วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 19:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 17:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการประพฤติประโยชน์แก่พระประยูรญาติ ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นิจฺจํ อุพฺพิคฺคหทยา ดังนี้.
เรื่องในปัจจุบัน จักมีปรากฏในภัททสาลชาดก ทวาทสนิบาต.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกา อยู่มา
วันหนึ่ง ปุโรหิตของพระราชา อาบน้ำในแม่น้ำนอกพระนคร
ประแป้ง แต่งกายประดับดอกไม้ นุ่งผ้าสมศักดิ์ศรี กำลังเดิน

เข้าพระนคร ที่ยอดเสาค่ายใกล้ประตูพระนคร กาสองตัวกำลัง
จับอยู่ ในสองตัวนั้น กาตัวหนึ่ง พูดกับอีกตัวหนึ่งว่า สหาย เรา
จักขี้รดหัวพราหมณ์นี้ อีกตัวหนึ่งค้านว่า เจ้าอย่านึกสนุกอย่างนั้น
เลย พราหมณ์นี้เป็นคนใหญ่คนโต ขึ้นชื่อว่าการก่อเวรกับ

อิสสรชน ละก็ร้ายนัก เพราะแกโกรธขึ้นมาแล้วพึงทำกาแม้
ทั้งหมดให้ฉิบหายได้ กาตัวนั้นพูดว่า เราไม่อาจยับยั้งเปลี่ยนใจ
ได้เสียแล้ว อีกตัวหนึ่งกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เจ้าจักได้รู้ดอก
แล้วบินหนีไป กาตัวหนึ่ง เวลาพราหมณ์ลอดส่วนล่างแห่งเสาค่าย
ก็ทำเป็นย่อตัวลงขี้รดหัวพราหมณ์นั้น พราหมณ์โกรธ ผูกเวร
ในฝูงกา.

ครั้งนั้น หญิงทาสีรับจ้างซ้อมข้าวคนหนึ่ง เอาข้าวเปลือก
ผึ่งแดดไว้ที่ประตูเรือน นั่งคอยเฝ้าอยู่นั่นแล หลับไป แพะขนยาว
ตัวหนึ่งรู้ว่าหญิงนั้นประมาท มากินข้าวเปลือกเสีย นางตื่นขึ้น
เห็นมันก็ไล่ไป แพะแอบมากินข้าวเปลือกในเวลาที่นางหลับ

อย่างนั้นนั่นแหละ สอง-สามครั้ง แม้นางก็ไล่มันไป ทั้งสามครั้ง
แล้วคิดว่า เมื่อมันกินบ่อยครั้ง จักกินข้าวเปลือกไปตั้งครึ่งจำนวน
เราต้องเข้าเนื้อไปมากมาย คราวนี้ต้องทำไม่ให้มันมาได้อีก
นางจึงถือไต้นั่งทำเป็นหลับ เมื่อแพะเข้ามากินข้าวเปลือก ก็ลุก
ขึ้นขว้างแพะด้วยไต้ ขนแพะก็ติดไฟ เมื่อร่างกายถูกไฟไหม

มันคิดจักให้ไฟดับ จึงวิ่งไปโดยเร็วเอาตัวสีที่กระท่อมหญ้า
แห่งหนึ่งใกล้โรงช้าง กระท่อมนั้นก็ลุกโพลงไป เปลวไฟที่เกิด
จากกระท่อมนั้น ลามไปติดโรงช้าง เมื่อโรงช้างไหม้ หลังช้าง
ก็พลอยไหม้ไปด้วย ช้างจำนวนมาก ต่างมีตัวเป็นแผลไปตาม ๆ กัน

พวกหมอไม่สามารถจะรักษาให้หายได้ พากันกราบทูลพระราชา
พระราชาจึงตรัสกับปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์ หมอช้างหมด
ฝีมือที่ จะรักษาฝูงช้าง ท่านพอจะรู้จักยาอะไร ๆ บ้างหรือ ?

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 17:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าพระองค์ทราบเกล้าฯ อยู่พระเจ้าข้า
รับสั่งถามว่า ได้อะไรถึงจะควร ? กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ต้องได้น้ำมันกาพระเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงสั่ง
ให้คนฆ่ามา เอาน้ำมันมาเถิด จำเดิมแต่นั้น คนทั้งหลาย ก็พากัน
ฆ่ากา ไม่ได้น้ำมัน ก็ทิ้งสุมไว้เป็นกอง ๆ ในที่นั้น ๆ ภัยอย่าง
ใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงกาแล้ว.

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ มีฝูงกาแปดหมื่นเป็นบริวาร อาศัย
อยู่ในป่าช้าใหญ่ มีกาตัวหนึ่งมาบอกแก่พระโพธิสัตว์ ถึงภัย
ที่เกิดแก่ฝูงกา พระโพธิสัตว์ดำริว่า ยกเว้นเราเสียแล้ว ผู้อื่น
ที่จะสามารถบำบัดภัยที่กำลังเกิดขึ้นแก่หมู่ญาติของเราได้ไม่ม
ีเลย เราต้องบำบัดภัยนั้น แล้วรำลึกถึงบารมี ๑๐ ประการ

กระทำเมตตาบารมีให้เป็นเบื้องหน้า บินรวดเดียวเท่านั้น เข้าไป
ในช่องพระแกลใหญ่ที่เปิดไว้ เข้าไปซุกอยู่ภายใต้พระราชอาสน์
ครั้งนั้น อำมาตย์ผู้หนึ่ง ทำท่าจะจับพระโพธิสัตว์ พระราชา
ตรัสห้ามว่า มันเข้ามาหาที่พึ่ง อย่าจับมันเลย พระมหาสัตว์พัก

หน่อยหนึ่ง แล้วรำลึกถึงพระบารมี ออกจากใต้อาสนะ กราบทูล
พระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชา ต้องไม่
ลุอำนาจอคติ มีฉันทาคติเป็นต้นจึงจะชอบ กรรมใด ๆ ที่จะต้อง
กระทำ กรรมนั้น ๆ ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วกระทำ จึง

จะชอบ อนึ่ง กรรมใดที่จะกระทำ ต้องได้ผล กรรมนั้น
เท่านั้นจึงจะควรกระทำ นอกนี้ไม่ควรกระทำ ก็ถ้าพระราชาทั้งหลาย
มาทรงกระทำกรรมที่ทำไปไม่สำเร็จผลเลยอยู่ไซร้ มหาภัย
มีมรณภัยเป็นที่สุด ย่อมบังเกิดแก่มหาชน ปุโรหิตตกอยู่ใน
อำนาจของการจองเวร ได้กราบทูลเท็จ ขึ้นชื่อว่า มันเหลวของ

ฝูงกาไม่มีเลย พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระทัยเลื่อมใส
ให้พระโพธิสัตว์เกาะบนตั่งอันแพรวพราวด้วยทองคำ ให้คน
ทาช่วงปีกด้วยน้ำมันที่หุงแล้วได้แสนครั้ง ให้บริโภคอาหารที่สะอาด
สมควรเป็นพระกระยาหาร ให้ดื่มน้ำ พอพระมหาสัตว์สบาย

หายความเหน็ดเหนื่อยแล้ว จึงได้ตรัสคำนี้ว่า พ่อบัณฑิต เธอ
กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกา ไม่มี ด้วยเหตุไรเล่า มันเหลว
ของฝูงกาจึงไม่มี พระโพธิสัตว์เมื่อจะกราบทูลชี้แจงว่า ด้วยเหตุนี้ ๆ
พระเจ้าข้า กระทำพระราชวังทั้งสิ้นให้เป็นเสียงเดียวกัน แสดง
ธรรม กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 17:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"ฝูงกามีใจหวาดสะดุ้งเป็นนิตย์ ชอบ
เบียดเบียนชาวโลกทั้งมวล เหตุนั้น มันเหลว
ของฝูงกาผู้เป็นญาติของข้าพระองค์เหล่านั้น
จึงไม่มี" ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ :- ข้าแต่มหาราชเจ้า
ธรรมดาฝูงกามีใจสะดุ้ง คือคอยแต่หวาดกลัวอยู่เป็นนิจทีเดียว.

บทว่า สพฺพโลกวิเหสกา ความว่า กาทั้งหลายชอบเที่ยว
เบียดเบียน ข่มเหง มนุษย์ที่เป็นใหญ่ มีกษัตริย์เป็นต้นบ้าง
หญิงชายทั่วไปบ้าง เด็กชายเด็กหญิงเป็นต้นบ้าง เหตุนั้น คือ
ด้วยเหตุสองประการนี้ ขึ้นชื่อว่ามันเหลวของฝูงกาผู้เป็นญาต
ิของข้าพระองค์เหล่านั้นจึงไม่มี แม้ในอดีตก็ไม่เคยมี แม้ใน
อนาคต ก็จักไม่มี.

พระโพธิสัตว์ เปิดเผยเหตุนี้ด้วยประการฉะนี้ แล้วทูลเตือน
พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาพระราชามิได้ทรง
พิจารณาใคร่ครวญแล้ว ไม่พึงปฏิบัติพระราชกิจ พระราชาทรง
พอพระทัย บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ พระโพธิสัตว์
ถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชาดังเดิม ให้พระราชาดำรงอยู่

ในเบ็ญจศีล ทูลขอพระราชทานอภัยแก่สัตว์ทั้งปวง พระราชา
ทรงสดับธรรมเทศนาแล้ว โปรดพระราชทานอภัยแก่สรรพสัตว์
ทรงตั้ง นิพัทธทาน (ทานที่ให้ประจำ) แก่ฝูงกา ให้หุงข้าว
ประมาณวันละหนึ่งถัง คลุกด้วยของที่มีรสเลิศต่าง ๆ พระราชทาน
แก่กาทุก ๆ วัน ส่วนพระมหาสัตว์ ได้รับพระราชทานพระ-
กระยาหารทีเดียว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้นได้มาเป็นอานนท์ ส่วน
พระยากา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากากชาดกที่ ๑๐

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
ทรงปรารภภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า น ปาปชนสํเสวี ดังนี้.

เรื่องปัจจุบัน ก็เช่นเดียวกับเรื่องที่กล่าวแล้วใน มหิฬามุข๑-
ชาดก นั้นแล.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดเหี้ย ครั้น
เติบใหญ่แล้ว มีเหี้ยหลายร้อยเป็นบริวาร พำนักอยู่ในโพรงใหญ่
ใกล้ฝั่งแม่น้ำ บุตรของพระโพธิสัตว์นั้น ชื่อว่าโคธปิลลิกะ ทำ
ความสนิทสนมเป็นเพื่อนเกลอกันกับกิ้งก่า (ป่อมข่าง) ตัวหนึ่ง

เย้าหยอกกันกับมัน ขึ้นทับมันไว้ด้วยคิดว่า เราจักกอดกิ้งก่า
ฝูงเหี้ยพากันบอกความสนิทสนม ระหว่างโคธปิลลิกะกับกิ้งก่า
นั้น ให้พญาเหี้ยทราบ พญาเหี้ยจึงเรียกบุตรมาหา กล่าวว่า
ลูกเอ๋ย เจ้าทำความสนิทสนมกันในที่ไม่บังควรเลย ธรรมดา

กิ้งก่าทั้งหลาย มีกำเนิดต่ำ ไม่ควรทำความสนิทสนมกับมัน ถ้า
เจ้าขืนทำความสนิทสนมกับมัน สกุลเหี้ยแม้ทั้งหมด จักต้อง
พินาศเพราะอาศัยมันแน่นอน ต่อแต่นี้ไปเจ้าอย่าได้ทำความ
สนิทสนมกับมันเลย โคธปิลลิกะ ก็คงยังทำอยู่เช่นนั้น แม้ถึง

พระโพธิสัตว์จะพูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่สามารถจะห้ามความสนิทสนม
ระหว่างเขากับมันได้ จึงดำริว่า อาศัยกิ้งก่าตัวหนึ่ง ภัยต้อง
บังเกิดแก่พวกเราเป็นแน่ ควรจัดเตรียมทางหนีไว้ ในเมื่อภัยนั้น
บังเกิด แล้วให้ทำปล่องลมไว้ข้างหนึ่ง ฝ่ายบุตรของพญาเหี้ยนั้น
ก็มีร่างกายใหญ่โตขึ้นโดยลำดับ ส่วนกิ้งก่าคงตัวเท่าเดิม

โคธปิลลิกะ คิดว่าจักสวมกอดกิ้งก่า (เวลาใด) ก็โถมทับอยู่เรื่อย ๆ
(เวลานั้น) เวลาที่โคธปิลลิกะโถมทับกิ้งก่า เป็นเหมือนเวลาที่
ถูกยอดเขาทับฉะนั้น เมื่อกิ้งก่าได้รับความลำบาก จึงคิด

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ว่า ถ้าเหี้ยตัวนี้ กอดเราอย่างนี้สัก สอง-สามวันติดต่อกัน เราเป็น
ตายแน่ เราจักร่วมมือกับพรานคนหนึ่ง ล้างตระกูลเหี้ยนี้เสีย
ให้จงได้.

ครั้นวันหนึ่งในฤดูแล้ง เมื่อฝนตกแล้ว ฝูงแมลงเม่าพากัน
บินออกจากจอมปลวก ฝูงเหี้ยพากันออกจากที่นั้น ๆ กินฝูง
แมลงเม่า พรานเหี้ยผู้หนึ่งถือจอบไปป่ากับฝูงหมา เพื่อขุด
โพรงเหี้ย กิ้งก่าเห็นเขาแล้ว คิดว่า วันนี้ความหวังของเราสำเร็จ

แน่ ดังนี้แล้วเข้าไปหาเขา หมอบอยู่ในที่ไม่ห่าง ถามว่า ท่าน
ผู้เจริญ ท่านเที่ยวไปในป่าทำไม ? พรานตอบว่า เที่ยวหา
ฝูงเหี้ย กิ้งก่ากล่าวว่า ฉันรู้จักที่อาศัยของเหี้ยหลายร้อยตัว
ท่านจงหาไฟและฟางมาเถิด แล้วนำเขาไปที่นั้น ชี้แจงว่า ท่าน

จงใส่ไฟตรงนี้แล้วจุดไฟ ทำให้เป็นควัน วางหมาล้อมไว้ ตนเอง
ออกไปคอยตีฝูงเหี้ยให้ตาย แล้วเอากองไว้ครั้นบอกอย่างนี้แล้ว
ก็คิดว่า วันนี้เป็นได้เห็นหลังศัตรูละ แล้วนอนผงกหัวอยู่ ณ ที่
แห่งหนึ่งแม้นายพรานก็จัดการสุมไฟฟาง ควันเข้าไปในโพรง

ฝูงเหี้ยพากันสำลักควัน ถูกมรณภัยคุกคาม ต่างรีบออกพากันหน
ีรนราน พรานก็จ้องตีตัวที่ออกมา ๆ ให้ตาย ที่รอดพ้นมือพราน
ไปได้ก็ถูกฝูงหมากัด ความพินาศอย่างใหญ่หลวงเกิดแก่ฝูงเหี้ย
พระโพธิสัตว์รู้ว่า เพราะอาศัยกิ้งก่าภัยจึงบังเกิดขึ้น ตัวนี้แล้ว

กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าการคลุกคลีกับคนชั่ว ไม่พึงกระทำ ขึ้นชื่อว่า
ประโยชน์ย่อมไม่มีเพราะอาศัยคนชั่ว ด้วยอำนาจของกิ้งก่าชั่ว
ตัวเดียว ความพินาศจึงเกิดแก่ฝูงเหี้ย มีประมาณเท่านี้ เมื่อจะหนี
ไปทางช่องลม กล่าวคาถานี้ความว่า :-

"ผู้คบคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุข โดย
ส่วนเดียว เขาย่อมทำตนให้ถึงความพินาศ
เหมือนอย่างตระกูลเหี้ยให้ตนถึงความวอดวาย
เพราะกิ้งก่า ฉะนั้น" ดังนี้.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ บุคคลผู้สร้องเสพกับ
คนชั่ว ย่อมไม่บรรลุ คือไม่ประสบ ไม่ได้รับความสุขที่ยั่งยืน
คือความสุขที่ชื่อว่า สุขชั่วนิรันดร เหมือนอย่างอะไร ? เหมือน
ตระกูลเหี้ยไม่ได้ความสุข เพราะกิ้งก่าฉันใด คนที่สร้องเสพ
กับคนชั่ว ย่อมไม่ได้ความสุขฉันนั้น มีแต่จะพาตนให้ถึงความ

วอดวายกับคนชั่ว ย่อมพาตนและคนอื่น ๆ ที่อยู่กับตน ให้ถึงความ
พินาศไปถ่ายเดียวเท่านั้น แต่ในพระบาลีท่านเขียนไว้ว่า "กลึ
ปาเปยฺย" พึงพาตนให้ถึงความวอดวาย พยัญชนะ (คือข้อความ)
อย่างนั้น ไม่มีในอรรถกถา ทั้งเนื้อความของพยัญชนะนั้น ก็ไม่
ถูกต้อง เหตุนั้น พึงถือเอาคำตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า กิ้งก่าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต บุตรพระโพธิสัตว
์ชื่อโคธปิลลิกะผู้ไม่เชื่อโอวาท ได้มาเป็นภิกษุผู้คบหาฝ่ายผิด
ส่วนพญาเหี้ย ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโคธชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน
ทรงปรารภความตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์พระองค์เอง
ของพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอตํ หิ
เต ทุราชานํดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลาย
ในธรรมสภา แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดน
ี้เท่านั้น ที่เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเรา แม้ในครั้งก่อน
ก็เคยตะเกียกตะกายมาแล้วเหมือนกัน แต่ไม่อาจจะฆ่าเราได้
แต่ตนเอง ต้องลำบากโดยถ่ายเดียวเท่านั้น แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดหมาจิ้งจอก
ได้เป็นพญาสิงคาล แวดล้อมด้วยหมาจิ้งจอกอยู่ในป่าช้า โดย
สมัยนั้น พระนครพาราณสี มีมหรสพ ฝูงคนพากันดื่มสุราโดยมาก

ได้ยินว่า มหรสพนั้น ก็คือมหรสพที่จัดขึ้นเพื่อการดื่มสุรานั่นเอง
ครั้งนั้นพวกนักเลงสุรา จำนวนมากชวนกันหาสุราและเนื้อมา
เป็นอันมาก แล้วประดับตกแต่งร่างกาย พากันขับร้อง แล้วดื่มสุรา
ไปพลาง กินเนื้อแกล้มไปพลาง พอสิ้นยามแรกชิ้นเนื้อของ
พวกนั้นก็หมด แต่สุรายังเหลือมากทีเดียว ครั้งนั้นนักเลงสุรา

คนหนึ่งกล่าวว่า ส่งชิ้นเนื้อให้ชิ้นหนึ่งเถิด เมื่อได้รับคำตอบว่า
เนื้อหมดแล้ว ก็พูดว่า เมื่อข้ายังอยู่ต้องไม่มีคำว่าเนื้อหมด แล้ว
กล่าวต่อไปว่า ข้าจักฆ่าหมาจิ้งจอกที่มากินเนื้อคนตายในป่าช้า
ผีดิบ เอาเนื้อมันมา คว้าไม้พลองออกจากพระนครทางช่อง
ระบายน้ำ ไปสู่ป่าช้า นอนหงายถือพลองทำเป็นคนตาย ขณะนั้น

พระโพธิสัตว์แวดล้อมไปด้วยสุนัขจิ้งจอกไปในที่นั้น เห็นเขาแล้ว
แม้จะรู้ว่า นี่ไม่ใช่คนตาย คิดว่าต้องใคร่ครวญดูให้ละเอียดละออ
จึงไปยืนใต้ลมของเขา สูดกลิ่นตัว ก็ทราบความที่เขายังไม่ตาย
โดยแน่นอนทีเดียว คิดว่า ต้องให้เขาได้อาย แล้วจึงจะปล่อยเขาไป

จึงเดินไปคาบที่ปลายพลองฉุดมา นักเลงไม่ยอมปล่อยพลอง แม้
จะไม่มองดูพญาจิ้งจอกผู้เข้ามาใกล้ ก็คงยึดพลองนั้นไว้แน่นขึ้น
พระโพธิสัตว์ถอยกลับไปแล้ว กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ถ้าท่าน
พึงเป็นคนตายแล้วจริง เมื่อเราลากพลองมา ก็ไม่น่าจะยึดไว้มั่นคง
ด้วยเหตุนี้ ท่านจะตาย หรือยังไม่ตาย จึงรู้ชัดได้โดยยากดังนี้
แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"เหตุที่ท่านทำเป็นเหมือนคนตายนี้ รู้ได้
ยากอยู่ เพราะเราคาบปลายไม้พลองฉุดไป ไม้-
พลองก็ยังไม่หลุดจากมือของท่าน" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า เอตํ หิ เต ทุราชานํ ความว่า
เหตุข้อนี้ของท่านรู้ได้ยากแท้.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า ยํ เสสิ มตาสยํ ความว่า เหตุที่ท่านนอนเหมือน
คนตายนอนอยู่นั่น (รู้แน่ได้ยากแท้).
บทว่า ยสฺส เต กฑฺฒมานสฺส ความว่า ท่านผู้ใด เมื่อเรา
คาบปลายไม้พลองฉุดมา ไม้พลองไม่หลุดจากมือ ก็ท่านผู้นั้น
จะเรียกว่าคนตายแล้วไม่ได้แน่นอน ดังนี้.

เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว นักเลงนั้นคิดว่า สุนัข-
จิ้งจอกตัวนี้ รู้ความที่เรายังไม่ตาย ก็ลุกขึ้น ขว้างไม้พลองไป
ไม้พลองผิดเป้า นักเลงกล่าวว่า ไปเถิดมึง คราวนี้ข้าพลาดไป
พระโพธิสัตว์หันกลับมาพูดว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถึงแม้ท่าน
จะพลาดเราไป ท่านก็คงไม่พลาดมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก
๑๖ ขุมเป็นแน่นอน แล้วหลบไป นักเลงไม่ได้อะไร ออกจากป่าช้า
อาบน้ำในคู เข้าสู่พระนครตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า นักเลงในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต ส่วนพระยาสิงคาล
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน
ทรงปรารภความที่พระเทวทัตแสดงท่าทางอย่างพระสุคต อยู่ใน
คยาสีสประเทศ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลสี จ
เต นิปฺผลิตาดังนี้.

ความพิสดารว่า พระเทวทัตมีฌานเสื่อมแล้ว ก็พลอยเสื่อม
จากลาภสักการะไปด้วย คิดว่า ยังมีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง ดังนี้แล้ว
กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการกะพระศาสดา เมื่อไม่ได้ก็ชวนภิกษุ
๕๐๐ รูป ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัครสาวกทั้งสอง ซึ่ง
บวชได้ไม่นาน ยังไม่ฉลาดในพระธรรมวินัย ไปสู่คยาสีสประเทศ

แยกหมู่กระทำสังฆกรรม แผนกหนึ่งในสีมาเดียวกัน พระศาสดา
ทรงทราบเวลาที่ความรู้ของภิกษุเหล่านั้นแก่กล้า ทรงส่งพระ-
อัครสาวกทั้งสองไป พระเทวทัตเห็นพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว
ดีใจ คิดว่า เมื่อเราแสดงธรรมตลอดคืน จักทำทีท่าอย่างพระ-
พุทธเจ้า ดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงท่าทางอย่างพระสุคต จึงกล่าวว่า

ท่านสารีบุตร ภิกษุสงฆ์ยังไม่ง่วงเหงาหาวนอน ธรรมิกถาจง
อาศัยท่านแจ่มกระจ่างแก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เราเมื่อยหลังนัก
จักขอเหยียดหลังสักหน่อย แล้วเข้านอน พระอัครสาวกทั้งสอง
แสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ให้ตื่นทั่วกันด้วยมรรคผลทั้งหลาย

แล้วพากันกลับมาสู่พระเวฬุวันวิหารทั้งหมดทีเดียว พระโกกาลิกะ
เห็นวิหารว่าง จึงไปสู่สำนักพระเทวทัต พูดว่า ท่านเทวทัต
อัครสาวกทั้งสองของท่านทำลายบริษัทของท่านเสียแล้ว ไป
กันหมดจนวิหารว่าง ส่วนท่านยังมัวนอนหลับอยู่อีก แล้วกระตุก

ผ้าห่มพระเทวทัตออก เอาส้นกระทืบลงไปที่ตรงหัวใจ เหมือน
ตอกตะปูที่ฝาเรือน ทันใดนั้นเองเลือดก็ทะลักออกจากปากของ
พระเทวทัต ต่อจากนั้น พระเทวทัตก็เป็นไข้ พระศาสดาตรัสถาม
พระเถระว่า สารีบุตร เวลาที่เธอพากันไป เทวทัต ทำอะไร ?
พระเถระเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัต

เห็นข้าพระองค์ทั้งสองแล้ว คิดจักกระทำลีลาอย่างพระองค์
เมื่อแสดงท่าทางอย่างพระสุคต เลยถึงความพินาศใหญ่หลวง
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่
เทวทัตทำตามอย่างเราแล้วถึงความพินาศ แม้ในครั้งก่อนก็เคย

ถึงความพินาศมาแล้วเหมือนกัน พระเถระเจ้ากราบทูลอาราธนา
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นไกรษรสีหราช
อาศัยอยู่ในถ้ำทอง ในประเทศหิมพานต์ วันหนึ่งออกจากถ้ำทอง
สบัดกาย มองดูทิศทั้งสี่ บรรลือสีหนาท แล้วเหยาะย่างออกหา
อาหาร ฆ่ากระบือใหญ่กินเนื้อแล้ว ลงสู่สระดื่มน้ำมีสีเหมือน

แก้วมณีเต็มท้องแล้ว มุ่งเดินไปสู่ถ้ำ ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง
เที่ยวขวนขวายหาเหยื่อ เผชิญหน้ากับราชสีห์เข้าทันที ไม่อาจจะ
หลีกหนีได้ทัน ก็เลยนอนหมอบลงแทบเท้า เบื้องหน้าราชสีห์
เมื่อราชสีห์ทักว่า อะไรหรือ เจ้าจิ้งจอก ? ก็บอกว่า ข้าแต่นาย

ข้าพเจ้ามาหมายจะรับใช้ท่าน ราชสีห์กล่าวว่า ดีแล้วมาเถิด
จงรับใช้เราเถิด เราจักให้เจ้าได้กินเนื้อดี ๆ แล้วพาสุนัขจิ้งจอก
ไปสู่ถ้ำทอง จำเดิมแต่นั้นมา สุนัขจิ้งจอกก็กินเดนราชสีห์ ล่วงมา
ได้สอง-สามวัน ก็มีร่างกายอ้วนพี ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ราชสีห์
นอนอยู่ในถ้ำ บอกมันว่า ไปซี เจ้าจิ้งจอก เจ้าขึ้นไปยืนบน

ยอดเขา อยากจะกินเนื้อของสัตว์ใด ในบรรดาช้าง ม้า กระบือ
เป็นต้น ที่ท่องเที่ยวอยู่ที่เชิงเขา จงมองหาสัตว์นั้น แล้วมาบอก
เราว่า ข้าพเจ้าอยากกินเนื้อสัตว์อย่างโน้น แล้วจงบอกว่า นาย
ท่านจงแผดเสียงเถิด ดังนี้แล้ว เราจักฆ่าสัตว์นั้น กินเนื้ออร่อย ๆ
แล้วแบ่งให้เจ้าบ้าง สุนัขจิ้งจอกจึงขึ้นไปสู่ยอดเขา มองดูฝูงมฤค

นานาชนิด ครั้นนึกอยากกินเนื้อของสัตว์ชนิดใด ก็เข้าไปสู่ถ้ำทอง
บอกสัตว์นั้นแก่ราชสีห์แล้วหมอบลงแทบเท้า กล่าวว่า นายขอรับ
เชิญท่านแผดเสียงเถิด ราชสีห์วิ่งไปโดยเร็ว ถ้าแม้เป็นช้างตก
มันก็ฆ่าให้ตายตรงนั้น ตนเองกินเนื้อดี ๆ บ้าง ให้สุนัขจิ้งจอกบ้าง
สุนัขจิ้งจอกกินเนื้อจนอิ่มท้องแล้ว เข้าถ้ำนอนหลับ.

ครั้นเวลาล่วงนานผ่านไป สุนัขจิ้งจอก ก็ชักกำเริบเกิด
มานะว่า แม้ตัวเราก็เป็นสัตว์ ๔ เท้าเหมือนกัน เหตุไรจะต้อง
ให้ผู้อื่นเขาช่วยเลี้ยงอยู่ทุก ๆ วันเล่า นับแต่นี้ไป เราจักฆ่าช้าง
เป็นต้นกินเนื้อ แม้แต่ราชสีห์ผู้เป็นมฤคราช อาศัยข้อที่เรา
กล่าวว่า นายขอรับ เชิญท่านแผดเสียงเถิด ดังนี้เท่านั้น ก็ฆ่าช้าง

ทั้งหลายได้ เราต้องให้ราชสีห์พูดกะเราบ้างว่า จิ้งจอกเอ๋ย เชิญ
แผดเสียงเถิด ดังนี้ ก็จักฆ่าช้างตัวหนึ่งกินเนื้อได้ มันเข้าไปหา
ราชสีห์แล้วกล่าวดังนี้ว่า นายขอรับ ข้าพเจ้ากินเนื้อช้างพลาย
ที่ท่านฆ่าตายมานานแล้ว ข้าพเจ้าก็อยากจะฆ่าช้างตัวหนึ่งกินเนื้อ

มันบ้าง เหตุนั้น ข้าพเจ้าต้องขอนอนในถ้ำทอง บนที่ที่ท่านนอน
ท่านช่วยดูช้างพลายที่ท่องเที่ยว ณ เชิงเขาแล้วมาสู่สำนัก
ข้าพเจ้า บอกว่าจิ้งจอกเอ๋ย เชิญแผดเสียงเถิด ขอเพียงเท่านี้
แหละ ท่านอย่าได้หวงแหนเลย ครั้งนั้นราชสีห์บอกมันว่า จิ้งจอก
เอ๋ย เจ้าไม่สามารถจะฆ่าช้างได้ดอก ขึ้นชื่อว่า หมาจิ้งจอกที่

บังเกิดในสกุลสีหะ สามารถฆ่าช้างกินเนื้อได้ไม่มีเลยในโลก
เจ้าอย่าชอบใจอย่างนี้เลย อยู่คอยกินเนื้อช้างที่เราฆ่าแล้วไป

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ถ่ายเดียวเถิด ถึงแม้ราชสีห์จะกล่าวชี้แจงอย่างนี้ มันก็ไม่ล้ม
ความตั้งใจ คงเซ้าซี้อยู่นั่นเอง ราชสีห์เมื่อไม่อาจห้ามมันได้ ก็
รับคำ กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เจ้าจงไปที่อยู่ของเรา นอนคอยเถิด
ให้จิ้งจอกนอนในถ้ำทอง ตนเองคอยดูช้างซับมันอยู่ที่เชิงเขา
แล้วไปที่ประตูถ้ำบอกว่า จิ้งจอกเอ๋ย เชิญแผดเสียงเถิด สุนัข-

จิ้งจอก ออกจากถ้ำทอง สะบัดกาย มองสี่ทิศ หอน ๓ คาบ คิดว่า
เราต้องกระโดดลงตรงกระพองช้างซับมัน พลาดไปตกที่ใกล้
เท้าช้าง ช้างยกเท้าขวาขึ้นเหยียบหัวมัน กระโหลกศีรษะแตก
แหลกเป็นจุณ ทีนั้นช้างก็เอาเท้าคลึงร่างของมันทำเป็นกองไว้

ขี้รดข้างบนแล้ว ร้องก้องโกญจนาทเข้าป่าไป พระโพธิสัตว์
เห็นความเป็นไปนี้ กล่าวว่า จิ้งจอกเอ๋ย คราวนี้ เชิญเจ้าแผดเสียง
ไปเถิด ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า
"มันสมองของเจ้าไหลออกแล้ว กระ-
หม่อมของเจ้าก็ถูกทำลายแล้ว ซี่โครงของเจ้า
หักพังไปหมดแล้ว วันนี้เจ้าช่างรุ่งเรืองแท้"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลสิ แปลว่า มันสมอง.
บทว่า นิปฺผลิตา แปลว่า ไหลออกแล้ว.
พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว ดำรงอยู่ตลอดอายุ แล้วไป
ตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้นได้มา
เป็น เทวทัต ส่วนราชสีห์ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวิโรจนชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภตบะที่ผิดของพวกอาชีวก ตรัสพระธรรมเทศนาน
ี้ มีคำเริ่มต้นว่า พหุมฺเปตํ อสพฺภิ ชาตเวท ดังนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พวกอาชีวกพากันประพฤติตบะผิด
มีประการต่าง ๆ ที่หลั่งพระเชตวันมหาวิหาร ภิกษุทั้งหลาย
จำนวนมาก เห็นตบะที่ผิด อาทิเช่น อุกกุฏิกัปปธานะ (ตั้งหน้า
ในการนั่งกระโหย่ง) วัคคุลิวัตร (ทำอย่างค้างคาว) กัณฏกา-
ปัสสยะ (นอนบนหนาม) ปัญจตมนะ (ย่างด้วยไฟ ๕ กอง) ของ

พวกนั้น พากันกราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ กุศลหรือความเจริญ อาศัยตบะที่ผิดทั้งนี้ จะมีได้หรือ
พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลหรือ
ความเจริญ อาศัยตบะที่ผิดอย่างนี้มีไม่ได้ ในครั้งก่อนบัณฑิต

สำคัญเสียว่า อาศัยตบะอย่างนี้ กุศลหรือความเจริญคงมีได้
ถือเอาไฟประจำกำเนิดเข้าป่า ไม่พบความเจริญอะไรเลย ด้วย
อำนาจการบูชาไฟเป็นต้น จึงเอาน้ำดับไฟเสีย บำเพ็ญกสิณ-
บริกรรม ให้อภิญญาสมาบัติบังเกิดแล้ว ได้ไปพรหมโลกต่อ
ไป แล้วทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์
ในวันที่ท่านเกิด บิดามารดาก็จุดไฟประจำกำเนิดตั้งไว้ให้ ครั้น
ท่านมีอายุได้ ๑๖ ปี บิดามารดาบอกท่านว่า ลูกเอ๋ยในวันที่เจ้าเกิด
เราจุดไฟไว้ให้ ถ้าเจ้าประสงค์จะครองเรือน จงเรียนพระเวท

ทั้งสาม หรือมิฉะนั้น จะประสงค์ไปพรหมโลก ก็จงถือไฟเข้าป่า
บำเรอไฟ ทำให้ท้าวมหาพรหมโปรดปรานแล้ว ก็จะเป็นผู้ม
ีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ข้าพเจ้า
ไม่ต้องการอยู่ครองเรือน ถือไฟเข้าป่า สร้างอาศรมบท บำเรอ

ไฟอยู่ในป่า วันหนึ่งได้รับของถวาย คือโคในหมู่บ้านชายแดน
จึงจูงโคไปสู่อาศรมบท คิดว่า เราจักให้พระอัคคีผู้มีโชคฉันเนื้อโค
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ได้มีปริวิตกดังนี้ว่า ที่นี่ไม่มีเกลือ พระอัคคี
ผู้มีโชค จักไม่สามารถฉันเนื้อที่ไม่เค็มได้ เราจักไปหาเกลือ

มาจากบ้าน ให้พระอัคคีผู้มีโชค ฉันเนื้อที่มีรสเค็ม พระโพธิสัตว์
จึงผูกโคไว้ในที่ตรงนั้นเอง ได้ไปหมู่บ้านเพื่อหาเกลือ ขณะที่
ท่านไป มีพรานหลายคนมาถึงที่นั้น เห็นโคแล้วฆ่าย่างเนื้อกิน

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ทิ้งหาง แข้ง และหนังไว้ตรงนั้นแหละ แล้วนำเนื้อที่เหลือไป
เสียด้วย พราหมณ์มาแล้ว เห็นโคเหลือแต่หนังเป็นต้น คิดว่า
พระอัคคีผู้มีโชคนี้ แม้แต่ของ ๆ ตน ยังไม่อาจรักษาไว้ได้ จัก
รักษาเราได้ที่ไหนเล่า การบำเรอไฟนี้น่าจะเป็นสิ่งไร้ประโยชน์

กุศลหรือความเจริญมีการบูชาไฟนี้เป็นเหตุ คงไม่มีแน่ พราหมณ์
ก็หมดความพอใจในการบำเรอไฟ กล่าวว่า ข้าแต่พระอัคคีผู้เจริญ
แม้แต่ของของตน ท่านยังไม่สามารถรักษาไว้ ที่ไหนจักรักษา
เราได้เล่า เนื้อไม่มีแล้ว จงยินดีเพียงเท่านี้เถิด เมื่อจะโยนหาง
เป็นต้น เข้ากองไฟ กล่าวคาถานี้ ความว่า

"ไฟไม่ใช่ผู้ดี ที่เราบูชาเจ้าด้วยหางแม้
เท่านี้ ก็มากไปแล้ว วันนี้เนื้อไม่มีสำหรับเจ้าผู้
ชอบเนื้อ ท่านอัคคีผู้เจริญ จงรับเอาแต่เพียงหาง
เถิด นะ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุมฺเปตํ ความว่า แม้ของ
เพียงเท่านี้ ก็ชื่อว่ามากไป.
บทว่า อสพฺภิ ความว่า ไฟไม่ใช่สัตบุรุษ คือไม่ใช่ผู้ดี.
พราหมณ์ เรียกไฟว่า "ชาตเวทะ" อธิบายว่า ไฟเพียงเกิด
ก็เป็นที่รู้กัน คือปรากฏเห็นกันทั่วเพราะฉะนั้นท่านจึงเรียกว่า
"ชาตเวทะ"

ด้วยบทว่า ยนฺตํ วาลธินาภิปูชยาม ความว่า แม้การที่เรา
บูชาเจ้าผู้มีโชค ซึ่งไม่สามารถจะรักษาของ ๆ ตนไว้ได้ ในวันนี้
ด้วยหาง เพียงเท่านี้ก็มากไปแล้ว สำหรับเจ้า.
บทว่า มํสารหสฺส ความว่า วันนี้ เนื้อไม่มีสำหรับเจ้า
ผู้ชอบเนื้อ.

บทว่า นงฺคุฏฺฐมฺปิ ภวํ ปฏิคฺคหาตุ ความว่า เมื่อเจ้าไม่
สามารถจะรักษาของ ๆ ตนไว้ได้ ก็เชิญเจ้าผู้เจริญ รับแต่เพียงหาง
พร้อมทั้งแข้งและหนัง นี้เถิด.
พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็เอาน้ำดับไฟเสีย
บวชเป็นฤๅษี ทำอภิญญา และสมาบัติให้บังเกิด แล้วได้เป็นผู้
มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ดาบสผู้ดับไฟเสียในครั้งนั้นได้มาเป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานังคุฏฐชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า น ตฺวํ ราธ วิชานาสิ ดังนี้.

เรื่องปัจจุบัน จักมีแจ้งในอินทริยชาดก (ข้อที่แปลกคือ :-) ก็
พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า
มาตุคาม เป็นผู้อันใครรักษาไม่ได้ แม้จะระมัดระวังแข็งแรง ก็
ไม่สามารถจะรักษาไว้ได้ ดูก่อนภิกษุ ในครั้งก่อน ถึงเธอก็ตั้งการ

ป้องกันคอยรักษามาตุคามอยู่ แต่ไม่อาจรักษาไว้ได้เลย บัดน
ี้เธอจะรักษาไว้ได้อย่างไรกัน แล้วทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกแขกเต้า
พราหมณ์ผู้หนึ่งในแคว้นกาสี เลี้ยงพระโพธิสัตว์และน้องชายไว้
ในฐานะเป็นลูก ในนกทั้งสองนั้น พระโพธิสัตว์ได้นามว่า โปฏฐ-

ปาทะ น้องชายได้นามว่า ราธะ แต่ภรรยาของพราหมณ์เป็นหญิง
ไม่มีมรรยาท ทุศีล เมื่อพราหมณ์จะออกเดินทางไปค้าขาย
ก็สั่งเสียนกทั้งสองพี่น้องไว้ว่า ดูก่อนพ่อทั้งสอง ถ้าพราหมณี
แม่ของเจ้า จะประพฤติไม่ดีไม่งาม ละก้อ เจ้าคอยห้ามเขานะ

นกพระโพธิสัตว์กล่าว ครับคุณพ่อ ถ้าสามารถห้ามได้ผมก็จักห้าม
ถ้าห้ามไม่ได้ ก็ต้องนิ่ง พราหมณ์มอบนางพราหมณีแก่นกแขกเต้า
ทั้งสองอย่างนี้แล้ว ก็เดินทางไปค้าขาย ตั้งแต่วันที่พราหมณ์
จากไปพราหมณีก็เริ่มประพฤตินอกใจ ทั้งคนที่เข้าไป และคนที่

ออกมา หาประมาณมิได้ นกราธะเห็นกิริยาของนางก็กล่าวกะ
พระโพธิสัตว์ว่า พี่ครับ คุณพ่อของเราสั่งไว้ก่อนไปว่า ถ้าแม่
ของเจ้าทั้งสอง ประพฤติไม่ดีไม่งามละก็ เจ้าคอยห้ามนะ ดังนี้
แล้วจึงไป บัดนี้เล่า นางกำลังจะประพฤติไม่ดีไม่งาม เราช่วย

กันห้ามนางเถิด พระโพธิสัตว์กล่าวเตือนว่า น้องรัก เจ้าพูด
ด้วยความโง่ เพราะความไม่ฉลาดเฉลียวของตนแท้ ๆ ขึ้นชื่อว่า
มาตุคาม แม้บุคคลจะคอยอุ้มไว้พาไป ก็ยังไม่อาจรักษาไว้ได้เลย
ไม่สมควรที่เราจะทำสิ่งที่ไม่สามารถจะกระทำได้ แล้วกล่าว
คาถานี้ ความว่า :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"ราธะเอ๋ย เจ้าไม่รู้จักคนทั้งหลายที่ยัง
ไม่มา ในเวลาครึ่งคืนข้างหน้า เจ้าพูดเพ้อเจ้อ
ไปอย่างโง่ ๆ ในเมื่อแม่โกสิยานี หมดความรัก
ในบิดาของเราเสียแล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตฺวํ ราธ วิชานาสิ อฑฺฒรตฺเต
อนาคเต ความว่า พ่อราธะเอ๋ย เจ้าไม่รู้อะไร ? ในครึ่งคืน
ข้างหน้า คือในยามแรกเท่านั้น คนที่ยังไม่มามีถึงเท่านี้ บัดนี้
ใครเล่าจะรู้ว่า คนอีกเท่าไรจักพากันมา.

บทว่า อพฺยายตํ วิลปสิ ความว่า เจ้าอย่าพูดเพ้อเจ้อเพราะความเขลา
บทว่า วิรตฺเต โกสิยาย ความว่า พราหมณีโกสิยายนี
มารดาของเรา หมดรักเสียแล้ว คือไม่มีความรักในบิดาของเรา
เสียแล้ว ถ้าแกยังมีความเยื่อใย หรือความรักในคุณพ่อ ก็ไม่น่า
จะประพฤติไม่ดี ไม่งามอย่างนี้เลย ด้วยพยัญชนะ (ในคาถา)
เหล่านี้ พระโพธิสัตว์ ประกาศความดังพรรณนามานี้.

ครั้นพระโพธิสัตว์ประกาศอย่างนี้แล้ว ไม่ยอมให้นกราธะ
น้องชาย พูดกะนางพราหมณี นางก็ประพฤติชั่วได้ตามใจชอบ
ตราบเท่าเวลาที่พราหมณ์ยังไม่กลับมา พราหมณ์มาแล้ว ถาม
นกโปฏฐปาทะว่า พ่อคุณ แม่ของเจ้าทั้งสองเป็นอย่างไร ?
พระโพธิสัตว์ บอกเรื่องตามเป็นจริงทั้งหมดแก่พราหมณ์ แล้ว

กล่าวว่า คุณพ่อครับ หญิงประพฤติชั่วอย่างนี้ คุณพ่อเลี้ยงไว้
ทำไม แล้วกล่าวต่อไปว่า คุณพ่อครับ นับแต่เวลาที่กระผม
ทั้งสองกล่าวโทษของคุณแม่แล้ว ก็ไม่อาจอยู่ที่นี่ได้ กราบเท้า
พราหมณ์ แล้วก็บินเข้าป่าไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประกาศ
สัจจะ เมื่อจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
แล้วทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้น ได้
มาเป็นคนทั้งคู่นี้แหละ นกราธะได้มาเป็นอานนท์ ส่วนนกโปฏฐ-
ปาทะ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาราธชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25, 26 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร