วันเวลาปัจจุบัน 23 ก.ค. 2025, 20:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 76, 77, 78, 79, 80, 81, 82 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระนครนี้ ต่อเวลายังวัน ท่านพาภรรยาของตนเที่ยวไปในป่า เที่ยว
เล่นรื่นเริงตลอดวัน. ครั้นเมื่อคนเข็ญใจกล่าวว่า ไม่ใช่ภรรยาฉัน
ดอกนาย หญิงคนนี้เป็นน้องสาวของฉันเอง นายประตูนั้นจึงมีความ
ปริวิตกดังนี้ว่า เราเอาน้องสาวเขามาพูดว่าเป็นภรรยา กระทำกรรม
อันหาเหตุมิได้หนอ และเราก็รักษากุรุธรรม ด้วยเหตุนั้น ศีลของ

เราจะพึงแตกทำลายแล้ว. นายประตูนั้นจึงบอกเรื่องราวนั้นแล้วกล่าว
ว่า เรามีความรังเกียจในกุรุธรรมด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น เราไม่
อาจให้แก่พวกท่านได้. ลำดับนั้น ทูตทั้งหลายจึงกล่าวกะนายประตู
นั้นว่า คำนั้นท่านกล่าวตามความสำคัญอย่างนั้น ในข้อนี้ ความแตก

ทำลายแห่งศีลจึงไม่มีแก่ท่าน ก็ท่านรังเกียจด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่า
นี้ จักกระทำสัมปชานมุสาวาทกล่าวเท็จทั้งรู้ในกุรุธรรมได้อย่างไร
แล้วถือเอาศีลในสำนักของนายประตูแม้นั้น จดจารึกลงในแผ่น
สุพรรณบัฏ.

ก็แหละ ทูตทั้งหลายอันนายประตูนั้นกล่าวว่า แม้เมื่อเป็น
อย่างนั้น ศีลก็ยังไม่ทำให้เรายินดีปลื้มใจได้ แต่นางวรรณทาสีรักษา
ได้ดี พวกท่านจงถือเอาในสำนักของนางวรรณทาสีแม้นั้นเถิด จึงพา

กันเข้าไปหานางวรรณทาสีแม้นั้นแล้วขอกุรุธรรม. ฝ่ายนางวรรณทาสี
ก็ปฏิเสธโดยนัยอันมีในหนหลังนั่นแหละ. ถามว่า เพราะเหตุไร ?
ตอบว่า เพราะได้ยินว่า ท้าวสักกะจอมเทวดาทรงดำริว่า จักทดลอง
ศีลของนาง จึงแปลงเพศเป็นมาณพน้อยมาพูดว่าฉันจักมาหาแล้วให้
ทรัพย์ไว้พันหนึ่ง กลับไปยังเทวโลก แล้วไม่มาถึง ๓ ปี. นางวรรณ-


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ทาสีนั้นไม่รับสิ่งของแม้มาตรว่าหมากพลูจากมือชายอื่นถึง ๓ ปี เพราะ
กลัวศีลของตนขาด. นางยากจนลงโดยลำดับ จึงคิดว่า เมื่อชายผู้ให้
ทรัพย์พันหนึ่งแก่เราแล้วไปเสีย ไม่มาถึง ๓ ปี เราจึงยากจน ไม่
อาจสืบต่อชีวิตต่อไปได้ จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราควรบอกแก่มหาอำมาตย์
ผู้วินิจฉัยความแล้วรับเอาค่าใช้จ่าย. นางจึงไปศาลกล่าวฟ้องว่า เจ้า

นาย บุรุษผู้ให้ค่าใช้จ่ายแก่ดิฉันแล้วไปเสีย ๓ ปีแล้ว ดิฉันไม่ทราบ
ว่าเขาตายแล้วหรือยังไม่ตาย ดิฉันไม่อาจสืบต่อเลี้ยงชีวิตอยู่ได้ เจ้า
นาย ดิฉันจะทำอย่างไร. มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดีกล่าวตัดสิน
ว่า เมื่อเขาไม่มาถึง ๓ ปี ท่านจักทำอะไร ตั้งแต่นี้ท่านจงรับค่าใช้จ่าย

ได้. เมื่อนางวรรณทาสีนั้นได้รับการวินิจฉัยตัดสินแล้ว พอออกจาก
ศาลที่วินิจฉัยเท่านั้น บุรุษคนหนึ่งก็น้อมนำห่อทรัพย์พันหนึ่งเข้าไป
ให้. ในขณะที่นางเหยียดมือจะรับ ท้าวสักกะก็แสดงพระองค์ให้เห็น.
นางพอเห็นท้าวสักกะนั้นเท่านั้นจึงหดมือพร้อมกับกล่าวว่า บุรุษผู้ให้
ทรัพย์แก่เราพันหนึ่งเมื่อ ๓ ปีมาแล้ว ได้กลับมาแล้ว ดูก่อนพ่อ เรา

ไม่ต้องการกหาปณะของท่าน. ท้าวสักกะจึงแปลงร่างกายของพระองค์
ทันที ได้ประทับยืนอยู่ในอากาศเปล่งแสงโชติช่วงประดุจดวงอาทิตย์
อ่อนๆ ฉะนั้น. พระนครทั้งสิ้นพากันตื่นเต้น. ท้าวสักกะได้ประทาน
โอวาทในท่ามกลางมหาชนว่า ในที่สุด ๓ ปีมาแล้ว เราได้ให้ทรัพย์
พันหนึ่ง เนื่องด้วยจะทดลองนางวรรณทาสีนี้ ท่านทั้งหลายชื่อว่า
เมื่อจะรักษาศีล จงเป็นผู้เห็นปานนี้รักษาเถิด แล้วทรงบรรดาลให้


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นิเวศน์ของนางวรรณทาสีเต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ทรงอนุศาสน์
พร่ำสอนนางวรรณทาสีนั้นว่า เธอจงเป็นผู้ไม่ประมาทตั้งแต่บัดนี้ไป
แล้วได้เสด็จไปยังเทวโลกนั่นแล. เพราะเหตุนี้ นางวรรณทาสีนั้นจึง
ปฏิเสธห้ามปรามทูตทั้งหลายว่า เรายังมิได้เปลื้องค่าจ้างที่รับไว้ ยื่น
มือไปรับค่าจ้างที่ชายอื่นให้ ด้วยเหตุนี้ ศีลจึงทำเราให้ยินดีปลื้มใจไม่

ได้ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่อาจให้แก่ท่านทั้งหลาย. ลำดับนั้น ทูต
ทั้งหลายจึงกล่าวกะนางวรรณทาสีนั้นว่า ศีลเภทศีลแตกทำลาย ย่อม
ไม่มีด้วยเหตุสักว่ายื่นมือ ชื่อว่าศีลย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่งด้วยประการ
อย่างนี้ แล้วรับเอาศีลในสำนักของนางวรรณทาสีแม้นั้น จดจารึกลง
ในแผ่นสุพรรณบัฏ.

ทูตทั้งหลายจารึกศีลที่ชนทั้ง ๑๑ คนนั้นรักษา ลงในแผ่น
สุพรรณบัฏ ด้วยประการดังนี้แล้ว ได้ไปยังทันตปุรนคร ถวายแผ่น
สุพรรณบัฏแก่พระเจ้ากาลิงคราช แล้วกราบทูลประพฤติเหตุนั้นให้
ทรงทราบ. พระราชาเมื่อทรงประพฤติกุรุธรรมนั้น ทรงบำเพ็ญศีล ๕

ให้บริบูรณ์. ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงในแว่นแคว้นกาลิงครัฐทั้งสิ้น
ภัยทั้ง ๓ ก็สงบระงับ. และแว่นแคว้นก็ได้มีความเกษมสำราญ มี
ภักษาหารสมบูรณ์. พระโพธิสัตว์ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้นตราบ
เท่าพระชนมายุ พร้อมทั้งบริวารได้ทำเมืองสวรรค์ให้เต็มบริบูรณ์.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจ ในเวลาจบอริยสัจ บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวก
ได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็น
พระอรหันต์. แล้วทรงประชุมชาดกว่า :-

นางวรรณทาสีหญิงคณิกา ได้เป็นนาง
อุบลวรรณา นายประตูในครั้งนั้น ได้เป็น
พระปุณณะ รัชชุคาหกะอำมาตย์ผู้รังวัด ได้
เป็นพระกัจจายนะ โทณมาปกะอำมาตย์ผู้
ตวงข้าว ได้เป็นพระโมคคัลลานะ เศรษฐี
ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร นายสารถี

ได้เป็นพระอนุรุทธะ พราหมณ์ ได้เป็นพระ-
กัสสปเถระ พระมหาอุปราช ได้เป็นพระ-
นันทะผู้บัณฑิต พระมเหสีในครั้งนั้น ได้
เป็นราหุลมารดา พระชนนีในครั้งนั้น ได้
เป็นพระมายาเทวี พระเจ้ากุรุราชโพธิสัตว์
ได้เป็นเราตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำ
ชาดกด้วยประการฉะนี้.
จบ อรรถกถากุรุธรรมชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาโรมชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ความตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า วสฺสานิ ปญฺาส สมาธิกานิ ดังนี้.
เรื่องปัจจุบันมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น ส่วนเรื่องอดีตมีดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนกพิราบ อันนกพิราบเป็นอัน
มากห้อมล้อมสำเร็จการอยู่ในถ้ำแห่งภูเขาในป่า. มีดาบสรูปหนึ่งเป็น
ผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยอาจาระมรรยาท เข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่ง
สร้างอาศรมบทอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของนกพิราบเหล่านั้น สำเร็จ

การอยู่ในบรรพตคูหา. พระโพธิสัตว์มายังสำนักของดาบสในระหว่างๆ
ไม่ขาด ฟังสิ่งที่ควรฟัง. พระดาบสอยู่ในที่นั้นช้านานแล้วหลีกจากไป.
ครั้งนั้น ชฎิลโกงคนหนึ่งได้มาสำเร็จการอยู่ในบรรพตคูหานั้น.
ฝ่ายพระโพธิสัตว์อันนกพิราบทั้งหลายแวดล้อม เข้าไปหาชฎิลโกงนั้น

ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร เที่ยวไปในอาศรมบทหาเหยื่ออยู่ในที่ใกล้
ซอกเขา ในเวลาเย็นจึงบินไปยังที่อยู่ของตน. ดาบสโกงอยู่ในที่นั้น
ได้ ๕๐ กว่าปี. ครั้นวันหนึ่ง ชาวบ้านปัจจันตคามได้ปรุงเนื้อ
นกพิราบถวายดาบสโกงนั้น. ดาบสโกงนั้นติดใจด้วยตัณหาความอยาก

ในรสแห่งเนื้อของนกพิราบนั้น จึงถามว่า นี่ชื่อว่าเนื้ออะไร ได้ฟังว่า
เนื้อนกพิราบ จึงคิดว่านกพิราบจำนวนมากมายังอาศรมบทของเรา
เราฆ่านกพิราบเหล่านั้นกินเนื้อจึงจะควร. ชฎิลโกงนั้นจึงนำเอา
ข้าวสาร เนยใส นมส้ม นมสด และพริกเป็นต้นมาเก็บไว้ส่วน


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 21:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้างหนึ่ง เอาชายจีวรคลุมฆ้อนนั่งคอยดูพวกนกพิราบจะมาอยู่ที่ประตู
บรรณศาลา. พระโพธิสัตว์ห้อมล้อมด้วยนกพิราบบินมา เห็นกิริยา
ชั่วร้ายของชฎิลโกงนั้น จึงคิดว่า ดาบสชั่วร้ายนี้นั่งด้วยอาการ
อย่างหนึ่งผิดสังเกต ชรอยจะได้กินเนื้อสัตว์ผู้มีชาติเสมอกับเรา

บ้างแล้วกระมัง เราจักกำหนดจับดาบสโกงนั้น จึงยืนอยู่ในที่ใต้ลม
สูดดมกลิ่นตัวของดาบสนั้น รู้ได้ว่า ดาบสนี้ประสงค์จะฆ่าพวกเรา
กินเนื้อ ไม่ควรไปยังสำนักของดาบสนั้น แล้วพานกพิราบทั้งหลาย
ถอยกลับออกมา. ดาบสเห็นนกพิราบนั้นไม่มาจึงคิดว่า เราควรกล่าว
มธุรกถาถ้อยคำอันไพเราะกับนกพิราบเหล่านั้นแล้วฆ่านกพิราบที่เข้า
ไปใกล้ด้วยความคุ้นเคยแล้วกินเนื้อ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา
เบื้องต้นว่า :-

ดูก่อนปักษีผู้มีขนปีก เราอยู่ในถ้ำแห่ง
ภูเขาศิลามากว่า ๕๐ ปี นกพิราบทั้งหลาย
ก็มิได้รังเกียจ มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง ย่อม
พากันมาสู่บ่วงมือของเราในกาลก่อน. ดูก่อน
ท่านผู้มีอวัยวะคด บัดนี้ นกพิราบเหล่านั้น
คงจะเห็นเหตุอะไรกระมัง จึงเป็นผู้ขวน

ขวายพากันไปเสพอาศัยซอกเขาอื่น ย่อม
ไม่สำคัญเราเหมือนเมื่อก่อนหนอ หรือว่า
นกเหล่านี้พลัดพรากไปนานจึงจำเราไม่ได้
หรือนกเหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้จึงไม่เข้าใกล้
เรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมาธิกานิ ตัดบทเป็น สม
อธิกานิ แปลว่า เกินจำนวน ๕๐ ปี. บทว่า โรมก


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แปลว่า ผู้มีขนงอกขึ้น. ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า ปาราวตะ
เพราะมีเท้าแดง มีวรรณะเสมอด้วยแก้วประพาฬอันเจียรไนดีแล้ว.
บทว่า อสงฺกมานา ความว่า เมื่อเราอยู่ในบรรพตคูหานี้เกิน ๕๐ ปี
อย่างนี้ นกเหล่านี้ไม่ได้กระทำความรังเกียจเราแม้แต่วันเดียว เป็น
ผู้มีจิตเยือกเย็นอย่างยิ่ง เมื่อก่อนย่อมมาสู่บ่วงมือของเราอันโอกาส

ช่องว่างที่เหยียดมือออก. บทว่า เตทานิ ตัดบทออกเป็น เต อิทานิ
แปลว่า บัดนี้ นกเหล่านั้น. ดาบสโกงเรียกพระโพธิสัตว์ว่า วงฺกงฺค
ผู้มีอวัยวะคด ก็นกแม้ทุกชนิด เรียกได้ว่า วังกังคะ ผู้มีอวัยวะคด
เพราะในเวลาบินทำคอเอี้ยวบินไป. บทว่า กิมตฺถํ ความว่า เห็น
เหตุอะไร. บทว่า อุสฺสุกฺกา ได้แก่ เป็นผู้ระอาใจ. บทว่า

คิริกนฺทรํ ได้แก่ ซอกเขาอื่นจากภูเขา. บทว่า ยถา ปุเร ความว่า
เมื่อก่อนนกเหล่านี้ย่อมสำคัญเราว่าเป็นที่เคารพ เป็นที่รัก ฉันใด
บัดนี้ย่อมไม่สำคัญ ฉันนั้นหนอ ท่านแสดงความหมายว่า นกเหล่านี้
เห็นจะสำคัญเราอย่างนี้ว่า แม้ดาบสที่เคยอยู่ในที่นี้มาก่อน เป็นคน

หนึ่ง ดาบสนี้ก็เป็นอีกคนหนึ่ง คือคนละคนกัน. ด้วยบทว่า
จิรมฺปวุฏฺ€า อถวา น เต อิเม นี้ ดาบสโกงถามว่า นกเหล่านี้
พลัดพรากไปนานเพราะระยะกาลนานล่วงไปจึงได้มา จึงจำเราไม่ได้ว่า
ดาบสนี้ ก็คือดาบสรูปนั้นแหละ หรือว่านกเหล่าใดมีจิตสนิทในเรา
นกเหล่านั้นไม่ใช่นกเหล่านี้ คือเป็นนกพวกอื่นจรมา. ด้วยเหตุนั้น
นกเหล่านี้จึงไม่เข้ามาใกล้เรา.

พระมหาสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงหันกลับมายืนกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
พวกเราเป็นผู้ไม่หลงใหล รู้อยู่ว่าท่าน
ก็คือท่านนั่นแหละ พวกเรานั้นก็ไม่ใช่นก
พวกอื่น ก็แต่ว่าจิตของท่านคิดประทุษร้าย
ในชนนี้ ดูก่อนอาชีวก เพราะเหตุนั้น
พวกเราจึงหวาดกลัวท่าน.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มยํ สมฺมุฬฺหา พวกเรา
เป็นผู้หลงใหล คือประมาทมัวเมาก็หามิได้ บทว่า จิตฺตญฺจ เต
อสฺมิ ชเน ปทุฏฺ€ํ ความว่า ท่านก็คือท่าน แม้เราก็คือนกเหล่านั้น
ยังจำท่านได้ ก็อนึ่งแล จิตของท่านประทุษร้ายในชน คือเกิดจิต
เพื่อจะฆ่าพวกเรา. บทว่า อาชีวก ได้แก่ ดูก่อนดาบสชั่ว ผู้บวช
เพราะเหตุต้องการเลี้ยงชีพ. บทว่า เตน ตํ อุตฺตสาม ความว่า
เพราะเหตุนั้น เราจึงสดุ้งกลัวท่านไม่เข้าใกล้.

ดาบสโกงคิดว่า นกเหล่านี้รู้จักเราแล้วจึงขว้างฆ้อนไป แต่ผิด
จึงกล่าวว่า จงไปเถิด นกผู้เจริญ เราเป็นผู้ผิดเสียแล้ว. ลำดับนั้น
พระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะดาบสโกงนั้นว่า เบื้องต้น ท่านผิดเราก่อน
แต่ท่านจะไม่ผิดพลาดอบายทั้ง ๔ ถ้าท่านจักอยู่ในที่นี้ต่อไป เราจัก
บอกชาวบ้านว่า ดาบสนี้เป็นโจร แล้วให้มาจับท่านไป ท่านจงรีบหนี
ไปเสีย ครั้นคุกคามดาบสนั้นแล้วก็หลีกไป. ฝ่ายชฏิลโกงไม่อาจอยู่
ในที่นั้น ได้ ไปที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะ ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้เป็น
เทวทัตในบัดนี้ ดาบสผู้มีศีลรูปก่อนในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร
ในบัดนี้ ส่วนหัวหน้านกพิราบในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโรมชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ลิงโลเลตัวหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กิมตฺถมภิสนฺธาย
ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีลิงโลเลที่เขาเลี้ยงไว้ตัวหนึ่ง ใน
ตระกูลหนึ่ง ได้ไปยังโรงช้าง นั่งบนหลังช้างผู้มีศีลตัวหนึ่งถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะ และเดินไปเดินมาบนหลัง. ช้างก็ไม่ทำอะไรเพราะตนมีศีล
ถึงพร้อมด้วยความอดทน. ครั้นวันหนึ่งลูกช้างดุตัวหนึ่ง ได้ยืนอยู่
ในที่ของช้างเชือกนั้น. ลิงได้ขึ้นหลังช้างดุด้วยสำคัญว่า ช้างนี้ก็คือ

ช้างนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น ลูกช้างดุนั้น เอางวงจับลิงนั้นไว้ด้วย
ความรวดเร็วแล้วฟาดลงที่พื้นดิน เอาเท้าเหยียบขยี้ให้แหลกลานไป.
ประพฤติเหตุนั้นได้ปรากฏแก่หมู่ภิกษุสงฆ์. ครั้นวันหนึ่งภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า
ลิงโลเลขึ้นหลังช้างดุ ด้วยสำคัญว่าเป็นช้างผู้มีศีล เมื่อเป็นเช่นนั้น

ช้างดุเชือกนั้นก็ทำให้ลิงโลเลตัวนั้นถึงความสิ้นชีวิต. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกัน
ด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า ด้วยเรื่อง
ชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้นที่ลิงโลเล

ตัวนั้นเป็นผู้มีปกติเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้วก็มีปกติ
เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดกระบืออยู่ในหิมวันตประเทศ
พอเจริญวัยก็สมบูรณ์ด้วยกำลังแรง มีร่างกายใหญ่ ท่องเที่ยวไปตาม
เชิงเขา เงื้อมเขา ซอกเขาและป่าทึบ เห็นโคนไม้อันผาสุกสำราญ
แห่งหนึ่ง เที่ยวหากินอิ่มแล้ว ในตอนกลางวันได้มายืนพักอยู่ที่


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โคนไม้นั้น. ครั้งนั้นมีลิงโลนตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ แล้วขึ้นบนหลัง
ของกระบือนั้น ถ่ายอุจจาระปัสสาวะรด จับเขาทั้งสองโหนจับหาง
แกว่งไปแกว่งมาเล่น. พระโพธิสัตว์มิได้ใส่ใจอนาจารนั้น ของลิงโลน
ตัวนั้น เพราะประกอบด้วยขันติ เมตตาและความเอ็นดู. ลิงกระทำ
อย่างนั้นนั่นแลบ่อยๆ. ครั้นวันหนึ่ง เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นไม้นั้น

ยืนอยู่ที่ลำต้นของต้นไม้นั้น กล่าวกะกระบือโพธิสัตว์นั้นว่า ดูก่อน
พระยากระบือ เพราะเหตุไร ท่านจึงอดกลั้นการดูหมิ่นของลิงชั่ว
ตัวนี้ ท่านจงเกียดกันมันเสีย เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงได้กล่าว
๒ คาถาแรกว่า :-

ท่านอาศัยเหตุอะไรจึงอดกลั้นทุกข์นี้
ต่อลิงผู้มีจิตกลับกลอก มักประทุษร้ายมิตร
ประหนึ่งเจ้าของผู้ให้ความใคร่ทั้งปวง. ท่าน
จงขวิดมันด้วยเขา จงเหยียบเสียด้วยเท้า
ถ้าไม่ห้ามปรามมันเสีย สัตว์ทั้งหลายที่โง่
เขลาก็จะเบียดเบียนร่ำไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมตฺถมภิสนฺธาย ได้แก่ อาศัย
เหตุอะไรหนอ คือเห็นอะไรอยู่. บทว่า ทุพฺภิโน แปลว่า ผู้มัก
ประทุษร้ายมิตร. บทว่า สพฺพกามทุหสฺเสว ได้แก่ ดุจเป็นเจ้าของ
ผู้ให้สิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง. บทว่า ติติกฺขสิ แปลว่า อดกลั้น. บทว่า

ปทสาว อธิฏฺ€ห ความว่า ท่านจงเหยียบมันด้วยเท้า และขวิด
มันด้วยปลายเขาอันคมกริบ โดยประการที่มันจะตายอยู่ในที่นี้ทีเดียว
ด้วยบทว่า ภิยฺโย พาลา นี้ ท่านแสดงว่า ก็ถ้าท่านจะไม่ห้าม
ปรามมัน สัตว์ที่โง่เขลา คือสัตว์ที่ไม่รู้จะพึงข่มขี่ ย่ำยี เบียดเบียน
บ่อยๆ.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านรุกขเทวดา ถ้าเรา
เป็นผู้ยิ่งกว่าลิงตัวนี้ โดยชาติ โคตร และวัสสายุกาลเป็นต้น จักไม่
อดกลั้นโทษของลิงตัวนี้ไซร้ มโนรถความปรารถนาของเรา จักถึง
ความสำเร็จได้อย่างไร ก็ลิงตัวนี้เมื่อสำคัญแม้ผู้อื่นว่าเหมือนดังเรา
จักกระทำอนาจารอย่างนี้ แต่นั้น มันจักกระทำอย่างนี้แก่กระบือ
ดุร้ายเหล่าใด กระบือดุร้ายเหล่านั้นแหละจักฆ่ามันเสีย การที่กระบือ
ตัวอื่นฆ่าลิงตัวนี้นั้น เราก็จักพ้นจากทุกข์และปาณาติบาต แล้ว
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เมื่อลิงตัวนี้สำคัญกระบือตัวอื่นเป็นดุจ
ข้าพเจ้าจักกระทำอนาจารอย่างนี้แก่กระบือ
ตัวอื่น กระบือเหล่านั้นจักฆ่ามันเสียในที่นั้น
อันนั้นความหลุดพ้นจักมีแก่ข้าพเจ้า.

ก็ต่อเมื่อล่วงไป ๒-๓ วัน พระโพธิสัตว์ได้ไปอยู่ในที่อื่น.
กระบือดุตัวหนึ่งได้มายืนอยู่ที่โคนไม้ต้นนั้น. ลิงชั่วจึงขึ้นหลังกระบือดุ
ตัวนั้นด้วยสำคัญว่า กระบือตัวนี้ ก็คือกระบือตัวนั้นแหละ แล้ว
กระทำอนาจารอย่างนั้นนั่นแหละ. ลำดับนั้น กระบือดุตัวนั้นสลัด
ลิงนั้นให้ตกลงบนพื้นดิน เอาเขาขวิดที่หัวใจเอาเท้าทั้ง ๔ เหยียบ
ให้ละเอียดเป็นจุรณวิจุรณ.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดกว่า กระบือดุร้ายในครั้งนั้น ได้
เป็นช้างดุร้ายตัวนี้ในบัดนี้ ลิงชั่วช้าในครั้งนั้น ได้เป็นลิงตัวนี้
ในบัดนี้ ส่วนพระยากระบือในครั้งนั้นคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหิสชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชื่อว่าปัณฑกะ และโลหิตกะ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำ
เริ่มต้นว่า ยถา มาณวโก ปนฺเถ ดังนี้.

ได้ยินว่า บรรดาภิกษุฉัพพัคคีย์ทั้งหลาย พระฉัพพัคคีย์ ๒ รูป
คือ พระเมตติยะ และพระภุมมชกะ อาศัยนครราชคฤห์อยู่.
พระฉัพพัคคีย์ ๒ รูป คือพระอัสสชิ และพระปุนัพพสุกะ
เข้าไปอาศัยกิฏาคีรีวิหารอยู่. ส่วนพระฉัพพัคคีย์ ๒ รูปนี้ คือ
พระปัณฑกะ และพระโลหิตกะ. เข้าไปอาศัยนครสาวัตถีอยู่.

เธอทั้งสองนั้นรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ระงับแล้วโดยชอบธรรม. ซ้ำเป็น
ผู้สนับสนุนพวกภิกษุผู้เป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบ กล่าวคำมีอาทิว่า
อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านใช่ว่าจะเลวกว่าภิกษุเหล่านี้โดยชาติ โคตร
ศีลหรือวัตรเป็นต้น ก็หามิได้ ถ้าท่านทั้งหลายสละการยึดถือของ

ตนเสีย ภิกษุเหล่านี้ก็จักข่มขี่พวกท่านหนักขึ้น แล้วชักชวน
ไม่ให้ละวางการยึดถือ. ด้วยเหตุนั้น ความหมายมั่น และการทะเลาะ
วิวาทจึงเป็นไปอยู่. ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุนี้

แล้วรับสั่งให้เรียกพระปัณฑกะและพระโลหิตกะมาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอรื้อฟื้นอธิกรณ์แม้ด้วยตนเอง ทั้งยัง
ไม่ให้ภิกษุเหล่าอื่นปล่อยวางการยึดถือ จริงหรือ ? เมื่อพระปัณฑกะ
และพระโลหิตกะทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็เมื่อเป็นอย่างนั้น การกระทำของพวกเธอ ย่อมเป็นเหมือนการ
กระทำของนกกระไน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่งในหมู่บ้านแคว้น
กาสีแห่งหนึ่ง พอเจริญวัยแล้ว ไม่เลี้ยงชีวิตด้วยกสิกรรมและพาณิช-
กรรมเป็นต้น แต่รวบรวมพวกโจร ๕๐๐ เป็นหัวหน้าโจรเหล่านั้น
กระทำโจรกรรม เช่นปล้นคนเดินทางและตัดช่องย่องเบาเป็นต้น

เลี้ยงชีวิต. ในกาลนั้น มีกฎุมพีคนหนึ่งในเมืองพาราณสี ให้ทรัพย์
พันกหาปณะแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป แต่ยังไม่ได้เอากลับคืน
มา ก็ตายเสียก่อน. ครั้นในกาลต่อมา ภรรยาของกฎุมพีนั้น ป่วย
เป็นไข้ใกล้จะตาย จึงเรียกบุตรมาบอกว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าให้

ทรัพย์พันหนึ่งแก่ชาวชนบทคนหนึ่ง ยืมไป ยังไม่ได้ให้นำคืนมา
ก็ตายเสียก่อน ถ้าแม้แม่จักตายไปเขาก็จักไม่ให้เจ้า ไปเถิดเจ้า เมื่อ
แม่ยังมีชีวิตอยู่ เจ้าจงให้นำทรัพย์พันกหาปณะนั้นมาเก็บไว้. บุตรนั้น
รับคำแล้วไปในที่นั้นได้กหาปณะมา. ลำดับนั้น มารดาของเขาก็กระทำ

กาลกิริยาตายไป เพราะความรักบุตร จึงบังเกิดเป็นสุนัขจิ้งจอกโดย
อุปปาติกะกำเนิดอยู่ ณ ที่ใกล้ทางมาของบุตรนั้น. ในกาลนั้น หัวหน้า
โจรนั้น เมื่อจะปล้นคนเดินทาง จึงพร้อมด้วยบริวารยืนอยู่ใกล้หนทาง
นั้น. ลำดับนั้น นางสุนัขจิ้งจอกนั้น เมื่อบุตรมาถึงปากดง จึงคุ้ย

หนทางห้ามซ้ำๆ ซากๆ อันเป็นสัญญาณให้รู้ดังนี้ว่า ดูก่อนพ่อ เจ้า
อย่าเข้าดงเลย พวกโจรตั้งซุ่มอยู่ที่นั้น พวกมันจักฆ่าเจ้าแล้วยึดเอา
กหาปณะไป. บุตรนั้นไม่รู้เหตุการณ์อันนั้นคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอก


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กาลกิณีตัวนี้มาขุดคุ้ยหนทางเรา จึงหยิบก้อนดินนั้นไล่มารดาให้หนีไป
แล้วเดินทางไปยังดง. ลำดับนั้น นกกระไนตัวหนึ่งบินบ่ายหน้า
ไปทางโจรร้องว่า บุรุษผู้นี้ มีทรัพย์พันกหาปณะอยู่ในมือ. พวกท่าน
จงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะไว้. มาณพไม่รู้เหตุที่นกกระไนนั้น
กระทำ จึงคิดว่า นกตัวนี้ เป็นนกมงคล บัดนี้ ความสวัสดีจักมี

แก่เรา. จึงประคองอัญชลีกล่าวว่า ร้องเถอะนาย ร้องเถอะนาย.
พระโพธิสัตว์เป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เห็นกิริยาของสัตว์ทั้ง
สองนั้นแล้วจึงคิดว่า นางสุนัขจิ้งจอกนี้ คงจะเป็นมารดาของบุรุษ
ผู้นี้ ด้วยเหตุนั้นจึงห้ามปราม เพราะกลัวว่า พวกโจรจักฆ่าบุรุษผู้นี้

แล้วยึดเอากหาปณะไป ส่วนนกกระไนนี้ คงจะเป็นศัตรูด้วยเหตุนั้น
มันจึงร้องบอกว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้นี้แล้วยึดเอากหาปณะ แต่
บุรุษนี้ ไม่รู้ความหมายนี้ คุกคามมารดาผู้ปรารถนาประโยชน์ให้หนี
ไป ประคองอัญชลีแก่นกกระไนผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ด้วยความ
เข้าใจว่า เป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา โอหนอ บุรุษนี้เป็นคนเขลา.

ก็การถือเอาทรัพย์ของผู้อื่น แห่งพระโพธิสัตว์แม้ผู้เป็นมหาบุรุษอย่างนี้
ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการถือปฏิสนธิอันไม่สม่ำเสมอ. บางอาจารย์กล่าว
ว่า เพราะโทษแห่งดาวนักขัตฤกษ์ ดังนี้ก็มี. มาณพเดินทางมาถึง
ระหว่างแดนแห่งพวกโจร. พระโพธิสัตว์ให้จับมาณพนั้น แล้วถามว่า
เจ้าเป็นชาวเมืองไหน ? มาณพกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นชาวเมือง


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พาราณสี. พระโพธิสัตว์. เจ้าไปไหนมา ? มาณพ. ทรัพย์พันกหาปณะ
ที่ควรจะได้ มีอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ไปที่หมู่บ้านนั้นมา.
พระโพธิสัตว์. ก็ทรัพย์พันกหาปณะนั้น เจ้าได้มาแล้วหรือ ? มาณพ.
ได้มาแล้วขอรับ. พระโพธิสัตว์. ใครส่งเจ้าไป. ? มาณพ. นาย บิดา
ของข้าพเจ้าตายแล้ว ฝ่ายมารดาของข้าพเจ้าก็ป่วยไข้ มารดาสำคัญว่า

เมื่อเราตายไป บุตรนี้จักไม่ได้ทรัพย์ คืน จึงส่งข้าพเจ้าไป. พระ-
โพธิสัตว์. บัดนี้ เจ้ารู้ความเป็นไปแห่งมารดาของเจ้าไหม ? มาณพ.
ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าไม่รู้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า มารดาของเจ้า เมื่อ
เจ้าออกมาแล้วก็ตาย เพราะความรักบุตรจึงเกิดเป็นนางสุนัขจิ้งจอก

เป็นผู้กลัวภัยคือความตายของเจ้า จึงขุดคุ้ย ณ ที่สุดปลายทางห้าม
เจ้าไว้. แต่เจ้าคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกนั้นให้หนีไป ส่วนนกกระไน
เป็นปัจจามิตรของเจ้า มันร้องบอกพวกเราว่า พวกท่านจงฆ่าบุรุษนี้
แล้วยึดเอากหาปณะ เพราะเจ้าเป็นคนโง่เขลา เจ้าจึงสำคัญมารดาผู้
ปรารถนาประโยชน์ว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาแก่เรา สำคัญนกกระไนผู้

ปรารถนาความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา ชื่อว่าคุณความ
ดีที่เจ้ากระทำแก่พวกเรา ไม่มี แต่มารดาของเจ้ามีพระคุณมากหลาย
ถึงจะตายแล้วก็จริง เจ้าจงถือเอากหาปณะทั้งหลายไปเถิด แล้วปล่อย
มาณพนั้นไป.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว พระองค์
เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเอง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
มาณพสำคัญนางสุนัขจิ้งจอก ซึ่งเที่ยว
ไปในป่า ผู้ปรารถนาประโยชน์ ผู้บอกให้
ทราบด้วยอาการ ในระหว่างทาง ว่าเป็นผู้
ปรารถนาความฉิบหาย และสำคัญนกกระไน
ผู้ใคร่ต่อความฉิบหาย ว่าเป็นผู้ปรารถนาประ-


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2018, 09:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โยชน์ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อม
เป็นเช่นกับมาณพนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
อันชนทั้งหลายผู้ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูล
กล่าวคำตักเตือน ย่อมรับเอาโดยไม่เคารพ.
อนึ่ง ชนเหล่าใด สรรเสริญบุคคลนั้นก็คือ
ยกย่องบุคคลนั้น เพราะความกลัวก็ดี ก็มา
สำคัญชนเหล่านั้นว่าเป็นมิตร เหมือนมาณพ
สำคัญนกกระไนว่าเป็นมิตรฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิเตภิ ได้แก่ผู้ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูล คือความเจริญ. บทว่า วจนํ วุตฺโต ได้แก่ ผู้กล่าวโอวาท
สั่งสอนและอนุศาสน์พร่ำสอนอันนำหิตสุขมาให้. บทว่า ปฏิคฺคณฺหติ
วามโต ความว่า บุคคลผู้ไม่รับโอวาท เมื่อรับเอาด้วยคิดว่า นี้ ไม่

นำประโยชน์มาให้เรา นี้นำความฉิบหายมาให้เรา. ชื่อว่ารับเอาโดย
ไม่เคารพ. บทว่า เย จ โข นํ ความว่า อนึ่ง บุคคลเหล่าใดย่อม
สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ถือเอาความยึดถือของตนอยู่ว่า ชื่อว่าบุคคลผู้
ยึดถืออธิกรณ์มั่นอยู่ ต้องเป็นเช่นกับท่าน. บทว่า ภยา อุกฺกํสยนฺติ

วา ความว่า ย่อมยกขึ้นแสดงภัย เพราะปัจจัยคือการสละอย่างนี้ว่า
เพราะการสละความยึดถือนี้เป็นปัจจัย ภัยนี้แลจักเกิดขึ้นแก่ท่าน
ท่านอย่าได้สละ คนเหล่านี้ย่อมไม่ถึงท่านด้วยพาหุสัจจะตระกูล และ
บริวารเป็นต้น. บทว่า ตํ หิ โส มญฺเต มิตฺตํ ความว่า บรรดา

ชนทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น บุคคลนั้น บางคนเป็นคนโง่เขลา ย่อม
สำคัญคนใดคนหนึ่ง ว่าเป็นมิตร เพราะความที่ตนเป็นคนเขลา คือ
ย่อมสำคัญว่าผู้นี้ เป็นมิตรผู้ใคร่ประโยชน์แก่เรา. บทว่า สตปตฺตํว
มาณโว ความว่า เหมือนมาณพนั้น สำคัญนกกระไนผู้ใคร่ต่อความ

ฉิบหายเท่านั้น ว่าเป็นผู้ใคร่ความเจริญ เพราะความที่ตนเป็นคน
เขลา ส่วนบัณฑิตไม่ถือเอาคนหัวประจบ เห็นปานนั้นว่าเป็นมิตร
ย่อมเว้นบุคคลนั้นเสียห่างไกลทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า :-


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 76, 77, 78, 79, 80, 81, 82 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร