วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 07:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๑. เรื่องการคิดบวกของผู้เข้าใจธรรม

พระโสณะเป็นบุตรชายของนางกาฬี ออกบวชเป็นภิกษุศึกษาปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
ของพระพุทธเจ้าแล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์ ได้แสดงธรรมถวายพระพุทธเจ้า และพระพุทธเจ้าได้
ประทานสาธุการว่าพระโสณะแสดงธรรมได้แยบคายชัดแจ้งและงดงาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ
ของพระโสณะแพร่หลายออกไป นางกาฬีผู้เป็นมารดาจึงนิมนต์พระโสณะให้มาแสดงธรรมเทศนา
ที่บ้านพักในเวลากลางคืน นางกาติยานีผู้เป็นเศรษฐินีมีบ้านอยู่ใกล้กันและเป็นเพื่อนสนิท
ของนางกาฬีก็ได้มาฟังธรรมที่บ้านของนางกาฬีในคืนนั้นพร้อมกับญาติมิตรสนิทจํานวนมากด้วย

คืนนั้นมีโจรกลุ่มหนึ่งซึ่งมีกำลังกล้าแข็งจะเข้าลักขโมยทรัพย์สินในบ้านของนางกาติยานี
แต่โดยที่บ้านของนางกาติยานีมีกาแพงกันแน่นหนามาแต่เก่าก่อน โจรกลุ่มนี้จึงใช้วิธีขุดอุโมงค์จาก
ใต้ดินเข้าไปในบ้าน ส่วนหัวหน้าโจรเห็นว่าบ้านของนางกาฬีจุดไฟสว่างไสวและมีคนจํานวนมาก ่
กาลังฟังธรรม จึงเข้าไปในบ้านของนางกาฬีและสวมรอยทําทีว่าสนใจจะฟังธรรมแต่ต้องการจะเข้า
ไปดูลาดเลา ครู่หนึ่งมีคนรับใช้ของนางกาติยานีเข้าไปบอกนางกาติยานีวามีกลุ่มโจรกาลังขุดอุโมงค์
จะเข้าไปในบ้านของกาติยานี หัวหน้าโจรซึ่งนั่งอยู่บริเวณนั้นด้วยก็คิดในใจว่า“เมื่อนางจะกลับไป
ยังบ้านก็ดี หรือร้องบอกให้ญาติมิตรรวมคนต่อสู้ก็ดี เราจะฆ่านางทิ้งเสี ยก่อนก็จะเป็นการดี”

แต่นางกาติยานีพูดกับคนรับใช้ว่า “เธออยาส่งเสียงดัง ทรัพย์สินเป็นของนอกกาย เวลานี้เป็นเวลา
ฟังธรรมเทศนาของพระอรหันต์ที่หาฟังได้ยาก เธออย่าได้ทําลายโอกาสของเราและคนในที่นี้
ในการฟังธรรมเทศนานี้เลย” ว่่าแล้วนางกาติยานีก็ฟังธรรมเทศนาของพระโสณะต่อไปด้วยใจตั้งมัน่
มีสมาธิแน่วแน่โดยไม่มีอาการหวั่นไหวใดๆ ทั้งสิ้น จนกระทังพระโสณะกล่าวจบการแสดงธรรม
เทศนา นางกาติยานีและญาติมิตรต่างก็มีใจแช่มชื่น ดูสงบและอิ่มใจหัวหน้าโจรเห็นเช่นนั้น
นอกจากจะนึกประหลาดใจแล้วยังเกิดสติระลึกขึ้นเองว่า “หญิงผู้นี้มีใจจริงจังมันคงในการฟังธรรม
แต่พวกเรากลับฉวยโอกาสจริงจังที่จะลักขโมยทรัพย์สินในบ้านของนาง

ช่างน่าสมเพชพวกเราเองเสียจริงๆ หากแม้นเราไม่ถือโอกาสนี้กลับตัวใหม่ คงต้องรู้สึก
สังเวชตัวเองหนักขึ้นไปทุกวัน”คิดดังนั้นแล้วก็เข้าไปขอพูดกับนางกาติยานีเป็นการส่วนตัว
โดยบอกความจริงให้รู้ว่า ตนเป็นหัวหน้าโจรที่กําลังลักขโมยทรัพย์สินในบ้านของนาง
เพื่อดูว่านางจะพูดว่าอย่างไร แต่นางกาติยานีกลับบอกอย่างยิ้มแย้มแจ่มใสว่านางได้ตั้งใจไว้แล้วว่าทรัพย์สินในบ้านของนาง ล้วนมีไว้เพื่อให้ผู้อื่นอยู่แล้วและขอบคุณที่ช่วยให้นางไม่ต้องเสียเวลา
ขนไปแจกเอง กับพูดชักชวนให้หัวหน้าโจรพาพวกมาฟังธรรมเทศนาของพระโสณะ

เมื่อมีโอกาสด้วย หัวหน้าโจรได้ฟังเช่นนั้นแล้วก็รีบไปยังบ้านของนางกาติยานี สั่งให้พวกโจรซึ่งเป็นลูกน้องของตนยุติการลักขโมยทรัพย์สินในบ้านของนางกาติยานี แล้วพากันมาพบนางกาติยานี
เพื่อขอให้ช่วยพูดกับพระโสณะเพื่ออนุญาต ให้พวกตนได้บวชเป็นภิกษุ ต่อมาเมื่อพวกโจรเหล่านั้น
บวชเป็นภิกษุแล้วได้ศึกษาปฏิบัติตาม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 07:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๒. เรื่องกุศโลบายในการ บริหารกําลังใจของผู้ป่วย

ในสมัยพุทธกาลมีอุบาสกท่านหนึ่งเป็นแพทย์ประจําพระองค์ของพระเจ้าพิมพิสาร ชื่อว่า
“หมอชีวกโกมารภัจจ์” มีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์เป็นเลิศประดุจหมอเทวดา ครั้งหนึ่งมี
เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ป่วยเป็นโรคในศีรษะ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุ นแรงเป็นทุกขเวทนา
อย่างมาก แพทย์อาวุโสท่านอื่นๆ ล้วนแต่ไม่สามารถรักษาได้ และยังลงความเห็นว่าเศรษฐีจะต้อง
ตายภายใน ๕ วัน หรือ ๗ วันอย่างแน่นอน พระเจ้าพิมพิสารทรงมีรับสั่งให้หมอชีวกโกมารภัจจ์

ไปรักษาอาการป่วยของเศรษฐี เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปตรวจดูอาการของเศรษฐีแล้วก็เห็น
ว่าเศรษฐีนี้มีโอกาสรอดและตายเท่าๆ กันซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังความเข้มแข็งในใจของเศรษฐีเองด้วย
จึงลองทดสอบเศรษฐีโดยถามว่าถ้ารักษาเศรษฐีหายได้ จะให้รางวัลอะไร เศรษฐีก็ตอบว่า
จะยกทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้หมอชีวกโกมารภัจจ์ และตัวเศรษฐีเองก็จะยอมเป็นทาสรับใช้
หมอชีวกโกมารภัจจ์ด้วย หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็เจรจากับเศรษฐีว่าจําเป็นจะต้องผ่าตัดกะโหลก
ศีรษะของเศรษฐี แต่หลังจากผ่าตัดแล้วเศรษฐีจะต้องนอนตะแคงซ้าย ๗ เดือน
นอนตะแคงขวา ๗ เดือน และนอนหงายอีก ๗ เดือน จะทําได้หรือไม่

เมื่อเศรษฐีรับปากวาทําได้ ่ หมอชีวกโกมารภัจจ์
ก็ให้บริวารของเศรษฐีมัดร่างเศรษฐีไว้กับเตียงอย่างแน่นหนาพร้อมวางยาเพื่อระงับความเจ็บปวด
แล้วลงมือผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะของเศรษฐีออกมา และคีบเอาพยาธิ ๒ ตัวออกจากศีรษะ
ตัวหนึ่งเล็ก ตัวหนึ่งใหญ่ ทั้ง ๒ ตัวล้วนเจาะกะโหลกเพื่อจะกินสมองของเศรษฐีหากมันกินสมอง
ในส่วนสําคัญแล้วก็ต้องตายเป็นแน่แท้ การที่แพทย์ท่านอื่นวินิจฉัยว่าเศรษฐีจะตายใน ๕ วันก็เพราะ
เห็นพยาธิตัวใหญ่จะกินสมอง ในขณะที่แพทย์ที่วินิจฉัยวาเศรษฐีจะตายใน ่ ๗ วันก็เพราะเห็นพยาธิ
ตัวเล็กจะกินสมอง เมื่อหมอชีวกโกมารภัจจ์คีบพยาธิทั้ง ๒ ตัว ออกแล้วก็ทายาประสานกะโหลก
เข้าด้วยกันเย็บหนังศีรษะให้สนิท และทายาสมานแผลแล้วจึงแก้มัดให้

จากนั้นให้เศรษฐีนอนนิ่งๆ ตะแคงขวาเศรษฐีนอนตะแคงขวาอยู่ ๗ วัน ก็ร้องโอดครวญว่าไม่สามารถนอนตะแคงขวาต่อไปได้แล้ว ทรมานเหลือเกิน หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ทวงถามตามข้อตกลงวาเศรษฐีตกลงจะยอมนอนตะแคงขวา ่๗ เดือนมิใช่หรือ เศรษฐีก็บอกวา ่ “ก็จริงอยู่ แต่ว่าตอนนี้สุดจะทนได้แล้ว หากต้องนอนท่านี้ต่อไป คงต้องตายเป็นแน่แท้” หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็บอกให้เศรษฐีนอนตะแคงซ้าย
เศรษฐีนอนตะแคงซ้ายอยู่ ๗ วัน ก็ร้องโอดครวญอีกว่าไม่สามารถนอนตะแคงซ้ายต่อไป
ได้อีกแล้ว ทรมานเหลือเกิน หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็ทวงถามตามข้อตกลงอีก

เศรษฐีก็พูดเหมือนเดิมอีกว่า “ก็จริ งอยู่ แต่ว่าตอนนี้สุดจะทนได้แล้ว หากต้องนอนท่านี้ต่อไป
คงต้องตายเป็นแน่แท้” หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็บอกให้เศรษฐีนอนหงาย
เศรษฐีนอนหงายอยู่ ๗ วัน ก็ร้องโอดครวญอีกว่าไม่สามารถนอนหงายต่อไปได้แล้ว ทรมานเหลือเกิน
หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็บอกให้เศรษฐีลุกขึ้นนั่งได้เพราะอาการป่วยและแผล
ที่ศีรษะหายสนิทเรียบร้อยแล้ว เศรษฐีลองจับศีรษะดูก็รู้สึกวาอาการปวดหายเป็นปลิดทิ้งและแผล
ที่ศีรษะก็หายสนิทจริง จึงถามหมอชีวกโกมารภัจจ์ว่าเหตุใดตอนก่อนผ่าตัดหมอชีวกโกมารภัจจ์
บอกว่าเศรษฐีจะต้อง นอนตะแคงซ้าย ๗ เดือน นอนตะแคงขวา ๗ เดือน
และนอนหงายอีก ๗ เดือน

แต่เอาเข้าจริงนอนแค่อย่างละ ๗ วัน ก็สบายดีแล้ว หมอชีวกโกมารภัจจ์ก็เฉลยว่า
ได้คํานวณไว้ก่อนแล้วว่าเศรษฐีจะหายดีใน ๒๑ วัน แต่หากไม่ตกลงกันอย่างนั้นก่อน
เศรษฐีคงไม่มีแรงอึดพอที่จะนอนจนครบกำหนดอย่างละ ่ ๗ วันแน่ คงจะถอดใจ
นอนได้อย่างละ ่ ๑ วันเท่านั้น อาการป่วยและแผลที่ศีรษะก็จะยังไม่หายสนิทเพราะยังไม่ถึง
กาหนดตามเวลา เศรษฐีได้ฟังเช่นนั้นก็ยกย่องหมอชีวกโกมารภัจจ์เป็นอันมากว่านอกจากจะเป็น
หมอที่เชี่ยวชาญยิ่งกว่าขั้นเทพแล้วยังเข้าถึงจิตใจของคนป่วยว่าควรจะจัดการรักษาอย่างไรจึงจะ
ได้ผลพอดีกับคนๆ นั้น หาได้ยากยิ่งโดยแท้

จากนั้นเศรษฐีก็จัดการให้ครอบครัวของตนรวบรวมทรัพย์สมบัติทั้งหมดเพื่อส่งมอบให้
หมอชีวกโกมารภัจจ์ พร้อมทั้งเตรียมตัวไปเป็นทาสของหมอชีวกโกมารภัจจ์ตามที่รับปากไว้ก่อน
การรักษานั้น แต่หมอชีวกโกมารภัจจ์บอกว่า ไม่ต้องถึงขนาดนั้นดอก ที่เคยถามและตกลงกัน
เช่นนั้นไว้ก่อน ก็เพื่อทดสอบความรู้สึกนึกคิดของเศรษฐีก่อนวาความรู้สึกอยากจะพ้นทุกขเวทนา ่
กับความรู้สึกหวงแหนทรัพย์สมบัติ อย่างไหนจะมากกว่ากันเท่านั้น แล้วให้เศรษฐีจ่ายค่า
รักษาพยาบาลตามที่เหมาะสมจํานวนหนึ่ง กับขอให้ถวายเงินจํานวนหนึ่งแด่พระเจ้าพิมพิสาร
เศรษฐีก็จัดการตามที่หมอชีวกโกมารภัจจ์บอกดังกล่าวด้วยความเต็มใจอย่างยิ่ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๓. เรื่องพระพุทธเจ้าทรงพยาบาลภิกษุอาพาธ

ครั้งนั้น มีภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคท้องเสียอย่างหนักจนหมดเรี่ยวแรง ต้องนอนอยู่บน
ที่นอนอันเปื้อนปัสสาวะและอุจจาระของตน ขณะนั้นพระพุทธเจ้าโดยมีพระอานนท์ตามเสด็จ
ตรวจเยี่ยมเสนาสนะของภิกษุทั้งหลาย ทอดพระเนตรเห็นภิกษุอาพาธรูปนี้ จึงเสด็จเข้าไปหาและ
ตรัสถามถึงอาการ เมื่อภิกษุรูปนี้กราบทูลตอบแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ไม่มีภิกษุอื่นมา
พยาบาลเธอเลยหรือ” ภิกษุรูปนี้กราบทูลว่า “ไม่มี พระเจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “เพราะเหตุใดเล่า จึงไม่มีภิกษุอื่นมาพยาบาลเธอ”
ภิกษุรูปนี้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระบรมศาสดา คงเป็ นเพราะข้าพระองค์ไม่เคยช่วยเหลือ
เอื้อเฟื้อใดๆ แก่ภิกษุอื่น จึงไม่มีภิกษุอื่นมาพยาบาลข้าพระองค์”

พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกพระอานนท์มาสั่งว่า “ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปนํานํ้ามา เราจะ
อาบนํ้าให้ภิกษุนี้” พระอานนท์รับพระพุทธดํารัสแล้ว จึงไปนํานํ้ามา จากนั้น พระพุทธเจ้า
และพระอานนท์ช่วยกันรดนํ้าและเช็ดตัวทําความสะอาดให้แก่ภิกษุอาพาธรูปนี้แล้วพยุงไปยัง
ที่นอนในอีกที่หนึ่ง และจัดยาระงับอาการท้องเสียให้ภิกษุอาพาธรูปนี้ได้ฉัน

ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเรียกประชุมภิกษุทั้งหลาย และตรัสถามเรื่องราวที่เกิดขึ้น
แล้วพระพุทธเจ้าทรงมีพระพุทธดํารัสวา ่ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดาผู้จะพึงพยาบาลพวกเธอ
ก็ไม่มี ถ้าเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจักพยาบาล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดจะพยาบาลเรา
ก็พึงพยาบาลภิกษุที่อาพาธเถิด ภิกษุอื่นผู้เป็นอุปัชฌายะ อาจารย์ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก

ภิกษุผู้ร่วมอุปัชฌายะ หรื อภิกษุผู้ร่วมอาจารย์ โดยลําดับ ของภิกษุที่อาพาธ พึงพยาบาลภิกษุ
ที่อาพาธนั้น ฃหากภิกษุที่อาพาธไม่มีภิกษุอื่นดังกล่าวที่จะมาพยาบาลได้ ก็เป็นหน้าที่ของหมู่สงฆ์
ที่จะพึงพยาบาลภิกษุที่อาพาธ ถ้าไม่พยาบาลต้องอาบัติทุกกฏ”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 07:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๔. เรื่องการตรวจสอบและวินิจฉัยข้อเท็จจริง

สมัยพุทธกาล มีหญิงคนหนึ่งมีใจศรัทธาปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุณี แต่บิดามารดา
ไม่อนุญาต ต่อมานางได้แต่งงานมีสามีอยูครองเรือนระยะหนึ่ง นางได้ปรนนิบัติสามีเป็นอย่างดี
จนสามีเกิดความพอใจแล้ว นางได้อ้อนวอนขออนุญาตบวช สามีก็ไม่ขัดใจอนุญาตให้นางบวช
ตามความปรารถนา นางจึงเข้าไปบวชในสํานักของนางภิกษุณีผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัต
บวชแล้วไม่นานปรากฏวาครรภ์ของนางโตขึ้น เพื่อนภิกษุณีทั้งหลายเกิดความสงสัยจึงได้
นําเรื่องนี้ไปแจ้งแก่พระเทวทัตเพื่อให้ตัดสินความ

พระเทวทัตได้ตัดสินให้นางสละสมณเพศ สึกออกไปเสียจากสํานัก นางได้ฟังคําตัดสินแล้ว
เกิดความเสียใจเป็นอยางมาก ได้พูดอ้อนวอนขอร้องพระเทวทัตว่า
ได้โปรดอย่าลงโทษนางถึงขนาดนั้นเลย เพราะนางมิได้ประพฤติชั่วเลย แต่คําอ้อนวอนของนาง
ก็ไม่เป็นผล นางจึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ดิฉันมิได้บวชเพื่ออุทิศตนต่อพระเทวทัต แต่ดิฉัน
บวชอุทิศตนต่อพระบรมศาสดา ดังนั้น ขอท่านทั้งหลายโปรดพาดิฉันไปสู่สํานักของพระบรม
ศาสดาด้วยเถิด” ภิกษุณีทั้งหลายจึงพานางไปเข้าเฝ้ าพระพุทธเจ้า และกราบทูลเนื้อความนั้น
ให้ทรงทราบโดยลําดับตั้งแต่ต้น

แม้พระพุทธเจ้าจะทรงทราบอยางแจ่มชัดด้วยพระองค์เองแล้วว่า นางตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช
แต่เพื่อให้เนื้อความนี้ประจักษ์ชัดและขจัดความสงสัยของคนทั้งหลายให้สิ้นไป จึงรับสั่งให้
พระอุบาลีเถระดําเนินการชําระอธิกรณ์เรื่องนี้ให้เกิดความชัดเจนพระอุบาลีเถระ
ได้เชิญท่านผู้เป็นใหญ่ในหมู่คฤหัสถ์มาร่วมกนพิสูจน์ โดยมีนางวิสาขาและผู้มีความรู้อื่นๆ

ร่วมเป็นคณะกรรมการ นางวิสาขาให้ขึงผ้าม่านโดยรอบแล้วเรียกนางภิกษุณี
เข้าไป ตรวจดูมือ เท้า สะดือ และลักษณะของครรภ์แล้ว นับวันนับเดือนก็ทราบชัดเจนว่า
นางภิกษุณี ่ตั้งครรภ์มาตั้งแต่ก่อนบวช จึงรายงานต่อพระอุบาลีเถระและคณะกรรมการ
พระอุบาลีเถระและคณะกรรมการประชุมพิจารณาแล้วเห็นพ้องต้องกนวั ่านางภิกษุณีตั้งครรภ์มา
ตั้งแต่ก่อนบวช จึงได้ประกาศตัดสินอธิกรณ์ในท่ามกลางพุทธบริษัทว่า

นางภิกษุณียังมีศีลบริสุทธิ์อยู่ แล้วกราบทูลเนื้อความให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ พระพุทธเจ้าได้ตรัสอนุโมทนาสาธุการแก่พระอุบาลีเถระว่า ชําระความได้ถูกต้องชอบด้วยธรรมแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2016, 07:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๕. เรื่องพระพุทธเจ้าทรงชี้แนะให้เผชิญกับปัญหา

ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงพบพราหมณ์สองสามีภรรยาซึ่งมีธิดาที่สวยงามมาก
ชื่อ “นางมาคัณฑิยา” พราหมณ์ทั้งสองชอบใจในพระพุทธเจ้าและอยากได้พระพุทธเจ้าเป็นบุตรเขย
จึงได้ออกปากว่าธิดาของตนสวยที่สุดในโลกหล้า และขอยกนางถวายพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้า
ไม่ทรงรับไว้โดยตรัสว่าพระองค์ตัดสิ้นกิเลสทั้งปวงแล้ว อันรูปกายที่คนทั้งหลายเห็นเปลือกนอกว่า
งดงามนั้น แท้จริงแล้วก็คือถุงใส่อุจจาระและปฏิกูลของเน่าเหม็นทั้งนั้น

แม้แต่นางฟ้าและชาววัง ที่สวยกว่านางมาคัณฑิยาหลายเท่านัก พระองค์ก็ไม่ปรารถนาเลย
พระพุทธเจ้าหยังด้วยญาณ ทรงเห็นนิสัยของพราหมณ์ทั้งสองที่จะได้บรรลุมรรคผล
จึงทรงยกเอากายคตาสติปัฏฐานขึ้นมาเป็นข้อแสดงธรรม โดยได้ตรัสตําหนิโทษแห่งการลุ่มหลง
ในความสวยงามแห่งรูปกายต่างๆ

พราหมณ์ทั้งสองพิจารณาตามก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบัน ส่วนนางมาคัณฑิยา
ผูกใจโกรธพระพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อนางได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพี
นางก็ได้ตามหาเรื่องให้ร้ายพระพุทธเจ้าด้วยแรงพยาบาท

ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังกรุงโกสัมพี พระนางมาคัณฑิยาก็ตรัสเรียกนักเลงหัวไม้จํานวน
หนึ่งไปตามด่าวาบริภาษพระพุทธเจ้าและภิกษุที่ตามเสด็จ พระอานนท์เห็นเช่นนั้นแล้วได้กราบทูล
พระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวเมืองเหล่านี้ ด่าว่าบริภาษพวกเรา
พวกเราควรจะไปยัง ที่อื่น“พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “เราจะไปที่ไหน อานนท์ “ พระอานนท์กราบทูลว่า“
ไปเมืองอื่น พระเจ้าข้า“

พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า “ถ้าเราไปยังเมืองอื่นแล้ว มีคนในเมืองนั้นด่าว่าบริภาษเราอีก
เราจักไปที่ไหนกันอีก ”พระอานนท์กราบทูลวา ่ “ไปยังเมืองอื่นๆ นอกจากนี้ พระเจ้าข้า”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อานนท์ การทําเช่นนั้นไม่ควร ปัญหาเกิดขึ้นในที่ใด เราพึงอยู่เผชิญ
กับปัญหานั้นเท่าที่พึงทําได้ก่อน เพื่อแสดงธรรมให้ปรากฏ และเมื่อเหตุสงบระงับในที่นั้นแล้ว
เราจึงจะไปยังที่อื่นๆ ต่อไป” และตรัสวา ่ “เมื่อมีผู้ด่าวาบริภาษเราด้วยคําอันไร้สาระ

เป็นกิจที่เราจะพึงอดทนและวางใจให้เป็นกลางต่อการกระทําเหล่านั้น อธิกรณ์ซึ่งเกิดขึ้น
แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่วาในอดีต ปัจจุบันหรืออนาคต ย่อมมีอยู่ไม่ เกิน ๗ วัน“
ต่อมา ครั้นครบ ๗ วันแล้ว กลุ่มคนที่ด่าว่าบริ ภาษพระพุทธเจ้าและภิกษุที่ตามเสด็จ
เมื่อเห็นว่าพระพุทธเจ้าและภิกษุนั้นล้วนแต่ไม่มีท่าทีสนใจใดๆ ต่อการกระทําของกลุ่มตน ก็รู้สึก
เหนื่อยหน่ายที่จะตามด่าวาบริภาษต่อไป ประกอบกับบรรดาชาวกรุงโกสัมพีจํานวนมากซึ่งประสงค์

จะฟังธรรมของพระพุทธเจ้า และไม่พอใจกลุ่มคนที่ด่าวาบริภาษพระพุทธเจ้า ก็ได้พากํนขับไล่กลุ่ม
คนดังกล่าวด้วย เหตุการณ์เกี่ยวกับการที่มีกลุ่มคนดังกล่าวมาตามด่าวาบริภาษ ่
พระพุทธเจ้าและภิกษุนั้นก็ยุติลง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 18:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๖. เรื่องพระพุทธเจ้าทรงระงับสงครามระหว่างพระญาติ
พระญาติของพระพุทธเจ้ามีอยู่สองฝ่าย พระญาติฝ่ายพระบิดาเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์และพระญาติฝ่ายพระมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ผู้ครองกรุงโกลิยะ ซึ่งทั้งสองนครมีที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกันคนละฝั่งแม่นําโรหิณีต่อมาพระญาติทังสองฝ่ายก็มีเรื่อง

กระทบกระทั่งกันจนเป็นปัญหาสะสมอันเนื่องมาจากการแย่งนํ้าในแม่น้ำโรหิณีในการที่ตั้งอยู่คั่นกลางระหว่างทั้งสองนครดังกล่าว เพราะชาวบ้านทั ้าและส่งนํ้าเข้าสู่ที่นา พอฝั่งหนึ่งทดนํ้าเข้าสู่ฝั่งตน
เพาะปลูก จึงมีการทําฝายกั้นนํ้าเพื่อกักนํ้า ทดนํ ้งสองฝั่งต่างต้องอาศัยนํ้าจากแม่นํอีกฝั่งหนึ่งก็มีนําไม่พอแก่การเพาะปลูก ครั ้นเดือดร้อน กษัตริย์ผู้ครองนครฝั่งนั้นชาวบ้านฝั่งนั้นก็เดือดดาลไปด้วย จนกลายเป็นการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน ถึงขนาดฝ่ายต่างจัดเตรียม กองทัพขนาดใหญ่จะทําสงครามกัน ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงได้เสด็จไปทรงจัดให้พระญาติ ทั้งสองฝ่ายประชุมเจรจากัน
้งสองฝ่ายในที่ประชุมว่า “ทุกท่านเห็นว่านํ้ามีค่ามาก พระพุทธเจ้าตรัสถามพระญาติทั
ใช่หรือไม่” พระญาติทั้งสองฝ่ายต่างก็กราบทูลว่า “นํ้ามีค่ามาก”
พระพุทธเจ้าตรัสถามต่อไปว่า “แล้วชีวิตมนุษย์มีค่ามากหรือไม่” พระญาติทั
้งสองฝ่าย
ต่างก็ยอมรับว่า “ชีวิตมนุษย์มีค่ามาก”
พระพุทธเจ้าตรัสถามอีกว่า “ระหว่างนํ้าที่จะใช้ทํานากับชีวิตมนุษย์ที่จะถูกฆ่า อย่างไหน มีค่ามากกว่ากัน” พระญาติทั้งสองฝ่ายต่างอึ้งไปครู่หนึ่งแล้วต่างก็กราบทูลตอบว่า “ชีวิตมนุษย์มีค่า มากกว่านํ้าที่จะใช้ทํานา”
พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า “ถ้าเช่นนั
้น การที่ท่านต่างเป็นญาติพี่น้องที่รักใคร่สมัครสมานกันมา
ยาวนาน กลับจะมาฆ่ากันและกันเพียงเพราะเหตุแย่งนํ
้าที่ใช้ในบางคราวนี้ จะคุ้มค่าอยู่หรือ
ท่านเคยเจรจากันด้วยดีฉันญาติสนิทมาโดยตลอดเพื่อแบ่งปันเกื้อกูลกันและช่วยเหลือกันแก้ไข ปัญหามิใช่หรือ ท่านจงตรึกตรองการอันควรมิควรดูเองเถิด” พระญาติทั้งสองฝ่ายต่างใคร่ครวญดูแล้ว ก็ยอมสงบศึก หันมาเจรจาหารือกันเกี่ยวกับวิธีการ
กักเก็บและทดนํ้าอย่างเป็นธรรมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนนํ ้าของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง
ขึ้นอีก สันติภาพและภราดรภาพก็กลับคืนมาเป็นปกติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๗. เรื่องพระพุทธเจ้าทรงปลีกวิเวกเมื่อหมู่สงฆ์ที่ทะเลาะวิวาทกันไม่เชื่อฟังโอวาทของพระองค์

ครั้น ในเมืองโกสัมพี มีภิกษุสองกลุ่มใหญ่ในอารามเดียวกัน ได้แก่ กลุ่มธรรมกถึก ซึ่งแสดงธรรมเก่ง
กับกลุ่มวินัยธรซึ่งแม่นยําในพระวินัย ทั้งสองกลุ่มต่างมีภิกษุที่ชอบพอรวมอยู่ ในกลุ่มตนหลายร้อยรูป
และมีพระอาจารย์ของตนเอง อยู่มาวันหนึ่งพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึก ไปทํา กิจธุระในถาน
(ส้วมของพระภิกษุ) เมื่อตักนํ้าล้างที่ถานแล้วก็เหลือนํ้าไว้ในภาชนะ การเหลือ นํ้าไว้ในภาชนะ
หลังจากที่ตักไปล้างถานแล้ว ทางพระวินัยถือว่าเป็นอาบัติ เพราะจะทําให้เป็นที่
เพาะไข่ของยุงหรือสัตว์อื่นๆ ได้และเมื่อภิกษุรูปอื่นไปใช้ถานภายหลัง ก็จะเป็นการทําลายชีวิตสัตว์

หลังจากที่พระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกออกจากถานไป พระอาจารย์ฝ่ายวินัยธรได้เข้าไปใช้ ถานนั้น เมื่อเห็นนําในภาชนะแล้ว ก็ออกมาถามพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกว่า “เมื่อครู่ท่านเหลือนํา
ไว้ในภาชนะหรือ” พระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกก็ยอมรับว่าใช่ พระอาจารย์ฝ่ายวินัยธรถามต่อไปว่า
“แล้วที่ทําเช่นนั้นท่านไม่ทราบหรือว่าเป็นอาบัติ” พระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกก็ตอบตามตรงว่าง
บอกแก่พระอาจารย์ฝ่ายวินัยธรว่า “ถ้าเช่นนั้นไม่ทราบ พร้อมทั้น กระผมขอปลงอาบัติขอรับ”
พระอาจารย์ฝ่ายวินัยธรก็ยับยั้งไว้ว่า “ไม่เป็นไรดอก ในเมื่อท่านไม่ทราบว่าเป็นอาบัติ ท่านไม่มี

เจตนา ไม่ต้องปลงอาบัติดอก” ซึ่งการปลงอาบัติเป็นการขอขมาในความผิดที่ไม่รุนแรง และสัญญา
ว่าจะไม่ทําผิดเช่นนั้นอีกแต่เมื่อเวลาผ่านไปพระอาจารย์ฝ่ายวินัยธรได้บอกเล่าแก่ลูกศิษย์ของตน
ทั้งหมดว่า“พระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกเหลือนําไว้ในภาชนะหลังจากที่เข้าไปในถาน
ต้องอาบัติขนาดนั้นยังไม่รู้ตัวอีก” ลูกศิษย์ของพระอาจารย์ฝ่ายวินัยธร ก็นําเรื่องที่ได้ฟังมา
นั้นไปพูดกับลูกศิษย์ของพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกในทํานองว่าพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึก
ไม่ทราบเลยหรือว่าอะไร เป็นอาบัติหรือไม่เป็นอาบัติ ลูกศิษย์ของพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึก

ได้ฟังก็ไม่พอใจ นําความไปเล่า ให้พระอาจารย์ของตนฟัง เมื่อพระอาจารย์ฝ่ายธรรมกถึกได้ฟังก็รู้สึกเคืองจึงพูดว่า “พระอาจารย์ ฝ่ายวินัยธรรูปนี้พูดมุสาเสียแล้ว ก็เคยพูดกับเราแล้วว่าไม่เป็นอาบัติ ครั้นเราจะขอปลงอาบัติก็ห้ามว่า ไม่ต้อง แล้วไฉนตอนนี้มาพูดนินทาเราเช่นนี้“ ตั้งแต่นั้นมาก็เกิดการบาดหมางและทะเลาะกันแบ่งกันเป็นสองกลุ่มเด็ดขาด ไม่พูดจาปราศรัยกัน ไม่ช่วยเหลือกัน ทั้งๆ ที่อยู่ในอารามเดียวกัน ต่อมา ได้มีผู้กราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงส่งถ้อยคําไปเตือนสติภิกษุทั้งสองกลุ่ม ้งให้มีสามัคคีธรรม แต่ภิกษุทั้งหลายถึงสองครังสองกลุ่มต่างก็ไม่เชื่อฟัง กลับทะเลาะกันมากยิ่งขึ้น

พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปยังอารามแห่งเมืองโกสัมพีนั้น ตรัสเรียกให้ภิกษุทั้งสองกลุ่มทําวัตรเช้าเย็น ด้วยกัน และเวลาฉันอาหารก็ให้นั่งเป็นแถวเรียงสลับกันไปมาระหว่างภิกษุทั้งสองกลุ่ม แล้วพระองค์ทรงสอนว่าการบาดหมางและทะเลาะวิวาทกันจะนําความเดือดร้อนมาให้หมู่คณะ โดยทรงยกตัวอย่างนิทานเรื่องนกกระจาบหลายพันตัวอยู่รวมเป็นฝูงเดียวกันแต่กลับทะเลาะวิวาท กันและทําให้ต้องสิ้นชีวิตลงทุกตัว
แม้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมนั้นแล้ว ภิกษุทั้งสองกลุ่มก็ยังคงรู้สึกอยากจะทะเลาะกันอยู่ และไม่ยอมเชื่อฟังโอวาทของพระพุทธเจ้า อีกทั้งยังกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “เรื่องนี้จะขอจัดการ

กันเอง ขอให้พระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย และโปรดเสด็จกลับไปปฏิบัติธรรมของพระองค์
ตามเดิมเถิด” เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นว่าจะสอนภิกษุเมืองโกสัมพีไม่ได้แล้ว จึงทรงดําริว่าเวลานี้
อยู่ในกาลเข้าพรรษา แต่ในเมื่อภิกษุเมืองนี้ไม่ยอมเชื่อฟังพระองค์แล้ว จะตักเตือนอย่างไร
ก็เปล่าประโยชน์ จึงเสด็จออกจากอารามนั้นไปจําพรรษาอยู่ในป่าปาริเลยยกะเพียงลําพังพระองค์
ในระหว่างนั้น มีช้างโพธิสัตว์ชื่อ “ปาริเลยยกะ” หนีออกจากโขลงมาเพื่ออยู่ลําพังโดยสงบ ได้พบ พระพุทธเจ้าแล้วรู้สึกศรัทธา จึงคอยดูแลอุปัฏฐากและนําผลไม้มาถวายพระพุทธเจ้าทุกวัน

ต่อมาบรรดาญาติโยมที่เคยทําบุญใส่บาตร ได้ถามภิกษุเมืองโกสัมพีเหล่านั้นว่า พระพุทธเจ้าเสด็จไปที่ใด แต่ก็ไม่มีผู้ใดตอบได้หลายวันต่อมา ญาติโยมเหล่านั้นสืบทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าจําพรรษาอยู่ในป่าปาริเลยยกะเพียงลําพังพระองค์อันมีมูลเหตุมาจากการที่ภิกษุเมือง โกสัมพีแบ่งแยกเป็นสองกลุ่มทะเลาะวิวาทกัน โดยทั้งสองกลุ่มต่างไม่ยอมเชื่อฟังพระพุทธเจ้าท่านปรึกษาหารือกันแล้วก็รวมตัวกันประกาศแก่ภิกษุเมืองโกสัมพีทั้งหลายว่า ญาติโยมเหล่านัั้น “ภิกษุทุกรูปโปรดทราบด้วยว่าพวกท่านทําสิ่งอันไม่สมควร
ทังๆ ที่บวชในสํานักของพระพุทธเจ้า

พระองค์ตรัสให้มีสามัคคีธรรม แต่พวกท่านนอกจากจะยังคงทะเลาะวิวาทกันแล้ว ยังขาดความ
เคารพในพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา ดังนั้น ต่อไปพวกเราจะไม่ใส่บาตเมื่อญาติโยมทั้งหลายในเมืองร่วมใจกันไม่ใส่บาตรและไม่ให้การช่วยเหลือดูแลภิกษุทั้งสองกลุ่ม
ที่ทะเลาะกัน ทําให้ภิกษุเหล่านั้นต่างขาดแคลนอาหารและได้รับความยากลําบากไปด้วยกัน
เมื่อญาติโยมพร้อมใจกันใช้มาตรการ “ควํ่าบาตร” เช่นนี้ ภิกษุเหล่านั้นก็เกิดสํานึกได้
ต่างหันมาพูดคุยและยอมให้อภัยกันกับสัญญาว่าจะปฏิบัติต่อกันด้วยดี จึงได้ส่งภิกษุรูปหนึ่งไปบอก ญาติโยมว่า “ขอให้ใส่บาตร และดูแลภิกษุทั้งหมดเหมือนเดิมเถิด พวกอาตมาสามัคคีกันแล้ว และ สัญญาว่าจะไม่แตกแยกกันอีกแล้ว” ญาติโยมได้ฟังเช่นนั้นก็ถามว่า “แล้วพวกท่านได้ไปขอขมาพระพุทธเจ้าหรือยัง” ภิกษุนั้นตอบว่ายัง ญาติโยมจึงตั้งข้อแม้ว่า “พวกท่านต้องไปขอขมาต่อ

พระพุทธเจ้าก่อน พวกเราจึงจะกลับไปใส่บาตร และดูแลพวกท่านเหมือนเดิม” ภิกษุเหล่านั้นทราบ
ความประสงค์ของญาติโยมแล้วจึงพากันไปอ้อนวอนพระอานนท์ซึ่งเป็นพระอุปัฏฐากให้ช่วยเหลือ
พระอานนท์มีใจกรุณาจึงได้พาภิกษุเหล่านั้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่ป่าปาริเลยยกะ ภิกษุเหล่านั้น
ได้กราบขอขมาต่อพระพุทธเจ้าและสัญญาว่าจะสามัคคีกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันอีก
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเกี่ยวกับการเป็นกัลยาณมิตรแก่กันและคุณประโยชน์ของการ
เป็นผู้รู้ฟังคําตักเตือนของบิดามารดาและครูบาอาจารย์ภิกษุเหล่านั้นจํานวนมากฟังธรรมแล้ว
เกิดจิตรวมตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิและเกิดวิปัสสนาญาณหยั่งรู้แจ้งจนบรรลุมรรคผล หลังจากนั้น
เมื่อญาติโยมทราบว่าภิกษุเหล่านั้นกราบขอขมาพระพุทธเจ้าแล้ว ก็พากันถวายอาหารและให้การ ช่วยเหลือดูแลภิกษุเหล่านั้นเหมือนเดิม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 18:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๘. เรื่องเหตุปัจจัยที่ทําให้เกิดมิจฉาทิฐิและสัมมาทิฐิ

พระองคุลิมาล เดิมชื่อว่า “อหิงสกมาณพ” บิดามารดาส่งไปเรียนศิลปวิทยากับอาจารย์ทิศา ปาโมกข์ที่เมืองตักกสิลา อหิงสกมาณพเป็นคนฉลาดขยัน ตั้งใจเรียนดี มีความประพฤติเรียบร้อย คอยรับใช้อาจารย์ด้วยความเคารพ จึงเป็นที่พอใจของอาจารย์มาก แต่ศิษย์คนอื่นๆ รู้สึกริษยา พากัน ออกอุบายเพื่อกําจัดอหิงสกมาณพ โดยแบ่งคนออกเป็นสามพวก พวกแรกเข้าไปบอกอาจารย์ว่า “ได้ยินมาว่าอหิงสกมาณพจะประทุษร้ายท่านอาจารย์” ทีแรกอาจารย์ไม่เชื่อ แต่เมื่อพวกที่สองและ พวกที่สามเข้าไปบอกเรื่องอย่างเดียวกัน หนักเข้าก็เชื่อ อาจารย์จึงหาอุบายฆ่าอหิงสกมาณพ โดยบอกอหิงสกมาณพว่า มีศิลปวิทยาขั้นสุดยอดที่จะสอน แต่อหิงสกมาณพจะต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพัน คนเพื่อประกอบพิธีครุทักษิณาอันเป็นการบูชาครูในชั้นแรกอหิงสกมาณพปฏิเสธโดยกล่าวว่าตนเกิดในตระกูลที่ไม่เบียดเบียนใคร แต่อาจารย์บอกว่า

ศิลปวิทยาที่เรียนไปแล้วถ้ามิได้บูชาครูก็จะไม่อํานวยผลที่ต้องการ ด้วยนิสัย รักวิชา อหิงสกมาณพจึงยอมปฏิบัติตาม โดยออกไปอาศัยอยู่ที่หุบเขาแห่งหนึ่งคอยดักฆ่าคนล้มตาย เป็นจํานวนมาก เมื่อฆ่าคนมากเข้าๆ ก็จําไม่ได้ว่าฆ่าไปแล้วกี่คน อหิงสกมาณพจึงตัดเอานิ้วมือคน ที่ตายคนละหนึ่งนิ้วและทําเป็นพวงมาลัยคล้องคอไว้เพื่อจะได้นับจํานวนคนที่ตนฆ่าแล้ว เป็นเหตุให้คนเรียกชื่ออหิงสกมาณพว่า “โจรองคุลิมาล” มารดาของอหิงสกมาณพได้ทราบข่าวคราวว่า อหิงสกมาณพหายไปจากสํานักทิศาปาโมกข์ สังหรณ์ใจว่าอหิงสกมาณพจะเป็นอันตราย หรือมิฉะนั้นก็อาจเป็นคนเดียวกันกับโจรองคุลิมาลซึ่งกําลังจะถูกทางราชการปราบปราม จึงออกเดินทางตามหาด้วยความห่วงใย เวลานั้น โจรองคุลิมาลได้นิ้วมือมาแล้ว ๙๙๙ นิ้ว ยังขาดอยู่นิ้วเดียวเท่านั้น จึงร้อนรนอยากฆ่าคนให้ได้อีกเพียงหนึ่งคนและตั้งใจว่าถ้าพบใครก่อนก็จะฆ่าทันที เพื่อจะได้นิ้วมือครบตามต้องการ แล้วจะได้นําไปแสดงต่ออาจารย์

เช้าวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูสัตว์โลกด้วยญาณ ทรงเห็นว่าโจรองคุลิมาลเป็นผู้มี อุปนิสัยและบุญกุศลสั่งสมมาหลายภพชาติพอที่จะโปรดให้บรรลุมรรคผลได้และถ้าพระองค์มิได้ เสด็จไปโปรด โจรองคุลิมาลก็จะฆ่ามารดาเสียด้วยความหน้ามืดตามัว ซึ่งจะเป็นอนันตริยกรรมและ จะทําให้ไม่สามารถบรรลุธรรมใดๆ ได้ในชาตินี้พระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปเพื่อจะสกัดโจรองคุลิมาล ไว้มิให้ทันได้ฆ่ามารดา โจรองคุลิมาลได้เห็นพระพุทธเจ้าเสด็จมาแต่ไกล ก็คิดจะฆ่าพระองค์ แต่แม้จะวิ่งไล่ตามอย่างไรก็กลับ ไล่ตามไม่ทัน จนรู้สึกแปลกใจมาก จึงร้องตะโกนขึ้นหลายครั้งว่า“จงหยุดก่อนสมณะ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “เราหยุดแล้ว แต่เธอต่างหากที่ไม่หยุด จึงร้องถามว่า “ท่านกําลังเดินอยู่แท้ๆ กลับบอกว่า โจรองคุลิมาลรู้สึกประหลาดใจยิ่งขึนหยุดแล้ว เหตุใดสมณะจึงกล่าวมุสาเช่นนี้เล่า” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “เราได้หยุด คือเลิกฆ่าสัตว์ ตัดชีวิตแล้ว ส่วนตัวเธอยังไม่หยุด คือยังฆ่าสัตว์ตัดชีวิตอยู่เราจึงกล่าวเช่นนี้“ โจรองคุลิมาลได้ยินพระสุรเสียงอันแจ่มใสและพระดํารัสที่คมคายเช่นนั้น ก็เกิดสติรู้สึกสํานึกผิดได้ทันที แล้ววางดาบ ทิ้งธนู สลัดแล่งโยนทิ้งลงเหวที่หุบเขา เข้าไปถวายบังคมที่พระบาทของพระพุทธเจ้า และทูลขอ บรรพชา พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวชเป็นภิกษุด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทา

ในเบื้องแรก เมื่อพระองคุลิมาลบําเพ็ญภาวนา ไม่สามารถทําจิตให้สงบได้ ด้วยเหตุที่ ปรากฏภาพการฆ่าคนจํานวนมากในอดีตวนเวียนอยู่ในความคิด พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้ พระองคุลิมาลเข้าไปบิณฑบาตในเมือง หากพบผู้ที่ได้รับความทุกข์ร้อนต้องการความช่วยเหลือ ประการใด ก็ให้พระองคุลิมาลกล่าวสัจวาจาจากใจจริง ครั้นพระองคุลิมาลเข้าไปบิณฑบาตในเมือง พบหญิงมีครรภ์แก่คนหนึ่งเจ็บท้องหนักใกล้คลอดในระหว่างทาง มีคนนําผ้ามาปูพื้นให้นางนอน และกั้นม่านไว้นางพยายามออกแรงเบ่งอย่างไรก็ไม่สามารถคลอดบุตรได้จนมีอาการปางตาย พระองคุลิมาลจึงกล่าวสัจวาจาว่า “นับตั้งแต่เราได้เกิดใหม่ในเพศบรรพชิตนี้แล้ว ไม่เคยมีความคิด ที่จะเข่นฆ่าหรือทําร้ายผู้ใดอีกเลย ด้วยสัจวาจานี้ ขอให้น้องหญิงจงคลอดบุตรอย่างปลอดภัยและเป็นสุขเถิด” ทันใดนั้น นางก็คลอดบุตรออกมาโดยง่ายดายประดุจเทนํ้าออกจากกระบอก ทั้งนางและบุตรต่างก็ปลอดภัย หลังจากที่พระองคุลิมาลได้ช่วยเหลือคนครั้งนี

แล้วก็มีกําลังใจเพิ่มขึ้นตามลําดับ ต่อมาพระองคุลิมาลได้หลีกออกจากหมู่คณะไปบําเพ็ญสมณธรรมอยู่ผู้เดียวโดยเจริญสติปัฏฐาน ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าทรงชี้แนะไว้ไม่นานนักก็บรรลุเป็นพระอรหันต์พระองคุลิมาลได้เปล่ง อุทานว่า “เมื่อก่อนเรามีมือเปื้อนเลือดเพราะหลงผิด แต่เพราะได้พบพระบรมศาสดาผู้เป็นบรมครูและกัลยาณมิตรที่จริง ที่แท้ที่ประเสริฐยิ่ง เราจึงหลุดพ้นจากความมืดมนนั้นได้และจักไม่มีวันหวน กลับไปยังความหลงผิดนั้นอีก เพราะเราได้รู้ชัดแล้ว เข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว เหมือนเข้าสู่ที่อันสว่าง แล้ว ”
แม้ว่าพระองคุลิมาลบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่ก็มีชาวบ้านที่ไม่รู้ ทั้งยังเกลียดและกลัวท่านอยู่เมื่อพบท่านคราใด ชาวบ้านเหล่านั้นต่างก็พากันเอาก้อนหินขว้างปาถูกศีรษะของท่านแตก เลือดอาบทุกวัน ซึ่ง

แม้พระพุทธเจ้าทรงทราบดีว่าทุกขเวทนานั้นจะเกิดก็แต่เฉพาะกับกายของพระองคุลิมาลเท่านั้น เพราะพระองคุลิมาลมิได้ติดยึดในเวทนานั้นแล้ว แต่พระพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสปลอบโยนเพื่อแสดงธรรมให้เป็นที่ปรากฏว่า หากพระองคุลิมาลยังไม่บรรลุมรรคผลในชาตินี้ ก็จะต้องเสวยวิบากกรรมอีกยาวนานมากแต่เมื่อพระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์แล้วก็จักได้รับ วิบากกรรมนี้เพียงในชาตินี้เท่านั้น และเมื่อพระองคุลิมาลปรินิพพานแล้วก็จะไม่มีวิบากกรรมเหลือ อีกต่อไป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๓๙. เรื่องหลักธรรมที่ตัดตรง

ในสมัยพุทธกาล มีชายคนหนึ่งชื่อ “พาหิยะ”ขึ้นเรือเพื่อจะไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่เรือ
อับปางกลางทะเล พาหิยะเกาะขอนไม้อยู่ ๗ วัน จึงสามารถว่ายมาขึ้นฝั่ง แต่เสื้อผ้าหลุดหายไป
หมดแล้ว จึงยึดเอาสาหร่ายที่หนองนํ้าแห่งหนึ่งมาพันตัวและถือเอาภาชนะใบหนึ่งซึ่งตกอยู ่
แถวเทวสถานริมหนองนํ้านั้นเข้าไปขออาหาร ผู้คนทั้งหลายในบริเวณนั้นอยูในระหว่างตื่นข่าวว่า
มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก จึงใคร่จะทดสอบโดยคิดว่าหากนําผ้าสําหรับนุ่งห่มไปให้ชายคนนี้แล้ว
เขาไม่รับ ยอมแสดงว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมอย่างอุกฤษฏ์ จึงทดลองให้ผ้าชนิดต่างๆ สวยงามหลายผืน
แก่พาหิยะ พาหิยะคิดในใจว่าผู้คนเหล่านี้คงใคร่จะทดสอบเรา จําเราจะแสร้งทําเป็นวางกิริยา
ให้ดูสงบเหมือนสมณะและไม่ยอมรับผ้าเหล่านั้น

ครั้นพาหิยะทําเช่นนั้นแล้ว ผู้คนต่างพากนเลื่อมใสและปวารณาเลี้ยงดูพาหิยะ นานวันเข้า
ก็พากันเชื่อสนิทว่าพาหิยะเป็นพระอรหันต์จริงๆ พาหิยะก็ยิ่งสวมรอยให้เข้ากับความเชื่อของผู้คน
ทั้งหลายนั้น วันหนึ่ง มีเทพยดาองค์หนึ่งซึ่งเคยเป็นเพื่อนกับพาหิยะในชาติปางก่อน ได้สํารวจดู
เห็นพาหิยะเพื่อนรักดําเนินชีวิตหลอกลวงผู้คนเช่นนี้ก็รู้สึกสลดใจ จึงเข้าไปเตือนสติพาหิยะให้รู้สึก
สังเวชในการกระทําของตนเองนั้น พร้อมกับบอกข่าวแก่พาหิยะวาบัดนี้โลกของเรามีพระพุทธเจ้า
อุบัติขึ้นแล้ว จงไปฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเถิด พาหิยะเกิดสติฉุกคิดรู้ถึงความผิดชอบชั่วดีแล้ว
ก็ละอายในการกระทําของตน และออกไปสืบหาข้อมูลเกี่ยวกับเมืองและสถานที่ที่พระพุทธเจ้าประทับ

เมื่อได้ความแล้วก็ออกเดินทาง ๑๒๐ โยชน์ จนพบพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
ในหมู่บ้านพาหิยะได้หมอบลงทูลอ้อนวอนขอให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรม พระพุทธเจ้าตรัสยับยั้งไว้ว่า
“รอก่อนเถิด ไม่ใช่กาล เรากําลังบิณฑบาต” ครั้นพาหิยะทูลอ้อนวอนถึงสามครั้ง พระพุทธเจ้าหยั่ง
้พาหิยะมีจิตที่บ่มเพาะมาหลายภพชาติพอแก่การจะเข้าถึงธรรมได้แล้ว ด้วยญาณทรงทราบว่าบัดนี
จึงแสดงธรรมโดยย่อว่า “ดูก่อน เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อได้เห็นก็จงสักแต่ว่าเห็นเมื่อได้ฟังก็จง สักแต่ว่าฟัง เมื่อรู้สึกก็จงสักแต่ว่ารู้สึก เมื่อรู้แจ้งก็จงสักแต่ว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น เธอจักรู้ว่าตัวเธอ ของเธอนั้นไม่มี ในกาลใดที่รู้ซึ้งว่าตัวเธอของเธอไม่มี จะเข้าถึงความจริงว่าไม่มีตัวตนอยู่จริงไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกใดๆ เมื่อเข้าถึงความจริงนั้นแล้วย่อมเข้าถึงที่สุดแห่งทุกข์และล่วงพ้นจากทุกข์นั้นได้”

พาหิยะพิจารณาตามเทศนาธรรมนั้นด้วยใจจดจ่อแล้วก็สามารถละอาสวะกิเลสได้ หมดสิ้น และบรรลุเป็นพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาสี่ในฉับพลันนั้นในระหว่างที่พาหิยะกําลังหาบาตรและจีวรเพื่อขอบรรพชา ก็ถูกโคตัวหนึ่งขวิดเสียชีวิต ในวันนั้น พระพุทธเจ้าทรงประกาศว่าพาหิยะปรินิพพานแล้ว และทรงสถาปนาพาหิยะในตําแหน่ง เอตทัคคะผู้เป็นเลิศในการตรัสรู้เร็ว บรรดาพระภิกษุที่ยังไม่บรรลุธรรมต่างก็พากันประหลาดใจว่านั้นๆ พาหิยะจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ได้อย่างไร พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพียงสั่งจึงตรัสคาถาในพระธรรมบทว่า “การแสดงธรรมยาวหรือสั้นไม่ใช่เหตุ ธรรมนันเป็นเหมือนยา แก้คนที่ดื่มยาพิษ การแสดงธรรมถึงพันบทก็อาจประเสริฐสู้การแสดงธรรมเพียงบทเดียวที่ฟังแล้ว ใจสงบรู้ปล่อยวางนั้น ไม่ได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2016, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8237


 ข้อมูลส่วนตัว


๔๐. เรื่องคุณค่าของการสูญเสีย

สตรีนางหนึ่ง มีชื่อว่า “ปฏาจารา” เป็นบุตรพ่อค้าในกรุงสาวัตถี ลักลอบรักกับลูกจ้าง ในเรือน เมื่อพ่อแม่จะจัดหาชายที่คู่ควรให้ นางกับลูกจ้างซึ่งเป็นคนรักก็พากันหนีไปอาศัยอยู่ ด้วยกันในชนบท เมื่อให้กําเนิดลูกคนแรกแล้ว นางจึงอุ้มลูกเดินทางเพื่อจะกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ แต่สามีติดตามไปทันก็ห้ามไว้ด้วยเกรงว่าพ่อแม่ของนางจักยังไม่ให้อภัย นางก็เชื่อฟังสามีโดยดี ต่อมานางตั้งครรภ์ที่สองและใกล้จะคลอด จึงคิดจะเดินทางกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ ขณะแอบหนีออกไป พร้อมกับลูกคนโต สามีก็ติดตามจนห้ามทันอีก พอดีฝนตกและนางรู้สึกเจ็บท้อง นางจึงได้ขอร้อง ให้สามีช่วยหาไม้มาปลูกเป็นเพิงชั่วคราวเพื่อกันฝน สามีจึงเดินออกหาท่อนไม้เพื่อจะตัดเอามา ทําเพิง จนไปพบท่อนไม้หลายท่อนที่มีใบไม้ปกคลุม ทันใดนั้นมีงูพิษเลื้อยออกมากัดเขาตาย

ส่วนนางรอสามีอยู่นานก็คลอดลูกคนที่สอง นางต้องใช้กายกําบังฝนให้ลูกสองคนทั้งคืน
จนร่างกายซีดเซียว ครั้นรุ่งขึ้น นางก็จูงลูกคนโตและอุ้มลูกคนเล็ก ออกเดินตามหาสามีจนพบว่าสามี ตายแล้ว ก็ร้องไห้ครํ่าครวญว่าเป็นเพราะเรา สามีจึงต้องตาย แล้วเดินทางมุ่งหน้าไปยังกรุงสาวัตถี ครั้นถึงฝั่งแม่นํ้า เห็นนํ้าไหลเชี่ยวกราก จึงให้ลูกคนโตรออยู่ที่ฝั่งก่อน ส่วนนางอุ้มลูกคนทีสองเดินข้ามแม่นํ้าจนถึงอีกฝั่งหนึ่งแล้วก็วางลูกคนที่สองไว้ที่ริมฝั่ง จากนั้นคนโตข้ามฝั่ง ระหว่างเดินถึงกลางแม่นํ ้นก็ข้ามกลับมาเพื่อจะอุ้มลูก ก็มีเหยี่ยวตัวหนึ่งคิดว่าทารกนั้นเป็นชิ้นเนื้อ จึงพุ่งลงโฉบ เอาลูกคนที่สองของนางไป

นางเห็นแล้วก็ส่งเสียงร้องและทํามือไล่เหยี่ยว ลูกคนโตก็เข้าใจผิดว่า แม่เรียกให้ไปหาจึงเดินลงนําและถูกกระแสพัดไป สามีก็ถูกงูกัดตายนางเสียใจปิ่มว่าจะขาดใจ ร้องไห้ ครํ่าครวญว่าลูกคนเล็กก็ถูกเหยี่ยวโฉบมาคาบไป ลูกคนโตก็ถูกนํ นางหาทางเดินโซซัดโซเซไปยังบ้านของนางในกรุงสาวัตถี ชาวบ้านจํานางได้จึงบอกข่าวแก่นางว่า เมื่อวันก่อน มีพายุฝนกระหนํ่า พ่อแม่และพี่ชายของนางถูกบ้านถล่มทับตายทั้งหมด และทั้งสามคน ถูกเผาที่เชิงตะกอนเดียวกันไปแล้ว ควันที่พื้นยังเห็นอยู่เลย

นางเสียใจจนเป็นบ้า เดินแก้ผ้าไปตาม ท้องถนน พร้อมกับเพ้อรําพันว่า “เราไม่เหลืออะไรอีกแล้ว ลูกสองคนก็ตาย สามีก็ตาย พ่อแม่และ พี่ชายก็ตายหมดแล้ว” บางคนที่เห็นนางเป็นบ้าไม่ใส่เสื้อผ้า ก็ร้องขับไล่และเอากรวดหินไล่ขว้าง ปานาง จนถึงพระวิหารเชตวันอันเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าหยั่งด้วยญาณ ทรงรู้ ว่านางพอมีกุศลที่สั่งสมไว้มาหลายภพชาติอันทําให้ถึงเวลาที่จะสามารถเข้าถึงธรรมได้ เมื่อนาง มาถึง พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า “จงกลับได้สติเถิดน้องหญิง” ด้วยพุทธานุภาพแห่งพระมหากรุณา

นางจึงเกิดสติระลึกได้ครั้นรู้ตัวว่าไม่มีผ้านุ่งห่มก็โยนผ้าผืนหนึ่งให้นางนุ่งห่ม นางถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ความละอาย อุบาสกในบริเวณนั“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอทรงเป็นที่พึ่งของหม่อมฉันด้วย” แล้วเล่าถึงความสูญเสียทั้งหมด พระพุทธเจ้าตรัสปลอบโยนนางว่า “อันสังสารวัฏที่ผ่านมายาวนานนี้ นํ้าตาของแต่ละคนที่หลั่ง เพราะความสูญเสียคนในครอบครัว พ่อแม่ญาติพี่น้อง เป็นต้นนั้น รวมกันทุกภพชาติแล้วมากว่านํ้า ในมหาสมุทรทังสี่เสียอีก ความตายเป็นเรื่องที่ไม่มีผู้ใดจะหลีกหนีได้บุคคลจึงควรสํารวมในศีล

ชําระใจด้วยสติให้เห็นถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนในสภาพภายนอกทั้งปวง ความที่ต้องแปรปรวน อยู่ภายในตลอดเวลาจนไม่อาจคงทนอยู่ได้และความว่างเปล่าในส่วนลึกที่สุดเพราะไม่มีสิ่งอันควร ติดยึดใดๆ อยู่เลยของชีวิตและสรรพสิ่งนั้น เพื่อหยั่งรู้ถึงความจริงเถิด คนที่เห็นความเกิด ความเสื่อม และความดับของเบญจขันธ์ แม้มีชีวิตเป็นอยู่วันเดียว ยังประเสริฐกว่าคนที่มีชีวิตอยู่ถึงร้อยปี แต่ปล่อยเวลาล่วงไปเปล่าโดยไม่เห็นธรรมนั้นเลย” นางได้พิจารณาตามจนจบคําเทศนาก็บรรลุโสดาปัตติผล จึงทูลขอบรรพชาเป็นพระภิกษุณีพระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาต

ครั้นนางได้อุปสมบทแล้ว ก็เจริญวิปัสสนาด้วยวิถีแห่งสติปัฏฐานสี่ จนกระจ่างชัดในเหตุปัจจัยของความเกิด และความดับแห่งทุกข์ และบรรลุเป็นพระอรหันต์ ต่อมานางเป็นกําลังสําคัญในการเผยแผ่ พระธรรมวินัยและสามารถสอนพระภิกษุณีอื่นให้บรรลุมรรคผลเป็นพระอรหันต์อีก ๘๕ รูป

บทความนี้เอวังด้วยประการฉะนี้ ขอกุศลธรรม กัลยาณธรรมและความสุขสําเร็จสวัสดี
โดยธรรม จงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่านตลอดกาลนานเทอญ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร