วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 17:33  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 74, 75, 76, 77, 78, 79, 80 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาพยัคฆชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
โกกาลิกภิกษุ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เยน มิตฺเตน สํสคฺคา
ดังนี้. เรื่องพระโกกาลิกะจักมีแจ้งในตักการิยชาดก เตรสนิบาต.

ก็พระโกกาลิกะคิดว่า จักไปพาพระสารีบุตรและพระโมค-
คัลลานะมา จึงออกจากกาสิกรัฐไปยังพระวิหารเชตวัน ถวายบังคม
พระศาสดา แล้วเข้าไปหาพระเถระทั้งสอง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน
ผู้อาวุโส มนุษย์ชาวแว่นแคว้นเรียกหาท่านทั้งหลาย มาเถิดท่าน
เราทั้งหลายจะได้ไปด้วยกัน. พระเถระทั้งสองกล่าวว่า ไปเถอะคุณ

พวกเรายังจะไม่ไป. พระโกกาลิกะนั้นอันพระเถระทั้งสองปฏิเสธแล้ว
จึงได้ไปโดยลำพังตนเอง. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากันใน
โรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระโกกาลิกะไม่อาจเป็นไปร่วม
หรือเว้นจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ แม้ร่วมก็อดกลั้นไม่

ได้ แม้พลัดพรากก็อดกลั้นไม่ได้. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า
ภิกษุทั้งหลาย. บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ? เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยเรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า มิใช่
ในบัดนี้เท่านั้นดอกนะภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน พระโกกาลิกะนี้
ไม่อาจอยู่ร่วมหรือเว้นจากพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะได้แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าแห่ง
หนึ่ง. ในที่ไม่ไกลวิมานของพระโพธิสัตว์นั้น มีรุกขเทวดาตนหนึ่ง
อยู่ในต้นไม้เจ้าป่าต้นหนึ่ง. สีหะและพยัคฆ์ก็อยู่ในไพรสณฑ์นั้น.
เพราะกลัวสีหะและพยัคฆ์ใคร ๆ จึงไม่ไถนา ไม่ตัดไม้ในไพรสณฑ์

นั้น. ชื่อว่าบุคคลผู้สามารถที่เหลียวกลับมาดู ย่อมไม่มี. ก็สีหะและ
พยัคฆ์เหล่านั้นฆ่าเนื้อทั้งหลาย แม้มีประการต่าง ๆ เคี้ยวกิน. ทิ้งสิ่ง
ที่เหลือจากการเคี้ยวกินไว้ในที่นั้นนั่นเองแล้วก็ไปเสีย. ไพรสณฑ์นั้น
จึงมีกลิ่นซากสัตว์อันไม่สะอาด เพราะกลิ่นของเนื้อเหล่านั้น. ลำดับนั้น
รุกขเทวดา นอกนี้เป็นผู้โง่เขลาไม่รู้จักเหตุและมิใช่เหตุ วันหนึ่งได้

กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนสหาย ไพรสณฑ์เกิดกลิ่นซากสัตว์
อันไม่สะอาดแก่พวกเรา เพราะอาศัยสีหะและพยัคฆ์เหล่านี้ เราจะ
ไล่สีหะและพยัคฆ์เหล่านี้ให้หนีไปเสีย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อน
สหาย เพราะอาศัยสีหะและพยัคฆ์ทั้งสองตัวนี้พวกเราจึงรักษาวิมาน

อยู่ได้ เมื่อสีหะและพยัคฆ์เหล่านี้หนีไปเสีย วิมานของพวกเราก็จัก
ฉิบหาย เพราะพวกมนุษย์เมื่อไม่เห็นรอยเท้าของสีหะและพยัคฆ์
ทั้งหลาย ก็จักตัดป่าทั้งหมดกระทำให้เป็นเนินลานเดียวกันแล้วไถนา
ท่านอย่าชอบใจอย่างนี้เลย แล้วกล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-

ความเกษมจากโยคะย่อมเสื่อมไป
เพราะการคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้เป็น
บัณฑิตพึงรักษาลาภ ยศ และชีวิตของตนที่
มิตรนั้นครอบงำไว้เสียก่อน ดุจบุคคลผู้รักษา
ดวงตาของตนไว้ฉะนั้น.

ความเกษมจากโยคะย่อมเจริญ เพราะ
การคบหากับมิตรคนใด บุรุษผู้เป็นบัณฑิต
พึงกระทำความเป็นไปในกิจทั้งปวงของกัล-
ยาณมิตรนั้นให้เสมอเหมือนของตน.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน มิตฺเตน สํสคฺคา ได้แก่
เพราะเหตุแห่งการเกี่ยวข้อง คือเพราะการณ์แห่งการเกี่ยวข้องกับ
บาปมิตรใด อธิบายว่า เพราะกระทำความเกี่ยวข้อง ๕ ประการนี้ คือ
ทัสสนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการเห็น สวนสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วย
การฟัง กายสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยกาย สมุลลาปสังสัคคะ เกี่ยว

ข้องด้วยการเจรจา และปริโภคสังสัคคะ เกี่ยวข้องด้วยการบริโภค.
บทว่า โยคกฺเขโม ได้แก่ ความสุขทางกายและทางจิตใจ. จริงอยู่
ความสุขทางกายและทางจิตนั้น ท่านประสงค์เอาว่า โยคักเขมะความ
เกษมจากโยคะ ในที่นี้ เพราะเป็นความเกษมจากโยคะ คือทุกข์.
บทว่า วิหียติ แปลว่า ย่อมเสื่อม. บทว่า ปุพฺเพวชฺฌาภวนฺตสฺส

รกฺเข อกฺขึว ปณฺฑิโต ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงรักษาลาภ
ยศ และชีวิตของตนที่ปาปมิตรนั้นยึดครอง คือที่ปาปมิตรนั้นจะพึง
ครอบครองไว้เสียก่อน โดยอาการที่ปาปมิตรนั้นครอบครองลาภ ยศ
และชีวิตนั้นไม่ได้ ประดุจรักษานัยน์ตาทั้งสองของตนฉะนั้น. พึง

ทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :- บทว่า เยน ได้แก่ เพราะ
เหตุ คือเพราะการณ์เกี่ยวข้องกับด้วยกัลยาณมิตรใด. บทว่า โยคกฺ-
เขโม ปวฑฺฒติ ความว่า ความสุขทางกายและจิตย่อมเจริญ บทว่า

กเรยฺยตฺตสมํ วุตฺตึ ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงกระทำกิจทั้งปวง
ทั้งพึงกระทำให้ยิ่งในกิจทั้งปวงของกัลยาณมิตรนั้น เหมือนกระทำการ
เลี้ยงชีวิตและการใช้เครื่องอุปโภคและเครื่องบริโภคของตน ฉะนั้น.

เมื่อพระโพธิสัตว์แม้จะกล่าวเหตุอย่างนี้ เทวดาเขลาตนนั้น
ไม่พิจารณาใคร่ครวญเลย วันหนึ่ง แสดงรูปอันน่ากลัว ทำให้
สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นหนีไป. พวกมนุษย์ไม่เห็นรอยเท้าของสีหะ
และพยัคฆ์เหล่านั้นรู้ได้ว่า พวกสีหะและพยัคฆ์หนีไปอยู่ชัฏป่าอื่น.

จึงถางชัฏป่าได้ด้านหนึ่ง. เทวดาเขลาจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้ว
กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ข้าพเจ้าไม่กระทำตามคำของท่านจึงทำสีหะและ
พยัคฆ์ทั้งหลายให้หนีไป บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่าสีหะและพยัคฆ์
เหล่านั้นหนีไปแล้วจึงพากันตัดชัฏป่า เราจะพึงทำอย่างไรหนอ อัน

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า บัดนี้ สีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นอยู่ในชัฏป่าโน้น
ท่านจงไปนำเอาสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้นมา จึงไปที่ชัฏป่านั้น ยืน
ประคองอัญชลีข้างหน้าสีหะและพยัคฆ์เหล่านั้น แล้วกล่าวคาถาที่ ๓
ว่า :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนสีหะและพยัคฆ์ จงมาเถิด
ขอเชิญท่านทั้งสองจงกลับเข้าไปยังป่าใหญ่
พวกมนุษย์อย่ามาตัดป่าของเราให้ปราศจาก
สีหะและพยัคฆ์เลย สีหะและพยัคฆ์อย่าได้
เป็นผู้ไร้ป่า ดังนี้.

พระโพธิสัตว์เรียกสีหะและพยัคฆ์แม้ทั้งสองนั้น โดยนามว่า
พยัคฆ์ จึงกล่าวว่า พฺยคฺฆา ในคาถานั้น. บทว่า นิวตฺตวฺโห
แปลว่า ขอจงกลับ. บทว่า ปจฺจุเปถ มหาวนํ ความว่า ท่าน
ทั้งหลายจงเข้าไปยังป่าใหญ่นั้น คือจงกลับเข้าไปอีก. อีกอย่างหนึ่ง

พระบาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า มา โน วนํ ฉินฺทิ นิพฺยคฺฆํ
ความว่า บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายอย่าได้ตัดชัฏป่าอันเป็นที่อยู่ของพวก
เรา ชื่อว่าให้ปราศจากสีหะและพยัคฆ์ เพราะไม่มีพวกท่าน. บทว่า
พฺยคฺฆา มาเหสุ นิพฺพนา ความว่า พระยาสีหะและพยัคฆ์ทั้งสอง
เช่นท่าน ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ไร้ป่า คือ อย่าเป็นผู้เว้นจากป่าอันที่อยู่
เพราะหนีไปจากสถานที่อยู่ของตน.

สีหะและพยัคฆ์ทั้งสองนี้ แม้ถูกเทวดานั้นอ้อนวอนอยู่อย่าง
นี้ก็ยังคงปฏิเสธว่า ท่านไปเถอะ พวกเรายังไม่ไป. เทวดาผู้เดียว
เท่านั้นกลับมายังชัฏป่า. ฝ่ายมนุษย์ทั้งหลายก็ตัดป่าทั้งหมด โดย
๒-๓ วันเท่านั้น กระทำให้เป็นเนื้อนาแล้วกระทำกสิกรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดกว่า เทวดาผู้ไม่ฉลาดในกาลนั้น ได้เป็น
พระโกกาลิกะในบัดนี้ ส่วนเทวดาผู้ฉลาดในกาลนั้น ได้เป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาพยัคฆชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการ
สงบระงับความทะเลาะแห่งอำมาตย์ทั้งสองของพระเจ้าโกศล จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ดังนี้. ก็เรื่องที่เกิดขึ้น
ในปัจจุบัน ได้กล่าวไว้แล้วในทุกนิบาตนั่นแล.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้น
กาสิกรัฐ พอเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่างในเมือง
ตักกศิลา แล้วละกามทั้งหลายออกบวชเป็นฤาษี สร้างอาศรมบทอยู่

ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้หิมวันตประเทศ ทำอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิด
ในที่นั้นแล้วเล่นฌานสำเร็จการอยู่ในที่นั้น. ได้ยินว่า ในชาดกนี้
พระโพธิสัตว์เป็นผู้มีตนเป็นกลางอย่างยิ่ง ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมี.
เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นนั่งอยู่ที่ประตูบรรณศาลา ลิงทุศีลซุกซนตัวหนึ่ง

มาถึงก็เอาองคชาตสอดเข้าในช่องหูทั้งสองข้าง ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ไม่
ได้ห้ามวางเฉยอยู่นั่นแหละ. อยู่มาวันหนึ่ง เต่าตัวหนึ่งขึ้นมาจากน้ำ
นอนผิงแดดอ้าปากอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา. ลิงโลเลตัวนั้นเห็นดังนั้น
จึงได้สอดองคชาตเข้าในปากของเต่านั้น. ลำดับนั้น เต่าตื่นขึ้นจึงงับ

องคชาตของลิงนั้นไว้ เหมือนกับใส่ไว้ในสมุคฉะนั้น. เวทนามีกำลัง
เกิดขึ้นแก่ลิงนั้น มันไม่สามารถจะอดกลั้นเวทนาได้จึงคิดว่า ใครหนอ
จักปลดเปลื้องเราจากทุกข์นี้ เราจักไปหาใครดี แล้วมาคิดว่า คนอื่น
ชื่อว่าผู้สามารถปลดเปลื้องเราจากทุกข์นี้ ยกเว้นพระดาบสเสีย ย่อม

ไม่มี เราควรจะไปหาพระดาบสเท่านั้น คิดแล้วจึงเอามือทั้งสองอุ้มเต่า
ไปหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เมื่อจะทำการเยาะเย้ยลิงทุศีลตัวนั้น
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ใครหนอเดินมา เหมือนบุคคลผู้รวย
อาหาร เหมือนพราหมณ์ผู้ได้ลาภมาเต็มมือ
ท่านไปเที่ยวภิกขาจารที่ไหนหนอ หรือท่าน
เข้าไปหาผู้มีศรัทธาคนไรมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก นุ วฑฺฒิตภตฺโตว ความว่า
นั่นใคร เหมือนคนร่ำรวยภัต คือ นั่นใครหนอเหมือนเอามือทั้งสอง
ประคองถาดเต็มด้วยภัตที่เขาคดไว้พูนถาดหนึ่งเดินมา. บทว่า ปูรหตฺ-
โถว พฺราหฺมโณ ความว่า นั่นใครหนอ เหมือนพราหมณ์มีลาภ

เต็มมือ เพราะได้ร่ายเวทในเดือน ๑๒. พระโพธิสัตว์หมายเอาวานร
จึงกล่าวดังนี้. บทว่า กหนฺนุ ภิกฺขํ อจริ ความว่า วานรผู้เจริญ
วันนี้ท่านไปเที่ยวภิกขาจารในถิ่นไหน. ด้วยบทว่า กํ สทฺธํ อุปสงฺกมิ
นี้พระโพธิสัตว์แสดงว่า ภัตของผู้มีศรัทธาที่เขาทำอุทิศบุรพเปตชน
ชื่อไร หรือบุคคลผู้มีศรัทธาคนไหนที่ท่านเข้าไปหา คือว่าไทยธรรมนี้
ท่านได้มาแต่ไหน.

วานรทุศีลได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นลิง
ทรามปัญญาจับต้องสิ่งที่ไม่ควรจับต้อง ขอ
พระคุณเจ้าโปรดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้นทุกข์
ด้วยเถิด ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า
ข้าพเจ้าพ้นจากความฉิบหายนี้แล้วจะไปอยู่
ที่ภูเขา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหํ กปิสฺมิ ทุมฺเมโธ ความว่า
ขอความเจริญจงมีแก่พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าเป็นลิงทรามปัญญามีใจ
รวนเร. บทว่า อนามาสานิ อามสึ ได้แก่ จับต้องฐานะที่ไม่
ควรจับต้อง. บทว่า ตฺวํ มํ โมเจยฺย ภทฺทนฺเต ความว่า ขอความ

เจริญจงมีแก่พระคุณเจ้าผู้มีความเอ็นดูกรุณาปลดเปลื้องข้าพเจ้าให้พ้น
จากทุกข์นี้. บทว่า มุตฺโต คจฺเฉยฺย ปพฺพตํ ความว่า ข้าพเจ้า
นั้นพ้นจากความฉิบหายนี้ด้วยอานุภาพของท่านจะไปอยู่ยังภูเขา จะ
ไม่แสดงตนในคลองจักษุของท่านอีก.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 18:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระโพธิสัตว์ เพราะความกรุณาในลิง เมื่อจะเจรจากับเต่า
จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

เต่าทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่องมาจาก
กัสสปโคตร ลิงทั้งหลายเป็นสัตว์สืบเนื่อง
มาจากโกณฑัญญโคตร ดูก่อนเต่าผู้เทือก
แถวกัสสปโคตร ท่านจงปล่อยลิงผู้เทือก
แถวโกณฑัญญโคตรเสียเถิด ท่านคงเคยทำ
เมถุนธรรมกันแล้ว.

คาถานั้นมีใจความว่า ธรรมดาเต่าทั้งหลายเป็นกัสสปโคตร
ส่วนลิงทั้งหลายเป็นโกณฑัญญโคตร ก็กัสสปโคตรกับโกณฑัญญโคตร
ต่างมีความสัมพันธ์กันและกันโดยอาวาหะและวิวาหะ คือนำเจ้าสาว
มาบ้านเจ้าบ่าว และนำเจ้าบ่าวไปบ้านเจ้าสาว ลิงโลเลกับท่าน หรือ
ท่านกับลิงทุศีลตัวนี้ คงจะได้ กระทำเมถุนธรรม กล่าวคือกรรมของ

ผู้ทุศีล อันสมควรแก่เมถุนธรรม คือที่เหมือนกับโคตรทำมาแล้ว
เป็นแน่ เพราะฉะนั้น ดูก่อนเต่าผู้เป็นกัสสปโคตรท่านจงปล่อยลิง
ผู้เป็นโกณฑัญญโคตรเสียเถิด.

เต่าได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์มีความเลื่อมใสในเหตุผล จึง
ปล่อยองคชาตของลิง. ฝ่ายลิงพอหลุดพ้นเท่านั้น ได้ไหว้พระโพธิสัตว์
แล้วหนีไป ทั้งไม่กลับมามองดูสถานที่นั้นอีก. ฝ่ายเต่า ไหว้
พระโพธิสัตว์แล้วได้ไปยังที่อยู่ของตนทันที. แม้พระโพธิสัตว์ก็มิได้
เสื่อมจากฌาน ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจ ๔ แล้วทรงประชุมชาดกว่า เต่าและลิงในครั้งนั้นได้เป็น
อำมาตย์ ๒ คน ในบัดนี้ ส่วนดาบสในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล
จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 19:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า กายํ พลากา สิขินี
ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนำมายังโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้โลเลในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ใน
กาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โลเลมาแล้ว และได้ถึงความสิ้นชีวิตไป
เพราะความเป็นผู้โลเล แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็ได้เป็นผู้เสื่อม
จากที่สถานที่อยู่ของตน ก็เพราะอาศัยเธอ แล้วทรงนำเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พ่อครัวในโรงครัวของเศรษฐีในพระนครพาราณสี ตั้ง
กระเช้าสำหรับเป็นรังนกไว้ เพื่อต้องการบุญ. ในกาลนั้น พระโพธิ-
สัตว์บังเกิดในกำเนิดนกพิราบ สำเร็จการอยู่ในกระเช้าที่เป็นรังนั้น.
ลำดับนั้น กาโลเลตัวหนึ่ง บินมาทางชายโรงครัว ได้เห็นปลาและ

เนื้อชนิดแปลกๆ มีประการต่างๆ ถูกความหยากครอบงำ คิดอยู่ว่า
เราอาศัยใครหนอ จึงจะได้โอกาสกินปลาและเนื้อ เมื่อกำลังคิด
ก็ได้เห็นพระโพธิสัตว์ จึงตกลงใจว่า เราอาศัยนกพิราบผู้นี้ จะอาจ
ได้โอกาส จึงในเวลาพระโพธิสัตว์นั้นไปป่าหากิน ก็ติดตามไปข้าง

หลังๆ. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะกานั้นว่า ดูก่อนกา เรามีสิ่ง
อื่นเป็นเหยื่อ ท่านก็มีอีกสิ่งหนึ่งเป็นเหยื่อ เพราะเหตุไร? ท่านจึง
เที่ยวติดตามเรา. กากล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าชอบใจกิริยาของ
ท่าน แม้ข้าพเจ้าจะเป็นผู้มีเหยื่อไม่เหมือนกับท่าน ก็ปรารถนาจะ

อุปัฏฐากท่าน. พระโพธิสัตว์ก็ยอมรับ. กานั้นทำทีเที่ยวหากินเหยื่อ
อย่างเดียวกันในที่เที่ยวหากินร่วมกับพระโพธิสัตว์ ทำล้าหลังแล้วเจาะ
กองโคมัยแล้วเคี้ยวกินสัตว์ตัวเล็กๆ จนเต็มท้องแล้วเข้าไปหาพระ-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โพธิสัตว์แล้วพูดว่า ท่านเที่ยวหากินตลอดกาลประมาณเท่านี้ การรู้
ประมาณในโภชนะ ย่อมสมควรมิใช่หรือ มาเถอะท่าน เราจะได้ไป
ในเวลายังไม่เย็นเกินไป. พระโพธิสัตว์ได้พากานั้นไปยังสถานที่อยู่.
พ่อครัวคิดว่านกพิราบของเราพาสหายมา จึงตั้งกระเช้าแกลบไว้ในที่
แห่งหนึ่งสำหรับกา. ฝ่ายกาอยู่โดยทำนองนั้นนั่นแล ๔-๕ วัน ครั้น

วันหนึ่ง คนทั้งหลายนำปลาและเนื้อเป็นอันมากมาให้ท่านเศรษฐี.
กาเห็นดังนั้น ถูกความโลภครอบงำ นอนทอดถอนใจตั้งแต่เวลาใกล้
รุ่ง. ครั้นในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์กล่าวกะกาว่า มาเถอะสหาย เราพา
กันหลีกไปหากินเถิด. กากล่าวว่า ท่านไปเถอะ ข้าพเจ้ามีโรคอาหาร

ไม่ย่อย. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ธรรมดาโรคอาหารไม่
ย่อย ย่อมไม่มีแก่พวกกาเลย เพราะมาตรว่าไส้ประทีปที่กินเข้าไป
จะอยู่ในท้องของพวกท่านเพียงครู่เดียวทุกๆอย่าง พอสักว่ากลืนกิน
ไปเท่านั้น ย่อมย่อยไปหมด ท่านจงกระทำตามคำของเรา ท่านอย่าได้
ทำอย่างนี้ เพราะได้เห็นปลาและเนื้อ. กากล่าวว่า ข้าแต่นายท่านพูด

อะไรอย่างนั้น สำหรับข้าพเจ้ามีความสงสัยว่าอาหารไม่ย่อยจริงๆ พระ-
โพธิสัตว์ให้โอวาทกานั้นว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงอย่าเป็นผู้ประมาท แล้ว
หลีกไป. ฝ่ายพ่อครัวจัดแจงปลาและเนื้อชนิดต่างๆ เสร็จแล้ว เมื่อ
จะชำระล้างเหงื่อออกจากร่างกาย จึงได้ไปยืนอยู่ที่ประตูครัว. กาคิดว่า
เวลานี้เป็นเวลาควรจะเคี้ยวกินเนื้อ จึงบินไปจับอยู่เหนือจานสำหรับ

ปรุงรส. พ่อครัวได้ยินเสียงกริ๊ก จึงเหลียวมาดู แลเห็นกา จึงเข้าไป
จับมันมาถอนขนหมดทั้งตัว เหลือเป็นหงอนไว้บนหัว แล้วบดขิงกับ
พริกเป็นต้นเคล้ากับเปรียง ทาทั่วตัวกานั้น พลางกล่าวว่า เจ้าจะทำ
ปลาและเนื้อของท่านเศรษฐีของพวกเราให้เป็นเดน แล้วโยนทิ้งลงใน
กระเช้าที่ทำเป็นรัง. เวทนาแสนสาหัสเกิดขึ้น. พระโพธิสัตว์กลับมา

จากที่หากิน เห็นกานั้นทอดถอนใจอยู่ เมื่อจะทำการล้อเล่นจึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นกยางตัวนี้ ไฉนจึงมีหงอน เป็นโจร
ลอบเข้ามาอยู่ในรังกา ผู้มีเมฆเป็นบิดา.
ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาเสียข้างนี้เถิดกาผู้
สหายของเราเป็นผู้ดุร้าย.

ด้วยบทว่า กายํ พลากา สิขินี ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์
เมื่อจะถามกานั้น จึงร้องเรียกว่า นกยางนี้ อย่างไรจึงชื่อว่ามีหงอน
เพราะกานั้นมีสีร่างกายขาวอันทาด้วยเปรียงหนาๆ และเพราะหงอน
ตั้งอยู่บนหัวของกานั้น. ด้วยบทว่า โจรี นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ชื่อ
ว่าเป็นโจร เพราะเข้าไปยังเรือนของตระกูลโดยที่ตระกูลยังไม่อนุญาต

หรือเพราะเข้าไปยังรังกาโดยความไม่พอใจของกา. บทว่า ลงฺฆีปิตา-
มหา ความว่า เมฆชื่อว่าลังฆี เพราะโลดแล่นไปในอากาศ ก็ธรรมดา
นกยางทั้งหลาย ย่อมตั้งครรภ์เพราะเสียงเมฆ เพราะเหตุนั้น เสียง
เมฆจึงเป็นบิดาของพวกนกยาง. คือเมฆเป็นบิดาของพวกนกยาง. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลงฺฆีปิตามหา มีเมฆเป็นบิดา. บทว่า

โอรํ พลาเก อาคจฺฉ ความว่า ดูก่อนนกยาง ท่านจงมาข้างนี้เถิด.
ด้วยบทว่า จณฺโฑ เม วายโส สขา นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า
กาผู้สหายของเรา เป็นเจ้าของกระเช้า ดุร้าย หยาบช้า กานั้นมา
เห็นท่านเข้า จะเอาจงอยปากประหนึ่งปลายหอก จิกทำให้ถึงแก่ความ
ตาย เพราะฉะนั้น ท่านจงลงจากกระเช้ามาทางนี้ คือรีบหนีไปข้างนี้
ตราบเท่าที่กานั้นยังไม่มา.


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กาได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าพเจ้าไม่ใช่นกยางที่มีหงอน ข้าพเจ้า
เป็นกาเหลาะแหละ ไม่เชื่อฟังคำของท่าน
ท่านกลับมาแล้วจงดูเราเป็นผู้มีขนลุ่นนี้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาคโต ความว่า บัดนี้ท่านมา
จากที่หากินแล้ว จงมองดูเราผู้มีขนลุ่นนี้เถิด.
พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีก
เพราะว่าปกติของท่านเป็นเช่นนั้น แท้จริง
เครื่องบริโภคของมนุษย์ ไม่ควรที่นกจะ
บริโภค.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุนปาปชฺชสี สมฺม ความว่า
ดูก่อนกาผู้สหาย ท่านจะได้รับทุกข์เห็นปานนี้อีก ความที่จะพ้นจาก
ทุกข์เช่นนี้ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะเหตุไร? เพราะปกติของท่าน
เป็นเช่นนั้น คือ เป็นสิ่งที่ชั่วช้าลามก คือ เพราะปกติคือความ

ประพฤติของท่านเป็นเช่นนั้น จึงสมควรแก่การได้รับแต่ความทุกข์
เท่านั้น. บทว่า น หิ มานุสิกา ความว่า ธรรมดามนุษย์ทั้งหลาย
เป็นผู้มีบุญมาก สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายไม่มีบุญเห็นปานนั้น เพราะ
ฉะนั้น เครื่องบริโภคของมนุษย์ อันนกผู้เป็นสัตว์ดิรัจฉานจึงไม่ควร
บริโภค.

ก็แหละพระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวว่า ตั้งแต่
นี้ไป เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ ครั้นกล่าวแล้วก็ได้บินไปในที่อื่น. ส่วน
กานอนถอนใจตายอยู่ในที่นั้นเอง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุ
นั้นดำรงอยู่ในอนาคามิผล. กาโลเลในคราวนั้น ได้เป็นภิกษุโลเลใน
บัดนี้ ส่วนนกพิราบ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาโลลชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กายํ พลากา
สุจิรา ดังนี้. เรื่องทั้งสองเรื่องคือเริ่มเรื่องกับเรื่องในอดีต เป็น
เหมือนกับเรื่องแรกนั่นแหละ. แต่คาถาต่างกัน. มีคาถาติดต่อเป็น
อันเดียวกันว่า :-

พระโพธิสัตว์ว่า - อย่างไร นกยางขาวน่ารักตัวนี้ จึงมา
อยู่ในรังกาเช่นนี้ และที่เป็นรังของ
กาผู้ดุร้ายสหายของเรา.
กากล่าวว่า- ดูก่อนนกพิราบผู้สหาย ท่านเป็นทิชา-

ชาติ มีข้าวฟ่างเป็นอาหาร ย่อมรู้จัก
ข้าพเจ้ามิใช่หรือ เราไม่ได้ทำตามคำ
ของท่าน ท่านกลับมาแล้วจงมองดู
ข้าพเจ้าซึ่งมีตัวลุ่นๆ เถิด.
พระโพธิสัตว์ว่า- ดูก่อนสหาย ท่านจะได้รับทุกข์อีก

เพราะปกติของท่านเป็นเช่นนั้นแท้
จริง เครื่องบริโภคของมนุษย์ไม่ควร
ที่นกจะพึงบริโภค.

ด้วยบทว่า รุจิรา นี้ ในคาถานั้น พระโพธิสัตว์กล่าวหมาย
เอาความที่กามีสีขาว เพราะมีร่างกายทาด้วยเปรียง. บทว่า รุจิรา
ได้แก่ ดูน่ารัก อธิบายว่า มีสีขาว. บทว่า กากนิณฺฑสฺมึ แปลว่า
ในรังของกา. บาลีว่า กากนีฬสฺมึ ดังนี้ก็มี. กาเรียกนกพิราบว่า
ทิชา. บทว่า สามากโภชนา ได้แก่ มีพืชหญ้าเป็นอาหาร. จริงอยู่
ในที่นี้ ท่านถือเอาพืชหญ้าแม้ทั้งหมด ด้วยศัพท์ว่า สามากะ.

แม้ในเรื่องนี้ พระโพธิสัตว์ก็กล่าวว่า บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป เรา
ไม่อาจอยู่ในที่นี้ ดังนี้ แล้วบินไปอยู่ในที่อื่น.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้เหลาะแหละ
ดำรงอยู่ในอนาคามิผล. กาเหลาะแหละในครั้งนั้น. ได้เป็นภิกษุผู้
เหลาะแหละในบัดนี้ ส่วนนกพิราบคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถารุจิรชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถากุรุธรรมชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง. จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ตว สทฺธญฺจ
สีลญฺจ ดังนี้

มีสหาย ๒ คนชาวเมืองสาวัตถี บรรพชาในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายแล้วได้อุปสมบท โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน. วันหนึ่ง ภิกษุ
๒ สหายนั้นไปยังแม่น้ำอจิรวดีอาบน้ำ นั่งผิงแดดอยู่ที่เนินทราย
กล่าวถ้อยคำให้ระลึกกันและกันอยู่. ขณะนั้นหงส์ ๒ ตัวบินมาทาง
อากาศ ลำดับนั้นภิกษุรูปหนึ่งจับก้อนกรวดมาแล้วกล่าวว่า ผมจะดีด

ลูกตาของหงส์ตัวหนึ่งภิกษุนอกนี้กล่าวว่า ท่านจักไม่สามารถ. ภิกษุ
รูปนั้นกล่าวว่านัยน์ตาข้างนี้จงยกไว้ ผมจะดีดนัยน์ตาข้างโน้น. ภิกษุ
นอกนี้ก็กล่าวว่า แม้นัยน์ตาข้างนี้ท่านก็จักไม่อาจดีดได้. ภิกษุรูปนั้น
กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านคอยดู ว่าแล้วก็หยิบก้อนกรวด ๓ เหลี่ยม

มาดีดไปทางเบื้องหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงกรวดจึงเหลียวมองดู.
ลำดับนั้นภิกษุนั้นก็เอาก้อนกรวดอีกก้อนหนึ่งดีดหงส์นั้นที่นัยน์ตาด้าน
นอกทลุออกทางนัยน์ตาด้านใน. หงส์ร้องม้วนตกลงมาแทบเท้าของ
ภิกษุทั้งสองนั้น. ภิกษุทั้งหลายที่ยืนอยู่ในที่นั้นเห็นเข้า จึงพากันมา

แล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต
ชื่อว่ากระทำกรรมอันไม่สมควร แล้วพาภิกษุผู้ดีดหงส์นั้นไปแสดงแก่
พระตถาคตทันที พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระทำ
ปาณาติบาตจริงหรือ ? เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุ เพราะเหตุไร เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออก

จากทุกข์เห็นปานนี้ จึงได้กระทำอย่างนี้ แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย
เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น อยู่อย่างเศร้าหมองในท่ามกลางเรือน
ยังกระทำความรังเกียจในฐานะทั้งหลาย แม้มีประมาณน้อย ส่วนเธอ

บวชในศาสนาเห็นปานนี้ไม่ได้กระทำแม้มาตรว่าความรังเกียจ
ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สำรวมกาย วาจา และใจ มิใช่หรือ ? แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระราชาพระนามว่า ธนัญชัยโกรัพย์ ครอง
ราชสมบัติอยู่ในพระนครอินทปัฏฏ์ ในแคว้นกุรุ พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความรู้
เดียงสาโดยลำดับ แล้วเรียนศิลปะทั้งปวงในเมืองตักกศิลา พระบิดา
ทรงแต่งตั้งให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา เมื่อพระบิดา

สวรรคตแล้ว ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ มิได้ทรงกระทำทศพิธราช-
ธรรมให้กำเริบ ทรงประพฤติในกุรุธรรมอยู่. ศีลห้า ชื่อว่ากุรุธรรม.
พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีลห้านั้นให้บริสุทธิ์. พระมารดาของพระ-

โพธิสัตว์ พระอัครมเหสี พระอุปราชผู้เป็นพระอนุชา พราหมณ์ผู้
เป็นปุโรหิต อำมาตย์ผู้รังวัดนา สารถี เศรษฐี มหาอำมาตย์ผู้ตวงข้าว
นายประตู นางวัณณทาสีผู้เป็นนครโสเภณี ก็เหมือนพระโพธิสัตว์
รวมความว่า ชนเหล่านี้รักษาศีลห้าเหมือนดังพระโพธิสัตว์

ชน ๑๑ คน คือ พระราชา ๑ พระ-
ชนนี ๑ พระอัครมเหสี ๑ พระอุปราช ๑
ปุโรหิต ๑ อำมาตย์ผู้รังวัด ๑ สารถี ๑
เศรษฐี ๑ อำมาตย์ผู้ตวงข้าว ๑ นายประตู ๑
และนางคณิกา ๑ ดำรงอยู่ในกุรุธรรม.

ชนแม้ทั้งหมดเหล่านี้ รักษาศีลห้าให้บริสุทธิ์ ด้วยประการดังนี้.
พระราชาให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูพระนครทั้ง ๔ ที่กลาง
เมือง ที่ประตูพระนิเวศน์ ทรงสละพระราชทรัพย์หกแสนทุกวันๆ
ทรงบริจาคทานกระทำชมพูทวีปทั้งสิ้นให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา. ก็ความ
ที่พระโพธิสัตว์นั้นมีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาคทาน ได้แผ่คลุม

ไปทั่วชมพูทวีป. ในกาลนั้น พระเจ้ากาลิงคราชครองราชสมบัติใน
ทันตปุรนคร ในแคว้นกาลิงคะ. ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคราชนั้น
ฝนไม่ตก ก็เกิดความอดอยากไปทั่วแคว้น. ก็เพราะอาหารวิบัติ โรค
จึงเกิดขึ้นแก่มวลมนุษย์. ภัย ๓ ประการ คือ ฉาตกภัย ภัยคือความ

อดอยาก โรคภัย ภัยคือโรค ทุพภิกขภัย ภัยคือข้าวยากหมากแพง ก็
เกิดขึ้น. มนุษย์ทั้งหลายหมดที่ยึดถือ ต่างพากันจูงมือเด็กๆ เที่ยว
เร่ร่อนไป. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นรวมกันไปยังพระนครทันตปุระ
พากันส่งเสียงร้องอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาประทับยืนพิงพระ-


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ธ.ค. 2018, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แกล ทรงสดับเสียงนั้น จึงตรัสถามว่า คนเหล่านี้เที่ยวไปเพราะ
เหตุอะไรกัน พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ภัยเกิดขึ้นทั่ว
แว่นแคว้นทั้งสิ้น ฝนไม่ตก ข้าวกล้าวิบัติเสียหาย เกิดความอดอยาก
มนุษย์ทั้งหลายกินอยู่ไม่ดีถูกโรคภัยครอบงำ หมดที่ยึดถือระส่ำระ-
สาย พากันจูงมือลูกๆ เที่ยวไป ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงยังฝน

ให้ตกเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า พระราชาแต่เก่าก่อน
ทั้งหลาย เมื่อฝนไม่ตก ทรงกระทำอย่างไร? พวกอำมาตย์กราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราช พระราชาแต่เก่าก่อนทั้งหลายเมื่อฝนไม่ตก ได้
ทรงบริจาคทาน อธิษฐานอุโบสถสมาทานศีลแล้ว เสด็จเข้าสู่ห้อง
สิริไสยาศน์ ทรงบรรทมเหนือเครื่องลาดซึ่งทำด้วยไม้ตลอด ๗ วัน

ในกาลนั้น ฝนก็ตกลงมา. พระราชาทรงรับว่าดีละ แล้วได้ทรงกระทำ
อย่างนั้น. แม้ทรงกระทำอย่างนั้น ฝนก็มิได้ตก. พระราชาตรัสกะ
อำมาตย์ทั้งหลายว่า เราได้กระทำกิจที่ควรกระทำแล้ว ฝนก็ไม่ตก
เราจะกระทำอย่างไรต่อไป. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช
พระเจ้าธนัญชัยโกรัพยราชในนครอินทปัฏ มีช้างมงคลหัตถีชื่อว่า

อัญชนสันนิภะ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายจักนำช้างมงคลเชือกนั้นมา
เมื่อเป็นเช่นนั้น ฝนก็จักตก. พระราชาตรัสว่า พระราชาพระองค์
นั้นทรงสมบูรณ์ด้วยพลพาหนะ ใครๆ จะข่มได้ยาก พวกเราจักนำ
ช้างพระราชาพระองค์นั้นมาได้อย่างไร. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช ไม่มีกิจที่จะต้องทำการรบกับพระเจ้าธนัญชัยโกรัพย-
ราชนั้น พระราชาพระองค์นั้น มีพระอัธยาศัยยินดีในการบริจาค
ทานเป็นผู้ถูกเขาขอ แม้พระเศียรอันประดับแล้วก็ทรงตัดให้ได้ แม้


* ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 74, 75, 76, 77, 78, 79, 80 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร