วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 06:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 18:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า ปวาสา อาคโต ตาต ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง
พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเธอจึงกระสัน กราบทูลว่า
ข้าพระองค์เห็นหญิงงดงามคนหนึ่ง จึงกระสันเพราะอำนาจกิเลส

พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุ ธรรมดามาตุคามใคร ๆ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แม้เมื่อก่อน
เขาวางยามประตูรักษาไว้ ยังไม่อาจรักษาไว้ได้ เธอจะต้องการ
มาตุคามไปทำอะไร แม้ได้แล้ว ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แล้วทรง
นำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดนกแขกเต้า. ชื่อว่า
ราธะ. นกแขกเต้านั้นมีน้องชื่อโปฏฐปาทะ. พรานคนหนึ่งจับ
นกแขกเต้าสองพี่น้องในขณะยังอ่อนอยู่ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่ง
ในกรุงพาราณสี. พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าไว้ในฐานะบุตร.

แต่นางพราหมณีของพราหมณ์เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัว
เป็นคนทุศีล. เมื่อพราหมณ์จะไปทำการค้าจึงเรียกลูกนกแขกเต้า
นั้นมาสั่งว่า แน่ะลูกพ่อ พ่อจะไปทำการค้า เจ้าทั้งสองคอยดูการ
กระทำของแม่เจ้าทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน พึงสืบดูว่า

มีชายอื่นไปมาหรือไม่ ครั้นมอบหมายนางพราหมณีกับลูกนก-
แขกเต้าแล้วก็ไป. นางพราหมณีตั้งแต่พราหมณ์ออกไปแล้ว ก็
ประพฤติอนาจาร. คนที่มา ๆ ไป ๆ ทั้งกลางคืนกลางวัน ช่างมาก
มายเหลือเกิน นกโปฏฐปาทะเห็นดังนั้น จึงถามนกราธะว่า
พราหมณ์ได้มอบพราหมณีนี้แก่เราไว้แล้วจึงไป และนางพราหมณี
นี้ก็ทำการน่าอดสู เราจะว่าแกดีหรือ. นกราธะตอบว่า อย่าว่า

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แกเลยน้อง. นกโปฏฐปาทะ ไม่เชื่อฟังคำของนกราธะ จึงไปต่อว่า
นางพราหมณีว่า แม่ เพราะอะไร แม่จึงทำการน่าอดสูอย่างนี้.
นางพราหมณีอยากจะฆ่านกโปฏฐปาทะนักทำเป็นรัก เรียกมาพูด
ว่า นี่ลูกเจ้าก็เป็นลูกของแม่ ตั้งแต่นี้ไปแม่จักไม่ทำอีก มานี่ก่อน

ซิลูก พอนกโปฏฐปาทะมาก็ตะคอกว่า เจ้าพูดกะเรา เจ้าไม่รู้
ประมาณตน แล้วบิดคอเสียจนตายโยนลงไปในเตา. พราหมณ์
มาถึงพักผ่อนแล้วเมื่อจะถามพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อราธะแม่
ของเจ้าทำอนาจารหรือเปล่า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม กลับมา
เดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไป
คบหาบุรุษอื่นดอกหรือ.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า แน่ะพ่อราธะ พ่อกลับมา
จากที่ค้างแรม พ่อเพิ่งมาเดี๋ยวนี้เอง มาไม่นานนัก ด้วยเหตุนั้น
พ่อไม่รู้เรื่องราวจะขอถามเจ้า ดูก่อนลูก แม่ของเจ้าไม่คบหา
ชายอื่นดอกหรือ.

นกราธะตอบว่า ข้าแต่พ่อธรรมดาบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่
กล่าวคำจริงหรือไม่จริงที่ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อจะแจ้งให้ทราบ
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบ
ด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนอยู่
ดุจนกแขกเต้าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ใน
เตาไฟฉะนั้น.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า คิรํ คือ คำพูด. จริงอยู่ คำพูดท่าน
เรียกว่าคิระ เหมือนดังวาจาที่เปล่งออกในเวลานี้. ลูกนกแขกเต้า
นั้นมิได้คำนึงถึงเพศ จึงกล่าวอย่างนั้น. อธิบายความในคาถานี้
ดังนี้. ข้าแต่พ่อ ธรรมดาบัณฑิตจะไม่กล่าวแม้คำที่ประกอบด้วย

สัจจะคือ มีสภาพที่เป็นจริงและประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่ทำ
ให้พ้นทุกข์และความจริงที่ไม่ดี คือ ไม่ทำให้พ้นทุกข์. บทว่า
สเยถ โปฏฺฐปาโทว มุมฺมเร อุปกูสิโต ความว่า เหมือนนก
โปฏฐปาทะ นอนไหม้อยู่ในเถ้ารึง ฉะนั้น. บาลีว่า อุปกุฏฺฐิโต
ก็มี ความอย่างเดียวกัน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผล. นกแขกเต้าโปฏฐปาทะในครั้งนั้นได้เป็น
อานนท์ในครั้งนี้ แต่นกแขกเต้าราธะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาราธชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุผู้กระสันเหมือนกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อุภยํ เม น ขมติ ดังนี้.

พระศาสดาเมื่อจะรับสั่ง จึงตรัสว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคาม
ดูแลไม่ไหว ทำความชั่วเข้าแล้ว ย่อมลวงสามีด้วยอุบายอย่างใด
อย่างหนึ่ง แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดี แคว้นกาสี
ครั้นเจริญวัยได้ครองฆราวาส. ภรรยาของพระโพธิสัตว์นั้น
เป็นหญิงทุศีล ประพฤติอนาจารกับผู้ใหญ่บ้าน. พระโพธิสัตว์

ทราบระแคะระคาย จึงเที่ยวสืบดู. ก็ในครั้งนั้นในระหว่างฤดูฝน
เมื่อข้าวปลูกยังไม่แก่ ก็เกิดความอดหยาก. ถึงเวลาที่ข้าวกล้า
ตั้งท้อง. ชาวบ้านทั้งหมดร่วมใจกัน ยืมโคแก่ตัวหนึ่งของผู้ใหญ่
บ้านมาบริโภคเนื้อ โดยสัญญาว่า จากนี้ไปสองเดือนเราเก็บเกี่ยว
แล้วจักให้ข้าวเปลือก.

อยู่มาวันหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้านคอยโอกาส จึงเข้าไปยังเรือน
ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ออกไปข้างนอก. ในขณะที่ทั้งสองคน
นอนอย่างเป็นสุขนั่นเอง พระโพธิสัตว์ก็เข้าไปทางประตูบ้าน
หันหน้าไปทางเรือน. หญิงนั้นหันหน้ามาทางประตูบ้าน เห็น

พระโพธิสัตว์ คิดว่า นั่นใครหนอ จึงยืนมองดูที่ธรณีประตู ครั้น
รู้ว่าพระโพธิสัตว์นั่นเอง จึงบอกแก่ผู้ใหญ่บ้าน. ผู้ใหญ่บ้านกลัว
ตัวสั่น. หญิงนั้นจึงบอกผู้ใหญ่บ้านว่า อย่ากลัว ฉันมีอุบายอย่าง
หนึ่ง พวกเรายืมโคของท่านมาบริโภคเนื้อ ท่านจงทำเป็นทวง
เรียกค่าเนื้อ ฉันจะขึ้นไปยังฉางข้าวยืนอยู่ที่ประตูฉาง แล้วบอก

ท่านว่า ข้าวเปลือกไม่มี ท่านยืนอยู่กลางเรือน แล้วทวงบ่อย ๆ
ว่า พวกเด็ก ๆ ในเรือนของเราหิว ท่านจงให้ค่าเนื้อเถิด ว่าแล้ว
นางก็ขึ้นไปยังฉางนั่งที่ประตูฉาง. ฝ่ายผู้ใหญ่บ้านยืนอยู่ที่กลาง
เรือนก็ร้องว่า จงให้ค่าเนื้อเรา. นางนั่งอยู่ที่ประตูฉาง พูดว่า
ในฉางไม่มีข้าวเปลือก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วเราจึงจะให้ ไปก่อนเถิด.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระโพธิสัตว์เข้าไปยังเรือนเห็นกิริยาของคนทั้งสองก็
รู้ว่า นั่นคงเป็นอุบายของหญิงชั่วนี้ จึงเรียกผู้ใหญ่บ้านมาพูดว่า
นี่แน่ะท่านผู้ใหญ่ เมื่อเราจะบริโภคเนื้อโคแก่ของท่านก็บริโภค
โดยสัญญาว่า จากนี้ไปสองเดือน เราจึงจักให้ข้าวเปลือก ยังไม่
ล่วงไปถึงกึ่งเดือนเลยท่าน เพราะเหตุไรท่านจึงมาทวงในเวลานี้

ท่านมิได้มาด้วยเหตุนี้ น่าจะมาด้วยเหตุอื่นกระมัง เราไม่ชอบใจ
กิริยาของท่านเลย แม้หญิงนี้ก็เลวทรามเหลือหลาย รู้ว่าในฉาง
ไม่มีข้าวเปลือก ก็ยังขึ้นฉางบอกว่า ข้าวเปลือกไม่มี แม้ท่าน
ก็ทวงว่า จงให้เรา เราไม่ชอบการกระทำของท่านทั้งสองเลย
เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ
ก็หญิงคนนี้ ลงไปในฉางข้าวแล้วพูดว่า เรายัง
ใช้หนี้ให้ไม่ได้.
ดูก่อนผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนี้เราจึงพูด
กะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่ ซูบผอม ซึ่งเรา
ได้ผัดไว้ถึงสองเดือน ในคราวเมื่อชีวิตของเรา
น้อยลำบากยากเข็ญ ในกาลยังไม่ถึงกำหนด
สัญญา กรรมทั้งสองนั้นไม่ชอบใจเราเสียเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ตํ คามปติ พฺรูมิ ความว่า ท่าน
ผู้ใหญ่บ้าน เราพูดกะท่านด้วยเหตุนั้น. บทว่า กทเร อปฺปสฺมึ
ชีวิเต ความว่า ชื่อว่าชีวิตของเรายากจน คือ ค่นแค้น เศร้าหมอง
ฝืดเคือง กำลังน้อย ซูบผอม เมื่อชีวิตของเราเป็นถึงเช่นนี้. บทว่า

เทฺว มาเส สงฺครํ กตฺวา มํสํ ชรคฺควํ กิสํ ความว่า เมื่อพวกเราจะ
รับเนื้อ ท่านก็ให้โคแก่ คือ โคชรา ซูบผอม ทุพพลภาพ แล้ว
ผัดเพี้ยน คือกำหนดสองเดือนอย่างนี้ว่า สองเดือนล่วงแล้ว ท่าน
ควรชำระค่าเนื้อ. บทว่า อปฺปตฺตกาเล โจเทสิ ความว่า เมื่อ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ยังไม่ถึงเวลานั้นท่านก็มาทวงเสียแล้ว. บทว่า ตมฺปิ มยฺหํ น
รุจฺจติ ความว่า และหญิงชั่วช้าทุศีลผู้นี้รู้อยู่ว่า ภายในฉางข้าว
ไม่มีข้าวเปลือกทำเป็นไม่รู้ขึ้นไปบนฉางข้าว ยืนที่ประตูฉาง
พูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้ อนึ่ง ท่านก็มาทวงเมื่อยังไม่ถึง
เวลา ทั้งสองอย่างนี้เราไม่ชอบใจเลย.

เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวซ้ำซากอยู่อย่างนี้ จึงจิกผมผู้ใหญ่
บ้านกระชากให้ล้มลงท่ามกลางเรือน แล้วด่าว่าด้วยคำเป็นต้นว่า
เจ้าทำร้ายของที่คนอื่นเรารักษาหวงแหนโดยถือว่า ฉันเป็นผู้ใหญ่
บ้าน แล้วทุบตีจนบอบช้ำ จับคอไสออกจากเรือน แล้วคว้าผม

หญิงชั่วร้ายนั้นให้ลงมาจากฉางตบตีขู่ว่าหากเจ้าทำเช่นนี้อีก
จักได้รู้กัน. ตั้งแต่นั้นมาผู้ใหญ่บ้านก็ไม่กล้ามองดูเรือนนั้น.
แม้หญิงชั่วนั้นก็ไม่อาจประพฤตินอกใจอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. คหบดีผู้ลงโทษผู้ใหญ่บ้าน คือเราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถาคหปติชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพราหมณ์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สรีรทพฺยํ วุฑฺฒพฺยํ ดังนี้.

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีลูกสาวสี่คน. มีชายสี่คน
ต้องการลูกสาวเหล่านั้น. ในชายสี่คนนั้น คนหนึ่งรูปงาม
ร่างกายสมบูรณ์ คนหนึ่งอายุมากเป็นผู้ใหญ่ คนหนึ่งสมบูรณ์
ด้วยชาติ คนหนึ่งมีศีล. พราหมณ์คิดว่า เมื่อจะปลูกฝังลูกสาว
ควรจะให้แก่ใครหนอ ควรให้แก่คนรูปงามหรือ คนมีอายุ คน

สมบูรณ์ด้วยชาติ และคนมีศีล คนใดคนหนึ่งดี. แม้เขาจะพยายาม
คิดก็ไม่รู้แน่ จึงคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักทรงทราบเหตุ
นี้ เราจักทูลถามพระองค์แล้วยกลูกสาวให้แก่ผู้ที่สมควรใน
ระหว่างคนเหล่านั้น จึงได้ถือของหอมดอกไม้เป็นต้น ไปวิหาร

ถวายบังคมพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนหนึ่ง กราบทูลความนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งแต่ต้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์
ควรจะให้แก่ใครในชายทั้งสี่เหล่านี้. พระศาสดาตรัสว่า แต่
ปางก่อนบัณฑิตทั้งหลายก็ยังถามปัญหานี้แก่พระองค์ แต่เพราะ
ยังอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อของภพ จึงไม่อาจจดจำได้ เมื่อพราหมณ์
ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์เรียนศิลปะ
ในเมืองตักกสิลา แล้วได้มาเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในกรุง
ตักกสิลา. ครั้งนั้นพราหมณ์มีลูกสาวสี่คน. มีชายสี่คนต้องการ
ลูกสาวเหล่านั้น. พราหมณ์รำพึงว่า จะควรให้แก่ใคร เมื่อไม่

แน่ใจจึงคิดว่า เราจะต้องถามอาจารย์ แล้วให้แก่ผู้ที่ควรให้
จึงไปหาอาจารย์ เมื่อจะถามเรื่องนั้น จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราขอถามท่านพราหมณ์ว่า ๑. คนมีรูป
งาม ๒. คนอายุมาก ๓. คนมีชาติสูง ๔. คนมี
ศีล สี่คนนั้น ท่านจะเลือกเอาคนไหน.

ในบทเหล่านั้น พราหมณ์ประกาศคุณที่มีอยู่แก่ชายสี่คน
เหล่านั้น. ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ชายสี่คนต้องการลูกสาว
สี่คนของข้าพเจ้า ในชายสี่คนนั้น คนหนึ่งมีรูปงาม คือมีร่างกาย
สมบูรณ์ มีความสง่า คนหนึ่งอายุมาก คือเป็นผู้ใหญ่ เจริญวัย
คนหนึ่งมีชาติสูง คือสมบูรณ์ด้วยชาติ เพราะเกิดมาดี คนหนึ่ง

มีศีล คืองดงามด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยศีล. บทว่า พฺราหฺมณนฺเต ว
ปุจฺฉาม ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าจะให้ลูกสาวเหล่านี้แก่ชายคน
หนึ่งในสี่คนเหล่านั้น จึงขอถามท่านพราหมณ์. บทว่า กินฺนุ
เตสํ วณิมฺหเส ความว่า ชายสี่คนเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะเลือก คือ
ต้องการคนไหนดี. คือพราหมณ์ถามอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจะให้
ลูกสาวเหล่านั้นแก่ใคร.

อาจารย์ฟังพราหมณ์นั้นแล้ว จึงตอบว่า คนมีศีลวิบัติแล้ว
แม้เมื่อมีรูปสมบัติก็น่าตำหนิ เพราะฉะนั้น รูปสมบัติหาเป็น
ประมาณไม่ เราชอบความเป็นผู้มีศีล เมื่อจะประกาศความนี้
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ประโยชน์ในร่างกายก็มีอยู่ ข้าพเจ้าขอ
ทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ประโยชน์
ในชาติดีก็มีอยู่ แต่เราชอบใจศีล.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ อตฺถิ สรีรสฺมึ ความว่า ความ
ต้องการ คือความวิเศษ ความเจริญในร่างกายที่สมบูรณ์ด้วย
รูป มีเหมือนกัน มิใช่เราว่าไม่มี. บทว่า วุฑฺฒพฺยสฺส นโม กเร
ความว่า แต่เราทำความนอบน้อมแก่ผู้เจริญวัย เพราะผู้เจริญวัย
ย่อมได้การกราบไหว้นับถือ. บทว่า อตฺโถ อตฺถิ สุชาตสฺมึ

ความว่า ความเจริญในคนที่เกิดมาดีก็มี เพราะชาติสมบัติก็
ควรปรารถนาเหมือนกัน. บทว่า สีลํ อสฺมาก รุจฺจติ ได้แก่
แต่เราชอบใจคนมีศีลเท่านั้น. เพราะคนมีศีล สมบูรณ์ด้วย
มารยาท แม้จะขาด สรีรสมบัติ ก็ยังน่าบูชา น่าสรรเสริญ.
พราหมณ์ฟังคำของอาจารย์แล้วก็ยกลูกสาวให้แก่คนมีศีล
อย่างเดียว.

พระศาสดานำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม พราหมณ์ตั้ง
อยู่ในโสดาปัตติผล. พราหมณ์ในครั้งนั้นได้เป็นพราหมณ์ผู้นี้
แหละ ส่วนอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสาธุสีลชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. รุหกชาดก ๒. สิริกาฬกัณณิชาดก ๓. จุลลปทุมชาดก
๔. มณิโจรชาดก ๕. ปัพพตูปัตถรชาดก ๖. วลาหกัสสชาดก
๗. มิตตามิตตชาดก ๘. ราธชาดก ๙. คหปติชาดก ๑๐. สาธุ-
ศีลชาดก.
จบ รุหกวรรคที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 20:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาพันธนาคารชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเรือนจำ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ตํ
ทฬฺหํ พนฺธนมาหุ ธีรา.

ได้ยินว่าในครั้งนั้น พวกราชบุรุษได้จับพวกโจร
ผู้ตัดช่องย่องเบา ฆ่าผู้คนในหนทาง ฆ่าชาวบ้านเป็นอันมาก นำ
เข้าถวายพระเจ้าโกศล. พระราชารับสั่งให้จองจำพวกโจรเหล่า
นั้น ด้วยเครื่องจำ คือ ขื่อคา เชือก และโซ่. ภิกษุชาวชนบท

ประมาณ ๓๐ รูป ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา จึงพากันมาเฝ้า
ถวายบังคม รุ่งเช้าออกบิณฑบาตผ่านเรือนจำเห็นพวกโจร
เหล่านั้น กลับจากบิณฑบาต เวลาเย็นเข้าเฝ้าพระตถาคต ทูล
ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้พวกข้าพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาต

ได้เห็นพวกโจรมากมายที่เรือนจำ ถูกจองจำด้วยขื่อคา และ
เชือกเป็นต้น ต่างก็เสวยทุกข์ใหญ่หลวง พวกโจรเหล่านั้น ไม่
สามารถจะตัดเครื่องจองจำเหล่านั้นหนีไปได้ ยังมีเครื่องจองจำ
อย่างอื่นที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นอีกหรือไม่ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำเหล่านั้น

จะชื่อว่า เครื่องจองจำอะไรกัน ส่วนเครื่องจองจำ คือกิเลสได้แก่
ตัณหาในทรัพย์ ในข้าวเปลือก ในบุตรภรรยาเป็นต้น นี่แหละ
มั่นคงยิ่งกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า แต่เครื่อง
จองจำนี้แม้ใหญ่หลวง ตัดได้ยากอย่างนี้ บัณฑิตแต่ก่อนยังตัดได้
แล้วเขาไปหิมวันตประเทศ ออกบวชแล้วทรงนำเรื่องอดีตมา
ตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดียากจนตระกูล
หนึ่ง. ครั้นเจริญวัยแล้วบิดาได้ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์ได้ทำ
การรับจ้างเลี้ยงมารดา. ครั้งนั้นมารดาจึงได้ไปสู่ขอธิดาตระกูล
หนึ่งมาไว้ในเรือนให้พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องการ แล้วนาง
ก็ถึงแก่กรรม.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายภรรยาของพระโพธิสัตว์ก็ตั้งครรภ์. พระโพธิสัตว์
ไม่รู้ว่านางตั้งครรภ์จึงบอกว่า ดูก่อนนาง เจ้าจงรับจ้างเขา
เลี้ยงชีวิตเถิด ฉันจักบวชละ. นางจึงกล่าวว่า ฉันตั้งครรภ์ เมื่อ
ฉันคลอดแล้ว พี่เห็นเด็กแล้วก็บวชเถิด. พระโพธิสัตว์ก็รับคำ

พอนางคลอด จึงบอกกล่าวว่า น้องคลอดเรียบร้อยแล้ว พี่จักบวช
ละ. นางจึงกล่าวว่า จงรอให้ลูกอย่านมเสียก่อนเถิด แล้วก็ตั้ง
ครรภ์อีก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่อาจให้นางยินยอมแล้ว
ไปได้ เราจะไม่บอกกล่าวนาง จะหนีไปบวชละ. พระโพธิสัตว์
มิได้บอกกล่าวนาง พอตกกลางคืนก็ลุกหนีไป. ครั้งนั้นเจ้าหน้าที่

ผู้ดูแลพระนครได้จับพระโพธิสัตว์นั้นไว้. พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า
เจ้านาย ข้าพเจ้าเป็นผู้เลี้ยงมารดา โปรดปล่อยข้าพเจ้าเถิด
ครั้นให้เขาปล่อยแล้วก็ไปอาศัยในที่แห่งหนึ่ง ออกทางประตูใหญ่
นั้นเอง เข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติ
ให้เกิด เพลิดเพลินอยู่ด้วยฌาน. พระโพธิสัตว์เมื่ออยู่ ณ ที่นั้น

เมื่อจะเปล่งอุทานว่า เราได้ตัดเครื่องจองจำ คือบุตรภรรยา
เครื่องจองจำ คือกิเลสที่ตัดได้ยากเห็นปานนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา
เหล่านี้ว่า :-

เครื่องผูกอันใด ที่ทำด้วยเหล็กก็ดี ทำด้วย
ไม้ก็ดี ทำด้วยหญ้าปล้องก็ดี นักปราชญ์ไม่กล่าว
เครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง ความ
กำหนัดยินดีในแก้วมณี และกุณฑลก็ดี ความ
ห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี.

นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็น
เครื่องผูกอันมั่นคง ทำให้สัตว์ตกต่ำ ย่อหย่อน
แก้ได้ยาก แม้เครื่องผูกนั้นนักปราชญ์ก็ตัดได้
ไม่มีความห่วงใย ละกามสุข หลีกออกไปได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา ความว่า ชื่อว่า ธีรา เพราะมี
ปัญญา เพราะปราศจากบาป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีรา เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-
พุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์. พึงทราบ
วินิจฉัยในบทว่า ยทายสํ เป็นต้น นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่

กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็กอันได้แก่ โซ่ เครื่องจองจำ
ทำด้วยไม้อันได้แก่ ขื่อคา เครื่องจองจำทำด้วยเชือกที่ขวั้นเป็น
เชือกด้วยหญ้ามุงกระต่ายหรือด้วยอย่างอื่นมี ปอ เป็นต้น ว่า
เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง แน่นหนา. บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่
ความกำหนัดยินดี คือ ยินดีด้วยความกำหนัดจัด. บทว่า มณิ-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กุณฺฑเลสุ ได้แก่ ในแก้วมณีและแก้วกุณฑล หรือในแก้วกุณฑล
ประกอบด้วยแก้วมณี. บทว่า เอตํ ทฬฺหํ ความว่า นักปราชญ์
ทั้งหลายกล่าวว่า เครื่องจองจำอันเป็นกิเลสของผู้ที่กำหนัด
ยินดีในแก้วมณีและแก้วกุณฑล และของผู้ที่ห่วงใยในบุตรและ
ภรรยาว่า เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคงแน่นหนา. บทว่า โอหารินํ

ความว่า ชื่อว่า เครื่องจองจำทำให้ตกต่ำ เพราะชักนำลงใน
เบื้องต่ำ โดยฉุดให้ตกลงในอบาย ๔. บทว่า สิถิลํ ความว่า
ชื่อว่าเครื่องจองจำย่อหย่อน เพราะไม่ตัดผิวหนังและเนื้อ ไม่ทำ
ให้เลือดออกตรงที่ผูก ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นเครื่องจองจำด้วย ยอม

ให้ทำการงานทั้งทางบกและทางน้ำเป็นต้น. บทว่า ทุปฺปมุญฺจํ
ความว่า ชื่อว่าเครื่องจองจำแก้ได้ยาก เพราะเครื่องจองจำ คือ
กิเลสเกิดขึ้นแม้คราวเดียว ด้วยอำนาจตัณหาและโลภะ ย่อม
แก้หลุดได้ยาก เหมือนเต่าหลุดจากที่ผูกได้ยาก. บทว่า เอตมฺปิ

เฉตฺวาน ความว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องจองจำ คือกิเลสนั้น
แม้มั่นคงอย่างนี้ ด้วยพระขรรค์ คือญาณ ตัดห่วงเหล็กดุจช้าง
ตกมัน ดุจราชสีห์หนุ่มทำลายซี่กรง รังเกียจวัตถุกามและกิเลส
กาม ดุจพื้นที่เทหยากเยื่อ ไม่มีความห่วงใย ละกามสุขหลีกออก

ไป ก็และครั้นหลีกออกไปแล้ว เข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี
ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่ฌาน.
พระโพธิสัตว์ครั้นทรงเปล่งอุทานนี้อย่างนี้แล้ว มีฌาน
ไม่เสื่อม มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน
บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี
บางพวกได้เป็นพระอรหันต์. มารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระนาง
มหามายาในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ภรรยา
ได้เป็นมารดาพระราหุล ส่วนบุรุษผู้ละบุตรและภรรยาออกบวช
คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาพันธนาคารชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำ
เริ่มต้นว่า หํสา โกญฺจา มยุรา จ ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านลกุณฏกภัททิยะเป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงใน
พระพุทธศาสนา มีเสียงเพราะเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะ เป็น
พระมหาขีณาสพบรรลุปฏิสัมภิทา แต่ท่านตัวเล็กเตี้ยในหมู่พระ-
มหาเถระ ๘๐ องค์ คล้ายสามเณรถูกล้อเลียน. วันหนึ่งเมื่อท่าน
ถวายบังคมพระตถาคตแล้วไปซุ้มประตูพระเชตวัน. ภิกษุชาว
ชนบทประมาณ ๓๐ รูปไปยังพระเชตวันด้วยคิดว่าจักถวายบังคม

พระตถาคต เห็นพระเถระที่ซุ้มวิหาร จึงพากันจับพระเถระที่
ชายจีวร ที่มือ ที่ศีรษะ ที่จมูก ที่หู เขย่า ด้วยสำคัญว่าท่านเป็น
สามเณร ทำด้วยคะนองมือ ครั้นเก็บบาตรจีวรแล้วก็พากันเข้า
เฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง เมื่อพระศาสดาทรงกระทำ
ปฏิสันถารด้วยพระดำรัสอันไพเราะแล้วจึงทูลถามว่า ข้าแต่

พระองค์ ได้ยินว่ามีพระเถระองค์หนึ่งชื่อลกุณฏกภัททิยเถระ
เป็นสาวกของพระองค์ แสดงธรรมไพเราะ เดี๋ยวนี้พระเถระ
รูปนั้นอยู่ที่ไหนพระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอประสงค์จะเห็นหรือ. กราบทูลว่า พระเจ้าข้า
ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายใคร่จะเห็น. ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุที่พวกเธอเห็นที่ซุ้มประตูแล้วพวกเธอคะนองมือจับที่ชาย
จีวรเป็นต้นแล้วมา ภิกษุรูปนั้นแหละคือ ลกุณฏกภัททิยะละ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พระสาวกผู้ถึงพร้อม
ด้วยอภินิหาร ได้ตั้งความปรารถนาไว้เห็นปานนี้ เพราะเหตุใด
จึงมีศักดิ์น้อยเล่าพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า เพราะอาศัย
กรรมที่ตนได้ทำไว้ ภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีต
มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสีพระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช. ในกาลนั้น
ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะให้พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงเห็นช้าง ม้า หรือ
โคที่แก่ชรา พระองค์ชอบเล่นสนุก ทอดพระเนตรเห็นสัตว์เช่นนั้น
จึงรับสั่งให้พวกมนุษย์ต้อนไล่แข่งกัน เห็นเกวียนเก่า ๆ ก็ให้

แข่งกันจนพัง เห็นสตรีแก่รับสั่งให้เรียกมากระแทกที่ท้องให้
ล้มลง แล้วจับให้ลุกขึ้น ให้ขับร้องเพลง เห็นชายแก่ ๆ ก็ให้
หกคะเมนตีลังกาเป็นต้น บนพื้นดินดุจนักเล่นกระโดด เมื่อไม่
ทรงพบเห็นเอง เป็นแต่ได้สดับข่าวว่า คนแก่มีที่บ้านโน้น ก็รับสั่ง
ให้เรียกตัวมาบังคับให้เล่น. พวกมนุษย์ต่างก็ละอาย ส่งมารดา
บิดาของตนไปอยู่นอกแคว้น. ขาดการบำรุงมารดาบิดา. พวก

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ราชเสวกก็พอใจในการเล่นสนุก. พวกที่ตายไป ๆ ก็ไปบังเกิด
เต็มในอบาย ๔. เทพบริษัททั้งหลายก็ลดลง. ท้าวสักกะไม่ทรง
เห็นเทพบุตรเกิดใหม่ ทรงรำพึงว่า เหตุอะไรหนอ ครั้นทรงทราบ
เหตุนั้นแล้วดำริว่า เราจะต้องทรมานพระเจ้าพรหมทัต จึงทรง
แปลงเพศเป็นคนแก่ บรรทุกตุ่มเปรียง ๒ ใบ ใส่ไปบนยานเก่า ๆ
เทียมโคแก่ ๒ ตัว ในวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าพรหมทัต

ทรงช้างพระที่นั่งตกแต่งด้วยเครื่องอลังการ เสด็จเลียบพระนคร
อันตกแต่งแล้ว ทรงนุ่งผ้าเก่าขับยานนั้นตรงไปเฉพาะพระพักตร์
พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นยานเก่าเทียมด้วยโคแก่
จึงตรัสให้นำยานนั้นมา. พวกมนุษย์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่
เทวะยานอยู่ที่ไหน พวกข้าพระองค์มองไม่เห็น. ท้าวสักกะทรง
แสดงให้พระราชาเท่านั้นเห็น ด้วยอานุภาพของตน.

ลำดับนั้นเมื่อเกวียนไปถึงหมู่คนแล้ว ท้าวสักกะจึงทรง
ขับเกวียนนั้นไปข้างบน ทุบตุ่มใบหนึ่งรดบนพระเศียรของ
พระราชา แล้วกลับมาทุบใบที่สอง. ครั้นแล้วเปรียงก็ไหลลง
เปรอะเปื้อนพระราชาตั้งแต่พระเศียร. พระราชาทรงอึดอัด
ละอาย ขยะแขยง. ครั้นท้าวสักกะทรงทราบว่า พระราชาทรงวุ่นวาย

พระทัย ก็ทรงขับเกวียนหายไป เนรมิตพระองค์เป็นท้าวสักกะ
อย่างเดิม พระหัตถ์ทรงวชิราวุธ ประทับยืนบนอากาศ ตรัส
คุกคามว่า ดูก่อนอธรรมิกราชผู้ชั่วช้า ชะรอยท่านจะไม่แก่ละ
หรือ ความชราจักไม่กล้ำกรายสรีระของท่านหรือไร ท่านมัวแต่
เห็นแก่เล่นเบียดเบียนคนแก่มามากมาย เพราะอาศัยท่านผู้เดียว

คนที่ตายไป ๆ เพราะทำกรรมนั้นจึงเต็มอยู่ในอบาย พวกมนุษย์
ไม่ได้บำรุงมารดาบิดา หากท่านไม่งดทำกรรมนี้ เราจะทำลาย
ศีรษะของท่านด้วยจักรเพชรนี้ ตั้งแต่นี้ไปท่านอย่าได้ทำกรรม
นี้อีกเลย แล้วตรัสถึงคุณของมารดาบิดา ทรงชี้แจงอานิสงส์
ของการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้สูงอายุ ครั้นทรงสอนแล้วก็เสด็จ
กลับไปยังวิมานของพระองค์. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาก็มิได้
แม้แต่คิดที่จะทำกรรมนั้นอีกต่อไป. พระศาสดา ตรัสรู้แล้วได้
ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
หงส์ก็ดี นกกะเรียนก็ดี ช้างก็ดี ฟานก็ดี
ย่อมกลัวราชสีห์ทั้งนั้น จะถือเอาร่างกายเป็น
ประมาณมิได้ ฉันใด.
ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าแม้เด็กมีปัญญา
ก็เป็นผู้ใหญ่ได้ คนโง่ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็
เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสทา มิคา ได้แก่เนื้อฟาน. อธิบาย
ว่า ทั้งเนื้อฟาน ทั้งเนื้อที่เหลือบ้าง. บาลีว่า ปสทมิคา ก็มี ได้แก่
เนื้อฟานนั่นเอง. บทว่า นตฺถิ กายสฺมิ ตุลฺยตา ความว่า ขนาด
ของร่างกายไม่สำคัญ ถ้าสำคัญไซร้ พวกช้างและเนื้อฟานซึ่งมี
ร่างกายใหญ่โต ก็จะพึงฆ่าราชสีห์ได้ ราชสีห์ก็จะพึงฆ่าได้แต่

สัตว์เล็ก ๆ เท่านั้น เช่น หงส์และนกยูงเป็นต้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น
สัตว์ที่ตัวเล็กเท่านั้นพึงกลัวราชสีห์ แต่สัตว์ใหญ่ไม่กลัว. แต่
เพราะข้อนี้เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด จึงกลัว
ราชสีห์. บทว่า สรีรวา ได้แก่ คนโง่ แม้ร่างกายใหญ่โต ก็ไม่
ชื่อว่าเป็นใหญ่. เพราะฉะนั้น ลกุณฏกภัททิยะ แม้จะมีร่างกาย
เล็ก ก็อย่าเข้าใจว่า เล็กโดยญาณ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรมบรรดาภิกษุ
เหล่านั้น บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระ-
สกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระ-
อรหันต์. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นลกุณฏกภัททิยะ เธอได้

เป็นที่เล่นล้อเลียนของผู้อื่น เพราะค่าที่ตนชอบเล่นสนุกครั้งนี้.
ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาเกฬิสีลชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 54, 55, 56, 57, 58, 59, 60 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร