วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จนกระทั่งถึงพิภพท้าวจาตุมหาราช แล้วจักลงมาเอง ขอพระองค์
จงอดพระทัยรอจนกว่าลูกศรจะลงมาเถิดพระเจ้าข้า. พระราชา
รับสั่งว่า ดีละ. ต่อมาพระโพธิสัตว์จึงกราบทูลพระราชาอีกว่า
ข้าแต่มหาราช ลูกศรนี้เมื่อขึ้นจักแหวกขึ้นไประหว่างกลางขั้ว
พวงมะม่วง การขึ้นไปจักไม่ส่ายไปข้างโน้น มาข้างนี้แม้เพียง

ปลายเกศา จักตกลงมาตามแนวถูกพวงมะม่วงแล้วจึงหล่น ขอ
พระองค์โปรดทอดพระเนตรเถิดพระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์จึง
ออกกำลังผาดแผลงไป. ลูกศรนั้นทะลุผ่านหว่างกลางขั้วมะม่วง
ึขึ้นไป. พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่า บัดนี้ลูกศรนั้นเห็นจักถึงพิภพ
ชั้นจาตุมหาราชแล้ว จึงทรงเร่งกำลังให้มากกว่าศรที่ยิงไปครั้ง

แรก แล้วทรงยิงไปอีกลูกหนึ่ง. ลูกศรนั้นจึงขึ้นไปกระทบท้าย
ลูกศรเดิม ปัดให้กลับลง แล้วศรลูกที่สองก็เลยขึ้นไปถึงภพ
ดาวดึงส์. เทวดาทั้งหลายในภพนั้น ได้จับลูกศรนั้นไว้. เสียงแหวก
อากาศของลูกศรที่กลับ คล้ายกับเสียงสายฟ้า. เมื่อประชาชน
พูดกันว่า นั่นเสียงอะไร พระโพธิสัตว์จึงบอกว่าเสียงลูกศรกลับ

จึงปลอบมหาชนที่สะดุ้งกลัว เพราะเกรงว่าลูกศรจะตกลงถูก
ร่างกายของตน ๆ ว่าอย่ากลัวเลย แล้วพูดต่อไปว่า เราจักไม่ให้
ลูกศรตกถึงพื้นดิน. ลูกศรเมื่อขณะลงก็ไม่ส่ายไปข้างโน้น
ส่ายมาข้างนี้ ตกลงตามแนวตัดพวงมะม่วง. พระโพธิสัตว์ไม่ให้

พวงมะม่วงและลูกศรตกถึงพื้นดิน รับไว้บนอากาศ มือหนึ่งรับ
พวงมะม่วง มือหนึ่งรับลูกศร. มหาชนได้เห็นความอัศจรรย์นั้น
จึงพากันกล่าวว่า อย่างนี้พวกเราไม่เคยเห็น พากันสรรเสริญ
ส่งเสียงปรบมือ ดีดนิ้ว โบกผ้าเป็นจำนวนพัน. ทรัพย์ที่ราช-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บริษัทยินดีร่าเริงมอบให้แก่พระโพธิสัตว์ประมาณหนึ่งโกฏิ.
แม้พระราชาก็ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก พระราชทาน
ยศอันยิ่งใหญ่ แก่พระโพธิสัตว์ ราวกับลูกเห็บตก. เมื่อพระราชา
พระองค์นั้นสักการะเคารพพระโพธิสัตว์ ซึ่งพำนัก ณ ที่นั้น
อย่างนี้. พระราชาเจ็ดพระนครครั้นทรงทราบว่า ข่าวว่า

อสทิสราชกุมารมิได้อยู่ในกรุงพาราณสี จึงพากันยกพลมาล้อม
กรุงพาราณสี แล้วส่งสาส์นถวายพระราชาว่า จะมอบราชสมบัติ
ให้ หรือจะรบ. พระราชาทรงกลัวมรณภัย ตรัสถามว่า พระเจ้า
พี่ของเราประทับอยู่ที่ไหน ครั้นทรงสดับว่า พระเจ้าพี่รับราชการ

อยู่กับกษัตริย์สามนตราชพระองค์หนึ่ง จึงทรงส่งทูตไปรับ
พร้อมกับมีพระดำรัสว่า เมื่อพระเจ้าพี่ของเราไม่เสด็จกลับมา
เราก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้ พวกเจ้าจงไป จงไปถวายบังคมแทบ
พระบาท แล้วขอให้ทรงยกโทษตามคำของเรา เชิญเสด็จกลับ
มาเถิด. พวกทูตพากันไปกราบทูลเรื่องราวถวายพระโพธิสัตว์

ให้ทรงทราบ. พระโพธิสัตว์กราบถวายบังคมลาพระราชา
พระองค์นั้น เสด็จกลับไปกรุงพาราณสี ทรงปลอบพระราชาว่า
อย่ากลัวเลย แล้วทรงจารึกอักขระลงที่ลูกศร ใจความว่า เรา
ชื่อว่า อสทิสราชกุมารกลับมาแล้ว จะยิงศรอีกลูกหนึ่งมาล้าง

ชีวิตของพวกท่านทั้งหมดเสีย ผู้ต้องการรอดชีวิตจงหนีไป เรา
จะไม่ให้เกิดโลหิตแม้แต่แมลงวันตัวเล็กดื่ม เสร็จแล้วจึงเสด็จ
ประทับที่ป้อมปราการ แผลงศรให้ตกลงบนสุวรรณภาชนะ
ประมาณ ๑ ศอกกำ ขณะที่พระราชาเจ็ดพระนครกำลังเสวยอยู่.

พระราชาเหล่านั้น ครั้นทอดพระเนตรเห็นอักขระที่ลูกศรแล้ว
ก็พากันตกพระทัยกลัวต่อมรณภัย ต่างพระองค์ก็เสด็จหนีไปสิ้น.
พระโพธิสัตว์ทรงขับพระราชาเจ็ดพระองค์ให้หนีไป โดยมิได้
ทรงทำให้เกิดโลหิตแม้แต่เพียงแมลงวันตัวเล็กดื่มอย่างนี้แล้ว

จึงลาพระกนิษฐภาดา สละกามบวชเป็นฤๅษียังอภิญญาและ
สมาบัติให้เกิด เมื่อสิ้นพระชนม์ก็เข้าถึงพรหมโลก.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสทิสราชกุมาร
ทรงขับพระราชาเจ็ดพระนครให้หนีไป ทรงได้ชัยชนะสงคราม
แล้วทรงผนวชเป็นฤๅษีอย่างนี้ เมื่อทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ
แล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า :-

เจ้าชายพระนามว่าอสทิสราชกุมารเป็น
นักธนู มีกำลังมาก ยิงธนูให้ไปตกในที่ไกล ๆ
ได้ ยิงไม่พลาด สามารถทำลายของกองใหญ่ ๆ
ได้.
พระองค์ทรงทำการรบให้ข้าศึกทั้งปวง
หนีไป แต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย ทรงทำ
พระกนิษฐภาดาให้มีความปลอดภัย แล้วก็เข้า
ถึงความสำรวม.

บทว่า อสทิโส ความว่า มิใช่ไม่เสมอเหมือนโดยพระนาม
เท่านั้น แม้พระกำลัง พระวิริยะและพระปัญญาก็ไม่มีผู้เสมอ
เหมือน. บทว่า มหพฺพโล คือทรงกำลังกายมาก. บทว่า ทูเร
ปาเหติ ความว่า ชื่อว่ายิงได้ไกล เพราะสามารถส่งลูกศรไป
จากภพจาตุมหาราชจนถึงภพดาวดึงส์ได้. บทว่า อกฺขณเวธี
คือ ยิงไม่ผิด. อีกอย่างหนึ่งสายฟ้าเรียกว่าอักขณะ. อธิบายว่า

ชั่วฟ้าแลบคราวหนึ่ง ยิงได้เจ็ดแปดครั้งด้วยแสงนั้น เพราะเหตุ
นั้นจึงเรียกว่ายิงได้เร็ว. บทว่า มหากายปฺปพาลิโน ได้แก่ ทำลาย
ของกองใหญ่ ๆ ได้. กองใหญ่มีเจ็ดอย่าง คือ กองหนัง กองไม้
กองโลหะ กองเหล็ก กองทราย กองน้ำ กองแผ่นกระดาน.
ในกองเหล่านั้น คนอื่นเมื่อจะทำลายกองหนัง แม้หนังกระบือ

ก็ยิงทะลุ แต่พระโพธิสัตว์นั้นยิงหนังกระบือซ้อนกันตั้งร้อยแผ่น
ให้ทะลุได้. คนอื่นยิงกระดานไม้มะเดื่อหนาแปดนิ้ว ยิงกระดาน
ไม้ประดู่หนาสี่นิ้วทะลุได้ แต่พระโพธิสัตว์ยิงกระดานเหล่านั้น
มัดรวมกันหนาตั้งร้อยนิ้วทะลุได้ แผ่นทองหนาสองนิ้ว แผ่น
เหล็กหนาหนึ่งนิ้ว ก็เช่นเดียวกัน เกวียนบรรทุกทราย บรรทุก

กระดาน พระโพธิสัตว์ยิงเข้าส่วนหลังให้ทะลุออกได้ทางส่วนหน้า.
ตามปกติในน้ำ พระโพธิสัตว์ยิงศรแหวกได้ไกลสี่อุสุภะ. บนบก
ไกลแปดอุสุภะ พระโพธิสัตว์ทำลายของกองใหญ่ ๆ เหล่านี้ได้
จึงชื่อว่า ผู้ทำลายของกองใหญ่ได้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
สพฺพามิตฺเต ได้แก่ข้าศึกทั้งหมด. บทว่า รณํ กตฺวา ได้แก่
ทำการรบให้ข้าศึกหนีไป. บทว่า น จ กิญฺจิ วิเหฐยิ คือ ไม่
เบียดเบียนใคร ๆ เลย. แต่ทรงต่อสู้กับข้าศึกเหล่านั้นด้วยใช้
ศรนั้นเอง ไม่ให้ลำบาก. บทว่า สญฺญมํ อชฺฌุปาคมิ ได้แก่
เข้าถึงความสำรวมด้วยศีล คือ บรรพชา.

พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ อย่างนี้
แล้ว ทรงประชุมชาดก. พระกนิษฐภาดาในครั้งนั้นได้เป็น
อานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอสทิสกุมาร คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอสทิสชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระนันทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สงฺคามา-
วจโร สูโร ดังนี้.

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
โดยเสด็จไปเป็นครั้งแรก ทรงให้นันทกุมารพระกนิษฐภาดา
ทรงผนวชแล้วเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จไปประทับ ณ
กรุงสาวัตถีโดยลำดับ ท่านพระนันทะระลึกถึงวาจาที่นางชนปท-

กัลยาณี ผู้สดับข่าวในคราวที่ท่านนันทะถือบาตรออกจากพระ-
ตำหนักกับพระตถาคตว่า นับว่านันทกุมารเสด็จไปพร้อมกับ
พระศาสดา แล้วมองดูทางหน้าต่างทั้ง ๆ ที่เกล้าผมได้ครึ่งเดียว
ร้องขึ้นว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่กลับมาเร็ว ๆ จึงเกิดกระสัน ไม่มี
ความยินดี เกิดพระโรคผอมเหลืองมีพระกายสะพรั่งไปด้วย
เส้นเอ็น.

พระศาสดาทรงทราบเรื่องของพระนันทะแล้ว จึงทรง
ดำริว่า ถ้ากระไรเราจักให้นันทะดำรงอยู่ในอรหัตผล แล้ว
เสด็จไปยังที่อยู่ของพระนันทะ ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัด
เตรียมไว้ ตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอไม่ยินดีในศาสนานี้

กระมัง. กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์มีจิตปฏิพัทธ์
นางชนปทกัลยาณี จึงไม่ยินดี. ตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเคย
จาริกไปป่าหิมพานต์หรือเปล่า. กราบทูลว่าไม่เคยไปเลยพระ-
พุทธเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ ถ้าเช่นนั้นเราไปกัน. กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีฤทธิ์จะไปได้อย่างไร
พระพุทธเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนนันทะ เราจะพาเธอ
ไปด้วยกำลังฤทธิ์ของเราเอง แล้วทรงจับมือพระนันทะเหาะขึ้น
ไปสู่อากาศ ทรงแสดงถึงนาที่ถูกไฟไหม้แห่งหนึ่งในระหว่างทาง
แล้วทรงแสดงถึงนางลิงตัวหนึ่งซึ่งมีจมูกและหางด้วน มีขน

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ถูกไฟไหม้ มีผิวเป็นริ้วรอย หุ้มห่อไว้เพียงแต่หนัง นั่งจับเจ่า
อยู่บนตอไฟไหม้ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเห็นลิงตัวนั้นไหม.
กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้า. ตรัสว่า เธอจงกำหนดไว้ให้ดี.
ครั้นแล้วก็ทรงพาพระนันทะไปทรงชี้ให้ดูพื้นมโนสิลา ประมาณ
หกสิบโยชน์ สระใหญ่เจ็ดสระ มีสระอโนดาตเป็นต้น แม่น้ำใหญ่

ห้าสาย และภูเขาหิมพานต์อันน่ารื่มรมย์หลายร้อยลูก ซึ่งเรียง
รายไปด้วยเขาทอง เขาเงิน และเขาแก้วมณี แล้วตรัสถามว่า
ดูก่อนนันทะ เธอเคยเห็นภพดาวดึงส์หรือ กราบทูลว่า ไม่เคยเห็น
พระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ เธอจงมาเราจักแสดงภพ

ดาวดึงส์แก่เธอ แล้วทรงพาไปถึงภพดาวดึงส์ ประทับนั่งเหนือ
มัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ท้าวสักกเทวราช พร้อมด้วยหมู่เทวดา
ในเทวโลกทั้งสอง ก็พากันเสด็จมาถวายบังคม ถวายบังคมแล้ว
นั่ง ณ ส่วนหนึ่ง. เหล่าเทพอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีสีเท้าเหมือน
สีเท้านกพิลาป ผู้เป็นนางบำเรอ นับได้สองร้อยห้าสิบโกฏิ
ก็พากันมาถวายบังคมนั่งอยู่ข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงให้พระนันทะดูนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านั้น
บ่อย ๆ ด้วยอำนาจกิเลส ตรัสถามว่า นันทะ เธอเห็นนางอัปสร
สีเท้านกพิลาปเหล่านี้ไหมเล่า. กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้า.
ตรัสถามว่า นางอัปสรเหล่านี้งาม หรือนางชนปทกัลยาณีงาม.
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ นางลิงขนเกรียนเทียบกับนางชนปท-

กัลยาณีฉันใด นางชนปทกัลยาณีก็ฉันนั้น เมื่อเทียบกับนางอัปสร
เหล่านี้ (ก็เทียบได้เพียงนางลิง). ตรัสถามว่า นันทะบัดนี้เธอจัก
ทำอย่างไรเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ทำกรรมอะไรจึง
จะได้นางอัปสรเหล่านี้. ตรัสว่า บำเพ็ญสมณธรรมซิ. กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ หากพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองเพื่อให้
นางเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักบำเพ็ญสมณธรรม. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ จงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด เราจะเป็นผู้รับรอง

เธอ. พระเถระถือพระตถาคตเป็นผู้รับรองในท่ามกลางหมู่เทวดา
แล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์อย่าทำให้เนิ่นช้า
นัก เชิญเสด็จมา ไปกันเถิด ข้าพระองค์จักบำเพ็ญสมณธรรม
พระศาสดาพาพระนันทะไป กลับไปสู่พระเชตวันอย่างเดิม.
พระเถระเริ่มบำเพ็ญสมณธรรม. พระศาสดาตรัสเรียกพระ-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ธรรมเสนาบดีมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร นันทะน้องชาย
ของเรา ได้ยึดเราเป็นผู้รับรอง เพราะเรื่องนางเทพอัปสรทั้งหลาย
ในท่ามกลางหมู่เทวดาในดาวดึงส์เทวโลก. โดยอุบายนี้แหละ
พระองค์ทรงแจ้งแก่ภิกษุที่เหลือโดยมากแก่อสีติมหาสาวก
เป็นต้นว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระมหากัสสปเถระ

พระอนุรุทธเถระ พระอานนท์ผู้เป็นคลังพระธรรม. พระธรรม-
เสนาบดีสารีบุตรเข้าไปหาพระนันทเถระกล่าวว่า ท่านนันทะ
นัยว่าท่านยึดเอาพระทศพลเป็นผู้รับรอง ณ ท่ามกลางหมู่เทวดา
ในดาวดึงส์เทวโลกว่า เมื่อได้นางเทพอัปสรจักบำเพ็ญสมณธรรม
จริงหรือ แล้วย้ำว่าเมื่อเป็นอย่างนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ของท่าน ก็เกี่ยวข้องด้วยมาตุคาม มิใช่หรือ ท่านนั้นไม่ต่างอะไร
กับกรรมกรผู้รับจ้างทำการงานเพื่อต้องการสตรี ได้ทำให้
พระเถระละอายยอมจำนน. พระอสีติมหาสาวกและภิกษุที่เหลือ
ทั้งสิ้นได้ทำให้ท่านพระนันทะละอายโดยอุบายนี้. พระนันทะ

รำพึงว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรหนอ แล้วประคองความเพียร
ให้มั่นคงด้วย หิริและโอตัปปะ เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระ-
อรหัต เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ข้าพระพุทธเจ้าขอถอนคำรับรองของพระองค์ แม้พระศาสดา
ก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะก็เธอบรรลุพระอรหัตเมื่อใด เมื่อนั้น
เราก็พ้นจากคำรับรอง.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นทราบความนี้แล้วจึงประชุมกันใน
โรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านพระนันทะรูปนี้ อดทนต่อคำสอน
ตั้งมั่นหิริและโอตัปปะไว้ด้วยโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น แล้วบำเพ็ญ
สมณธรรมบรรลุพระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ภิกษุทั้งหลายพวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นันทะอดทน
ต่อคำสอนมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อน ก็อดทนต่อคำสอน
เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคนฝึกช้าง ครั้น
เจริญวัยสำเร็จศิลปะฝึกช้าง แล้วรับราชการกับพระราชาผู้
เป็นศัตรูของพระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง. พระโพธิสัตว์ฝึก

หัดช้างมงคลของพระราชานั้นไว้แล้วเป็นอย่างดี. พระราชานั้น
ทรงดำริว่า จักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงชวนพระ-
โพธิสัตว์เสด็จขึ้นช้างมงคล เสด็จไปล้อมกรุงพาราณสีด้วย
กองทัพใหญ่ แล้วทรงส่งสาส์นถึงพระราชาพรหมทัตว่า จะยก

ราชสมบัติถวายหรือจะรบ. พระราชาพรหมทัตตอบว่า เราจักรบ
แล้วรับสั่งให้พลนิกายประจำที่ประตูกำแพงและป้อมค่ายเตรียม
รบ. พระราชาผู้มีศัตรู เอาเกราะหนังสวมช้างมงคล แม้พระองค์
เองก็สวมหนังเสด็จขึ้นคอช้าง ทรงพระแสงขอคม ทรงไสช้าง

มุ่งสู่พระนครด้วยทรงหมายพระทัยว่า จักทำลายล้างพระนคร
ปราบปัจจามิตรให้ถึงสิ้นชีวิต และยึดเอาราชสมบัติให้จนได้.
ช้างมงคลเห็นทหารซัดทรายอันร้อนเป็นต้น ปล่อยหินยนต์และ
เครื่องประหารหลาย ๆ อย่าง ก็หวาดกลัวต่อความตายไม่อาจ

เข้าใกล้ได้จึงหลีกไป. ครั้งนั้นนายหัตถาจารย์เข้าไปหาช้างมงคล
พูดปลอบว่า เจ้าก็กล้าหาญเข้าสงคราม ชื่อว่าการล่าถอยอย่างนี้
ไม่สมควร เมื่อจะสอนช้างจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนกุญชร ท่านปรากฏว่าเป็นผู้เคย
เข้าสงคราม มีความแกล้วกล้า มีกำลังมาก เข้า
มาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับเสีย
เล่า.

ดูก่อนกุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอนถอน
เสาระเนียดและทำลายเขื่อนทั้งหลายแล้วเข้า
ประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติ วิสฺสุโต ความว่า ท่านเป็นผู้
ปรากฏ คือ รู้กันทั่วไปอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเคยเข้าสู่สงคราม เพราะ
เข้าสงครามย่ำยีประหัตประหารต่อสู้กัน ชื่อว่า กล้าหาญ เพราะ
มีใจบึกบึน และชื่อว่ามีกำลัง เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า
โตรณมาสชฺช ได้แก่ ถึงค่ายอันยันประตูเมืองแล้ว. บทว่า

ปฏิกฺกมสิ คือ นายหัตถาจารย์พูดว่า ไฉนจึงท้อถอย คือ เพราะ
เหตุไรจึงกลับ. บทว่า โอมทฺท ได้แก่จงบุกเข้าไป คือ จงรุดหน้า
เข้าไป. บทว่า เอสิกานิ จ อุพฺพห ความว่า เสาระเนียดที่เขาปัก
ไว้มั่นคง ลึกลงไปในแผ่นดิน ๑๖ ศอก ๘ ศอก ที่ประตูเมือง

มีอยู่ เจ้าจงขุด คือจงถอนเสาระเนียดนั้นโดยเร็วเถิด นาย-
หัตถาจารย์ได้สั่งไว้. บทว่า โตรณานิ จ มทฺทิตฺวา คือ จงทำลาย
บานประตูนครเสีย. บทว่า ขิปฺปํ ปวิส คือ เจ้าจงรีบเข้าประตู
เมือง. เรียกช้างว่า กุญฺชร.

ช้างมงคลได้ฟังดังนั้น ก็หันกลับเพราะคำสอนของพระ-
โพธิสัตว์เพียงคำเดียวเท่านั้น แล้วใช้งวงพันเสาระเนียดถอนขึ้น
เหมือนดังถอนเห็ดฉะนั้น แล้วทำลายเสาค่าย ถอดกลอน พัง
ประตูเมือง เข้าพระนครยึดราชสมบัติถวายพระราชา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ช้างในครั้งนั้น ได้เป็นนันทะในครั้งนี้ พระราชาได้เป็น
พระนันทะ ส่วนนายหัตถาจารย์ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสังคามาวจรชาดกที่ ๒

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภคนกินเดน ๕๐๐ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
วาโลทกํ อปฺปรสํ นิหีนํ ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงสาวัตถีมีอุบาสก ๕๐๐ มอบความห่วงใย
ในเรือนให้บุตรภรรยา แล้วเดินทางร่วมกันไปฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดา. ในอุบาสกเหล่านั้น บางพวกได้เป็นโสดาบัน
บางพวกได้เป็นสกทาคามี บางพวกได้เป็นอนาคามี ไม่มีเป็น

ปุถุชนแม้แต่คนเดียว. ประชาชนแม้เมื่อนิมนต์พระศาสดาก็เชิญ
อุบาสกเหล่านั้นร่วมด้วย. แต่คนรับใช้ ๕๐๐ ทำหน้าที่ให้ไม้
สีฟัน น้ำล้างหน้า ผ้า ของหอม และดอกไม้ของพวกเขา เป็น
คนกินเดนอาศัยอยู่. คนรับใช้เหล่านั้นบริโภคอาหารเช้าแล้วก็
พากันเข้านอน ครั้นตื่นขึ้นพากันไปยังแม่น้ำอจิรวดี โห่ร้อง

ปล้ำกันที่ฝั่งแม่น้ำ. อุบาสก ๕๐๐ เหล่านั้น มีเสียงน้อย มี
เอิกเกริกน้อย ขวนขวายแต่ที่หลีกเร้น. พระศาสดาทรงสดับ
เสียงอื้ออึงของพวกกินเดนเหล่านั้น จึงตรัสถามพระเถระว่า
ดูก่อนอานนท์ นั่นเสียงอะไร กราบทูลว่า เสียงคนกินเดน

พระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ คนกินเดนเหล่านี้บริโภค
อาหารเดนแล้วพากันเกรียวกราวมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อน
ึคนพวกนี้ก็เกรียวกราวเหมือนกัน แม้อุบาสกเหล่านี้ พากันสงบ
ก็มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พากันสงบเหมือนกัน เมื่อ
พระเถระกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอำมาตย์ ครั้น
เจริญวัยแล้วก็ได้เป็นผู้ถวายอรรถและธรรมของพระราชา.
ครั้นคราวหนึ่ง พระราชานั้นทรงสดับว่า ทางชายแดนเกิด
จลาจล จึงรับสั่งให้เตรียมม้าสินธพ ๕๐๐ เสด็จพร้อมด้วย

จตุรงคินีเสนา ครั้นปราบชายแดนให้สงบราบคาบแล้ว ก็เสด็จ
กลับกรุงพาราณสี มีพระราชโองการว่า ม้าสินธพลำบากมาก
พวกท่านจงให้น้ำผลจันทน์สดแก่ม้าเหล่านั้น. ม้าเหล่านั้นครั้น
ดื่มน้ำจันทน์หอมแล้วก็กลับโรงม้า พักผ่อนในที่ของตน ๆ. ก็

กากผลจันทน์ที่เหลือจากคั้นให้ม้าเหล่านั้น มีน้ำจันทน์ติดอยู่
เล็กน้อย. พวกมนุษย์จึงทูลถามพระราชาว่า บัดนี้พวกข้าพระองค์
จะทำอย่างไร. พระราชารับสั่งว่า เจ้าจงขยำเข้ากับน้ำ แล้ว
กรองด้วยผ้าเปลือกปอ พวกเธอจงให้แก่ลาที่นำอาหารมาให้

ม้าสินธพ. ลาทั้งหลายครั้นดื่มน้ำกากแล้วก็มึนเมา เที่ยววิ่งร้อง
อยู่แถวพระลานหลวง. พระราชาทรงเผยช่องพระแกล ทอด
พระเนตรไป ณ พระลานหลวง ตรัสเรียกพระโพธิสัตว์ ซึ่งเฝ้า
อยู่ใกล้ ๆ เมื่อจะตรัสถามว่า จงดูเถิด ลาเหล่านี้ดื่มน้ำกาก
เข้าไปมึนเมาแล้ว พากันร้องโดดโลดเต้นไปมา ส่วนม้าสินธพ

ซึ่งเกิดในตระกูลสินธพ แม้ดื่มน้ำจันทน์หอมก็ไม่มีเสียง สงบ
เงียบ ไม่เอะอะ อะไรเป็นเหตุหนอ จึงตรัสคาถาแรกว่า :-

ความเมาย่อมเกิดแก่ลาทั้งหลาย เพราะ
ดื่มกินน้ำหางมีรสน้อย เป็นน้ำเลว แต่ความเมา
ย่อมไม่เกิดแก่ม้าสินธพ เพราะดื่มกินน้ำมีรส
อร่อยประณีต.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า วาโลทกํ ได้แก่ น้ำที่กรองด้วย
เส้นปอ. ปาฐะว่า วาลุทกํ บ้าง. บทว่า นิหีนํ คือ เลวตามสภาพ
ของน้ำมีรสเลว. บทว่า น สญฺชายติ ได้แก่ ความเมาย่อมไม่เกิด
แก่ม้าสินธพทั้งหลาย. พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า อะไร
เป็นเหตุหนอ. พระโพธิสัตว์เมื่อจะกราบทูลเหตุแด่พระราชา
จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน สัตว์ผู้มีชาติ
อันเลวทราม ดื่มกินน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูก
ต้องแล้วย่อมเมา ส่วนสัตว์ผู้มีธุระให้สำเร็จได้
เกิดในตระกูลสูง ดื่มกินรสอันเลิศแล้ว ก็ไม่เมา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เตน ชนินฺท ผุฏฺโฐ ความว่า ข้าแต่
ท่านผู้เป็นจอมชน คือ ข้าแต่กษัตริย์ผู้สูงศักดิ์ ลานั้นมีเลวเป็น
สภาพ เมื่อถูกความมีชาติเลวถูกต้องย่อมเมา. บทว่า โธรยฺหสีลี
ได้แก่มีธุระให้สำเร็จ คือ ชาติม้าสินธพ ถึงพร้อมด้วยมารยาท

มักนำธุระไป. บทว่า อคฺครสํ ความว่า ม้าสินธพแม้ดื่มรสน้ำ
ผลจันทน์ที่กลั่นกรองไว้แต่แรก ก็ไม่เมา.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว รับสั่งให้
ไล่ลาออกจากพระลานหลวง ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์
ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ลา ๕๐๐ ในครั้งนั้น ได้เป็นคนกินเดนในครั้งนี้ ม้าสินธพ
๕๐๐ ได้เป็นอุบาสก พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์
บัณฑิต คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวาโลทกชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุคบพวกผิดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
ทูสิโต คิริทตฺเตน ดังนี้. เรื่องราวกล่าวไว้แล้วในมหิลามุขชาดก
ในหนหลัง.

แต่ในเรื่องนี้พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
นี้คบพวกผิดมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุนี้ก็คบพวกผิด
เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าสามะ ครองราชสมบัติ
อยู่ในกรุงพาราณสี. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูล
อำมาตย์ ครั้นเจริญวัยก็ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระ-
ราชา. ก็พระราชามีม้ามงคลตัวหนึ่งชื่อ ปัณฑวะ. คนเลี้ยงม้า

ของพระองค์ชื่อ คิริทัต. เขามีขาพิการ. ม้าเห็นนายคิริทัตถือ
บังเหียนเดินไปข้างหน้า สำคัญว่าคนนี้สอนเราจึงเรียนตามเขา
กลายเป็นม้าขาพิการไป. นายคิริทัตจึงกราบทูลถึงความพิการ
ของม้าให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาจึงทรงส่งแพทย์ไป

ตรวจอาการ. พวกแพทย์ไปตรวจดูก็ไม่เห็นโรคในตัวม้า จึง
กราบทูลพระราชาว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่พบโรคของม้า
พระเจ้าข้า. พระราชาจึงทรงส่งพระโพธิสัตว์ไปว่า ท่านจงไปดู
เหตุการณ์ของม้าในร่างกายนี้. พระโพธิสัตว์ไปตรวจดูก็รู้ว่า

ม้านั้นพิการเพราะเกี่ยวกับคนเลี้ยงม้าขาพิการ จึงกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระราชา เมื่อจะแสดงให้เห็นว่าเป็นอย่างนี้ เพราะ
โทษที่เกี่ยวข้องกัน จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ม้าชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสามะถูกคน
เลี้ยงชื่อคิริทัตประทุษร้าย จึงละปกติเดิมของตน
ศึกษาเอาอย่างคนเลี้ยงม้านั่นเอง.
ในบทเหล่านั้น บทว่า หโย สามสฺส ได้แก่ ม้ามงคลของ
พระเจ้าสามะ. บทว่า โปราณปกตึ หิตฺวา ได้แก่ละปกติเดิมอัน
เป็นสมบัติของตนเสีย. บทว่า ตสฺเสว อนุวิธิยฺยติ ได้แก่ศึกษา
เอาอย่าง.

ลำดับนั้นพระราชาจึงรับสั่งถาม บัดนี้จะควรทำอย่างไร
แก่ม้านั้น. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ได้คนเลี้ยงม้าที่ดีแล้วจัก
เป็นเหมือนเดิมพระพุทธเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ถ้าบุรุษผู้บริบูรณ์ด้วยอาการอันงดงาม
สมควรแก่ม้านั้น ตกแต่งร่างกายงดงาม จับจูง
ม้านั้นที่บังเหียนพาเวียนไปรอบ ๆ สนามม้า
ไม่ช้าเท่าไรม้าก็จะละความเป็นกระจอกเสีย
ศึกษาเอาอย่างบุรุษนั้นทีเดียว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตนุโช ได้แก่ เป็นผู้บังเกิดตาม คือ
สมควรแก่ม้านั้น. บุรุษใดสมควรแก่ม้านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็น
ตัวอย่างของม้านั้น. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช หาก
มีบุรุษผู้สมควรแก่ม้าอันถึงพร้อมด้วยมารยาทอันน่ารักนั้น

ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยมารยาทอันน่ารัก. บทว่า สิงฺคาราการกปฺปิโต
ความว่า บุรุษนั้นตกแต่งผมและหนวดด้วยอาการอันน่ารัก คือ
งดงาม จะพึงจับม้านั้นที่บังเหียนจูงเดินเวียนไปในบริเวณของม้า
้ม้านี้จักละความพิการนี้เสียทันที จะเอาอย่าง คือสำเหนียกคน

เลี้ยงม้า คือจักตั้งอยู่ในความเป็นปกติโดยสำคัญว่า คนเลี้ยง
ม้าผู้น่ารักถึงพร้อมด้วยมารยาทนี้ให้เราเอาอย่าง.

พระราชารับสั่งให้ทำอย่างนั้น. ม้าก็ตั้งอยู่ในความปกติ.
พระราชาทรงโปรดปรานว่า ท่านผู้นี้รู้อัธยาศัยแม้กระทั่งสัตว์-
เดียรัจฉาน จึงได้พระราชทานยศแก่พระโพธิสัตว์เป็นอันมาก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. คิริทัตในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ม้าได้เป็นภิกษุ
ผู้คบพวกผิด พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือ
เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาคิริทัตตชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2018, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภกุมารพราหมณ์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า ยโถทเก อาวิเล อปฺปสนฺเน ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถีมีกุมารพราหมณ์คนหนึ่ง เรียน
จบไตรเพทสอนมนต์พวกกุมารกษัตริย์และกุมารพราหมณ์เป็น
อันมาก. ต่อมาเขาอยู่ครอบครองเรือน ตกอยู่ในอำนาจ ราคะ
โทสะ โมหะ คิดแต่เรื่อง ผ้า เครื่องประดับ ทาส ทาสี นา สวน
โค กระบือ บุตรและภรรยาเป็นต้น จึงมีจิตขุ่นมัว ไม่อาจสอบ

ทานมนต์โดยลำดับได้. มนต์ทั้งหลาย เลอะเลือนไปทั้งข้างหน้า
ข้างหลัง. วันหนึ่งเขาถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นหลายอย่าง
ไปพระเชตวันบูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนหนึ่ง.

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อน
มาณพ เธอยังสอนมนต์อยู่หรือ มนต์ของเธอยังคล่องอยู่หรือ.
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ เมื่อก่อนมนต์ของข้าพระองค์ยังคล่อง
ดีอยู่ ตั้งแต่ข้าพระองค์ครองฆราวาส จิตของข้าพระองค์ขุ่นมัว

ด้วยเหตุนั้นมนต์ของข้าพระองค์จึงไม่คล่องแคล่ว. ลำดับนั้น
พระศาสดาตรัสกะเขาว่า ดูก่อนมาณพ มิใช่แต่เวลานี้เท่านั้น
แม้เมื่อก่อนมนต์ของเธอคล่องแคล่วในเวลาจิตของเธอไม่ขุ่นมัว
แต่ในเวลาที่จิตขุ่นมัวด้วยราคะเป็นต้น มนต์ของเธอก็เลอะเลือน
เมื่อเขาทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล
ครั้นเจริญวัย ได้ไปเรียนมนต์ในเมืองตักกศิลา เป็นอาจารย์
ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์กะขัตติยกุมารและพรหมณกุมารเป็น

อันมากในกรุงพาราณสี. พราหมณ์มาณพคนหนึ่งในสำนักของ
พระโพธิสัตว์นั้น ได้ศึกษาไตรเพทจนชำนาญ แม้แต่บทเดียว
ก็ไม่มีสงสัย ได้เป็นอาจารย์สอนมนต์. ต่อมาพราหมณ์มาณพ

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร