วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:59  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 70, 71, 72, 73, 74, 75, 76 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
กอบด้วยที่จงกรมเป็นต้นแก่พระโพธิสัตว์นั้น ในพระราชอุทยานนั้น
แล้วถวายบริขารสำหรับบรรพชิตทุกอย่าง ทรงมอบหมายให้นายอุท-
ยานบาลเป็นเวรดูแล ไหว้แล้วเสด็จหลีกไป. จำเดิมแต่นั้น พระ-
โพธิสัตว์บริโภคเฉพาะในพระราชนิเวศน์ ได้มีสักการะและสัมมานะ

มากมาย. อำมาตย์ทั้งหลายอดทนการกระทำอันนั้นไม่ได้พากันกล่าว
ว่า สักการะเห็นปานนี้ ทหารแม้คนหนึ่งเมื่อจะได้ ควรกระทำอย่างไร
แล้วพากันเข้าไปเฝ้าอุปราช ทำความเคารพแล้วทูลว่า ขอเดชะ
พระราชาของข้าพระองค์ ยึดถือพระดาบสรูปหนึ่งว่าเป็นของเราเสีย

อย่างจริงจัง ชื่อคุณอะไรที่พระราชานั้นได้ทรงเห็นในพระดาบสนั้น
ขอพระองค์โปรดทรงปรึกษาหารือกับพระราชาดูก่อน. อุปราชรับคำ
แล้วเข้าไปเฝ้าพระราชาพร้อมกับพวกอำมาตย์ ถวายบังคมแล้วกล่าว
คาถาที่ ๑ ว่า :-

กรรมอะไร ๆ ที่สำเร็จด้วยวิชาของ
ดาบสนี้ มิได้มีเลย อนึ่ง ดาบสนั้น ก็ไม่ใช่
เผ่าพันธุ์ ไม่ใช่พระสหายของพระองค์ เมื่อ
เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุอะไร ติรีติวัจฉดาบส
ผู้มีมือถือไม้ ๓ อัน จึงบริโภคก้อนข้าวอัน
เลิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิมสฺส วิชฺชามยมตฺถิ กิญฺจิ
ความว่า การงานอะไร ๆ อันสำเร็จด้วยวิชาของดาบสนี้ มิได้มี.
บทว่า น พนฺธโว ความว่า บรรดาเผ่าพันธุ์ทางโอรส เผ่าพันธุ์
ทางศิลปะ เผ่าพันธุ์ทางพระโคตร และเผ่าพันธุ์ทางพระญาติ แม้

เผ่าพันธุ์ทางใดทางหนึ่ง ก็มิได้มี. บทว่า โน ปน เต สหาโย
ความว่า ทั้งไม่ได้เป็นพระสหายผู้เล่นฝุ่นมากับพระองค์. บทว่า
เกน วณฺเณน แปลว่า เพราะเหตุไร. คำว่า ติรีติวัจโฉ เป็นชื่อ
ของดาบสนั้น. บทว่า เตทณฺฑิโก ความว่า ผู้ถือไม้ ๓ อัน เพื่อ

ต้องการวาง (แขวน) คณโฑน้ำเที่ยวไป. บทว่า อคฺคปิณฺฑํ ความว่า
ย่อมบริโภคโภชนะอันเลิศสมบูรณ์ด้วยรส อันควรแก่พระราชา.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาได้ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสเรียกพระโอรสมาแล้วตรัสว่า
ดูก่อนพ่อ เจ้ายังจะระลึกได้ถึงคราวที่พ่อไปประเทศชายแดนรบแพ้
แล้วไม่ได้มา ๒-๓ วัน เมื่อพระโอรสทูลว่า ระลึกได้พระเจ้าข้า
จึงตรัสว่า ในคราวนั้นพ่ออาศัยดาบสนี้จึงได้รอดชีวิต แล้วตรัสบอก

เรื่องราวทั้งหมด แล้วตรัสต่อไปว่า ดูก่อนพ่อ เมื่อท่านผู้ให้ชีวิตเรา
มายังสำนักของเรา แม้เมื่อจะให้ราชสมบัติ เราก็ไม่อาจที่จะกระทำ
ให้สมควรแก่คุณที่ท่านดาบสนี้ได้กระทำไว้ ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสคาถา
๒ คาถานี้ว่า :-

เมื่อเรารบพ่ายแพ้ตกอยู่ในอันตราย
ทั้งหลาย ติรีติวัจฉดาบสผู้นี้ได้กระทำความ
อนุเคราะห์แก่เราผู้ตัวคนเดียวไม่มีเพื่อน ใน
ป่าที่ไม่มีน้ำอันทารุณร้ายกาจ ได้เหยียดมือ
ช่วยเราผู้ได้รับความลำบาก เพราะเหตุนั้น
เราแม้ถูกความทุกข์ครอบงำ ก็ขึ้นจากบ่อน้ำ

ได้. เรามาถึงเมืองนี้ได้โดยความยากของ
ดาบสผู้นี้ เราถึงจะเป็นอยู่ในมนุษยโลก ก็
เหมือนกับไปยังปรโลกอันเป็นวิสัยของพระ-
ยม ลูกรัก ติรีติวัจฉดาบสเป็นผู้ควรแก่ปัจ-
จัยลาภ ท่านทั้งหลายจงถวายของควรบริโภค
และยัญที่ควรบูชาแก่ติรีติวัจฉดาบสเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาปาสุ ได้แก่ ในอันตราย
ทั้งหลาย. บทว่า เอกสฺส ได้แก่ ไม่มีเพื่อน. บทว่า กตฺวา ได้แก่
กระทำความอนุเคราะห์ คือทำความรักให้เกิดขึ้น. บทว่า วิวนสฺมึ
ได้แก่ ในป่าที่เว้นจากน้ำดื่ม. บทว่า โฆเร แปลว่า ร้ายกาจ.
บทว่า ปสารยิ กิจฺฉคตสฺส ปาณึ ความว่า ติรีติวัจฉดาบสผูก

พะอง เหยียดมืออันประกอบด้วยความเพียรออก เพื่อช่วยเราผู้ตกบ่อ
ได้รับความทุกข์ให้ขึ้นจากบ่อ. บทว่า เตนุทฺธตารึ ทุขสมฺปเรโต


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 21:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ความว่า เพราะเหตุนั้น แม้เราจะถูกความทุกข์ครอบงำก็ขึ้นจากบ่อ
นั้นได้. บทว่า เอตสฺส กิจฺเฉน อิธานุปตฺโต ความว่า เรามา
ถึงเมืองนี้ได้ด้วยความยากของดาบสผู้นี้ คือด้วยอานุภาพแห่งความ
ยากที่ท่านดาบสผู้นี้กระทำ. บทว่า เวยฺยาสิโน วีสยา ความว่า
ท้าวยม เรียกว่า เวยยาสิ วิสัยแห่งท้าวยมนั้น. บทว่า ชีวโลเก

ได้แก่ ในมนุษยโลก. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ด้วยว่าเราผู้ยังดำรงอยู่
ในมนุษยโลกนี้แหละ แต่ก็ได้เป็นผู้ชื่อว่าไปยังปรโลกด้วยอันเป็นวิสัย
ของพระยม คือเป็นวิสัยแห่งพระยามัจจุราช เรานั้นเป็นผู้จากวิสัย
แห่งพระยมมาเมืองนี้ได้อีก เพราะเหตุแห่งดาบสผู้นี้. บทว่า ลา-

ภารโห แปลว่า เป็นผู้ควรแก่ลาภ คือ เป็นผู้สมควรได้จตุปัจจัย
ทั้ง ๔. บทว่า เทถสฺส โภคํ ความว่า ท่านทั้งหลายจงให้เครื่อง
บริโภค กล่าวคือสมณบริขารอันเป็นปัจจัย ๔ ที่ดาบสนี้พึงใช้สอย
แก่ดาบสผู้นี้. บทว่า ยชิตญฺจ ยญฺํ ความว่า ท่านทั้งหลายแม้

ทั้งปวง คือ ตัวเจ้า พวกอำมาตย์ และชาวนครจงให้เครื่องบริโภค
และบูชายัญแก่ดาบสนี้. ด้วยว่า ไทยธรรมที่ท่านทั้งหลายให้แก่ดาบส
นั้น ย่อมชื่อว่าเป็นเครื่องบริโภค เพราะเป็นของที่ดาบสนั้นจะต้อง
บริโภคใช้สอย และชื่อว่าเป็นยัญ เพราะเป็นยัญคือทานของคนนอก

นี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงพากันถวายของ
ควรบริโภคและของควรบูชาแก่ติรีติวัจฉดาบสเถิด.

เมื่อพระราชาทรงประกาศคุณของพระโพธิสัตว์ ประดุจทำ
พระจันทร์ให้ลอยเด่นขึ้นในพื้นท้องฟ้า ด้วยประการอย่างนี้ คุณของ
ติรีติวัจฉดาบสนั้น ก็เกิดปรากฏมีประโยชน์ในทุกสถานที่ทีเดียว และ
ลาภสักการะอันเหลือเฟือยิ่งก็เกิดขึ้นแก่ติรีติวัจฉดาบสนั้น จำเดิมแต่

นั้นใคร ๆ จะเป็นอุปราช พวกอำมาตย์ หรือคนอื่นก็ตาม ย่อมไม่อาจ
ว่ากล่าวอะไร ๆ พระราชาได้. พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของ
พระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ทรงทำให้สวรรค์
เต็มบริบูรณ์ ส่วนพระโพธิสัตว์ก็ทำอภิญญาและสมาบัติทั้งหลายให้
เกิดขึ้น ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ที่ว่า แม้โบราณก-
บัณฑิตทั้งหลายก็กระทำการอุปการะ ดังนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก
ว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนพระดาบส
ในกาลนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาติรีติวัจฉชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาทูตชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุโลเลรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ
ดังนี้. เรื่องจักมีแจ้งในกากชาดก นวกนิบาต. ก็พระศาสดาตรัสเรียก
ภิกษุรูปนั้นมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้โลเลเหลาะแหละเฉพาะ
ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน เธอก็เป็นผู้โลเลเหลาะแหละ
ก็เพราะความเป็นผู้โลเลเหลาะแหละ เธอจวนจะถูกตัดศีรษะด้วยดาบ.
แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นโอรสของพระเจ้าพรหมทัตนั้น
พอเจริญวัยก็ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทั้งปวงในเมืองตักกศิลา พอ-
พระชนกล่วงลับไป ก็ได้ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ได้เสวยโภชนะอัน
บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงมีพระนามว่า พระเจ้าโภชน-

สุทธิกราช. ได้ยินว่า พระองค์ทรงดำรงอยู่ในวิธีการเห็นปานนั้น
เสวยพระกระยาหารซึ่งมีภาชนะใบหนึ่งสิ้นเปลืองค่าถึงแสนกหาปณะ
อนึ่ง เมื่อเสวยก็ไม่เสวยภายในพระราชมณเฑียรเพราะมีพระประสงค์
จะให้มหาชนผู้ได้เห็นวิธีการเสวยของพระองค์ได้กระทำบุญ จึงให้

สร้างรัตนมณฑปที่ประตูพระราชวัง เวลาจะเสวยก็ให้ประดับประดา
รัตนมณฑปนั้น แล้วประทับนั่งบนราชบัลลังก์อันล้วนด้วยทองคำ
ภายใต้เศวตรฉัตร แวดล้อมด้วยนางกษัติรย์ทั้งหลาย จึงเสวยพระ-
กระยาหารอันมีรสซึ่งมีค่าถึงแสนกหาปณะ ด้วยภาชนะทองอันมีค่า
แสนกหาปณะ

ครั้งนั้น มีบุรุษโลเลคนหนึ่งได้เห็นวิธีเสวยพระกระยาหาร
ของพระราชานั้น อยากจะบริโภคโภชนะนั้น เมื่อไม่สามารถจะอดกลั้น
ความอยากได้ คิดว่าอุบายนี้ดี จึงนุ่งผ้าให้มั่นคงแล้วยกมือขึ้นข้างหนึ่ง
ร้องเสียงดังๆ ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราเป็นทูต พลางเข้าไปเฝ้า

พระราชา. ก็สมัยนั้น ในชนบทนั้น ใครๆ ย่อมห้ามคนที่กล่าวว่า
เราเป็นทูต เพราะฉะนั้น มหาชนจึงแยกออกเป็นสองฝ่ายให้โอกาส.
บุรุษผู้นั้นรีบไปคว้าเอาก้อนภัตรก้อนหนึ่งจากภาชนะทองของพระ-
ราชาใส่ปาก. ลำดับนั้น ทหารดาบชักดาบออกด้วยหมายใจจักตัดหัว
ของบุรุษนั้น. พระราชาตรัสห้ามว่า อย่าประหาร แล้วตรัสว่า


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เจ้าอย่ากลัว จงบริโภคเถอะ แล้วทรงล้างพระหัตถ์ประทับนั่ง. และ
ในเวลาเสร็จสิ้นการบริโภค พระราชาให้ประทานน้ำดื่มและหมากพลู
แก่บุรุษผู้นั้นแล้วตรัสถามว่า บุรุษผู้เจริญ เจ้ากล่าวว่าเป็นทูต เจ้า
เป็นทูตของใคร. บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์
เป็นทูตของตัณหา ตัณหาตั้งข้าพระองค์ให้เป็นทูตแล้วบังคับส่งมาว่า
เจ้าจงไป ดังนี้แล้วได้กล่าวคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-

สัตว์เหล่านี้ย่อมไปสู่ประเทศอันไกล
หวังจะขอสิ่งของตามแต่จะได้ เพื่อประโยชน์
แก่ท้องใด ข้าพระองค์เป็นทูตของท้องนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ ขอพระองค์อย่า
ได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์เลย. อนึ่ง มาณพ

ทั้งหลาย ย่อมตกอยู่ในอำนาจของท้องใด
ทั้งกลางวันและกลางคืน ข้าพระองค์ก็เป็น
ทูตของท้องนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
ขอพระองค์อย่าได้ทรงพิโรธแก่ข้าพระองค์
เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถา ทูรมายนฺติ ความว่า
สัตว์เหล่านี้เป็นผู้อยู่ในอำนาจของตัณหา ย่อมไปแม้ไกลๆ เพื่อ
ประโยชน์แก่ท้องใด. บทว่า รเถสภ ได้แก่ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมทัพรถ.

พระราชาได้ทรงสดับคำของบุรุษนั้นแล้วทรงพระดำริว่า ข้อนี้
จริง สัตว์เหล่านี้เป็นทูตของท้อง เที่ยวไปด้วยอำนาจตัณหา และ
ตัณหาก็ย่อมจัดแจงสัตว์เหล่านี้ บุรุษผู้นี้กล่าวถ้อยคำเป็นที่ชอบใจเรา
ยิ่งนัก จึงทรงโปรดบุรุษผู้นั้น ตรัสพระคาถาที่ ๓ ว่า :-

ดูก่อนพราหมณ์ เราจะให้โคสีแดง
พันตัวพร้อมทั้งโคจ่าฝูงแก่ท่าน แม้เราและ
สัตว์ทั้งมวลก็เป็นทูตของท้องทั้งสิ้น เพราะ
เราก็เป็นทูต ไฉนจะไม่ให้สิ่งของแก่ท่าน
ผู้เป็นทูตเล่า.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บทว่า พราหมณ นี้ในคาถานั้น เป็นเพียงคำร้องเรียก.
บทว่า โรหิณีนํ แปลว่า มีสีแดง. บทว่า สห ปุงฺคเวน ได้แก่
พร้อมกับโคผู้ซึ่งเป็นปริณายกจ่าฝูงผู้จะป้องกันอันตรายให้. บทว่า
มยมฺปิ ความว่า เราและสัตว์ทั้งปวงที่เหลือ ย่อมเป็นทูตของท้องนั้น
เหมือนกัน เพราะฉะนั้น เราเป็นทูตของท้องเสมอกันเพราะเหตุไร
จึงจะไม่ให้แก่ท่านผู้เป็นทูตของท้องเล่า.

ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้วทรงมีพระทัยยินดีว่า บุรุษผู้เช่น
ท่านนี้แลให้เราได้ฟังเหตุที่ไม่เคยฟัง จึงได้ประทานยศใหญ่แก่บุรุษ
ผู้นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้โลเลดำรงอยู่ในอนาคามิ-
ผล. ชนเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้น. บุรุษผู้โลเลใน
กาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้เหลาะแหละในบัดนี้ ส่วนพระเจ้าโภชนสุทธิก-
ราช ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาทูตชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. สังกัปปราคชาดก ๒. ติลมุฏฐิชาดก ๓. มณิกัณฐชาดก
๔. กุณฑกกุจฉิสินธวชาดก ๕. สุกชาดก ๖. ชรูทปานชาดก
๗. คามณิจันทชาดก ๘. มันธาตุราชชาดก ๙. ติรีติวัจฉชาดก
๑๐. ทูตชาดก.
จบ สังกัปปวรรคที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาปทุมวรรคที่ ๒
อรรถกถาปทุมชาดกที่ ๑


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุทั้งหลายผู้กระทำการบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์ จึงตรัส
เรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ยถา เกสา จ มสฺสุ จ ดังนี้ เรื่องนี้จักมี
แจ้งในกาลิงคโพธิชาดก.

ก็ต้นโพธิ์นั้น ชื่อว่าอานันทโพธิ์ เพราะเป็นต้นโพธิ์ที่พระ-
อานันทเถระปลูกไว้. จริงอยู่ความที่พระเถระปลูกต้นโพธิ์ไว้ที่ซุ้ม
ประตูพระเชตวันวิหาร ได้แพร่สพัดไปตลอดทั่วชมพูทวีป. ครั้งนั้น
ภิกษุชาวชนบทบางพวกพากันคิดว่า จักกระทำการบูชาด้วยระเบียบ
ดอกไม้ที่ต้นอานันทโพธิ์ จึงไปยังพระเชตวันวิหารถวายบังคมพระ-

ศาสดา วันรุ่งขึ้น เข้าไปในเมืองสาวัตถี ไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย
ไม่ได้ดอกไม้ จึงมาบอกแก่พระอานันทเถระว่า ท่านผู้มีอายุ พวก
กระผมคิดกันว่า จักกระทำบูชาด้วยดอกไม้ที่ต้นโพธิ์ จึงไปยังถนนที่มี
ดอกอุบลขาย ก็ไม่ได้แม้แต่ดอกเดียว. พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ผมจักนำมาถวายท่าน แล้วเดินไปยังถนนที่มีดอกอุบลขาย
ให้เขายกกำดอกอุบลเขียวเป็นจำนวนมาก แล้วส่งไปถวายภิกษุ
เหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นถือดอกอุบลเขียวเหล่านั้นไปบูชาที่ต้นโพธิ์.
ภิกษุทั้งหลายรู้เรื่องราวอันนั้น จึงนั่งสนทนาถึงคุณของพระเถระใน

โรงธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุชาวชนบทมีบุญน้อย ไปยัง
ถนนที่มีดอกอุบลขายก็ไม่ได้ดอกไม้ ส่วนพระเถระไปประเดี๋ยวก็ได้
มาแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ฉลาดในการกล่าว ผู้ฉลาด
ในถ้อยคำ ย่อมได้ดอกไม้ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน
ผู้ฉลาดก็ได้แล้วเหมือนกัน จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นบุตรเศรษฐี. ก็ในภายใน
พระนคร ในสระแห่งหนึ่งปทุมกำลังออกดอก. บุรุษจมูกแหว่งคนหนึ่ง
รักษาสระนั้น. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อเขาป่าวร้องการแสดงมหรสพใน
พระนครพาราณสี บุตรของเศรษฐี ๓ คน มีความประสงค์จะประดับ
ดอกไม้เล่นมหรสพ จึงคิดกันว่า จักพรรณนาคุณของชายจมูกแหว่ง

โดยไม่เป็นจริงแล้วจักได้ดอกไม้ ครั้นคิดกันแล้วในเวลาที่ชายจมูก
แหว่งนั้นเด็ดดอกปทุม จึงเข้าไปใกล้สระได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
บรรดาเศรษฐีบุตรทั้ง ๓ คนนั้น คนหนึ่งเรียกชายจมูกแหว่งนั้น
มาแล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ผมและหนวดที่ตัดแล้วๆ ย่อมงอก
ขึ้นได้ ฉันใด จมูกของท่านจงงอกขึ้น
ฉันนั้น ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว ขอจงให้
ดอกปทุม

ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรนั้น จึงไม่ให้ดอกปทุม.
ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรที่ ๒ ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ต่อเขาว่า :-
พืชที่เขาเก็บไว้ในสารทกาล คือฤดู
ใบไม้ร่วงหว่านลงในนาย่อมงอกขึ้น ฉันใด
จมูกของท่านจงงอกขึ้น ฉันนั้น ท่านอัน
ข้าพเจ้าขอแล้ว ขอจงให้ดอกปทุม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สารทิกํ ได้แก่ พืชที่สมบูรณ์
ด้วยเนื้อแท้ อันบุคคลถือเอาในสารทกาลแล้วเก็บไว้.

ชายจมูกแหว่งนั้นโกรธต่อเศรษฐีบุตรคนนั้นก็ไม่ให้ดอกปทุม.
ลำดับนั้น เศรษฐีบุตรคนที่ ๓ กล่าวคาถาที่ ๓ ต่อเขาว่า :-
คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเพ้อไปด้วย
คิดว่า ท่านจักให้ดอกปทุมบ้าง คนทั้งสองนั้น
จะพูดหรือไม่พูดก็ตาม จมูกของท่านย่อม
ไม่งอกขึ้น ดูก่อนสหาย ท่านจงให้ดอกปทุม
ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่
ข้าพเจ้าเถิด.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภปิ วิลปนฺเต เต ความว่า
คนแม้ทั้งสองนั้นพูดเท็จ. บทว่า อปิ ปทุมานิ ความว่า คนทั้งสอง
นั้นคิดว่า ชายจมูกแหว่งจักให้ดอกปทุมแก่พวกเราบ้าง จึงกล่าว
อย่างนั้น. บทว่า วชฺชุํ วา เต น วา วชฺชุํ ความว่า คนเหล่านี้

จะพึงกล่าวหรือจะไม่พึงกล่าวอย่างนี้ว่าจมูกของท่านจงงอกขึ้น ชื่อว่า
คำของคนเหล่านั้น ไม่เป็นประมาณ จมูกย่อมไม่มีการงอกขึ้น
แม้โดยประการทั้งปวง ส่วนเราจะไม่กล่าวพาดพิงถึงจมูกของท่าน
จะขออย่างเดียว ดูก่อนสหาย ท่านอันเราขอแล้วจงให้ดอกปทุมแก่
เรานั้น.

ชายผู้เฝ้าสระปทุมได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า คนทั้งสองนี้กระทำ
มุสาวาท ส่วนท่านกล่าวตามสภาพ ดอกปทุมทั้งหลายสมควรแก่ท่าน
แล้วถือเอาดอกปทุมกำใหญ่มาให้แก่เศรษฐีบุตรคนที่ ๓ นั้น. แล้ว
กลับไปยังสระปทุมของตนตามเดิม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดกว่า เศรษฐีบุตรคนที่ได้ดอกปทุมในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปทุมชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า ปาณิ เจ
มุทุโก จสฺส ดังนี้

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นผู้ที่ถูกนำมายังโรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อ
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า
หญิงทั้งหลายนี้ใครๆ ไม่ควรจะรักษา เพราะตามอำนาจของกิเลส

แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ทั้งที่จับมือธิดาของตนรักษาอยู่ก็ไม่อาจ
รักษาไว้ได้ ธิดายืนจับมือบิดาอยู่ ไม่ให้บิดารู้ตัวเลย หนีไปกับบุรุษ
ด้วยอำนาจกิเลส ครั้นตรัสดังนี้แล้วได้ทรงนิ่งเสีย อันภิกษุเหล่านั้น
อ้อนวอนจึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พอทรงเจริญวัยก็เล่าเรียนศิลปศาสตร์ทุกอย่าง
ในเมืองตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว ก็ดำรงอยู่ในราช-

สมบัติทรงครองราชย์โดยธรรม. พระองค์ทรงเลี้ยงดูคนทั้งสอง คือ
พระราชธิดา และพระราชภาคิไนย ไว้ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์
วันหนึ่ง ประทับอยู่กับพวกอำมาตย์ ดำรัสว่า เมื่อเราล่วงไป หลาน
ของเราจักได้เป็นพระราชา ฝ่ายธิดาของเราจักได้เป็นอัครมเหสีของ

พระราชานั้น ในกาลต่อมา ในเวลาที่พระธิดาและพระภาคิไนยนั้น
เจริญวัย ประทับอยู่กับพวกอำมาตย์อีกหนหนึ่ง ตรัสว่า เราจักนำ
ธิดาของพระราชาอื่นมาให้หลานเรา และจักให้ธิดาของเราในราช-
ตระกูลอื่น เมื่อเป็นอย่างนี้ญาติทั้งหลายของเราจักมากขึ้น. อำมาตย์

เหล่านั้น ก็รับพระบัญชา. ลำดับนั้น พระราชาจึงรับสั่งให้ประทาน
วังข้างนอกแก่พระภาคิไนย ให้พระธิดาประทับอยู่ภายในพระราช-
นิเวศน์. แต่คนทั้งสองนั้นได้มีจิตปฏิพัทธ์แก่กันและกันอยู่. พระ-
กุมารคิดอยู่ว่า ด้วยอุบายอะไรหนอ จึงจะให้นำพระราชธิดามาไว้
ภายนอกได้ ทรงคิดได้ว่า มีอุบาย จึงให้สินจ้างแก่แม่นม เมื่อแม่-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นมทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า มีกิจอะไร จึงตรัสว่า ข้าแต่แม่ เรา
ทั้งหลายใคร่จะนำพระราชธิดาไว้ภายนอกวัง จะมีช่องทางอย่างไร
หนอ. แม่นมทูลว่า หม่อมฉันจักพูดกับพระราชธิดาแล้วจักรู้ได้.
พระกุมารตรัสว่า ดีละแม่. แม่นมนั้นไปแล้วทูลว่า มาซิแม่หม่อมฉัน
จักจับเหาที่ศีรษะแม่ แล้วให้พระราชธิดานั้นประทับบนตั่งน้อยตัวเตี้ย

ตนเองนั่นบนตั่งน้อยตัวสูง ให้ศีรษะของพระราชธิดานั้นซบอยู่ที่ขา
อ่อนทั้งสองของตน จับเหาอยู่ จึงเอาเล็บของตนจิกศีรษะของพระ-
ราชธิดา. พระราชธิดาทรงทราบว่า แม่นมนี้ย่อมไม่เอาเล็บของตน
จิกเรา แต่เอาเล็บคือความคิดอ่านแห่งพระกุมารผู้เป็นโอรสของพระ-
ปิตุจฉาของเราจิก จึงตรัสถามว่า แม่ได้ไปเฝ้าพระราชกุมาร

หรือจ๊ะแม่. แม่นมทูลว่าจ้ะ แม่ไปมา. พระราชธิดาตรัสว่า พระ-
ราชกุมารบอกข่าวอะไรมาแก่แม่หรือ. แม่นมทูลว่า พระราชกุมาร
ถามถึงอุบายที่พระองค์ให้เสด็จอยู่ภายนอกจ้ะแม่. พระราชธิดาคิดว่า
พระราชกุมารแม้เป็นบัณฑิตมีปัญญาก็จักทรงรู้ จึงตรัสว่า แม่จ๋า
แม่จงเรียนเอาคาถานี้ไปบอกพระราชกุมารเถิด แล้วจึงตรัสคาถาที่ ๑
ว่า :-

ถ้าคนใช้ของท่านพึงมีฝ่ามืออ่อน ๑
ช้างของท่านฝึกดีแล้ว ๑ เวลามืด ๑ ฝนตก ๑
จะพึงมีในกาลใด ความปรารถนาของท่านก็
จะสมประสงค์ในกาลนั้นเป็นแน่.

แม่นมนั้นเรียนเอาคาถานั้นแล้วไปเฝ้าพระกุมาร เมื่อพระ-
กุมารตรัสว่า พระราชธิดาตรัสอะไรจ๊ะแม่. ทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า
พระราชธิดาไม่ได้ตรัสคำอะไรๆ อื่นเลย ส่งแต่คาถานี้มา แล้วยก
คาถานั้นขึ้นมา. ฝ่ายพระกุมารทรงทราบเนื้อความของคาถานั้น. จึง
สั่งแม่นมนั้นไปด้วยดำรัสว่า ไปเถอะแม่.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 22:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
คาถานั้นมีความว่า ถ้าคนใช้คนหนึ่งของพระองค์มีมืออ่อน
เหมือนมือของหม่อมฉัน ๑ ถ้าช้างเชือกหนึ่งของพระองค์ฝึกให้ทำเหตุ
แห่งการไม่หวั่นไหวได้อย่างดี ๑ วันนั้นมีความมืดจัดประดุจประกอบ
ด้วยองค์สี่ ๑ และฝนตก ๑ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความปรารถนาของ
ท่านก็จะสมประสงค์ในกาลนั้นแน่ อธิบายว่า เพราะอาศัยปัจจัย ๔
ประการนี้ ความปรารถนาแห่งใจของท่านก็จะถึงที่สุดโดยเด็ดขาดใน
กาลเช่นนั้น.

พระกุมารทรงทราบความนั้นโดยถ่องแท้ จึงทรงทำการตระ-
เตรียมคนใช้คนหนึ่งมีรูปงามมืออ่อน ให้สินจ้างแก่นายหัตถาจารย์ผู้
รักษามงคลหัตถี ให้ฝึกช้างกระทำอาการไม่หวั่นไหวแล้วทรงรอคอย
เวลาอยู่. ครั้นในวันอุโบสถข้างแรมวันหนึ่ง เมฆฝนดำทมึนตกลงมา

ในระหว่างมัชฌิมยาม. พระกุมารนั้น ทรงกำหนดว่า วันนี้ เป็น
วันที่พระราชธิดากำหนดไว้ จึงเสด็จขึ้นช้าง ให้คนใช้มืออ่อนนั้นนั่ง
บนหลังช้าง เสด็จไปประทับ ณ ที่ตรงกับเนินช่องว่างของพระราช-
นิเวศน์ ให้ช้างเบียดติดกับฝาใหญ่ ได้ประทับเปียกชุ่มอยู่ ณ ที่ใกล้

พระแกล. ฝ่ายพระราชาเมื่อจะรักษาพระธิดา จึงมิให้บรรทมที่อื่นให้
บรรทมอยู่บนที่บรรทมน้อยใกล้กับพระองค์. ฝ่ายพระธิดารู้ว่า วันนี้
พระกุมารจะเสด็จมาก็บรรทมไม่หลับเลย ทูลว่า ข้าแต่พระบิดา
หม่อมฉันจะอาบน้ำ. พระราชาตรัสว่า มาเถิดแม่ แล้วจับพระหัตถ์

พระธิดาพาไปใกล้พระแกล ตรัสว่า อาบเถิดแม่ แล้วยกขึ้นให้ยืน
ที่ชานด้านนอกพระแกล ประทับยืนจับพระหัตถ์ข้างหนึ่ง. พระธิดา
นั้น แม้กำลังอาบน้ำ ก็เหยียดพระหัตถ์ให้แก่พระกุมารๆ เปลื้อง
เครื่องอาภรณ์จากพระหัตถ์ของพระธิดานั้นแล้วประดับที่มือของคนใช้
นั้น แล้วยกคนใช้นั้นขึ้นให้ยืนที่ชานเกาะพระธิดา. พระธิดานั้น


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จับมือของคนใช้นั้นวางที่พระหัตถ์ของพระบิดา. พระราชานั้นทรงจับ
มือข้างหนึ่งของคนใช้นั้น แล้วปล่อยมือข้างหนึ่งของพระธิดา พระ-
ธิดานั้นเปลื้องเครื่องอาภรณ์จากมืออีกข้างหนึ่ง เอาประดับมือที่สอง
ของคนใช้นั้นแล้ววางที่พระหัตถ์ของพระบิดา ตนเองได้ไปกับพระ-

กุมาร. พระราชาทรงสำคัญว่า ธิดาของพระองค์ จึงให้ทารกนั้นนอน
ในห้องอันเป็นสิริ ในเวลาเสร็จสิ้นการอาบน้ำ ปิดประตู ลั่นกุญแจ
ให้การอารักขาแล้ว เสด็จไปบรรทมยังที่บรรทมของพระองค์. เมื่อ
ราตรีสว่างแจ้งแล้ว พระราชานั้นทรงเปิดประตูเห็นทารกนั้น จึง

รับสั่งถามว่า นี่อะไรกัน ทารกนั้นกราบทูลความที่พระธิดานั้นเสด็จ
ไปกับพระกุมาร. พระราชาทรงเดือดร้อนพระทัย ทรงพระดำริว่า
เราแม้จับมือเที่ยวไป ก็ไม่อาจรักษามาตุคามได้ ชื่อว่าหญิงทั้งหลาย
ใครๆ รักษาไม่ได้อย่างนี้ จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถานอกนี้ว่า :-

หญิงทั้งหลายบุรุษไม่สามารถจะรักษา
ไว้ได้ด้วยถ้อยคำอันอ่อนหวาน ยากที่จะให้
เต็มได้ เปรียบเสมอด้วยแม่น้ำ ย่อมจมลง
ในนรก บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงเว้นเสีย
ให้ห่างไกลหญิงเหล่านี้ ย่อมเข้าไปคบหา
บุรุษใด เพราะความรักใคร่ก็ตาม เพราะ

ทรัพย์ก็ตาม เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน
เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเองฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนลา มุทุสมฺภาสา ความว่า
บุรุษทั้งหลายไม่อาจ คือไม่สามารถที่จะยึดเหนี่ยวไว้ได้ แม้ด้วยถ้อยคำ
อันไพเราะอ่อนหวาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าไม่อาจรักษาได้ เพราะ
บุรุษทั้งหลายไม่อาจรักษาหญิงเหล่านี้. บทว่า มุทุสมฺภาสา ความว่า

ชื่อว่ามีถ้อยคำอ่อนหวาน เพราะแม้เมื่อหัวใจกระด้าง ก็มีน้ำคำอ่อน-
โยน. บทว่า ทุปฺปูรา ตา นทีสมา ความว่า ชื่อว่ายากที่จะให้
เต็มได้ เพราะไม่รู้จักพอใจด้วยเมถุนเป็นต้น ที่เสพแล้วเนืองๆ
เหมือนแม่น้ำชื่อว่ายากที่จะให้เต็มได้ เพราะน้ำที่หลั่งไหลมาๆ ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคาม
ไม่อิ่ม ไม่แจ่มแจ้งธรรม ๓ ประการ ย่อมตายไป เสียก่อน ธรรม
๓ ประการเป็นไฉน ? คือความเข้าเสพเมถุนธรรม ๑ ความ


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดิ้นรน ๑ การแต่งตัว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาตุคามยังไม่ทันจะ
อิ่มไม่ทันจะแจ่มแจ้งธรรม ๓ ประการเหล่านี้แล ก็ตายเสียก่อน
บทว่า สีทนฺติ ความว่า ย่อมจมคือมุดลงมหานรก ๘ และอุสสุทนรก
๑๖. บทว่า นํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า วิทิตฺวาน แปลว่า รู้ชัด
แล้วอย่างนี้. บทว่า อารกา ปริวชฺชเย นี้ ท่านแสดงว่า บุรุษผู้

เป็นบัณฑิตรู้อย่างนี้ว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ไม่อิ่มเมถุนธรรมเป็นต้น
ตายแล้วย่อมจมลงในนรกเหล่านี้ เมื่อตนจมลงอย่างนี้ จักเกิดมีความ
สุขแก่ใครอื่น พึงเว้นหญิงแม้เหล่านี้เสียให้ห่างไกลทีเดียว. บทว่า
ฉนฺทสา วา ธเนน วา ความว่า หญิงเหล่านี้ย่อมเข้าไปเสวนา
คือคบหาบุรุษใด เพราะความพอใจ คือความชอบใจ ความรักใคร่
ของตน หรือเพราะทรัพย์ที่ได้ด้วยการจ้าง. บทว่า ชาตเวโท แปลว่า

ไฟ. จริงอยู่ไฟนั้น ชื่อว่า ชาตเวโท เพราะพอเกิดเท่านั้นก็เสวย
ได้เป็นสภาพที่เสวยคือปรากฎ. ไฟนั้นย่อมไหม้ ฐานที่คือเหตุได้แก่
ที่ของตนฉันใด แม้หญิงเหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมส้องเสพ
กัษบุรุษใด ย่อมไหม้คือเผาทันทีซึ่งบุรุษนั้นแม้ผู้ประกอบด้วยทรัพย์

ยศ ศีล และปัญญา กระทำให้สมบัตินั้นไม่ควรเกิดขึ้นอีก โดยทำ
ทรัพย์เป็นต้น เหล่านั้นให้พินาศไป. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

ชนผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม ถึง
มีกำลังก็เป็นผู้หมดกำลัง แม้มีเรี่ยวแรงก็
เสื่อมถอย มีตาก็เป็นคนตาบอด. ชนผู้ตก
อยู่ในอำนาจของมาตุคาม ถึงมีคุณความดีก็
หมดคุณความดี แม้มีปัญญาก็เสื่อมถอย
เป็นผู้ประมาท ติดพันอยู่ในบ่วง มาตุคาม

ย่อมปล้นเอาการศึกษาเล่าเรียน ตบะ ศีล
สัจจะ จาคะ สติ และมติความรู้ของคนผู้
ประมาท เหมือนพวกโจรคอยดักทำร้ายใน
หนทาง. ย่อมทำยศ เกียรติ ฐิติความทรงจำ
ความกล้าหาญ ความเป็นพหูสูต และความ
รู้ของคนผู้ประมาทให้เสื่อมไป เหมือนไฟผู้
ชำระทำกองฟืนให้หมดไปฉะนั้น.

พระมหาสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ทรงดำริว่า แม้หลาน
เราก็ต้องเลี้ยงดู ธิดาเราก็ต้องเลี้ยงดู จึงพระราชทานพระธิดา ให้แก่
พระภาคิไนยนั้นนั่นแหละด้วยสักการะอันใหญ่หลวง แล้วทรงตั้ง
พระภาคิไนยนั้นให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราช. เมื่อพระเจ้าลุง
สวรรคต แม้อุปราชนั้นก็ดำรงอยู่ในราชสมบัติ.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานั้นมาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะแล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก
ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามุทุปาณิชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้กระสันจะสึกเหมือนกันรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อภิชฺชมาเน วาริสฺมึ ดังนี้
______________________________
* ในอรรถกถาเป็น จุลลปโลภ ฯ

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้น ผู้ถูกนำมาที่โรงธรรม-
สภาว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ เมื่อ
ภิกษุนั้นทูลรับเป็นสัตย์แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ชื่อว่าหญิงเหล่านี้
ย่อมทำสัตว์ผู้บริสุทธิ์ให้เศร้าหมอง ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้สัตว์
ผู้บริสุทธิ์อันมีในกาลก่อนก็ทำให้เศร้าหมองเหมือนกัน อันภิกษุ
เหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร
พาราณสี เป็นผู้ไม่มีพระโอรส จึงตรัสกับนางสนมของพระองค์ว่า
เธอทั้งหลายจงกระทำความปรารถนาเพื่อให้ได้บุตร. นางสนม
เหล่านั้นจึงพากันปรารถนาบุตร. เมื่อกาลล่วงไปด้วยอาการอย่างนี้
พระโพธิสัตว์จึงจุติจากพรหมโลก บังเกิดในพระครรภ์ของพระ-

อัครมเหสี. พระโพธิสัตว์นั้นพอประสูติ พระชนกชนนีให้สรงสนาน
แล้วได้ประทานแก่พระนม เพื่อให้ดื่มถันธารา. พระโพธิสัตว์นั้น
อันแม่นมทั้งหลายให้ดื่มน้ำนมอยู่ก็ทรงกรรแสง. ลำดับนั้น จึงได้
ทรงประทานพระโพธิสัตว์นั้นให้แก่พระนมอื่น. ในมือของมาตุคาม

พระโพธิสัตว์ไม่เป็นผู้นิ่งเฉย. ลำดับนั้น จึงได้ประทานพระโพธิสัตว์
นั้นแก่บุรุษคนหนึ่งผู้เป็นข้าบาทมูลิกา. พอข้าบาทมูลิกาคนนั้นรับเอา
เท่านั้นพระโพธิสัตว์ก็หยุดนิ่ง. ครั้นในวันตั้งชื่อพระโพธิสัตว์นั้น
พระชนกชนนีได้ทรงขนานพระนามว่า อนิตถิคันธกุมาร. ตั้งแต่นั้นมา

บุรุษเท่านั้นจึงจะพาพระกุมารนั้นเที่ยวไป เมื่อจะให้ดื่มน้ำนม จะปิด
และคลุมให้ดื่ม หรือวางถันในพระโอษฐ์ตามช่องพระวิสูตร. เมื่อ
พระกุมารแม้ประพฤติพระองค์ไปๆ มาๆ อยู่ ใครๆ ไม่อาจแสดง
มาตุคามให้เห็น ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึงให้สร้างสถานที่ประทับนั่ง
เป็นต้นไว้ในที่ว่าง และให้สร้างฌานาคารหอคอย ไว้ภายนอกเพื่อ


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 70, 71, 72, 73, 74, 75, 76 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร