วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 21:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อรรถกถากัลยาณธรรมชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภแม่ผัวหูหนวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำ
เริ่มต้นว่า กลฺยาณธมฺโม ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ในกรุงสาวัตถีมีกุฎุมพีคนหนึ่ง เป็น
คนมีศรัทธา เลื่อมใสถึงไตรสรณคมน์ ถือศีลห้า. วันหนึ่งเขาถือ
เภสัชมีเนยใสเป็นต้นเป็นอันมาก กับดอกไม้ของหอม และผ้า
เป็นต้น ไปด้วยคิดว่า จักฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาใน
พระวิหารเชตวัน. ในเวลาที่กุฎุมพีไป ณ ที่นั้น แม่ยายเตรียม

ของเคี้ยวของบริโภคประสงค์จะเยี่ยมลูกสาว ได้ไปยังเรือนนั้น.
แต่แม่ยายหูค่อนข้างตึง. ครั้นนางบริโภคร่วมกับลูกสาว
อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงถามลูกสาวว่า นี่ลูก ผัวของเองอยู่ด้วย
ความรักบันเทิงใจไม่ทะเลาะกันดอกหรือ. ลูกสาวพูดว่า แม่พูด

อะไรอย่างนั้น คนที่เพียบพร้อมด้วยผัวและมารยาทเช่นลูกเขย
ของแม่ แม้บวชแล้วก็ยังหายาก. อุบาสิกาฟังคำลูกสาวไม่ถนัด
ถือเอาแต่บทว่าบวชแล้วเท่านั้น จึงตะโกนขึ้นว่า อ้าวทำไมผัว
ของเองจึงบวชเสียเล่า. บรรดาผู้อยู่เรือนใกล้เคียงทั้งสิ้น ได้ยิน

ดังนั้นพากันพูดว่า เขาว่ากุฎุมพีของพวกเราบวชเสียแล้ว. บรรดา
ผู้ที่เดินผ่านไปมาทางประตู ได้ยินเสียงของคนเหล่านั้น จึงถามว่า
นั่นอะไรกัน. ชนเหล่านั้นตอบว่า เขาว่ากุฎุมพีในเรือนนี้บวช
เสียแล้ว.

ฝ่ายกุฎุมพีนั้นครั้นสดับธรรมของพระทศพลแล้ว ก็ออก
จากวิหารกลับเข้าเมือง. ขณะนั้นชายคนหนึ่งพบเข้าในระหว่าง
ทางจึงพูดว่า ข่าวว่าท่านบวช บุตรภรรยาบริวารในเรือนท่าน
พากันร้องไห้คร่ำครวญ. ทันใดนั้นเขาได้ความคิดขึ้นมาว่า

แท้จริงเรามิได้บวชเลย คน ๆนี้ว่าเราบวช เสียงดีเกิดขึ้นแล้ว
เราไม่ควรให้หายไป เราควรจะบวชในวันนี้แหละ เขาจึงกลับ
จากที่นั้นทันทีไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อรับสั่งถามว่า อุบาสก

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ท่านทำพุทธุปัฏฐากเพิ่งกลับไปเดี๋ยวนี้เอง ไฉนจึงมาเดี๋ยวนี้อีก
จึงเล่าเรื่องถวายแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ธรรมดาเสียงดี
เกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรให้หายไปเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์มี
ความประสงค์จะบวชจึงได้มา. ครั้นเขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว
เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต. ได้ยินว่า เหตุการณ์

นี้ปรากฏเลื่องลือไปในคณะสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย
ประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลายกุฎุมพีชื่อโน้น
ได้เกิดความคิดขึ้นว่า เสียงดีเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรให้หายไปแล้ว
จึงบรรพชา เวลานี้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาเสด็จมา

ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไร
กัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้บัณฑิตแต่ก่อน ได้ความคิดว่า เสียงดี
เกิดขึ้นแล้วไม่ควรให้เสียไป จึงพากันบวชแล้วทรงนำเรื่องใน
อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่
ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี ครั้นเจริญ
วัยแล้วก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐี เมื่อบิดาถึงแก่กรรม. วันหนึ่ง
เศรษฐีออกจากบ้าน ไปประกอบราชกรณียกิจ. ครั้งนั้น แม่ยาย

ของเศรษฐีได้ไปยังเรือนนั้นด้วยคิดว่า จักเยี่ยมลูกสาว. แม่ยาย
นั้นค่อนข้างหูตึงเรื่องทั้งหมดเหมือนกับเรื่องในปัจจุบัน. ชาย
คนหนึ่งเห็นเศรษฐีประกอบราชกรณียกิจเสร็จแล้วกลับมาเรือน
จึงพูดว่าในเรือนของท่านเกิดร้องไห้กันยกใหญ่ เพราะได้ข่าวว่า

ท่านบวชเสียแล้ว. พระโพธิสัตว์ได้ความคิดขึ้นว่า ธรรมดาเสียงดี
เกิดขึ้นแล้วไม่ควรให้หายไปเสีย จึงกลับจากนั้นไปเฝ้าพระราชา
เมื่อรับสั่งถามว่า ท่านมหาเศรษฐีท่านเพิ่งไปเดี๋ยวนี้เอง ทำไม
จึงกลับมาอีก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ทั้ง ๆ ที่ข้าพระองค์

มิได้บวชเลย คนในเรือนโอดครวญกันพูดว่าบวชแล้ว เสียงดี
เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรให้หายไป ข้าพระองค์จักบวชละ ขอ
พระราชทานอนุญาตให้ข้าพระองค์บวชเถิด เมื่อจะประกาศเนื้อ
ความนี้ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชนกาลใด
บุคคลได้สมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาล
นั้นนรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงทำตนให้เสื่อมจาก
สมัญญานั้นเสีย สัตบุรุษทั้งหลายย่อมถือไว้ซึ่งธุระ
ด้วยหิริ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชนสมัญญาว่า
ผู้มีกัลยาณธรรมในโลกนี้ มาถึงข้าพระพุทธเจ้า
แล้วในวันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นสมัญญาอันนั้น จึง
ได้บวชเสียในคราวนี้ ความพอใจในการบริโภค
ในโลกนี้ มิได้มีแก่ข้าพระองค์เลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ ธรรมดี. บทว่า
สมญฺญํ อนุปาปุณาติ ความว่า ถึงโวหารบัญญัตินี้ว่า มีศีล มี
กัลยาณธรรม บวชแล้ว. บทว่า ตสฺมา น หิยฺเยถ ได้แก่ ไม่พึงให้
เสื่อมจากสมยานั้น. สัตบุรุษทั้งหลายย่อมยึดธุระไว้แม้ด้วยหิริ

ข้าแต่มหาราชขึ้นชื่อว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมยึดธุรบรรพชา
นี้ไว้ได้ด้วยหิริ อันเกิดขึ้นในภายในบ้าง ด้วยโอตตัปปะอันเกิดขึ้น
ในภายนอกบ้าง. บทว่า อิธ มชฺช ปตฺตา ได้แก่ ผู้มีกัลยาณธรรม
ในโลกนี้ ได้มาถึงข้าพระองค์แล้วในวันนี้. บทว่า ตาหํ สเมกฺขํ

ความว่า ข้าพระองค์เพ่งดูคือเห็นสมยาอันได้แล้วด้วยคุณ. บทว่า
น หิ มตฺถิ ฉนฺโท แก้เป็น น หิ เม อตฺถิ ฉนฺโท แปลว่า
ข้าพระองค์ไม่มีความพอใจเลย. บทว่า อิธ กามโภเค คือ ในการ
บริโภคด้วยกิเลสกาม และด้วยวัตถุกามในโลกนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงขอพระบรม-
ราชานุญาตบรรพชา ไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษียัง
อภิญญาและสมาบัติให้เกิด มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้. ส่วน
เศรษฐีกรุงพาราณสี ในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากัลยาณธรรมชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ
สทฺเทน มหตา ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่าในกาลนั้นพวกภิกษุพหูสูต นั่งอยู่ ณ
พื้นหินอ่อนสีแดงสวดบทภาณวารในท่ามกลางสงฆ์เหมือนราชสีห์
หนุ่มบรรลือสีหนาท เหมือนเทวดาบรรดาลให้น้ำคงคาในอากาศ
ให้ตกลง. เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวบทภาณวาร พระโกกาลิกะไม่รู้
ความโง่ของตน อวดภูมิว่าเราจักกล่าวบทภาณวารบ้าง จึงเข้าไป

ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย เที่ยวประกาศในที่นั้น ๆ อ้างภิกษุสงฆ์
ว่า พวกภิกษุไม่ให้โอกาสเรากล่าวบทภาณวารบ้าง หากให้โอกาส
แก่เรา เราก็จักกล่าวบ้าง. คำพูดของพระโกกาลิกะได้ปรากฏ

ในหมู่ภิกษุ. พวกภิกษุคิดว่า จักทดลองพระโกกาลิกะดูก่อน
จึงกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสโกกาลิกะ วันนี้ท่านจงกล่าวบทภาณวาร
แก่สงฆ์เถิด. พระโกกาลิกะไม่รู้ความสามารถของตน จึงรับว่า
ตกลง จึงฉันข้าวยาคูเคี้ยวของเคี้ยวอันเป็นที่สบายของตน

บริโภคกับสูปะอันอร่อย. ครั้นพระอาทิตย์ตก เขาประกาศเวลา
ฟังธรรม หมู่ภิกษุประชุมกัน. พระโกกาลิกะนุ่งผ้ากาสาว
มีสีเหมือนโคลน ห่มจีวรมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์เข้าไปยัง
ท่ามกลางสงฆ์ ไหว้พระเถระขึ้นสู่ธรรมาสน์ที่ประดับไว้อย่างดี

ในมณฑลแก้วที่ตกแต่งไว้ นั่งจับพัดวีชนีด้วยคิดว่า เราจักกล่าว
บทภาณวาร. ทันใดนั่นเองเหงื่อก็ไหลจากร่างกายของพระโกกาลิกะ
ความขลาดกลัวเข้าครอบงำ. ครั้นกล่าวบทต้นของคาถาแรกแล้ว
ก็ไม่เห็นบทเบื้องปลาย. พระโกกาลิกะงกงันลงจากธรรมาสน์
กระดากอาย ได้ออกไปจากท่ามกลางสงฆ์กลับที่อยู่ของตน.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ภิกษุพหูสูตรูปอื่นจึงได้กล่าวบทภาณวารต่อไป. ตั้งแต่นั้นภิกษุ
ทั้งหลายจึงรู้ว่าพระโกกาลิกะโง่.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรม
ว่า อาวุโสทั้งหลาย ความโง่ของพระโกกาลิกะในชั้นแรกรู้ได้ยาก
แต่บัดนี้ได้ปรากฏชัดขึ้นมาแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โกกาลิกะได้เผยความโง่ให้ปรากฏแล้ว
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ได้เผยให้ปรากฏมาแล้ว ทรงนำ
เรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดราชสีห์ ณ หิมวันต-
ประเทศ ได้เป็นราชาของราชสีห์มากมาย. พญาราชสีห์นั้นมี
ราชสีห์เป็นบริวารอยู่ไม่น้อยอาศัยอยู่ ณ ถ้ำเงิน. แม้สุนัข-

จิ้งจอกก็อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากถ้ำนั้น. อยู่มา
วันหนึ่ง ฝนตกขาดเม็ดแล้ว พวกราชสีห์ทั้งหมดก็พากันมาประชุม
ที่ประตูถ้ำของพญาราชสีห์ ต่างบรรลือสีหนาทเล่นหัวกัน. ใน
ขณะที่ราชสีห์เหล่านั้นบรรลือสีหนาทเล่นหัวกันอยู่อย่างนี้ สุนัข-

จิ้งจอกตัวนั้นก็หอนขึ้น. พวกราชสีห์ได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกนั้น
ก็กระดากใจ พากันนิ่งด้วยคิดว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอกตัวนี้หอนแข่ง
กับพวกเรา. ในขณะที่ราชสีห์เหล่านั้นนิ่ง ราชสีห์น้อยลูกพญา-
ราชสีห์โพธิสัตว์ เมื่อจะถามบิดาว่า พ่อจ๋าพวกราชสีห์เหล่านี้

บรรลือสีหนาทเล่นหัวกัน ครั้นได้ยินเสียงของสัตว์นั้นพากันนิ่ง
ด้วยความอาย สัตว์นั้นชื่ออะไร อวดอ้างตนด้วยเสียงของตน
ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พ่อผู้เป็นใหญ่ในมฤค ใครหนอมี
เสียงดังลั่น ทำทัททรบรรพตให้บรรลือลั่นยิ่งนัก
ราชสีห์ทั้งหลายไม่อาจบรรลือโต้ตอบมัน นั่น
เรียกว่าสัตว์อะไรหนอ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อภินาเทติ ททฺทรํ ความว่า ใครหนอ
ทำทัททรบรรพตให้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียว. ลูกราชสีห์
เรียกบิดาว่า มิคาภิภู. ในบทว่า มิคาภิภู นี้ มีอธิบายว่า ข้าแต่
พญาราชสีห์ผู้เป็นจอมมฤค ข้าพเจ้าขอถามท่าน สัตว์นั้นชื่ออะไร.
ครั้นบิดาฟังคำของลูกราชสีห์แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ลูกเอ๋ย นั่นคือสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์เลว
ทรามต่ำช้ากว่ามฤคชาติทั้งหลาย มันหอนอยู่
ราชสีห์ทั้งหลายรังเกียจชาติของมัน จึงได้พา
กันนิ่งเฉยเสีย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า สํ ในบทว่า สมจฺฉเร เป็นเพียง
อุปสรรค. เอาความว่า อยู่เฉย. ท่านอธิบายไว้ว่า ราชสีห์ทั้งหลาย
นิ่งเฉย คืออยู่เฉย. ในคัมภีร์ทั้งหลาย เกจิอาจารย์เขียนว่า
สมจฺฉเร.

พระศาสดาครั้นตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โกกาลิกะ
มิได้เปิดเผยตนเองในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ได้เปิดเผยแล้ว
เหมือนกัน แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประชุมชาดก.
สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะในครั้งนี้. ส่วนลูก
ราชสีห์ได้เป็นราหุล. พญาราชสีห์ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ตาต มาณวโก เอโส ดังนี้.

เรื่องราวจักมีแจ้งในอุททาลกชาดกในปกิณณกนิบาต.
ก็ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้มิใช่
หลอกลวงในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เกิดเป็นลิงได้หลอกลวง
เพราะเรื่องไฟ แล้วตรัสนำเรื่องอดีตมาเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ หมู่บ้านกาสี ครั้น
เจริญวัยเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกสิลา ดำรงตนเป็นฆราวาส.
ครั้นต่อมาพราหมณีภรรยาของพราหมณ์นั้นคลอดบุตรคนหนึ่ง

เมื่อบุตรวิ่งเที่ยวไปมาได้ พราหมณีก็ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์
กระทำฌาปนกิจนางแล้วคิดว่า เราจะอยู่ครองเรือนไปทำไม
จึงละพรรคพวกญาติมิตร ซึ่งพากันร่ำไห้พาบุตรเข้าไปยังป่า
หิมพานต์ บวชเป็นฤๅษีมีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร

พำนักอยู่ ณ ที่นั้น. วันหนึ่งเมื่อฝนตกในฤดูฝน พระโพธิสัตว์
ก่อไฟผิงนอนอยู่บนเครื่องลาดกระดาน. แม้บุตรของท่านซึ่ง
เป็นดาบสกุมาร ก็นั่งนวดเท้าของบิดา. มีลิงป่าตัวหนึ่งถูกความ
หนาวเบียดเบียน เห็นไฟที่บรรณศาลาของพระโพธิสัตว์ จึง

คิดว่า หากเราจักเข้าไปในบรรณศาลานี้ เขาจักร้องว่า ลิง
ลิง แล้วโบยนำเราออกไป เราก็จักไม่ได้ผิงไฟ เอาละบัดนี้เรา
มีอุบายอย่างหนึ่ง เราจะปลอมเป็นดาบสทำการลวงเข้าไป
จึงนุ่งผ้าเปลือกไม้ของดาบสที่ตายแล้วคนหนึ่ง ถือกระเช้า ขอ
และไม้เท้าอาศัยตาลต้นหนึ่งที่ประตูบรรณศาลายืนสั่นอยู่.

ดาบสกุมารเห็นมันก็ไม่รู้ว่าเป็นลิง จึงบอกแก่ดาบสว่า มีดาบสแก่
รูปหนึ่ง ถูกความหนาวเบียดเบียนคงจะมาขอผิงไฟ แล้วคิดว่า
ควรจะให้เข้าไปผิงยังบรรณศาลาหลังหนึ่ง เมื่อจะพูดกะบิดา
จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

พ่อจ๋า มาณพนั้นมายืนพิงต้นตาลอยู่ อนึ่ง
เรือนของเรานี้ก็มีอยู่ ถ้ากระไรเราจะให้เรือน
แก่มาณพนั้น.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า มาณวโก เป็นชื่อของสัตว์. ท่าน
แสดงว่า พ่อจ๋า นั่นมาณพคือสัตว์ชนิดหนึ่ง คือดาบสรูปหนึ่ง.
บทว่า ตาลมูลํ อปสฺสิโต ได้แก่ยืนพิงต้นตาลอยู่. บทว่า อคาร-
กญฺจิทํ อตฺถิ ได้แก่ เรามีบ้านของนักบวชนี้ คือหมายถึงบรรณ-
ศาลา. บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความเตือน. บทว่า
เทมสฺส คารกํ ความว่า เราจะให้เรือนดาบสนี้อยู่ส่วนหนึ่ง.

พระโพธิสัตว์ได้ยินคำของบุตรจึงลุกขึ้นไปยืนดูที่ประตู
บรรณศาลา รู้ว่าสัตว์นั้นเป็นลิง จึงบอกลูกว่า ลูกเอ๋ยธรรมดา
มนุษย์หน้าไม่เป็นอย่างนี้ดอก ลูกไม่ควรเรียกลิงเข้ามาในที่นี้
แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามา
แล้ว จะทำลายเรือนของเรา หน้าของพราหมณ์
ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่เป็นอย่างนี้ดอก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ทูเสยฺย โน อคารกํ ความว่า เจ้า
สัตว์นี้แหละ เข้าไปในบรรณศาลานี้ จะทำลายเอาไฟเผาบรรณ-
ศาลาซึ่งทำได้ลำบากนี้เสีย หรือถ่ายอุจจาระเป็นต้น รดไว้.
บทว่า เนตาทิสํ ได้แก่หน้าของพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่เป็น
เช่นนี้.

พระโพธิสัตว์ ครั้นบอกว่านั่นลิงดังนี้แล้ว จึงคว้าคบไฟ
ได้ดุ้นหนึ่งตวาดว่า เจ้าจะอยู่ที่นี่ทำไม แล้วขว้างให้มันหนีไป.
ลิงก็ทิ้งผ้าเปลือกไม้ วิ่งขึ้นต้นไม้เข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์เจริญ
พรหมวิหาร ๔ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ ดาบสกุมาร
ได้เป็นราหุล ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถามักกฏชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันทรงปรารภ
พระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อทมฺมิ เต วาริ
พหุตฺตรูปํ ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า วันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากัน
ในโรงธรรมถึงความอกตัญญู ความประทุษร้ายมิตรของพระ-
เทวทัต. พระศาสดารับสั่งว่า เทวทัตเป็นผู้อกตัญญูประทุษร้าย
มิตร มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นแม้เมื่อก่อนก็ได้เป็นเช่นนี้ แล้วทรง
นำเรื่องในอดีตมาเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ชาวบ้าน
กาสีแห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ดำรงตนเป็นฆราวาส. ก็สมัยนั้น
ได้มีบ่อน้ำลึกบ่อหนึ่งอยู่ที่ทางใหญ่ชัน ในแคว้นกาสี สัตว์เดียรัจฉาน
ทั้งหลายข้ามไม่ได้. พวกมนุษย์ผู้ปรารถนาบุญเดินมาทางนั้น

ใช้กระบอกมีสายยาวตักน้ำใส่ขังเต็มรางแห่งหนึ่ง ให้สัตว์
เดียรัจฉานดื่ม รอบบ่อนั้นเป็นป่าใหญ่. ลิงเป็นอันมากอาศัยอยู่
ในป่านั้น. ต่อมาที่ทางนั้น ขาดผู้คนสัญจรไปมาสองสามวัน.
สัตว์เดียรัจฉานจึงไม่ได้ดื่มน้ำ. ลิงตัวหนึ่งกระหายน้ำเต็มที่

เที่ยวหาน้ำดื่มในที่ใกล้บ่อน้ำ. พระโพธิสัตว์เดินไปถึงทางนั้น
ด้วยกิจธุระอย่างหนึ่ง จึงตักน้ำในบ่อนั้นดื่มล้างมือและเท้า เห็น
ลิงตัวนั้น ทราบว่ามันกระหายน้ำ จึงตักน้ำใส่รางให้มันดื่ม
ครั้นให้เสร็จแล้ว คิดจะพักผ่อนจึงนอนลงที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

ส่วนลิงครั้นดื่มน้ำแล้วนั่งอยู่ไม่ไกล ทำหน้าล่อกแล่กหลอกพระ-
โพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เห็นกิริยาของมัน จึงกล่าวว่า อ้ายวายร้าย
ลิงอัปรีย์ เมื่อเองกระหายน้ำเหน็ดเหนื่อยมา ข้าก็ให้น้ำเองดื่ม
บัดนี้เองทำหน้าล่อกแล่กหลอกข้าได้ น่าอนาถใจที่ข้าช่วยเหลือ
สัตว์ชั่ว ๆ ไม่มีประโยชน์เลย แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าได้ให้น้ำเป็นอันมากแก่เองผู้ถูกความ
ร้อนแผดเผาหิวกระหาย บัดนี้เจ้าได้ดื่มน้ำแล้ว
ยังหลอกล้อทำเสียงครอก ๆ อยู่ได้ การคบหา
กับคนชั่วไม่ประเสริฐเลย.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า โสทานิ ปิตฺวาน กิกึ กโรสิ ความว่า
บัดนี้เจ้าดื่มน้ำที่ข้าให้แล้วยังทำหน้าล่อกแล่กส่งเสียงครอก ๆ
อยู่ได้. บทว่า น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย ความว่า การคบหา
กับคนชั่วไม่ดีเลย ไม่คบนั่นแหละดีกว่า.

ลิงผู้ประทุษร้ายมิตร ครั้นได้ยินดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า
ท่านอย่าสำคัญว่า เราทำเพียงเท่านี้แล้วจะเสร็จสิ้น บัดนี้เราจะ
ถ่ายคูถรดศีรษะท่านก่อนแล้วจึงไป แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านได้ยินหรือได้เห็นมาบ้างหรือว่า ลิง
ตัวไหนชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระ
รดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี้เป็นธรรมดา
ของพวกเรา.

ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้ ท่านพราหมณ์ ท่านได้ยิน
หรือได้เห็นที่ไหนว่า ลิงรู้คุณคน มีมารยาท มีศีล มีอยู่. เรา
จะถ่ายคูถรดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แหละแล้วจึงจะไป. นี้เป็นธรรมดา
นี้เป็นสภาพโดยกำเนิดของพวกข้าพเจ้า ผู้ชื่อว่าเป็นลิง คือ
ถ่ายคูถรดหัวผู้มีอุปการะ.

พระโพธิสัตว์ครั้นได้ยินดังนั้น จึงเตรียมจะลุกไป. ขณะ
นั้นเองลิงกระโดดจับกิ่งไม้ทำคล้ายจะห้อยโหน ถ่ายคูถรดศีรษะ
พระโพธิสัตว์แล้วร้องเข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์อาบน้ำชำระกาย
แล้วจึงกลับไป.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตไม่รู้จักคุณ
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ไม่รู้จักคุณที่เราทำไว้เหมือนกัน
แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประชุมชาดก. ลิงในครั้ง
นั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วนพราหมณ์ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
ภิกษุหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
สพฺเพสุ กิร ภูเตสุ ดังนี้.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวแล้วในหนหลัง.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี
ครั้นเจริญวัยศึกษาศิลปะในเมืองตักกสิลา บวชเป็นฤๅษี ยัง

อภิญญาและสมาบัติให้เกิด มีบริวารมาก เป็นครูประจำคณะ
อาศัยอยู่ป่าหิมพานต์. พระโพธิสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์นั้นเป็น
เวลานานจึงลงจากภูเขาเพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว อาศัย
บ้านหนึ่งในชายแดนพักอยู่ที่บรรณศาลา. ขณะนั้นมีลิงโลน
ตัวหนึ่ง เมื่อคณะฤๅษีไปภิกขาจารจึงมายังอาศรมบท ถอนหญ้า

ที่บรรณศาลา เทน้ำในหม้อน้ำทิ้ง ทุบคนโทน้ำ ถ่ายคูถไว้ที่
โรงไฟ. ดาบสทั้งหลายอยู่จำพรรษาแล้ว ดำริว่า บัดนี้ป่า
หิมพานต์บริบูรณ์ด้วยดอกไม้และผลไม้น่ารื่นรมย์ เราจะไป
ณ ที่นั้น จึงบอกลาชาวบ้านชายแดน. พวกมนุษย์กล่าวว่า

พระคุณเจ้าวันพรุ่งนี้พวกข้าพเจ้าจะนำภิกษามายังอาศรมบท
พระคุณเจ้าฉันอาหารแล้วจึงค่อยไป ในวันที่สองต่างก็นำของ
เคี้ยวของฉันเป็นอันมากไป ณ ที่นั้นอีก. ลิงโลนเห็นดังนั้นจึง
คิดว่า เราจักลวงให้มนุษย์เลื่อมใสให้นำของเคี้ยวของบริโภค

มาให้เรา. ลิงจึงทำเป็นเหมือนบำเพ็ญตบะและเหมือนจำศีล
ยืนนอบน้อมพระอาทิตย์ ในที่ไม่ห่างจากดาบส. พวกมนุษย์
เห็นดังนั้นจึงพากันกล่าวว่า ผู้อยู่ใกล้ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้มีศีล
แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้ตั้งมั่นอยู่
ในศีลมีอยู่ ท่านจงดูลิงผู้ลามก ยืนไหว้พระ-
อาทิตย์อยู่เถิด.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ สีลสมาหิตา ได้แก่ ผู้มีจิต
ตั้งมั่น คือประกอบด้วยศีลมีอยู่ อธิบายว่า ผู้มีศีลและผู้มีจิต
ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวมีอยู่. บทว่า ชมฺมํ คือลามก. บทว่า
อาทิจฺจมุปติฏฺฐติ ความว่า ลิงยืนไหว้พระอาทิตย์อยู่.

พระโพธิสัตว์เห็นพวกมนุษย์เหล่านั้น สรรเสริญคุณของ
ลิงนั้นจึงกล่าวว่า พวกท่านไม่รู้ศีลและมารยาทของลิงโลนตัวนี้
แล้วเลื่อมใสในสิ่งไม่เป็นเรื่องเป็นราว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน เพราะ
ไม่รู้จักพากันสรรเสริญ ลิงตัวนี้มันเผาโรงไฟเสีย
และทุบต่อยคนโทน้ำเสียสองใบ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺญาย แปลว่า ไม่รู้. บทว่า อูหนํ
ได้แก่การก่อเหตุที่ลิงชั่วนี้กระทำ. บทว่า กมณฺฑลู ได้แก่
คนโทน้ำ. พระโพธิสัตว์กล่าวโทษลิงอย่างนี้ว่า มันทุบคนโทน้ำ
เสียสองใบ.

พวกมนุษย์ครั้นรู้ว่า เป็นลิงหลอกลวงจึงคว้าก้อนดินและ
ไม้ขว้างไล่ให้มันหนีไป แล้วถวายภิกษาแก่หมู่ฤๅษี. แม้ฤๅษี
ทั้งหลายก็พากันไปป่าหิมพานต์ ทำฌานไม่ให้เสื่อม ได้มีพรหมโลก
เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุลวงโลกนี้ หมู่ฤๅษีได้เป็น
พุทธบริษัท ส่วนครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระเจ้ากรุงโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
ทาโล วตายํ ทุมสาขโคจโร ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง ในฤดูฝนทางชายแดน
ของพระเจ้ากรุงโกศลเกิดกบฎ พวกนักรบที่อยู่ ณ ชายแดน
นั้น ได้ทำการสู้รบถึงสองสามครั้ง ก็ไม่สามารถเอาชนะข้าศึก
ได้ จึงส่งข่าวทูลถวายพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาเสด็จ

ออกในฤดูฝนอันไม่ควรแก่เวลา จึงทรงจัดตั้งค่ายใกล้พระวิหาร
เชตวัน ทรงดำริว่า เราออกเดินทางในเวลาอันไม่สมควร ซอกเขา
และลำธารเป็นต้น เต็มไปด้วยน้ำ ทางเดินลำบาก เราจักเข้าเฝ้า
พระศาสดา พระองค์จักตรัสถามเราว่า มหาบพิตรจะเสด็จไป

ไหน ครั้นแล้วเราก็จักกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระ-
ศาสดาจะทรงอนุเคราะห์เรา เฉพาะประโยชน์ในภายหน้าเท่านั้น
ก็หามิได้ แม้ประโยชน์ในปัจจุบันก็ทรงอนุเคราะห์เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นหากเราไปจะไม่เจริญ พระองค์ก็จักตรัสว่า มหา-

บพิตรยังไม่ถึงเวลาเสด็จ หากจักมีความเจริญ พระองค์ก็จัก
ทรงนิ่ง. พระราชาจึงเสด็จเข้าพระวิหารเชตวัน แล้วถวายบังคม
พระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัส
ปฏิสันถารว่า เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหน

แต่ยังวัน. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ หม่อมฉันจะออกไป
ปราบขบฎชายแดน มาที่นี้ด้วยคิดว่า จักถวายบังคมพระองค์
แล้วจะไป. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้แต่ก่อนพระราชา
ทั้งหลาย เมื่อจะยกทัพไปครั้นได้ฟังคำของบัณฑิตแล้ว ก็ไม่
เสด็จไปสู่กองทัพในเวลาอันไม่สมควร ครั้นพระราชาทูลอาราธนา
จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์สำเร็จราชกิจทั่วไป
เป็นธรรมานุสาสก (สอนธรรม) ของพระองค์. ครั้งนั้นทาง
ชายแดนของพระองค์เกิดกบฎ ทหารที่ชายแดนส่งสาส์นให้
ทรงทราบ. พระราชาเสด็จออกในฤดูฝน ตั้งพักค่าย ณ พระ-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อุทยาน. พระโพธิสัตว์ได้อยู่ใกล้ที่ประทับพระราชา. ขณะพวก
ทหารนำถั่วดำอาหารม้ามาใส่ไว้ในราง. บรรดาลิงในพระราช-
อุทยาน มีลิงตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ ฉวยเอาถั่วดำจากรางนั้น
ใส่ปากจนเต็มแล้วยังคว้าติดมือไปอีก กระโดดขึ้นไปนั่งบนต้นไม้
เริ่มจะกิน เมื่อมันจะกินถั่วดำเม็ดหนึ่งหลุดจากมือตกลงไป

บนดิน มันจึงทิ้งถั่วดำทั้งหมดทั้งที่อยู่ในปาก และที่มือลงจาก
ต้นไม้มองหาถั่วดำนั้น ครั้นไม่เห็นมันจึงกลับขึ้นต้นไม้ใหม่
นั่งเศร้าโศกเสียใจ หน้าซึมอยู่บนกิ่งไม้ เหมือนแพ้คดีไปสักพันคดี.

พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของลิงจึงตรัสเรียก
พระโพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า ดูซิ ท่านอาจารย์ ลิงมันทำอะไร
นั่น. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช ผู้โง่เขลา
ไร้ปัญญา ไม่มองถึงของมาก มองแต่ของน้อย ย่อมกระทำเช่นนี้
แหละพระพุทธเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถาแรกก่อนว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ลิงผู้เที่ยว
หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของ
มันก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำ เสียหมดสิ้นแล้ว
เที่ยวค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงบนพื้นดิน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมสาขโคจโร ได้แก่ลิง. เพราะ
ลิงนั้นหาอาหารบนกิ่งไม้. กิ่งไม้เหล่านั้นเป็นโคจร คือเป็นที่เที่ยว
สัญจรไปมาของมัน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ผู้เที่ยวไปตาม
กิ่งไม้. เรียกพระราชาว่า ชนินฺท เพราะพระราชา ชื่อว่าเป็น

จอมชน เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง. บทว่า กฬายมุฏฺฐึ ได้แก่
ลูกเดือยกำหนึ่ง. เกจิอาจารย์กล่าวว่า กาฬราชมาสมุฏฺฐึ บ้าง
(ถั่วดำ ถั่วราชมาส) บทว่า อวกิริย ได้แก่ สาดทิ้ง. บทว่า
เกวลํ คือ ทั้งหมด. บทว่า คเวสติ คือหาเมล็ดเดียวที่ตกลงบน
พื้นดิน.

ครั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปยังที่นั้น
กราบทูลปราศัยกับพระราชา แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น
ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ
น้อย เหมือนลิงเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะถั่ว
เมล็ดเดียวแท้ ๆ.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 ธ.ค. 2018, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้ พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทแด่
พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่ถูกความ
โลภครอบงำก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อมเสื่อมจากของมากเพราะของ
น้อย ด้วยว่าบัดนี้พวกเราจะเดินทางไปในฤดูฝนอันมิใช่กาล

สมควร ย่อมเสื่อมจากประโยชน์มาก เพราะเหตุประโยชน์เล็ก
น้อย. บทว่า กฬาเยเนว วานโร ความว่า เหมือนลิงตัวนี้แสวงหา
ถั่วเมล็ดเดียว เสื่อมแล้วจากถั่วเป็นอันมาก เพราะถั่วเมล็ดเดียว
นั้น ฉันใด แม้พวกเราในบัดนี้ก็ฉันนั้น กำลังจะไปในที่อันเต็ม

ไปด้วยซอกเขาและลำธารเป็นต้น โดยมิใช่กาลแสวงหาประโยชน์
เล็กน้อย แต่จักเสื่อมจากพาหนะช้าง พาหนะม้าเป็นต้นมากมาย
และหมู่นักรบ เพราะฉะนั้นไม่ควรไปในเวลาอันมิใช่กาล.

พระราชาสดับถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วเสด็จ
กลับจากที่นั้น เข้าสู่พระนครพาราณสีทันที. แม้พวกโจรได้
ข่าวว่า พระราชาเสด็จออกจากพระนคร โดยพระประสงค์จะ
ปราบปรามพวกโจร จึงพากันหนีออกจากชายแดน.

แม้ในปัจจุบันพวกโจรได้ยินข่าวว่า พระราชากรุงโกศล
เสด็จออก จึงพากันหนีไป. พระราชาสดับพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้-
มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ เสด็จกลับกรุงสาวัตถี.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์
ับัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 27, 28, 29, 30, 31, 32, 33 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร