วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 08:57  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภอุบาสกพ่อค้าผักผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า โย ทุกฺขผุฏฺฐาย ภเวยฺย ตาณํ ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีนั้น ขายผักต่าง ๆ มี
ฝักข้าวเป็นต้น และผักผลมีน้ำเต้า และผักเป็นต้นเลี้ยงชีวิต
เขามีธิดาคนหนึ่ง รูปร่างงดงาม แจ่มใส สมบูรณ์ด้วยมรรยาท
และความประพฤติ ประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ เสียอย่างเดียวที่
ชอบหัวเราะหน้ารื่นอยู่เสมอ เมื่อสกุลที่คู่ควรพากันมาสู่ขอนาง

เขาคิดว่า การสู่ขอรายนี้กำลังดำเนินไป ส่วนลูกสาวเราคนนี้
หัวเราะหน้ารื่นอยู่เป็นประจำ ก็เมื่อนางกุมารียังไม่มีสมบัติ
ลูกผู้หญิง ไปสู่ตระกูลผัว ย่อมเป็นที่ครหาถึงมารดาบิดาได้
เราต้องทดลองลูกเราดูว่า มีกุมาริกาธรรมหรือยังไม่มี วันหนึ่ง
เขาให้ธิดาถือกระเช้า ไปป่าเพื่อเก็บผักในป่า แล้วทำเป็นถูก

กิเลสรัดรึงด้วยมุ่งจะทดลอง พลางกล่าวถ้อยคำเล้าโลม แล้วจับ
มือนางไว้ พอนางถูกจับมือเท่านั้น ก็ร้องไห้คร่ำครวญกล่าวว่า
พ่อจ๋าเรื่องนี้ไม่สมควรเลย เป็นเช่นกับความปรากฏขึ้นแห่งไฟ
จากน้ำ พ่ออย่าทำอย่างนี้เลย เขากล่าวว่า ลูกรัก พ่อจับมือเจ้า
เพื่อจะลองดู จงบอกพ่อซิลูกว่า เดี๋ยวนี้เจ้ามีกุมาริกาธรรมแล้ว

นางตอบว่า มีจ้ะพ่อ เพราะฉันไม่เคยมองดูผู้ชายคนไหน ด้วยคิด
อยากจะได้เลย เขาปลอบธิดาแล้วทำการมงคล ส่งตัวไปสู่
ตระกูลผัว คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา ถือของหอม
และดอกไม้เป็นต้น ไปพระเชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระ-

ศาสดา บูชาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อมีพระพุทธดำรัสว่า
นานอยู่นะที่ท่านมา จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก กุมาริกาถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ
ศีลมานานแล้วเทียว อนึ่งท่านมิใช่เพิ่งจะทดลองนางอย่างนี้ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อนก็เคยทดลองมาแล้วเหมือนกัน เขา
กราบทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา
ในป่า เรื่องราวมีว่า ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีพ่อค้า
ผักคนหนึ่ง ดังนี้ต่อนี้ไป เช่นเดียวกันกับเรื่องปัจจุบันนั่นแหละ ผิด
กันแต่ตอนที่นางพอถูกเขาจับมือ เพื่อลองใจ ก็ร่ำไห้กล่าวคาถานี้ว่า

"ยามเมื่อฉันมีทุกข์ ท่านผู้ใดเล่าเป็นที่พึ่ง
ท่านผู้นั้นคือบิดาของฉัน กำลังประทุษร้ายฉัน
ในป่า ฉันจะร่ำร้องหาใครในกลางป่า ท่านผู้จะ
ช่วยได้กลับทำกรรมอันสาหัสเสียเอง" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ทุกฺขผุฏฺฐาย ภเวยฺย ตาณํ
ความว่า ในยามเมื่อทุกข์ทางกายทุกข์ทางใจมาพ้องพาน ท่าน
ผู้ใดพึงเป็นผู้ต้านทาน คือเป็นที่พำนัก.

บทว่า โส เม ปิตา ทุพฺภิ วเน กโรติ ความว่า ท่านผู้นั้น
คือบิดาของฉัน คอยช่วยป้องกันต้านทุกข์ให้ กำลังกระทำกรรม
อันตัดเยื่อใยไมตรี อันน่าบัดสีเช่นนี้ในป่านี้เสียเอง คือกำลังคิด
เพื่อจะกระทำการล่วงเกินธิดาที่ตนให้กำเนิดเกิดมา.

ด้วยบทว่า กสฺส กนฺทามิ นี้ นางแสดงความว่า ฉันจะ
ร้องไห้หาใคร คือใครจักมาเป็นที่พึ่งให้ฉัน.
บทว่า โย ตายิตา โส สหสา กโรติ ความว่า ท่านผู้ใดเล่า
ที่จะปกป้องคุ้มครองฉัน ควรจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ท่านผู้นั้นคือ
บิดาคนเดียว กำลังกระทำกรรมอันน่าบัดสี.

ครั้งนั้นผู้เป็นบิดา จึงปลอบนาง แล้วถามว่า แม่คุณ เจ้า
รักษาตนได้แล้วหรือ ? นางตอบว่าจ้ะพ่อ ฉันรักษาตนเองได้
เขาก็พานางมาเรือน ประดับตกแต่ง ทำการมงคลแล้วส่งไปสู่
สกุลผัว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะ เวลาจบสัจจะ อุบาสกดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า บิดาในครั้งนั้นได้มาเป็นบิดาในครั้งนี้ ธิดาก็
คงมาเป็นธิดา ส่วนรุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยประจักษ์
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปัณณิกชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภ ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า ยตฺถ เวรี นิวีสติ ดังนี้.

ได้ยินว่าท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไปสู่หมู่บ้านส่วยแล้ว
กำลังเดินมา พบพวกโจรในระหว่างทางคิดว่า ไม่ควรพักแรม
ในระหว่างทาง ต้องไปให้ถึงพระนครสาวัตถีทีเดียว แล้วขับ
ฝูงโคมาถึงพระนครสาวัตถีโดยรวดเร็ว รุ่งขึ้นไปสู่พระวิหาร
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

คฤหบดี แม้ในปางก่อน บัณฑิตพบโจรในระหว่างทาง ไม่ค้างแรม
ในระหว่างทาง ไปจนถึงที่อยู่ของตนทีเดียว ท่านอนาถบิณฑิกะ
กราบทูลอาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐี มี
สมบัติมาก ไปสู่ที่รับเชิญในหมู่บ้าน เพื่อการบริโภค เมื่อเดิน
ทางกลับ พบพวกโจรในระหว่างทาง ไม่หยุดในระหว่างทางเลย
รีบขับโคทั้งหลาย มาสู่เรือนของตนทีเดียว บริโภคอาหารด้วย

รสอันเลิศ นั่งเหนือที่นอนอันมีราคามาก ดำริว่า เราพ้นจาก
เงื้อมมือโจร มาสู่เรือนตนอันเป็นที่ปลอดภัย แล้วกล่าวคาถานี้
ด้วยสามารถแห่งอุทานว่า :-

"ไพรีอาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตไม่พึงอยู่
ในที่นั้น บุคคลอยู่ในพวกไพรี คืนหนึ่งหรือ
สองคืน ย่อมอยู่เป็นทุกข์" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวรี ได้แก่บุคคลผู้เพียบพร้อม
ด้วยเจตนาคิดก่อเวร.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า นิวีสติ แปลว่า ย่อมพำนักอยู่
บทว่า น วเส ตตฺถ ปณฺฑิโต ความว่า บุคคลผู้เป็นไพรีนั้น
พำนัก คืออาศัยอยู่ในที่ใด บัณฑิตคือท่านผู้ประกอบด้วยคุณเครื่อง
ความเป็นบัณฑิต ไม่ควรอยู่ในที่นั้น.
เพราะเหตุไร ?

เพราะบุคคลอยู่ในกลุ่มไพรี คืนหนึ่งหรือสองคืน ย่อมอยู่เ
ป็นทุกข์ ขยายความว่า บุคคลเมื่ออยู่ในกลุ่มของไพรี แม้วันเดียว
สองวัน ก็ชื่อว่าอยู่เป็นทุกข์ทั้งนั้น.
พระโพธิสัตว์ เปล่งอุทานด้วยประการฉะนี้ กระทำบุญ
มีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ในครั้งนั้น เราตถาคตแลได้เป็นเศรษฐีเมืองพาราณสี
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาเวริชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า จตุพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ดังนี้.

เรื่องราวพึงให้พิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในมิตตวินทชาดก
ในหนหลัง ส่วนชาดกนี้ เป็นเรื่องราวที่เกิดในกาลแห่งพระพุทธเจ้า
ทรงพระนามว่า กัสสปะ ก็ในกาลครั้งนั้น เนรยิกสัตว์ตนหนึ่ง
ทูลจักรกรดไว้ไหม้อยู่ในนรก ถามพระโพธิสัตว์ว่า ท่านเจ้าข้า
ข้าพเจ้าได้กระทำบาปกรรมอะไรไว้เล่าหนอ ? พระโพธิสัตว์
กล่าวว่า เจ้าได้กระทำบาปกรรมนี้ ๆ แล้วกล่าวคาถา ความว่า :-

"ผู้ที่มีความปรารถนาเกินส่วน มีอยู่ ๔
ก็ต้องการ ๘ มี ๘ ก็ต้องการ ๑๖มี๑๖ ก็ต้องการ
๓๒ บัดนี้มาได้รับกงจักรกรด กรงจักกรดพัด
อยู่เหนือศรีษะ ของคนผู้ลุอำนาจความปรารถนา"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตฺพฺภิ อฏฺฐชฺฌคมา ความว่า
เจ้าได้เวมานิกเปรต ๔ นางในระหว่างสมุทร ยังไม่พอใจด้วย
นางเหล่านั้น จึงเดินมุ่งต่อไปข้างหน้า ด้วยปรารถนาเกินส่วน
ได้ครอบครองนางทั้ง ๘ อีก แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.

บทว่า อตฺริจฺฉํ จกฺกมาสโท ความว่า เจ้าไม่พอใจด้วย
ลาภของตนอย่างนี้ ยังปรารถนาเกินส่วน คือต้องการต่อไปไม
่รู้หยุด มุ่งลาภข้างหน้าต่อไป คราวนี้จึงมาโดนจักรกรด คือถึง
จักรกรดนี้ เจ้านั้นอันความปรารถนากำจัดเสียแล้ว คือ ถูก
ตัณหาความทะยานอยาก กำจัด คือเข้าไปตัดรอนเสียแล้ว จักรกรด

จึงพัดผันบนหัวเจ้า ในจักรทั้งสอง คือจักรหินและจักรเหล็ก
พระโพธิสัตว์เห็นจักรเหล็กคมปานมีดโกน พัดผันอยู่บนหัวของ
เขาด้วยสามารถแห่งการพัดหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป จึงกล่าวอย่างนี้.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 07:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็และครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็กลับไปสู่เทวโลกของตน.
แม้เนรยิกสัตว์นั้น เมื่อบาปของตนสิ้นแล้ว ก็ไปตาม
ยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้ว่ายาก ส่วน
เทวบุตรได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทชาดกที่ ๔


:b8: :b8: :b8:

ในบางครั้งอ่านไปจะเกิดอารมณ์ต่างๆนาๆขึ้นมา
ก็ให้กำนดรู้ และอารมณ์เหล่านั้นว่า ไม่เที่ยง เกิดขึ้น
ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป เราพยายามอ่านต่อไปเรื่อยๆ เดี๋ยว
ก็เห็นอารมณ์นั้นๆจากไปหรือดับไป ความเบื่อ ความน่า
เบื่อ ความอวดดีว่ารู้แล้ว อ่านแล้ว เข้าใจแล้ว ความเกียจ
คร้านเหล่านี้ครับ

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุขลาดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า พหุมฺเปตํ วเน กฏฺฐํ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวพระนครสาวัตถีผู้หนึ่ง
ฟังธรรมของพระศาสดาแล้วบรรพชา ได้เป็นผู้กลัวตายยิ่งนัก
เธอได้ยินเสียงลมพัด เสียงไม้แห้งตก หรือเสียงนก เสียงจตุบท
ก็สะดุ้งกลัวจะตาย ร้องเสียงลั่นวิ่งหนีไป เพราะด้วยเหตุเพียง
ความระลึกว่า เราต้องตาย ดังนี้ ก็ไม่มีแก่เธอเสียเลย ก็ถ้าเธอ

พอจะรู้ว่า เราต้องตายดังนี้ ก็จะไม่กลัวตาย แต่เพราะเธอไม่เคย
เจริญมรณัสสติกัมมัฏฐานเลย จึงกลัว ความกลัวตายของเธอ
แพร่หลายไปในหมู่ภิกษุ ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายยกเอา
เรื่องนี้ขึ้นพูดกันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุโน้น
ขลาดต่อความตาย กลัวตาย ธรรมดาภิกษุควรจะเจริญมรณัสสติ-

กัมมัฏฐานว่า เราต้องตายแน่นอน ดังนี้. พระศาสดาเสด็จมา
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนา
กันด้วยเรื่องอะไรเล่า ครั้นภิกษุทั้งหลาย กราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว มีรับสั่งให้หาภิกษุนั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า จริงหรือ ที่เขาว่า
เธอเป็นคนกลัวตาย เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าเสียใจต่อภิกษุนี้เลย
มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้เป็นผู้กลัวตาย แม้ในกาลก่อน
เธอก็เป็นผู้กลัวตายเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นรุกขเทวดา
ในป่าหิมพานต์ ในครั้งนั้น พระเจ้าพาราณสีทรงมอบมงคลหัตถี
ของพระองค์ให้แก่พวกนายหัตถาจารย์ เพื่อให้ฝึกหัดถึงเหตุ
แห่งความไม่พรั่นพรึง พวกนายหัตถาจารย์จึงมัดช้างนั้นที่เสา-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ตะลุง อย่างกระดุกกระดิกไม่ได้ พวกมนุษย์พากันถือหอกซัด
พากันเข้าล้อม กระทำให้เกิดความพรั่นพรึง ช้างถูกเขาบังคับ
ดังนั้น ไม่อาจอดกลั้นเวทนาความหวั่นไหวได้ ทำลายเสาตะลุง
เสีย ไล่กวดมนุษย์ให้หนีไป แล้วเข้าป่าหิมพานต์ พวกมนุษย์
ไม่อาจจะจับช้างนั้นได้ก็พากันกลับ ช้างนั้นได้เป็นสัตว์กลัวตาย

เพราะเรื่องนั้น ได้ยินเสียงลมเป็นต้น ก็ตัวสั่น กลัวตาย ทิ้งงวง
วิ่งหนีไปโดยเร็ว เป็นเหมือนเวลาที่ถูกมัดติดเสาตะลุง ถูกบังคับ
ไม่ให้พรั่นพรึงฉะนั้น ไม่ได้ความสบายกาย หรือความสบายใจ
มีแต่ความหวั่นระแวงเที่ยวไป รุกขเทวดาเห็นช้างนั้นแล้ว ยืน
บนค่าคบไม้ กล่าวคาถานี้ความว่า :-

"ลมย่อมพัดไม้แห้ง ที่ทุรพลในป่านี้
แม้มีจำนวนมากมาย ให้หักลง แน่ะ ช้างตัว
ประเสริฐ ถ้าท่านยังกลัวต่อไม้แห้งนั้น ท่านจัก
ซูบผอมเป็นแน่" ดังนี้.

ในคาถานั้น ประมวลอรรถาธิบายได้ดังนี้ :- ลมต่างด้วย
ลมที่มาแต่ทิศบูรพาเป็นต้น ย่อมระรานต้นไม้ที่ทุรพลใดเล่า
ต้นไม้นั้นมีมากมายในป่านี้ คือหาได้ง่าย มีอยู่ในป่านั้น ๆ ถ้า
เจ้ากลัวลมนั้นก็จำต้องกลัวอยู่เป็นนิจ จักต้องถึงความสิ้นเนื้อ
และเลือด เหตุนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป อย่ากลัวเลย.

เทวดาให้โอวาทแก่ช้างนั้น ด้วยประการฉะนี้ ตั้งแต่นั้นมา
แม้ช้างนั้น ก็หายกลัว.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประกาศสัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดกนี้ว่า ช้างในครั้งนั้น
ได้มาเป็นภิกษุนี้ ส่วนรุกขเทวดา ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทุพพลกัฏฐชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการเล้าโลมของถุลกุมาริกา(หญิงสาวเจ้าเนื้อ) ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุขํ วต มํ ชีวนฺตํ ดังนี้.

เนื้อเรื่องจักแจ่มแจ้งในจูฬนารทกัสสปชาดก เตรสนิบาต
นั่นแล ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า
เธอกระสันจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสถามต่อไปว่า จิตของเธอปฏิพัทธ์ใน
อะไรเล่า ? เธอกราบทูลว่า ในหญิงสาวเจ้าเนื้อนางหนึ่ง พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระบรมศาสดาจึงตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ
นางนี้ เคยทำความฉิบหายให้เธอ แม้ในกาลก่อนเธออาศัยนางนี่
ถึงความเสื่อมจากศีล เที่ยวซบเซาไป ต่ออาศัยบัณฑิตจึงได้
ความสุข แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อเรื่องในอดีต ตั้งแต่คำว่า ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้า-
พรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน พระนครพาราณสี เป็นต้น
ก็จักแจ่มแจ้ง ในจูฬนารทกัสสปชาดกเหมือนกัน ก็ในครั้งนั้น
พระโพธิสัตว์ ถือผลาผลมาในเวลาเย็น เปิดประตูบรรณศาลา

เข้าไปได้พูดคำนี้กะดาบสน้อยผู้บุตรว่า พ่อเอ๋ย ในวันอื่น ๆ
เจ้าหักฟืน ตักน้ำดื่มไว้ ก่อไฟไว้ แต่วันนี้ไม่ทำแม้สักอย่างเดียว
เหตุไรเล่าเจ้าจึงมีหน้าเศร้า นั่งซบเซาอยู่ ดาบสน้อย ตอบว่า
ข้าแต่พ่อ เมื่อท่านพ่อไปหาผลาผล หญิงคนหนึ่ง มาเล้าโล้ม
กระผมชวนให้ไปด้วย แต่กระผมผัดไว้ว่า ต่อท่านพ่ออนุญาต

แล้วจึงจักไป จึงยังไม่ได้ไป กระผมให้นางนั่งรออยู่ที่ตรงโน้น
แล้วกลับมา คราวนี้กระผมจักไปละครับ ท่านพ่อ พระโพธิสัตว์
ทราบว่า เราไม่อาจเหนี่ยวรั้งเขาไว้ได้ จึงอนุญาต โดยสั่งว่า
ถ้าเช่นนั้นจงไปเถิดพ่อ แต่เขาพาเจ้าไปแล้ว เมื่อใด นางอยาก
กินปลา กินเนื้อ หรือมีความต้องการเนยเกลือ และข้าวสาร

เป็นต้น เมื่อนั้น นางจักเคี่ยวเข็ญเจ้าว่า จงไปหาสิ่งนี้ ๆ มาให้
ตอนนั้น เจ้าจงนึกถึงคุณของพ่อ แล้วพึงหนีมาที่นี่เถิด. ดาบส
ได้ไปถิ่นมนุษย์กับนาง ครั้งนั้นนางก็ให้เขาตกอยู่ในอำนาจของตน
ต้องการสิ่งใด ๆ ก็ใช้ให้ไปหาสิ่งนั้น ๆ มา เช่นสั่งว่า จงไปหา

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เนื้อมา จงไปหาปลามา คราวนั้น เขาก็ได้คิดว่า นางนี่เคี่ยวเข็ญ
ให้เราทำอย่างกับเป็นทาสกรรมกรของตน แล้วหนีมาสู่สำนัก
ของบิดา ไหว้บิดาแล้ว ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่นั่นแหละ กล่าวคาถานี้
ความว่า :-

"หญิงโฉดผู้นำของไปด้วยหม้อน้ำ เบียด-
เบียนฉัน ผู้มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุข จะขอน้ำมัน
หรือเกลือ ก็ด้วยการกล่าวคำอ่อนหวาน ฐาน
ภรรยา" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขํ วต มํ ชีวนฺตํ ความว่า
ท่านพ่อขอรับ หญิงนั้น ทำผมผู้เคยเป็นอยู่สบายในสำนักของ
ท่านพ่อ ให้เดือดร้อน.

บทว่า ปจมานา ความว่า ถูกมันทำให้เดือดร้อน บังคับ
เคี่ยวเข็ญ ต้องการจะกินสิ่งใด ๆ ก็เคี่ยวเข็ญเอาสิ่งนั้น. หญิง
ชื่อว่า อุทัญจนี เพราะนำไปด้วยหม้อ. บทว่า อุทญฺจนี นี้ เป็นชื่อ
ของหญิงผู้ตักตวงน้ำจากตุ่ม หรือจากบ่อ ก็หญิงประเภทอุทัญจนี
นั้น ต้องการสิ่งใด ๆ ก็จะใช้ให้หาสิ่งนั้น ๆ มาให้จงได้ ดุจตักตวง
เอาน้ำด้วยหม้อ.

บทว่า โจรึ ชายปฺปวาเทน ความว่า หญิงโฉดนาง
หนึ่งอ้างตนเป็นภรรยา โอ้โลมกระผมด้วยคำอันอ่อนหวาน พาไป
ในถิ่นมนุษย์ มันต้องการน้ำมัน หรือเกลืออย่างหนึ่งอย่างใด จะ
เคี่ยวเข็ญขอสิ่งนั้น ๆ ทุกอย่าง ให้นำมาให้ เหมือนเป็นทาส
เป็นกรรมกร เหตุนั้น กระผมจึงบอกเล่ากล่าวโทษของมันไว้.

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ก็ปลอบดาบสน้อยนั้นว่า ช่างมันเถิด
พ่อ มาเถิด เจ้าจงเจริญ เมตตากรุณาไว้เถิด แล้วบอกพรหมวิหาร
๔ ให้ บอกกสิณบริกรรมให้ ไม่นานนักดาบสน้อยนั้น ก็ยัง
อภิญญาและสมาบัติให้เกิดได้ เจริญพรหมวิหาร แล้วไปบังเกิดใน
พรหมโลก พร้อมด้วยบิดา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงในโสดาปัตติผล ทรงประชุม
ชาดกว่า ถุลกุมาริกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นถุลกุมาริกาใน
บัดนี้ ดาบสน้อยได้มาเป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนดาบสผู้บิดา ได้
มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุทัญจนีชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ม
ีคำเริ่มต้นว่า สาธุ โข สิปฺปกํ นาม ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง
ถึงความสำเร็จในสาลิตตกศิลป์ ที่เรียกว่า สาลิตตกศิลป์ ได้แก่
ศิลปะในการดีดก้อนกรวด วันหนึ่งเขาฟังธรรมแล้วบวชถวาย
ชีวิตในพระศาสนา ได้อุปสมบทแล้ว แต่มิได้เป็นผู้มุ่งการศึกษา
มิได้เป็นผู้ยังการปฏิบัติให้สำเร็จ วันหนึ่งเธอชวนภิกษุหนุ่ม

รูปหนึ่ง ไปสู่แม่น้ำอจิรวดี อาบน้ำแล้วพักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ ครั้งนั้น
หงส์ขาว ๒ ตัวพากันบินมาทางอากาศ เธอจึงกล่าวกะภิกษุหนุ่ม
นั้นว่า ผมจะเอาก้อนกรวดประหารหงส์ตัวหลังนี้ที่นัยน์ตา ให้
ตกลงมาแทบเท้าของท่าน อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า ท่านจะทำให้มันตก
ได้อย่างไร ท่านไม่อาจประหารมันได้ดอก เธอกล่าวว่า เรื่องนั้น

ยกไว้ก่อนเถิด เราจักประหารมันที่นัยน์ตาข้างโน้น ให้ทะลุถึง
ตาข้างนี้ ภิกษุหนุ่มจึงกล่าวแย้งว่า คราวนี้ท่านพูดไม่จริงละ !
เธอบอกว่า ถ้าอย่างนั้น คุณคอยดู แล้วหยิบเอาก้อนกรวดคม ๆ
ได้ก้อนหนึ่งคลึงด้วยนิ้วชี้ แล้วดีดไปข้างหลังของหงส์นั้น ก้อน-
กรวดนั้น ส่งเสียงหึ่ง ๆ หงส์คิดว่า น่าจะมีอันตราย เหลียวกลับมา

หมายจะฟังเสียง ภิกษุนอกนี้ ก็ถือก้อนกรวดก้อนหนึ่งไว้ใน
ขณะนั้น เมื่อมันยังเหลียวดูอยู่ ก็ดีดไปกระทบนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง
ก้อนกรวดเจาะทะลุถึงนัยน์ตาอีกข้างหนึ่ง หงส์ร้องดังสนั่น
ตกลงมาที่ใกล้เท้าทันที พวกภิกษุมาจากที่นั้น ๆ พากันติเตียน

กล่าวว่า คุณทำไม่สมควรเลย แล้วนำเธอไปสำนักพระศาสดา
กราบทูลเรื่องนั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระทำ
กรรมชื่อนี้ พระศาสดาทรงตำหนิภิกษุนั้น ตรัสว่า ดูก่อนภิกษ
ุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุนี้ฉลาดในศิลปะนั้น แม
้ครั้งก่อนก็ได้เป็นผู้ฉลาดแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ
พระองค์ ครั้งนั้น ปุโรหิตของพระราชาเป็นคนปากกล้ายิ่งนัก
ชอบพูดมาก เมื่อตั้งต้นพูดแล้ว คนอื่น ๆ จะไม่มีโอกาสได้พูด
เลยทีเดียว ฝ่ายพระราชาก็ทรงพระดำริว่า เมื่อไรเล่าหนอ เรา

ถึงจักได้ใครช่วยสะกัดถ้อยคำของเขาเสียได้ ตั้งแต่ นั้นท้าวเธอ
ก็ทรงใคร่ครวญหาคนอย่างนี้สักคนหนึ่ง ครั้งนั้น ในเมืองพาราณสี
มีบุรุษง่อยคนหนึ่ง ถึงความสำเร็จในศิลปะคือ การดีดก้อนกรวด
พวกเด็กชาวบ้านยกเขาขึ้นสู่รถช่วยกันลากมาไว้ที่ต้นไทรใหญ่
สมบูรณ์ด้วยคาคบต้นหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ใกล้ประตูพระนครพาราณสี

พากันห้อมล้อม ให้เงินมีกากณึกเป็นต้น ร้องบอกว่า จงทำรูปช้าง
จงทำรูปม้า เขาก็ดีดก้อนกรวด แสดงรูปต่าง ๆ ที่ใบไทรทั้งหลาย
ในไทรทั้งมวลล้วนเป็นช่องน้อย ช่องใหญ่ไปทั้งนั้น ครั้งนั้น
พระเจ้าพาราณสี เสด็จพระดำเนินไปสู่พระอุทยาน เสด็จถึง
ตรงนั้น พวกเด็กทั้งหมดพากันหนี เพราะกลัวจะถูกขับไล่ บุรุษง่อย

นอนอยู่ในที่นั้นเอง พระราชาเสด็จถึงโคนต้นไทร ประทับนั่ง
ในราชรถนั่นแลทอดพระเนตรเห็นเงาต่าง ๆ เพราะใบไม้ทั้งหลาย
ขาดเป็นช่อง ก็ทรงจ้องดู ครั้นเห็นใบไม้ทั้งปวงปรุโปร่งไปหมด
ก็ตรัสถามว่า ใบไม้เหล่านี้ใครทำให้เป็นอย่างนี้ ? ราชบุรุษ

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรุษเปลี้ยกระทำพระเจ้าข้า
พระราชทรงพระดำริว่า อาศัยคนผู้นี้เราอาจสะกัดคำของ
พราหมณ์ได้ จึงมีพระดำรัสถามว่า พนาย เจ้าง่อยอยู่ไหนละ ?
ราชบุรุษเที่ยวค้น ก็พบเขานอนอยู่ที่โคนไม้ ก็พากันนำตัวมา
กราบทูลว่า นี่พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า แล้วทรง

ขับบริษัทไปเสีย ตรัสถามว่า ในสำนักของเรามีพราหมณ์ปาก
กล้าอยู่คนหนึ่ง เจ้าจักอาจทำให้เขาหมดเสียงได้ไหม ? บุรุษง่อย
กราบทูลว่า เมื่อได้ขี้แพะประมาณทะนานหนึ่ง ข้าพระองค์ก็

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อาจจะกระทำได้พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษพา
บุรุษง่อยเข้าไปสู่พระราชวัง ให้นั่งอยู่ภายในม่านเจาะช่อง
ที่ม่าน รับสั่งให้จัดที่นั่งของพราหมณ์ตรงช่อง แล้วให้วางขี้แพะ
แห้งประมาณหนึ่งทะนานไว้ใกล้ ๆ บุรุษง่อย เวลาพราหมณ์
มาเฝ้า รับสั่งให้นั่งเหนืออาสนะนั้น พลางทรงตั้งเรื่องสนทนาขึ้น.

พราหมณ์ไม่ยอมให้โอกาสแก่คนอื่น ๆ เริ่มกราบทูลแก่พระราชา
ครั้งนั้นบุรุษง่อยก็ดีดขี้แพะไปทีละก้อน ๆ ทางช่องม่าน กะให้ตก
ลงที่พื้นเพดานปากของพราหมณ์นั้นทุกที เหมือนกับโยนใส่กระเช้า
ฉะนั้น พราหมณ์ก็กลืนขี้แพะที่ดีดมาแล้ว ๆ เหมือนกรอกน้ำมัน

ใส่ทะนาน. ขี้แพะถึงความสิ้นไปหมดทั้งทะนาน ขี้แพะประมาณ
ทะนานหนึ่งนั้น เข้าท้องของพราหมณ์ไปได้ประมาณกึ่งอาฬหกะ
พระราชาทรงทราบความที่ขี้แพะหมดสิ้นแล้ว จึงตรัสว่า ท่าน-
อาจารย์ ท่านกลืนขี้แพะเข้าไปตั้งทะนาน เพราะเป็นคนปากมาก

ท่านยังไม่รู้อะไรเลย บัดนี้ท่านจักไม่สามารถให้ขี้แพะมากกว่านี้
ย่อยได้ ไปเถิด จงดื่มน้ำประยงค์ ถ่ายทิ้ง ทำตนให้ปราศจาก
โรคเถิด จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ เหมือนมีปากถูกปิดสนิท แม้
ใครจะพูดก็ไม่ค่อยจะพูดด้วย พระราชาทรงพระดำริว่า บุรุษนี้
ทำความสบายหูให้แก่เรา พระราชทานบ้าน ๔ หลัง ในทิศทั้ง ๔

มีส่วยขึ้นประมาณแสนกษาปณ์ พระโพธิสัตว์เข้าเฝ้าพระราชา
กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ธรรมดาศิลปะในโลก บัณฑิต
ทั้งหลายพึงเรียน แม้เพียงดีดก้อนกรวด ก็ยังช่วยให้บุรุษง่อย

ได้สมบัตินี้ แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-
"ขึ้นชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จโดยแท้ ขอเชิญ
พระองค์ทรงทอดพระเนตรบุรุษง่อย ได้บ้านส่วย
ทั้ง ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดมูลแพะ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺส ขญฺชปฺปหาเรน ความว่า
พระโพธิสัตว์ กล่าวสรรเสริญคุณของศิลปะว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ขอเชิญทรงทอดพระเนตรเถิด บุรุษง่อยผู้นี้ได้รับพระราชทาน
บ้าน ๔ หลัง ใน ๔ ทิศ ก็ด้วยการดีดขี้แพะ อะไรเป็นข้อขีดคั่น
อานิสงส์แห่งศิลปะอื่น ๆ เล่า ?

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ตรัสประชุม
ชาดกว่า บุรุษง่อยในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุนี้ พระราชาได้
มาเป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสาลิตตกชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครเวสาลี ประทับอยู่ ณ
กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ทรงปรารภเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สิกฺเขยฺย สิกฺขิตพฺพานิ ดังนี้.

ได้ยินว่า เจ้าลิจฉวีองค์นั้น ทรงมีศรัทธาเลื่อมใส นิมนต์
พระภิกษุมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงยังมหาทานให้เป็นไป
ในวังของพระองค์ แต่เทวีของพระองค์มีอวัยวะทุกส่วนอ้วนพี
ดูคล้ายนิมิตแห่งทรากศพที่ขึ้นพอง ไม่สมบูรณ์ด้วยมรรยาท
พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตรกิจแล้วเสด็จไป

พระวิหาร ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลาย เสด็จเข้าพระคันธกุฎี
ภิกษุทั้งหลายพากันตั้งเรื่องสนทนากันในธรรมสภาว่า ท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีพระองค์นั้น มีพระรูปงามปานนั้น มีเทวี
ลักษณะตรงกันข้าม มีอวัยวะน้อยใหญ่อ้วนพี ไม่มีกิริยามรรยาท
ท้าวเธอจะทรงอภิรมย์กับเทวีได้อย่างไรกันนะ ? พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบัดนี้พวกเธอนั่งประชุม
สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจ้าลิจฉวีองค์นี้ มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน ก็ทรงอภิรมย์กับหญิงที่มีร่างกายอ้วน
เหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์ของ
พระองค์ ครั้งนั้น หญิงชนบทคนหนึ่งมีอวัยวะอ้วนพี ไม่มีกิริยา
มรรยาททำการรับจ้าง เดินผ่านไปไม่ไกลท้องพระลานหลวง
เกิดปวดอุจจาระ ก็เอาผ้านุ่งคลุมหัว นั่งถ่ายอุจจาระแล้วรีบ

ลุกขึ้น ขณะนั้นพระเจ้าพาราณสี ทอดพระเนตรท้องพระลานหลวง
ทางช่องพระแกล ทรงเห็นนางแล้ว ทรงดำริว่า หญิงผู้นี้ ถ่าย
อุจจาระไว้ที่พระลานอย่างนี้ มิได้ละหิริโอตตัปปะ เอาผ้านุ่ง
นั่นแหละปิด ถ่ายอุจจาระแล้วก็รีบลุกขึ้น ชะรอยนางจักเป็นหญิง

ไม่มีโรค วัตถุของนางจักต้องบริสุทธิ์ ลูกคนหนึ่งที่ได้ในวัตถุ
บริสุทธิ์ จักเป็นผู้บริสุทธิ์ มีบุญ เราควรตั้งนางไว้เป็นอัครมเหสี
ท้าวเธอทรงทราบความที่นางยังไม่มีคู่ครอง ก็ตรัสสั่งพระราชทาน
ตำแหน่งอัครมเหสี นางได้เป็นที่โปรดปราน ต้องพระทัยของ
ท้าวเธอ ไม่นานนักก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง และโอรสของ
พระนางก็ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ พระโพธิสัตว์เห็นความถึง

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2018, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พร้อมด้วยยศของพระนาง ได้โอกาสที่จะกราบทูลเช่นนั้นได้
จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ศิลปะชื่อว่าควรศึกษา
เหตุไรจะไม่น่าศึกษาเล่า แต่พระมเหสีผู้มีบุญหนักพระองค์นี้
ไม่ทรงละหิริโอตตัปปะ ทรงกระทำสรีรวลัญชะ ด้วยอาการ
มิดเม้น ยังทำให้พระองค์โปรดปราน ทรงบรรลุสมบัติเห็นปานน
ี้ได้นะ พระเจ้าข้า เมื่อจะกราบทูลคุณแห่งศิลปะที่ควรศึกษา
ทั้งหลาย จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"บุคคลควรศึกษาศิลปะทั้งหลาย ชน
ทั้งหลายที่พอใจในศิลปะนั้นก็มีอยู่ แม้แต่หญิง
ที่เกิดในจังหวัดชั้นนอก ก็ยังทำให้พระราชา
ทรงโปรดปรานได้ ด้วยความกระมิดกระเมี้ยน
ของเธอ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ตจฺฉนฺทิโน ความว่า หมู่ชน
ที่มีความพอใจในศิลปะเหล่านั้น คงมีแน่นอน.
บทว่า พาหิยา ได้แก่หญิงที่เกิดเจริญเติบโต ในชนบท
ที่มีในภายนอก.

บทว่า สุหนฺเนน ความว่า ไม่ละหิริโอตตัปปะ ขับถ่าย
ด้วยอาการอันปกปิด ชื่อว่า อาการอันกระมิดกระเมี้ยน ถ่าย
ด้วยอาการอันกระมิดกระเมี้ยนนั้น.
บทว่า ราชานํ อภิราธยิ ความว่า ยังทำให้สมมติเทพ
ทรงโปรดปราน ลุถึงสมบัตินี้ได้.
พระโพธิสัตว์กล่าวคุณของศิลปะทั้งหลาย อันสมควรแก่
คุณค่าของการศึกษา ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในบัดนี้
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพาหิยชาดกที่ ๘


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร