วันเวลาปัจจุบัน 29 มี.ค. 2024, 05:31  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 17:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




gfagp9043504-02.bmp
gfagp9043504-02.bmp [ 107.79 KiB | เปิดดู 5752 ครั้ง ]
ความเชื่อที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลกรรมในชาติหน้า จะต้องเป็นความเชื่อที่มีลักษณะช่วยเสริมธรรมฉันทะ

ให้เข้มแข็งแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

หากความเชื่อเกี่ยวกับผลกรรมในชาติหน้าอย่างใด ไม่ช่วยเสริมธรรมฉันทะ แต่กลับเป็นไปในทางส่งเสริม

โลภะหรือตัณหาถ่ายเดียว ก็พึงเข้าใจว่าความเชื่ออย่างนั้น เป็นความเชื่อที่คลาดเคลื่อนและควรได้รับ

การแก้ไข



ผลกรรมในช่วงกว้างไกล


เนื้อความในหัวข้อที่กำลังจะกล่าวนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาการให้ผลของกรรม ในระดับวิถีชีวิตของบุคคล

ที่รวมอยู่แล้วในหัวข้อใหญ่ แต่ที่แยกออกมาตั้งเป็นหัวข้อโดยเฉพาะในที่นี้ก็เพราะการให้ผลของกรรมชั่ว

อย่างไกลแบบข้ามภพข้ามชาติ เป็นปัญหาที่มีผู้เอาใจใส่กันมากเป็นพิเศษ

แม้ว่าในที่นี้ จะไม่มุ่งอธิบายเรื่องนี้ และถือว่าได้แสดงหลักรวมไว้ในหัวข้อใหญ่แล้ว

แต่ก็เห็นว่าควรจะได้กล่าวถึงข้อสังเกตบางอย่างไว้เป็นแนวทางสำหรับศึกษาพิจารณา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 08 พ.ค. 2010, 19:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเจตนาที่ประกอบด้วยกุศล หรือ อกุศลเกิดขึ้นในใจ ก็เป็นอันว่ากิจกรรมของจิตได้เริ่มต้นแล้ว

จิตได้มีการเคลื่อนไหว หรือ ไหวตัวแล้ว


เราอาจเลียนศัพท์ฝ่ายวัตถุมาใช้และเรียกอาการนี้ว่าพลังแห่งเจตน์จำนงได้เกิดขึ้น

พลังนี้เป็นไปอย่างไร มีกระบวนการทำงานในระหว่างอย่างไร

โดยอาศัยปัจจัยอื่นๆ อะไรอีกบ้าง เรามักไม่สู้เข้าใจ และไม่ใส่ใจที่จะรู้

แต่มักสนใจเฉพาะผลข้างปลายที่ปรากฏสำเร็จรูปออกมาแล้วโดยเฉพาะพลังแห่งเจตน์จำนง ที่แสดงผลออกไป

ในโลกแห่งวัตถุ และ ในสังคมมนุษย์นั้น เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ชัด และพูดถึงได้ง่าย


ผลสำเร็จแห่งพลังเจตน์จำนงในโลกฝ่ายวัตถุ มีตัวอย่างมากมาย โดยเฉพาะสิ่งประดิษฐ์ทั้งหลาย

ตั้งแต่รองเท้าไปจนถึงยานอวกาศสู่ดวงดาวต่างๆ

ตั้งแต่ขวานหินจนถึงระเบิดนิวเคลียร์

ตั้งแต่ไม้นับคะแนนจนถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

หรือในทางสังคม เช่น ระบบ ระบอบ และสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นระบอบการปกครองแบบต่างๆ ก็ตาม

ระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ก็ตาม

สถาบันต่างๆ ของสังคม การจัดระเบียบกลไกการบริหารการปกครองรัฐ

การจัดรูปองค์กรและระบบงานต่างๆ เป็นต้น เป็นที่รู้กันดีว่าสิ่งเหล่านี้มีความละเอียดซับซ้อนยิ่งนัก

ความข้อนี้ ย่อมเป็นเครื่องส่องแสดงว่า กระบวนการแห่งเจตน์จำนงพร้อมด้วยกลไกของจิตที่เป็นเวทีแสดง

หรือเป็นโรงงานของมัน จะต้องมีความละเอียดซับซ้อนเป็นอย่างยิ่ง

อย่างน้อยก็ไม่ด้อยไปกว่าระบบระบอบ หรือ สิ่งประดิษฐ์ชนิดละเอียดซับซ้อนที่สุดที่มันเองได้คิดสร้างสรรค์ขึ้น

เรามีความรู้ที่นับได้ว่าดีมากเกี่ยวกับความเป็นมาของสิ่งประดิษฐ์ หรือ ระบบแบบแผนบางอย่างที่จิตอาศัย

เจตน์จำนงสร้างสรรค์ขึ้น ว่าได้ดำเนินมาแต่แรกคิดจนสำเร็จผลอย่างไร


แต่ในด้านสภาวะของชีวิตจิตใจอันเป็นที่อาศัยของเจตน์จำนงนั้น พร้อมทั้งวิถีความเป็นไปของชีวิตจิตใจที่ถูก

เจตน์จำนงนั้นปรุงแต่ง กระบวนการปรุงแต่งจะดำเนินไปอย่างไรบ้าง เรากลับมีความรู้น้อยเหลือเกิน

อาจพูดได้ว่า ยังเป็นความลับอันมืดมนสำหรับมนุษย์ทั่วไป

ทั้งความเป็นไปของชีวิตนั้น เป็นเรื่องของตัวเองที่เกี่ยวข้องใกล้ชิด มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด

ด้วยเหตุที่

มีความมืดมัวไม่รู้เช่นนี้ เมื่อประสบภาวะ หรือ สถานการณ์ที่เป็นผลข้างปลายของการปรุงแต่ง

มนุษย์จึงมักจับเหตุจับผลต้นปลายชนกันไม่ติด

มองปัจจัยทั้งหลายที่เกี่ยวข้องไม่เห็นหรือไม่ทั่วถึง แล้วกล่าวโทษสิ่งโน้นสิ่งนี้

พาลไม่ยอมรับกฎแห่งกรรม ซึ่งก็คือไม่เชื่อกฎแห่งเหตุและผล หรือ ความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

นั่นเอง และการไม่ยอมรับก็ดี

การมัวกล่าวโทษสิ่งโน้นสิ่งนี้ก็ดี

ก็เป็นการทำกรรมขึ้นอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งจะมีผลเสียติดตามมา คือ การสูญเสียโอกาสที่จะแก้ไขปรับปรุงตน

และ การดัดแปลงแต่งแก้กรรมวิธีที่จะทำผลให้สำเร็จตามต้องการ

หรือหนักกว่านั้น อาจพาลพาโลด้วยโทสะทำกรรมร้ายอื่นที่มีผลเสียรุนแรงยิ่งขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 17:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ท่านยอมรับว่า กระบวนการให้ผลของกรรมนี้ เป็นเรื่องละเอียดซับซ้อนยิ่ง พ้นวิสัยแห่งความคิด

ไม่อาจคิดให้เห็นแจ่มแจ้ง

บาลีจัดเป็นอจินไตย คือ สิ่งที่ไม่พึงคิดอย่างหนึ่ง * ท่านว่าถ้าขืนครุ่นคิดก็มีส่วนที่จะอัดอั้นเป็นบ้า

ที่ท่านว่าอย่างนี้ มิใช่หมายความว่า พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้เราคิด เพียงแต่ทรงแสดงความจริงไปตาม

ธรรมดาว่า เรื่องนี้คิดเอาไม่ได้ หรือ ไม่อาจจะเข้าใจได้สำเร็จด้วยการคิดหาเหตุผล

แต่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ด้วยการรู้ และเมื่อคิดไปจะเกิดเป็นบ้าขึ้น

ก็มิใช่เป็นเพราะพระพุทธเจ้า หรือ ใครลงโทษ หรือ ทำให้บ้า แต่ผู้คิดเป็นบ้าไปตามธรรมดาของเขาเอง

เพราคิดอัดอั้นตันวุ่นไป

:b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42: :b42:

* อจินไตย มี ๔ อย่างคือ พุทธวิสัย ฌานวิสัย กรรมวิบาก และโลกจินตา (การคิดปัญหาอภิปรัชญาเกี่ยว

กับต้นกำเนิดของโลกหรือการสร้างโลก)

ดู องฺ.จตุกฺก.21/77/104

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 18:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถึงแม้จะเป็นอจินไตย ก็มิใช่ว่า เราจะแตะต้องไม่ได้ แง่ที่เราจะเกี่ยวข้องได้ก็ คือ เกี่ยวข้องด้วยความรู้

และเท่าที่รู้ แล้วมีความมั่นใจตามแนวความรู้นั้น โดยศึกษาพิจารณาสิ่งที่เราตามรู้เห็นได้ คือ สิ่งที่กำลัง

เป็นอยู่จริงในปัจจุบัน

จากส่วนย่อย หรือ จุดเล็กที่สุดขยายออกไป ได้แก่ กระบวนการแห่งความคิด หรือ เจตน์จำนงที่กล่าวมา

แล้วนั่น

เริ่มตั้งแต่ให้เห็นว่า เมื่อคิดดีเป็นกุศลก็เกิดเป็นผลดีแก่ชีวิตจิตใจอย่างไร

เมื่อคิดร้ายเป็นอกุศล เกิดเป็นผลร้ายชีวิตจิตใจเสียหายอย่างไร

ผลนั้นออกไปภายนอกสู่ผู้อื่น สู่สังคม สู่โลก ในทางดีไม่ดีอย่างไร

แล้วสะท้อนกลับเข้ามาหาตัวอีกในทางดีร้ายอย่างไร

และให้เห็นกระบวนการก่อผลที่ละเอียดซับซ้อนเนื่องด้วยปัจจัยหลายอย่างและหลายฝ่าย

จนพอหยั่งเห็นแนวแห่งความสะเอียดซับซ้อน ที่อาจเป็นไปได้เกินกว่าจะคาดหมายอย่างง่ายๆ และให้เกิด

ความมั่นใจในความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัย

เมื่อเข้าใจความเป็นไปส่วนย่อยในช่วงสั้นอย่างไร ก็พอมองเข้าใจความเป็นไปช่วงยาวไกลได้อย่างนั้น

เพราะความเป็นไปช่วงยาวนั้น ก็สืบไปจากช่วงสั้น และประกอบด้วยช่วงสั้นนี้ขยายออกไปนั่นเอง

ถ้าปราศจากช่วงสั้นเสียแล้ว ช่วงยาวจะมีหาได้ไม่

อย่างนี้เรียกว่า เกิดความเข้าใจตามแนวธรรม

เมื่อมั่นใจในความเป็นไปตามธรรมดาแห่งเหตุปัจจัยในส่วนที่เกี่ยวกับเจตนา หรือ เจตน์จำนงแล้ว ก็คือ

มั่นใจในกฎแห่งกรรม หรือ เชื่อกรรมนั่นเอง

ครั้นมั่นใจในกฎแห่งกรรมแล้ว เมื่อต้องการผลที่ปรารถนาใดก็หวังผลนั้นจากการกระทำ และกระทำการตาม

เหตุปัจจัย ด้วยความรู้เท่าทันเหตุปัจจัย ให้ผลเกิดขึ้นตามกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย

เมื่อยังต้องการผลที่ดีทั้งในแง่กรรมนิยาม และทั้งในแง่โลกธรรม ก็พึงศึกษาปัจจัยหรือองค์ประกอบ

ทั้งในด้านกรรมนิยาม และ ด้านนิยามอื่นๆ ให้ครบถ้วน

แล้วทำปัจจัยเหล่านั้นให้เกิดขึ้นพรั่งพร้อมโดยรอบคอบ อย่างที่ได้กล่าวในตอนที่แล้ว


ไม่ต้องพูดถึงงานปรุงแต่งวิถีชีวิตดอก แม้แต่งานประดิษฐ์สร้างสรรค์ในภายนอกนักประดิษฐ์ หรือ สร้างสรรค์

ผู้ฉลาด ย่อมจะไม่คำนึงถึงเฉพาะแต่เนื้อหาแห่งความคิดปรุงแต่ง หรือ เจตน์จำนงของตนเพียงอย่างเดียว

แต่ย่อมคำนึงถึงปัจจัย หรือ องค์ประกอบฝ่ายนิยาม นิยมน์อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น

ช่างใช้ความวิจิตรแห่งเจตน์จำนง ออกแบบบ้านไม้หลังหนึ่งอย่างสวยงาม

เมื่อเอาแบบในความคิดนั้นออกมาสร้างเป็นความจริงในโลกแห่งวัตถุ ก็ต้องคำนึงด้วยว่า จะใช้ไม้ชนิดใด

สำหรับส่วนใด มีไม้เนื้อแข็ง เนื้ออ่อน เป็นต้น

หากที่ควรใช้ไม้เนื้อแข็ง กลับใช้ไม่ฉำฉา

แม้ว่าแบบที่ออกไว้จะสวยงามปานใด บางทีก็อาจพังเสียก่อน ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะได้ใช้เป็นบ้าน

ตามประสงค์

หรือแบบที่คิดปรุงแต่งออกไว้ควรจะสวยงาม แต่ใช้วัสดุก่อสร้างที่ดูน่าเกลียด ซึ่งมนุษย์ทั้งหลาย

เขาไม่นิยมชมชอบ ความงามของรูปแบบก็พลอยหมดความหมายไปด้วย

หรือเหมือนนักออกแบบเครื่องแต่งกาย คำนึงแต่ความวิจิตรแห่งเจตน์จำนงของตน

ไม่นึกถึงอุณหภูมิแห่งดินฟ้าอากาศของถิ่น ซึ่งเป็นปัจจัยฝ่ายอุตุนิยม ประดิษฐ์เสื้อผ้าสวยงามที่ควรใช้

ในถิ่นหนาวจัดให้แก่คนในถิ่นร้อนจัด ก็ไม่สำเร็จประโยชน์เช่นเดียวกัน

มนุษย์ผู้เป็นช่างปรุงแต่งวิถีชีวิตของตน พึงมีความฉลาดรอบคอบในการประกอบเหตุปัจจัย เยี่ยงอุปมาที่กล่าว

แล้วนี้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

ถึงตอนนี้ มีข้อที่เห็นควรย้ำไว้เป็นพิเศษอย่างหนึ่ง คือ ในการที่จะควบคุมการใช้ประโยชน์จากกรรมนิยาม

ให้เป็นไปในทางที่ดีงามอย่างแน่นอนนั้น จะต้องพยามปลูกฝังหรือสร้างเสริมกุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ

ให้เกิดขึ้นด้วย คือ ต้องฝึกอบรมให้คนเกิดความใฝ่ธรรม รักความดีงาม เข่น อยากให้ชีวิตของตนเป็นชีวิต

ที่บริสุทธิ์ดีงาม


อยากให้สังคมมนุษย์เป็นสังคมแห่งความดีงาม

อยากให้สิ่งทั้งหลายที่ตนเกี่ยวข้อง หรือ กระทำดำรงอยู่ในภาวะดีงามเป็นเลิศ หรือ เจริญเข้าสู่ภาวะดีงาม

สูงสุดของมัน

อยากให้ธรรมแพร่หลายออกไปทั่วทุกหนทุกแห่ง ดังนี้ เป็นต้น

ทั้งนี้เพราะว่า ถ้าตราบใดคนยังขาดกุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ และ มีแต่ความโลภต่อผลที่ดีในแง่

โลกธรรมอย่างเดียว

เขาก็จะพยายามเล่นตลกกับกรรมนิยาม หรือ พยายามหลอกลวงกฎธรรมชาติอยู่เรื่อยไป (ความจริงเขา

หลอกกฎธรรมชาติไม่ได้ แต่เขาหลอกตัวของเขาเองนั่นเอง) และก็จะก่อให้เกิดผลร้ายทั้งแก่ชีวิต

ของตนเอง แก่สังคม และแก่มนุษยชาติทั้งหมดอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการพิสูจน์เรื่องตายแล้วเกิดหรือไม่



ปราชญ์หลายท่านเห็นว่า การที่จะให้คนสามัญทั้งหลายเชื่อกฎแห่งกรรมและตั้งอยู่ในศีลธรรม จะต้องให้เขา

ยอมรับการให้ผลของกรรมในช่วงยาวไกลที่สุด คือ ผลจากชาติก่อน และผลในชาติหน้า และดังนั้น จึงต้อง

พิสูจน์เรื่องตายแล้วเกิด หรือ อย่างน้อยแสดงหลักฐานให้เห็นให้ได้ โดยเหตุนี้บ้าง โดยมุ่งแสวงความรู้บ้าง

ปราชญ์ และ ผู้สนใจบางท่านและบางกลุ่มบางคณะ จะได้พยายามอธิบายหลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด

โดยอ้างกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น The Law of Conservation of Energy

โดยขยายออกไปจากเจตนาที่เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวของจิต ซึ่งเคยเอ่ยถึงแล้ว หรือ อ้างทฤษฎีทาง

จิตวิทยาอย่างอื่นๆบ้าง *

พยายามเสาะสืบพิสูจน์หลักฐานเกี่ยวกับการระลึกชาติได้บ้าง *

ตลอดจนใช้วิธีการแบบทรงเจ้าเข้าผีก็มี

เรื่องราวและคำอธิบายเหล่านี้และทำนองนี้ จะไม่นำมากล่าวไว้ เพราะหนังสือนี้มุ่งแสดงพุทธธรรมตามสาย

ความคิดในพระพุทธศาสนาเองเท่านั้น

ผู้สนใจเรื่องราวและคำอธิบายเช่นนี้ พึงหาอ่านหาดูด้วยตนเองตามที่มาที่ได้ให้ไว้เป็นต้น สำหรับในที่นี้

จะกล่าวเพียงข้อสังเกตและข้อคิดที่เกี่ยวข้องบางอย่างเท่านั้น



:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* เช่น Egerton C Baptist, A Glimpse into the Supreme

Science of the Buddha (Colombo, the Colombo Apothecaries’ Co,

Ltd. 1958), pp. 44 ff.

K. N. Jayatilleke, Survival and karma in Buddhist

Perspective (Kandy , Buddhist Publication Society, 1969)

pp.35-93


* เช่น lan Stevenson, Twenty Cases Suggestive lf

Reincarnation (New York, 1966), passim A.R. Martin,

Researches in Reincarnation and Beyond (Pennsylvania,

1942), passim C. J. Ducasse, A Critical Examination of the

Belief in A Life After Death (Springfield, lllinois, 1961),

passim

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2013, 09:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ก.พ. 2010, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำกล่าวที่ว่า ถ้าพิสูจน์ให้คนทั่วไปเห็นได้ว่าตายแล้วเกิด ชาติหน้ามีจริง กรรมตามไปให้ผลจริง จนคน

ทั้งหลายยอมเชื่อเช่นนั้นแล้ว การสอนศีลธรรมจะได้ผล คนจะกลัวบาป ยอมเว้นชั่วและทำดีกันทั่วไป

คำกล่าวนี้ นับว่ามีเหตุผลอยู่ไม่น้อย เพราะถ้าคนเชื่อเช่นนั้นจริง ผลในทางปฏิบัติก็น่าจะเกิดขึ้นเช่นนั้น

เป็นอย่างมาก

ท่านผู้กล่าวเช่นนี้ก็นับว่า เป็นผู้ตั้งใจดีและมีเหตุผลเป็นพื้นฐาน จึงไม่น่าจะมีข้อขัดข้องที่จะปล่อยให้ท่าน

เหล่านั้นดำเนินการศึกษาสอบสวนค้นคว้าของท่านไป โดยคนอื่นๆ พลอยยินดีและสนับสนุนเท่าที่อยู่

ในขอบเขตแห่งเหตุผล ความสมควร ไม่เฉไฉคลาดออกไปสู่แนวทางแห่งความงมงายไขว้เขว เช่น มิใช่ว่า

แทนที่จะนำสิ่งที่อยู่ในโลกแห่งความลึกลับพิสูจน์ไม่ได้ ออกมาสู่การพิสูจน์ได้

กลับนำสิ่งที่พิสูจน์ได้เข้าไปสู่โลกแห่งความลึกลับที่พิสูจน์ไม่ได้

หรือแทนที่จะนำสิ่งลึกลับ ซึ่งคนไร้อำนาจที่จะจัดทำ ออกมาสู่ภาวะที่มนุษย์จัดการได้

กลับทำให้คนหมดอำนาจ ต้องหันไปพึ่งอาศัยสิ่งลึกลับจนตนเองทำอะไรไม่ได้ดังนี้ เป็นต้น


เมื่อสอบสวนค้นคว้ากันอยู่ในขอบเขตแห่งเหตุผลแล้ว อย่างน้อยก็อาจได้ประโยชน์ทางวิชาการให้รู้ไปเสียทีว่า

มนุษย์เข้าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้แล้วจะแค่นี้อย่างนี้

ทั้งนี้ มีข้อควรย้ำว่า จะต้องปล่อยให้เป็นเรื่องของปราชญ์บางท่านบางคณะนั้นท่านทำของท่านไป

คนอื่นๆ หรือคนทั่วไปไม่พึงไปขลุกขลุ่ยสาระวนด้วย เพียงแต่รอรับทราบผลที่แน่นอนเด็ดขาดแล้ว หรือฟังข่าว

ความเคลื่อนไหวอยู่ห่างๆ อย่างคนชอบรู้ชอบฟังเท่านั้น คือ จะต้องไม่พาคนทั่วไปเข้าไปหมกมุ่น

ในกระบวนการระหว่างการพิสูจน์ด้วย

นอกจากนี้ แม้ตัวนักปราชญ์ผู้สอบสวนค้นคว้านั้นเอง ก็ไม่ควรหมกมุ่นกับเรื่องเช่นนั้นเกินไปจนมองด้านเดียว

เห็นความสำคัญเฉพาะแต่แนวการพิสูจน์โลกหน้าเท่านั้น จนละเลยความสำคัญด้านปัจจุบัน กลายเป็นสุดโต่ง

หรือเลยเถิดไปเสีย และจะต้องมองให้ครบทั้งด้านผลดีและผลเสียของการให้ความสำคัญแก่เรื่องนั้นด้วย

กล่าวคือ นอกจากผลดีที่คาดหมายนั้นแล้ว จะต้องตระหนักถึงผลเสียด้วยว่า การย้ำความสำคัญให้คนกลัว

การไปเกิดในที่ชั่ว และอยากไปเกิดที่ดีมากเกินไป

จะเป็นการชวนให้คนหันไปวุ่นกับการคิดหวังผลในโลกหน้าและเอาใจใส่เฉพาะแต่กิจการและกิจกรรมซึ่งเนื่องด้วย

การที่จะไปเก็บเกี่ยวผลในชาติหน้า จนละเลยประโยชน์สุขและความดีงามที่ตนและหมู่ชนควรพยายาม

เข้าถึงได้ในชีวิตนี้

นอกจากนั้น เมื่อไม่มีสติระมัดระวังให้ดี ความมุ่งหมายเดิมที่จะให้คนกลัวผลร้ายของกรรมชั่ว สบายใจว่าจะได้

พบผลดีของกรรมดีตลอดไปถึงโลกหน้า แล้วมีความมั่นใจในกฎแห่งกรรม พยายามเว้นกรรมชั่ว ทำกรรมดี

ในโลกนี้ ก็กลับกลายเป็นว่าจะทำการชนิดที่มุ่งเอาผลในชาติหน้าโดยตรงอย่างเดียว

เกิดความโลภต่อผลชนิดนั้น แล้วกลายเป็นนักทำบุญแบบค้ากำไรไปเสีย เมื่อการณ์กลายมาเสียอย่างนี้

แล้ว ก็จะเกิดผลเสียขึ้นอีก

ประการหนึ่ง คือ การย้ำความสำคัญของผลดีผลร้ายที่จะได้ประสบในชาติหน้ามากเกินไป เป็นการมองข้ามหลัก

การฝึกอบรมกุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ กลายเป็นการไม่ยอมรับ หรือ ถึงกับดูหมิ่นมนุษย์ว่า ไม่มีความ

ใฝ่ธรรมรักความดี หรือไม่อาจฝึกปรือความใฝ่ธรรมรักความดีนั้นให้เกิดมีและเจริญเพิ่มพูนได้ เป็นเหมือนกับ

บอกว่า มนุษย์ไม่สามารถเว้นชั่วทำดีด้วยความใฝ่ดีรักความประณีตบริสุทธิ์

มนุษย์เว้นชั่วทำดีได้ด้วยความโลภหวังผลตอบแทนแก่ตนเพียงอย่างเดียวแล้วปล่อยปละละเลย ไม่ใส่ใจที่จะฝึก

อบรบคนในด้านกุศลฉันทะ หรือ ธรรมฉันทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 19:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

อนึ่ง ถึงแม้จะเป็นการสมเหตุสมผลไม่น้อยที่ว่า ถ้าพิสูจน์ให้เห็นชัดจนคนทั่วไปเชื่อว่า ตายแล้วเกิดใหม่จริง

คนจะยอมอยู่ในศีลธรรมกันเป็นอย่างดี

แต่การที่จะรอให้คนมีศีลธรรมกันขึ้นเอง ต่อเมื่อได้เห็นผลสำเร็จของการพิสูจน์นั้นแล้ว ก็เป็นการไม่สมเหตุ

สมผลแต่อย่างใด เพราะไม่อาจทราบได้ว่า คำว่า “ถ้า” ในการพิสูจน์นั้น จะกลายเป็นผลสำเร็จแท้จริง

ได้เมื่อใด คือ ไม่รู้ว่าเมื่อใดจะพิสูจน์กันเสร็จ

และถ้าว่ากันตามความจริงแท้อย่างเคร่งครัดแล้ว คำว่า พิสูจน์ ในความหมายว่า แสดงให้เห็นแจ้งประจักษ์

ก็ไม่อาจใช้ได้กับเรื่องนี้ เพราะคนอื่นไม่สามารถแสดงการเกิดใหม่ให้อีกคนหนึ่งดูได้

การเกิดใหม่เป็นสิ่งที่ต้องรู้ประจักษ์ด้วยตนเอง

ที่พูดกันว่า พิสูจน์นั้น ก็เป็นเพียงขั้นหาหลักฐานพยานมาให้ดูและวิเคราะห์เหตุผลมาให้ฟังเท่านั้น

ส่วนตัวแท้ของเรื่องก็เข้าแนวเป็นอจินไตย คือ คิดเองด้วยเหตุผลไม่ได้ และ เป็นเรื่องเหนือสามัญวิสัยอยู่

นั่นเอง

ถึงจะพยายามพิสูจน์แสดงหลักฐานกันไปเพียงไร สำหรับคนสามัญ ก็คงอยู่ในขั้นศรัทธาหรือความเชื่อ

อยู่นั่นเอง จะแตกต่างกันก็เพียงจากไม่เชื่อมาเป็นเชื่อ และ เชื่อน้อย เชื่อมาก และในเมื่อยังเป็นเรื่อง

ของความเชื่อ ก็จะยังมีผู้ไม่เชื่อ และยังมีโอกาสแห่งความคลางแคลงลังเลหรือความสงสัยไม่แน่ใจในผู้ที่เชื่อ

อยู่ได้ต่อไป

ถึงคนที่ไม่เชื่อก็เช่นกัน ก็ได้เพียงขั้นเชื่อคือ เชื่อว่าไม่เป็นอย่างนั้นเพราะยังไม่รู้ประจักษ์เหมือนกัน จึงยังมี

ช่องว่างที่จะระแวงสงสัยต่อไป จนกว่าจะหมดกังขาเมื่อได้เป็นโสดาบัน

รวมความว่า การที่จะพยายามชี้แจงเหตุผล และ แสดงหลักฐานพยานให้คนเชื่อเรื่องตายแล้วเกิดและให้เชื่อ

กันมากขึ้น ก็มีผลดีอยู่ ใครทำก็ทำไป (ถ้าความพยายามนั้นไม่กระทบกระเทือนเสียหายต่อหลักการสำคัญ

ข้ออื่นๆ ของพระพุทธศาสนา เช่น ไม่ทำให้กลายเป็นผู้ที่ต้องหวังพึ่งอำนาจภายนอกหรือสิ่งเร้นลับมากขึ้น

เป็นต้น) แต่การที่จะให้การประพฤติธรรม หรือ การดำเนินชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนา ต้องขึ้นต่อการ

พิสูจน์เรื่องนี้ ย่อมเป็นการไม่สมควรและไม่ถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อสรุป การพิสูจน์และท่าทีปฏิบัติต่อเรื่องชาติหน้า


เรื่องชาติก่อน ชาติหน้า นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่คนสนใจกันมากและเป็นข้อกังวลค้างใจของคน

ทั่วไป เพราะเป็นความลับของชีวิตที่อยู่ในอวิชชา จึงเห็นควรกล่าวสรุปแทรกไว้ที่นี้เล็กน้อย เฉพาะแง่ว่า

มีจริงหรือไม่ พิสูจน์ได้อย่างไร

๑. ตามคำสอนในพุทธศาสนา เมื่อว่าตามหลักฐานในคัมภีร์ และแปลความตามตัวอักษรก็ตอบได้ว่า

สิ่งเหล่านี้มี


๒.การพิสูจน์เรื่องนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ไม่อาจแสดงให้เห็นประจักษ์แก่ผู้ไม่รู้ ไม่ว่าในทางบวกหรือในทางลบ

คือไม่ว่าในแง่มี หรือในแง่ไม่มี เป็นไปได้เพียงขั้น เชื่อว่ามีหรือเชื่อว่าไม่มี เพราะทั้งผู้เชื่อและผู้ไม่เชื่อ

หรือผู้พยายามพิสูจน์ว่ามี และผู้พยายามพิสูจน์ว่าไม่มี

ต่างก็ไม่รู้ที่มาที่ไปแห่งชีวิต ไม่ว่าของตนหรือผู้อื่น ต่างก็มืดต่ออดีต ผู้ไกลออกไปไม่ถึงแม้เพียงการเกิดคราวนี้

ของตนเอง

แม้แต่ชีวิตตนเอง ที่เป็นอยู่ขณะนี้ก็ไม่รู้

และมองไม่เห็นอนาคตแม้เพียงว่า พรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร


๓.ถ้าจะพิสูจน์ หลักมีว่า สิ่งที่เห็น ต้องดูด้วยตา สิ่งที่ได้ยิน ต้องฟังด้วยหู สิ่งที่ลิ้ม ต้องชิมด้วยลิ้น เป็นต้น

สิ่งที่เห็น ถึงจะใช้สิบหูและสิบลิ้นรวมกัน ก็พิสูจน์ไม่ได้

หรือสิ่งที่ได้ยินจะใช้สิบตากับสิบจมูกรวมกัน ก็พิสูจน์ไม่ได้

หรือสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้ยิน แต่ต่างระดับคลื่น ต่างระดับความถี่ ก็ไม่รู้กัน

บางอย่างที่แมวมองเห็น สิบตาคนรวมกันก็ไม่เห็น

บางอย่างที่ค้างคาวได้ยิน สิบหูคนรวมกันก็ไม่ได้ยิน เป็นต้น

ในแง่หนึ่ง การตายเกิดเป็นประสบการณ์ของชีวิตโดยตรง หรือแคบลงมาเป็นปรากฏการณ์ของจิต ซึ่งต้อง

พิสูจน์ด้วยชีวิตหรือจิตเอง การพิสูจน์จึงควรเป็นไปดังนี้

ก) พิสูจน์ด้วยจิต ท่านให้ต้องใช้จิตที่เป็นสมาธิ แน่วแน่ถึงที่ แต่ถ้าไม่ยอมทำตามวิธีนี้ หรือ กลัวว่าที่ว่า

เห็นในสมาธิ อาจเป็นการเอานิมิตหลอกตัวเอง ก็เลื่อนสู่วิธีต่อไป

ข) พิสูจน์ด้วยชีวิต ตั้งแต่เกิดมาคราวนี้ คนที่อยู่ ยังไม่เคยมีใครตาย ดังนั้น จะรู้ว่าเกิดหรือไม่ต้องพิสูจน์

ด้วยการตายของใครของคนนั้น แต่วิธีนี้ไม่ปรากฏว่ามีใครกล้าทดลอง

ค) เมื่อไม่ยอมพิสูจน์ ก็ได้เพียงขั้นแสดงหลักฐานพยานและชี้แจงเหตุผล เช่น หาตัวอย่างคนระลึกชาติได้

และสอบสวนกรณีต่างๆเช่นนั้น หรือ แสดงเหตุผลโดยหาความจริงอื่นมาเปรียบเทียบ อย่างเรื่องวิสัยการเห็น

การได้ยิน ที่ขึ้นต่อระดับคลื่นและความถี่เป็นต้น ดังได้กล่าวแล้ว ช่วยให้เห็นว่า น่าเชื่อ หรือเชื่อมากขึ้น

เป็นต้น ซึ่งรวมอยู่ในขั้นของความเชื่อเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2013, 12:19, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.พ. 2010, 21:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




joke_rich_cat.jpg
joke_rich_cat.jpg [ 17.54 KiB | เปิดดู 5636 ครั้ง ]
:b1: จานป้อ...นี่...น่าตีจังเลย...

มาจนถึงภาคที่หกแล้ว...ไบกอน...อ่านจนขี้เกียจอนุโมทนาแล้วววววว....
เพราะขี้เกียจรอมัน refresh
เพราะเครื่องไบกอน...ยังไม่ค่อยเร็ว...นัก...

คีย์เมื่อยรึเปล่า...เจ้าคะ...ไบกอน...นวดให้นะ... :b32: :b32:

อิ อิ...ลูกลิง...ผู้กตัญญู...รู้คุณ... :b16: :b16:

ซนเสร็จ...ก็จะรีบเผ่นกลับบ้าน...เดี๋ยวผู้ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้านจับได้...

ไบกอนจะโดนตีหน้าแข้ง....


แก้ไขล่าสุดโดย เอรากอน เมื่อ 19 ก.พ. 2010, 21:07, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

๔.ไม่ว่าใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อ หรือจะพยายามพิสูจน์ให้กันและกันดูได้แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ไม่มีใครหนีพ้น ทุกคนต้องเกี่ยวข้อง และเป็นที่สืบต่อออกไปของชีวิตข้างหน้าที่เชื่อหรือไม่เชื่อว่ามีนั้นด้วย

ก็คือ ชีวิตขณะนี้ที่มีอยู่แล้วนี้ ที่จะต้องปฏิบัติต่อมันอย่างใดอย่างหนึ่ง

เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรเอาใจใส่ให้มาก จึงได้แก่ชีวิตในปัจจุบัน และสำหรับพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็น

ศาสนาแห่งการปฏิบัติสิ่งที่เป็นจุดสนใจมากกว่า และเป็นที่สนใจแท้ จึงได้แก่การปฏิบัติต่อชีวิตที่เป็นอยู่นี้

ว่าจะดำเนินชีวิตที่กำลังเป็นไปอยู่นี้อย่างไร จะใช้ชีวิตที่มีอยู่แล้วนี้อย่างไร เพื่อให้เป็นชีวิตที่เป็นอยู่อย่างดี

และเพื่อชีวิตข้างหน้าถ้ามี ก็มั่นใจได้ว่า จะสืบต่อออกไปเป็นชีวิตที่ดีงามด้วย

ดังนั้น สิ่งที่ควรกล่าวถึง จึงได้แก่ ข้อสังเกต และ ข้อเสนอแนะในทางปฏิบัติดังต่อไปนี้


-บาลีชั้นเดิม คือ พระสูตรทั้งหลาย กล่าวบรรยายเรื่องชาติก่อน ชาติหน้า นรก สวรรค์ ไว้น้อยนัก *

โดยมากท่านเพียงเอ่ยถึง หรือ กล่าวถึงเท่านั้น แสดงถึงอัตราส่วนของการให้ความสนใจแก่เรื่องนี้ว่ามีเพียง

เล็กน้อย ในเมื่อเทียบกับคำสอนเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตในโลก หรือข้อปฏิบัติ จำพวก ศีล สมาธิ ปัญญา


-บาลีเมื่อกล่าวถึงผลร้ายของกรรมชั่ว และอานิสงส์ของกรรมดี ถ้ากล่าวถึงการไปเกิดในนรกหรือสวรรค์

มักกล่าวไว้ต่อท้ายผลที่จะประสบในชีวิตนี้ โดยกล่าวถึงผลในชีวิตนี้ 4-5-10 ข้อ แล้วจึงจบลงด้วยคำว่า

“เมื่อกายแตกทำลาย ภายหลังแต่มรณะ ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก”

หรือ “เข้าถึงสุคติ โลก สวรรค์” *(* เช่น องฺ.ปญฺจก.22/211-7/281-4; 34/41 ฯลฯ)

ข้อสังเกตในเรื่องนี้ มี ๒ อย่าง คือ

ประการแรก ท่านถือผลในชีวิตปัจจุบันเป็นสำคัญ และแยกแยะอย่างชี้ชัดเป็นอย่างๆไป

ส่วนผลหลังตาย กล่าวเพียงปิดท้ายไว้ให้ครบรายการ

ประการที่สอง การตรัสถึงผลดีผลร้ายเหล่านั้น เป็นไปในลักษณะแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นไปตาม

เหตุปัจจัย คือ เป็นผลที่จะเกิดขึ้นเองตามเหตุ ไม่ต้องวอนหวัง

เป็นเรื่องของการรู้ไว้ให้เกิดความมั่นใจเท่านั้น ถึงไม่ตั้งความปรารถนาก็ย่อมเป็นไปเช่นนั้น

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:

* พระสูตรต่อกัน ๒ สูตร คือ พาลบัณฑิตสูตรและเทวทูตสูตร เป็นที่มาสำคัญของวรรณคดีเกี่ยวกับนรก

สวรรค์ สมัยต่อมา (ม.อุ.14/467-503/311-333 และ 504-525/334-346) เอ่ยถึงนรก

สามขุม (ม.มู.12/565/608) การไปเกิดในเทวโลกและอายุเทวดา

(เช่น องฺ.จตุกฺก.21/123/169 ฯลฯ...)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.พ. 2010, 15:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ต่อ)

- สำหรับคนที่ไม่เชื่อ ในเมื่อยังได้เพียงแต่เชื่อ คือ เชื่อว่าไม่มี ยังไม่รู้แจ้งประจักษ์จริง ย่อมไม่อาจ

ปฏิเสธความสงสัยในส่วนลึกแห่งจิตใจของตนได้โดยเด็ดขาด

คนเหล่านี้ เมื่อเรี่ยวแรงความมัวเมาในวัยหนุ่มสาวเสื่อมไปแล้ว ถูกชราครอบงำ ความหวาดหวั่นต่อโลกหน้า

ก็มักได้ช่องแสดงตัว ซึ่งเมื่อไม่ได้เตรียมความดีไว้ ก็จะมีทุกข์มาก

ดังนั้น เพื่อความมั่นใจ ถึงคนที่ไม่เชื่อก็ควรทำดีไว้ จะมีหรือไม่มี ก็มั่นใจและโล่งใจ


-สำหรับคนที่เชื่อ

ก)พึงให้ความเชื่อมั่น อิงหลักแห่งความเป็นเหตุเป็นปัจจัยอย่างแท้จริง คือ ให้มองผลในชาติหน้าว่า

สืบต่อไปจากคุณภาพของจิตใจ ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในชาตินี้ แล้วเน้นที่การทำกรรมดีในปัจจุบัน

เพื่อสร้างเสริมคุณภาพจิตคุณภาพชีวิตที่ดีงาม เพื่อให้ชีวิตที่สืบต่อไปข้างหน้าเป็นชีวิตที่ดีงามด้วย

การเน้นในแง่นี้จะทำให้การเกี่ยวข้องกับชาติหน้า หรือหวังผลชาติหน้า เป็นไปในรูปของความมั่นใจ

โดยอาศัยปัจจุบันเป็นฐาน และการหวังผลชาติหน้านั้น จะยิ่งทำให้เอาใจใส่ให้ความสำคัญแก่ชีวิตที่เป็นอยู่

ในปัจจุบันมากขึ้น ไม่เสียหลักที่ว่า ถึงจะยุ่งเกี่ยวกับชาติหน้าอย่างไร ก็อย่าให้สำคัญกว่าชาติที่เป็นอยู่

ขณะนี้ และจะได้ไม่เน้นการทำกรรมดี แบบเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร


ข)ความเชื่อต่อชาติหน้านั้น ควรช่วยให้เลิก หรือ ให้บรรเทาการพึ่งพาอาศัยอำนาจดลบันดาลหรือสิ่งลึกลับ

ในภายนอกลงด้วย เพราะการเชื่อชาติหน้าหมายถึงการเชื่อกรรมดีที่ตนกระทำ และการที่จะต้องก้าวหน้าเจริญ

สูงขึ้นไปในสังสารวัฏนั้น

ส่วนการรอหวังพึ่งอำนาจภายนอก ย่อมเป็นการทำตัวให้อ่อนแอลง และเป็นการกดตัวเองให้ถอยตัว

ออกมาสร้างเรี่ยวแรงกำลังของตนเองขึ้นใหม่โดยเร็ว


-สำหรับผู้เชื่อ หรือ ไม่เชื่อก็ตาม จะต้องก้าวไป หรือได้รับการสอนให้ก้าวไปถึงขั้นเว้นกรรมชั่ว ทำกรรมดี

โดยไม่ต้องขึ้นต่อความเชื่อหรือความไม่เชื่อนั้นเลย คือ ทำดีได้โดยไม่ต้องหวังผลชาติหน้า หรือ ถึงแม้

ไม่เชื่อว่ามีชาติหน้า ก็จะไม่ทำชั่ว ผลขั้นนี้ ทำให้เกิดขึ้นได้โดย


๑) ฝึกอบรมกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ ให้กล้าแข็ง คือ ทำให้เกิดความใฝ่ธรรม รักความดีงามต้องการ

ความประณีตหมดจด มุ่งให้ทุกสิ่งทุกอย่างบรรลุอุดมสภาวะของมัน


๒) สร้างความใฝ่รักในปีติสุขอันประณีตลึกซึ้งภายใน และให้ความใฝ่ปีติสุขอันประณีตหรือการใช้ประสบปีติ

สุขอันประณีตนั้น เป็นเครื่องป้องกันการทำชั่วและหนุนการทำดีโดยตัวของมันเอง

ทั้งนี้ เพราะการที่จะได้ปีติสุขอันประณีตนั้น ย่อมเป็นเงื่อนไขอยู่ในตัวว่าต้องเว้นทุจริตประกอบสุจริต

และการได้ปีติสุขอันประณีตนั้นแล้ว ก็จะเป็นแรงหน่วงเหนี่ยวไม่ให้หลงใหลกามถึงขั้นที่จะประกอบกรรมชั่วร้าย

ได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับปีติสุขอันประณีตขั้นโลกีย์ อาจต้องระมัดระวังบ้าง ที่จะไม่ให้ติดเพลินมากเกินไป

จนเสียงานหรือหยุดความก้าวหน้า


๓) ฝึกอบรมปัญญาให้เจริญถึงขั้นที่จะเป็นอยู่ด้วยปัญญาหรือดำเนินชีวิตด้วยปัญญา คือ มีความรู้เท่าทัน

สภาวะของโลกและชีวิต หรือ รู้ธรรมดาแห่งสังขาร พอที่จะทำจิตใจให้เป็นอิสระได้บ้างพอสมควร

ไม่หลงใหลติดอามิส หรือ กามวัตถุถึงกับจะทำกรรมชั่วร้าย มองชีวิตจิตใจของมนุษย์อื่นสัตว์อื่น

ด้วยความเข้าใจ

หยั่งเห็นทุกข์สุข และ ความต้องการของเขา พอที่จะทำให้คิดการในทางที่เกื้อกูลช่วยเหลือด้วยกรุณา

ใจไม่โน้มน้อมไปในทางที่จะเบียนเบียนผู้อื่น

ข้อนี้นับเป็นขั้นแห่งการดำเนินชีวิตของท่านผู้ได้เข้าถึงโลกุตรธรรมซึ่งมีโลกุตรสัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว

หรืออย่างน้อยก็เป็นขั้นของผู้ดำเนินชีวิตตามแนวปฏิบัติเพื่อเข้าถึงโลกุตรธรรมนั้น

ถึงแม้ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นอยู่ด้วยปัญญาอย่างแท้จริง ก็เป็นอยู่ด้วยศรัทธาที่เป็นบุพภาคของปัญญานั้น

คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยปัญญาและเป็นไปเพื่อปัญญา ซึ่งเชื่อในวิถีทางแห่งการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา

มั่นใจในชีวิตที่เป็นอิสระด้วยปัญญานั้นว่าเป็นชีวิตที่ดีงามประเสริฐสุด และพยายามดำเนินปฏิปทาแห่งการเป็นอยู่

ด้วยปัญญาที่ประกอบด้วยกรุณานั้นด้วยตนเอง*


ความจริงหลักปฏิบัติ ๓ ข้อนี้เนื่องถึงกัน ใช้ประกอบเสริมกันได้ โดยเฉพาะข้อที่ ๑) ต้องใช้ในการ

ทำสิ่งดีงามทุกอย่าง จึงเป็นที่อาศัยของข้อ ๒) และ ๓) ด้วย



:b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41: :b41:

ขยายความข้างบนที่มี *


* ศรัทธา ที่ออกผลเช่นนั้น ต้องอาศัยความเชื่อมั่นในท่าน ซึ่งเป็นผู้นำแห่งการดำเนินชีวิตอิสระ

ด้วยปัญญา คือ พระพุทธเจ้า

เชื่อมันในคำสอนของพระองค์ คือ พระธรรม

เชื่อมั่นในชุมชนผู้ประพฤติปฏิบัติตามคำสอนนั้น และ ประสบความสำเร็จในการมีชีวิตที่เป็นอิสระเช่นนั้นด้วย

คือ พระสงฆ์

รวมเรียกว่า ศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 20 ก.พ. 2010, 20:37, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 20:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าปฏิบัติได้ตามหลักสามข้อนั้น ความเชื่อเรื่องกรรมในชีวิตหน้า ก็จะเป็นเพียงส่วนช่วยเสริมความมั่นใจ

ในการเว้นชั่วทำดีให้มั่นคงแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นสำหรับบางคน แต่ไม่ถึงกับเป็นตัวตัดสินเด็ดขาดว่า ถ้าเขาจะไม่ได้

รับผลนั้นในชาติหน้าแล้ว เขาจะไม่ยอมทำความดีเลย

ถ้าอ่อนแอเกินไป ไม่สามารถฝึกคนหรือฝึกตนให้ปฏิบัติตามหลักสามข้อนั้นได้ การใช้ความเชื่อต่อกามวัตถุ

มุ่งแต่แสวงหาอามิสมาปรนเปรอตน ซึ่งมีแต่จะทำให้การเบียดเบียนและความชั่วร้ายนานาระบาด

แพร่หลาย นำชีวิตและสังคมไปสู่หายนะถ่ายเดียว และถึงอย่างไร ความเชื่อผลกรรมชาติหน้า

ก็จัดเข้าในโลกียสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อให้ก้าวหน้าไปในทางดีงามง่ายขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 06 ม.ค. 2013, 12:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อทำความเข้าใจกันอย่างนี้แล้ว ก็ขอนำพุทธพจน์แห่งสำคัญ ที่กล่าวถึงผลกรรมซึ่งสืบเนื่องจากปัจจุบัน

ไปถึงภพหน้า ตามที่ปรากฏในจูฬกัมมวิภังคสูตร มาแสดงไว้

สรุปใจความได้ดังนี้


“ดูกรมานพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นที่กำเนิน มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์

มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ทั้งหลาย ให้ทรามและประณีต”


๑. ก. สตรีหรือบุรุษมักทำปาณาติบาต เป็นคนเหี้ยมโหด หมกมุ่นอยู่ในการประหัตประหาร ไร้เมตตา

การุณย์

ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือมิฉะนั้น

หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีอายุสั้น

ข. สตรีหรือบุรุษผู้ละเว้นปาณาติบาต มีเมตตาการุณย์ มักเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ หรือมิฉะนั้น

หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีอายุยืน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ก.พ. 2010, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ก. สตรี หรือ บุรุษผู้มีนิสัยชอบเบียดเบียนทำร้ายสัตว์ทั้งหลาย ด้วยมือไม้ศัสตรา

ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีโรคมาก (ขี้โรค)

ข. สตรีหรือบุรุษผู้ไมมีนิสัยชอบเบียดเบียนทำร้ายสัตว์ทั้งหลาย

ด้วยกรรมนั้น ซึ่งถือปฏิบัติพรั่งพร้อมถึงที่แล้ว ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์

หรือมิฉะนั้น หากมาสู่ความเป็นมนุษย์ จะเกิด ณ ที่ใดๆ ในภายหลัง ก็จะเป็นคนมีโรคน้อย (มีสุขภาพดี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 9 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron