วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 06:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 08:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว




268_1263313128.jpg_601.jpg
268_1263313128.jpg_601.jpg [ 144.65 KiB | เปิดดู 4271 ครั้ง ]
:b8: :b8: :b8:

ปัญหาเรื่องกรรม
พูดถึงเรื่องกรรมนี้ พระศาสดาทรงแสดงว่าเป็นอจินไตย บุคคลไม่ควรคิดให้มากเพราะวิบากของกรรมที่สัตว์กระทำ ได้เสวยร้อยแปดพันประการ เพราะจิตใจของมนุษย์ยังมีความโลภ ความโกรธ ความหลงครอบงำอยู่ มันคิดไปร้อยแปดพันอย่าง วันหนึ่งๆ ไม่ทราบว่าคิดอะไรต่ออะไร มีทั้งบุญมีทั้งบาป มีทั้งไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป คลุกเคล้ากันอยู่ก็เท่านั้น

ชนกกรรม
เรื่องของกรรมนี้ พระศาสดาทรงแสดงหลักไว้ให้ได้คิดกัน คือ พระพุทธเจ้าตรัสว่า สัตวโลกทั้งหลายนี้มี ชนกกรรม มีกรรมให้เกิด ชนกกรรมก็คือ กุศลกรรม อกุศลกรรมที่บุคคลได้กระทำนั่นแหละ เป็นผู้ให้กำเนิดขึ้น จะเกิดเป็นมนุษย์ หรือเป็นสัตว์เดรัจฉานหรือเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสุรกาย เหล่านี้ก็เนื่องจากชนกกรรม ดังที่ว่านี้แหละ และอุปถัมภ์ไว้ให้มีความเจริญ ลาภ ยศ สรรเสริญ มีความสุข มีอายุยืนยาว ทรวดทรงสวยสดงดงาม ผิวพรรณผ่องใส อย่างนี้เรียกว่าอาศัยกุศลกรรมบำรุงไว้ ไม่ให้มีภัยอันตรายเกิดขึ้น หากบุคคลนั้นอาศัยอกุศลกรรมติดตัวมาให้เกิดขึ้น อกุศลกรรมนั่นแหละก็จะตกแต่งให้เป็นทุกข์ ทุกข์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ตายแล้วไปตกนรก เมื่อถูกน้ำร้อนลวก ไฟเผาก็ตะเกียกตะกายขึ้นจากนรกแล้วก็หนีไป หนีไปก็ไม่พ้น นายยมบาลก็จับซัดลงไปในนรกอีก นี่เรียกว่า อกุศลกรรมอุปถัมภ์ไว้ มันบังคับไว้ให้ไปทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้น

อุปปีฬกกรรม
ทีนี้ อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น กรรมบีบคั้นนี้ก็แบ่งได้เป็น ๒ เหมือนกัน ถ้าหากว่าคนๆ หนึ่งทีแรกทำบาปมาแล้ว ต่อมามารู้สึกตัวว่าบาปนี้ไม่ควรทำ มันตกแต่งให้เป็นทุกข์ รู้ตัวแล้วก็รีบเร่งทำกุศลคุณงามความดี คือหลีกเลี่ยงจากบาปอกุศลที่กระทำมานั้นให้พ้นไป เมื่อทำกุศลคุณงามความดีให้แก่กล้ามากขึ้น มีกำลังเหนือบาปอกุศลกรรมเหล่านั้น ก็บีบคั้นบาปที่ทำไว้ก่อนไม่ให้มีโอกาสที่จะให้ผลได้ ในที่สุดก็เลยกลายเป็นอโหสิกรรมไป ที่ท่านเรียกว่า “อุปปีฬกกรรม” ทีนี้ถ้าหากว่าบุคคลมาทำบุญกุศลไว้แต่พอสมควร เมื่อภายหลังมาเกิดความเห็นผิดไปทำบาปเสียหายเข้า อันนี้อำนาจของบาปนั้นก็บีบคั้นบุญกุศลที่ทำไว้ไม่ให้มีโอกาสได้มีผลแก่ผู้กระทำเลย เพราะว่าบุญมีกำลังน้อย บาปมีกำลังมากกว่า บุคคลนั้นจึงต้องประสบแต่ความทุกข์เป็นส่วนมาก นี่คือลักษณะหนึ่งของอุปปีฬกกรรม

อุปฆาตกรรม
อุปฆาตกรรม กรรมตัดรอน หมายความว่ากรรมรีบ คือกรรมที่ให้ผลอย่างเด็ดขาดไปเลย เช่นอย่างคนที่ตายโหงกันส่วนมากนั่นแหละ จะเป็นด้วยว่า ตกต้นไม้ ควายชนหรือถูกคนที่เป็นศัตรูลอบสังหาร หรือตายด้วยฟ้าผ่า อะไรก็ตามเถอะ เหล่านี้ท่านเรียกว่า “อุปฆาตกรรม” กรรมตัดรอน

อปราปรเวทนียกรรม
อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลโดยลำดับชาติลำดับภพต่อเนื่องกันไป คือ กรรมชนิดนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เช่นบุคคลทำบุญกุศลในชาตินี้ไว้มากๆ แล้ว พอตายไป บุญกุศลจะส่งให้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ดังนี้ อายุของเทวดาในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีพันปีทิพย์เป็นขอบเขต เมื่อเทวดาตนนั้นไปเสวยสุขอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นไปจนพันปีทิพย์แล้ว บุญกุศลที่เขาทำไว้ตั้งแต่เป็นมนุษย์ยังไม่หมด ก็เคลื่อนจากชั้นดาวดึงส์ไปเกิดในชั้น “ยามา” อีก ไปให้ผลสืบต่อไปอีก ถ้าไปเกิดในชั้น “ยามา” นั้นแล้ว ชั้น “ยามา” มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีทิพย์ หากบุญกุศลยังไม่หมดก็เคลื่อนไปบังเกิดในชั้น “ดุสิต” ต่อไป โดยลำดับไปอย่างนี้ นี่เรียกว่า “อปราปรเวทนียกรรม” กรรมให้ผลโดยลำดับชาติลำดับภพไป

แม้บาปหรืออกุศลกรรมก็เช่นกัน เมื่อบุคคลทำบาปกรรมมากๆ บาปกรรมนั้น เมื่อตายให้ผลไปตกนรกทนทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์ แล้วเมื่อยู่ในนรกขุมนั้นจนหมดอายุในนรกขุมนั้นแล้ว บาปกรรมยังไม่หมดสิ้น ก็จะเคลื่อนจากนรกขุมนั้นไปตกนรกขุมใหม่อีก แต่ว่าจะได้รับทุกข์ทรมานเบากว่า เมื่อหมดเขตอายุของนรกขุมนั้นไปตกนรกขุมบริวาร ความทุกข์ก็เบาขึ้นกว่าเก่า เป็นอย่างนี้ เมื่อหมดเขตเสวยทุกข์อยู่ในนรก บาปอกุศลยังไม่สิ้น ก็ต้องมาเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย และเป็นสัตว์เดรัจฉานอีก เพราะบาปกรรมนั้นมีเศษอยู่เรื่อยๆ มา พ้นจากสัตว์เดรัจฉานมาเกิดเป็นมนุษย์ บาปยังไม่สิ้นก็มาเป็นมนุษย์ที่ไม่สมบูรณ์ มีอวัยวะร่างกายไม่สมประกอบ เป็นต้น เช่นว่า ตาบอดมาแต่กำเนิด หรือว่าหูหนวก หรือแขนด้วนขาด้วนมาแต่กำเนิด นี่เรียกว่า “เศษบาป” มันตามมาให้ผล อย่างนี้ ตายๆ เกิดๆ ให้ผลไปจนหมดเขตของบาปอกุศลนั้น บุญกุศลที่บุคคลนั้นกระทำไว้ในชาติก่อน ๆ โน้นมันจึงมาให้ผลละทีนี้ เป็นคนดิบคนดีกับเขาได้บ้างละ คราวนี้ เริ่มต้นชีวิตใหม่ นี่แหละ มันเป็นเช่นนี้ชีวิตมนุษย์ ตามที่พระพุทธเจ้าได้รู้แจ้งแทงตลอด พระองค์ได้สอนแล้วสอนเล่าว่าให้กลัวแต่ไฟนรก ให้กลัวแต่ภัยในวัฏสงสารอันเป็นภัยใหญ่ของโลก หรือว่าทุกข์นี้เป็นภัยใหญ่ของชีวิต ชีวิตของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายมีความทุกข์นี่แหละเป็นมหันตภัยไฟนรกบีบคั้นให้กระเสือกกระสนกระสับกระส่ายไปในโลกนี้ ขอให้เข้าใจตามนี้


คนทำชั่วได้ชั่ว คนทำดีได้ดีเป็นอย่างไร คนทำชั่วไม่ได้ในผลชั่วเพราะเหตุใด
คนทำชั่วได้ดียังไม่ได้รับโทษทัณฑ์ เพราะกรรมดีที่มีอยู่ของเขากำลังให้ผลอยู่ กรรมชั่วที่เขากำลังกระทำยังไม่ให้ผล ต่อเมื่อหมดผลแห่งกรรมดี กรรมชั่วจึงให้ผลต่อไปได้ เป็นเช่นนี้แหละ เพราะฉะนั้น คนเราจึงเกิดความไขว้เขวไป เรื่องความเป็นอยู่แตกต่างกันเป็นเรื่องน่าสงสัยสำหรับผู้ที่ไม่รู้แจ้งในเรื่องของกรรมอย่างถ่องแท้ตามที่พระศาสดาทรงแสดงไว้ ก็เป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจได้ คือกรรมของสัตว์ทั้งหลายอาจจะอุปมาได้เหมือนลูกโซ่ที่เป็นห่วงร้อยกันอยู่อย่างนี้ กรรมที่กระทำไว้ในโลกนี้ก็ย่อมให้ผลต่อเนื่องกันไป เรียกว่าให้ผลเป็นขั้นตอนไปไม่สับสนกัน หมายความว่าเวลาใดกรรมดีกำลังให้ผลอยู่ กรรมชั่วก็ไม่ให้ผล เป็นอย่างนั้น แม้ว่าคนนั้นจะทำชั่วอย่างไร แต่กรรมดีก็ยังอุปถัมภ์เขาอยู่ เขาก็ยังไม่เสื่อมจากลาภ จากยศ และยังไม่ประสบกับความทุกข์แต่อย่างใด ที่นี้หากว่ากรรมดีหมดอายุลงเมื่อใด กรรมชั่วที่เขาทำก็จะมีโอกาสให้ผลเมื่อนั้น

การที่เรามาศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนา ขอให้ได้ศึกษาเรื่องกรรม เรื่องผลของกรรมนี่ให้มากเท่าที่จะมากได้ มันเกี่ยวโยงกับชีวิตของเรา เรื่องกรรมดีกรรมชั่วนี่ใช่ว่าเราศึกษาเพื่อใคร หามิได้ ความจริงเราศึกษาเพื่อตัวของเราเอง เมื่อเรามารู้แจ้งชัดในกรรม ในผลของกรรมดังกล่าวมาแล้ว ผู้นั้นก็จะพยายามเว้นจากความชั่วต่างๆ และพยายามสร้างสมความดีขึ้นมาในตน ก็อาศัยความรู้ความเข้าใจแจ่มแจ้งด้วยตนเองนี่แหละ คนเราจึงจะละความชั่วประกอบความดีได้ ถ้าไม่รู้ไม่เห็นด้วยตนเองแล้วมันละไม่ได้เรื่องกรรมชั่ว กรรมดีก็สร้างไม่ได้ เพราะมนุษย์นั้นเหมือนอย่างสัตว์เดรัจฉาน เพราะมนุษย์ถือมานะ ทิฐิ ส่วนมากสำคัญว่าเราเป็นหนึ่งละในโลกนี้ และไม่ค่อยยอมเชื่อใครง่ายๆ ถ้าไม่เห็นด้วยตนเองเสียก่อน แต่ทั้งที่ไม่เห็นด้วยตนเอง ก็ไม่พยายามขวนขวายศึกษา ไม่พยายามค้นคว้า มีแต่มานะทิฐิทับถมจิตใจไว้เฉยๆ และก็ทำกรรมชั่วเรื่อยไป นี่คนส่วนมาก สำหรับผู้มีปัญญาทั้งหลายแล้ว เมื่อไม่เห็นอย่างว่า คือธรรมดาผู้มีปัญญาย่อมเคารพต่อเหตุผล ถ้าใครพูดออกมาแล้วมีเหตุมีผล ควรคิดพิจารณาได้ก็เงี่ยหูฟังทันที แล้วก็กำหนดพิจารณาเรื่องราวที่บุคคลนั้นแสดงออกมาว่า มันมีเหตุมีผลอย่างไร เป็นเหตุที่ดีหรือเป็นเหตุผลที่ไม่ดี ให้มันรู้แจ้งด้วยตนเอง ถ้าเป็นเหตุผลที่ดีก็ปฏิบัติตาม ถ้ารู้ว่าเป็นเหตุผลที่ไม่ดีไม่ถูกทาง ก็ไม่ทำตามเสียและก็ไม่เสียหายอะไร อุปมาเหมือนอย่างบุคคลไปตลาดขายของ มีสตางค์ติดตัวไป เมื่อไปเห็นสิ่งของในร้านแล้วก็เลือกเอาตามต้องการ ไม่มีใครบังคับให้ซื้อของของใคร คือแล้วแต่ตนเองจะชอบใจอย่างไรก็จึงไปติดต่อขอซื้อกับเขา เขาขายให้ก็เอา ไม่ขายให้ก็แล้วไป อันนี้ก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ สดับตรับฟังเป็นหน้าที่เป็นสิทธิของผู้ฟัง คือว่าทุกคนต้องเคารพต่อการสดับตรับฟัง แต่การที่จะเอาตามหรือไม่เอาตามนั้นเป็นสิทธิของแต่ละบุคคล นี่นักปราชญ์ท่านกล่าวไว้อย่างนี้


ทุกคนต้องเคารพในการฟัง
ใครจะออกความเห็นอย่างไรมาก็ฟังเสียก่อน ฟังแล้วเอาไปคิด ไปพิจารณา ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์จริง ว่าเรื่องอย่างนี้เราไม่เคยรู้มา พอผู้นี้พูดขึ้นเราถึงได้รู้เหตุผลว่าเป็นผลดีจริง อย่างนี้ก็ปฏิบัติตามเลย ตามคำนักปราชญ์ เพราะธรรมดาของผู้เป็นสาวก ไม่ได้ตรัสรู้ด้วยตนเองอย่างพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสาวกต้องได้ยินได้ฟังจากท่านผู้อื่นเสียก่อน คือได้ยินได้ฟังจากท่านผู้รู้เสียก่อน แล้วจึงจะหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลายได้ สำหรับท่านที่สร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้านั้น ในเวลาที่เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ท่านจะสดับตรับฟังคำสอนของนักปราชญ์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่เช่นเดียวกัน และเมื่อสร้างบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว เมื่อได้ออกบวชแล้ว ตอนไปแสวงหาความรู้เป็นสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ไม่มีใครแนะนำเลย พระองค์ต้องคิดค้นด้วยพระองค์เอง เหตุฉะนั้นจึงได้พระนามว่า “สัมมาสัมพุทโธ” เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฉะนั้น เมื่อพากันทราบอย่างนี้แล้วก็จงพากันใคร่ครวญดู

หลวงพ่อพุธ

:b8: :b8: :b8:




.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


แก้ไขล่าสุดโดย วรานนท์ เมื่อ 26 เม.ย. 2010, 13:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 เม.ย. 2010, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 เม.ย. 2010, 10:58
โพสต์: 27

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b35: ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ จะรออ่านไปเรื่อยๆค่ะ

.....................................................
ธมฺมจารี สขํ เสติ /ผู้ประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b47: :b48: :b47: :b48: :b47: :b48:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 13:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 01 ส.ค. 2005, 10:46
โพสต์: 12074

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


สาธุ สาธุ สาธุค่ะ..ท่านวรนนท์

:b48: ธรรมรักษาค่ะ :b48:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 03 ม.ค. 2010, 02:43
โพสต์: 4467

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
แบ่งปันกันกิน,รักษาศีล คือ กาย วาจา
เจริญสมาธิภาวนา, กาย- วาจา-ใจอ่อนน้อม
ยอมตนรับใช้, แบ่งให้ความดี
มีใจอนุโมทนา, ใฝ่หาฟังธรรม
นำแสดงออกไม่ได้เว้น, ทำความเห็นให้ถูกต้อง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 พ.ค. 2010, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 เม.ย. 2010, 08:14
โพสต์: 829

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกคนต้องเคารพในการฟัง
ใครจะออกความเห็นอย่างไรมาก็ฟังเสียก่อน ฟังแล้วเอาไปคิด ไปพิจารณา ถ้าเห็นว่ามีประโยชน์จริง ว่าเรื่องอย่างนี้เราไม่เคยรู้มา พอผู้นี้พูดขึ้นเราถึงได้รู้เหตุผลว่าเป็นผลดีจริง อย่างนี้ก็ปฏิบัติตามเลย ตามคำนักปราชญ์ เพราะธรรมดาของผู้เป็นสาวก ไม่ได้ตรัสรู้ด้วยตนเองอย่างพระพุทธเจ้า ผู้เป็นสาวกต้องได้ยินได้ฟังจากท่านผู้อื่นเสียก่อน คือได้ยินได้ฟังจากท่านผู้รู้เสียก่อน แล้วจึงจะหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ทั้งหลายได้ สำหรับท่านที่สร้างบารมีเป็นพระพุทธเจ้านั้น ในเวลาที่เป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ท่านจะสดับตรับฟังคำสอนของนักปราชญ์ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่เช่นเดียวกัน และเมื่อสร้างบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว เมื่อได้ออกบวชแล้ว ตอนไปแสวงหาความรู้เป็นสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ไม่มีใครแนะนำเลย พระองค์ต้องคิดค้นด้วยพระองค์เอง เหตุฉะนั้นจึงได้พระนามว่า “สัมมาสัมพุทโธ” เป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง ฉะนั้น เมื่อพากันทราบอย่างนี้แล้วก็จงพากันใคร่ครวญดู

หลวงพ่อพุธ


หลวงพ่อพุธเป็นเอก ด้านกรรมฐาน
ได้ผสมผสาน สติ และความรู้สึกตัว
จากหลวงพ่อเทียนปรมาจารย์ทางสติ
จึงเกิดเป็นกระบวนท่าไร้เทียมทาน
ได้กล่าวและ พูดถึงสติ มาถ่ายทอด ตลอดบั้นปลาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 11:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 20:49
โพสต์: 3979

แนวปฏิบัติ: พอง-ยุบ
งานอดิเรก: อ่านหนังสือ
ชื่อเล่น: นนท์
อายุ: 42
ที่อยู่: นครสวรรค์

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

อนุโมทนาสาธุกับทุกท่านเลยครับ

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
แม้มิได้เป็นสุระแสงอันแรงกล้า ส่องนภาให้สกาวพราวสดใส
ขอเป็นเพียงแสงแห่งดวงไฟ ส่องทางให้มวลชนบนแผ่นดิน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 พ.ค. 2010, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


อนุโมทนา ค่ะท่านสุเมโธ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร