วันเวลาปัจจุบัน 26 ก.ค. 2025, 12:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ราชสีห์เหมือนอย่างเดิม. แม้ราชสีห์นั้นก็ทำอย่างเดียวกันนั้น
ถึงแก่ความตายล้มลงที่เชิงเขา. เมื่อพี่ทั้งหกตายหมด ราชสีห์-
โพธิสัตว์กลับมาภายหลัง. นางราชสีห์ก็เล่าเรื่องให้ราชสีห์-
โพธิสัตว์ฟัง เมื่อราชสีห์โพธิสัตว์ถามว่า เดี๋ยวนี้สุนัขจิ้งจอกนั้น

มันอยู่ที่ไหน นางก็บอกว่า มันนอนที่กลางแจ้งใกล้ยอดเขา
รชฏบรรพต. ราชสีห์โพธิสัตว์คิดว่า ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย
ไม่มีที่อาศัยในกลางแจ้ง มันต้องนอนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกเป็นแน่.
ราชสีห์โพธิสัตว์จึงเดินไปยังเชิงภูเขา เห็นพวกน้อง ๆ ตายหมด

หกตัว จึงกล่าวว่า ราชสีห์เหล่านี้คงจะไม่รู้ว่าสุนัขจิ้งจอกนอน
ในถ้ำแก้วผลึก เพราะไม่มีปัญญาตรวจสอบ เพราะความที่ตัวโง่
จึงชนถ้ำตาย. ขึ้นชื่อว่าการงานของผู้ไม่พิจารณาแล้ว รีบทำย่อม
เป็นอย่างนี้แหละ แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

การงานเหล่านั้น ย่อมเผาบุคคลผู้มีการ
งานอันมิได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทำให้สำเร็จ
เหมือนกับของร้อนที่บุคคลไม่พิจารณาก่อนแล้ว
ใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสเมกฺขิตกมฺมนฺตํ ตุริตาภินิปาตินํ
ความว่า บุคคลใดประสงค์จะทำการงานใด มิได้พิจารณาคือ
มิได้สอบสวนโทษในการงานนั้น รีบร้อนตกลง ผลุนผลันปฏิบัติ
เพื่อรีบทำการงานนั้น การงานทั้งหลายเช่นนั้นย่อมเผาผลาญ

บุคคลผู้นั้น ผู้มิได้พิจารณาการงานรีบร้อนทำให้สำเร็จ คือ
ทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก. ถามว่าเหมือนอะไร. ตอบว่า
เหมือนของร้อนที่ใส่เข้าไปในปากฉะนั้น อธิบายว่า เหมือน
ผู้จะบริโภคไม่ได้พิจารณาว่า ของนี้เย็นของนี้ร้อนใส่ คือวาง

ของที่กลืนอันร้อนลงไปในปาก ย่อมลวกปากบ้าง คอบ้าง ท้อง
บ้างทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก ฉันใด การงานทั้งหลายเหล่านั้น
ก็ฉันนั้น ย่อมเผาบุคคลเช่นนั้น.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ราชสีห์โพธิสัตว์นั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงพูดว่า
น้อง ๆ ของเราไม่ฉลาดในอุบาย คิดว่าจักฆ่าสุนัขจิ้งจอก รีบร้อน
ผลุนผลันไปตัวเองจึงตาย ส่วนเราจักไม่ทำอย่างนั้น จักฉีกอก
สุนัขจิ้งจอก ซึ่งนอนสะดุ้งอยู่ในถ้ำแก้วผลึกให้จงได้. ราชสีห์-
โพธิสัตว์สังเกตทางขึ้นลงของสุนัขจิ้งจอกเสร็จแล้ว จึงมุ่งหน้าไป

ทางนั้น บันลือสีหนาทสามครั้ง. อากาศกับผืนแผ่นดินได้มีเสียง
กึกก้องเป็นอันเดียวกัน. หัวใจสุนัขจิ้งจอกซึ่งนอนหวาดสะดุ้ง
อยู่ในถ้ำแก้วผลึก ก็แตกทำลาย. สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตาย
ในที่นั้นเอง.

พระศาสดาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นได้ยินราชสีห์แผด
เสียงอย่างนี้แล้วถึงแก่ความตาย เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จึงตรัส
คาถาที่สองว่า :-

อนึ่ง ราชสีห์ได้แผดสีหนาทที่ภูเขาเงิน
สุนัขจิ้งจอกอยู่ในภูเขาเงินได้ฟังราชสีห์แผดเสียง
ก็กลัวตาย หวาดกลัว หัวใจแตกตาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีโห ได้แก่ราชสีห์ ๔ จำพวก คือ
ติณราชสีห์ ปัณฑุราชสีห์ กาฬราชสีห์ ไกรสรราชสีห์ (มีมือ
และเท้าแดง). ในราชสีห์เหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอาไกรสร-
ราชสีห์.

บทว่า ททฺทรํ อภินาทยิ ความว่า ไกรสรราชสีห์นั้น
บันลือสีหนาทน่ากลัวดุจสำเนียงอสนิบาตฟาดลงสักร้อยครั้ง
คือ ได้กระทำรชฏบรรพตให้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกัน.
บทว่า ททฺทเร วสํ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกซึ่งอาศัยอยู่ในรชฏบรรพต
ติดกับถ้ำแก้วผลึก. บทว่า ภีโต สนฺตาสมาปาทิ ความว่า สุนัข

จิ้งจอกกลัวตาย ถึงความหวาดสะดุ้ง. บทว่า หทยญฺจสฺส อปฺผลิ
ความว่า หัวใจของสุนัขจิ้งจอกนั้นแตกเพราะความกลัว.

ราชสีห์โพธิสัตว์ ครั้นให้สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตายแล้ว
จึงปกคลุมพวกน้อง ๆ ไว้ในที่แห่งหนึ่ง แล้วแจ้งการตายของ
ราชสีห์เหล่านั้นให้นางราชสีห์ผู้น้องรู้ ปลอบน้องอยู่อาศัยใน
ถ้ำทองจนสิ้นชีพแล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึง
ทรงประกาศสัจธรรมประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจธรรม
อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็น
บุตรช่างกัลบกในบัดนี้. นางราชสีห์ได้เป็นกุมาริกาแห่งเจ้า
ลิจฉวี น้อง ๆ ทั้งหกได้เป็นพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ส่วนราชสีห์
พี่ใหญ่ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระเถระแก่รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
จตุปฺปโห อหํ สมฺม ดังนี้

ในวันหนึ่งเมื่อการฟังธรรมยังเป็นไปอยู่ในตอนกลางคืน
เมื่อพระศาสดาประทับยืน ณ แผ่นหินแก้วมณี ใกล้ประตูพระ-
คันธกุฏี ประทานสุคโตวาทแก่หมู่ภิกษุแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี
พระธรรมเสนาบดีสาริบุตรถวายบังคมพระศาสดา แล้วได้ไปยัง

บริเวณของตน. พระมหาโมคคัลลานะก็ไปยังบริเวณของตน
เหมือนกัน พักอยู่ครู่หนึ่งจึงมาหาพระเถระ แล้วถามปัญหา.
พระธรรมเสนาบดีได้แก้ปัญหาที่พระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว ๆ
ได้ทำให้ชัดเจนดุจทำพระจันทร์ให้ปรากฏบนท้องฟ้า. แม้บริษัท

สี่ก็นั่งฟังธรรมอยู่. ณ ที่นั้นพระเถระแก่รูปหนึ่งคิดว่า หากเรา
จะเย้าพระสาริบุตร ถามปัญหาในท่ามกลางบริษัทนี้. บริษัทนี้
รู้ว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ก็จักกระทำสักการะและยกย่อง จึง
ลุกขึ้นจากระหว่างบริษัทเข้าไปหาพระเถระยืนอยู่ ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสสาริบุตร ข้าพเจ้าจักถาม
ปัญหาข้อหนึ่งกะท่าน ขอจงให้โอกาสแก่เราบ้าง ขอท่านจงให้
การวินิจฉัยแก่ข้าพเจ้า โดยอ้อมก็ตาม โดยตรงก็ตาม ในการ
ติเตียนก็ตาม ในการยกย่องก็ตาม ในการวิเศษก็ตาม ในการไม่

วิเศษก็ตาม. พระเถระแลดูพระแก่นั้นแล้วคิดว่า หลวงตานี่
ตั้งอยู่ในความริษยา โง่ ไม่รู้อะไรเลย จึงไม่พูดกับพระแก่นั้น
ละอายใจวางพัดวีชนี ลงจากอาสนะเข้าไปยังบริเวณ. แม้พระ-
มหาโมคคัลลานเถระก็ได้เข้าไปยังบริเวณของตนเหมือนกัน.

พวกมนุษย์พากันลุกขึ้นประกาศว่า พวกท่านจงจับพระแก่
ใจร้ายนี้ ไม่ให้พวกเราได้ฟังธรรมอันไพเราะ แล้วก็พากัน
ติดตามไป พระเถระนั้นหนีไปตกในวัจจกุฏีเต็มด้วยคูถซึ่งมี
ไม้เลียงหักพังท้ายวิหาร ลุกขึ้นมาทั้งที่เปื้อนคูถ. พวกมนุษย์
เห็นดังนั้นพากันรังเกียจได้ไปเฝ้าพระศาสดา.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นมนุษย์เหล่านั้น จึงตรัส
ถามว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมนอกเวลา.
พวกมนุษย์พากันกราบทูลเนื้อความให้ทรงทราบ. พระศาสดา
ตรัสว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ภิกษุแก่นี้ผยอง ไม่รู้กำลัง

ของตน ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมาก แล้วก็เปื้อนคูถ มิใช่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุแก่นี้ก็เคยผยองไม่รู้กำลังของตน
ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมากแล้วก็เปื้อนคูถ เมื่ออุบาสกอุบาสิกา
ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ครั้งอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง-
พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์อาศัยอยู่ในถ้ำ
ภูเขาใกล้หิมวันตประเทศ. ในที่ไม่ไกลภูเขานั้นมีสุกรเป็นอันมาก
อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่. พระดาบสทั้งหลายก็อาศัยสระนั้นอยู่

บนบรรณศาลา อยู่มาวันหนึ่งราชสีห์ฆ่าสัตว์มีกระบือและช้าง
เป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง เคี้ยวกินเนื้อจนเพียงพอแล้ว ลงไปยังสระนั้น
ดื่มน้ำขึ้นมา. ขณะนั้นสุกรอ้วนตัวหนึ่งเที่ยวหาอาหารอยู่แถว
สระนั้น. ราชสีห์เห็นสุกรอ้วนตัวนั้น จึงคิดว่า สักวันหนึ่งเราจัก
กินเจ้าสุกรตัวนี้ แต่มันเห็นเราเข้าจะไม่มาอีก เพราะกลัวมัน

จะไม่กลับมา จึงขึ้นจากสระหลบไปเสียข้างหนึ่ง. สุกรมองดู
ราชสีห์คิดว่า ราชสีห์นี้พอเห็นเราเข้าก็ไม่อาจจะเข้าใกล้เพราะ
กลัวเรา จึงหนีไปเพราะความกลัว. วันนี้เราควรจะต้องต่อสู้กับ
ี่ราชสีห์นี้ แล้วชูหัวร้องเรียกราชสีห์ให้มาต่อสู้กัน กล่าวคาถา
แรกว่า :-

ดูก่อนสหาย เราก็มี ๔ เท้า แม้ท่านก็มี
๔ เท้าจงกลับมาสู้กันก่อนเถิดสหาย ท่านกลัว
หรือจึงหนีไป.

ราชสีห์ได้ฟังคำท้าของสุกรนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย
สุกร วันนี้เราไม่สู้กับท่าน แต่จากนี้ไป ๗ วัน จงมาสู้กันในที่นี้
แหละ แล้วก็หลีกไป. สุกรรื่นเริงเบิกบานใจว่า เราจักได้สู้กับ
ราชสีห์. จึงเล่าเรื่องนั้นให้พวกญาติฟัง. พวกญาติสุกรฟังแล้ว

พากันตกใจกลัวพูดขึ้นว่า เจ้าจะพาพวกเราทั้งหมดให้ถึงความ
ฉิบหายกันคราวนี้แหละ เจ้าไม่รู้จักกำลังของตัวจะหวังสู้กับ
ราชสีห์ ราชสีห์จักมาทำให้เราทั้งหมดถึงแก่ความตาย เจ้าอย่า
ทำกรรมอุกอาจนักเลย. สุกรสะดุ้งตกใจกลัวถามว่า คราวนี้เรา

จะทำอย่างไรดีเล่า. พวกสุกรต่างพากันพูดว่า นี่แน่ะสหาย เจ้า
จงไปในที่ถ่ายอุจจาระของพวกดาบสเหล่านี้ แล้วเกลือกตัวเข้า
ที่คูถเหม็น รอให้ตัวแห้งสัก ๗ วัน ถึงวันที่ ๗ จงเกลือกตัวให้
ชุ่มด้วยน้ำค้าง แล้วมาก่อนราชสีห์มา จงสังเกตทางลม แล้วยืน

อยู่เหนือลม ราชสีห์เป็นสัตว์สะอาดได้กลิ่นตัวเพื่อนแล้ว จักให้
เพื่อนชนะแล้วกลับไป. สุกรอ้วนได้ทำตามนั้น ในที่วันที่ ๗ ได้ไป
ยืนอยู่ ณ ที่นั้น. ราชสีห์ได้กลิ่นตัวมันเข้าก็รู้ว่าตัวเปื้อนคูถ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จึงกล่าวว่า ดูก่อนเพื่อนสุกร ท่านคิดชั้นเชิงดีมาก หากท่านไม่
เปื้อนคูถ เราจักฆ่าท่านเสียตรงนี้แหละ แต่บัดนี้เราไม่อาจกัด
ตัวท่านด้วยปาก เหยียบตัวท่านด้วยเท้าได้ เราให้ท่านชนะแล้ว
จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ดูก่อนสุกร เจ้าเป็นสัตว์สกปรก มีขน
เหม็นเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ดูก่อนสหายหาก
ท่านประสงค์จะสู้กับเรา เราก็จะให้ชัยชนะแก่
ท่าน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปูติโลโมสิ ได้แก่ ขนมีกลิ่นเหม็นเน่า
เพราะเปื้อนขี้. บทว่า ทุคฺคนฺโธ วายสิ ได้แก่ มีกลิ่นปฏิกูล
น่าเกลียดยิ่งนัก ฟุ้งไป. บทว่า ชยํ สมฺม ททามิ เต ได้แก่ เรา
ให้ท่านชนะ.

ราชสีห์ครั้นกล่าวว่าเราแพ้แล้ว เจ้าไปเสียเถิดดังนี้ แล้ว
ก็กลับจากที่นั้นเที่ยวแสวงหาอาหาร ดื่มน้ำในสระ เสร็จแล้วก็
กลับเข้าถ้ำภูเขาตามเดิม. แม้สุกรก็บอกแก่พวกญาติว่า เราชนะ
ราชสีห์แล้ว. พวกสุกรเหล่านั้น พากันตกใจกลัวว่าราชสีห์จะ
กลับมาสักวันหนึ่งอีก จักฆ่าพวกเราตายหมด จึงพากันหนีไปอยู่
ที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรง
ประชุมชาดก. สุกรในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุแก่ในครั้งนี้ ส่วน
ราชสีห์ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสูกรชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรง
ปรารภการผูกเวรของคนมีเวร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อิธูรคานํ ปวโร ปวิฏฺโฐ ดังนี้.

ได้ยินว่า มหาอำมาตย์สองคนเป็นหัวหน้าทหารเป็น
เสวกของพระเจ้าโกศล เห็นกันและกันเข้าก็ทะเลาะกัน. การ
จองเวรของเขาทั้งสองเป็นที่รู้กันทั่วนคร. พระราชา ญาติและ
มิตรไม่สามารถจะทำให้เขาทั้งสองสามัคคีกันได้.

อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงตรวจดูเผ่า
พันธุ์สัตว์ที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติ-
มรรคของเขาทั้งสอง วันรุ่งขึ้น เสด็จสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต
พระองค์เดียวเท่านั้น ประทับยืนที่ประตูเรือนของคนหนึ่ง. เขา

ออกมารับบาตแล้วนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน
ปูอาสนะให้ประทับนั่ง. พระศาสดาประทับนั่งแล้ว ตรัสอานิสงส์
แห่งการเจริญเมตตาแก่เขา ทรงทราบว่ามีจิตอ่อนแล้ว จึงทรง
ประกาศอริยสัจ. เมื่อจบอริยสัจ เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
พระศาสดาทรงทราบว่าเขาบรรลุโสดาแล้ว ให้เขาถือบาตรทรง

พาไปประตูเรือนของอีกคนหนึ่ง. อำมาตย์นั้นก็ออกมาถวาย
บังคมพระศาสดากราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จเข้าไปเถิดพระเจ้าข้า
แล้วทูลเสด็จเข้าไปยังเรือนอัญเชิญให้ประทับนั่ง. อำมาตย์ที่
ตามเสด็จก็ถือบาตรตามเสด็จพระศาสดาเข้าไปพร้อมกับพระ-
ศาสดา. พระศาสดาตรัสพรรณนาอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ

ทรงทราบว่าเขามีจิตสมควรแล้ว จึงทรงประกาศสัจธรรม.
เมื่อจบแล้ว อำมาตย์นั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. อำมาตย์ทั้งสอง
บรรลุโสดาบันแล้ว ก็แสดงโทษขอขมากันและกัน มีความ
สมัครสมานบันเทิงใจ มีอัธยาศัยร่วมกันด้วยประการฉะนี้.

วันนั้นเองเขาทั้งสองบริโภคร่วมกัน เฉพาะพระพักตร์ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเสวยภัตตาหารเสร็จแล้วได้เสด็จกลับพระ-
วิหาร. อำมาตย์สองคนนั้นก็ถือดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้และ
เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ออกไปพร้อมกับพระศาสดา.
เมื่อหมู่ภิกษุแสดงวัตรแล้ว พระศาสดาทรงประทานสุคโตวาท
แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี.

ในเวลาเย็นภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันถึงกถาแสดง
คุณของพระศาสดาในธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย
พระศาสดาทรงฝึกคนที่ฝึกไม่ได้ พระตถาคตทรงฝึกมหาอำมาตย์
ทั้งสองซึ่งวิวาทกันมาช้านาน พระราชาและญาติมิตรเป็นต้น

ก็ไม่สามารถจะทำให้สามัคคีกันได้ เพียงวันเดียวเท่านั้น. พระ-
ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้

ทำให้ชนทั้งสองเหล่านี้สามัคคีกันมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน
เราก็ทำชนเหล่านี้ให้สามัคคีกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมา
ตรัสว่า

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
ในกรุงพาราณสี เมื่อเขาประกาศมีมหรสพในกรุงพาราณสี
ได้มีการประชุมใหญ่. พวกมนุษย์เป็นอันมากและเทวดา นาค
ครุฑ เป็นต้น ต่างประชุมกันเพื่อชมมหรสพ. ในสถานที่แห่ง
หนึ่งที่เมืองพาราณสีนั้น พญานาคจำพญาครุฑไม่ได้ จึงพาดมือ

ลงไว้ เหนือจะงอยบ่าพญาครุฑ. พญาครุฑนึกในใจว่า ใครเอามือ
วางบนจะงอยบ่าของเรา เหลียวไปดูรู้ว่าเป็นพญานาค. พญานาค
มองดูก็จำได้ว่าเป็นพญาครุฑ จึงหวาดหวั่นต่อมรณภัย ออกจาก
พระนครหนีไปทางท่าน้ำ. พญาครุฑก็ติดตามไปด้วยคิดว่า จัก
จับพญานาคนั้นให้ได้.

ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสอาศัยอยู่ ณ บรรณศาลา
ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น เพื่อระงับความกระวนกระวายในตอนกลางวัน
จึงนุ่งผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) วางผ้าเปลือกไม้ไว้ที่นอกฝั่ง
แล้วลงอาบน้ำ. พญานาคคิดว่า เราจักได้ชีวิตเพราะอาศัยบรรพชิต

นี้ จึงแปลงเพศเดิม เนรมิตเพศเป็นก้อนมณีเข้าไปอาศัยอยู่ใน
ผ้าเปลือกไม้. พญาครุฑติดตามไปเห็นพญานาคนั้นเข้าไปอาศัย
อยู่ในผ้าเปลือกไม้นั้น ก็ไม่จับต้องผ้าเปลือกไม้เพราะความ
เคารพ จึงปราศรัยกะพระโพธิสัตว์ว่า ท่านขอรับข้าพเจ้าหิวท่าน
จงเอาผ้าเปลือกไม้ของท่านไป ข้าพเจ้าจักกินพญานาคนี้ เพื่อ
ประกาศความนี้ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลาย ต้อง
การจะพ้นไปจากสำนักของข้าพเจ้าจึงแปลงเพศ
เป็นก้อนแก้วมณี เข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้
นี้ ข้าพเจ้าเคารพยำเกรงเพศของพระคุณเจ้า ซึ่ง
เป็นเพศประเสริฐนัก แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับ
พญานาคซึ่งเข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้นั้นออก
มากินได้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อิธูรคานํ ปวโร ปวิฏฺโฐ ความว่า
พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลาย เข้าไปอาศัยอยู่ในผ้าเปลือกไม้
นี้. บทว่า เสลสฺส วณฺเณน ความว่า พญานาคแปลงเพศเป็น
ก้อนแก้วมณี เข้าไปอาศัยอยู่ในผ้าเปลือกไม้. บทว่า ปโมกฺขมิจฺฉํ

ความว่า พญานาคต้องการจะพ้นจากสำนักของข้าพเจ้า. บทว่า
พฺรหฺมญฺจ วณฺณํ อปจายมาโน ความว่า ข้าพเจ้าบูชาเคารพ
ต่อท่านผู้มีเพศดังพรหม คือมีเพศประเสริฐ. บทว่า พุภุกฺขิโต
โน อิสฺหามิ โภตฺตุํ ความว่า ข้าพเจ้าแม้จะหิวก็ไม่อาจจะกิน
พญานาคนั้นซึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ในเปลือกไม้นั้นได้.

พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ในน้ำได้สรรเสริญพญาครุฑ
แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ท่านเคารพยำเกรงผู้มีเพศอันประเสริฐ
แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับนาค ซึ่งเข้าไปอยู่ในผ้า
เปลือกไม้นั้นออกมากินได้ ขอท่านจงเป็นผู้อัน
พรหมคุ้มครองแล้ว ดำรงชีวิตอยู่สิ้นกาลนาน
เถิด อนึ่ง ขอภักษาหารอันเป็นทิพย์จงปรากฏ
แก่ท่านเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โส พฺรหฺมคุตฺโต ความว่า ท่านนั้น
เป็นผู้อันพรหมคุ้มครองรักษาแล้ว. บทว่า ทิพฺยา จ เต ปาตุภวนฺตุ
ภกฺขา ความว่า ขอภักษาหารอันควรแก่การบริโภคของทวยเทพ
จงปรากฏแก่ท่านเถิด. ท่านอย่าได้ทำปาณาติบาต กินเนื้อนาคเลย.

พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ในน้ำ กระทำอนุโมทนาแล้ว
ขึ้นนุ่งผ้าเปลือกไม้ พาสัตว์ทั้งสองไปอาศรมบทแสดงถึงคุณ
ของการเจริญเมตตา แล้วได้กระทำให้สัตว์ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน.
ตั้งแต่นั้นมาสัตว์ทั้งสองนั้นก็มีความสมัครสมาน เบิกบานกันอยู่
ร่วมกันด้วยความสุข.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วประชุม
ชาดก. พญานาคและพญาครุฑในครั้งนั้นได้เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่
ทั้งสองในบัดนี้. ส่วนดาบสได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ราชิการามซึ่งพระเจ้า-
ปเสนทิโกศล ให้จัดสร้างถวายใกล้พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การจามของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้เริ่มต้นว่า ชีว
วสฺสสตํ ภคฺค ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่าม
กลางบริษัท ๔ ที่ราชิการาม ขณะแสดงธรรมทรงจามขึ้น.
ภิกษุทั้งหลายได้พากันส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงพระชนม์เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด. เพราะ
เสียงนั้นได้ทำให้การแสดงธรรมหยุดลง. ลำดับนั้นพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เขากล่าวในเวลาจามว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ดังนี้ เพราะเหตุ
ที่กล่าวดังนั้น คนนั้นจะพึงเป็นอยู่ หรือจะพึงตายเป็นไปได้ไหม.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า. พระ-
ศาสดาตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอไม่ควรกล่าวใน

เวลาเขาจามว่า ขอให้ท่านเป็นอยู่เถิด. ผู้ใดกล่าว ผู้นั้นต้อง
อาบัติทุกกฏ. สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย กล่าวกะพวกภิกษุในเวลา
ที่ภิกษุเหล่านั้นจามว่า ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายจงเป็นอยู่เถิด.
ภิกษุทั้งหลายตั้งข้อรังเกียจ ไม่พูดตอบ. พวกมนุษย์พากัน

ยกโทษว่า อย่างไรกันนี่ สมณศากยบุตรเมื่อเรากล่าวว่า ขอให้
พระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด ไม่พูดตอบเลย. จึงพากันไปกราบทูล
ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหัสถ์เขาถือมงคลกัน เมื่อคฤหัสถ์เขา

กล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด เราอนุญาตให้กล่าวตอบว่า
ขอให้พวกท่านจงเป็นอยู่เถิด. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาการกล่าว
โต้ตอบว่าจงเป็นอยู่เถิด เกิดขึ้นเมื่อไร. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาการโต้ตอบกันว่า จงเป็นอยู่เถิด
เกิดขึ้นแต่โบราณกาล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ตระกูล
หนึ่งในแคว้นกาสี. บิดาของพระโพธิสัตว์ ทำการค้าขายเลี้ยงชีพ
บิดาให้พระโพธิสัตว์ซึ่งมีอายุได้ ๑๖ ปี แบกเครื่องแก้วมณี

เดินทางไปในบ้านและนิคมเป็นต้น ครั้นถึงกรุงพาราณสีให้หุง
อาหารบริโภคใกล้เรือนของนายประตู เมื่อหาที่พักไม่ได้ จึงถาม
ว่า คนจนมาผิดเวลาจะพักได้ที่ไหน. ครั้นแล้วพวกมนุษย์พวก
เขาว่า นอกพระนครมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง แต่ศาลานั้นมียักษ์

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ยึดครอง ถ้าท่านต้องการก็จงอยู่เถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
มาเถิดพ่อ เราจะไป อย่ากลัวยักษ์ ฉันจะทรมานยักษ์นั้นให้
หมอบลงแทบเท้าของพ่อ แล้วก็พาบิดาไปในที่นั้น. ลำดับนั้นบิดา
ของพระโพธิสัตว์นอนบนพื้นกระดาน. ตนเองนั่งนวดเท้าให้บิดา.
ยักษ์ซึ่งสิงอยู่ที่ศาลานั้น อุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ ๑๒ ปี

เมื่อจะได้ศาลานั้น ได้พรว่า บรรดามนุษย์ซึ่งเข้าไปยังศาลานี้
ผู้ใดกล่าวในเวลาที่เขาจามว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด และผู้ใด
เมื่อเขากล่าวว่าจงเป็นอยู่เถิด แล้วกล่าวตอบว่าท่านก็เหมือนกัน
ขอให้เป็นอยู่เถิด เว้นคนที่กล่าวโต้ตอบเหล่านั้นเสีย ที่เหลือ
กินเสียเถิด. ยักษ์นั้นอาศัยอยู่ที่ขื่อหัวเสา คิดว่าจักให้บิดาพระ-

โพธิสัตว์จาม จึงโรยผงละเอียดลงด้วยอานุภาพของตน. ผง
ปลิวเข้าไปในดั้งจมูกของเขา. เขาจึงจามทั้งที่นอนอยู่เหนือพื้น
กระดาน. พระโพธิสัตว์มิได้กล่าวว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด.

ยักษ์จึงลงจากขื่อหมายจะกินเขา. พระโพธิสัตว์เห็นยักษ์ไต่ลง
จึงคิดว่า เจ้ายักษ์นี้เองทำให้บิดาของเราจาม เจ้านี่คงจะเป็น
ยักษ์กินคนที่ไม่กล่าวว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิดในเวลาเขาจาม
ตนนั้นจึงกล่าวคาถาแรกเกี่ยวกับบิดาว่า :-

ข้าแต่บิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอ
ปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี
เถิด.

ในบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เรียกชื่อบิดาว่า ภคฺค. บทว่า
อปรานิ จ วีสติ ความว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.
บทว่า มา มํ ปิสาจา ขาทนฺตุ ความว่า ขอปีศาจจงอย่ากิน
ข้าพเจ้าเลย. บทว่า ชีว ตฺวํ สรโทสตํ ความว่า ขอให้ท่านจง

เป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด. อันที่จริง ๑๒๐ ปี เป็นการคาดคะเน แต่เป็น
แค่ ๑๐๐ ปีเท่านั้น. ในที่นี้ท่านประสงค์ ๑๐๐ ปี ให้เกินไปอีก
๒๐ ปี.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ยักษ์ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว รำพึงว่า เราไม่
สามารถจะกินมาณพนี้ได้ เพราะเขากล่าวว่าขอให้ท่านจงเป็น
อยู่เถิด แต่เราจะกินบิดาของเขา ว่าแล้วก็ไปหาบิดา. บิดาเห็น
ยักษ์ตรงมาคิดว่า เจ้ายักษ์นี่คงจักเป็นยักษ์กินคนผู้ไม่กล่าวตอบ
ว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด เพราะฉะนั้นเราจักกล่าวตอบ แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๒ เกี่ยวกับบุตรว่า :-

แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจ
จงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วิสํ ปิสาจา ได้แก่ ปีศาจจงกินยาพิษ
ที่ร้ายแรง.

ยักษ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่าเราไม่สามารถกินได้ทั้งสองคน
จึงถอยกลับ. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ถามยักษ์นั้นว่า ดูก่อนเจ้ายักษ์
เพราะเหตุไรเจ้าจึงกินคนที่เข้าไปยังศาลานี้เล่า. ยักษ์ตอบว่า
เพราะเราอุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ถึง ๑๒ ปี แล้วได้พร. พระ-
โพธิสัตว์ถามว่า เจ้ากินได้ทุกคนหรือ. ยักษ์ตอบว่า ยกเว้นคนที่

กล่าวตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด นอกนั้นเรากินหมด.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนยักษ์ เจ้ากระทำอกุศลไว้ในภพก่อน
เป็นผู้ร้ายกาจ หยาบคาย ชอบเบียดเบียนผู้อื่น แม้บัดนี้เจ้าก็
ยังทำกรรมเช่นนั้นอีก เจ้าจักเป็นผู้ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไป. เพราะ

ฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าจงงดจากปาณาติบาตเป็นต้นเสีย พระ-
โพธิสัตว์ทรมานยักษ์นั้น แล้วขู่ด้วยภัยในนรก ให้ยักษ์ตั้งอยู่
ในศีลห้า ได้ทำยักษ์ให้เหมือนคนรับใช้.

วันรุ่งขึ้นพวกมนุษย์ซึ่งเดินทาง เห็นยักษ์และทราบว่า
พระโพธิสัตว์ทรมานยักษ์สำเร็จ จึงพากันไปกราบทูลแด่พระ-
ราชาว่า ขอเดชะมีมาณพคนหนึ่งทรมานยักษ์นั้นได้ทำให้เหมือน
เป็นคนรับใช้ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้หาพระโพธิสัตว์
แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสนาบดี. และได้พระราชทานยศใหญ่
แก่บิดาของเขา. พระราชาทรงกระทำยักษ์ให้ได้รับพลีกรรม
แล้วตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญมีทานเป็นต้น
บำเพ็ญทางไปสวรรค์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า คำ
โต้ตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ได้เกิดขึ้นแล้วในกาลนั้น
แล้วทรงประชุมชาดก
พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ บิดาได้เป็น
กัสสป ส่วนบุตรได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุคลายความเพียรรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อลีนจิตฺตํ นิสฺสาย ดังนี้.

เรื่องราวจักมีแจ้งในสังวรชาดกในเอกาทสกนิบาต. ภิกษุ
นั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า เธอคลาย
ความเพียรจริงหรือ กราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อ
ก่อนเธอได้ทำความเพียรยึดเอาราชสมบัติในกรุงพาราณสี
ประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายราชกุมารหนุ่มเช่นกับชิ้นเนื้อมิใช่หรือ.
เหตุไรในบัดนี้ เธอบวชในพระศาสนาเห็นปานนี้ จึงคลายความ
เพียรเสียเล่า แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ
ในกรุงพาราณสี ได้มีบ้านช่างไม้อยู่ไม่ห่างจากกรุงพาราณสี.
พวกช่างไม้ ๕๐๐ คน อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น พวกเขาเดินเรือขึ้น
เหนือน้ำแล้วพากันเข้าไปในป่า. ตัดฟันไม้เครื่องเรือนปรุง

ปราสาทต่างชนิด มีพื้นชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น ณ ที่นั้นเอง
แล้วทำเครื่องหมายไว้ในไม้ทุกชิ้น ตั้งแต่เสา ขนไปยังฝั่งแม่น้ำ
บรรทุกเรือล่องมาถึงพระนครตามกระแสน้ำ ผู้ใดต้องการเรือน
ชนิดใดก็ปรุงเรือนชนิดนั้นแก่ผู้นั้น แล้วรับเอากหาปณะกลับไป

ขนเครื่องเรือนในที่นั้นมาอีก. เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างนี้ คราว
หนึ่งเมื่อเขาตั้งค่ายตัดฟันไม้อยู่ในป่า ในที่ไม่ไกลนักมีช้างตัวหนึ่ง
เหยียบตอตะเคียนเข้า. ตอได้แทงเท้าช้างเข้า มันเจ็บปวดเป็น
กำลัง. เท้าบวมกลัดหนอง. ช้างได้รับทุกขเวทนาสาหัส ได้ยิน

เสียงตัดฟันไม้ของพวกช่างไม้ จึงหมายใจว่าเราจักมีความสวัสดี
เพราะอาศัยพวกช่างไม้เหล่านี้ แล้วเดินสามเท้าเข้าไปหาเขา
หมอบลงใกล้ ๆ. ช่างไม้เห็นช้างมีเท้าบวม จึงตรงเข้าไปใกล้
พบตออยู่ที่เท้าแล้วใช้มีดที่คมกรีดรอบตอ ใช้เชือกดึงตอออก

บีบหนอง เอาน้ำอุ่นชะ ไม่นานนักที่พวกเขารักษาแผลให้หาย
ด้วยใช้ยาที่ถูกต้อง. ช้างหายเจ็บปวดจึงคิดว่า เราได้ชีวิต เพราะ
อาศัยช่างไม้เหล่านี้ เราควรช่วยเหลือตอบแทนเขา. ตั้งแต่นั้นมา
เมื่อช่างไม้นำไม้มาถาก ช้างก็ช่วยพลิกให้ส่งเครื่องมือมีมีดเป็นต้น
ให้กับพวกช่างไม้. มันใช้งวงพันจับปลายเชือกสายบรรทัด.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในเวลาบริโภคอาหาร พวกช่างไม้ต่างก็ให้ก้อนข้าวแก่มัน
คนละปั้น ให้ถึง ๕๐๐ ปั้น. อนึ่งช้างนั้นมีลูกขาวปลอด เป็น
ลูกช้างอาชาไนย. เพราะเหตุนั้นมันจึงคิดว่า เวลานี้เราก็แก่เฒ่า
เราควรให้ลูกแก่ช่างไม้เหล่านี้ เพื่อทำงานแทนเราแล้วเข้าป่าไป.
ช้างนั้นมิได้บอกแก่พวกช่างไม้เข้าป่านำลูกมากล่าวว่า ช้างน้อย

เชือกนี้เป็นลูกของข้าพเจ้า พวกท่านได้ช่วยชีวิตของข้าพเจ้าไว้
ข้าพเจ้าขอให้ลูกนี้เป็นบำเหน็จค่าหมอของพวกท่าน ตั้งแต่นี้ไป
ลูกนี้จักทำการงานให้พวกท่าน แล้วจึงสอนลูกว่า ดูก่อนเจ้า
ลูกน้อย ตั้งแต่นี้ไปเจ้าจงทำการงานแทนเรา ครั้นมอบลูกน้อย

ให้พวกช่างไม้แล้ว ตัวเองก็เข้าป่าไป. ตั้งแต่นั้นมา ลูกช้างก็
ทำตามคำของพวกช่างไม้ เป็นสัตว์ว่านอนสอนง่าย กระทำกิจการ
ทั่วไป. แม้พวกช่างไม้ก็เลี้ยงดูลูกช้างน้อยด้วยอาหาร ๕๐๐ ปั้น
ลูกช้างน้อยทำงานเสร็จแล้วก็ลงแม่น้ำอาบเล่นแล้วก็กลับ. พวก

เด็กช่างไม้ก็จับลูกช้างน้อยที่งวงเป็นต้น เล่นกับลูกช้างทั้งในน้ำ
และบนบก. ธรรมดาชาติอาชาไนยทั้งหลาย จะเป็นช้างก็ตาม
ม้าก็ตาม คนก็ตาม ย่อมไม่ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะลงในน้ำ
เพราะฉะนั้นลูกช้างนั้นจึงไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ

ถ่ายแต่ริมฝั่งแม่น้ำภายนอกเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ฝนตกลงมา
เหนือแม่น้ำ. คูถลูกช้างที่แห้งก็ไปสู่แม่น้ำ ได้ติดอยู่ที่พุ่มไม้
แห่งหนึ่งที่ท่ากรุงพาราณสี. ครั้งนั้นพวกควาญช้างของพระราชา
นำช้าง ๕๐๐ เชือกไปด้วยประสงค์จะให้อาบน้ำ. ช้างเหล่านั้น

ได้กลิ่นคูถของช้างอาชาไนยเข้า จึงไม่กล้าลงแม่น้ำสักตัวเดียว
ชูหางพากันหนีไปทั้งหมด. พวกควาญช้างจึงแจ้งเรื่องแก่นาย
หัตถาจารย์. พวกเขาคิดกันว่าในน้ำต้องมีอันตราย จึงทำความ
สะอาดน้ำเห็นคูถช้างอาชาไนยติดอยู่ที่พุ่มไม้ ก็รู้ว่านี่เองเป็นเหตุ

ในเรื่องนี้ จึงให้นำถาดมาใส่น้ำขยำคูถลงในถาดนั้นแล้วให้รด
จนทั่วตัวช้างทั้งหลาย. ตัวช้างก็มีกลิ่นหอม. ช้างเหล่านั้นจึง
ลงอาบน้ำกันได้. นายหัตถาจารย์ทูลเล่าเรื่องราวนั้นแด่พระราชา
แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์ควรสืบหาช้างอาชาไนยนั้น
นำมาเถิดพระเจ้าข้า.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระราชาเสด็จสู่แม่น้ำด้วยเรือขนาน เมื่อเรือขนานแล่น
ไปถึงตอนบน ก็บรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้. ลูกช้างกำลัง
เล่นน้ำอยู่ได้ยินเสียงกลอง จึงกลับไปยืนอยู่กับพวกช่างไม้.
พวกช่างไม้ถวายการต้อนรับพระราชาแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
หากพระองค์มีพระประสงค์ด้วยไม้ เหตุไรต้องเสด็จมา จะทรง

ส่งคนให้ขนไปไม่ควรหรือพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง นี่แน่
พนาย เรามิได้มาเพื่อประสงค์ไม้ดอก แต่เรามาเพื่อต้องการช้าง
เชือกนี้. พวกช่างไม้กราบทูลว่า ขอเดชะโปรดให้จับไปเถิด
พระเจ้าข้า. ลูกช้างไม่ปรารถนาจะไป. พระราชารับสั่งถามว่า

ช้างจะให้ทำอย่างไรเล่า พนาย. พวกเขากราบทูลว่า ขอเดชะ
ช้างจะให้พระราชทานค่าเลี้ยงดูแก่ช่างไม้พระเจ้าข้า. พระราชา
รับสั่งว่า ตกลงพนาย แล้วโปรดให้วางกหาปณะลงที่เท้าช้าง
ทั้ง ๔ ข้าง ที่งวงและที่หางแห่งละแสนกหาปณะ แม้เพียงนี้

ช้างก็ไม่ไป ครั้นพระราชทานผ้าคู่แก่ช่างไม้ทั้งหมด พระราชทาน
ผ้าสาฎกสำหรับนุ่งแก่ภรรยาช่างไม้ แม้เพียงนี้ก็ไม่ไป ต่อเมื่อ
พระราชทานเครื่องบริหารสำหรับเด็ก แก่เด็กชายหญิงที่เล่น
อยู่ด้วยกัน ลูกช้างจึงเหลียวไปดูพวกช่าง เหล่าสตรีและพวกเด็ก

แล้วเดินไปกับพระราชา. พระราชาทรงพาไปถึงพระนคร รับสั่ง
ให้ประดับพระนครและโรงช้าง ทรงให้ช้างกระทำปทักษิณ
พระนคร แล้วให้เข้าไปโรงช้าง ทรงประดับด้วยเครื่องประดับ
ทั้งปวง ทรงทำการอภิเษกยกขึ้นเป็นราชพาหนะ ทรงตั้งไว้ใน

ฐานะเป็นสหายของพระองค์ พระราชทานราชสมบัติกึ่งหนึ่ง
แก่ช้าง ได้ทรงกระทำการเลี้ยงดูเสมอด้วยพระองค์. ตั้งแต่ช้าง
มา ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์
ของพระราชาสิ้นเชิง.

ครั้นกาลเวลาผ่านไปอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ
ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้น. ใน
เวลาที่พระนางทรงครรภ์แก่ พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
หากพญาช้างพึงรู้ว่าพระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว หัวใจของ
พญาช้างก็จะต้องแตกทำลายไป ณ ที่นั้นเอง. ดังนั้นพวกคนเลี้ยง
ช้างจึงบำรุงมิให้พญาช้างรู้ว่า พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.
ฝ่ายพระเจ้ากรุงโกศล ซึ่งมีพระราชอาณาจักรใกล้เคียงกัน
ทรงสดับข่าวว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ทรงดำริว่า นัยว่า

ราชสมบัติกรุงพาราณสีว่างผู้ครอง จึงยกกองทัพใหญ่ล้อม
พระนคร. ชาวพระนครพากันปิดประตูเมือง ส่งสาส์นถวาย
พระเจ้ากรุงโกศลว่า พระอัครมเหสีของพระราชาของพวก
ข้าพเจ้าทรงครรภ์แก่. พวกโหรทำนายว่า จากนี้ไปเจ็ดวัน
พระอัครมเหสีจักคลอดพระโอรส พวกข้าพเจ้าจักขอรบในวันที่

เจ็ด จักไม่มอบราชสมบัติให้ ขอได้โปรดทรงรอไว้ชั่วเวลา
เพียงเท่านี้. พระเจ้ากรุงโกศลทรงรับว่า ตกลง ครั้นถึงวันที่เจ็ด
พระเทวีประสูติพระโอรส. ก็ในวันขนานพระนาม มหาชนได้
ขนานพระนามพระโอรสว่า อลีนจิตราชกุมาร เพราะพระโอรส
ทรงบันดาลให้จิตท้อแท้ของมหาชนมีขวัญดีขึ้น. ตั้งแต่วันที่

พระโอรสประสูติ ชาวพระนครของพระองค์ก็สู้รบกับพระเจ้า
กรุงโกศล. เพราะขาดผู้นำ แม้จะมีกำลังต่อสู้มากมายเพียงไร
เมื่อต่อสู้ไปก็ถอยกำลังลงทีละน้อย ๆ. พวกอำมาตย์พากัน
กราบทูลความนั้นแด่พระเทวี แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า

เมื่อกำลังลดถอยลงอย่างนี้ พวกข้าพเจ้าเกรงว่าจะแพ้สงคราม.
มงคลหัตถีสหายของพระราชา มิได้รู้ว่าพระราชาสวรรคต
พระโอรสประสูติและพระเจ้ากรุงโกศลเสด็จมาทำสงคราม.
พวกข้าพเจ้าจะบอกให้พญาช้างนั้นรู้ดีไหมพระเจ้าข้า. พระเทวี

รับสั่งว่าดีแล้ว จึงตกแต่งพระโอรสให้บรรทมเหนือพระอู่บุด้วย
ภูษาเนื้อดี เสด็จลงจากปราสาท มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม เสด็จ
ถึงโรงพญาช้างให้พระโพธิสัตว์บรรทมใกล้ ๆ พญาช้าง แล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนพญามงคลหัตถี พระสหายของท่านสวรรคตเสีย
แล้ว พวกข้าพเจ้ามิได้บอกเพราะเกรงว่าท่านจะหัวใจแตก

ทำลาย นี่คือพระราชโอรสแห่งพระสหายของท่าน พระเจ้าโกศล
เสด็จมาล้อมพระนคร ต่อสู้กับพระโอรสของท่าน ไพร่พลหย่อน
กำลัง ท่านอย่าปล่อยให้พระโอรสของท่านตายเสียเลย จงยึด
ราชสมบัติถวายแก่เธอเถิด. ขณะนั้นพญามงคลหัตถีก็เอางวง
ลูบคลำพระโพธิสัตว์ แล้วยกขึ้นประดิษฐานไว้เหนือกระพอง

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 23, 24, 25, 26, 27, 28, 29 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร