งดเว้นจากการ
พูดนินทาว่าร้าย มีจิตสุจริตไม่เพงอยากได้ของผู้อื่น ไม่ ่มีจิตพยาบาท มีความเห็นถูกต้องตามครรลอง
คลองธรรม แม้ขณะผู้นั้นถึงแก่ความตายมีมหาชนมาประชุมพร้อมกันแล้วพากันร้องขอ พากัน
ด่าทอ พากันกล่าววาจาว่า ขอให้ผู้นั้นจงไปสู่นรกเถิด ก็ไม่อาจทําให้ผู้นั้นไปสู่นรกได้
เพราะบุญกรรมที่ผู้นั้นทําไว้ยอมพาผู้นั้นไปสู่สุคติในสวรรค์”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๙. เรื่องเสวนาธรรมเกี่ยวกับผลของกรรม

พระเจ้าปายาสิผู้ครองเสตัพยนคร มีมิจฉาทิฐิว่าคนและสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญ ผลวิบาก
ของกรรมที่ทําดี หรือชั่วนั้นไม่มี ครั้งนั้น พระเจ้าปายาสิ ได้สดับกิตติศัพท์อันงามของ
พระกุมารกัสสปะ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าและเป็นพระอรหันต์ผู้เลิศด้านการแสดงธรรม
ได้วิจิตร จึงเสด็จไปพบพระกุมารกัสสปะเพื่อสนทนาธรรม โดยพระเจ้าปายาสิตรัสถึง ทิฐิดังกล่าว
ของพระองค์ให้พระกุมารกัสสปะทราบ พระกุมารกัสสปะจึงถามว่า “มหาบพิตรมีเหตุผลประการใดที่สนับสนุนความเห็นเช่นนั้น”

พระเจ้าปายาสิตรัสว่า “มีญาติมิตรของโยมหลายคนที่ทําชั่วต่างๆ มากมาย ต่อมาเมื่อพวก
เขาเจ็บไข้ โยมเห็นวาพวกเขาคงตายแน่ ก็ไปพบและสั่งพวกเขาว่าเมื่อไปลงนรกแล้วขอให้กลับมา
บอกว่านรกเป็นอย่างไร พวกเขาเหล่านั้นล้วนแต่รับคํา แต่โยมรอมานานหลายปี แล้วก็ไม่เห็นว่า
พวกเขาจะกลับมาเล่าเรื่องนรกให้ฟัง แสดงวานรกไม่มีอยู่จริง”

พระกุมารกัสสปะตอบว่า “เปรียบเหมือนโจรที่ทําผิด และถูกทางการจับกุมได้ ครั้นเมื่อถูก
ตัดสินให้ประหารชีวิต ราชบุรุษก็นําตัวไปประหารชีวิต โจรเหล่านั้นจะขอผัดผ่อนว่าขอกลับบ้าน
ไปเล่าให้ญาติมิตรฟังก่อนวาเวลาถูกตัดสินให้ประหารชีวิตเป็นอย่างไร ก็คงไม่ได้รับอนุญาตให้ลา
กลับบ้านเช่นนั้น คนที่ทําชั่วพวกนั้น เมื่อต้องไปลงนรกก็เช่นเดียวกนนั้น”
พระเจ้าปายาสิตรัสต่อไปว่า “ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง โยมเคยสั่งญาติมิตรของโยมหลายคน
ที่ทําดีต่างๆ มากมายว่าถ้าตายไปสู่สุคติในสวรรค์แล้ว ขอให้กลับมาบอกว่าสวรรค์เป็นอย่างไร
พวกเขาเหล่านั้นล้วนแต่รับคํา แต่เมื่อพวกเขาตายไปหลายปี แล้ว ก็ไม่เห็นว่าพวกเขาจะกลับมาเล่า
เรื่องสวรรค์ให้ฟัง แสดงว่าสวรรค์ไม่มีอยู่จริง ”

พระกุมารกัสสปะตอบว่า “เปรียบเหมือนผู้ที่เคยตกลงไปในหลุมอุจจาระจนมิดศีรษะ
ครั้นขึ้นจากหลุมอุจจาระนั้นมาได้ ก็ได้อาบนํ้าชําระเนื้อตัวจนสะอาดหมดจดแล้วนําเครื่องหอมมา
ชโลมตัวและนําผ้าสะอาดเนื้อดีมานุ่งห่ม ผู้นั้นยอมจะเข็ดขยาดและไม่ยอมตกลงไปในหลุมอุจจาระ
นั้นอีกเพราะฝังใจว่าหลุมอุจจาระนั้นโสโครกและมีกลิ่นเหม็น คนทั้งหลายก็ล้วนมีกลิ่นเหม็น
เปรียบได้กับหลุมอุจจาระ ผู้ได้เป็นเทวดาเมื่อเข้าสู่สวรรค์แล้วก็ไม่อยากจะกลับมาหาคนทั้งหลายอีก
และอีกประการหนึ่ง มิติเวลาในสวรรค์คืนหนึ่งเท่ากับมิติเวลาในโลกมนุษย์นานนับร้อยปี แม้พวกเขาระลึกได้ว่าควรจะกลับมาเล่าเรื่องสวรรค์ให้ญาติมิตรที่เป็นคนได้ฟัง คนเหล่านั้นก็คงตายไปเสียก่อน”

พระเจ้าปายาสิตรัสต่อไปอีกว่า “ยังมีอีกเหตุผลหนึ่ง โยมเห็นบรรดาสมณะผู้มีศีลธรรม
อันงามทั้งหลายล้วนแต่ดํารงชีพเป็นคนต่อไป โดยไม่พบว่ามีท่านใดประสงค์จะฆ่าตัวตายทั้งๆ ที่
ท่านเหล่านั้นก็เห็นว่าในโลกหน้าย่อมมีความสุขมากกว่าในโลกนี้แน่ หรือจะเป็นเพราะที่แท้แล้ว
ท่านเหล่านั้นก็รู้วาโลกหน้าไม ่ ่มีอยูจริง ่ ”

พระกุมารกัสสปะตอบว่า “เปรียบเหมือนผู้ที่เห็นว่าพ่อแม่ของเด็กแข็งแรงดีย่อมมีลูก
ที่แข็งแรงดี จึงชิงผ่าเอาเด็กออกจากท้องทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันควร เด็กนั้นก็จะไม่แข็งแรงและ
อาจไม่รอด บุคคลผู้มีสัมมาทิฐิย่อมไม่ชิงสุกก่อนห่าม ฉันใดก็ฉันนั้น อีกประการหนึ่ง การได้เกิด
เป็นคนนั้นเป็นโอกาสอันประเสริฐที่จักได้เรียนรู้และพัฒนาสัมมาทิฐิเพื่อบําเพ็ญความดีงามอันเป็น
เหตุปัจจัยและพลังนําทางให้รู้เท่าทันถึงที่สุดแห่งทุกข์และกาวพ้นจากทุกข์นั้นได้ การฆ่าตัวตาย
เป็นบาปที่ให้วิบากรุนแรงยิ่งและทําให้จิตที่ทุกข์ทรมานในขณะฆ่าตัวตายนั้นต้องวนเวียนอยู่กับ
ความมืดมนและวังวนแห่งทุกข์นั้นซํ้าแล้วซํ้าอีก บุคคลผู้มีปัญญาเข้าใจความเป็นมาและเป็นไป
แห่งชีวิต จึงไม่คิดฆ่าตัวตาย”

พระเจ้าปายาสิตรัสแย้งต่อไปอีกว่า “โยมเคยทดลองใช้กรรมวิธีต่างๆ ในการพิสูจน์ว่า
คนทั้งหลายมีดวงจิตอยู่จริ งหรือไม่ โดยให้นําโจรผู้ร้ายหลายคนที่ทําผิดร้ายแรงและต้องโทษ
ประหารชีวิตนั้นไปประหารด้วยวิธีการต่างๆ กัน ในขณะประหารชีวิตมีราชบุรุษหลายนาย
ผู้มีสรรพวิทยาอันลํ้าลึกใช้สรรพวิทยานั้นในการตรวจสอบและเฝ้าสังเกตวาจะมีดวงจิตออกจากร่าง
ของผู้ถูกประหารชีวิตนั้นหรือไม่ แต่ก็ไม่พบเห็นดวงจิตนั้น จึงเชื่อวาโลกหน้าไม่มีอยู่จริง หากแต่
คนและสัตว์ทั้งหลายเมื่อตายแล้วก็สูญไป”

พระกุมารกัสสปะตอบว่า “เปรียบเหมือนคนที่ตาบอดแต่กำเนิด แม้คนอื่นจะบอกว่าสัตว์
นั้นๆ มีรูปร่างเช่นไร มีสีสันอยางไร ก็ไม่อาจรู้ตามได้เพราะไม่ใช่วิสัยที่ตนจะเห็น หรือแม้แต่คนที่
ตาดีก็มองเห็นได้อยางจํากัด ครั้นมีคนอื่นบอกว่าไปเมืองนั้นๆ มาเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ คนที่ไม่เคยไป
เมืองนั้นๆ กลับแย้งวาเมืองนั้นๆ ไม่มีอยูจริง เพราะตนมองไม่เห็น หรือเมื่อมีคนเป่าแตร ผู้ที่ได้ยิน
เสียงแตรแต่มองไม่เห็นเสียงแตรจึงเถียงว่าไม่มีเสียงแตรเกิดขึ้น ฉันใดก็ฉันนั้น อีกประการหนึ่ง
แม้แต่ในเวลาที่คนเราหลับและฝันไปว่าได้ไปยังที่แห่งนั้นแห่งนี้ เรายังไม่รู้ตัวเลยว่าดวงจิตของเรา
ออกจากร่างไปท่องเที่ยวดังในฝันนั้นตั้งแต่เมื่อใด แล้วไฉนเล่าคนอื่นจะมาเห็นดวงจิตของเราได้

การรู้ว่าสิ่งทั้งปวงที่แท้แล้วเป็นไตรลักษณ์ คือ ล้วนแต่ไม่เที่ยง ไม่อาจทนอยู่ได้และไม่มีตัวตน
อยู่จริง เป็นสัมมาทิฐิเพราะเป็นการเห็นตามความจริงว่าเป็นเช่นนั้น แต่การเชื่อว่าคนหรือสัตว์
ทั้งหลายตายแล้วสูญ เป็นมิจฉาทิฐิเพราะแม้ชีวิตเป็นไตรลักษณ์แต่เมื่อยังไม่หลุดพ้นจากวงจร
แห่งทุกข์ก็จักเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ยังชีวิตให้ดําเนินหมุนเวียนไปตามสังสารวัฏนั้น ไม่มีสิ่งใด
เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หากแต่เป็นผลอันเกิดจากเหตุปัจจัยที่สืบเนื่องกนทั้งสิ้น”

พระเจ้าปายาสิทรงตรึกตรองแล้วก็มีศรัทธาเลื่อมใสในอรรถาธิบายของพระกุมารกัสสปะ
และแสดงพระองค์เป็นอุบาสกขอนับถือพระรัตนตรัยไปตลอดพระชนม์ชีพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ต.ค. 2016, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๐. เรื่องคนประเสริฐมิใช่ด้วยชนชั้นวรรณะ

ครั้งนั้น มีพราหมณ์มาจากแคว้นต่างๆ ประมาณ ๕๐๐ รูป เข้ามาพักอาศัยทําธุระ
ในนครสาวัตถี พวกพราหมณ์เหล่านั้นปรึกษากันว่า “พระสมณโคดมนี้ กล่าวว่าทุกวรรณะมีโอกาส
เป็นผู้ประเสริฐได้เท่าเทียมกัน แต่พราหมณ์ยึดมันในคําสอนดั่งเดิมว่าพราหมณ์ประเสริฐเพียง
วรรณะเดียวเพราะเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม ทําให้สามารถสาธยายมนต์ได้ ส่วนวรรณะอื่น
ไม่สามารถสาธยายมนต์ได้ ใครหนอจะสามารถโต้ตอบกับพระสมณโคดมในเรื่ องนี้ได้”

ปรึกษาหารือกันแล้วเห็นว่า พราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า “อัสสลายนมาณพ” มีความสามารถเป็นเลิศ
ในการเจรจาโต้ตอบ จึงพากันไปหาอัสสลายนมาณพ และขอให้เป็นผู้แทนของพวกพราหมณ์
ในการไปโต้วาที แต่อัสสลายนมาณพไม่ยอม โดยชี้แจงวาพระสมณโคดมกล่าวอยางเป็นธรรมแล้ว
พวกพราหมณ์ก็ยังยืนยันที่จะให้อัสสลายนมาณพต้องไปโต้วาทีโดยบอกว่าอย่ายอมแพ้โดยที่ยัง
มิได้รับ อัสสลายนมาณพก็ไปพร้อมด้วยพราหมณ์คณะใหญ่ เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
อัสสลายนมาณพก็ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ทรงคิดเห็นอย่างไร ในข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า
วรรณะพราหมณ์เท่านั้นที่ประเสริฐ เพราะเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “อันที่จริงแล้วยอมรู้กันดีว่า พราหมณ์ทั้งหลายล้วนคลอดออกมา
จากโยนีของนางพราหมณี แต่กลับมาตู่ว่าเกิดจากพระโอษฐ์ของพระพรหม แล้วจะมาอ้างเหตุนี้ว่า
ตนประเสริฐกว่ามนุษย์คนอื่นได้อย่างไร” แล้วได้ตรัสถึงประเพณีในแคว้นโยนกและแคว้น
กมโพช รวมทั้งชนบทอื่นๆ ที่มีคนเพียง ๒ วรรณะ คือ อัยยะ (นาย) กับ บ่าว คนเป็นนายแล้วก็อาจ
เป็นบ่าว และบ่าวก็อาจสลับไปเป็นนายได้ พวกพราหมณ์จะเอาแต่ความพอใจของตนฝ่ายเดียว
มาอ้างว่าพวกตนประเสริฐกว่าวรรณะอื่น จะชอบด้วยเหตุผลอยู่หรือ อัสสลายนมาณพก็ยังยืนยัน
ถ้อยคําเดิมวา แม้เช่นนั้น พวกพราหมณ์ก็ยังถือวาวรรณะพราหมณ์ประเสริฐที่สุด

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ผู้ประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายแล้วก็เข้าถึงอบายภูมิ
แต่เพียงวรรณะอื่น ส่วนวรรณะพราหมณ์ต่อให้ประพฤติชั่วหนักหนาอย่างไรก็ไม่มีทางลงนรก เช่นนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ก็ไม่ใช่เช่นนั้น พราหมณ์หากประพฤติชัวก่ ็มีโอกาสตกนรกได้เช่นกัน ”
พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “ผู้ประพฤติดีทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายแล้วจะได้ไปสู่สวรรค์
เฉพาะแต่พวกพราหมณ์เท่านั้นหรือ วรรณะอื่นต่อให้ประพฤติดีอยางไร เมื่อตายแล้วก็ไม่มีทางที่จะ
ไปสู่สวรรค์ได้ใช่หรือไม่”

อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ก็ไม่ใช่เช่นนั้น ผู้ประพฤติดีไม่วาจะเป็นคนวรรณะใด เมื่อตาย ่
แล้วก็ไปสู่สวรรค์ได้เช่นเดียวกัน” พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “เมื่อเป็นเช่นนี้ จะอ้างว่าพราหมณ์
ประเสริฐที่สุดได้อย่างไร”แต่อัสสลายนมาณพก็ยังคงยืนกรานว่า แม้เช่นนั้น พวกพราหมณ์ก็ยัง
ประเสริฐที่สุด

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “มีแต่พวกพราหมณ์วรรณะเดียวเท่านั้นหรือที่สามารถเจริญ
พรหมวิหารสี่ได้ คนวรรณะอื่นไม่สามารถเจริญพรหมวิหารสี่ได้เลยอย่างนั้นหรือ”
อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า “ก็ไม่ใช่เช่นนั้น คนวรรณะใดก็ตาม ล้วนแต่สามารถเจริญ
พรหมวิหารสี่ได้ทั้งสิ้น”แต่อัสสลายนมาณพก็ยังคงยืนกรานตามเดิมวาพวกพราหมณ์ประเสริฐที่สุด

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “กรณีชายหนุ่มที่มีวรรณะเป็ นกษัตริย์อยู่ร่วมกับหญิงสาวที่มี
วรรณะเป็นพราหมณ์ก็ดี หรือกรณีชายหนุ่มที่มีวรรณะเป็นพราหมณ์อยูร่่วมกับหญิงสาวที่มีวรรณะ
เป็นกษัตริย์ก็ดี หากมีบุตรคนจะเรียกบุตรนั้นวากษัตริย์ก็ได้ หรือพราหมณ์ก็ได้ ใช่หรือไม่”
อัสสลายนมาณพทูลรับรองว่าเป็นเช่นนั้น แล้วนึกขึ้นได้ว่าเท่ากบยอมรับวาข้ออ้างของ
พราหมณ์ที่ว่าวรรณะของตนมีความประเสริฐเหนือกว่าวรรณะอื่นใดก็มิได้เป็นความจริงอย่างที่กล่าวอ้าง

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ชายสองคน คนหนึ่งได้รับการฝึกอบรมและสาธยายมนต์ได้
ส่วนอีกคนหนึ่งไม่ได้รับการฝึกอบรมและสาธยายมนต์ไม่ได้ พวกพราหมณ์จะเชิญให้คนไหน
บริโภคก่อนในพิธีสารท ในยัญพิธี ในอาหารบรรณาการและในของต้อนรับ”

อัสสลายนมาณพทูลว่า “ต้องเชิญคนที่ได้รับการฝึกอบรมและสาธยายมนต์ได้ ให้บริโภค
ก่อน เพราะของที่ให้แก่ผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมและสาธยายมนต์ไม่ได้ จะมีผลมากได้อย่างไร ”
พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “หากชายสองคนดังกล่าว คนที่ได้รับการฝึกอบรมและ
สาธยายมนต์ได้ เป็นคนทุศีล ทําแต่กรรมชั่ว แต่คนที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมและสาธยายมนต์ไม่ได้
เป็นคนมีศีล มีกลยาณ ั ธรรม ประกอบแต่กรรมดี พวกพราหมณ์จะเชิญให้คนไหนบริโภคก่อน”

อัสสลายนมาณพทูลตอบว่า“ถ้าเป็นกรณีเช่นนั้น ก็ต้องเชิญผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ประกอบ
แต่กรรมดี ให้บริโภคก่อน เพราะของที่ให้แก่คนทุศีล ทําแต่กรรมชั่ว จะมีผลมากได้อย่างไร”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสสรุปว่า “ครั้งแรก ท่านกล่าวว่าชาติกำเนิดนั้นสําคัญ ครั้นแล้วท่านก็ให้
ความสําคัญกับการสาธยายมนต์ได้นั้นยิ่งกว่า แต่สุดท้ายท่านก็ยอมรับว่าการสาธยายมนต์ได้
ไม่สําคัญเท่ากับความประพฤติ หากท่านตรองดูด้วยเหตุผลอย่างเที่ยงธรรม ก็คงจะเห็นว่าการแบ่ง
ชนชั้นวรรณะและยกว่าวรรณะ ของตนประเสริฐสุดนั้น เป็นเพียงมายาที่ชาวโลกปั้นแต่งขึ้นเท่านั้น

คนทุกคนไม่ว่าจะถูกสมมุติให้อยู่ในวรรณะใดก็ล้วนเกิดมาเป็นทุกข์ เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ และ
ต้องเจ็บต้องตายทั้งสิ้น แทนที่จะคอยยกพวกตนและเอาเปรียบพวกอื่น ซึ่งเป็นความคิดและ
การกระทําที่หาคุณประโยชน์อันแท้จริงมิได้นั้น หันมาแสวงหาทางดับทุกข์ เพื่อพ้นจากทุกข์
อย่างแท้จริง จะมิดีไปกว่าหรือ” อัสสลายนมาณพก็ยอมจํานนด้วยเหตุผล กราบทูลสรรเสริญ
พระธรรมเทศนา และแสดงตนเป็นอุบาสกขอนับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๑. เรื่องการกําหนดใจต่อการถูกประทุษร้าย

พระปุณณะเป็นพระภิกษุรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาลที่เป็นพระอรหันต์ โดยก่อนจะบรรลุ มรรคผล
พระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนวิปัสสนากรรมฐานอันเป็นวิธีอบรมจิตให้มีสติระลึกรู้เท่าทัน
ความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่ทําให้เกิดตัณหาและอุปาทานซึ่งเป็นที่มาของความทุกข์นั้น
พระปุณณะได้รับการอบรมวิปัสสนากรรมฐานจากพระพุทธเจ้าแล้ว ขณะนั้นยังไม่บรรลุมรรคผล
ก็ตั้งใจจะไปยังชนบทแห่งหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่า “สุนาปรันตชนบท” เพื่อนําวิธีปฏิบัติวิปัสสนา
กรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้นั้นไปปฏิบัติเองต่อไป จึงทูลขอพระพุทธเจ้าเพื่อจะเดินทาง
ไปยังท้องถิ่นดังกล่าว

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ดูก่อนปุณณะ ชาวสุนาปรันตะเป็นหมู่ชนที่มีความดุร้ายมาก
ถ้าเขาจักด่าว่าบริภาษเธออย่างรุนแรง เธอจะคิดอย่างไรกับเขาเหล่านั้น”
พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระตถาคต ถ้าชาวสุนาปรันตะจักด่าว่าบริภาษข้าพระองค์ อย่างรุนแรง
ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า ชาวสุนาปรันตะนี้ยังดีนักหนาแล้ว ที่ไม่ทุบตีเราด้วยกําปั้นและฝ่ามือ เพียงถูกด่าว่าเช่นนี้จะเป็นไรไป”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “ดูก่อนปุณณะ แล้วถ้า ชาวสุนาปรันตะจักทุบตีเธอด้วยกําปั้น
และฝ่ามือ เธอจะคิดอย่างไรกับเขาเหล่านั้น”
พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระตถาคต ถ้าชาวสุนาปรันตะจักทุบตีข้าพระองค์ด้วยกําปั้น และฝ่ามือ
ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนีว่า ชาวสุนาปรันตะนียังดีนักหนาแล้วที่ไม่ใช้
ก้อนหินขว้างปาทําร้ายเรา ซึ่งเราจักต้องเจ็บปวดมากกว่าถูกทุบตีด้วยกําปั้นและฝ่ามือเสียอีก”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “ดูก่อนปุณณะ แล้วถ้า ชาวสุนาปรันตะจักใช้ก้อนหินขว้างปา ทําร้ายเธอ
เธอจะคิดอย่างไรกับเขาเหล่านั้น”
พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระตถาคต ถ้าชาวสุนาปรันตะจักใช้ก้อนหินขว้างปาทําร้าย ข้าพระองค์ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่า ชาวสุนาปรันตะนี้ยังดีนักหนาแล้วที่ไม่ใช้
ศัสตราวุธอันแหลมคมมาฟันแทงทําร้ายเรา ซึ่งเราจักต้องเจ็บปวดมากกว่าถูกขว้างปาด้วยก้อนหิน เสียอีก”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “ดูก่อนปุณณะ แล้วถ้าชาวสุนาปรันตะจักใช้ศัสตราวุธ อันแหลมคมมาฟันแทงทําร้ายเธอ เธอจะคิดอย่างไรกับเขาเหล่านั้น”
พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้า แต่พระตถาคต ถ้าชาวสุนาปรันตะจักใช้ศัสตราวุธอันแหลมคม
มาฟันแทงทําร้ายข้าพระองค์ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนีว่า ชาวสุนาปรันตะนี
้ยังดีนักหนาแล้วที่เพียงแต่ทําร้ายเราให้บาดเจ็บเท่านั้น แต่ไม่ได้ปลิดชีวิตเราให้ถึงแก่ความตาย”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “ดูก่อนปุณณะ แล้วถ้าชาวสุนาปรันตะจักปลิดชีวิตเธอให้ถึง
แก่ความตาย เธอจะคิดอย่างไรกับเขาเหล่านั้น
พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระตถาคต ถ้าชาวสุนาปรันตะจักปลิดชีวิตข้าพระองค์ให้ถึง
แก่ความตาย ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่าอันเนื้อตัวร่างกายของเรานี้เป็นรัง
ของโรค ทําให้มีทุกขเวทนาอยู่เนืองๆ ชาวสุนาปรันตะนี้ดีนักหนาแล้วที่ช่วยสงเคราะห์ให้เราไม่ต้อง
แบกเนื้อตัวร่างกายอันเป็นรังของโรคต่อไป เรามีเขาเหล่านันช่วยสงเคราะห์แล้วควรจักขอบคุณ
เขาเหล่านั้น”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ดีแล้ว ปุณณะ เธอประกอบด้วยการฝึกอบรมจิตและความสงบใจ
เช่นนี้แล้ว จักอาจอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้จงเดินทางไปตามเวลาอันควรเถิด”
พระปุณณะอนุโมทนาพระภาษิตของพระพุทธเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะและถวายอภิวาท
พระพุทธเจ้า ทําประทักษิณและเดินทางไปยังสุนาปรันตชนบท ภายในพรรษานั้น พระปุณณะ
ได้ปฏิบัติจนรู้แจ้งในวิชชาและวิมุตติ บรรลุเป็นพระอรหันต์ และยังได้อบรมชาวสุนาปรันตะ
ให้กลับใจมามีศรัทธาในพระรัตนตรัยพร้อมแสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ คน แล้ว
พระปุณณะได้ป รินิพพานในกาลต่อมา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๒. เรื่องผู้ไม่เคยถูกนินทานั้นไม่มี

วันหนึ่ง อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีชื่อ “อตุละ” กับบริวาร พากันไปยังพระวิหารเชตวัน
เพื่อฟังธรรม พวกเขาเข้าไปกราบไหว้พระเรวตเถระ แล้วนั่งลง แต่พระเรวตเถระไม่ได้กล่าวคําใดๆ
แก่พวกเขาเลย เพราะความที่พระเรวตเถระเป็นผู้ยินดีในการอยูสงบเพียงลําพัง อตุละรู้สึกไม่พอใจ
และบ่นกับบริวารของตนว่า “ทําไมท่านไม่พูดคุยอะไรบ้างเลย”

จากนั้น อตุละกับบริวารก็พากันไปยังสํานักของพระสารีบุตรเถระ พระสารีบุตรเถระถาม
ว่า “พวกโยมต้องการสิ่งใด” อตุละตอบว่า “เมื่อสักครู่ ข้าพเจ้าพาอุบาสกเหล่านี้ไปกราบไหว้
พระเรวตเถระ เพื่อจะฟังธรรม แต่พระเรวตเถระไม่พูดอะไรกับพวกข้าพเจ้าเลย พวกข้าพเจ้าจึงมา
ที่นี่เพื่อฟังธรรมจากท่าน ขอท่านได้โปรดแสดงธรรมเถิด”

พระสารีบุตรเถระจึงแสดงธรรมเทศนาว่าด้วยพระอภิธรรมอย่างละเอียดเป็นเวลานาน
อตุละทนฟังจนจบก็รู้สึกไม่พอใจอีก และบ่นกับบริวารของตนอีกว่า “พระอภิธรรมละเอียดมาก
เหลือเกิน พระสารีบุตรเถระแสดงธรรมยาวขนาดนี้ ใครจะจดจําทั้งหมดได้ พวกเราไม่ได้ต้องการ
ฟังธรรมมากมายยืดยาวขนาดนี้”

แล้วอตุละกับบริวารก็พากันไปหาพระอานนท์เถระ และกราบเรียนพระอานนท์เถระว่า
“พวกข้าพเจ้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อจะฟังธรรม แต่พระเรวตเถระไม่ยอมแม้แต่จะพูดคุยอะไรเลย
พวกข้าพเจ้ารู้สึกไม่พอใจจึงไปหาพระสารีบุตรเถระ แต่พระสารีบุตรเถระก็แสดงธรรมอย่างยืดยาว
พวกข้าพเจ้ารู้สึกไม่ชอบใจ จึงมาหาท่าน ขอท่านโปรดแสดงธรรมให้พวกข้าพเจ้าฟังด้วยเถิด”

พระอานนท์เถระจึงแสดงธรรมแต่น้อย เพื่อให้อตุละกับบริวารเข้าใจได้ง่ายๆ แต่เมื่ออตุละ
ฟังธรรมจากพระอานนท์เถระจนจบแล้ว ก็รู้สึกไม่พอใจอีกเช่นกัน และบ่นกับบริวารของตนอีกว่า
“พระอานนท์เถระแสดงธรรมแบบย่นย่ออย่างนี้ ไม่มีรายละเอียดเลย ใครจะไปเข้าใจได้เล่า”
ว่าแล้วอตุละกับบริ วารก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และทูลเล่าเรื่องทั้งหมดดังกล่าว

พระพุทธเจ้าทรงสดับเรื่องทั้งหมดแล้ว ตรัสวา ่ “เรื่องอย่างนี้ เป็นมาแต่โบราณกาลคู่กับคน ไม่ว่า
จะเป็นคนที่ไม่พูด คนพูดมาก หรือคนพูดน้อย ก็ล้วนแต่เคยถูกคนนินทาติเตียนทั้งสิ้น แต่ก็ไม่มีผู้ใด
ในโลกที่จะถูกติเตียนอย่างเดียว และไม่มีผู้ใดในโลกที่จะได้รับคําสรรเสริ ญอย่างเดียว
แม้แต่พระราชา ผืนแผนดิน ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เทพยดา หรือดินฟ้าอากาศ หรือแม้แต่ตถาคตเอง
ก็มีทั้งผู้ที่นินทา และผู้ที่สรรเสริญ หากเป็นการติเตียนและสรรเสริญจากคนพาลก็เป็นเรื่อง
ที่ไม่ควรนับเป็นแก่นสาร แต่ถ้าเป็นการติเตียนและสรรเสริญจากบัณฑิต จึงจะชื่อวาเป็นการติเตียน ่
และสรรเสริญ ผู้ใดซึ่งมีความประพฤติดีงามและมีปัญญางามทําแต่สิ่งดีงามอย่างสมํ่าเสมอ

วิญญูชนทั้งหลายผู้มีความใคร่ครวญด้วยใจเป็นธรรมดีแล้วย่อมมีคําสรรเสริญให้แก่เขาผู้นั้น
ถึงกระนั้นก็ยังคงเป็นคําของผู้อื่น บุคคลพึงหมันรักษาศีล บําเพ็ญสมาธิ และเจริญปัญญาของตน ่
เป็นสําคัญเถิด เพื่อจะได้เข้าถึงความรู้แจ้งว่าทุกสิ่งคือกองทุกข์ล้วนๆ เมื่อรู้แจ้งแล้วจะได้ไม่หลงติด
กับสิ่งทั้งปวงนั้น” จบคําเทศนา อุบาสกจํานวนมากในที่นั้นซึ่งได้พิจารณาตามด้วยใจอันตั้งมัน
โดยชอบก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๓. เรื่องทางไปของชีวิตเกิดจากความคิดและเจตนา

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับ ณ นิคมแห่งชาวโกลิยะ มีนักบวชประเภทชีเปลือย ๒ คน
คนหนึ่งชื่อว่า “เสนิยะอเจละ” มีพฤติกรรมและวิธีดําเนินชีวิตเลียนแบบสุนัข โดยความเชื่อว่า
ทําเช่นนี้แล้วจะมีตบะอันจะทําให้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้กับอีกคนหนึ่งชื่อว่า “ปุณณโกลิยบุตร”
มีพฤติกรรมและวิธีดําเนินชีวิตเลียนแบบวัว โดยความเชื่อทํานองเดียวกันว่าทําเช่นนี้แล้วจะมีตบะ
อันจะทําให้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดได้เมื่อเสนิยะอเจละและปุณณโกลิยบุตรได้พบพระพุทธเจ้า
ก็ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ที่ตนมีพฤติกรรมและวิธีดําเนินชีวิตเช่นนี้จะมีคติในภายภาคหน้าอย่างไร
โดยหวังว่าพระพุทธเจ้าจะตรัสรับรองว่าทําดีแล้ว

พระพุทธเจ้าทรงห้ามว่า “อย่าถามเลย” แต่ทั้งสองคนก็ยังคงอ้อนวอนถามถึง ๓ ครั้งขอให้ พระพุทธเจ้าตอบ พระพุทธเจ้าจึงตรัสตอบว่า “คนที่มีพฤติกรรมและวิธีดําเนินชีวิตเลียนแบบสุนัข หรือวัวเช่นนี้
้ เมื่อตายไปก็จะไปเกิดเป็นสุนัขหรือวัวตามความหลงผิดและเคยชินเช่นนั้น” ทั้งสอง ้งสองคนจะได้เลิกวัตรอันงมงายคนรู้สึกเสียใจและได้คิด จึงทูลขอให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรมเพื่อนของตนเสีย พระพุทธเจ้าจึงตรัสแสดงธรรมเกี่ยวกับกรรม ๔ อย่าง คือ

๑. กรรมดํา มีวิบากดํา ได้แก่ การที่ปรุงแต่งความคิดหรือเจตนาทางกายวาจาใจอันหลงผิด อยู่มาก ประกอบด้วยการเบียดเบียน จึงมีที่ไปคือไปเกิดในภพที่มีการเบียดเบียน ได้รับสัมผัส และ เวทนาที่มีการเบียดเบียน อันเป็นความทุกข์ทรมานโดยส่วนเดียว เช่นผู้ที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต และอสุรกาย

๒. กรรมขาว มีวิบากขาว ได้แก่ การที่ปรุงแต่งความคิดหรือเจตนาทางกายวาจาใจ อันประกอบด้วยการไม่เบียดเบียนและความสงบใจ แต่ยังมีอวิชชาคือความไม่รู้อัน ทํา ให้ติดยึด ในตัวตนมากบ้าง น้อยบ้าง จึงมีที่ไปคือไปเกิดในภพที่ไม่มีการเบียดเบียน ได้เสวยเวทนาที่เป็น ความสงบใจชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่นผู้ที่ไปเกิดเป็นพรหม

๓. กรรมดําปนกับกรรมขาว มีวิบากทั้งดําทั้งขาว ได้แก่ การที่ปรุงแต่งความคิดหรือเจตนา ทางกายวาจาใจอันหลงผิดมากบ้าง น้อยบ้าง ประกอบด้วยการเบียดเบียนบ้างและการไม่เบียดเบียน บ้าง จึงมีที่ไปคือไปเกิดในภพที่มีการเบียดเบียนบ้างและที่ไม่มีการเบียดเบียนบ้าง ได้รับสัมผัสและความทุกข์ทรมานและความบันเทิงเริงรมย์คละเคล้ากันไป เช่นผู้ที่ไปเกิดเป็นเทวดา เวทนาที่มีทั้งคนและสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย

๔. กรรมไม่ดําไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นทุกข์ คือมีเจตนาที่จะละกรรมทั้งปวง โดยประกอบด้วยวิชชา รู้ถึงอริยสัจอย่างถ่องแท้มีที่หมายคือการพ้นทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ในวัฏสงสารอีก
เมื่อจบพระธรรมเทศนา ปุณณโกลิยบุตรกราบทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนาและแสดงตน เป็นอุบาสกขอนับถือพระรัตนตรัยไปตลอดชีวิต ส่วนเสนิยะอเจละกราบทูลสรรเสริญพระธรรม เทศนาและขอบรรพชา
เมื่อทราบว่าผู้เคยเป็นเดียรถีย์มาก่อน หากประสงค์จะบวชในพระธรรมวินัย จะต้องอบรมก่อน ๔ เดือน
ก็มีศรัทธาจะขออบรม ๔ ปี ต่อมาเมื่อได้บรรพชาแล้วก็ได้สําเร็จเป็น พระอรหันต์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๔. เรื่องวัตรปฏิบัติของพระภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริงที่แท้

วันหนึ่ง พระสารีบุตรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้อาหารพอประมาณแล้วก็นั่งฉัน
ในที่อันสมควร เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้ว มีหญิงคนหนึ่งสงสัยในวัตรปฏิบัติของเหล่าภิกษุผู้เป็นศิษย์
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าจะเป็นประการใด จึงเข้าไปนมัสการพระสารีบุตรแล้วถามว่า
“พระสมณโคดมผู้เป็นพระบรมศาสดาของท่าน ตรัสสอนหลักการฉันอาหารโดยชอบของภิกษุไว้
หรือไม่ประการใด”

พระสารีบุตรตอบว่า “พระบรมศาสดาตรัสสอนภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชีวิตผู้เป็นภิกษุ
อยู่ได้เนื่องด้วยผู้อื่น พึงทําตัวให้เป็นผู้เลี้ยงง่าย ชาวบ้านผู้ใส่บาตรล้วนมีจิตอนุเคราะห์หวังให้ภิกษุ
ไม่ต้องลําบากประกอบอาชีพหาปัจจัยมาซื้อหาหรือหุงหาอาหารเอง ภิกษุฉันอาหารที่ชาวบ้านถวาย
แล้วตั้งใจศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติสมณกิจโดยชอบ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นอยู่โดยไม่เสียข้าวสุก

ของชาวบ้านไปอย่างเปล่าประโยชน์ดังนี้ เป็นหลักการฉันโดยชอบของภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริง
ที่แท้”หญิงนั้นถามต่อไปว่า “ท่านตอบหลักการฉันอาหารโดยชอบของภิกษุไว้แจ่มแจ้งดีแล้ว
ถ้าเช่นนั้น การฉันอย่างไรจึงถือว่าเป็นไปโดยไม่ชอบ ไม่ใช่วัตรปฏิบัติโดยชอบของภิกษุผู้เป็น
พุทธบุตรที่จริงที่แท้”

พระสารีบุตรตอบว่า “ภิกษุใดหาเลี้ยงชีพด้วยการดูพื้นที่กับทิศทางลมและนํ้าว่าเป็น
ตําแหน่งทําเลดีหรือร้าย จัดเป็นเดียรัจฉานวิชา เรียกได้ว่า ก้มหน้าฉัน ย่อมไม่ใช่การฉันโดยชอบ
ของภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริงที่แท้ เลี้ยงชีพด้วยการดูดาวนักษัตรบนท้องฟ้าว่าเป็นฤกษ์มงคลหรืออัปมงคล
ดูดวง ภิกษุใดหาเลียงชีพดูดวงชะตาว่าดีหรือร้าย จัดเป็นเดียรัจฉานวิชา เรียกได้ว่า
แหงนหน้าฉัน ย่อมไม่ใช่การฉันโดยชอบของ ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริงที่แท้

เลี้ยงชีพด้วยการรับดูใบหน้าและอวัยวะน้อยใหญ่แล้วทํานายโชคชะตา เรียกได้ ภิกษุใดหาเลี้ยง
ชีพมองดูทิศน้อยฉัน ย่อมไม่ใช่การฉันโดยชอบของภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริงที่แท้
ภิกษุใดหาเลี้ยงชีพด้วยการรับประกอบพิธีกรรมเป็นสื่อทางคุณไสยให้แก่คฤหัสถ์เรียกได้ ว่า
มองดูทิศใหญ่ฉัน ย่อมไม่ใช่การฉันโดยชอบของภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริงที่แท้
ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรที่จริงที่แท้จักไม่หาเลี้ยงชีพด้วยพฤติการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นอันขาด”

หญิงนันได้ฟังเช่นนั้นแล้ว ก็กล่าวสรรเสริญว่า “ภาษิตของท่านกระจ่างแจ้งดีแท้ดิฉันและ
คฤหัสถ์ทั้งหลายจักได้พอรู้แนวทางในการพิจารณาและทําความเข้าใจว่าภิกษุใดเป็นพุทธบุตรที่จริง
ที่แท้หรือไม่สืบไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ต.ค. 2016, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๕. เรื่องการมีกัลยาณมิตรเป็นทั้งหมดของหนทางไปสู่การบรรลุ มรรคผล

ครั้งหนึ่ง พระอานนท์กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การมีกัลยาณมิตร
คือมีเพื่อนที่ดีที่แท้นี้เป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ เป็นกึ่งหนึ่งของหนทางไปสู่การบรรลุมรรคผล
เลยเทียว พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “อานนท์ ที่เธอกล่าวนั้นยังไม่ถูกต้องเสียทีเดียว แท้จริงแล้ว
การมีกัลยาณมิตร คือมีเพื่อนที่ดีที่แท้นี้เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์ เป็นทั้งหมดของหนทางไปสู่การ
บรรลุมรรคผล ผู้ใดมีกัลยาณมิตร คือมีเพื่อนที่ดีที่แท้นี้อยู่เสมอย่อมทําให้กุศลธรรมเจริญขึ้น
ย่อมจักทําอริยมรรคมีองค์แปด อันได้แก่ การมีความเห็นชอบ การมีความคิดชอบ การพูดจาชอบ

การกระทําชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ การมีความเพียรชอบ การมีสติชอบ การมีสมาธิชอบ ให้เจริญได้
จักทําให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์แปดให้ถึงพร้อมและล่วงพ้นจากทุกข์ได้ สรรพสัตว์ทั้งหลายมีเรา
ตถาคตเป็นกัลยาณมิตรบอกอริยมรรคให้ หากยินดีโดยไม่หันเหไปในทางที่ผิดและดําเนิน

ในอริยมรรคที่เราตถาคตผู้เป็ นกลยาณมิตรได้บอกทางให้แล้วจักล ั ่วงพ้นจากทุกข์ได้ ภิกษุทั้งหลาย
พึงระลึกวาอย่าได้ส้องเสพกับคนพาล แต่พึงมีกลยาณมิตรและเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและกันเสมอไปเถิด”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 4 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร