วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:17  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 72, 73, 74, 75, 76, 77, 78 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลูกเอ๋ย ขึ้นชื่อว่ามิตรสันถวะ จะ
เกิดแต่แรกทีเดียว ยศของสตรีทั้งหลายก็
จะเสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น แม่จึงแสร้งทำ
ให้พระยาม้าหนีไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทิเกเนว แปลว่า แต่ต้นทีเดียว.
คือแต่แรกทีเดียว. บทว่า สนฺถโว ได้แก่ มิตรสันถวะด้วยอำนาจการ
ประกอบ เมถุนธรรม. บทว่า ยโส หายติ อิตฺถีนํ ความว่า ดูก่อน
พ่อ เพราะว่า เมื่อสตรีทั้งหลายผู้ไม่เล่นตัว ย่อมทำความเชยชิดเสีย
แต่เริ่มแรก ยศย่อมเสื่อมเสียไป คือ ความเป็นใหญ่ที่จะพึงได้ย่อม
เสื่อมไป. นางม้านั้นบอกสภาพของสตรีทั้งหลายแก่ลูก ด้วยประการ
ฉะนี้.

พระศาสดาเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง แล้วตรัสคาถาที่ ๓ ว่า :-
สตรีใด ไม่ปรารถนาบุรุษผู้เกิดใน
ตระกูลมียศศักดิ์ ที่มีคนชักพามา สตรีนั้น
จะต้องเศร้าโศกอยู่สิ้นกาลนาน เหมือนนาง
ม้าเศร้าโศกถึงพระยาม้าวาตัคคะ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสสฺสินํ แปลว่า ผู้สมบูรณ์
ด้วยยศ. บทว่า ยา น อิจฺฉติ ความว่า สตรีใดไม่ปรารถนาบุรุษ
เห็นปานนั้น. บทว่า จิรรตฺตาย แปลว่า ตลอดกาลนาน อธิบายว่า
ตลอดกาลยาวนาน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงประกาศ
สัจจะทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ กฎุมพีดำรง
อยู่ในโสดาปัตติผล. นางม้าในกาลนั้น ได้เป็นหญิงคนนั้น ในบัดนี้.
ส่วนวาตัคคสินธพได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวาตัคคสินธพชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
หญิงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สิงฺคี มิโค ดังนี้.

ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี มีกฎุมพีคนหนึ่งพาภรรยาของตน
ไปยังชนบท เพื่อต้องการชำระหนี้สินให้หมดไป ครั้นชำระหนี้สินหมด
แล้วก็เดินทางมา ถูกพวกโจรจับในระหว่างทาง. ก็ภรรยาของกฎุมพี
นั้นเป็นผู้มีรูปสวยงามน่าเลื่อมใสยินดี. หัวหน้าโจรปรารภจะฆ่ากฎุมพี
เสีย เพราะความเสน่หาในนาง แต่นางเป็นสตรีมีศีล สมบูรณ์ด้วย

อาจารมารยาท เคารพสามีดุจเทวดา. นางจึงหมอบลงแทบเท้าของ
หัวหน้าโจรอ้อนวอนว่า ข้าแต่นายโจรผู้เป็นเจ้า ถ้าท่านมีความเสน่หา
ดิฉัน ท่านอย่าฆ่าสามีของดิฉันเลย ถ้าท่านจักฆ่า ดิฉันจักกินยาพิษ
หรือกลั้นลมหายใจตาย ก็ดิฉันจักไม่ไปกับท่าน ท่านอย่าฆ่าสามี
ของดิฉันโดยใช่เหตุเลย แล้วขอให้ปล่อยสามีนั้นไป. ฝ่ายสามีภรรยา
ทั้งสองนั้นถึงเมืองสาวัตถีโดยปลอดภัย เดินทางมาทางด้านหลังวิหาร

พระเชตวัน เข้าไปยังพระวิหารดื่มน้ำแล้วหารือกันว่าจักถวายบังคม
พระศาสดา จึงเข้าไปยังบริเวณพระคันธกุฎี ถวายบังคมพระศาสดา
แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามสามีภรรยาทั้งสองนั้นว่า
ไปไหนมา เขาทั้งสองจึงกราบทูลว่า ไปชำระหนี้สินมา พระเจ้าข้า.
เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ก็ในระหว่างทาง พวกท่านมากันโดยไม่มี
ความป่วยไข้หรือ ? กฎุมพีจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในระหว่างทาง พวกโจรจับข้าพระองค์ทั้งสอง ในตอนนั้น ภรรยา
ของข้าพระองค์คนนี้ได้อ้อนวอนนายโจรผู้จะฆ่าข้าพระองค์ ให้
ปล่อยตัวมา เพราะอาศัยภรรยาผู้นี้ ข้าพระองค์ได้รอดชีวิตมา.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก มิใช่บัดนี้เท่านั้น ที่สตรีผู้นี้ได้
ให้ชีวิตแก่ท่าน ถึงในกาลก่อน ก็ได้ให้แม้แก่บัณฑิตทั้งหลายอัน
กฎุมพีนั้นทูลอ้อนวอน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมือง
พาราณสี มีห้วงน้ำใหญ่อยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ในห้วงน้ำใหญ่นั้น
ได้มีปูทองตัวใหญ่อาศัยอยู่. ห้วงน้ำใหญ่นั้น ปรากฏชื่อว่า กุฬีรรหทะ
แปลว่า หนองปู เพราะเป็นที่อยู่ของปูทองตัวนั้น. ปูทองนั้นใหญ่โต
ขนาดเท่าลานนวดข้าว จับช้างกิน เพราะกลัวปูทองนั้น ช้างทั้งหลาย

ไม่อาจลงห้วงน้ำนั้นหาอาหารกิน. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือ
ปฏิสนธิในครรภ์นางช้างพัง เพราะอาศัยช้างจ่าฝูงในฝูงช้างที่อาศัย
กุฬีรรหทะสระอยู่. ลำดับนั้น มารดาของพระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า
จักรักษาครรภ์จึงไปยังถิ่นภูเขาอื่นรักษาครรภ์อยู่จนคลอดบุตร. พระ-
โพธิสัตว์นั้นรู้เดียงสาขึ้นโดยลำดับ มีบริวารมาก สมบูรณ์ด้วยเรี่ยว

แรงถึงความเป็นผู้เลิศด้วยความงาม เป็นคล้ายกับภูเขาอันชัน. พระ
โพธิสัตว์นั้นอยู่ร่วมกับนางช้างพังเชือกหนึ่ง คิดว่าจักจับปู จึงพา
ภรรยาและมารดาของตนเข้าฝูงช้างนั้นพบกับบิดาจึงกล่าวว่า พ่อ
ฉันจักจับปู. ลำดับนั้นบิดาได้ห้ามเขาว่า เจ้าจักไม่สามารถนะลูก.

พระโพธิสัตว์พูดกะบิดาผู้กล่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ท่านจักรู้กำลังของข้าพเจ้า.
พระโพธิสัตว์นั้นจึงให้ประชุมช้างทั้งหมดที่เข้าไปอาศัยห้วงน้ำกุฬีระอยู่
เดินไปใกล้ห้วงน้ำพร้อมกับช้างทั้งปวงแล้วถามว่า ปูนั้นจับช้างใน
เวลาลง ในเวลาหาอาหาร หรือในเวลาขึ้น ได้ฟังว่า ในเวลาขึ้น


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จึงกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น แม้พวกท่านจงลงห้วงน้ำกุฬีระ หาอาหาร
กินจนเพียงพอแล้วขึ้นมาก่อน เราจักอยู่ข้างหลัง. ช้างทั้งหลายได้
กระทำอย่างนั้น. ปูจึงเอาก้ามทั้งคู่หนีบสองเท้าพระโพธิสัตว์ซึ่งขึ้น
ภายหลังไว้แน่น เหมือนช่างทองเอาคีมใหญ่หนีบซี่เหล็กฉะนั้น.

นางช้างไม่ละทิ้งพระโพธิสัตว์ ได้ยืนอยู่ในที่ใกล้ๆ นั่นแหละ. พระ-
โพธิสัตว์ดึงก็ไม่สามารถทำให้ปูเขยื้อน. ส่วนปูลากพระโพธิสัตว์มาให้
ตรงปากตน. พระโพธิสัตว์ถูกมรณภัยคุกคาม จึงร้องว่าติดก้ามปู.
ช้างทั้งปวงกลัวมรณภัย ส่งเสียงร้องก้องโกญจนาทขี้เยี่ยวราดหนีไป.
ฝ่ายนางช้างก็ไม่อาจดำรงตนอยู่ได้เริ่มจะหนีไป. ลำดับนั้น พระ-
โพธิสัตว์ได้ทำให้นางเข้าใจว่าตนถูกหนีบไว้ เพื่อจะไม่ให้นางหนีไป
จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ปูทองมีนัยน์ตายาว มีหนังเป็นกระดูก
อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน ฉันถูกปูทองนั้น
หนีบไว้แล้ว จึงร้องขอความช่วยเหลือ เจ้า
อย่าทิ้งฉันผู้คู่ชีวิตเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิงฺคี มิโค ได้แก่ มฤคมีสี
เหมือนสีทอง มีเขา อธิบายว่า ชื่อว่ามีเขา เพราะประกอบด้วยก้าม
ทั้งสองอันยังกิจที่จะพึงทำด้วยเขาให้สำเร็จ. ส่วนกุฬีระคือปู ท่าน
เรียกว่ามิคะคือมฤคในที่นี้โดยถือเอาอย่างรวบยอด. ในบทว่า อายต-

จกฺขุเนตฺโต นี้ที่ชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น, ที่ชื่อว่าเนตร
เพราะอรรถว่านำไป, เนตรกล่าวคือจักษุของปูนั้นยาว เพราะเหตุนั้น
ชื่อว่ามีเนตรคือจักษุยาว อธิบายว่ามีนัยน์ตายาว. ชื่อว่ามีหนังเป็น


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กระดูก เพราะกระดูกเท่านั้นทำกิจคือหน้าที่ของหนังให้สำเร็จแก่ปู
นั้น. บทว่า เตนาภิภูโต ความว่า ถูกมฤคนั้นนั่นแหละครอบงำ
คือท่วมทับ ได้แก่จับไว้เคลื่อนไหวไม่ได้. บทว่า กปณํ รุทามิ
ความว่า เราเป็นผู้ถึงความเป็นผู้น่ากรุณาร้องคร่ำครวญอยู่. บทว่า
มา เหว มํ ความว่า ท่านอย่าได้ทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้เป็นสามีที่รักผู้
เสมอกับลมปราณของตน ผู้ถึงความพินาศเห็นปานนี้.

ลำดับนั้น ช้างพังนั้นจึงหันกลับ เมื่อจะปลอบโยนพระโพธิสัตว์
นั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่เจ้า ดิฉันจักไม่ละทิ้งท่านผู้
เป็นช้างทรงกำลังถึง ๖๐ ปี ท่านย่อมเป็น
ที่รักใคร่อย่างยิ่งของดิฉัน ยิ่งกว่าปฐพีอันมี
มหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สฏฺ€ิหายนํ ความว่า ก็ในเวลา
มีอายุ ๖๐ ปี โดยกำเนิด ช้างทั้งหลายย่อมเสื่อมถอยกำลัง ดิฉันนั้น
จักไม่ละทิ้งท่านผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้ ผู้ถึงความพินาศ ท่าน
อย่ากลัว เพราะว่าท่านเป็นที่รักยิ่งของดิฉัน กว่าปฐพีนี้อันตั้งจรด
มหาสมุทรในทิศทั้ง ๔ ชื่อว่ามีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นแดนสุด.

ครั้นนางช้างทำพระโพธิสัตว์นั้นให้เข้มแข็ง แล้วจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านผู้เป็นเจ้า บัดนี้ ดิฉันเมื่อได้สนทนาปราศรัยกับปูทอง
สักหน่อย จักให้ปล่อยท่าน เมื่อจะอ้อนวอนปูทองจึงกล่าวคาถา
ที่ ๓ ว่า :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ปูเหล่าใด อยู่ในมหาสมุทรก็ดี ใน
แม่น้ำคงคาก็ดี ในแม่น้ำยมุนาก็ดี ท่านเป็น
สัตว์น้ำผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่านั้น ขอท่านจง
ปล่อยสามีของดิฉันผู้ร้องไห้อยู่เถิด.

เนื้อความของคำที่เป็นคาถานั้นว่า ปูเหล่าใดในมหาสมุทรก็ดี
ในแม่น้ำคงคาหรือยมุนาก็ดี ท่านเท่านั้นเป็นผู้ประเสริฐกว่าปูเหล่า
นั้นทั้งหมด โดยความถึงพร้อมด้วยวรรณะและโดยความเป็นใหญ่
ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงขออ้อนวอนท่าน ขอท่านโปรดปล่อยสามีของ
ดิฉันผู้กำลังร้องไห้อยู่เถิด.

เมื่อนางช้างนั้นกำลังพูดอยู่ ปูได้ถือนิมิตในเสียงหญิง เป็น
ผู้มีใจถูกดึงลง จึงอ้าก้ามจากเท้าช้างหาได้รู้อะไรบ้างว่า ช้างนี้เรา
ปล่อยแล้วจักกระทำชื่อสิ่งนี้. ลำดับนั้น ช้างจึงยกเท้าเหยียบหลังนั้น
กระดองพังทลายไปในทันทีนั่นเอง ช้างร้องขึ้นด้วยความยินดี.
ช้างทั้งปวงจึงประชุมกันนำเอาปูไปวางบนบก กระทืบให้ละเอียดเป็น

จุรณวิจุรณไป. ก้ามทั้งสองปูนั้นแตกออกจากร่างกระเด็นตกไปยัง
ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ห้วงน้ำที่มีปูอยู่นั้นเนื่องเป็นอันเดียวกันกับแม่น้ำ
คงคา ในเวลาที่แม่น้ำคงคาเต็ม ก็เต็มไปด้วยน้ำในแม่น้ำคงคา
เมื่อน้ำแม่น้ำคงคาน้อย น้ำในห้วงก็ไหลลงสู่แม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น

ก้ามปูแม้ทั้งสองก้ามนั้นก็ลอยไปในแม่น้ำคงคา. ในก้ามปูสองก้ามนั้น
ก้ามหนึ่งลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พระราชาพี่น้อง ๑๐ องค์ เล่นน้ำ
อยู่ ได้ไปก้ามหนึ่งกระทำตระโพนชื่อว่าอณิกมุทิงคะ ส่วนอีกก้าม
ที่ลอยเข้าไปยังมหาสมุทร พวกอสูรถือเอาไปแล้วให้กระทำเป็นกลอง

ชื่ออฬัมพรเภรี. ในกาลต่อมา พวกอสูรเหล่านั้นถูกท้าวสักกะให้
พ่ายแพ้ในสงคราม จึงทิ้งอฬัมพรเภรีนั้นหลบหนีไป. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะให้ยึดเอาอฬัมพรเภรีนั้นมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระองค์.
อาจารย์บางพวกหมายเอากลองนั้นกล่าวว่า กลองอฬัมพระดังกระหึ่ม
ดุจเมฆคำรามฉะนั้น

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ สามีภรรยาแม้
ทั้งสองก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ช้างพังในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสิกา
ผู้นี้ ส่วนช้าง คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุวรรณกักกฏกชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาอารามทูสกชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ทักขิณาคีรีชนบท ทรงปรารภ
บุตรของนายอุยยานบาลคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
โยเมสญฺจ สเมตานํ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสดาทรงออกพรรษาแล้ว เสด็จออกจาก
พระวิหารเชตวัน เสด็จเที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบท. ครั้งนั้น
อุบาสกคนหนึ่งนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ให้
ประทับนั่งในสวน ให้ทรงอิ่มหนำด้วยยาคูและของควรเคี้ยวทั้งหลาย
จึงกล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ประสงค์จะเที่ยวไปในสวนขอจง
เที่ยวไปกับนายอุยยานบาลผู้นี้ แล้วสั่งนายอุยยานบาลว่า ท่านพึง

ถวายผลไม้น้อยใหญ่ในสวนแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลาย
เดินเที่ยวไปเห็นที่เป็นหลุมแห่งหนึ่ง จึงถามว่า ที่นี้เป็นหลุมไม่มี
ต้นไม้งอกขึ้น เป็นเพราะเหตุไรหนอ ? ลำดับนั้น นายอุยยานบาล
จึงบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ได้ยินว่า มีบุตรของนายอุยยานบาลคนหนึ่ง
เมื่อจะรดน้ำต้นไม้ที่ปลูกใหม่ คิดว่า จักรดน้ำโดยเอารากเป็นประมาณ

จึงถอนขึ้นมาแล้วรดน้ำเฉพาะราก ด้วยเหตุนั้น ที่นั้นจึงเป็นหลุม.
ภิกษุทั้งหลายมาเฝ้าพระศาสดาแล้วกราบทูลเนื้อความนั้นให้ทรงทราบ.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
ในกาลก่อน กุมารนั้นก็เป็นผู้ทำลายอาราม ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอน
จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าวิสสเสนะครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี เมื่อเขาป่าวประกาศการเล่นมหรสพ นายอุยยานบาล
คิดว่าจักเล่นมหรสพ จึงบอกลิงทั้งหลายที่อยู่ในสวนว่า สวนนี้มี
อุปการะมากแก่พวกเจ้า เราจักเล่นมหรสพ ๗ วัน พวกเจ้าจงรดน้ำ

ต้นไม้ที่ปลูกใหม่ตลอด ๗ วัน. พวกลิงรับคำว่าได้. นายอุยยานบาล
จึงมอบกระออมหนังให้แก่ลิงเหล่านั้นแล้วก็จากไป. ลิงทั้งหลายเมื่อจะ
รดน้ำ จึงรดน้ำที่ต้นไม้ซึ่งปลูกใหม่ๆ. ลำดับนั้น ลิงจ่าฝูงได้กล่าวกะลิง
เหล่านั้นว่า พวกท่านจงรอก่อน ธรรมดาว่าน้ำมิใช่จะหาได้ง่ายตลอด

ทุกเวลา น้ำนั้นควรจะรักษา ควรที่พวกเราจะถอนต้นไม้ที่ปลูกใหม่
รู้ขนาดประมาณของรากแล้ว ต้นที่มีรากยาวรดให้มาก ต้นที่มีรากสั้น
รดแต่น้อย ลิงเหล่านั้นพากันรับคำว่าดีละ บางพวกเดินถอนต้นไม้


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ที่ปลูกใหม่ บางพวกปลูกแล้วรดน้ำ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้
เป็นบุตรของตระกูลหนึ่งในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์ได้ไปสวน
ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นลิงเหล่านั้นกระทำอยู่อย่างนั้น จึงถามว่า
ใครให้พวกเจ้ากระทำอย่างนี้ เมื่อพวกลิงตอบว่า หัวหน้าวานร จึง
กล่าวว่า ปัญญาแห่งหัวหน้าของพวกเจ้า ยังเท่านี้ก่อน ส่วนปัญญา
ของพวกเจ้าจักเป็นเช่นไร เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-

ลิงตัวใดสมมติกันว่า เป็นใหญ่กว่าฝูงลิง
เหล่านี้ ปัญญาของลิงตัวนั้นมีอยู่เพียงอย่างนี้
เท่านั้น ฝูงลิงที่เป็นบริวารนอกนี้จะมีปัญญา
อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยเมสญฺจ สเมตานํ ความว่า
ลิงตัวใด ได้เป็นผู้รับสมมติว่าประเสริฐสุดกว่าลิงเหล่านี้ คือ กว่าลิง
แม้ทั้งหมดผู้มีชาติกำเนิดเสมอกัน. บทว่า กิเมว อิตรา ปชา ความว่า
ปัญญาของลิงที่ต่ำทรามนอกนี้ ในบรรดาลิงเหล่านั้น จะเป็นเช่นไร
หนอ.

วานรทั้งหลายได้ฟังถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ท่านยังไม่รู้
อะไร ไฉนจึงด่วนมาติเตียนเราต่างๆ อย่างนี้
เล่า เรายังไม่เห็นรากไม้แล้ว จะพึงรู้ต้นไม้
ว่ารากหยั่งลงไปลึกได้อย่างไรเล่า.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺเม เป็นเพียงอาลปนะ
คือคำร้องเรียก. ในคาถานี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ดูก่อน
บุรุษผู้เจริญ ท่านยังไม่รู้เหตุและไม่ใช่เหตุด้วยประการใด มาด่วน
ติเตียนพวกเราโดยประการนั้นทันที ใครๆ ยังไม่ถอนรากแล้ว จะ
อาจรู้ได้อย่างไรว่า ชื่อว่าต้นไม้ต้นนี้หยั่งรากลงไปลึกหรือหาไม่ ด้วย
เหตุนั้น พวกเราจึงให้ถอนขึ้นแล้วจึงรดน้ำตามประมาณของราก.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
เราไม่ติเตียนเจ้าทั้งหลาย เพราะพวก
เจ้าก็เป็นแต่ลิงไพรอาศัยอยู่ในป่า แต่คนเช่น
พวกเจ้าปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่พระ-
ราชาองค์ใด พระราชาองค์นั้น คือพระเจ้า
วิสสเสนะ จะพึงถูกติเตียนได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสฺสเสโน จ คารยฺโห ความว่า
ก็ในกาลปลูกต้นไม้นี้ พระเจ้าพาราณสีพระนามว่าวิสสเสนะ จะพึง
ถูกติเตียน. บทว่า ยสฺสตฺถา รุกฺขโรปกา ความว่า คนทั้งหลาย
เช่นพวกเจ้าเป็นผู้ปลูกต้นไม้ เพื่อประโยชน์แก่พระราชาใด.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า หัวหน้าวานร ในกาลนั้น ได้เป็นกุมารผู้ทำลายต้นไม้ใน
สวน ในบัดนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอารามทูสกชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
นางสุชาดาน้องหญิงของนางวิสาขา ธิดาของธนัญชัยเศรษฐี สะใภ้ของ
ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น หิ
วณฺเณน สมฺปนฺนา ดังนี้

ได้ยินว่า นางสุชาดานั้นเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิก
เศรษฐี เต็มไปด้วยยศอย่างใหญ่หลวง. นางสุชาดานั้นคิดว่า เราเป็น
ธิดาของตระกูลใหญ่ จึงเป็นผู้ถือตัวจัด มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า
ไม่กระทำวัตรปฏิบัติแก่พ่อผัว แม่ผัว และสามี เที่ยวคุกคามเฆี่ยนตี
คนในเรือน. ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐

เสด็จเข้าไปยังเรือนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ประทับนั่งอยู่. ฝ่าย
มหาเศรษฐีก็เข้าไปนั่งใกล้พระศาสดา ฟังธรรมอยู่. ขณะนั้น นาง
สุชาดาทำการทะเลาะกับพวกทาสและกรรมกร. พระศาสดาทรงหยุด
ธรรมกถาตรัสว่า นี่เสียงอะไร. ท่านเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เจริญ มีหญิงสะใภ้ในตระกูลคนหนึ่ง ไม่มีความเคารพ. นาง

ไม่มีวัตรปฏิบัติต่อพ่อผัว แม่ผัว และสามี ไม่ให้ทาน ไม่รักษาศีล
ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เที่ยวก่อแต่การทะเลาะทุกวันทุกคืน.
พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียกนางมา. นางสุชาดามา
ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดา
ตรัสถามนางว่า ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวก เธอ

เป็นภรรยาพวกไหน ในบรรดาภรรยา ๗ จำพวกนั้น. นางสุชาดา
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันไม่ทราบความแห่งพระ-
ดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่หม่อมฉันโดย
พิสดารเถิด. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น เธอจงเงี่ยโสตสดับ
แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

ภรรยาคนใดของชายมีอาการอย่างนี้
คือมีจิตคิดประทุษร้ายสามี มิได้ประพฤติสิ่ง
ที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สามี ยินดีรักใคร่
ในบุรุษอื่น ดูหมิ่นล่วงเกินสามี ขวนขวาย
เพื่อจะฆ่าสามีผู้ถ่ายมาด้วยทรัพย์ ภรรยาชนิด
นั้น ท่านเรียกว่า วธกาภริยา ภรรยาเสมอ
เพชฌฆาต. ภรรยาใดของชายมีอาการอย่างนี้
คือ สามีได้ทรัพย์สิ่งใดมา โดยทางศิลป-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
วิทยาก็ดี โดยทางค้าขายก็ดี ทางกสิกรรม
ก็ดี แม้จะน้อยมากเพียงใด ก็มอบให้ภรรยา
เก็บรักษาไว้ แต่ภรรยานั้นไม่รู้จักเก็บงำ
ปรารถนาแต่จะใช้ทรัพย์นั้นให้หมดเปลือง
ไป ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า โจรีภริยา
ภรรยาเสมอดังโจร. ภรรยาใดของชายมี
อาการอย่างนี้ คือ ไม่ปรารถนาทำการงาน

เกียจคร้าน กินจุ หยาบช้า ดุร้าย ปากคอ
เราะราน ประพฤติข่มขี่พวกคนผู้คอยรับใช้
ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า อัยยาภริยา
ภรรยาเสมอดังเจ้า. ภรรยาใดของชายมีอาการ
อย่างนี้ คือ โอบอ้อมอารี ประพฤติสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามี
คล้ายมารดาตามรักษาบุตร รักษาทรัพย์ที่สามี

หามาได้ไว้ ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า
มาตาภริยา ภรรยาเสมอดังมารดา. ภรรยาใด
ของชายมีอาการอย่างนี้ คือ มีความเคารพ
สามีของตน มีความละอายใจ ประพฤติ
ตามอำนาจ ความพอใจของสามี คล้ายกับ
น้องหญิงมีความเคารพพี่ชายฉะนั้น ภรรยา
ชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ภคินีภริยา ภรรยา

เสมอดังน้องหญิง. ภรรยาใดของชายมีอาการ
อย่างนี้ คือ เห็นสามีย่อมร่าเริงยินดี คล้าย
กับหญิงสหาย เห็นมิตรสหายมาเรือนของตน
ฉะนั้น เป็นผู้รักษาวงศ์ตระกูล มีศีลมีวัตร
ปฏิบัติต่อสามี ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า
สขีภริยา ภรรยาเสมอดังเพื่อน. ภรรยาใด
ของชายมีอาการอย่างนี้ คือ เป็นคนไม่มีความ

ขึ้งโกรธ ถึงจะถูกคุกคามด้วยการฆ่าและลง
อาญา ก็ไม่มีจิตคิดประทุษร้าย อดกลั้นต่อ
สามี ไม่โกรธ ยอมประพฤติตามอำนาจสามี
ภรรยาชนิดนั้น ท่านเรียกว่า ทาสีภริยา
ภรรยาเสมอดังทาส.*


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษมี ๗ จำพวกนี้แล บรรดา
ภรรยา ๗ จำพวกนั้น ภรรยา ๓ จำพวกเหล่านี้ คือ ภรรยาเสมอดัง
เพชฌฆาต ๑ ภรรยาเสมอดังโจร ๑ ภรรยาเสมอดังเจ้า ๑ ย่อมบังเกิด
ในนรก ส่วนภรรยา ๔ จำพวกนอกนี้ ย่อมบังเกิดในเทวโลก
ชั้นนิมมานรดี ครั้นพระศาสดาตรัสจำแนกภรรยา ๗ จำพวก
ด้วยพระคาถาแล้ว จึงตรัสนิคมพจน์ดังนี้ว่า :-

ก็ภรรยาใดในโลกนี้ที่เรียกว่าวธกา-
ภริยา โจรีภริยา และอัยยาภริยา เป็นคนทุศีล
หยาบช้า มิได้เอื้อเฟื้อ ภรรยานั้น ครั้นแตก
กายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่นรก. ส่วนภรรยาใด
ในโลกนี้ ที่เรียกว่า มาตาภริยา ภคินีภริยา
สขีภริยา และทาสีภริยา เป็นคนดำรงอยู่ใน
ศีล สำรวมระวังดีตลอดเวลานาน ภรรยา
นั้น ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ย่อมไปสู่สุคติ.
______________________
* องฺ. สตฺตก. ๒๓/๖๐.
เมื่อพระศาสดาทรงแสดงภรรยา ๗ จำพวก ด้วยประการ
อย่างนี้แล้ว นางสุชาดาได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. เมื่อพระ-
ศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสุชาดา บรรดาภรรยา ๗ จำพวกนี้ เธอเป็น
ภรรยาพวกไหน? นางสุชาดาจึงกราบทูลว่า กระหม่อมฉัน ขอเป็น

ภรรยาเสมอด้วยทาส พระเจ้าข้า แล้วถวายบังคมขอขมาพระศาสดา.
พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ ด้วยพระโอวาทครั้งเดียว
เท่านั้น ด้วยประการดังนี้ ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้วเสด็จไปพระวิหาร-
เชตวัน เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรแล้ว จึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ภิกษุ
ทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงพระคุณของพระศาสดาในโรงธรรมสภาว่า

อาวุโสทั้งหลาย พระศาสดาทรงทรมานนางสุชาดาหญิงสะใภ้ด้วยพระ-
โอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ให้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดา
เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไร? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทรมาน
นางสุชาดาด้วยโอวาทครั้งเดียวเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัย ได้ศึกษาเล่าเรียนศิลปะทั้งปวงใน
เมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ
ทรงครองราชย์โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ. พระมารดาของพระโพธิสัตว์

นั้น เป็นผู้มักโกรธ ดุร้าย หยาบช้า ชอบด่า ชอบบริภาษ. พระ-
โพธิสัตว์นั้นประสงค์จะถวายโอวาทแก่พระมารดา ทรงพระดำริว่า การ
กราบทูลถ้อยคำที่ไม่มีเรื่องอ้างอิงอย่างนี้ ไม่สมควร จึงเสด็จ
เที่ยวมองหาข้อเปรียบเทียบ เพื่อทรงแนะนำพระมารดา. ครั้นวัน
หนึ่ง ได้เสด็จไปยังพระราชอุทยาน. แม้พระมารดาก็ได้เสด็จไปพร้อม

กับพระโอรสเหมือนกัน. ครั้งนั้น นกกระต้อยตีวิดกำลังส่งเสียงร้อง
อยู่ในระหว่างทาง. บริษัทของพระโพธิสัตว์ได้ยินเสียงนั้น จึงพากัน
ปิดหูแล้วกล่าวว่า ดูก่อนเจ้านกผู้มีเสียงกระด้างหยาบช้า เจ้าอย่าได้ส่ง
เสียงร้อง. ก็เมื่อพระโพธิสัตว์แวดล้อมด้วยนักฟ้อนเสด็จเที่ยวพระราช-
อุทยานกับพระมารดา มีนกดุเหว่าตัวหนึ่งแอบอยู่ที่ต้นสาละต้นหนึ่ง

มีดอกบานสะพรั่ง ส่งเสียงร้องด้วยสำเนียงอันไพเราะ. มหาชนพากัน
หลงใหลเสียงนั้น ประคองอัญชลีกล่าวว่า ดูก่อนนกผู้มีเสียงอ่อนหวาน
สละสลวยนุ่มนวล เจ้าจงร้องต่อไปๆ แล้วต่างแหงนคอเงี่ยโสตยืน
แลดูอยู่. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทรงทราบชัดเหตุการณ์ทั้งสอง
นั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า เราจักสามารถทำพระมารดาให้ยินยอมได้

ในบัดนี้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระมารดา มหาชนได้ยินเสียงนก
ต้อยตีวิดในระหว่างทาง ต่างพูดว่า เจ้าอย่าส่งเสียงร้อง แล้วปิดหูเสีย
ชื่อว่าวาจาหยาบไม่เป็นที่รักของใครๆ แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
สัตว์เหล่านี้สมบูรณ์ด้วยสีสรรวรรณะ
มีสำเนียงอ่อนหวานน่ารักน่าชม แต่เป็น
สัตว์มีวาจากระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักของใคร ๆ
ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า. พระองค์ก็ได้เห็น
มิใช่หรือว่า นกดุเหว่าตัวนี้ ดำ สีไม่สวย
ตัวลายพร้อย แต่เป็นที่รักของสัตว์ทั้ง
หลายเป็นอันมาก เพราะวาจาอ่อนหวาน.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการจะให้ตนเป็นที่รัก
ของมหาชน พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย พูด
ด้วยความคิด ไม่ฟุ้งซ่าน ถ้อยคำของผู้ที่
แสดงอรรถและธรรม เป็นถ้อยคำไพเราะ.

คาถาเหล่านั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ ข้าแต่พระมารดา สัตว์
เหล่านี้ประกอบด้วยสีกายมีสีเหมือนดอกประยงค์เป็นต้น ชื่อว่ามีเสียง
ไพเราะ เพราะเสียงเปล่งไพเราะ ชื่อว่าน่ารักน่าชม เพราะมีรูปร่าง
งดงาม แต่ชื่อว่าเป็นสัตว์มีวาจาหยาบ เพราะประกอบด้วยวาจาแข็ง
กระด้างอันเป็นไปด้วยการด่าและการบริภาษเป็นต้น จนชั้นที่สุดบิดา

มารดา จึงชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ในโลกนี้และในโลกหน้า
เหมือนนกต้อยตีวิดที่มีวาจากระด้างในระหว่างทางฉะนั้น ส่วนนก
ดุเหว่ามีปกติกล่าวอ่อนหวาน ประกอบด้วยวาจากลมเกลี้ยง ไพเราะ
ถึงจะมีรูปไม่งามก็เป็นที่รักใคร่ได้. ด้วยเหตุนั้น กระหม่อมฉัน จึง
ขอกล่าวกะพระองค์ว่า พระองค์เห็นมิใช่หรือ นกดุเหว่าตัวนี้ ดำ

มีสีไม่สวย ลายพร้อยด้วยเมล็ดงาดำ อันดำยิ่งกว่าแม้สีกาย แต่ถึง
นกดุเหว่านั้น แม้จะเป็นสัตว์มีสีกายไม่สวยงามอย่างนี้ ก็ยังเป็นที่รัก
ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก เพราะมีวาจาอ่อนหวาน. ดังนั้น เพราะ
เหตุที่สัตว์ทั้งหลายมีวาจาแข็งกระด้าง ย่อมไม่เป็นที่รักแม้ของบิดา
มารดาในโลก ฉะนั้น บุคคลผู้ปรารถนาจะให้เป็นที่รักของชนเป็นอัน

มาก พึงเป็นผู้มีวาจาสละสลวย อ่อนหวาน กลมกล่อม ไพเราะ
นุ่มนวล. และชื่อว่ากล่าวด้วยความคิด เพราะกล่าวกำหนดด้วยความ
คิด กล่าวคือปัญญา ชื่อว่าไม่ฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อ เพราะกล่าวถ้อยคำ
พอประมาณ เว้นความฟุ้งซ่านเพ้อเจ้อ. ก็บุคคลใดผู้เห็นปานนี้แสดง

อรรถและธรรม ถ้อยคำของบุคคลนั้น ชื่อว่าไพเราะอาศัยเหตุกล่าว
ไม่ทำคนอื่นให้โกรธเคือง.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่พระมารดา ด้วยคาถา ๓ คาถา
เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้ ทำให้พระมารดารู้สึกพระองค์ได้. จำเดิม
แต่นั้น พระมารดาได้เป็นผู้เพียบพร้อมด้วยพระมารยาท. ก็พระโพธิ-
สัตว์ทรงกระทำพระมารดาให้หมดพยศ ด้วยพระโอวาท เพียงโอวาท
เดียวเท่านั้น แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระมารดาของพระเจ้าพาราณสี ในครั้งนั้น ได้เป็นนาง
สุชาดาในบัดนี้ ส่วนพระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุชาตาชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การทะเลาะของกาและนกเค้า จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า สพฺเพหิ
กิร ญาตีหิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกาลครั้งนั้น กาทั้งหลายพากันกินนกเค้าทั้งหลาย
ในตอนกลางวัน ฝ่ายนกเค้าทั้งหลาย จำเดิมแต่พระอาทิตย์อัศดงคต
ก็พากันเฉี่ยวศีรษะของพวกกาที่นอนอยู่ในที่นั้นๆ ทำให้พวกกาเหล่า-
นั้นถึงความสิ้นชีวิตไป. ศีรษะกาแม้มากมาย เปื้อนเลือดประมาณ
๗-๘ ทนาน หล่นจากต้นไม้ ภิกษุรูปหนึ่งผู้อยู่ในบริเวณแห่งหนึ่ง

ท้ายพระวิหารเชตวัน ต้องเก็บทิ้งในเวลากวาด. ภิกษุนั้นจึงบอกเนื้อ
ความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นนั่งสนทนากันในโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ได้ยินว่า ในเวลาที่ภิกษุรูปโน้นกวาด
จะต้องทิ้งศีรษะกาทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ทุกวันๆ พระศาสดาเสด็จ
มาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วย

เรื่องอะไร? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นน่ะ ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน กากับนกเค้า
ก็ได้กระทำการทะเลาะกันมาแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ กากับนกเค้าก่อเวรแก่กันและกันขึ้นในคราวไร
พระเจ้าข้า? พระศาสดาตรัสว่า จำเดิมแต่กาลอันเป็นปฐมกัปทีเดียว
แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 72, 73, 74, 75, 76, 77, 78 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร