วันเวลาปัจจุบัน 25 ก.ค. 2025, 13:38  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ย. 2011, 14:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ต.ค. 2011, 14:22
โพสต์: 21


 ข้อมูลส่วนตัว


เรารู้ได้อย่างไรว่าอันไหนคือกรรมเก่า อันไหนดือกรรมใหม่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 08:33 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ส.ค. 2011, 15:12
โพสต์: 190


 ข้อมูลส่วนตัว


ปุถุชนก็มีทั้งกรรมเก่ากรรมใหม่ ใจยังระงับนิวรณ์ไม่ได้ก็ย่อมมีกรรมเป็นเงาตามตัว แถมยังจะสร้างกรรมต่อไปเรื่อยๆ กรรมทั้งหลายจึงไม่มีทั้งเก่าและใหม่เพราะเกิดขึ้นทุกขณะ ส่วนอริยบุคคลหมดกรรมปัจจุบันตามลำดับของแต่ละบุคคลที่ทำได้มากน้อย เปรียบดั่งเช่น หมดหนี้สิน กรรมเก่าอาจจะตามมาให้ผลตามคราวอันสมควรแก่เวลา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 พ.ย. 2011, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2007, 09:55
โพสต์: 1632


 ข้อมูลส่วนตัว


คนบนเขา เขียน:
เรารู้ได้อย่างไรว่าอันไหนคือกรรมเก่า อันไหนดือกรรมใหม่

อธิบายเป็นสองนัยว่า
" กรรมคือการกระทำ "
๑.การกระทำในปัจจุบัน คือ กรรมใหม่ล่าสุด เมื่อผ่านพ้นปัจจุบันไป การกระทำที่ได้กระทำไป ก็คือ "กรรมเก่า"
๒. การกระทำของบิดามารดา เป็นเหตุให้เกิดกรรมเก่าติดตัวมากับ บุตรธิดา และเมื่อบิดามารดาได้กระทำใดใดเมื่อบุตรธิดา เกิดมีแล้ว ณ.ปัจจุบัน คือ กรรมไหม่ เช่นเดียวกัน เมื่อผ่านพ้นปัจจุบันไป การกระทำของบิดามารดาก็คือ กรรมเก่า อันจักมีผลต่อบุตรธิดา ในปัจจุบัน และในอนาคต


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ย. 2011, 02:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


กรรมใหม่ กรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงกรรมใหม่และกรรมเก่า ความดับกรรม และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม เธอทั้งหลายจงฟังจงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว

กรรมเก่า เป็นอย่างไร
คือ จักขุ (ตา) อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนา เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
โสตะ (หู) อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ฆานะ (จมูก) อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
กาย (กาย) อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
ชิวหา (ลิ้น) อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
มโน (ใจ) อันบัณฑิตพึงเห็นว่าเป็นกรรมเก่า ถูกปัจจัยปรุงแต่ง สำเร็จด้วยเจตนาเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา
นี้เราเรียกว่า กรรมเก่า

กรรมใหม่ เป็นอย่างไร
คือ กรรมที่บุคคลทำด้วย กาย วาจา ใจ ในบัดนี้ นี้เราเรียกว่า กรรมใหม่

ความดับกรรม เป็นอย่างไร
คือ นิโรธที่ถูกต้องวิมุตติ เพราะดับกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมได้ นี้เราเรียกว่า ความดับกรรม

ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ)
๒. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ)
๔. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ)
๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ)
๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
นี้เราเรียกว่า ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรม

" กรรมเก่าเราได้แสดงแล้ว กรรมใหม่เราได้แสดงแล้ว ความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว และปฏิปทาที่ให้ถึงความดับกรรมเราได้แสดงแล้ว ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุทั้งหลาย กิจใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราก็ได้กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้มีความร้อนใจในภายหลัง นี้คือคำพร่ำสอนสำหรับเธอทั้งหลายของเรา”


อรรถกถา
๑. กรรมสูตร
นวปุราณวรรคที่ ๕
อรรถกถากรรมสูตรที่ ๑
นวปุราณวรรค กรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า นวปุราณานิ แปลว่า ใหม่และเก่า.
บทว่า จกฺขุ ํ ภิกฺขเว ปุราณกมฺมํ ความว่า จักษุ ไม่เป็นของเก่า. กรรมต่างหากเป็นของเก่า แต่ท่านกล่าวอย่างนั้น ตามชื่อแห่งปัจจัยเพราะเกิดแต่กรรม.
บทว่า อภิสงฺขตํ ความว่า อันปัจจัยประชุมปรุงแต่งขึ้น.
บทว่า อภิสญฺเจตยิตํ ได้แก่ สำเร็จด้วยเจตนา.
บทว่า เวทนิยํ ทฏฺฐพฺพํ ความว่า พึงเห็นว่า เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.
บทว่า นิโรธา วิมุตฺตึ ผุสติ ความว่า นิโรธย่อมถูกต้องวิมุตติ เพราะกรรม ๓ อย่างนี้ดับไป.
บทว่า อยํ วุจฺจติ ความว่า นิโรธ ความดับอันเป็นอารมณ์แห่งวิมุตตินั้น นี้ท่านเรียกว่ากรรมนิโรธ ดับกรรม. ดังนั้น จึงตรัสวิปัสสนาอันเป็นบุพภาค ส่วนเบื้องต้นไว้ในพระสูตรนี้.

จบอรรถกถากรรมสูตรที่ ๑


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร