วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 09:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ไปทั่วว่า ได้ยินว่าท่านเศรษฐีไปสู่ปัจจันตชนบท กฏาหกะฟังว่า
ท่านเศรษฐีมา คิดว่าท่านคงไม่มาด้วยเรื่องอื่น ต้องมาด้วยเรื่อง
เรานั่นแหละ ก็ถ้าเราจักหนีไปเสีย จักไม่อาจกลับมาได้อีก ก็
อุบายนั้นยังพอมีเราต้องไปพบกับท่านผู้เป็นนาย แล้วกระทำ

กิจของทาส ทำให้ท่านโปรดปรานให้จนได้ จำเดิมแต่นั้น เขา
กล่าวอย่างนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า พวกคนพาลอื่น ๆ ไม่รู้คุณ
ของมารดาบิดา เพราะตนเป็นคนพาล ในเวลาที่ท่านบริโภค ก็
ไม่กระทำความนอบน้อม บริโภครวมกับท่านเสียเลย ส่วนเรา
ในเวลามารดาบิดาบริโภค ย่อมคอยยกสำรับเข้าไป ยกกระโถน

เข้าไป ยกของบริโภคเข้าไปให้ บางทีก็หาน้ำดื่มให้ บางทีก็
พัดให้ เข้าไปยืนอยู่ใกล้ ๆ ดังนี้แล้ว ประกาศกิจที่พวกทาสต้อง
กระทำแก่นายทุกอย่าง ตลอดถึงการถือกระออมน้ำไปในที่ลับ
ในเวลาที่นายถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ครั้นให้บริษัทกำหนด

อย่างนี้แล้ว เวลาที่พระโพธิสัตว์มาใกล้ปัจจันตชนบท ก็บอกกับ
เศรษฐีผู้เป็นพ่อตาว่า คุณพ่อครับ ได้ยินว่า บิดาของผมมา
เพื่อพบคุณพ่อ คุณพ่อโปรดให้เขาเตรียมขาทนียโภชนียาหาร
เถิดครับ ผมจักถือเอาเครื่องบรรณาการสวนทางไป พ่อตาก็
รับคำว่า ดีแล้วพ่อ.

กฏาหกะถือเอาบรรณาการไปเป็นอันมาก เดินทางไป
พร้อมด้วยบริวารกลุ่มใหญ่ ไหว้พระโพธิสัตว์แล้วให้บรรณาการ
ฝ่ายพระโพธิสัตว์รับบรรณาการ กระทำปฏิสันถารกับเขา ถึง
เวลาบริโภคอาหารเช้า ก็ให้ตั้งกองพัก แล้วเข้าไปสู่ที่ลับเพื่อ

ถ่ายสรีรวลัญชะ กฏาหกะให้บริวารของตนกลับแล้วถือกระออม-
น้ำ ไปสำนักพระโพธิสัตว์ เมื่อเสร็จอุทกกิจแล้ว ก็หมอบที่เท้า
ทั้งสอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นนาย กระผมจักให้ทรัพย์แก่
ท่าน เท่าที่ท่านปรารถนา โปรดอย่าให้ยศของกระผมเสื่อมไป

เลย ขอรับ พระโพธิสัตว์เลื่อมใสในความสมบูรณ์ด้วยวัตรของเขา
ปลอบโยนว่า อย่ากลัวเลย อันตรายจากสำนักของเราไม่ม

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ีแก่เจ้าดอก แล้วเข้าสู่ปัจจันตนคร สักการะอย่างมากได้มีแล้ว
ฝ่ายกฏาหกะก็กระทำกิจที่ทาสต้องทำแก่ท่านตลอดเวลา ครั้งนั้น
ปัจจันตเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ผู้นั่งอย่างสบายในเวลาหนึ่ง
ว่า ข้าแต่ท่านเศรษฐี พอผมเห็นหนังสือของท่านเข้าเท่านั้น
ก็ยกบุตรสาวให้แก่บุตรของท่านทีเดียว พระโพธิสัตว์ก็กระทำ

กฏาหกะให้เป็นบุตรเหมือนกัน กล่าวถ้อยคำเป็นที่รักอันคู่ควรกัน
ให้เศรษฐียินดีแล้ว ตั้งแต่นั้นก็ไม่มีใครสามารถมองหน้ากฏาหกะ
ได้เลย อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เรียกธิดาเศรษฐีมาหากล่าวว่า
มานี่เถิดแม่คุณ ช่วยหาเหาบนศรีษะของเราหน่อยเถิด ดังนี้แล้ว

กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รัก กะนางผู้มายืนหาเหาให้ ถามว่า แม่คุณ
ลูกของเราไม่ประมาทในสุขทุกข์ของเจ้าดอกหรือ เจ้าทั้งสอง
ครองรักสมัครสมานกันดีอยู่หรือ ? นางตอบว่า ข้าแต่คุณพ่อ
มหาเศรษฐีบุตรของท่านไม่มีข้อตำหนิอย่างอื่นดอก นอกจาก

จะคอยจู้จี้เรื่องอาหารเท่านั้น ท่านเศรษฐีกล่าวว่า แม่คุณ เจ้าลูก
คนนี้ มีปกติกินยากเรื่อยมาทีเดียว เอาเถิด พ่อจะให้มนต์สำหรับ
ผูกปากมันไว้แก่เจ้า เจ้าจงเรียนมนต์นั้นไว้ให้ดี เมื่อลูกเราบ่น
ในเวลากินข้าวละก็ เจ้าจงยืนกล่าวตรงหน้า ตามข้อความที่เรียน

ไว้ แล้วให้นางเรียนคาถา พักอยู่สองสามวัน ก็กลับพระนคร-
พาราณสีตามเดิม ฝ่ายกฏาหกะ ขนขาทนีย โภชนียาหารมากมาย
ตามไปส่งให้ทรัพย์เป็นอันมากแล้วกราบลากลับ ตั้งแต่เวลาที่
พระโพธิสัตว์กลับไปแล้ว เขายิ่งเย่อหยิ่งมากขึ้น วันหนึ่ง เมื่อ

ธิดาเศรษฐีน้อมนำโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ เข้าไปให้ ถือทัพพี
คอยปรนนิบัติอยู่ เขาเริ่มติเตียนอาหาร เศรษฐีธิดาจึงกล่าว
คาถานี้ ตามทำนองที่เรียนแล้ว ในสำนักของพระโพธิสัตว์ ว่า :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น ผู้นั้นพึงกล่าวอวด
แม้มากมาย ดูก่อนกฏาหกะ เจ้าของเงินจะติดตาม
มาประทุษร้ายเอา เชิญท่านบริโภคอาหารเสีย
เถิด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุมฺปิ โส วิกตฺเถยฺย อญฺญํ
ชนปทํ คโต ความว่า ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น จากชาติภูมิของตน
ในที่ใดไม่มีคนรู้กำเนิดของเขา ผู้นั้นพึงจู้จี้ คือกล่าวคำข่มแม้
มากก็ได้.

บทว่า อนฺวาคนฺตฺวาน ทูเสยฺย ความว่า เพราะย้อนทาง
ไปทำกิจของทาสให้แก่นายแล้ว เจ้าจึงพ้นจากการถูกเฆี่ยน
ด้วยหวาย อันจะถลกหนังสันหลังขึ้น และการตีตราทำเครื่อง
หมายทาสไปคราวหนึ่งก่อน ถ้าเจ้าขืนทำไม่ดี ในคราวหลังเขาย้อน

กลับมา นายของเจ้าพึงตามประทุษร้ายได้ คือมาตามตัวถึง
เรือนนี้ แล้วประทุษร้ายทำลายเจ้าอีกได้ ด้วยการเฆี่ยนด้วย
หวาย ด้วยการตีตราเครื่องหมายทาส และด้วยการประกาศ
กำเนิดก็ได้ เหตุนั้น กฏาหกะเอ๋ย เจ้าจงละความประพฤติไม่ดี

นี้เสีย บริโภคโภคะทั้งหลายเถิด อย่าทำให้ความเป็นทาสของตน
ปรากฏแล้วเป็นผู้ต้องเดือดร้อนในภายหลังเลย นี้แลเป็นอรรถาธิบาย
ของท่านเศรษฐี.

ส่วนธิดาเศรษฐี ไม่รู้ความหมายนั้น กล่าวได้คล่องแต่
พยัญชนะ ตามข้อขอดที่เรียนมาเท่านั้นกฏาหกะคิดว่า ท่าน-
เศรษฐีบอกเรื่องโกงของเราแล้ว คงบอกเรื่องทั้งหมดแก่นางน
ี้แล้วเป็นแน่ ตั้งแต่นั้นก็ไม่กล้าติเตียนภัตรอีก ละมานะได้ บริโภค
ตามมีตามได้ ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า กฏาหกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้มักโอ้อวด ส่วน
พาราณสีเศรษฐีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากฏาหกชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบของพระเจ้าโกศล
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตเถเวกสฺส กลฺยาณํ
ดังนี้ :-

ได้ยินว่าพราหมณ์นั้น ในเวลาที่พวกช่างเหล็ก นำดาบ
มาถวายพระราชา ก็สูดดมดาบ แล้วชี้ถึงลักษณะดีชั่วของดาบ
เขาได้ลาภจากมือของช่างดาบพวกใด ก็กล่าวดาบของช่างพวกนั้น

ว่าสมบูรณ์ด้วยลักษณะ ประกอบด้วยมงคล ไม่ได้จากมือของ
ช่างพวกใด ก็ติเตียนดาบของช่างพวกนั้นว่า อัปลักษณ์ ครั้งนั้น
ช่างดาบคนหนึ่งกระทำดาบแล้ว ใส่พริกป่นอย่างละเอียดในฝัก
นำดาบมาถวายพระราชา พระราชารับสั่งหาพราหมณ์มาตรัส

ว่า ท่านจงพิจารณาดูดาบทีเถิด เมื่อพราหมณ์ชักดาบออกมาดม
พริกป่นเข้าจมูก ทำให้เกิดอยากจามขึ้น เมื่อพราหมณ์กำลังจาม
อยู่นั่นแหละ จมูกก็ถูกคบดาบบาดขาดเป็นสองชิ้น ข้อที่พราหมณ์
นั้นจมูกขาด รู้กันทั่วในหมู่สงฆ์ อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย

พากันยกเรื่องขึ้นสนทนาในโรงธรรมว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยิน
ว่า พราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบของพระราชา ดูลักษณะดาบ
เลยทำให้จมูกขาดไปเสียแล้ว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วย

เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่พราหมณ์
นั้นดมดาบถึงจมูกขาด แม้ในกาลก่อนก็เคยถึงจมูกขาดมาแล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระองค์ได้มีพราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบ
เหมือนกัน เรื่องทุกอย่าง ก็เช่นเดียวกันกับเรื่องปัจจุบันนั้นแล
แปลก แต่ว่า พระราชา ได้พระราชทานหมอแก่พราหมณ์

ให้รักษาจนยอดจมูกหายเป็นปกติ ให้ทำจมูกเทียมด้วยครั่ง
ใส่แทน แล้วทรงตั้งพราหมณ์เป็นข้าเฝ้าตำแหน่งเดิม นั่นแหละ
ก็พระเจ้าพาราณสีไม่มีโอรส มีแต่พระธิดาองค์หนึ่ง กับพระ-
ราชภาคิไนย พระองค์ทรงเลี้ยงพระราชธิดา และพระราชภาคิไนย
ไว้ในสำนักของพระองค์ทีเดียว เมื่อพระราชธิดาและพระราช-

ภาคิไนย ทรงจำเริญร่วมกันมา ต่างฝ่ายต่างมีพระทัยปฏิพัทธ์กัน
ฝ่ายพระราชา ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลายมา รับสั่งว่า หลาน
ของเราจักได้เป็นเจ้าของราชสมบัตินี้ เพียงผู้เดียว เราจักยก
ธิดาให้เขาแล้วทำการอภิเษกกันเลยทีเดียว แล้วทรงพระดำริ
ใหม่ว่า หลานของเราก็คงเป็นญาติของเราโดยประการทั้งปวง

เราจักนำราชธิดาอื่นมาให้เขาแล้วทำการอภิเษก ยกธิดาของเรา
ให้แก่พระราชาองค์อื่น ด้วยอุบายวิธีนี้ ญาติของเราจักเป็น
เจ้าของราชสมบัติทั้งสองพระนคร ท้าวเธอทรงปรึกษากับอำมาตย์
ทั้งหลาย รับสั่งว่า ควรจะแยกคนทั้งสองนั้นเสีย แล้วรับสั่งให้

พระราชภาคิไนย ประทับในตำหนักหนึ่ง พระราชธิดาประทับ
ในตำหนักหนึ่ง พระราชภาคิไนย และพระราชธิดาทั้งคู่นั้น
มีพระชนม์ถึง ๑๖ พรรษาด้วยกันแล้ว ยิ่งมีพระทัยปฏิพัทธ์
ต่อกันยิ่งนัก พระราชกุมารทรงพระดำริว่า ด้วยอุบายอย่างไร

เล่าหนอ เราจึงจะอาจพาธิดาของเสด็จลุง ออกจากพระราชวังได้
เห็นว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงรับสั่งเรียกหญิงแม่มดผู้ใหญ
่เข้ามาเฝ้า ประทานสิ่งของมีค่าพันกหาปณะแก่นาง เมื่อนาง
กราบทูลถามว่า จะให้หม่อมฉันทำอะไร ? จึงรับสั่งว่า แม่เจ้า

เมื่อท่านทำการในวันนี้ เรื่องที่ชื่อว่า ไม่สำเร็จไม่มีท่านจงอ้าง
เหตุอะไร ๆ ก็ได้ ทำให้เสด็จลุงของฉันพาธิดาออกจากพระ-
ราชวังให้จงได้ก็แล้วกัน หญิงแม่มดรับคำว่า สำเร็จเพคะ

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
หม่อมฉันจะเข้าเฝ้าพระราชา แล้วจักทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่สมมติเทพ
กาฬกรรณีกำลังกุมพระธิดาอยู่ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
ไม่มีทางที่มันจะหันกลับไปแล้ว (อย่างอื่น) หม่อมฉันขอพา
พระธิดาขึ้นรถไปในวันโน้น จัดบุรุษถืออาวุธจำนวนมากตาม

ไปด้วย ไปสู่ป่าช้าด้วยบริวารเป็นอันมาก ให้มนุษย์ที่ตายแล้ว
นอนเหนือเตียงในป่าช้า อยู่เบื้องล่างของตั่งอันเป็นมลฑลพิธี
ให้พระราชธิดาประทับนั่งเหนือเตียงชั้นบน ให้ทรงสรงสนาน
ด้วยน้ำหอมประมาณ ๑๕๐ หม้อ ยังตัวกาฬกรรณีให้ลอยไป

ครั้นหม่อมฉันกราบทูลอย่างนี้แล้ว จักพาพระราชธิดาไปป่าช้า
ได้ ในวันที่พวกหม่อมฉันจะไปป่าช้านั้น พระองค์ก็ถือเอาพริกป่น
หน่อยหนึ่ง แวดล้อมด้วยผู้คนถืออาวุธของพระองค์ขึ้นไปสู่ป่าช้า
เสียก่อน หยุดรถไว้ที่ประตูป่าช้าด้านหนึ่งก่อน ให้พวกคนที่

ถืออาวุธ เข้าไปในป่าช้าเสีย พระองค์เองเสด็จไปสู่แท่นพิธี
มณฑลในป่าช้า ทำเป็นคนตายที่ที่เขาคลุมไว้ บรรทมอยู่หม่อมฉัน
มาถึงที่นั้น ก็จักวางเตียงคล่อมพระองค์ไว้ ยกพระราชธิดาขึ้น
วางไว้บนเตียง ขณะนั้นพระองค์ก็เอาพริกป่นใส่พระนาสิก ก็จะ

ทรงจามสอง-สามครั้ง ในเวลาที่พระองค์ทรงจาม หม่อมฉัน
จะละพระราชธิดาไว้ แล้วหนีไป ตอนนั้น พระองค์จงยังพระ-
ราชธิดาให้สรงสนานพระเศียร แม้พระองค์เองก็สรงสนาน
พระเศียรเสียด้วย แล้วพาพระธิดาไปสู่ตำหนักของพระองค์

พระราชกุมารรับสั่งว่าอุบายเหมาะจริง ดีแท้ ๆ ฝ่ายหญิงแม่มด
ก็ไปกราบทูลความนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงรับสั่งอนุญาต
แล้วไปทูลความนั้นให้พระราชธิดาทรงทราบไว้ แม้พระราชธิดา
ก็รับคำ ในวันที่จะออกไป หญิงแม่มดให้สัญญาณแก่พระกุมาร
แล้วไปสู่ป่าช้าด้วยบริวารจำนวนมาก กล่าวขู่เพื่อให้เกิดความ

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
กลัว แก่พวกมนุษย์ที่อารักขา ว่าในเวลาที่เราวางพระธิดาลง
บนเตียง คนตายที่อยู่ใต้เตียงจักจาม และครั้นแล้วจะลุกออกจาก
ใต้เตียง เห็นผู้ใดก่อน จักจับผู้นั้นไป พวกท่านพึงระวังตัวให้ดี
อย่าประมาท พระราชกุมารไปถึงก่อนแล้วบรรทมอยู่ที่นั้น โดย
นัยดังกล่าวแล้ว แม่มดใหญ่อุ้มพระธิดาขึ้นเดินไปสู่แท่นมณฑล

กราบทูลปลอบว่า หม่อมแม่อย่ากลัวเลย ให้สัญญาณแล้ววางลง
บนเตียง ขณะนั้น พระราชกุมารก็เอาพริกป่นใส่จมูกจามขึ้น
พอพระราชกุมารจามขึ้นเท่านั้น แม่มดใหญ่ก็ละพระราชธิดาไว้
ร้องเสียงดังลั่น หนีไปก่อนคนทั้งหมด พอแม่มดใหญ่หนีไปแล้ว

ก็ไม่มีใครแม้คนเดียว จะชื่อว่า สามารถรั้งรออยู่ได้ ทุกคน
ต่างทิ้งอาวุธที่ถือมา พากันหนีไปสิ้น พระราชกุมารทำทุกอย่าง
ตามที่ปรึกษาตกลงกันไว้ แล้วพาพระราชธิดาไปสู่นิเวศน์ของ
พระองค์ หญิงแม่มดไปกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา พระราชา

ทรงพระดำริว่า แม้โดยปกติเล่า เราก็เลี้ยงนางไว้เพื่อยกให้
แก่เธออยู่แล้ว ก็เป็นเหมือนทิ้งเนยใสลงในข้าวปายาส จึงทรง
รับรอง ในเวลาต่อมา ก็ทรงมอบราชสมบัติแด่พระภาคิไนย
ทรงตั้งพระราชธิดาเป็นมหาเทวี พระภาคิไนยก็ได้อยู่ร่วมสมัคร

สังวาสกับพระราชธิดานั้น ครองราชสมบัติโดยธรรม พราหมณ์
ผู้ตรวจลักษณะดาบ ก็ได้เป็นอุปัฏฐากของพระองค์ อยู่มา
วันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์เข้าเฝ้าพระราชา ยืนเฝ้าสวนดวงอาทิตย์
ครั่งละลายจมูกเทียมตกลงที่พื้น พราหมณ์ต้องยืนก้มหน้าด้วย

ความละอาย ครั้งนั้น พระราชาทรงพระสรวลพราหมณ์ ตรัสว่า
ท่านอาจารย์ อย่าได้คิดเลย ธรรมดาการจามได้เป็นผลดีแก่
คนหนึ่ง เป็นผลร้ายแก่คนหนึ่ง ท่านจามจมูกขาด ส่วนฉันจาม
ได้ธิดาของเสด็จลุง แล้วได้ราชสมบัติ แล้วตรัสพระคาถานี้
ความว่า :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"เหตุอย่างเดียวกันนั่นแหละ เป็นผลดี
แก่คนหนึ่ง แต่กลับเป็นผลร้ายแก่อีกคนหนึ่งได้
เพราะฉะนั้นเหตุอย่างเดียวกัน มิใช่ว่า จะเป็น
ผลดีไปทั้งหมด และมิใช่ว่าจะเป็นผลร้ายไป
ทั้งหมด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถเวกสฺส ได้แก่ ตเทเวกสฺส
อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็ว่าอย่างนี้เหมือนกัน แม้ในบทที่สอง ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.

พระราชาทรงนำเหตุการณ์นั้นมา ด้วยคาถานี้ ด้วยประการ
ฉะนี้ ทรงกระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงประกาศความที่แห่งความดี ความชั่ว
ที่โลกสมมติกันแล้ว เป็นการไม่แน่นอนด้วยพระเทศนานี้ แล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพราหมณ์ผู้ตรวจลักษณะดาบในครั้งนี้ ส่วนพระราชา
ผู้เป็นภาคิไนยในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอสิลักขณชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ้อวดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า เต เทสา ตานิ วตฺถูนิ ดังนี้.

เรื่องแม้ทั้งสองในชาดกนั้น ก็เช่นเดียวกันกับกฏาหกชาดก
นั้นแหละ แต่ในชาดกนี้ ทาสของพาราณสีเศรษฐีผู้นี้
มีชื่อว่า กลัณฑุกะ ในเวลาที่เขาหนีไปครอบครองธิดาของปัจจันต-
เศรษฐี อยู่ด้วยบริวารเป็นอันมาก พาราณสีเศรษฐี แม้จะให้คน
เที่ยวสืบหา ก็ไม่รู้ที่ที่เขาไป จึงส่งนกแขกเต้าผู้อยู่กับตนไปว่า

ไปเถิด ไปสืบหากลัณฑุกะให้ทีเถิด ลูกนกแขกเต้าเที่ยวไปเรื่อย ๆ
จนถึงนครนั้น ในกาลนั้น กลัณฑุกะประสงค์จะเล่นน้ำ ให้คนถือ
เอาดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้กับขาทนียะ และโภชนียะเป็น
อันมากไปสู่แม่น้ำ นั่งเรือกับเศรษฐีธิดาเล่นน้ำอยู่ ก็ในประเทศ

ถิ่นฐานนั้น เมื่อเจ้านายใหญ่โต เล่นกีฬาในน้ำจะดื่มนมสด แกล้ม
ด้วยเภสัชที่มีรสเข้ม เพราะเหตุนั้น เมื่อพวกนั้นเล่นน้ำตลอดวัน
ความหนาวก็ไม่เบียดเบียนได้ แต่กลัณฑุกะนี้ ถือถ้วยนมสด
บ้วนปาก แล้วถ่มนมสดนั้นทิ้งเสีย แม้เมื่อจะถ่มทิ้ง ก็ไม่ถ่มลง

ในน้ำ ถ่มลงบนหัวของเศรษฐีธิดาอีกด้วย ฝ่ายลูกนกแขกเต้า
บินถึงฝั่งแม่น้ำ ก็เกาะอยู่ที่กิ่งมะเดื่อกิ่งหนึ่ง ค้นดู ก็จำกลัณฑุกะได้
เห็นกำลังถ่มรดศรีษะธิดาเศรษฐีอยู่ ก็กล่าวว่า แนะเจ้าทาส
กลัณฑุกะชาติชั่ว จงสำนึกถึงชาติกำเนิด แลพื้นเพของตนบ้าง

เถิด อย่าเอานมสดมาล้างปากแล้วถ่มรดศีรษะเศรษฐีธิดา
ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ จำเริญด้วยความสุขเลย ช่างไม่รู้ประมาณ
ตนเลยนะแล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"สกุลของเจ้าไม่ใช่สกุลสูง เราผู้เที่ยว
อยู่ในป่าก็ยังรู้ได้ นายของเจ้าทราบแน่แล้ว ก็
พึงจับเจ้าไป ดูราเจ้ากลัณฑุกะ เจ้าจงดื่มน้ำนม
เสียเถิด" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ประเทศเหล่านั้น พื้นที่เหล่านั้น
ดังนี้ ลูกนกแขกเต้ากล่าวหมายถึงท้องแห่งมารดา ในข้อนี้มี
อธิบายดังนี้ว่า เจ้าอยู่ประดิษฐานอยู่แล้วในประเทศเหล่าใด
ประเทศเหล่านั้นมิใช่เป็นท้องของอิสระชน มีธิดากษัตริย์เป็นต้น

ดอก ที่แท้เจ้าอยู่แล้ว เจริญเติบโตแล้วในท้องนางทาสีต่างหาก.
ด้วยบทว่า อหญฺจ วนโคจโร นี้ นกแขกเต้าแสดงความว่า
ถึงเราจะเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ก็ยังรู้ความนี้เลย.

บทว่า อนุวิจฺจ โข ตํ คณฺเหยฺยุํ ความว่า เมื่อเราไปบอก
กล่าวถึงการประพฤติมรรยาทอันเลวทรามอย่างนี้แล้ว พวก
เจ้านายของเจ้า พิจารณาดูรู้แล้ว พึงจับเจ้าไป คือเกาะกุมตัว
เจ้าไปเฆี่ยน และทำการตีตราเครื่องหมายทาสเป็นแน่ เพราะ
เหตุนั้น เจ้าจงประมาณตัว ดื่มนมสดไม่ถ่มรดศรีษะของธิดา
ท่านเศรษฐี นกแขกเต้าเรียกเขาโดยชื่อว่า "กลัณฑุกะ"

ฝ่ายกลัณฑุกะเล่าก็จำลูกนกแขกเต้าได้ ด้วยความกลัว
ว่า มันพึงเผยเรื่องของเรา จึงเชิญว่า มาเถิดนาย ท่านมาเมื่อไร
เล่า ? แม้นกแขกเต้าเล่าก็รู้ว่า เจ้านี่ไม่ได้เรียกเราด้วยความ
ปรารถนาดี แต่มีความประสงค์จะบิดคอเราให้ตาย จึงกล่าวว่า
เราไม่มีธุระกับเจ้า ดังนี้แล้ว โดดจากที่นั้นไปสู่พระนครพาราณส

เล่าเรื่องราวตามที่ตนเห็นมาให้ท่านเศรษฐีฟังโดยพิสดาร ท่าน-
เศรษฐีคิดว่า มันทำไม่สมควรเลย จึงลงอาชญาแก่เขา นำตนมาส
ู่พระนครพาราณสีตามเดิม แล้วใช้สอยอย่างทาสสืบไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า กลัณฑุกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนพาราณส
ีเศรษฐีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากลัณฑุกะชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า โย เว ธมฺมทฺธชํ กตฺวา ดังนี้.

ความย่อว่า ในครั้งนั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลความ
ที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หลอกลวงให้ทรงทราบแล้ว พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในปางก่อนภิกษุ
นี้ก็หลอกลวงเหมือนกัน ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดหนู อาศัย
ความเจริญเติบโต มีร่างกายอ้วนใหญ่คล้ายกับลูกสุกรอ่อน มี
หนูหลายร้อยเป็นบริวาร ท่องเที่ยวอยู่ในป่า ครั้งนั้น มีหมาจิ้งจอก

ตัวหนึ่ง ท่องเที่ยวไปตามประสา เห็นฝูงหนูนั้นคิดว่า เราจักลวง
กินหนูเหล่านี้ แล้วแหงนหน้าจ้องดวงอาทิตย์สูดดม ยืนด้วยเท้า
ข้างเดียว ในที่ไม่ไกลกับที่อาศัยของฝูงหนู พระโพธิสัตว์เที่ยว
หากินเห็นมันแล้ว คิดว่า หมาจิ้งจอกนี้คงเป็นผู้มีศีล จึงเดินไปสู่

สำนักของมัน พลางถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านชื่ออะไรเล่า ?
มันตอบว่า เราชื่อธรรมิกะ ถามว่า ท่านไม่ยืนเหนือแผ่นดิน
สี่เท้า ยืนด้วยเท้าข้างเดียวเพราะเหตุไร ? ตอบว่า เมื่อเราเหยียบ
แผ่นดินสี่เท้าละก็ แผ่นดินไม่อาจทนอยู่ได้ เหตุนั้น เราต้องยืน

เท้าเดียวเท่านั้น ถามว่า ทำไมต้องยืนอ้าปากด้วยเล่า ? ตอบว่า
เราไม่กินอาหารอื่น กินลมอย่างเดียว ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น
ทำไมจึงต้องจ้องมองดวงอาทิตย์ด้วยเล่า ? ตอบว่า เรานอบน้อม
พระอาทิตย์ พระโพธิสัตว์ฟังคำของมันแล้ว มั่นใจว่า สุนัขจิ้งจอก

ตัวนี้คงมีศีลเป็นแน่ แต่นั้นก็ไปสู่ที่บำรุงของมันกับฝูงหนู ทั้ง
เวลาเย็น เวลาเช้า ครั้นในเวลาที่หนูผู้โพธิสัตว์นั้นทำการบำรุง
แล้วไป หมาจิ้งจอกก็จับเอาหนูตัวสุดท้าย กินเนื้อเสียแล้ว เช็ด
ปากยืนอยู่ ฝูงหนูบางตาลงโดยลำดับ พวกเราต้องเบียดเสียด

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
กันอยู่ เดี๋ยวนี้ดูหลวม ที่อยู่แม้เท่านั้น ก็ยังไม่เต็ม นี่มันเรื่อง
อะไรกัน ? แล้วพากันบอกเรื่องราวแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์
คิดว่า เหตุไรเล่าหนอ พวกหนูจึงเบาบางไป ตั้งข้อสงสัยในหมา-
จิ้งจอก ดำริว่า ต้องสอบสวนหมาจิ้งจอกนั้นในเวลาบำรุง ให้
พวกหนูออกหน้า ตนเองอยู่หลังเพื่อน หมาจิ้งจอกวิ่งไปสะกัด

พระโพธิสัตว์ไว้ พระโพธิสัตว์เห็นมันกอดจับตน ก็หันกลับ
พูดว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอกเจ้าเล่ห์ การบำเพ็ญพรตของเจ้านี้ มิใช่
เป็นไปเพื่อความประพฤติดีปฏิบัติชอบ แต่เจ้าประพฤติแอบอ้าง
เอาธรรมเป็นธงขึ้นไว้ เพื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น แล้วกล่าวคาถานี้
ความว่า

"ผู้ใดแล เทิดธรรมเป็นธงชัย ให้สัตว์
ทั้งหลายตายใจ ซ่อนตนประพฤติชั่ว ความ
ประพฤติของผู้นั้น ชื่อว่า เป็นความประพฤติ
ของแมว" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เว ความว่าในหมู่ชนมีกษัตริย์
เป็นต้น คนใดคนหนึ่งก็ตาม.
บทว่า ธมฺมทฺชชํ กตฺวา ความว่า เทิดทูนกุศลกรรมบท
สิบประการเป็นธง คือ ธรรม เสมือนว่าตนปฏิบัติธรรมนั้นอยู่
เชิดชูขึ้นแสดง.

บทว่า วิสฺสาสยิตฺวา ความว่า ทำให้ฝูงสัตว์เกิดความ
วางใจ ด้วยสำคัญผิดว่า ผู้นี้มีศีล.
บทว่า พิฬารนฺนาม ตํ วตํ ความว่า พรตของผู้ที่เทิดธรรม
เป็นธงอยู่อย่างนี้ แล้วซ่อนกระทำความชั่วอยู่ลับ ๆ นั้น ย่อม
ชื่อว่า เป็นพรตอันประกอบด้วยความล่อลวง.

พระยาหนูกล่าวพลาง กระโดดขึ้นเกาะคอมันไว้ กัดที่ซอกคอ
ใต้คาง ให้ถึงความสิ้นชีวิต ฝูงหนูกลับมากัดกินหมาจิ้งจอก
เสียงดังมุ่มม่ำ ๆ แล้วพากันไป ได้ยินว่าหนูพวกที่มาก่อนก็ได้
กินเนื้อ พวกที่มาทีหลังก็ไม่ได้ นับแต่นั้นมาพวกหนูก็หมดภัย
ได้ความสุข.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้
ส่วนพญาหนู ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามูสิกชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้หลอกลวงนั่นแหละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า นายํ สิขา ปุญฺญเหตุ ดังนี้ เรื่องปัจจุบัน เช่นเดียว
กับเรื่องที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ความย่อว่า ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราช-
สมบัติ อยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติ
เป็นพญาหนูอยู่ในป่า ครั้งนั้นเมื่อเกิดไฟไหม้ป่า หมาจิ้งจอก
ตัวหนึ่งไม่สามารถจะหนีไปได้ทัน ก็ยืนเอาหัวยันไว้ที่ต้นไม้

ต้นหนึ่ง ขนทั้งตัวของมันถูกไฟไหม้ เหลือแต่ขนตรงที่มันเอาหัว
ไปยันต้นไม้ไว้หน่อยหนึ่ง เป็นเหมือนจุกบนกระหม่อม วันหนึ่ง
มันดื่มน้ำในตระพัง มองดูเงาเห็นจุกแล้วคิดว่า บัดนี้ สิ่งที่เป็น
รากฐานแห่งภัณฑะเกิดแก่เราแล้ว เมื่ออยู่ในป่า เห็นฝูงหนูนั้น

คิดว่า เราจักลวงกินหนูเหล่านี้ ได้ยืนอยู่ในที่ไม่ไกลตามนัยที่กล่าว
แล้วในหนหลังนั่นเทียว ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เที่ยวหากิน เห็นมัน
แล้วเข้าไปหา ด้วยสำคัญว่า ผู้นี้มีศีล แล้วถามว่า ท่านชื่อว่า
อย่างไร ? สุนัขจิ้งจอกตอบว่า เราชื่ออัคคิกภารทวาชะ ถามว่า

ท่านมาทำอะไรเล่า ? ตอบว่า มาเพื่อช่วยคุ้มครองพวกเจ้า
ถามว่า ท่านทำอย่างไรจึงจะคุ้มครองพวกเราได้ ตอบว่า เรารู้
วิธีคำณวนที่เรียกกันว่านับด้วยหาง ในเวลาที่พวกเจ้าพากัน
ออกไปหากินแต่เช้า เราก็นับไว้ว่ามีจำนวนเท่านี้ ในเวลากลับ

ก็ต้องนับดู เมื่อเราตรวจนับอยู่ทั้งเช้าทั้งเย็นอย่างนี้ ก็จักคุ้มครอง
พวกเจ้าได้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นก็จงคุ้มครองเถิดลุง
มันรับคำแล้ว ในเวลาที่พวกหนูออกไป ก็นับ หนึ่ง-สอง-สาม
เป็นต้นแม้ในเวลาที่กลับมาก็นับโดยทำนองเดียวกัน แล้วตะครุบ

เอาตัวหลังเพื่อนกินเสีย เรื่องที่เหลือก็เหมือนกับเรื่องก่อนนั่นแหละ
แต่ว่าในชาดกนี้ พระยาหนูหันกลับมายืนแล้วกล่าวว่า

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เจ้าหมาอัคคิกภารทวาชะเจ้าเล่ห์ จุกบนหัวของเจ้า มิได้มีไว้
เพื่อความซื่อสัตย์สุจริตยุติธรรม แต่มีไว้เพราะเหตุแห่งปากท้อง
แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"แหยมนี้ มิใช่มีไว้เพราะเหตุแห่งบุญ
มีไว้เป็นเลสอ้างของการหากิน ฝูงหนูไม่ครบ
จำนวน เพราะการนับด้วยหาง พอกันทีเถอะ
ท่านอัคคิกะเจ้าเล่ห์" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นงฺคฏฺฐคณนํ ยาติ ท่านกล่าวไว้
หมายถึงการนับด้วยหาง อธิบายว่า ฝูงหนูนี้ไม่ถึง ไม่ใกล้เคียง
ไม่ครบจำนวน ได้แก่พร่องไป.

บทว่า อลนฺเต โหตุ อคฺคิก ความว่า พระยาหนู เมื่อจะพูด
ถึงสุนัขจิ้งจอก เรียกโดยชื่อว่า อัคคิกะ. อธิบายว่า อัคคิกะ
เจ้าเล่ห์เอ๋ย สำหรับเจ้าพอกันเพียงเท่านี้ทีเถิดนะ เบื้องหน้าแต่นี้
ต่อไป เจ้าจักกัดหนูกินอีกไม่ได้ เราหรือเจ้าเป็นอันเลิกอยู่ร่วมกัน
อธิบายว่า บัดนี้พวกเราจักไม่อยู่ร่วมกับเจ้าต่อไป ข้อความที่เหลือ
เช่นเดียวกับเรื่องก่อนนั่นแหละ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า หมาจิ้งจอกในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ในบัดนี้ ส่วน
พญาหนูได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัคคิกชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภมาตุคามในพระนครสาวัตถี นางหนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยถา วาจาว ภุญฺชสฺสุ ดังนี้.

ได้ยินว่า นางเป็นพราหมณีของพราหมณ์อุบาสก ผู้มี
ศรัทธาปสาทะผู้หนึ่ง เป็นหญิงประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หยาบช้า
ลามก กลางคืนก็ประพฤตินอกใจ กลางวันก็ไม่ทำงานอะไร
แสดงท่าทางอย่างคนไข้ นอนทอดถอนใจอยู่ไปมา ครั้งนั้น

พราหมณ์ถามนางว่า แม่มหาจำเริญ เธอไม่สบาย เป็นอะไรไป
หรือ ? นางตอบว่า ลมมันเสียดแทงดิฉัน พราหมณ์ถามว่า
ถ้าอย่างนั้นได้อะไรถึงจะเหมาะเล่า ? นางตอบว่า ต้องได้รับ
ยาคูภัตรและน้ำมันเป็นต้น ที่ประณีต ๆ พราหมณ์ก็ไปหาสิ่ง

ที่นางต้องการนั้น ๆ มาให้ กระทำกิจทุกอย่างเหมือนเป็นทาส
ฝ่ายนางพราหมณี เวลาพราหมณ์เข้าเรือน ก็นอน เวลาพราหมณ์
ออกไป ก็หยอกล้อกับชายชู้ ฝ่ายพราหมณ์ดำริว่า กองลมที่
เสียดแทงสรีระภรรยาของเรานี้ ดูท่าจะไม่มีที่สิ้นสุด วันหนึ่ง

จึงถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวันวิหาร บูชา
พระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อมีพระ-
ดำรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุไร ท่านจึงมิค่อยได้มา ?
พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นัยว่ากองลม

เสียดแทงสรีระนางพราหมณีของข้าพระองค์ ข้าพระองค์ต้อง
แสวงหาเนยใส น้ำมันเป็นต้น และโภชนะที่ประณีต ๆ ให้นาง
ร่างกายของนางก็ดูอ้วนท้วน ผ่องใส มีผิวพรรณดี แต่โรคลม
ดูไม่มีท่าจะสิ้นสุดได้เลย ข้าพระองค์ต้องปรนนิบัตินางอยู่เรื่อย ๆ

จึงไม่ได้โอกาสมาวิหารนี้ พระเจ้าข้า พระศาสดาทรงทราบ
ความเลวของนางพราหมณีแล้วจึงตรัสว่า พราหมณ์ เมื่อมาตุคาม
นอนเสียอย่างนี้ โรคก็ไม่สงบ ต้องปรุงยาอย่างนี้แล อย่างนี้ให้
จึงจะสมควร แม้ในครั้งก่อนบัณฑิตก็เคยบอกท่านแล้ว แต่ท่าน

กำหนดจดจำไม่ได้เอง เพราะมีเหตุที่ภพมากำบังไว้เสีย พราหมณ์
กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร