วันเวลาปัจจุบัน 16 พ.ค. 2025, 04:10  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ธ.ค. 2010, 19:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 ส.ค. 2010, 14:47
โพสต์: 31

แนวปฏิบัติ: ดูจิต
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
สิ่งที่ชื่นชอบ: 7 เดือนบรรลุธรรม
อายุ: 0
ที่อยู่: หุบเขาไร้รัก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



สภาวะเหนือกรรม เป็นสภาวะสุดยอดแห่งการปฏิบัติ
โดยปกติแล้วเราแบ่งกรรมหรือการกระทำออกเป็นหลักใหญ่ๆคือ กรรมดี และ กรรมชั่ว
ตามหลักพระพุทธศาสนา เมื่อกระทำกรรมแล้วย่อมได้รับผลของกรรมเยี่ยงนั้น เป็นธรรมดา
หรือที่เรียกว่ากรรมวิบาก(ผลของกรรม) หรือแม้แต่จะพิจารณาโดยหลักวิทยาศาสตร์อันเป็นไปตาม
ธรรมชาติเช่นกันก็ตามที ดังเช่น หลักฟิสิกส์ในเรื่องแรง กล่าวคือเมื่อมีแรงอะไรเกิดขึ้นที่เรียกกันว่า
แรงกริยา ก็ย่อมต้องมีผลออกมาเป็นแรงปฏิกริยาเกิดขึ้นเสมอนั่นเอง ต่างก็ล้วนเป็นสภาวธรรมหรือ
ธรรมชาติ อันเป็นอสังขตธรรมที่เป็นจริงแท้แน่นอนเหมือนกัน กล่าวคือ เที่ยงแท้และคงทนต่อทุก
กาลเยี่ยงนี้ ทั้งในเรื่องกรรมและเรื่องแรงกริยา

เพียงแต่ว่าวิบากของกรรม หรือผลของกรรมนี้ไม่สนองออกมาตรงๆเป็นสูตรสำเร็จหรือเป็นกฏ
เป็นเกณฑ์ ดัง ๑ + ๑ = ๒ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงจัดวิบากแห่งกรรมเป็นอจินไตย ดังตรัสไว้ใน
อจิตตติสูตร กล่าวคือไม่สามารถทำนายหรือรู้ผลอย่างตรงๆ เพียงแต่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เหตุเพราะ
ยังไปเนื่องสัมพันธ์กับเหตุปัจจัยอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบร่วมอีกเป็นจำนวนมาก จึงมีทิศทางที่เบี่ยงเบน
หรือการสนองกลับที่ต่างกันไปบ้าง แต่เกิดผลของกรรมอย่างแน่นอน ขอยกตัวอย่างเป็นไปในทาง
โลกๆเพื่อให้เข้าใจได้แจ่มแจ้ง ดังเช่น ใส่แรงกริยาให้ลูกบอลโดยการปาเข้าใส่กำแพง เมื่อเกิดผล
คือการปะทะกำแพงแล้ว ย่อมเกิดผลของกรรมจากการปะทะกำแพงคือแรงปฏิกริยา ทำให้กระเด้งกลับ
มาเป็นธรรมดาหรือตถตา ไม่เป็นอื่นไปได้ แต่ละครั้ง แต่ละคน ที่ปา ขอให้สังเกตุทิศทางของการกระ
เด้งหรือผลของกรรมที่กลับมาว่า เป็นสังขารที่ถูกปรุงแต่งขึ้นแล้ว จึงมีอาการแปรปรวนไปมา
ตามเหตุปัจจัยย่อยต่างๆ อันเป็นองค์ประกอบร่วม ดังเช่น ความแรง,เบาในการปา ความนุ่ม,แข็ง
ของลูกบอล มุมที่เข้าตกกระทบ วัสดุที่กระทบ ความชำนาญ บุคคลที่ปา ฯลฯ. ล้วนแล้วก่อให้เกิด
การเบี่ยงเบนหรือแปรปรวนขึ้นบ้างเท่านั้น แต่ล้วนแล้วแต่ต้องมีแรงปฏิกริยาหรือแรงโต้ตอบกลับทั้งสิ้น
หรือมีวิบากของกรรมหรือผลของการกระทำเกิดขึ้นอย่างแน่นอน กรรมวิบากก็เป็นเฉกเช่นนั้นแล
ด้วยเหตุดั่งนี้จึงเป็นอจินไตย จึงไม่สามารถพยากรณ์ออกมาเป็นสูตรสำเร็จได้ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง แต่ต้อง
เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ดังนั้นผู้ที่ทำกรรมชั่ว ก็ต้องรีบแก้ไขเพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนของวิบากไปในทาง
ที่ดีเกิดขึ้นนั่นเอง กล่าวคือ จะไปห้ามไม่ให้เกิดวิบากของกรรมเสีย ย่อมเป็นไปไม่ได้ แต่ทำให้เบี่ยงเบน
ไปเสียนั้น พึงกระทำได้ด้วยตนเอง นั่นเอง

ดังนั้นปุถุชนทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว ก็ย่อมเสวยวิบากกรรมตามนั้นอย่างแน่นอน เพราะเป็นสภาว
ธรรมอันเที่ยงตรง เป็นอสังขตธรรม อันเที่ยงตรงและคงทนต่อทุกกาลนั่นเอง ดุจเดียวดั่งการทำการปลูก
ข้าว ย่อมได้ข้าวเป็นผลของกรรม(การกระทำ)เป็นส่วนแรก ย่อมไม่ได้เผือก มัน องุ่นต่างๆ อันย่อมเป็นไป
ไม่ได้ และดังที่กล่าวว่าเป็นอจินไตย อีกส่วนของผลของกรรมจึงแสดงออกมาก็คือได้ผลที่ไม่เท่ากัน
อันขึ้นกับเหตุปัจจัยย่อยดังที่กล่าวแล้วมาเบี่ยงเบนร่วมด้วยนั่นเอง เช่น ความขยันหมั่นเพียร การดูแล
การใส่ปุ๋ยต่างกัน เป็นต้น แต่ล้วนต้องได้ข้าวอย่างจริงแท้แน่นอนทั้งนั้น จะผันแปรเป็นอื่นไม่ได้
เป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบันธรรม กรรมวิบากก็เป็นเฉกเช่นนั้นแล

เหตุที่แสดงนี้ เพราะปัจจุบันนี้มีการสื่อสารต่างๆอย่างมากมาย จึงทำให้รู้เห็นได้อย่างกว้างขวาง
รู้เห็นเป็นไปในโลกและบุคคลต่างๆ อันมีทั้งดีและชั่วเป็นธรรมดา จนแลเห็นว่าเป็นไปดังทุภาษิตที่ได้ยิน
พูดเล่นกันอย่างเนืองๆ " ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วได้ดีมีถมไป " ผู้ประกอบกรรมดีได้ฟังย่อมเกิดการผัสสะมี
ความรู้สึกท้อแท้ ผู้ประกอบกรรมชั่วก็ฮึกเหิมไม่เกรงกลัว แต่ตามความเป็นจริงแล้วยังคงเป็นไปตาม
กระแสของสภาวธรรมอย่างถูกต้องและเที่ยงตรงและคงทนต่อทุกกาลอยู่นั่นเอง
เนื่องจากยังไม่เข้าใจในธรรมหรือธรรมชาติหรือกฏแห่งกรรมอย่างถูกต้องแจ่มแจ้ง ผู้ที่ทำดีก็มักบ่นพึมพำ
ว่า ทำไมไม่รวย ทำไมไม่โชคดี ทำไมเคราะห์ร้ายไม่หมดเสียที เกิดความท้อแท้ เพราะมองเห็นแต่สภาวะ
ความเป็นไปตามความเห็นความเข้าใจของตน อันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่เห็นเข้าใจว่า การทำดีนั้น ย่อมได้ดี
อยู่เป็นที่สุด ด้วยไม่รู้ไม่เข้าใจว่าเป็นคนละเรื่องหรือคนละเหตุปัจจัยกัน เห็นแต่ว่า ไม่เป็นไปตามความ
อยากหรือปรารถนาของตน ด้วยเพราะความไม่รู้(อวิชชา)จึงเอามาผูกเนื่องสัมพันธ์กันอย่างไม่ถูกต้อง
ตามความเป็นจริง เหมือนดังการปลูกข้าวย่อมได้ข้าว มิใช่ความรํ่ารวย ความรํ่ารวยหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ
เหตุปัจจัยอื่นๆที่เป็นองค์ประกอบร่วมด้วย ดังเช่น อุปสงค์อุปทาน หรือกฏของความต้องการ อันเป็น
เหตุปัจจัยคนละเรื่องกันเพียงแต่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ส่งผลถึงกันส่วนหนึ่งเท่านั้น เมื่อเข้าใจผิดดังกล่าว
จึงเกิดความท้อแท้ใจในผู้ประกอบกรรมดี แต่ถึงอย่างไรท่านก็ย่อมได้รับกรรมวิบากที่ดีอย่างแน่นอน
แม้ตั้งแต่ขณะจิตนั้นแล้ว จิตจึงไม่เร่าร้อนเผาลนเป็นทุกข์ด้วยอุปาทานทุกข์แต่เกิดขึ้นและเป็นไปโดย
ไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง และก็มีผลกรรมดีอื่นๆเช่นกันเพียงแต่ดังที่กล่าวแล้วว่าเป็นอจินไตย จึงไม่รู้ไม่เข้าใจ
ในกรรมวิบากดีที่จักเกิดขึ้นและเป็นไปเมื่อใดเท่านั้นเอง ส่วนผู้ที่ประกอบกรรมชั่วนั้น ก็รับผลนั้นแต่
บัดดลเช่นกัน เกิดการฮึกเหิมทะเยอทะยานอยากแต่ล้วนเร่าร้อนเผาลนกังวลขึ้นเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว
จึงดำเนินและเป็นไปอยู่ภายใต้ความเร่าร้อนหลบซ่อนความชั่วเหล่านั้นอยู่เนืองๆ จนในที่สุดผลกรรม
อันเป็นอจินไตยก็ตอบสนองเต็มรูปแบบอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน เช่น เป็นทุกข์ที่แสนเร่าร้อนเมื่อผุด
นึกจำขึ้นมาอันย่อมไม่สามารถควบคุมบังคับได้ เป็นที่ตำหนิติเตียน ก่นด่า ติดคุกติดตะราง ถูกยิงตาย
หรือคดโกงกันเองในกลุ่มผู้ประกอบกรรมชั่ว อันย่อมมีจิตที่มีกิเลสสูงอยู่แล้ว คิดหวาดระแวงและเร่าร้อน
แสวงหาเพิ่มเติม กังวลกับทุกข์ในการดูแลรักษา จนนอนก็สะดุ้งผวา ฝันร้าย ยิ่งไปไหนต้องมีผู้คุ้มกัน
อันแสดงถึงมีความกลัวกังวลในจิตอันเกิดแต่ผลของกรรมแล้วนั่นเอง ฯลฯ. และยังอาจส่งผลเป็นกิเลส
หรือกรรมถึงลูกถึงหลานตามที่เรียนรู้ลอกแบบมาอีกด้วย สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนดำเนินและเป็นไปอย่าง
เงียบเชียบโดยไม่รู้ตัว ถึงรู้ตัวระวังรักษาก็มิสามารถแก้ไขอะไรได้เพราะความเป็นสภาวธรรม ต้องอยู่
ในอุปาทานทุกข์ในชราอันเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายทั้งในยามตื่นและในยามหลับ และไม่มีทางที่จะ
หยุดหรือหลีกเลี่ยงได้เสียด้วยเพราะเป็นธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ อันเป็นกรรมวิบากส่วนหนึ่ง ที่เผาลน
ยิ่งและยาวนาน เกิดๆดับๆอยู่ตลอดเวลาของชีวิต และยังไม่จบเพียงแค่นั้น กรรมวิบากอีกส่วนหนึ่ง
นั้นก็ยังเกิดขึ้นต่อไปอีกในลักษณะอจินไตย คือ เกิดอุปาทานขันธ์๕เหล่านั้นในชราอันจักยังส่งผลให้
เกิดกรรมวิบากที่เหลือในรูปแบบต่างๆอีกต่อไป ดังเช่น ติดคุกติดตะราง ฯ. ผู้ประกอบกรรมดีอยู่
ย่อมไม่รู้ไม่เห็นในสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นและเป็นไปภายในอย่างลึกซึ้งของผู้ประกอบกรรมชั่ว แลเห็น
แต่ภาพลักษณ์ภายนอกไม่เห็นตามความเป็นจริงแห่งธรรมที่เป็นไป ที่เพียงแลดูว่า น่าเป็นสุข แลดูดี
ผิวพรรณดีด้วยอยู่ดีกินดี มีคนนอบน้อม มีข้าทาสบริวาร มีสมบัติพัสถาน, ผู้ประกอบกรรมดีจึงเกิด
ความรู้สึกท้อแท้และริษยาโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นอุปาทานทุกข์ขึ้นเสียอีก ยิ่งในนักปฏิบัติเพื่อการดับ
ไปแห่งทุกข์แล้ว เป็นการปฏิบัติที่ผิดพลาดด้วย เพราะการไปยึด(อุปาทาน)ไปอยาก(ตัณหา)ในความ
ดีนั่นเอง อันพระพุทธเจ้าก็ได้ทรงตรัสเตือนแล้วในสติปัฏฐานสูตร ไม่ยึดมั่นหมายมั่นในสิ่งใด อันหมาย
รวม ดีชั่ว บุญบาป ถูกผิด สุขทุกข์ กุศลจิตอกุศลจิต อดีตอนาคต ละเอียดหยาบ ใกล้ไกล, และ
ผู้เขียนกล่าวเนืองๆในเรื่องอุเบกขา ความเป็นกลางวางเฉย ที่กล่าวอยู่เสมอๆว่าไม่ยึดทั้งดีและชั่ว
ดังนั้นไม่ว่าดีชั่ว ถูกผิด ฯลฯ. ต่างล้วนเป็นสิ่งที่ไปยึดไปอยากแล้วเกิดทุกข์ทั้งนั้น ดังตัวอย่างง่ายๆ
ลองพิจารณาโดยละเอียดและแยบคายดู สมมติว่าท่านเป็นคนดีคนถูก ได้ช่วยเหลือเกื้อหนุนบุค
คลใดบุคลหนึ่งอย่างดียิ่งด้วยเหตุอันใดก็ดี แต่ต่อมาภายหลังบุคคลนั้นได้ทำกรรมชั่วต่อท่าน อาจ
คดโกงหรือนินทาว่าร้ายต่างๆนาๆ ท่านเมื่อทราบเข้า แล้วไปยึดด้วยอุปาทานว่าท่านเป็นคนดี คนถูก
ลองพิจารณาดูดีๆว่าเป็นผู้ใดที่จะเกิดอุปาทานทุกข์ในชราอันเร่าร้อนเผาลนและยาวนานเข้ากระหนํ่า
แบบซํ้าๆซากๆ กรรมดีนั้นก็ยังมีอยู่ แต่ ณ บัดนั้นท่านก็ต้องรับกรรมชั่วของการไปอยากด้วยตัณหา
หรือไปยึดด้วยอุปาทานจึงเกิดเป็นอุปาทานทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนจนกินไม่ได้นอนไม่หลับเช่นกันเสีย
ก่อน ก่อนที่วิบากกรรมดีในรูปแบบใดเพราะเป็นอจินไตยจะเกิดขึ้นเสียอีก ส่วนบุคคลนั้นเขาก็ย่อม
ได้รับวิบากกรรมชั่วของเขาในที่สุดเช่นกัน เพียงแต่ ณ ขณะนั้นเขาบุคคลผู้นั้นยังไม่ได้เสวยความเร่า
ร้อนเผาลนใดๆดังใจปรารถนาของท่านเลย แต่ท่านผู้ไปยึดดียึดถูกอันจัดเป็นกรรมชั่วอย่างหนึ่งโดย
ความไม่รู้(อวิชชา)นั่นเอง จึงเร่าร้อนเผาลนด้วยอุปาทานทุกข์เสียเอง ก่อนเขาผู้นั้นจะเสวยกรรมวิบาก
ชั่วใดๆของเขาเสียอีก

ยังมีกรรมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดแก่ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างถูกต้องดีงาม คือ เหนือกรรม เป็น
กรรมระดับโลกุตระหรือเหนือภาวะทางโลก, เหนือกรรมนี้ ไม่ได้หมายถึงเมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วผล
ของกรรมนั้นจะไม่เกิดขึ้น ผลของกรรมนั้นยังคงมีอยู่ ยังมีกรรมวิบากที่สนองอยู่ เป็นสภาวธรรมอันเที่ยง
แท้คงทนอยู่ มิใช่ผลกรรมหรือกรรมวิบากนั้นดับหรือหายไปเลยดังที่คิดหวังไว้ มิเช่นนั้นผลกรรมดีที่
ท่านทำไว้ก็อาจย่อมหายไปได้ด้วยลักษณาการเดียวกัน แต่หมายถึง เมื่อกรรมวิบากหรือผลของกรรม
จากการกระทำนั้นๆเมื่อเกิดขึ้นแก่ท่านแล้ว แต่ไม่มีผลให้เกิดอุปาทานทุกข์อันเผาลนเร่าร้อนและยาว
นาน ใจท่านยังคงสงบ บริสุทธิ์ ผ่องใส เป็นไปเพียงในลักษณาการของกระบวนธรรมขันธ์ ๕ ที่เกิดขึ้น
ตั้งอยู่ จางคลาย และดับไปเป็นธรรมดา กล่าวคือ อยู่ในภาวะที่เหนือกว่าผลของกรรมหรือกรรมวิบากที่
ยังคงต้องเกิดขึ้นอยู่นั้น แต่ส่งผลไปไม่ถึงท่านเหล่านั้นนั่นเอง กล่าวคือ วิบากกรรมชั่วถูกเบี่ยงเบนบด
บังไปด้วยกรรมดี จึงไม่เกิดความทุกข์อันเร่าร้อนเผาลนและยาวนานด้วยไฟของกิเลสตัณหาอุปาทาน
เข้ากระทบ ที่ต้องปฏิบัติกันก็คือให้เกิดสภาพเหนือกรรมเยี่ยงนี้นี่เอง ตลอดจนเป็นเหตุปัจจัยให้วิบาก
กรรมดีอีกส่วนหนึ่งอันเป็นอจินไตยเช่นกัน จึงย่อมส่งผลในทางที่ดีช่วยอีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมดา จึงเกิด
การเบี่ยงเบนทิศทางดังลูกบอล จึงเป็นไปในทางที่ดีขึ้นเป็นลำดับในที่สุด

การแก้กรรม หรือแก้ไขกรรมที่กระทำกันโดยวิธีสะเดาะเคราห์ บนบานศาลกล่าว ทำบุญทำกุศล
เพื่อหวังผลบุญ บูชาด้วยเครื่องบูชาต่างๆนั้น ตามความเป็นจริงแล้วไม่ใช่วิธีการทางพุทธศาสนา เป็น
การกระทำด้วยทิฏฐุปาทานหรือสีลัพพตปาทาน อันไม่ถูกต้องดีงามอย่างแท้จริง มีประโยชน์เพียงเป็น
ที่พึ่งทางใจของผู้ที่ไปยึดถืออย่างชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น และเมื่อแก้ไขได้ก็ยิ่งพากันไปยึดไปบูชาเพิ่ม
ความแรงเข้มของมิจฉาทิฏฐิ โดยไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า มันเป็นไปตามเหตุปัจจัย จึงเป็นไปเช่นนั้น
เอง ถึงแม้ไม่บนบานก็ยังคงต้องเกิดและเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นๆนั่นเอง อันเป็นไปตามหลักอิทัป
ปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบันธรรม

วิธีแก้กรรมหรือแก้ไขที่ถูกต้องก็คือทำอย่างไรให้ เหนือกรรม นั่นเอง โดยการปฏิบัติแก้กรรมหรือ
รับผลของกรรมในรูปของการปฏิบัติด้วยความเพียรและปัญญา โดยมี สติ, อย่างต่อเนื่องหรือสัมมาสมาธิ,
และปัญญา โดยการมีสติระลึกรู้เท่าทัน และปัญญาแจ่มแจ้งในเวทนาหรือจิตสังขารนั่นเอง แล้วอุเบก
ขาเป็นกลางวางทีเฉย

ผู้ที่ประกอบแต่กรรมดีอยู่แล้ว ก็ควรใฝ่ใจศึกษาปฏิบัติวิปัสสนาให้แจ่มแจ้ง เพื่อให้บรรลุถึงสภา
วะเหนือกรรม

ผู้ที่ประกอบกรรมชั่วอยู่ก็ต้องละวางเสียก่อน แล้วจึงดำเนินการศึกษาปฏิบัติวิปัสสนาให้แจ่มแจ้ง
เพราะจิตที่อยู่ภายใต้อำนาจกิเลสตัณหา
อุปาทานของกรรมชั่วที่ยังดำเนินอยู่นั้น จะไม่มีทางบรรลุถึงความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจนเหนือกรรม
ได้เลย เมื่อไม่เหนือกรรมแล้วจึงต้องเสพเสวยผลกรรมของตนเองเป็นที่สุดไม่ว่าในภพชาติใด ด้วย
ความเที่ยงและคงทนต่อทุกกาลเป็นอย่างยิ่ง

ส่วนผู้ที่กำลังเสวยกรรมวิบากเผาลนจนร้อนลุ่ม ณ ขณะปัจจุบัน อันเนื่องจากการผุดคิดนึกขึ้น
มาเองหรือมีสิ่งที่มาผัสสะกระตุ้นเร้าก็ตามที และมีความเข้าใจในปฏิจจสมุปบันธรรม

กล่าวคือความเป็นเหตุปัจจัยกันตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอย่างมั่นคงหรือแจ่มแจ้ง ก็สามารถ
ปฏิบัติให้เหนือกรรมในขั้นต้นได้ในทันที กล่าวคือ

๑.มีสติระลึกรู้เท่าทันในทุกข์ที่เผาผลาญอันเกิดแต่กรรมวิบากแล้ว
๒.ให้มีสติระลึกรู้เท่าทันธรรมในหลักที่ว่า เมื่อคิดนึกปรุงแต่ง ทุกความคิดปรุงแต่งหรือกริยาจิต
ที่แว๊บออกไปแม้แต่น้อยนิด ย่อมยังให้เกิดการผัสสะ
เกิดเหล่าทุกขเวทนาขึ้นเป็นระยะๆอย่างต่อเนื่อง(หมายถึงอาจทิ้งช่วงยาวบ้าง สั้นบ้าง แต่มีความเนื่อง
สัมพันธ์กันอยู่นั่นเอง) จนเร่าร้อนเผาลน ก็ใช้กำลังของของจิตอันพึงเกิดขึ้นแต่สติระลึกรู้เท่าทัน อย่าง
มีสมาธิคืออย่างต่อเนื่องและปัญญาจากความเข้าใจทั้ง
๓.เป็นเหตุปัจจัย หยุดการคิดนึกปรุงแต่งในเหล่าทุกข์นั้น ๓.แล้วอุเบกขา เป็นกลางวางทีเฉย
ในเรื่องนั้นๆที่คิดปรุง ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว ไม่ว่าถูกหรือผิด ไม่ต้องแก้ตัว,แก้ต่าง,หาข้ออ้างแก้ไขแต่ประการ
ใดๆ ท่านก็อาจพบสภาวะเหนือกรรมในขั้นต้นหรือตทังคนิพพานได้ด้วยตนเอง อันเกิดขึ้นจากสติ,สมาธิ
และปัญญาซึ่งจักสั่งสม อันยังผลดีงามเนื่องต่อไปในภายหน้าอีกด้วย จนอยู่ในสภาพเหนือกรรมอย่างถาวร
หรือนิโรธอันพ้นทุกข์ จึงเป็นสุขอย่างยิ่ง

:b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48: :b41: :b48:

.....................................................
เพียงพบพาน เพื่อผ่านภพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2011, 19:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2011, 16:58
โพสต์: 144

งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: มุก
อายุ: 29
ที่อยู่: จ.ระยอง

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8: เป็นบทความที่ดีมากค่ะ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร