วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 17:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 81, 82, 83, 84, 85, 86, 87 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ
พราหมณ์ผู้ทดลองศีลคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สีลํ กิเรว
กลฺยาณํ ดังนี้.

ก็เรื่องทั้งที่เป็นปัจจุบันและเป็นอดีต ได้ให้พิสดารแล้วในสีล-
วีมังสชาดก เอกนิบาต ในหนหลัง. แต่ในที่นี้ มีเรื่องว่า เมื่อ
พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี ปุโรหิตของ
พระองค์คิดว่า จักทดลองศีลของตน จึงหยิบเอากหาปณะหนึ่ง ๆ ไป

๒ วัน จากแผ่นกระดานสำหรับนับเงิน ครั้นในวันที่สาม พวก
ราชบุรุษจับพราหมณ์นั้น โดยหาว่าเป็นโจร นำไปยังสำนักของพระ-
ราชา. ในระหว่างทางได้เห็นหมองูกำลังเล่นงูอยู่. ลำดับนั้น พระ
ราชาตรัสถามพราหมณ์นั้นว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงได้กระทำอย่างนี้ ?
พราหมณ์กราบทูลว่า ขอเดชะ เพราะข้าพระพุทธเจ้าประสงค์จะทด-
ลองศีลของตน พระเจ้าข้า แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ได้ทราบว่า ศีลเท่านั้นงดงาม ศีลยอด
เยี่ยมในโลก ท่านจงดูซี งูใหญ่มีพิษอัน
ร้ายแรง ยังไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วยรู้สึกตัว
ว่าเป็นผู้มีศีล.

เราจักสมาทานศีลที่บัณฑิตรับรองแล้ว
ว่า เป็นความปลอดภัยในโลก เป็นคุณชาติ
เครื่องให้บัณฑิตเรียกบุคคลผู้ประพฤติตาม
ข้อปฏิบัติของพระอริยะ ว่าเป็นผู้มีศีล.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ย่อมเป็นที่รักของ
ญาติทั้งหลาย ทั้งย่อมรุ่งเรืองในหมู่มิตร เมื่อ
ตายไปแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลํ ได้แก่ อาจารมารยาท.
ศัพท์ว่า กิร เป็นนิบาตลงในอรรถว่าได้ยินได้ฟัง. บทว่า กลฺยาณํ
แปลว่า งาม. อธิบายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยิน
ว่า ศีลเท่านั้นงดงาม. พราหมณ์กล่าวถึงตนเอง ด้วยบทว่า ปสฺส
ดูเอาเถิด. บทว่า น หญฺติ ความว่า ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ด้วย

ตนเอง ทั้งไม่ใช่ให้คนอื่นเบียดเบียน. บทว่า สมาทิสฺสํ แปลว่า
จักสมาทาน. บทว่า อนุมตํ สิวํ ความว่า อันบัณฑิตทั้งหลายรับรอง
แล้วว่าเป็นแดนเกษม คือ ปลอดภัย. บทว่า เยน วุจฺจติ ความว่า
เราจักสมาทานศีลอันเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีศีลผู้ประพฤติโดยเอื้อเฟื้อต่อ

ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ซึ่งได้รับการ
ขนานนามว่า อริยวุตติสมาจาร ผู้มีสมาจารอันเป็นเครื่องประพฤติ
อย่างประเสริฐ. บทว่า วิโรจติ ความว่า ย่อมรุ่งโรจน์ ประดุจกอง
ไฟบนยอดเขา.

พระโพธิสัตว์เมื่อประกาศคุณของศีลด้วยคาถา ๓ คาถา อย่าง
นี้แล้ว จึงแสดงธรรมแก่พระราชา แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า
ในเรือนของข้าพระพุทธเจ้า มีทรัพย์จำนวนมาก ทั้งที่เป็นของบิดา
มารดา ทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และทั้งที่พระองค์พระราชทาน ที่

สุดรอบคือความเสร็จสิ้นไม่ปรากฎ ก็ข้าพระพุทธเจ้าเมื่อจะทดลองศีล
จึงหยิบเอากหาปณะจากแผ่นกระดานสำหรับนับเงินไป บัดนี้ ข้าพระ-
พุทธเจ้าทราบเกล้าแล้วว่า ในโลกนี้ชาติ โคตร ตระกูล และประเทศ
เป็นภาวะต่ำทราม และศีลเท่านั้นประเสริฐ ข้าพระพุทธเจ้าจักบวช

ขอจงอนุญาตให้ข้าพระพุทธเจ้าบวชเถิด แล้วทูลขอให้ทรงอนุญาตการ
บวช แม้พระราชาจะทรงขอร้องแล้วๆ เล่าๆ ก็ออกจากเรือนเข้าป่า
หิมพานต์ บวชเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ได้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พราหมณ์ปุโรหิตผู้ทดลองศีลในครั้งนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวีมังสชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีวรรคนี้ คือ
๑. อัพภันตรชาดก ๒. เสยยชาดก ๓. วัฑฒกีสูกรชาดก
๔. สิริชาดก ๕. มณิสูกรชาดก ๖. สาลุกชาดก ๗. ภาลครหิก-
ราชดก ๘. มัจฉทานชาดก ๙. นานาฉันทชาดก ๑๐. สีลวีมังส-
ชาดก.
จบ อันภัพตรวรรที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรง
ปรารภหลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า สพฺพกามททํ กุมฺภํ ดังนี้

ได้ยินว่า หลานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ผลาญเงิน
๔๐ โกฏิอันเป็นของบิดามารดา ให้ฉิบหายไปด้วยการดื่มสุรา แล้วจึง
ได้ไปยังสำนักของท่านเศรษฐี. แม้ท่านเศรษฐีก็ได้ให้ทรัพย์แก่เขา
พันหนึ่ง โดยสั่งว่า จงทำการค้าขาย. เขาก็ทำทรัพย์ทั้งพันให้ฉิบหาย
แล้วได้มาอีก. ท่านเศรษฐีก็ให้ทรัพย์เขาอีก ๕๐๐ เขาทำทรัพย์ ๕๐๐
นั้น ให้ฉิบหายแล้วกลับมาขออีก ท่านเศรษฐีจึงให้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบไป

๒ ผืน. เขาทำผ้าสาฎกแม้ทั้งสองผืนนั้นให้ฉิบหายแล้วมาหาอีก ท่าน
เศรษฐีจึงให้คนใช้จับคอลากออกไป. เขากลายเป็นคนอนาถาอาศัยฝา
เรือนคนอื่นตายไป. ชนทั้งหลายจึงลากเขาไปทิ้งเสียภายนอกบ้าน.
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีไปยังพระวิหาร กราบทูลความเป็นไปของ
หลานชายนั้นทั้งหมด ให้พระตถาคตเจ้าทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า

เมื่อก่อน เราแม้ให้หม้อสารพัดนึก ก็ยังไม่สามารถทำบุคคลใดให้อิ่ม
หนำได้ ท่านจะทำบุคคลนั้นให้อิ่มหนำอย่างไร อันท่านอนาถบิณ-
ฑิกเศรษฐีนั้น ทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เมื่อบิดาล่วงลับ
ไปแล้วก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี. ในเรือนของท่านเศรษฐี ได้มีทรัพย์ฝัง
ดินไว้ประมาณ ๔๐ โกฏิ. อนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้น มีบุตรคนเดียว
เท่านั้น. พระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น กระทำกาลกิริยาแล้ว

บังเกิดเป็นท้าวสักกะเทวราช. ครั้งนั้น บุตรของท่านเศรษฐีนั้นไม่
จัดแจงทานวัตรอะไรๆ ได้แต่ให้สร้างมณฑป อันมหาชนแวดล้อมนั่ง
อยู่ ปรารภจะดื่มสุรา. เขาให้ทรัพย์ทีละพันแก่คนผู้กระทำการเต้นรำ
เล่นระบำ รำฟ้อน และขับร้องเป็นต้น ถึงความเป็นนักเลงหญิง นักเลง
สุรา และนักเลงกินเนื้อเป็นต้น. เป็นผู้ต้องการแต่มหรสพเท่านั้นว่า


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ท่านจงขับร้อง ท่านจงฟ้อนรำ ท่านจงประโคม เป็นผู้ประมาทมัวเมา
เที่ยวไปไม่นานนัก ได้ผลาญทรัพย์ ๔๐ โกฏิ และอุปกรณ์เครื่อง
อุปโภค บริโภค ให้ฉิบหาย กลายเป็นคนเข็ญใจ กำพร้า นุ่งผ้าเก่า
เที่ยวไป. ท้าวสักกะทรงรำพึงถึง ทรงทราบว่า บุตรตกระกำลำบาก
จึงมาเพราะความรักบุตร ได้ให้หม้อสารพัดนึกแล้ว โอวาทสั่ง

สอนว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงรักษาหม้อนี้ไว้อย่าให้แตกทำลายไป ก็เมื่อเจ้า
ยังมีหม้อใบนี้อยู่ ในชื่อว่าความสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์จักไม่มีเลย ดังนี้
แล้วก็กลับไปเทวโลก. จำเดิมแต่นั้น เขาก็เที่ยวดื่มสุรา. อยู่มาวันหนึ่ง
เขาเมามาก โยนหม้อนั้นขึ้นไปในอากาศแล้วรับ ครั้งหนึ่ง พลาดไป.
หม้อตกบนพื้นดินแตกไป. ตั้งแต่นั้นมา ก็กลับเป็นคนจน นุ่งผ้า

ท่อนเก่า มือถือกระเบื้องเที่ยวภิกขาจารอาศัยฝาเรือนคนอื่นอยู่จน
ตายไป. พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัส
อภิสัมพุทธคาถาเหล่านี้ว่า :-

นักเลงได้หม้อ อันเป็นหม้อสารพัดนึก
ใบหนึ่ง ยังรักษาหม้อนั้นไว้ได้ตราบใดเขาก็
จะได้รับความสุขอยู่ตราบนั้น.

เมื่อใด เขาประมาทและเย่อหยิ่ง ได้
ทำลายหม้อให้แตก เพราะความประมาท เมื่อ
นั้น ก็เป็นคนเปลือยและนุ่งผ้าเก่า เป็นคน
โง่เขลา ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
คนผู้ประมาทโง่เขลา ได้ทรัพย์มาแล้ว
ใช้สอยไปอย่างนี้ จะต้องเดือดร้อนในภาย
หลังเหมือนนักเลงทุบหม้อสารพัดนึกฉะนั้น.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกามททํ ได้แก่ หม้อที่สามารถ
ให้วัตถุอันน่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า กูฏํ เป็นไวพจน์ของ กุมภะหม้อ.
บทว่า ยาว แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า อนุปาเลติ ความว่า
คนใดคนหนึ่ง ได้หม้อเห็นปานนี้ ยังรักษาไว้ตราบใด เขาย่อมได้
ความสุขอยู่ตราบนั้น. บทว่า มตฺโต จ ทิตฺโต จ ความว่า ชื่อว่า

มัตตะ เพราะเมาเหล้า ชื่อว่า ทิตตะ เพราะเย่อหยิ่ง บทว่า ปมาทา
กุมฺภมพฺภิทา แปลว่า ทำลายหม้อเสีย เพราะความประมาท. บทว่า
นคฺโค จ โปตฺโถ จ ความว่า บางคราว เป็นคนเปลือย บางคราว

เป็นคนนุ่งผ้าเก่า เพราะเป็นคนนุ่งผ้าท่อนเก่า. บทว่า เอวเมว ก็คือ
เอวเมว แปลว่า อย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า ปมตฺโต ได้แก่ ด้วย
ความประมาท. บทว่า ตปฺปติ ได้แก่ ย่อมเศร้าโศก.

พระศาสดาครั้นตรัสพระคาถาดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
นักเลงผู้ทำลายหม้อความเจริญในครั้งนั้นได้เป็นหลานเศรษฐีในบัดนี้
ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาภัทรฆฏเภทกชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภัตข้าวสาลี เจือด้วยเนยใสใหม่ในรสปลาตะเพียนแดง ที่พระ-
สารีบุตรเถระถวายแก่พระพิมพาเทวี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
พาราณสฺสํ มหาราช ดังนี้. เรื่องนี้เป็นเหมือนเรื่องในอัพภันตรชาดก
ซึ่งได้กล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล.

ก็แม้ในกาลนั้น โรคลมในท้องของพระเถรีกำเริบขึ้น. พระ-
ราหุลภัทระจึงบอกแก่พระเถระ. พระเถระให้พระราหุลภัทระนั่งใน
โรงฉันแล้วไปยังพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าโกศลราช นำเอาภัตข้าว-
สาลีเจือด้วยเนยใสใหม่ในรสปลาตะเพียนแดง แล้วได้ให้แก่พระ-

ราหุลภัทระนั้น. พระราหุลภัทระได้นำไปถวายพระเถรีผู้เป็นพระชนนี.
พอพระเถรีนั้นเสวยเท่านั้น โรคลมในท้องก็สงบระงับ. พระราชา
ทรงส่งพวกราชบุรุษไปให้สอดแนมดู ตั้งแต่นั้นมาได้ถวายภัตเห็น
ปานนั้นแก่พระเถรี. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน

โรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระธรรมเสนาบดี ยัง
พระเถรีให้อิ่มหนำด้วยโภชนะเห็นปานนี้. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว
ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วย
เรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรให้สิ่งที่มารดาของราหุลปรารถนา
ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ให้แล้วเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกา พอเจริญวัย ได้
เป็นหัวหน้ากาแปดหมื่นตัว ได้เป็นพระยาชื่อว่าสุปัตต์ ส่วนอัครมเหสี
ของพระยากาสุปัตต์ ได้เป็นนางกาชื่อว่าสุปัสสา. เสนาบดี ชื่อว่า

สุมุขะ พระยากาสุปัตต์นั้นแวดล้อมด้วยกาแปดหมื่นตัว อาศัยเมือง
พาราณสีอยู่ วันหนึ่ง พระยากาสุปัตต์พานางกาสุปัสสาไปหาอาหาร
ได้บินไปทางเหนือโรงครัวของพระเจ้าพาราณสี. พ่อครัวปรุงโภชนะ
อันมีปลาและเนื้อชนิดต่างๆ เป็นเครื่องประกอบ เมื่อพระราชาเสด็จ

แล้ว เปิดภาชนะไว้หน่อยหนึ่ง ให้ไอร้อนระเหยออกไปอยู่. นางกา-
สุปัสสาสูดกลิ่นปลาและเนื้อแล้ว ประสงค์จะกินโภชนะของพระราชา
ตลอดวันนั้นไม่พูดเลย ในวันที่สองอันพระยากาสุปัตต์กล่าวว่า มาเถิด
นางผู้เจริญ พวกเราจักไปหากินกัน จึงกล่าวว่า ท่านไปเถิด ดิฉัน

มีการแพ้ท้องอย่างหนึ่ง เมื่อพระยากาสุปัตต์กล่าวว่า แพ้ท้องอะไร
นางจึงกล่าวว่า ดิฉันอยากกินโภชนะของพระเจ้าพาราณสี แต่ไม่
สามารถจะได้โภชนะนั้น ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ เพราะฉะนั้น


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดิฉันจึงจักสละชีวิต. พระโพธิสัตว์กำลังนั่งคิดอยู่ พอดีสุมุขเสนาบดี
มาถามว่า ข้าแต่มหาราช ท่านไม่สบายใจเพราะอะไร ? พระราชา
จึงบอกเนื้อความนั้น. เสนาบดีจึงทูลให้พระราชาและพระอัครมเหสี
แม้ทั้งสองนั้นเบาใจว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าคิดร้อนใจไปเลย
แล้วทูลไปว่า วันนี้ท่านทั้งสองจงอยู่ที่นี้แหละข้าพเจ้าจักไปนำภัต

นั้นมา แล้วก็หลีกไป. เสนาบดีนั้นให้พวกกาประชุมกันแล้วบอก
เหตุนั้นให้ทราบแล้วกล่าวว่า มาเถอะท่านทั้งหลาย พวกเราจักไป
นำภัตมา จึงพร้อมกับพวกกาบินเข้าไปยังพระนครพาราณสี แบ่งกา
เป็นพวกๆ ไว้ในที่ไม่ไกลโรงครัว แล้ววางไว้ เพื่อต้องการอารักขา

ในที่นั้นๆ ส่วนตนเองนั่งจับอยู่บนหลังคาโรงครัวพร้อมกับกานักสู้
รบ ๘ ตัว. และเมื่อกำลังคอยเวลาที่พ่อครัวจะนำพระกระยาหาร
ไปถวายพระราชา ได้กล่าวกะกาเหล่านั้นว่า เมื่อพ่อครัวนำพระกระ-
ยาหารของพระราชามาอยู่ เราจักทำภาชนะให้ตกลงมา ก็เมื่อภาชนะ

ตกลงไปแล้ว ชีวิตของเราจะไม่มี ท่านทั้งหลาย ๔ ตัวจงคาบภัต
ให้เต็มปาก อีก ๔ ตัว จงคาบปลาและเนื้อ แล้วนำไปให้พระยากา
พร้อมทั้งภรรยาบริโภค เมื่อพระราชาถามว่า เสนาบดีไปไหน พวก
ท่านพึงบอกว่า จักมาข้างหลัง. ลำดับนั้น พ่อครัวจัดแจงชนิดโภชนะ

ของพระราชาเสร็จแล้ว จึงเชิญภาชนะไปด้วยหาบ เข้าไปยังราช-
ตระกูล. ในเวลาที่พ่อครัวไปถึงพระลานหลวง กาเสนาบดีจึงให้สัญญา
แก่กาทั้งหลาย แล้วตนเองโฉบลงจับที่อกของคนเชิญเครื่องกระหน่ำ
ด้วยกรงเล็บ เอาจงอยปากเช่นกับปลายหอกจิกปลายจมูกของคนเชิญ

เครื่องนั้น บินขึ้นเอาปีกและเท้าทั้งสองปิดปากของเขาไว้. พระราชา
เสด็จดำเนินอยู่บนท้องพระโรง ทอดพระเนตรไปทางพระแกลใหญ่
ทรงเห็นกิริยาของกานั้น จึงทรงให้เสียงแก่คนเชิญเครื่องตรัสว่า


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แน่ะภัตตาหารกะผู้เจริญ เจ้าจงทิ้งภาชนะทั้งหลายเสีย จับเอาเฉพาะ
กาเท่านั้น. คนเชิญเครื่องนั้นจึงทิ้งภาชนะทั้งหลายแล้วจับกาไว้แน่น.
ฝ่ายพระราชาก็ตรัสว่า จงมาทางนี้. ขณะนั้น กาเหล่านั้นมากินจน
เพียงพอแก่ตน แล้วได้คาบเอาส่วนที่เหลือไปโดยทำนองที่กล่าวแล้ว

นั่นแหละ. ลำดับนั้น พวกกาที่เหลือจึงมากินส่วนที่เหลือ. ส่วนกา
ทั้ง ๘ ตัวนั้นบินไปให้พระยากาพร้อมทั้งปชาบดีบริโภคภัตนั้น. ความ
แพ้ท้องของนางกาสุปัสสาก็สงบลง. คนเชิญเครื่องนำกาเข้าไปถวาย
พระราชา. ลำดับนั้น พระราชาได้ตรัสถามกานั้นว่า กาผู้เจริญ

เจ้าไม่ละอายเราทั้งยังจิกจมูกของคนเชิญเครื่องให้แหว่งด้วย ทำลาย
ภาชนะภัตตาหารให้แตกด้วย และไม่รักษาชีวิตของตนด้วย เพราะ
เหตุไรเจ้าจึงได้กระทำกรรมเห็นปานนี้. กากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ราชาของพวกข้าพระพุทธเจ้าอาศัยกรุงพาราณสีอยู่ ข้าพระพุทธเจ้า

เป็นเสนาบดีของพระราชานั้น ภรรยานามว่าสุปัสสาของพระราชานั้น
แพ้ท้อง ประสงค์จะบริโภคโภชนะของพระองค์ พระราชาจึงบอก
การแพ้ท้องของภรรยานั้นแก่ข้าพระพุทธเจ้า. ข้าพระพุทธเจ้าจึงสละ
ชีวิตเพื่อพระราชานั้นนั่นแลจึงได้มา บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้าได้ส่งโภชนะ

ไปให้แก่ภรรยาของพระยากานั้นแล้ว ความปรารถนาแห่งใจของ
ข้าพระพุทธเจ้าถึงที่สุดแล้ว ด้วยเหตุนี้ข้าพระพุทธเจ้าจึงได้กระทำ
กรรมปานนี้ เมื่อจะแสดงเนื้อความให้แจ่มแจ้ง จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าแต่มหาราช พระยากาชื่อสุปัตตะ
เป็นกาอยู่ในเมืองพาราณสี อันกาแปดหมื่น
แวดล้อมแล้ว.

นางกาสุปัสสาชายาของพระยากานั้น
แพ้ท้อง ปรารถนาจะกินพระกระยาหารอัน
มีค่ามากที่คนหุงต้มแล้วในห้องเครื่อง.
ข้าพระพุทธเจ้าเป็นทูตของพระยากา
ทั้งสองนั้น ถูกนายใช้ให้มาจึงได้เป็นผู้มา
ในที่นี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะกระทำความจงรัก
ต่อเจ้านาย จึงได้จิกจมูกของคนเชิญเครื่อง
ให้เป็นแผล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาราณสฺสํ แปลว่า ในเมือง
พาราณสี. นิวาสิโก แปลว่า ผู้อยู่ประจำ. บทว่า ปกฺกํ ได้แก่
จัดแจงแล้วโดยประการต่างๆ. อาจารย์บางพวกสาธยายว่า สิทฺธํ

แปลว่า สำเร็จแล้ว. บทว่า ปจฺจคฺฆํ ได้แก่ อันร้อนยิ่ง ไม่ได้ครอบไว้.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปัจจัคฆะ เพราะบรรดาชนิดของปลาและเนื้อ
ทั้งหลาย ปลาและเนื้อที่เขาให้สุกแต่ละอย่างมีค่ามาก ดังนี้ก็มี. บทว่า
เตสาหํ ปหิโต ทูโต รญฺโ จมฺหิ อิธาคโต ความว่า

ข้าพระพุทธเจ้าเป็นทูต คือเป็นผู้กระทำตามคำสั่งของพระยากาแม้
ทั้งสองนั้น ทั้งพระยากาก็ส่งมาด้วย เพราะฉะนั้น จึงได้มาในที่นี้.
บทว่า ภตฺตุ อปจิตึ กุมฺมิ ความว่า ข้าพระพุทธเจ้านั้นได้มา


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 12:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อย่างนี้แล้ว ย่อมจะกระทำความจงรัก คือสักการะและสัมมานะแก่
เจ้านายของตน. บทว่า นาสายมกรํ วณํ ความว่า ข้าแต่มหาราช
เพราะเหตุนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจึงไม่ย่นย่อ ต่อพระองค์และชีวิตของตน
จึงได้เอาจงอยปากจิกจมูกของคนเชิญเครื่องให้เป็นแผล เพื่อจะทำให้

ภาชนะภัตตาหารตกไป ข้าพระพุทธเจ้าได้กระทำจงรักต่อพระราชา
ของข้าพระพุทธเจ้าแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์จงลงพระอาญาแก่
ข้าพระพุทธเจ้า ตามที่ทรงพระประสงค์เถิด พระพุทธเจ้าข้า.

พระราชาได้สดับคำของกานั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า ก่อนอื่น
พวกเราก็เป็นมนุษย์เหมือนกัน ให้ยศใหญ่แก่คนผู้เป็นมนุษย์ ก็ยัง
ไม่อาจทำความสบายใจแก่เราได้ แม้จะให้บ้านเป็นต้นก็ยังไม่ได้บุคคล
ผู้จะเสียสละชีวิตให้แก่เรา สัตว์นี้เป็นกา ยังสละชีวิตแก่พระราชา

ของตนได้ นับว่าเป็นสัปบุรุษชั้นเยี่ยม มีเสียงไพเราะ เป็นธรรมกถึก
จึงทรงเลื่อมใสในคุณทั้งหลายของกานั้น และทรงบูชากานั้นด้วย
เศวตฉัตร. กานั้นก็บูชาพระราชานั้นแหละด้วยเศวตฉัตรของตนที่ได้
แล้วกล่าวคุณทั้งหลายของพระโพธิสัตว์. พระราชารับสั่งให้เรียก

พระโพธิสัตว์นั้นมาแล้วทรงสดับธรรม ได้ทรงตั้งภัตตาหารตาม
ทำนองเครื่องเสวยของพระองค์ เพื่อพระยากาและประชาบดีแม้ทั้งสอง
นั้น ทรงให้หุงข้าวสุกจากข้าวสารทนานหนึ่งทุกวัน เพื่อพวกกาที่เหลือ
นอกนี้ และพระองค์เองทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรง

ประทานอภัยแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงรักษาศีลห้าเป็นประจำ. อนึ่ง
โอวาทของพระยากาสุปัตต์ ดำเนินไปอยู่ถึง เจ็ดร้อยปี

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
กาเสนาบดีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้ กาสุปัสสาใน
ครั้งนั้น ได้เป็นมารดาพระราหุลในบัดนี้ ส่วนกาสุปัตตะ คือเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุปัตตชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 12:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
บุรุษคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ผุฏฺ€สฺส เม ดังนี้.

ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีบุรุษคนหนึ่งเป็นผู้เดือดร้อนด้วย
โรคผอมเหลือง พวกแพทย์ไม่ยอมรักษา. แม้บุตรและภรรยาของเขา
ก็คิดว่า ใครจะสามารถปฏิบัติพยาบาลผู้นี้ได้. บุรุษผู้นั้นได้มีความ
ดำริดังนี้ว่า ถ้าเราหายจากโรคนี้ เราจักบวช. โดยล่วงไป ๒-๓ วัน

เท่านั้น บุรุษผู้นั้นได้ความสบายเล็กน้อยจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงไปยัง
พระเชตวันมหาวิหาร ทูลขอบรรพชากับพระศาสดา. เขาได้บรรพชา
และอุปสมบทในสำนักของพระศาสดาแล้ว ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุ
พระอรหัต อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรงธรรม-

สภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุรุษผู้มีโรคผอมเหลืองชื่อโน้นคิดว่า
เราหายจากโรคนี้ จักบวช ครั้นหายโรคแล้วจึงบวชและบรรลุ
พระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บุรุษผู้นี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน บัณฑิตทั้งหลายก็กล่าวอย่างนี้ ครั้นหายจากโรค
ผอมเหลืองแล้วบวช ได้ทำความเจริญแก่ตน ดังนี้ แล้วทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัย
แล้ว ได้รวบรวมทรัพย์สมบัติอยู่ ได้เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. พระ-
โพธิสัตว์นั้นคิดว่า เราหายจากโรคนี้แล้วจักบวช จึงกล่าวอย่างนั้น


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ออกมา ได้ความสบายขึ้นมาบ้างจนเป็นผู้ไม่มีโรค จึงเข้าป่าหิมพานต์
บวชเป็นฤาษี ทำสมาบัติและอภิญญาให้เกิดขึ้น แล้วอยู่ด้วยความสุข
ในฌาน คิดว่า เราไม่ได้ความสุขเห็นปานนี้ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้
เมื่อจะเปล่งอุทาน จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า.

เมื่อเราถูกโรคอย่างหนึ่งถูกต้อง ได้เสวย
ทุกขเวทนาอย่างสาหัส อันทุกขเวทนาเบียด
เบียนอยู่ ร่างกายนี้ก็ซูบผอมลงอย่างรวดเร็ว
ดุจดอกไม่ที่ทิ้งตากแดดไว้ที่ทรายฉะนั้น.

รูปร่างอันไม่น่าพอใจ ถึงการนับว่าน่า
พอใจ ที่ไม่สะอาด สมมติว่าเป็นของสะอาด.
เต็มด้วยซากศพต่าง ๆ ปรากฏแก่คนพาลผู้
ไม่พิจารณาเห็นว่าเป็นของน่าพอใจ.

น่าติเตียนกายอันเปื่อยเน่า กระสับกระ-
ส่าย น่าเกลียดไม่สะอาด มีความป่วยไข้เป็น
ธรรมดา เป็นที่ที่หมู่สัตว์ผู้ประมาทหมกมุ่น
อยู่ ย่อมยังหนทางเพื่อเข้าถึงสุคติให้เสื่อมไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฺตเรน ได้แก่ พยาธิ คือ
โรคผอมเหลืองอย่างหนึ่ง ในบรรดาโรค ๙๖ ประเภท. บทว่า โรเคน
ได้แก่ อันได้นามว่าโรคอย่างนี้ เพราะมีการเสียดแทงเป็นสภาวะ.
บทว่า รุปฺปโต แปลว่า เบียดเบียน คือบีบคั้น. บทว่า ปํสุนิ อาตเป

กตํ ความว่า ย่อมซูบผอมไป เหมือนดอกไม้อันละเอียดอ่อน ซึ่ง
บุคคลเอาวางไว้ในที่ร้อน คือ ที่ทรายอันร้อนฉะนั้น. บทว่า อชญฺํ
ชญฺสงฺขาตํ ได้แก่ เป็นของปฏิกูลไม่น่าชอบใจเลย แต่ถึงการ
นับว่าเป็นที่น่าพอใจของพวกคนพาล. บทว่า นานากุณปปริปูรํ

ได้แก่ บริบูรณ์ด้วยซากศพ ๓๒ ชนิด มีผมเป็นต้น. บทว่า ชญฺรูปํ
อปสฺสโต ความว่า ย่อมปรากฎเป็นที่น่าพอใจ คือเป็นของดี มี


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สภาวะเป็นเครื่องบริโภคใช้สอย สำหรับคนผู้เป็นอันธพาลปุถุชนผู้
ไม่เห็นอยู่ คือ สภาวะอันไม่สะอาดที่ท่านประกาศโดยนัยมีอาทิว่า คูถตา
ออกจากนัยน์ตา ดังนี้ ย่อมไม่ปรากฎแก่คนพาลทั้งหลาย. บทว่า
อาตุรํ คือ จับไข้เป็นนิตย์. บทว่า อธิมุจฺฉิตา ได้แก่ สยบหมก

มุ่นด้วยความสยบเพราะกิเลส. บทว่า ปชา ได้แก่ ปุถุชนผู้บอดเขลา.
หาเปนฺติ มคฺคํ สุคตูปปตฺติยา ความว่า หมู่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้
ข้องอยู่ในกายอันเปื่อยเน่านี้ ทำหนทางอบายให้เต็ม ทำหนทางเพื่อ
เข้าถึงสุคติอันต่างด้วยเทวดาและมนุษย์ ให้เสื่อมไป.

พระมหาสัตว์กำหนดพิจารณาภาวะอันไม่สะอาด และภาวะอัน
กระสับกระส่ายเป็นนิตย์ โดยประการต่างๆ ด้วยประการดังนี้อยู่ เบื่อ
หน่ายในกาย จึงเจริญพรหมวิหาร ๔ จนตลอดชีวิต ได้เป็นผู้มี
พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอัน
มากได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น. พระดาบสในครั้งนั้น คือเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากายนิพพินทชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โกยํ
วินฺทุสฺสโร วคฺคุ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น เมื่อพระเทวทัตเสื่อมลาภสักการะ พระ-
โกกาลิกะจึงเข้าไปยังตระกูลทั้งหลาย กล่าวคุณของพระเทวทัตว่า
พระเถระผู้มีนามว่าเทวทัต เกิดในราชวงศ์แห่งพระเจ้าโอกกากราช
โดยสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้ามหาสมมตราช เจริญในขัตติยวงศ์อัน
ไม่ปะปน ทรงพระไตรปิฎก ได้ฌาน มีถ้อยคำไพเราะ เป็นธรรม-

กถึก ท่านทั้งหลายจงให้ จงกระทำ แก่พระเถระเถิด. ฝ่ายพระเทวทัต
ก็กล่าวคุณของพระโกกาลิกะว่า พระโกกาลิกะออกบวชจากตระกูล
พราหมณ์ผู้มีชื่อเสียง เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ท่านทั้งหลายจงให้
จงกระทำ แก่พระโกกาลิกะเถิด. พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้น

ต่างกล่าวคุณของกันและกัน เที่ยวฉันอยู่ในเรือนแห่งตระกูลทั้งหลาย
ด้วยประการดังนี้. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันในโรง
ธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะต่าง
กล่าวถ้อยคำพรรณนาคุณอันไม่มีจริงของกันและกัน แล้วเที่ยวฉัน

อาหารอยู่ พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบ-
ทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น
ที่พระเทวทัตกับพระโกกาลิกะนั้นกล่าวคำพรรณนาคุณอันไม่เป็นจริง

แล้วบริโภคภัตตาหาร. แม้ในกาลก่อนพระเทวทัตกับพระโกกาลิกะก็
บริโภคแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่า
ชมพู่แห่งหนึ่ง. ในป่าชมพู่นั้น มีกาตัวหนึ่งจับอยู่ที่กิ่งชมพู่ กินผล
ชมพู่สุกๆ ครั้งนั้น มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเดินมา แหงนดูเห็นกา
คิดว่า ถ้ากระไร เรากล่าวคุณอันไม่เป็นจริงของกานี้ จะได้กินชมพู่
สุก จึงเมื่อจะกล่าวคุณของกานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ใครนี่มีเสียงอันไพเราะเพราะพริ้งอุดม
กว่าสัตว์ผู้มีเสียงเพราะทั้งหลาย จับอยู่ที่กิ่ง
ชมพู่ ส่งเสียงร้องไพเราะดุจลูกนกยูงฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินฺทุสฺสโร ความว่า ประกอบ
ด้วยเสียงหยดย้อย คือ ลมุนลมัย กลมกล่อม. บทว่า วคฺคุ ได้แก่
มีเสียงทั้งอ่อนทั้งเพราะ. บทว่า อจฺจุโต ได้แก่ ไม่เคลื่อนที่ คือ
จับนิ่งอยู่. ด้วยบทว่า โมรจฺฉาโปว กุชฺชติ นี้ สุนัขจิ้งจอกกล่าวว่า
นั่นชื่ออะไร ส่งเสียงร้องเป็นที่น่าเจริญใจ ดุจนกยูงรุ่นหนุ่มฉะนั้น

ลำดับนั้น กาเมื่อจะสรรเสริญตอบสุนัขจิ้งจอกนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-
กุลบุตรย่อมรู้จักสรรเสริญกุลบุตร ดู-
ก่อนสหายผู้มีผิวพรรณคล้ายลูกเสือโคร่ง
เชิญท่านบริโภคเถิด เรายอมให้แก่ท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยคฺฆจฺฉาปสทิสวณฺณ ความว่า
ท่านย่อมปรากฎแก่ข้าพเจ้า เหมือนมีวรรณะเสมอกับลูกเสือโคร่ง
ดูก่อนท่านผู้มีวรรณะเช่นกับลูกเสือโคร่งผู้เจริญ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า
จึงขอกล่าวกะท่าน. บทว่า ภุญฺช สมฺม ททามิ เต ความว่า
ดูก่อนสหาย ท่านจงกินผลชมพู่สุกจนพอแก่ความต้องการเถิด เรา
ยอมให้ท่าน.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 81, 82, 83, 84, 85, 86, 87 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร