วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 19:35  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ บังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล
เรียนศิลปะทุกประการในเมืองตักกสิลา แล้วได้เป็นอาจารย์
ทิศาปาโมกข์ ในพระนครพาราณสี ขัตติยกุมารในราชธาน
ีทั้งร้อยเอ็ด และพราหมณกุมาร พากันมาเรียนศิลปะในสำนัก

ของท่านผู้เดียวมากมาย ครั้งนั้นมีพราหมณ์ชาวชนบทผู้หนึ่ง
เรียนไตรเพทและวิทยฐานะ ๑๘ ประการ ในสำนักของพระ-
โพธิสัตว์แล้ว ตั้งหลักฐานอยู่ในพระนครพาราณสีนั่นเองมาที่
สำนักของพระโพธิสัตว์วันละสอง-สามครั้งทุกวัน นางพราหมณี

ของเขา เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า ลามก
เรื่องทั้งปวงตั้งแต่นี้ไป ก็เช่นเดียวกับเรื่องปัจจุบันนั่นแล ฝ่าย
พระโพธิสัตว์เมื่อพราหมณ์นั้นบอกว่า ด้วยเหตุนี้ กระผมจึง
ไม่มีโอกาส เพื่อจะไปรับโอวาท ดังนี้ ก็ทราบว่า นางมาณวิกา

นั้น นอนหลอกพราหมณ์นี้เสียแล้ว คิดว่า เราต้องบอกยาที่
เหมาะสมให้แก่นาง แล้วกล่าวว่าพ่อคุณ ต่อแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้
ให้เนยใส และน้ำนมสดแก่นางเป็นอันขาด แต่จงโขลกใบไม้
๕ อย่างและผล ๓ อย่างเป็นต้น ใส่ในมูตรโค แล้วแช่ไว้ใน

ภาชนะทองแดงใหม่ ๆ ให้กลิ่นโลหะมันจับ แล้วถือเชือก หวาย
หรือไม้เรียว กล่าวว่า ยานี้เหมาะแก่โรคของเจ้า เจ้าจงกินยานี้
หรือไม่เช่นนั้น ก็ลุกขึ้นทำการงานให้สมควรแก่ภัตรที่เจ้าบริโภค
แล้วต้องกล่าวคาถานี้ ถ้านางไม่ยอมดื่มยา ก็ต้องเอาเชือกหรือ

หวาย หรือไม้เรียว หวดนางลงไปอย่างไม่ต้องนับ แล้วจิกผม
กระชากมาถองด้วยศอก นางจักลุกขึ้นทำงานในทันใดนั่นเอง
เขารับคำว่า ดีจริงขอรับ แล้วทำยา ตามข้อที่บอกแล้วนั่นแหละ
กล่าวว่า แม่มหาจำเริญ เชิญดื่มยานี้เถิด นางถามว่า ยานี้ใคร

บอกท่านเล่าเจ้าคะ ? ตอบว่า อาจารย์บอกให้ แม่มหาจำเริญ
นางกล่าวว่า เอามันไปเสียเถิด ฉันไม่ดื่ม มาณพกล่าวว่า เจ้า
จักดื่มตามใจชอบของตนไม่ได้ แล้วคว้าเชือกกล่าวว่า เจ้าจงดื่มยา
ที่เหมาะแก่โรคของตน หรือมิฉะนั้นก็จงทำงานให้สมควรแก่
ภัตรที่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"ดูก่อนนางผู้โกสิยะ เจ้าจงกินยาให้สม
กับที่อ้างว่าป่วย หรือจงทำงานให้สมกับอาหาร
ที่บริโภค เพราะถ้อยคำกับการกินของเจ้าทั้งสอง
อย่างไม่สมกันเลย" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา วาจา จ ภุญฺชสฺสุ ความว่า
เจ้าจงกินให้สมกับวาจาที่ลั่นไว้ อธิบายว่า จงกินให้สมกับคำพูด
ที่เจ้ากล่าวว่า กองลมเสียดแทงดิฉัน ดังนี้ ปาฐะว่า ยถา วาจํ วา วา
ดังนี้ก็ควร บางอาจารย์ก็สวดว่า ยถาวาจาย ดังนี้ก็มี ในทุก ๆ บท
ความก็อย่างเดียวกันนี้.

บทว่า ยถาภุตฺตญฺจ พฺยาหร ความว่า จงพูดออกมาให้
สมกับอาหารที่เจ้าบริโภคแล้ว อธิบายว่าจงบอกเถิดว่า ฉันหาย
โรคแล้วละ ดังนี้ แล้วทำการงานที่ต้องทำในเรือน.
ปาฐะว่า ยถาภูตญฺจ ดังนี้ก็มี.

อีกอย่างหนึ่ง มีอธิบายว่า จงพูดตามความจริงว่า ฉัน
ไม่มีโรคดอก ดังนี้ แล้วทำการงานเสียเถิด.
บทว่า อุภยนฺเต น สเมติ วาจา ภุตฺตญฺจ โกลิเย ความว่า
คำพูดของเจ้าที่ว่า กองลมเสียดแทงฉันดังนี้ กับโภชนะอันประณีต
ที่เจ้ากิน แม้ทั้งสองอย่างของเจ้านี้ไม่สมดุลย์กันเลย เพราะเหตุนั้น
จงลุกขึ้นทำงานเสียเถิด.

เมื่อพราหมณ์กล่าวอย่างนี้แล้ว ธิดาแห่งโกสิยพราหมณ์
คิดว่า ตั้งแต่เวลาที่อาจารย์ช่วยขวนขวายแล้ว เราไม่อาจลวงเขา
อย่างนี้ต่อไปได้ ต้องลุกขึ้นทำการงาน ดังนี้แล้ว ก็ลุกขึ้น
ประกอบกิจตามหน้าที่ ทั้งยังเป็นหญิงมีศีล งดเว้นจากการทำ

ความชั่ว ด้วยความยำเกรงในอาจารย์ว่า ความที่เราเป็นหญิง
ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง อาจารย์รู้หมดแล้ว ต่อแต่นี้ไป เรา
ไม่สามารถจะทำเช่นนี้ได้อีก.

แม้นางพราหมณีนั้น ก็ไม่กล้าทำอนาจารซ้ำอีก ด้วยความ
เคารพในพระศาสดาว่า ได้ยินว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้
เรื่องของเราแล้ว.

พระศาสดา ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้
ส่วนอาจารย์ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโกสิยชาดกที่ ๑๐

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อรรถกถาอสัมปทานชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อสมฺปทาเนนิตรีตรสฺส ดังนี้.

ความย่อว่า ในครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย ยกเรื่องขึ้นสนทนากัน
ในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นคนอกตัญญู
ไม่รู้คุณของพระตถาคต พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?
เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พระเทวทัตเป็นผู้อกตัญญู
แม้ในครั้งก่อนก็เป็นคนอกตัญญูเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระราชามคธพระองค์หนึ่ง เสวยราช-
สมบัติอยู่ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธพระโพธิสัตว์เสวย
พระชาติเป็นเศรษฐี (ในรัชกาล) ของพระราชาพระองค์นั้น
มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่า สังขเศรษฐี ในพระนครพาราณสี

มีเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่า ปิลิยเศรษฐี เศรษฐีทั้งสองนั้น
เป็นสหายกัน ในเศรษฐีทั้งสองนั้น ปิลิยเศรษฐี ในพระนคร-
พาราณสี ประสบภัยอย่างมหันต์ด้วยหน้าที่การงานบางอย่าง
ถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัวกลายเป็นคนขัดสนไร้ที่พำนัก ชวน
ภรรยาเดินทางไปหมายพึ่งท่านสังขเศรษฐี ออกจากพระนคร-

พาราณสี มุ่งไปสู่พระนครราชคฤห์ด้วยเท้าเปล่า จนถึงนิเวศน์
ของท่านสังขเศรษฐี ท่านสังขเศรษฐีเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า
เพื่อนของเรามาแล้ว ต้อนรับแข็งแรง แสดงความเคารพนับถือ
ให้พักอยู่สอง-สามวัน วันหนึ่งจึงถามว่า เพื่อนรัก ท่านมาด้วย
ต้องการอะไร ? ปิลิยเศรษฐีตอบว่า เพื่อนยาก ภัยบังเกิดแก่

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ข้าพเจ้า ถึงสิ้นเนื้อประดาตัว ช่วยอุดหนุนข้าพเจ้าด้วยเถิด
ฝ่ายสังขเศรษฐีก็กล่าวว่า ดีละเพื่อน อย่ากลัวไปเลย แล้วสั่ง
ให้เปิดคลัง แบ่งเงินให้ ๔๐ โกฏิ แล้วยังแบ่งครึ่งสวิญญาณกทรัพย์
และอวิญญาณกทรัพย์ที่เป็นของตนทุกอย่าง อันเป็นบริวาร
ตามกำหนดส่วนที่เหลือให้อีกด้วย ปิลิยเศรษฐีขนสมบัติกลับไป
พระนครพาราณสี ตั้งหลักฐานได้.

ในเวลาต่อมา ภัยเช่นเดียวกันนั่นแหละ ก็เกิดแก่ท่าน-
สังขเศรษฐีบ้าง ท่านสังขเศรษฐีใคร่ครวญถึงที่พำนักของตน
คิดได้ว่า เราได้ทำอุปการะอย่างใหญ่หลวงไว้แก่สหาย แบ่ง
สมบัติให้ครึ่งหนึ่งเขาเห็นเราแล้วคงไม่ทอดทิ้ง เราจักไปหาเขา
ดังนี้แล้ว พาภรรยาเดินทางไปพระนครพาราณสีด้วยเท้าเปล่า

กล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอจะเดินไปตามท้องถนนพร้อมกับพี่
ดูไม่ควรเลย เธอคอยขึ้นยานที่พี่ส่งมารับไปกับบริวารจำนวน
มากภายหลัง จงคอยอยู่ที่นี่จนกว่าพี่จะส่งยานมารับ ดังนี้แล้ว
ให้นางพักที่ศาลา ตนเองเข้าสู่พระนครไปสู่เรือนเศรษฐี ให้

คนบอกท่านเศรษฐีว่า สหายของท่านชื่อ สังขเศรษฐีมาจาก
พระนครราชคฤห์ ปิลิยเศรษฐีให้คนไปเชิญมา ครั้นเห็นสังขเศรษฐี
แล้ว ก็มิได้ลุกขึ้นจากที่นั่งไม่กระทำปฏิสันถารเลย เอ่ยถาม
อย่างเดียวว่า ท่านมาทำไม ? สังขเศรษฐีตอบว่า ข้าพเจ้ามา

เพื่อพบท่าน ถามว่า ท่านพักที่ไหนล่ะ ? ตอบว่า ที่พักของ
ข้าพเจ้ายังไม่มีดอก ข้าพเจ้าให้แม่บ้านหยุดคอยที่ศาลาแล้ว
มาก่อน ปิลิยเศรษฐีกล่าวว่า ที่พักของท่านที่นี่ก็ไม่มี ท่านจงรับ
อาหารไปให้เขาหุงต้มกิน ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วพากันไปเสียเถิด

อย่ามาพบเราอีกเลย พลางสั่งทาสว่าเจ้าจงตวงข้าวลีบ ๔ ทะนาน
ห่อชายผ้าสหายของเราให้ไปเถิด ได้ยินว่า วันนั้น ปิลิยเศรษฐี
ให้คนฝัดข้าวสาลีสีแดงไว้ประมาณพันเกวียน ขึ้นยุ้งไว้เต็ม
ทั้งที่ได้รับทรัพย์ ๔๐ โกฏิมา ยังเนรคุณ เป็นเหมือนมหาโจร

บอกให้ข้าวทะนานเดียวแก่เพื่อนได้ ทาสตวงข้าวลีบ ๔ ทะนาน
ใส่กระเช้าแล้วไปหาพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้เป็น
อสัตบุรุษ ได้ทรัพย์ ๔๐ โกฏิจากสำนักของเรา บัดนี้สั่งให้
ข้าวลีบ ๔ ทะนาน เราจะรับหรือไม่รับดีหนอ ครั้นแล้วมีปริวิตก
ว่า คนผู้นี้เป็นคนเนรคุณประทุษร้ายมิตร ทำลายมิตรภาพ

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ระหว่างเราเสียแล้ว ด้วยความเป็นคนตัดรอนอุปการะที่เราทำไว้
ถ้าเราไม่รับข้าวลีบ ๔ ทะนานที่เขาให้ เพราะเป็นของเลวไซร้
ก็จักต้องทำลายมิตรภาพ คนอันธพาลที่ไม่ยอมรับสิ่งของที่ตน
ได้เล็กน้อย ย่อมยังมิตรภาพให้สลายไป แต่เรารับข้าวลีบที่เขา
ให้ จักยังดำรงมิตรภาพไว้ได้ด้วยอำนาจของเรา แล้วก็ห่อข้าวลีบ

๔ ทะนาน ที่ชายผ้าลงจากปราสาทไปสู่ศาลา ครั้งนั้นภรรยา
ถามท่านว่า ท่านเจ้าข้า ท่านได้สิ่งไรมาบ้าง ? ตอบว่า ปิลิยเศรษฐี
สหายของเราให้ข้าวลีบมา ๔ ทะนาน แล้วสลัดเราเสียในวันนี้
เลยทีเดียว นางกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ท่านรับมาทำไม มันสมควร
แก่ทรัพย์ ๔๐ โกฏิละหรือ แล้วเริ่มร้องไห้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

นางผู้เจริญ เธออย่าร้องไห้เลย พี่เกรงจะเสียไมตรีกับเขา จึง
รับมาเพื่อดำรงมิตรภาพไว้ด้วยอำนาจของพี่ เธอจะร้องไห้ไป
ทำไม ดังนี้แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า

"ไมตรีของผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นคนพาล
ย่อมเป็นโทษ ก่อให้เกิดแตกร้าวกัน เพราะไม่
รับของไว้ เพราะฉะนั้น เราจึงรับเอาข้าวลีบ
กึ่งมานะ๑ ไว้ด้วยมาคิดว่า ไมตรีของเราอย่าได้
แตกร้าวเสียเลย ขอให้ไมตรีของเรานี้ ดำรงยั่งยืน
ต่อไปเถิด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสมฺปทาเนน ความว่า เพราะ
ไม่ยอมรับของไว้ เข้าสนธิกันโดยลบสระ ได้ความว่า เพราะ
ไม่ถือเอาสิ่งของไว้.
บทว่า อิตรีตรสฺส ได้แก่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้จะเลวหรือ
ไม่เลยก็ตาม.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า พาลสฺส มิตฺตานิ กลี ภวนฺติ ความว่า ไมตรีของ
คนโง่ ๆ ไร้ปัญญา ย่อมชื่อว่าเป็นกลีคือเป็นเช่นกับตัวกาฬกรรณี
อธิบายว่า ย่อมทำลายได้.

ด้วยบทว่า ตสฺมา หรามิ ภุสํ อฑฺฒมมานํ นี้ พระโพธิสัตว์
แสดงว่า ด้วยเหตุนั้น พี่จึงหอบหิ้ว คือยอมรับข้าวลีบตุมพะหนึ่ง
(๔ทะนาน) ที่สหายเขาให้. อธิบายว่า มานะหนึ่งเท่ากับ ๘ ทะนาน
๑. มานะ เป็นชื่อมาตรา, ๘ ทะนานเท่ากับ ๑ มานะ, กึ่งมานะเท่ากับ ๔ ทะนาน.
กึ่งมานะเท่ากับ ๔ ทะนาน และ ๔ ทะนาน ชื่อว่า หนึ่งตุมพะ
ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปลาปตุมฺพํ.

บทว่า มา เม มิตฺติ ภิชฺชิตฺถ สสฺสตายํ ความว่า ไมตรี
ของเรากับสหายอย่าแตกกันเสียเลย ขอให้ไมตรีนี้จงยั่งยืนอยู่
ต่อไปเถิด.

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอยู่อย่างนี้ ภรรยาคงร้องไห้อยู่
นั่นเอง ในขณะนั้น ทาสผู้ทำการงานที่ท่านสังขเศรษฐีมอบให้แก่
ปิลิยเศรษฐี ผ่านมาทางประตูศาลา ได้ยินเสียงภรรยาของท่าน-
เศรษฐีร้องไห้ จึงเข้าไปยังศาลา เห็นเจ้านายเก่าของตน ก็
หมอบลงแทบเท้า ร้องไห้คร่ำครวญ พลางถามว่า ข้าแต่นาย

ท่านพากันมาที่นี่ทำไม ? ท่านเศรษฐีก็เล่าเรื่องให้ฟังทั้งหมด
ทาสผู้ทำงานจึงปลอบท่านทั้งสองว่า ช่างเถิดนาย ท่านทั้งสอง
อย่าคิดเลย แล้วพาไปเรือนของตน ให้อาบน้ำหอม ให้บริโภค
อาหาร เรียกทาสทั้งหลายที่เหลือมาประชุมกัน แสดงให้รู้ว่า
เจ้านายของพวกท่านมาแล้ว รออยู่สอง-สามวัน ก็พาทาสทั้งหมด

ไปสู่ท้องพระลานหลวง แล้วร้องตะโกนโพนทนาขึ้น พระราชา
รับสั่งให้เรียกมาตรัสถามว่า นี่เรื่องอะไรกัน ? ทาสเหล่านั้น
พากันกราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระราชา พระราชาทรงสดับ
คำของพวกทาสแล้ว รับสั่งให้เรียกเศรษฐีทั้งสองเข้ามาเฝ้า

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ตรัสถามท่านสังขเศรษฐีว่า มหาเศรษฐี ได้ยินว่า ท่านให้ทรัพย์
๔๐ โกฏิ แก่ปิลิยเศรษฐี จริงหรือ ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า มิใช่แต่ทรัพย์อย่างเดียวเท่านั้น ที่ข้าพระองค์
ให้แก่สหายผู้นึกถึงข้าพระองค์ แล้วบ่ายหน้ามาสู่พระนครราชคฤห์
ข้าพระองค์แบ่งสวิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ที่เป็น

สมบัติทุกอย่าง ออกเป็นสองส่วน แล้วแบ่งเท่า ๆ กัน พระเจ้าข้า
พระราชาตรัสถามปิลิยเศรษฐีว่า ข้อนั้นเป็นความจริงหรือ ?
ปิลิยเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ เป็นความจริงพระเจ้าข้า
ตรัสถามต่อไปว่าก็เมื่อเขานึกถึงท่าน มาหาถึงนี่แล้วท่านยังจะ

ได้กระทำสักการะ สัมมานะ อะไรบ้างเล่า ? เขานิ่งเสียรับสั่ง
ถามต่อไปว่า ยังอีกข้อหนึ่งเล่า เจ้าได้ให้ทาสตวงข้าวลีบตุมพะหนึ่ง
ใส่ชายผ้าให้เขาไป ยังจะจริงหรือ ? ปิลิยเศรษฐีแม้จะฟังพระดำรัส
นั้น ก็คงนิ่งอึ้งอยู่นั่นเอง พระราชาทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์

ว่า ควรทำอย่างไร ทรงบริภาษปิลิยเศรษฐี แล้วตรัสว่า ไปกัน
เถิดท่านทั้งหลาย จงไปเอาสมบัติในเรือนของปิลิยเศรษฐี ให้แก่
สังขเศรษฐีเถิด พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ข้าพระองค์ไม่ต้องการสิ่งของของผู้อื่นเลย ขอได้ทรงพระกรุณา

โปรดพระราชทานส่วนที่ข้าพระองค์ให้แก่เขาเท่านั้นเถิด พระ-
เจ้าข้า พระราชารับสั่งให้พระราชทานสมบัติอันเป็นส่วนของ
พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ได้คืนสมบัติที่ตนให้ไปทั้งหมดแล้ว
แวดล้อมด้วยทาสกลับไปสู่พระนครราชคฤห์ นั่นแหละตั้ง

หลักฐานได้แล้ว กระทำบุญทั้งหลาย มีให้ทานเป็นต้น แล้ว
ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ปิลิยเศรษฐีในครั้งนั้น ได้มาเป็นเทวทัต ส่วนสังขเศรษฐี
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอสัมปทานชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพระสูตร ว่าด้วยการประเล้าประโลมของมารธิดา
ณ อชปาลนิโครธ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
กุสลูปเทเส ธิติยาทฬฺหาย จ ดังนี้.
ความพิสดารว่า ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
พระสูตรนั้น ตั้งแต่ต้นจนจบบริบูรณ์อย่าง
นี้ว่า :-

นางตัณหา นางอรดี และนางราคา ล้วน
เพริศพริ้งแพรวพราว พากันมา พระศาสดาทรง
กำจัดนางเหล่านั้นไปเสีย เหมือนลมพัดปุยนุ่น
ให้หล่นกระจายไปฉะนั้น.

พวกภิกษุประชุมกันในโรงธรรม ตั้งเรื่องสนทนากันว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิได้ทรงลืมพระเนตร
แลดูพวกมารธิดา อันจำแลงรูปทิพย์หลายร้อยอย่าง แล้วเข้าไปหา
เพื่อจะเล้าโลมโอ ขึ้นชื่อว่า กำลังของพระพุทธเจ้า น่าอัศจรรย์
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันการ
ที่ไม่แลดูพวกมารธิดาของเรา ผู้ทำให้อาสวะหมดสิ้นไปแล้ว
บรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์เลย
แท้จริงในกาลก่อน เรากำลังแสวงหาพระโพธิญาณ มิได้ทำลาย

อินทรีย์ทั้งหลายเสีย แลดูแม้ซึ่งรูปทิพย์ ที่พวกนางยักษิณีพากัน
เนรมิตไว้ด้วยอำนาจกิเลส ทั้งที่เรายังมีกิเลส ดำเนินไปจน
บรรลุถึงความเป็นมหาราชได้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นน้อง-
องค์เล็กที่สุด ของพระพี่ยาเธอตั้ง ๑๐๐ องค์ เรื่องราวทั้งหมด
บัณฑิตพึงให้พิสดารโดยนัยดังกล่าวแล้วในตักกสิลาชาดก
ในหนหลังนั้นแล (แปลก) แต่ว่า ในครั้งนั้น เมื่อชาวเมืองตักกสิลา

เข้าไปอัญเชิญพระโพธิสัตว์ ณ ศาลาภายนอกพระนคร มอบถวาย
ราชสมบัติ กระทำการอภิเศกแล้ว ชาวตักกสิลานคร พากัน
ตกแต่งพระนครเหมือนเมืองสวรรค์ ตกแต่งพระราชนิเวศน์
เหมือนวิมานอินทร์. ปางเมื่อพระโพธิสัตว์ เสด็จเข้าพระนครแล้ว

เสด็จขึ้นสู่บัลลังก์รัตน์ ภายใต้เศวตรฉัตรในท้องพระโรงหลวง
ในประสาทอันเป็นพระราชสถาน ประทับนั่งด้วยลีลาประหนึ่ง
ท้าวเทวราช เหล่าอำมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี และขัตติยกุมาร
ต่างแต่งองค์ทรงเครื่องพร้อมแวดล้อมโดยขนัด นางบำเรอ

ประมาณ หมื่นหกพันนาง ล้วนแน่งน้อย เปรียบประดุจเทพอัปสร
ทุกนางต่างฉลาดในการฟ้อนรำ ขับร้อง และบรรเลง พระราชวัง
ก็ครื้นเครงทั่วกัน ด้วยเสียงขับร้องและบรรเลงเพลงประสาน
ปานประหนึ่งท้องมหาสมุทร ที่กำลังคะนองคลื่นเบื้องหน้า
แต่เมฆฝนตกกระหน่ำแล้ว พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรดูศิริ-

เสาวภาค อันบรรลุแก่พระองค์นั้น ทรงดำริว่า ถ้าเราจักพะวง
แลดูรูปทิพย์ที่นางยักษิณีเหล่านั้นจำแลงเสียแล้วละก็ คงสิ้น
ชีวิตไปแล้ว คงไม่ได้ดูศิริเสาวภาคนี้ แต่เพราะเราตั้งอยู่ใน
โอวาท ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ศิริโสภาคนี้ จึงบรรลุ

แก่เรา ครั้นทรงดำริฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงเปล่งพระอุทาน ได้
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 22:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"เราไม่ตกอยู่ในอำนาจของพวกรากษส
เพราะความเพียรมั่นคง ดำรงอยู่ในคำแนะนำ
ของผู้ฉลาด และความไม่หวาดหวั่นต่อภัย และ
ความสยดสยอง สวัสดิภาพจากภัยอันใหญ่หลวง
จึงมีแก่เรา" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสลูปเทเส ความว่า ในคำชี้แจง
ของท่านผู้ฉลาดทั้งหลาย อธิบายว่า ในโอวาทของพระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า ธิติยา ทฬฺหาย จ ความว่า เพราะความเพียรอัน
เด็ดเดี่ยวมั่นคง และเพราะความเพียรอันเฉียบขาดแน่นอน.

บทว่า อวตฺถิตตฺตา ภยภีรุตาย จ ความว่า และเพราะ
ความไม่หวาดหวั่นต่อภัยใหญ่ ที่ทำให้กายสะท้าน ในภัยทั้งสอง
อย่างนั้น ภัยเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ทำให้จิตสะดุ้งชื่อว่า ภัย ภัยใหญ่หลวง
ที่ทำให้ร่างกายสั่นหวั่นไหว ชื่อว่าความสยดสยอง ภัยทั้งสอง
ประการนี้ก็ดี อารมณ์อันน่าสยดสยองว่า ขึ้นชื่อว่ายักษิณีเหล่านี้

มันกินมนุษย์ทั้งนั้น ดังนี้ก็ดี มิได้มีแก่พระมหาสัตว์เลย ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อวตฺถิตตฺตา ภยภีรุตาย จ ความไม่ม
ีความหวาดหวั่นต่อภัย และความสยดสยอง อธิบายว่า เพราะ
ไม่มีความหวาดหวั่นสยดสยองเสียเลย คือถึงจะเห็นอารมณ์ที่น่า
สยดสยอง ก็ไม่ยอมท้อถอย.

บทว่า น รกฺขสีนํ วสมาคมิมฺห เส ความว่า ไม่ต้องมาสู่
อำนาจแห่งนางรากษสเหล่านั้น ในทางอันกันดารด้วยยักษ์
ท่านกล่าวอธิบายว่า เพราะเหตุที่เรามีความเด็ดเดี่ยวมั่นคงใน
คำชี้แจงของท่านผู้ฉลาด และเรามีการไม่ย่นย่อท้อถอยเป็นสภาพ

เพราะไม่มีความกลัวและความหวาดสดุ้ง ฉะนั้น เราจึงไม่มาสู่
อำนาจของพวกรากษส ดังนี้ สวัสดิภาพ คือความเกษมจากภัย
อันใหญ่หลวง คือจากทุกข์โทมนัสที่เราต้องประสบ ในสำนัก
ของพวกนางรากษส ของเรานั้น ก็คือความปีติโสมนัสอย่างเดียว
นี้ เกิดแล้วแก่เราในวันนี้.

พระมหาสัตว์ทรงแสดงธรรมด้วยคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น
เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า เราตถาคต ได้เป็นราชกุมารผู้ไปปกครองราชสมบัติ
ในพระนครตักกสิลา ในครั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภีรุกชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า เขมํ ยหึ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ภิกษุนั้นเรียนพระกรรมฐานจากสำนัก
ของพระศาสดา แล้วไปสู่บ้านชายแดนตำบลหนึ่ง อาศัยหมู่บ้าน
หมู่หนึ่งจำพรรษาในเสนาสนะป่า ในเดือนแรกนั้นเองเมื่อเธอ
เข้าไปบิณฑบาต บรรณศาลาถูกไฟไหม้ เธอลำบากด้วยไม่มี
ที่อยู่ จึงบอกพวกอุปัฏฐาก คนเหล่านั้น พากันพูดว่า ไม่เป็นไรดอก

พระคุณเจ้า พวกกระผมจักสร้างบรรณศาลาถวาย รอให้พวก
กระผมไถนาเสียก่อน หว่านข้าวเสียก่อนเถิดขอรับ จนเวลา
๓ เดือนผ่านไป เธอไม่อาจบำเพ็ญพระกรรมฐานให้ถึงที่สุดได้
เพราะไม่มีเสนาสนะเป็นที่สบาย แม้เพียงนิมิตรก็ให้เกิดขึ้นไม่ได้
พอออกพรรษาเธอจึงไปสู่พระเชตวันวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา

แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเธอ
แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ กรรมฐานของเธอเป็นสัปปายะ
หรือไม่เล่า ? เธอจึงกราบทูลความไม่สะดวกจำเดิมแต่ต้น
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อนโน้น แม้สัตว์เดียรัจฉาน

ทั้งหลาย ก็ยังรู้จักสัปปายะ และอสัปปายะของตน พากันอยู่อาศัย
ในเวลาสบาย ในเวลาไม่สบายก็พากันทิ้งที่อยู่เสียไปในที่อื่น
เหตุไรเธอจึงไม่รู้สัปปายะ และอสัปปายะของตนเล่า เธอกราบทูล
อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 22:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนก บรรลุความ
เป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว ถึงความงามเป็นเลิศ ได้เป็นพระยานก อาศัย
ต้นไม้ใหญ่ สมบูรณ์ด้วยกิ่งก้าน สาขา และค่าคบ มีใบหนาแน่นอยู่
ใกล้ฝั่งสระเกิดเอง ในแนวป่าตำบลหนึ่ง อยู่เป็นหลักฐาน พร้อม

ทั้งบริวาร นกเป็นจำนวนมาก เมื่ออยู่ที่กิ่งอันยื่นไปเหนือน้ำ
ของต้นไม้นั้น ก็พากันถ่ายคูถลงในน้ำ และในชาตสระนั่นเล่า
ก็มีนาคราช ผู้ดุร้ายอาศัยอยู่ นาคราชนั้นมีวิตกว่า นกเหล่านี้
พากันขี้ลงในสระอันเกิดเอง อันเป็นที่อยู่ของเรา เห็นจะต้องให้

ไฟลุกขึ้นจากน้ำเผาต้นไม้เสีย ให้พวกมันหนีไป พญานาคนั้น
มีใจโกรธ ตอนกลางคืน เวลาที่พวกนกทั้งหมดมาประชุมกัน
นอนที่กิ่งไม้ทั้งหลาย ก็เริ่มทำให้น้ำเดือดพล่าน เหมือนกับยก
เอาสระขึ้นตั้งบนเตาไฟฉะนั้น เป็นชั้นแรก ชั้นที่สองก็ทำให้ควัน

พุ่งขึ้น ชั้นที่สามทำให้เปลวไฟลุกขึ้นสูงชั่วลำตาลพระโพธิสัตว์
เห็นไฟลุกขึ้นจากน้ำ ก็กล่าวว่า ดูก่อนชาวเราฝูงนกทั้งหลาย
ธรรมดาไฟติดขึ้นเขาก็พากันเอาน้ำดับ แต่บัดนี้ น้ำนั่นแหละ
กลับลุกเป็นไฟขึ้น พวกเราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ต้องพากันไป
ที่อื่นแล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"ความเกษมมีอยู่บนหลังน้ำใด บนหลังน้ำ
นั้น มีข้าศึกมารบกวน ไฟลุกโพลงอยู่กลางน้ำ
วันนี้จะอยู่บนต้นไม้ เหนือแผ่นดินไม่ได้แล้ว
พวกเจ้าจงพากันบินไปตามทิศทางกันเถิด วันนี้
ที่พึ่งของพวกเราเป็นภัยเสียแล้ว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมํ ยหึ ตตฺถ อรี อุทีริโต
ความว่า ความเกษมคือความปลอดภัยมีอยู่เหนือน้ำใด บนเหนือน้ำ
นั้น มีข้าศึกศัตรูประชิดแล้ว.

บทว่า ทกสฺส เท่ากับ อุทกสฺส แปลว่า แห่งน้ำ.
ไฟ ชื่อว่า ฆตาสนะ อธิบายว่า ไฟนั้นย่อมกินเปรียง
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ฆตาสนะ.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า น อชฺช วาโส ความว่า วันนี้ที่อยู่ของพวกเรา
ไม่มีแล้ว.
ในบทว่า มหิยา มหีรุโห นี้ ต้นไม้ท่านเรียกว่า มหีรุกฺโข
บนต้นไม้นั้น อธิบายว่า ได้แก่ต้นไม้ที่เกิดบนแผ่นดินนี้.
บทว่า ทิสา ภชวฺโห ความว่า ท่านทั้งหลายจงคบ คือ
พากันบินไปตามทิศทาง.

บทว่า สรณชฺช โน ภยํ ความว่า วันนี้ ภัยเกิดแต่ที่พึ่ง
ของพวกเราแล้ว คือ ที่พำนักของพวกเรา เกิดเป็นภัยขึ้นแล้ว.
พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็พาฝูงนกที่เชื่อฟังคำ
บินไปในที่อื่น ฝูงนกที่ไม่เชื่อฟังคำของพระโพธิสัตว์ ต่างพากัน
เกาะอยู่ ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัส
ประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะภิกษุนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผล
แล้วทรงประชุมชาดกว่า ฝูงนกที่กระทำตามคำของพระโพธิสัตว์
ในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนพระยานก ได้มาเป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาฆตาสนชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการที่พระธรรมเสนาบดีพยากรณ์ปัญหาที่พระองค์
ตรัสถาม โดยย่อได้อย่างพิสดาร ณ ประตูสังกัสนคร ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย สญฺญิโน ดังนี้.

ต่อไปนี้เป็นเรื่องอดีต ในการพยากรณ์ปัญหานั้น.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-
สมบัติ อยู่ใน พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์กำลังจะมรณภาพ
ที่ชายป่า ถูกพวกอันเตวาสิกถาม ก็กล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี

มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ฯลฯ (เหมือนกับเรื่องใน
ปโรสหัสสชาดก) พวกดาบสไม่ยอมเชื่อถ้อยคำของอันเตวาสิก
ผู้ใหญ่ พระโพธิสัตว์จึงมาแต่พรหมชั้นอาภัสสระ ยืนอยู่ในอากาศ
กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"สัตว์เหล่าใดเป็นผู้มีสัญญา แม้สัตว์
เหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ สัตว์เหล่าใดเป็นผู้
ไม่มีสัญญา ถึงสัตว์เหล่านั้น ก็ชื่อว่าเป็นทุคตะ
ท่านจงละเว้นความเป็นสัญญีสัตว์ และอสัญญี-
สัตว์ทั้งสองนี้เสีย สุขอันเกิดจากสมาบัตินั้น
เป็นสุขที่ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน" ดังนี้.

ในบรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เย สญฺญิโน นี้ ท่าน
แสดงถึงหมู่สัตว์ที่มีจิตที่เหลือ เว้นท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญ-
ญายตนฌาน.
บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า เพราะไม่ได้สมาบัตินั้น
แม้ชนเหล่านั้นจึงยังเป็นผู้ชื่อว่า ทุคตะ.

ด้วยบทว่า เยปิ อสญฺญิโน นี้ ท่านแสดงถึงอจิตตกสัตว์
ผู้เกิดในอสัญญีภพ.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า เตปิ ทุคฺคตา ความว่า ถึงแม้สัตว์เหล่านั้น ก็ยังคง
เป็นทุคตะอยู่เหมือนกัน เพราะยังไม่ได้สมาบัตินี้นั้นแหละ.
บทว่า เอตํ อุภยํ วิวชฺชย ความว่า พระโพธิสัตว์ให้โอวาท
แก่อันเตวาสิกต่อไปว่า เธอจงเว้นเสีย ละเสีย แม้ทั้งสองอย่างนั้น
คือ สัญญีภาวะ และอสัญญีภาวะ.

บทว่า ตํ สมาปตฺติสุขํ อนงฺคณํ ความว่า ความสุขในฌาน
นั้น คือที่ถึงการนับว่าเป็นสุข โดยเป็นธรรมชาติสงบระงับ
ของท่านผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอนังคณะ
คือปราศจากโทษ แม้เพราะความที่แห่งจิตมีอารมณ์แน่วแน่
มีกำลังเป็นสภาพ ความสุขนั้น ก็ชื่อว่า เป็นของไม่มีกิเลสเครื่อง
ยียวน.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมสรรเสริญคุณของอันเตวาสิก
ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ได้กลับคืนไปยังพรหมโลก คราวนั้น
ดาบสที่เหลือ ต่างพากันเชื่อฟัง อันเตวาสิกผู้ใหญ่.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสประชุม
ชาดกว่า อันเตวาสิกผู้ใหญ่ในครั้งนั้นได้มาเป็นพระสารีบุตร
ส่วนท้าวมหาพรหม๑ ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาฌานโสธนชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร