วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 12:28  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2011, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 15 ก.ย. 2010, 23:17
โพสต์: 257

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: ประเภทธรรมะ
ชื่อเล่น: หยุย
อายุ: 0
ที่อยู่: ห้วยขวาง

 ข้อมูลส่วนตัว


แนบไฟล์:
คำอธิบาย: สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำมาสั่งสอน
**** พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสวงหาความหลุดพ้นจากทุกข์โดยสมบูรณ์ ด้วยวิธีการต่างๆ จนในที่สุดพระองค์ได้ทรงใช้ปัญญา สังเกต พิจารณาเข้าไปใน รูป – นาม กาย – ใจ ของพระองค์เอง แล้วได้ทรงค้นพบความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่เรียกว่า “อริยสัจ 4” คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

*****แปลเป็นภาษาไทยคือ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ วิธีทำให้ถึงความดับทุกข์ ซึ่งเมื่อสังเกต พิจารณาดูดีๆแล้วก็จะเห็นว่า สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้นคือ เหตุ กับ ผล 2 สิ่งนี้เท่านั้นเอง แต่มาแบ่งออกเป็น 2 คู่คือ เหตุทุกข์ กับผลทุกข์ คู่หนึ่ง เหตุสุขกับ ผลสุข อีกคู่หนึ่ง

***** พระพุทธองค์ทรงสอนแก่ ปัญจวัคคีย์ในวันปฐมเทศนาว่า ทุกข์ เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ เหตุเกิดทุกข์คือ สมุทัย ควรละ ผลสุขหรือความดับทุกข์คือ นิโรธ ควรทำให้แจ้ง มรรคคือวิธีการที่จะทำให้หมดทุกข์ ควรเจริญให้มาก

*****พระองค์ทรงสอนให้สู้ที่เหตุทุกข์ คือนำเอามรรค มาต่อสู้กับสมุทัย มรรคนี่เองคือสิ่งที่ผู้ปารถนาพ้นทุกข์ทุกคนต้องศึกษาให้เข้าใจถูกต้อง ถ่องแท้ และลงมือปฏิบัติจริงๆ

*****ถ้ามาดูตามเหตุและผล 2 คู่ดังที่กล่าว การเจริญมรรคนั้นก็คือการเอาเหตุสุข มาต่อสู้กับเหตุทุกข์ ถ้าเหตุทุกข์ดับ ผลทุกข์ก็ดับ สิ่งที่เหลือก็คือ ผลสุข นิโรธ หรือ นิพพาน

*****สิ่งที่จะต้องถามและหาคำตอบให้ได้จนถึงที่สุดในที่นี้ก็คือ อะไรเป็นเหตุทุกข์ อะไรเป็นเหตุสุข เมื่อพิจารณาตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้รู้ว่า มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด เป็นเหตุทุกข์ สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง เป็นเหตุสุข

***** ผู้ปฏิบัติก็ต้องค้นหาเหตุผลต่อไปอีกว่า เห็นอย่างไรจึง เรียกว่าเห็นผิด เห็นอย่างไรจึงจะเรียกว่า เห็นถูกต้อง เมื่อศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าต่อไปเราก็ได้ทราบว่า เห็นผิด คือเห็นเป็นอัตตา สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เห็นถูกต้อง คือเห็นเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา

*****การเจริญมรรคนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการปฏิบัติธรรม การปฏิบัติธรรมตามแนวทางที่ พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้ เรียกว่า “วิปัสสนาภาวนา หรือ วิปัสสนากรรมฐาน” คำว่า “วิปัสสนาภาวนา” นั้นเป็นภาษาบาลี ซึ่งเมื่อแปลออกมาก็จะได้ความหมายดังนี้

วิ มาจากคำว่า วิเศษ สิ่งวิเศษในที่นี้คือสิ่งที่ตาคน ตาสัตว์ ตาเทวดา ตาพรหม ไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ตาปัญญาสามารถมองเห็นได้ รู้ได้

ปัสสนา มาจากคำว่า ทัศนา แปลว่า ดู เห็น

ภาวนา แปลว่า เจริญ การเจริญในที่นี้หมายถึงการเจริญตาปัญญาเข้าไป ดู เห็น และสังเกต พิจารณา ค้นหาคำตอบจากสิ่งวิเศษต่างๆ ที่มีอยู่ในรูป – นาม กาย – ใจ สิ่งวิเศษเหล่านั้นคือ ปรมัตถ์ธรรม ความจริงที่แสดงอยู่ในกายใจอันได้แก่ ธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อายตนะ 12 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คู่กับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ฯลฯ

*****สรุปว่าวิปัสสนาภาวนา คือการเจริญปัญญา ในปัญญามรรค 2 ข้อแรกของมรรคมีองค์ 8 อันได้แก่

สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง อันมีความหมายถึงการดู จนเห็น จน รู้ ว่า สัพเพธัมมา อนัตตา สรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวงเป็น อนัตตา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน กู เรา เขา เมื่อเห็นได้อย่างนี้ สัมมาทิฐิก็จะสมบูรณ์ เต็ม 100 %

*****แต่การจะเห็นจนถูกต้องสมบูรณ์ได้นั้นต้องมีปัญญาอีกตัวหนึ่งมาช่วยคือ

สัมมาสังกัปปะ ความสังเกต คิด พิจารณา ถูกต้อง เป็นปัญญามรรคตัวที่ 2 ที่จะต้องเกิดขึ้นและเป็นไปพร้อมกับและสนับสนุนปัญญามรรคตัวที่ 1 คือ สัมมาทิฐิ เสมอๆ ปัญญาตัวนี้จะทำหน้าที่

สังเกต (ไม่ใช้ความคิด) สิ่งที่ตาปัญญาดู เห็น รู้

พิจารณา (ใช้ความคิด)คือคิด วิตก วิจารณ์ วิจัย ใคร่ครวญ แยกแยะหาเหตุหาผล ค้นหาคำตอบ จนเห็นความจริง เกิดสัมมาทิฐิเพิ่มมากขึ้นไปตามลำดับจนเต็มสมบูรณ์ครบ 100 %

สติ สมาธิเล่าไปอยู่ไหน สติ อันเป็นส่วนของศีลมรรค 3 ข้อ และสมาธิ อันเป็นส่วนของสมาธิมรรค 3 ข้อนั้นเขาจะตามมาหนุนปัญญาเองโดยอัตโนมัติ เพราะ ปัญญา สติ สมาธิ นี้เขาเป็นธรรมชาติที่ไปด้วยกัน พร้อมกันสนับสนุนซึ่งกันและกันอยู่เสมอโดยมีสติคอยเตือน ปัญญา เป็นหัวหน้านำไป สมาธิ คอยหนุนให้ปัญญาทำงานสำเร็จ
http://www.free-webboard.com/view.php?nm=asoka2552&qid=13

q13.jpg
q13.jpg [ 103.56 KiB | เปิดดู 3331 ครั้ง ]

.....................................................
สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม
ทุกอย่างไม่ควรยึดถือ
อกุศลน้อยนิด อย่าคิดทำ
กุศลน้อยนิด ให้คิดทำ
ทำกุศลวันละนิด ดีกว่าคิดที่จะทำ

พระพุทธองค์ยังถูกนินทา
ประชาชนธรรมดามีหรือจะหนีพ้น

ไม่อยากทุกข์แต่ก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่เรียนรู้ทุกข์ จะพ้นทุกข์ได้อย่างไร


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร