วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 82, 83, 84, 85, 86, 87, 88 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 13:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงเขย่ากิ่งชมพู่ให้ผลทั้งหลาย
หล่นลงไป. ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นชมพู่ เห็นกากับสุนัขจิ้งจอก
ทั้งสองแม้นั้น กล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกันและกันกินชมพู่สุกอยู่
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า

ดูก่อนบุคคลผู้สรรเสริญกันและกัน
เราได้เห็นคนพูดมุสา คือกาผู้เคี้ยวกินของ
ที่คนอื่นคายแล้ว และสุนัขจิ้งจอกผู้กิน
ซากศพ มาประชุมกันนานมาแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วนฺตาทํ ได้แก่ กาผู้กินภัตที่
คนอื่นคายแล้ว. บทว่า กุณปาทญฺจ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกผู้กินซากศพ.
ก็แหละ เทวดานั้นครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงแสดงรูปารมณ์
อันน่ากลัวให้กาและสุนัขจิ้งจอกเหล่านั้นให้หนีไปจากที่นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาในกาลนั้น
ได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดาได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาชัมพูขาทกชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิการ ทรง
ปรารภคนทั้งสอง คือพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นนั่นแหละ จึง
ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุสภสฺเสว เต ขนฺโธ ดังนี้. เรื่องอันเป็น
ปัจจุบันเหมือนกับเรื่องแรกนั่นเอง ส่วนเรื่องในอดีตมีดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นละหุ่ง ในบริเวณ
บ้านแห่งหนึ่ง. ในกาลนั้น ชาวบ้านลากโคแก่ซึ่งตายในบ้านนั้น ไป

ทิ้งที่ป่าละหุ่งใกล้ประตูบ้าน. มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งมากินเนื้อของโค
แก่ตัวนั้น. มีกาตัวหนึ่งบินมาจับอยู่ที่ต้นละหุ่งเห็นดังนั้นจึงคิดว่า ถ้า
กระไรเรากล่าวคุณกถาอันไม่มีจริงของสุนัขจิ้งจอกตัวนี้แล้วจะได้กิน
เนื้อ จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า :-

ข้าแต่พระยาเนื้อ ร่างกายของท่านเหมือน
ร่างกายโคอุสุภราช ความองอาจของท่าน
เหมือนดังราชสีห์ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
แก่ท่าน ทำอย่างไรข้าพเจ้าจึงจักได้อาหารสัก
หน่อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นโม ตฺยตฺถุ อันเป็น นโม เต อตฺถุ
แปลว่า ขอนอบน้อมแด่ท่าน.
สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-
กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดูก่อน
กาผู้มีสร้อยคองามดุจนกยูง เชิญท่านลงจาก
ต้นละหุ่งมากินเนื้อให้สบายเถิด.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิโต ปริยาท นี้ สุนัขจิ้งจอก
กล่าวว่า ท่านลงจากต้นละหุ่ง คือมาจากต้นละหุ่งนี้จนถึงเรา แล้วจง
กินเนื้อ

รุกขเทวดาเห็นกิริยาของสัตว์ทั้งสองนั้นจึงกล่าวคาถาที่สามว่า :-
บรรดามฤคชาติทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอก
เป็นเลวที่สุด บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็น
เลวที่สุด บรรดารุกขชาติทั้งหลาย ต้นละหุ่ง
เป็นเลวที่สุด ที่สุดทั้ง ๓ ประเภทมาสมาคม
กันแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺโต แปลว่า เลว คือ ลามก.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า สุนัขจิ้งจอกในกาลนั้น ได้เป็นพระเทวทัต กาใน
กาลนั้น ได้เป็นพระโกกาลิกะ ส่วนรุกขเทวดา คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอันตชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระมหาวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระอุปนันทเถระ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า โก นฺวายํ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระอุปนันทะนั้นบริโภคมาก มีความทะเยอ-
ทะยานมาก ใครๆ ไม่อาจให้พระอุปนันทะนั้นอิ่มหนำแม้ด้วยปัจจัย
เต็มเล่มเกวียน. ในวันใกล้เข้าพรรษา พระอุปนันทะนั้นวางรองเท้าไว้
ในวิหารหนึ่ง วางลักจั่นไว้ในวิหารหนึ่ง วางไม้เท้าไว้ในวิหารหนึ่ง

ตนเองอยู่ในวิหารหนึ่ง คราวหนึ่ง ไปยังวิหารในชนบท เห็นภิกษุ
ทั้งหลายมีบริขารประณีต จึงกล่าวอริยวังสกถาพรรณนาถึงความเป็น
วงศ์ของอริยะ ให้ภิกษุเหล่านั้นถือผ้าบังสุกุล แล้วถือเอาจีวรของ
ภิกษุเหล่านั้น ให้ภิกษุเหล่านั้นถือบาตรดินแล้ว ตนเองเอาบาตร

ที่ชอบๆ และภาชนะมีถาดเป็นต้น บรรทุกเต็มยานน้อยแล้วมาสู่
พระเชตวันมหาวิหาร. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระอุปนันทะ ศากยบุตร
บริโภคมาก มักมาก แสดงข้อปฏิบัติแก่ภิกษุเหล่าอื่น แล้วเอาสมณ-

บริขารบรรทุกเต็มยานน้อยมา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อุปนันทะกล่าวอริยวังสกถาแก่ผู้อื่น แล้วกระทำกรรมอัน

ไม่สมควร. เพราะควรที่ตนจะต้องเป็นผู้มักน้อยก่อนแล้ว จึงกล่าว
อริยวังสกถาแก่ผู้อื่นในภายหลัง แล้วทรงแสดงคาถาในพระธรรมบท
ดังนี้ว่า :-


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บุคคลควรตั้งตนไว้ในคุณอันสมควร
ก่อนแล้วพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง บัณฑิต
จะไม่พึงเศร้าหมอง.

ครั้นแล้วจึงทรงติเตียนพระอุปนันทะ แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุ พระอุปนันทะเป็นผู้มักมากในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ใน
กาลก่อนก็ยังสำคัญน้ำแม้ในมหาสมุทรว่า ตนควรจะรักษา แล้วทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทวดารักษาสมุทร.
ครั้งนั้นมีกาน้ำตัวหนึ่งบินเที่ยวอยู่ ณ ส่วนเบื้องบนมหาสมุทร เที่ยว
ห้ามฝูงปลาและฝูงนกว่า ท่านทั้งหลายจงดื่มน้ำในมหาสมุทรแต่พอ
ประมาณ จงช่วยกันรักษา ดื่มเถิด.. สมุทรเทวดาเห็นดังนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า

ใครนี่หนอ มาเที่ยววนเวียนอยู่ในน้ำ
ทะเลอันเค็ม ย่อมห้ามปลาและมังกร
ทั้งหลาย และย่อมเดือดร้อนในกระแสน้ำ
ที่มีคลื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นฺวายํ ตัดเป็น โก นุ อยํ
แปลว่า นี่ใครหนอ.
กาน้ำได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

ข้าพเจ้าเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี ปรากฎ
ไปทั่วทิศว่า เป็นผู้ไม่อิ่ม เราปรารถนาจะดื่ม
น้ำมหาสมุทรสาครเป็นใหญ่กว่าแม่น้ำทั้ง
หลาย.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:
wink

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เราปรารถนาจะดื่มน้ำในสาครอัน
หาที่สุดมิได้ ด้วยเหตุนั้น เราจึงเป็นนกชื่อว่าอนันตปายี. อนึ่ง เราอัน
บุคคลได้ยินได้ฟังปรากฎแล้วว่า ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้จักอิ่ม เพราะ
ประกอบด้วยความอยากอันไม่รู้จักเต็มมากมาย เรานั้นปรารถนาจะดื่ม
น้ำมหาสุมทรนี้ทั้งสิ้น ที่ชื่อว่าสาคร เพราะเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะ
อันงดงาม และเพราะอันสาครขุดเซาะ ชื่อว่าเป็นใหญ่กว่าสระทั้งหลาย
เพราะเป็นเจ้าแห่งสระทั้งหลาย.

สมุทรเทวดาได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ทะเลใหญ่นี้นั้น ย่อมลดลงและกลับ
เต็มอยู่ตามเดิม บุคคลดื่มกินอยู่ก็หาทำให้
น้ำทะเลนั้นพร่องลงไป ได้ยินว่า น้ำทะเล
ใหญ่นั้น ใครๆ ไม่อาจดื่มกินให้หมดสิ้นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสยํ ตัดเป็น โส อยํ แปลว่า
นี้นั้น. บทว่า หายตี เจว ความว่า น้ำทะเลย่อมพร่องในเวลา
น้ำลง และย่อมเต็มในเวลาน้ำไหลขึ้น. บทว่า นาสฺส นายติ
ความว่า ถ้าแม้ชาวโลกทั้งสิ้นจะดื่มน้ำมหาสมุทรนั้น แม้ถึงเช่นนั้น

มหาสมุทรนั้นก็ไม่ปรากฎความพร่องแม้ว่าชาวโลกดื่มน้ำชื่อมีประมาณ
เท่านี้ จากน้ำนี้. บทว่า อเปยฺโย กิร ความว่า ได้ยินว่าสาครนี้
ใครๆ ไม่อาจดื่มให้น้ำหมด.

ก็แหละรุกขเทวดาครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วแสดงรูปารมณ์อันน่า-
กลัวให้กาสมุทรนั้นหนีไป.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า กาสมุทรในครั้งนั้น ได้เป็นพระอุปนันทะในบัดนี้
ส่วนรุกขเทวดา คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสมุททชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถากามวิลาปชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การประเล้าประโลมภรรยาเก่า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุจฺเจ
สกุเณ เฑมาน ดังนี้.

เรื่องปัจจุบันได้กล่าวไว้แล้วในปุปผรัตตชาดก เรื่องอดีตจักมี
แจ้งในอินทรียชาดก.

แต่ในที่นี้ ราชบุรุษทั้งหลายทำให้บุรุษนั้นเร่าร้อน เสียบ
ประจานไว้บนหลาวทั้งเป็นๆ. บุรุษนั้นนั่งอยู่บนหลาวนั้น เห็น
กาบินมาทางอากาศ ไม่อนาทรถึงเวทนาทั้งที่แรงกล้าเห็นปานนั้น
เมื่อจะเรียกกานั้นมาเพื่อจะส่งข่าวสารถึงภรรยาผู้เป็นที่รัก จึงได้กล่าว
คาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนนกผู้มีปีกเป็นยาน บินทะยาน
ไปในเวหา บินไปในอากาศอันสูง ท่านช่วย
บอกภรรยาของข้าพเจ้าผู้มีลำขาเสมอด้วยต้น
กล้วยให้ทราบด้วย ว่าข้าพเจ้าถูกเสียบอยู่บน
หลาว ภรรยาที่รักของข้าพเจ้านั้นเมื่อไม่ทราบ
ข่าวคราวอันนี้ จักทำการรอคอยข้าพเจ้าตลอด
กาลนาน.

ภรรยาของข้าพเจ้านั้นยังไม่รู้ว่าหลาว
และหอกนี้เขาวางไว้ เพื่อเสียบประจาน
นางเป็นคนดุร้าย ก็จะโกรธข้าพเจ้า ความ
โกรธแห่งภรรยาของข้าพเจ้านั้นจะทำข้าพเจ้า
ให้เดือดร้อนไปด้วย แต่หลาวนี้มิได้ทำให้
ข้าพเจ้าเดือดร้อนในที่นี้เลย.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
หอกและเกราะนี้ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัวนอน
อนึ่ง แหวนก้อยที่ทำด้วยทองคำเนื้อสุก และ
ผ้าแคว้นกาสีเนื้ออ่อน ข้าพเจ้าเก็บไว้ที่หัว
นอน ขอภรรยาที่รักของข้าพเจ้า ผู้มีความ
ต้องการทรัพย์ จงยินดีด้วยทรัพย์นี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เฑมาน แปลว่า บิน คือไป.
บุรุษคนนั้นเรียกกาตัวนั้นแหละว่า ปตฺตยาน ผู้มีปีกเป็นยาน. เรียก
ว่า วิหงฺคม ผู้ไปในเวหา ก็เหมือนกัน. จริงอยู่ กานั้น ชื่อว่า
มีปีกเป็นยาน เพราะกระทำการไปด้วยปีกทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ไปใน

เวหา เพราะไปทางอากาศ. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า ท่านพึงบอก.
บทว่า วามูรุํ แปลว่า ผู้มีขาอ่อนเสมอลำต้นกล้วย. ท่านพึงบอกว่า
ข้าพเจ้านั่นอยู่บนหลาว. บทว่า จิรํ โข สา กริสฺสติ ความว่า
นางเมื่อไม่ทราบข่าวคราวนี้ จักกระทำการรอคอยการมาของข้าพเจ้า

ในเวลานาน คือ นางจักคิดอย่างนี้ว่า สามีอันเป็นที่รักไปนานแล้ว
ยังไม่มา. ด้วยบทว่า อสิ สตฺติจ แปลว่า ดาบและหอก นี้
บุรุษนั้นกล่าวหมายเอาเฉพาะหอกเท่านั้น เพราะมันเสมอด้วยดาบ
และหอก จริงอยู่หอกนั้น เขาวางคือปักไว้ เพื่อเสียบประจานบุรุษ

นั้น. บทว่า จณฺฑี ได้แก่ เป็นผู้มักโกรธ. บทว่า กาหตี โกธํ
ความว่า นางจักกระทำความโกรธต่อเราว่า มัวชักช้าอยู่. บทว่า ตํ
เม ตปฺปติ ความว่า ความโกรธของนางนั้น ย่อมทำเราให้เดือด
ร้อน. ด้วยบทว่า โน อิธ นี้ บุรุษนั้นแสดงว่า ก็หลาวนี้ย่อมไม่

ทำเราให้เดือดร้อนในที่นี้เลย. ด้วยคำเป็นต้นว่า นี้หอกและเกราะ
ดังนี้ บุรุษผู้นั้นบอกถึงสิ่งของของตนซึ่งวางไว้บนหัวนอนในเรือน.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปลสนฺนาโห ได้แก่ หอกและเกราะ
อธิบายว่า หอกชนิดหนึ่งคล้ายดอกบัวและเกราะ. บทว่า นิกฺขญฺจ
ได้แก่ แหวนก้อยที่ทำด้วยทองเนื้อ ๕. ด้วยบทว่า กาสิกญฺจ มุทุํ
วตฺถํ นี้ บุรุษนั้นกล่าว หมายเอาผ้าสาฎกคู่หนึ่ง ซึ่งทำจากแคว้น

กาสีมีเนื้ออ่อนนุ่ม. ได้ยินว่า สิ่งของมีประมาณเท่านี้ ที่บุรุษนั้นเก็บ
ไว้บนหัวนอน. บทว่า ตปฺเปตุ ธนกามิยา ความว่า ภรรยาผู้เป็น
ที่รักของเรานั้นมีความต้องการทรัพย์ จงถือเอาทรัพย์ทั้งหมดนี้ จง
อิ่มเอิบ บริบูรณ์ คือจงยินดีด้วยทรัพย์นี้.

บุรุษนั้นคร่ำครวญอยู่อย่างนี้นั่นแล ก็ตายไปบังเกิดในนรก
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประ-
กาศสัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้
กระสันจะสึก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็น
ภรรยาในครั้งนี้ เทวบุตรผู้เห็นเหตุการณ์นั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากามวิลาปชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อุทุมฺพรา นิเจ * ปกฺกา ดังนี้

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นสร้างวิหารอยู่ในปัจจันตคามแห่งหนึ่ง. วิหาร
น่ารื่นรมย์ตั้งอยู่เหนือแผ่นหินดาด. สถานที่ปัดกวาดคล้ายปะรำ มีน้ำ
ใช้ผาสกสำราญ. โคจรคามก็ไม่ไกล. คนทั้งหลายรักใคร่พากันถวาย
* บาลี เป็น จิเม

ภิกษา. ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเที่ยวจาริกไปถึงวิหารนั้น. ภิกษุผู้เป็น
เจ้าถิ่นกระทำอาคันตุกวัตรแก่ภิกษุนั้น ในวันรุ่งขึ้น ได้พาภิกษุนั้นไป
บิณฑบาตยังบ้าน. คนทั้งหลายถวายภิกษาอันประณีตแก่ภิกษุนั้น แล้ว
นิมนต์ฉันในวันพรุ่งนี้อีก. อาคันตุกะภิกษุฉันอยู่ ๒-๓ วัน จึงคิดว่า

เราจักลวงภิกษุเจ้าถิ่นนั้นด้วยอุบายอย่างหนึ่งฉุดคร่าออกไป แล้วยึด
วิหารนี้. ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะได้ถามภิกษุเจ้าถิ่นผู้มายังที่บำรุง
พระเถระว่า อาวุโส ท่านไม่ได้ทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าหรือ ?
ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวว่า ชื่อว่าคนผู้จะปฏิบัติดูแลวิหารนี้ ไม่มี ด้วยเหตุนั้น

กระผมจึงไม่เคยไป. ภิกษุอาคันตุกะกล่าวว่า ผมจักปฏิบัติดูแลวิหารนี้
จนกว่าท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกลับมา. ภิกษุเจ้าถิ่นกล่าวว่า ดีแล้ว
ท่านผู้เจริญ แล้วกล่าวกะคนทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาท
พระเถระจนกว่าเราจะกลับมา แล้วหลีกไป. จำเดิมแต่นั้นมา อาคัน-

ตุกะภิกษุก็กล่าวว่า ภิกษุเจ้าถิ่นนั้นมีโทษนี้และนี้ แล้วยุยงคนทั้งหลาย
เหล่านั้นให้แตกร้าวกัน. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่นถวายบังคมพระศาสดาแล้ว
กลับมา. ลำดับนั้น ภิกษุอาคันตุกะนั้น ไม่ให้ภิกษุเจ้าถิ่นเข้าไป. ภิกษุ
เจ้าถิ่นนั้นจึงอยู่ในที่แห่งหนึ่ง วันรุ่งขึ้น เข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายคนทั้งหลายก็ไม่กระทำแม้มาตรว่าสามีจิกรรม. ภิกษุเจ้าถิ่นนั้น
เดือดร้อน จึงไปยังพระเชตวันวิหารอีก แล้วบอกเหตุการณ์อันนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายจึงนั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า
อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าภิกษุโน้นคร่าภิกษุโน้นออกจากวิหาร แล้ว
ตนเองอยู่ในวิหารนั้น. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ใน
บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน อาคันตุกะภิกษุนั้นก็ได้ฉุดคร่าภิกษุนี้ออก
จากที่อยู่มาแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในป่า. ในฤดูฝน
ฝนตกในป่านั้น ตลอด ๗ สัปดาห์. ครั้งนั้นมีลิงเล็กหน้าแดงตัวหนึ่ง

อยู่ในซอกเขาหินแห่งหนึ่งซึ่งไม่เปียกฝน วันหนึ่ง นั่งอยู่ในที่ที่ไม่
เปียก ณ ที่ประตูซอกเขา. ลำดับนั้น ลิงใหญ่หน้าดำตัวหนึ่ง เปียก
ฝน ถูกความหนาวเบียดเบียน เที่ยวมา เห็นลิงเล็กนั้นนั่งอยู่อย่างนั้น
จึงคิดว่า เราจักนำเจ้าลิงนี้ออกไปด้วยอุบาย แล้วจักอยู่ในที่นี้เสียเอง

จึงทำให้ท้องย้อยยานแสดงอาการอิ่มเหลือล้น ไปยืนอยู่ข้างหน้าลิงเล็ก
นั้น แล้วกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า
ต้นมะเดื่อ ต้นไทร และต้นมะขวิดนี้
มีผลสุกแล้ว เชิญท่านออกมากินเถิด จะ
ยอมตายเพราะความหิวทำไม.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปิตฺถนา ได้แก่ ผลไม้เลียบ.
บทว่า เอหิ นิกฺขมฺม ความว่า ต้นมะเดื่อเป็นต้นเหล่านี้ วิจิตร
แล้วเพราะเต็มด้วยผล แม้เราก็เคี้ยวกินจนอิ่มแล้วจึงมา แม้ท่านก็
จงไปกินเสีย.

ฝ่ายลิงเล็กนั้น ได้ฟังคำของลิงใหญ่นั้นก็เชื่อ ประสงค์จะ
เคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายจึงได้ออกแล้วเที่ยวไปในที่นั้นๆ เมื่อไม่ได้
อะไรๆ จึงกลับมาอีก เห็นลิงใหญ่นั้นเข้าไปนั่งในซอกเขาของตน
คิดว่า จักลวงลิงใหญ่นั้น จึงยืนอยู่ข้างหน้าลิงใหญ่นั้นแล้วกล่าวคาถา
ที่สองว่า

ผู้ใดประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ผู้นั้น
ชื่อว่าเป็นผู้อิ่มแล้ว เหมือนข้าพเจ้าเคี้ยวกิน
ผลไม้สุกเป็นผู้อิ่มแล้วในวันนี้ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุมปกฺกานิ มาสิโต ความว่า
ข้าพเจ้าเคี้ยวกินผลไม้มีผลมะเดื่อเป็นต้นเป็นผู้อิ่มแล้ว.
ลิงใหญ่ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่สามว่า

ลิงเกิดในป่า พึงหลอกลวงลิงที่เกิด
ในป่า เพราะเหตุใด แม้ลิงหนุ่มก็ไม่พึงเชื่อ
เหตุอันนั้น ลิงที่แก่เฒ่าชราจะไม่เชื่อเลย.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ลิงผู้เกิดในป่า พึงกระทำการหลอก
ลวงลิงผู้เกิดในป่า เพราะเหตุใด ลิงแม้หนุ่มเช่นท่าน ก็จะไม่พึง
เชื่อ เพราะเหตุอันนั้น ลิงแก่ชรา คือ ลิงผู้เฒ่าแม้เช่นกับเรา จะ
ไม่พึงเชื่อเลย คือจะไม่เชื่อต่อลิงผู้หนุ่มเช่นกับท่าน ผู้กล่าวตั้ง ๗ ครั้ง

ในหิมวันตประเทศ มีผลาผลทั้งปวงอันเปียกชุ่มด้วยน้ำฝนหล่นลง
แล้วในสถานที่นี้ ไม่มีสำหรับท่านอีกต่อไป ท่านจงไปเสียเถิด. ลิงเล็ก
ตัวนั้น จึงหลีกไปจากที่นั้นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า ลิงเล็กในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เป็นเจ้าถิ่นในบัดนี้
ลิงดำใหญ่ในครั้งนั้น ได้เป็นอาคันตุกะภิกษุในบัดนี้ ส่วนรุกขเทวดา
คือ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุทุมพรชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 17:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ บุพพาราม ทรงปรารภภิกษุ
ทั้งหลายผู้มักเล่นเป็นปกติ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปุเร ตุวํ
ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในปราสาท
ชั้นบน ต่างพากันนั่งพูดถึงเรื่องที่ตนได้เห็นและได้ยินมาเป็นต้น ทำ
ความตลกคนองและหัวเราะเฮฮาอยู่ในปราสาทชั้นล่าง. พระศาสดา
ตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานะมาแล้วตรัสว่า เธอจงทำภิกษุเหล่านี้

ให้สังเวชสลดใจ. พระเถระเหาะขึ้นไปในอากาศ แล้วเอาปลายนิ้ว
หัวแม่เท้ากระทุ้งยอดปราสาท ทำให้ปราสาทสั่นสะเทือนจนถึงน้ำรอง
แผ่นดินเป็นที่สุด. ภิกษุเหล่านั้นกลัวมรณภัย จึงได้ออกไปยืนข้าง
นอก. ความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีปกติเล่นคนองนั้น เกิดปรากฎ

ไปในหมู่ภิกษุทั้งหลาย. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากัน
ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุพวกหนึ่งบวชในพระศาสนา
อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ยังพากันเที่ยวเล่นคนอง
เป็นปกติอยู่ ไม่กระทำวิปัสสนากรรมฐานว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน
ภิกษุเหล่านี้ก็เป็นผู้เล่นคนองเป็นปกติเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่อง
ในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้าน
แห่งหนึ่ง. ชนทั้งหลายจำกุมารนั้นได้โดยชื่อว่า โกมาริยบุตร. ในเวลา
ต่อมา โกมาริยบุตรนั้น ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศ.

ครั้งนั้น มีดาบสผู้มักเล่นคนองพวกอื่น สร้างอาศรมอยู่ในหิมวันต-
ประเทศ. กิจแม้เพียงกสิณบริกรรม ก็ไม่มีแก่ดาบสนั้น. ดาบส
เหล่านั้นนำผลาผลไม้น้อยใหญ่มาจากป่าเคี้ยวกินหัวเราะร่าเริง ยังกาล
เวลาให้ล่วงเลยไปด้วยการเล่นมีประการต่างๆ. ในสำนักของดาบส

เหล่านั้น มีลิงอยู่ตัวหนึ่ง. แม้ลิงตัวนั้นก็มักเล่นคนองเหมือนกัน
กระทำหน้าตาวิการต่างๆเป็นต้น แสดงการเล่นคนองมีอย่างต่างๆ
อย่างดาบสทั้งหลาย. ดาบสเหล่านั้นอยู่ในที่นั้นนานแล้ว จึงได้พากัน
ไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว. จำเดิมแต่

ดาบสเหล่านั้นไปแล้ว พระโพธิสัตว์จึงมายังที่นั้นแล้วสำเร็จการอยู่
อาศัย. ลิงจึงแสดงการเล่นคนองแม้แก่พระโพธิสัตว์ เหมือนดังแสดง
แก่ดาบสเหล่านั้น. พระโพธิสัตว์จึงดีดนิ้วมือแล้วให้โอวาทแก่ลิงนั้น
ว่า ธรรมดาผู้อยู่ในสำนักของบรรพชิตผู้มีการศึกษาดีแล้ว ควรจะถึง

พร้อมด้วยอาจารมารยาท สำรวมระวังกายและวาจา ประกอบขวน-
ขวายในฌาน. จำเดิมแต่นั้น ลิงตัวนั้นได้เป็นสัตว์มีศีลถึงพร้อมด้วย
อาจารมารยาท. พระโพธิสัตว์ได้จากแม้ที่นั้นไปอยู่ในที่อื่น. ลำดับนั้น
ดาบสขี้เล่นเหล่านั้นเสพรสเค็มและเปรี้ยวแล้ว ได้ไปยังสถานที่

นั้น. ลิงไม่แสดงการเล่นคนองแก่ดาบสเหล่านั้น เหมือนอย่าง
เมื่อก่อน. ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้นเมื่อจะถามลิงนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส
เมื่อก่อนเจ้าได้กระทำการเล่นคนองเบื้องหน้าพวกเรา เพราะเหตุไร
บัดนี้ เจ้าจึงไม่กระทำ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เมื่อก่อนเจ้าเคยโลดเต้นเล่นคนองใน
อาศรมสำนักเราทั้งหลายผู้มีปกติเล่นคนอง.
เฮ้ยเจ้าลิง เจ้าจงกระทำกิริยาของลิง บัดนี้
เราไม่ชื่นชมยินดีศีลและพรตอันนั้นของเจ้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวตํ สกาเส ได้แก่ ใน
อาศรมอันเป็นสำนักของเราทั้งหลายผู้คนองเล่นเป็นปกติ. บทว่า
โอกฺกนฺทิกํ ได้แก่ โลดเล่นคนอง ดังมฤคชาติ. บทว่า กโรหเร
แปลว่า จงกระทำ. ศัพท์ว่า เร เป็น อาลปนะ คำร้องเรียก.

บทว่า มกฺกฏิยานิ ได้แก่ ทำปากให้แปลกๆ ไปเป็นต้น กล่าวคือ
เล่นซนทางปาก. บทว่า น ตํ มยํ สีลวตํ รมาม ความว่า
ศีลวัตรคือการเล่นคนองของเจ้าในกาลก่อนนั้น บัดนี้ พวกเราไม่
ยินดี คือไม่ยินดียิ่ง แม้เจ้าก็ไม่ทำให้พวกเรายินดี มีเหตุอะไรหนอ.
ลิงได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

ความหมดจดด้วยฌานชั้นสูง เราได้ฟัง
มาจากอาจารย์ชื่อโกมาริยบุตร ผู้เป็นพหูสูตร
บัดนี้ ท่านอย่าเข้าใจเราว่าเหมือนแต่ก่อน
ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เราประกอบด้วยฌานอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยฺหํ เป็นจตุตถีวิบัติใช้ใน
อรรถของตติยาวิภัติ. บทว่า วิสุทฺธิ ได้แก่ ความหมดจดด้วยฌาน
บทว่า พหุสฺสุตสฺส ได้แก่ ชื่อว่าผู้เป็นพหูสูตร เพราะได้ฟังและ
เพราะได้รู้แจ้งกสิณบริกรรมและสมาบัติ ๘. บทว่า ตุวํ นี้

ลิงเมื่อจะเรียกดาบสรูปหนึ่งในบรรดาดาบสเหล่านั้น จึงแสดงว่า บัดนี้
ท่านอย่าได้จำหมายข้าพเจ้า เหมือนเมื่อก่อน ข้าพเจ้าไม่เป็นเหมือน
เมื่อกาลก่อน ข้าพเจ้าได้อาจารย์แล้ว.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 82, 83, 84, 85, 86, 87, 88 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร