วันเวลาปัจจุบัน 03 พ.ค. 2025, 01:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านกรรมแห่งกรรมจากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=4



กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ



เปรตกับอสุรกายต่างกันอย่างไร



:b47: ถาม เปรตกับอสุรกายต่างกันอย่างไร

:b43: ตอบ ความเป็นจริงแล้ว สัตว์ทั้งสองประเภทนี้เป็นประเภทเดียวกัน คือล้วนแต่มีความทุกข์ยากแสนสาหัส มีความอดอยากเป็นนิจ

แต่เปรตยังดีกว่าอสุรกาย ตรงที่สามารถรับส่วนบุญที่ญาติมิตรจากโลกมนุษย์นี้อุทิศไปให้ ด้วยการอนุโมทนาพลอยยินดีได้ และเมื่อได้อนุโมทนาพลอยยินดีแล้วก็พ้นจากความอดอยากมีอาหารข้าวน้ำบริโภค บางครั้งเมื่ออนุโมทนาแล้วยังพ้นจากสภาพของเปรต เป็นเทวดาได้อีกด้วย

ส่วนอสุรกายนั้นได้รับความอดอยากแสนสาหัสเช่นเดียวกับเปรต แต่ก็ไม่อาจรับส่วนกุศลที่มีผู้อุทิศไปให้ได้ ต้องทนทุกข์อยู่อย่างนั้นจนกว่าจะสิ้นกรรม

ดังจะยกเรื่องของเปรตและอสุรกาย ตามที่มีกล่าวไว้ในอรรถกถา มาเล่าให้ฟัง เพื่อให้ท่านได้เห็นความแตกต่างกันของสัตว์ ๒ ประเภทนี้ชัดเจนขึ้น

ในอรรถกถาเปตวัตถุ อุตตรมาตุเปติวัตถุ ข้อ ๑๐๗ เล่าไว้ว่า
เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว และการกระทำสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรกสำเร็จแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะพร้อมด้วยภิกษุ ๑๒ รูปอาศัยอยู่ในราวป่า ไม่ไกลจากกรุงโกสัมพี
ก็สมัยนั้น อำมาตย์ของพระเจ้าอุเทนคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้จัดการการงานในพระนครสิ้นชีวิตลง พระราชาจึงทรงตั้งอุตตรมาณพ ซึ่งเป็นบุตรของอำมาตย์นั้นเป็นผู้ทำงานในหน้าที่นั้นแทนบิดา
วันหนึ่ง อุตตรมาณพพานายช่างไม้ไปป่า เพื่อต้องการไม้สำหรับซ่อมแซมพระนคร จึงเข้าไปยังที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะ เห็นอิริยาบถอันน่าเลื่อมใสของพระเถระแล้วก็เลื่อมใส ได้กระทำปฏิสันถารกับพระเถระ

พระเถระได้แสดงธรรมแก่เขา เขาฟังธรรมแล้วได้ความเลื่อมใสยิ่งขึ้น ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ ได้นิมนต์พระเถระพร้อมทั้งภิกษุทั้งหลายไปรับอาหารบิณฑบาตที่บ้านของตนในวันรุ่งขึ้น พระเถระรับอาราธนาโดยดุณีภาพ เมื่ออุตตรมาณพกลับไปแล้ว เขาได้บอกแก่อุบาสกคนอื่นให้ทราบว่า ได้นิมนต์พระเถระและภิกษุทั้งหลายให้มาฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ขอเชิญท่านทั้งหลายมายังโรงทานของเรา

ครั้นรุ่งเช้าถึงเวลาอาหารแล้ว อุตตรมาณพก็ได้ถวายภัตตาหารที่ตนตระเตรียมไว้แด่พระเถระและภิกษุทั้งหลาย ๑๒ รูป พร้อมทั้งถวายเครื่องบูชามีดอกไม้ ของหอมเป็นอันมาก ฟังคำอนุโมทนาของพระเถระเมื่อฉันเสร็จแล้ว ด้วยความเคารพเลื่อมใส

เมื่อพระเถระจะกลับ ก็ได้นิมนต์ให้พระเถระและภิกษุทั้งหลายมายังเรือนของตนเนืองๆ พระเถระก็ได้มายังเรือนของเขาเนืองๆ เขาอุปัฏฐากบำรุงภิกษุทั้งหลายอยู่อย่างนี้ พร้อมทั้งตั้งอยู่ในคำพร่ำสอนของท่าน จึงได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

ครั้นแล้วได้สร้างวิหารถวายพระเถระ ทั้งกระทำให้ญาติทั้งหลายของตนทั้งหมดเลื่อมใสในพระศาสนาด้วย

ในขณะที่ อุตตรมาณพเลื่อมใสในพระรัตนตรัย จนได้เป็นพระโสดาบันนั้น มารดาของเขากลับเป็นผู้ตระหนี่ ไม่ยินดีในการถวายทานของบุตรชาย ได้ด่าบริภาษอย่างนี้ว่า “เมื่อเรายังมีความต้องการอยู่ เจ้าให้สิ่งไรแก่พวกสมณะ ขอสิ่งนั้นจงเป็นเลือดแก่เจ้าในปรโลกเถิด”

นางได้ถวายหางนกยูงกำหนึ่งเท่านั้นในวันฉลองวิหาร ครั้นนางทำกาละตายลงได้เกิดเป็นเปรต แต่ด้วยอำนาจของบุญกรรมที่นางได้ถวายกำหางนกยูง นางจึงมีผมงามดำสนิท ละเอียดและยาว แต่ในเวลาที่นางเปรตลงน้ำเพื่อจะดื่มน้ำ น้ำในแม่น้ำก็เป็นเลือด นางเปรตถูกความหิวกระหายครอบงำเที่ยวไปถึง ๕๕ ปี

วันหนึ่งได้เห็นพระกังขาเรวตะเถระนั่งพักกลางวันอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ จึงเอาผมปิดร่างกายเข้าไปขอน้ำดื่มจากพระเถระ

พระเถระจึงว่า น้ำในแม่น้ำนี้ใสสะอาดไหลมาจากภูเขาหิมพานต์ “ท่านจงดื่มน้ำในแม่น้ำนั้นเถิดจะมาขอน้ำกะเราทำไม”

นางเปรตก็บอกว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อใดที่ดิฉันตักน้ำในแม่น้ำนี้ดื่ม น้ำนั้นย่อมจะกลายเป็นเลือดไม่อาจดื่มได้ ดิฉันจึงขอน้ำดื่มจากท่าน”

พระเถระฟังแล้วก็ถามว่า “ท่านได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกายวาจาใจหรือ น้ำในแม่น้ำจึงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่ท่าน”

นางเปรตก็เล่าให้ฟังว่า “ดิฉันมีบุตรคนหนึ่งชื่ออุตตระเป็นอุบาสกมีศรัทธา เขาได้ถวายจีวรบิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัยแก่พระสมณะทั้งหลาย ด้วยความไม่พอใจของดิฉัน ดิฉันถูกความตระหนี่ครอบงำ ด่าว่าเขา เจ้าอุตตระ เจ้าถวายจีวรบิณฑบาต ที่นอน ที่นั่งและคิลานปัจจัยแก่สมณะ ด้วยความไม่พอใจของเรานั้น จงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่เจ้าในปรโลก เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น น้ำในแม่น้ำคงคาจึงกลายเป็นเลือดปรากฏแก่ดิฉัน”

พระเถระได้ฟังดังนั้น จึงถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุสงฆ์อุทิศให้เปรต เที่ยวบิณฑบาตมาได้แล้วถวายแด่ภิกษุทั้งหลาย ถือผ้าบังสุกุลจากกองหยากเยื่อเป็นต้น ซักให้สะอาดแล้วทำให้เป็นที่นอนและหมอนถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยการอุทิศทานที่พระกังขาเรวตะถวายแล้วแก่นางเปรตและนางเปรตอนุโมทนาแล้ว นางเปรตจึงได้ทิพยสมบัติ พ้นจากความเป็นเปรต แล้วได้ไปปรากฏกายให้พระเถระเห็น แสดงทิพยสมบัติแก่พระเถระ

พระเถระเล่าเรื่องของนางเปรตนั้นให้แก่บริษัท ๔ ที่มายังสำนักของท่านฟัง แล้วแสดงธรรม มหาชนฟังแล้วเกิดความสลดสังเวช เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ยินดีในกุศลธรรม มีทานและศีลเป็นต้น นี่เป็นเรื่องของนางเปรตที่พ้นจากความเป็นเปรตด้วยการอนุโมทนา หลังจากต้องอดข้าวอดน้ำอยู่ถึง ๕๕ ปี ด้วยอำนาจกรรมคือผรุสวาจาการด่าลูกชายที่ถวายทานแก่พระมหากัจจายนะและภิกษุทั้งหลาย หากมิได้พบท่านพระกังขาเรวตะ ก็คงยังไม่พ้นจากความเป็นเปรต
คราวนี้ขอเชิญฟังเรื่องของอสุรกาย จากอรรถกถาวิภังคปกรณ์ สัมโมหวิโนทนีอรรถกถาบ้าง อรรถกถาท่านเล่าว่า มีอสุรกายพวกกาลกัญชิกะตนหนึ่งไม่อาจจะทนความกระหายน้ำได้ จึงลงไปยังแม่น้ำใหญ่ทั้งลึกทั้งกว้าง ๑ โยชน์ ในที่ที่อสุรกายตนนั้นลงไปแล้ว น้ำจะขาด มีควันพลุ่งขึ้น เป็นเหมือนเดินไปบนหินดาดร้อนๆ ฉะนั้น เมื่ออสุรกายตนนั้นได้ยินเสียงน้ำ แต่พอวิ่งลงไปตรงไหน น้ำก็ขาดหายไปตรงนั้น อสุรกายนั้นเที่ยววิ่งพล่านไปข้างโน้นข้างนี้อยู่อย่างนั้นตลอดคืนจนรุ่งเช้า

ขณะนั้น ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรประมาณ ๓๐ รูปได้ไปยังที่ภิกขาจารแต่เช้าทีเดียว เห็นอสุรกายตนนั้นเข้าจึงถามว่า “ท่านชื่ออะไร สัปปุรุษ”
อสุรกายตอบว่า “ผมเป็นเปรตเจ้าข้า”
จากคำตอบของอสุรกายที่ตอบว่าผมเป็นเปรตนี้แหละ แสดงว่าเปรตกับอสุรกายนี้เป็นพวกเดียวกันใช้แทนกันได้
คราวนี้ขอเชิญฟังเรื่องนี้ต่อไป เมื่ออสุรกายตอบว่า “ผมเป็นเปรต”
ภิกษุทั้งหลายก็ถามว่า “ท่านแสวงหาอะไรเล่า” อสุรกายตอบว่า “ผมแสวงหาน้ำดื่มเจ้าข้า”
ภิกษุก็กล่าวว่า “แม่น้ำนี้มีน้ำเต็มฝั่ง ท่านไม่เห็นหรือ”
อสุรกายตอบว่า “เห็นเจ้าข้า” แต่มันไม่สำเร็จประโยชน์แก่ผมเลย”
ภิกษุทั้งหลายจึงว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงาย พวกอาตมาจะหยอดน้ำดื่มเข้าไปในปากท่าน”

รูปภาพ

อสุรกายทำตาม นอนหงายลงบนพื้นทราย ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นจึงนำบาตรของตนๆ ตักน้ำมาหยอดปากอสุรกายตนนั้น
เมื่อภิกษุทั้งหลายทำอยู่อย่างนั้นก็ได้เวลาบิณฑบาต จึงถามว่า “ท่านได้รับความพอใจบ้างไหม คือได้ดื่มน้ำบ้างไหม”
อสุรกายตอบว่า “ท่านเจ้าข้าถ้าหากว่าน้ำเพียงกึ่งฟายมือ จากบาตรประมาณ ๓๐ ลูกที่พระคุณเจ้าทั้ง ๓๐ รูปหยอดเข้าปากผมนั้น ถ้าน้ำนั้นเข้าไปสู่ลำคอของผมแม้เพียงน้อยนิดแล้วละก็ ขอความพ้นจากอัตภาพเปรตจงอย่าได้มีแก่ผมเลย”

เป็นอันว่าน้ำสักหยดเดียวจากบาตรถึง ๓๐ บาตรมิได้ล่วงลำคอเปรตเข้าไปเลย เปรตคืออสุรกายตนนั้นก็ต้องทนต่อความกระหายน้ำต่อไปอีก เพราะกรรมของเขาหนักมากจนไม่อาจจะรับความกรุณาจากภิกษุทั้งหลายได้ อสุรกายจึงลำบากกว่าเปรต ทั้งรับความกรุณาจากใครก็ไม่ได้ เพราะบาปกรรมที่ตนทำไว้นั้นหนักเกินกว่าที่ใครๆ จะอนุเคราะห์ได้ อสุรกายจึงต้องทนทุกข์ทรมานอยู่ในภพภูมิที่ตนเกิด นับเป็น ๑-๒ พุทธันดรก็มี

มีท่านผู้รู้ท่านตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เปรตและอสุรกายมีข้อแตกต่างกันดังนี้
เปรตทั้งหลายมีความอดอยากอาหารเป็นสัญลักษณ์เครื่องทรมาน
ส่วนอสุรกายทั้งหลายนั้น มีความหิวกระหายน้ำเป็นสัญลักษณ์เครื่องทรมาน
ทั้งหมดนี้ คือแตกต่างกันของเปรตและอสุรกายตามอรรถกถา

________________________________________
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

อุตตรมาตุเปตวัตถุ

ว่าด้วย บุพกรรมของอุตตรมาตุเปรต
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 835&Z=3859


พระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 16

อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ชานุสโสณีวรรค

ชาณุสโสณีสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 420&Z=6522


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

คำว่า อสุรกาย
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อสุรกาย


คำว่า เปรต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เปรต

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 04 ธ.ค. 2009, 09:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 19:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: :b1: :b1:

เอาเรื่องนี้มาเล่าแล้ว ก็คงต้องบอกวิธีการอุทิศส่วนกุศลให้เขาได้รับมาบอกด้วย...

นะจุ๊ เอ้ย...นะจ๊ะ...

:b16: :b16: :b16:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 8
สมาชิก ระดับ 8
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 ก.พ. 2009, 20:42
โพสต์: 699


 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจว่า อสูรกายและสัตว์นรกนั้น คือชีวิตที่มี "รูป" ที่แน่นอน และอยู่ในอีกโลกหนึ่ง เช่นเดียวกับเทวดาที่อยู่ในอีกโลกหนึ่งเช่นกัน เหตุที่อุทิศส่วนกุศลให้ไม่ได้ เพราะ
1. กำลังจิตไม่เพียงพอที่จะส่งข้ามโลก และ 2. รูปที่แน่นอน ย่อมมีอายุขัยตามที่กำหนด เช่นมนุษย์ก็ขึ้นอยู่กับสังขาร ตามตำราว่า เทวดาขึ้นอยู่กับผลบุญ อสูรกายขึ้นอยู่กับผลกรรม

ส่วนเปรตและเทวดาระดับใกล้ๆ มนุษย์ ไม่มีรูปที่แน่นอน จึงสามารถอุทิศบุญให้ได้ เพราะ
1. อยู่ในโลกเดียวกัน แม้จะต่างมิติ (ระดับของพลังงานใกล้เคียงกัน) และ 2. เมื่อไม่มีรูปที่แน่นอน หากมีบารมีสูงขึ้นจนพ้นภูมิเปรต ก็ไปจุติใหม่ตามภูมิต่างๆ ได้


แก้ไขล่าสุดโดย murano เมื่อ 03 ธ.ค. 2009, 20:00, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมเคยถอดจิตลงไปช่วยน้องกับเทวดาประจำตัว 2 ล้านกว่าองค์แต่ไม่สามารถฉุดอสูรกายน้อยออกจากหล่มได้ เพราะน้องเต็มไปด้วยแรงแค้น ร่ำร้องไห้ คร่าครวญ น่าสงสาร เรื่องกระแสจิตเป็นเรื่องมีจริง ที่คนยอมรับ แต่ไม่ยอมฝึกฝน


แม้แต่น้ำสักหยดเดียวจากบาตรถึง ๓๐ บาตรของพระภิกษุ หรือ เทวดาจำนวนตั้ง 2 ล้านกว่าองค์...ยังช่วยน้องไม่ได้...แล้วจะมีความหวังอะไรเหลืออยู่อีก นอกจากรอให้หมดกรรม...ค่ะ

ใครเคยไปเห็นสภาพความเป็นอยู่ของภพภูมินี้ มาเล่าแบ่งปันให้ฟังบ้างได้มั้ยคะ
ไม่เอานิทาน หรือนิยายนะคะ....ไม่ใช่เบบี๋ ไม่ต้องมาปาฏิหาริย์ :b25:

:b2: :b2: :b2: :b2:
ดิฉันว่าผู้ที่อยู่ในภพภูมินั้นคงได้รับทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส
ก็ไม่รุว่าคนที่อยู่ข้างหลังหรือว่าคนที่ล่วงหน้าไปก่อนจะทุกข์กว่ากัน...เฮ้อออออ...



.....หมั่นสร้างบุญกุศลไว้เป็นเสบียงให้ตัวเอง แน่นอนที่สุดค่ะ ไม่ต้องรอใครอุทิศให้ :b8:

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: เขาอยู่ในภพที่ทับซ้อนกับภพภูมิมนุษย์นี่ละค่ะ มีเป็นหมื่นๆ ภพภูมิ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Bwitch เขียน:
:b1: เขาอยู่ในภพที่ทับซ้อนกับภพภูมิมนุษย์นี่ละค่ะ มีเป็นหมื่นๆ ภพภูมิ


คุณอยากเล่า ก็ลองเล่าดูก็ได้นี่คะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

ดูเหมือนจะมีความหวังสุดท้าย....จริงๆ

อ้างคำพูด:
เมื่อใดระลึกถึงกุศลเก่าได้ หรือมีญาติที่ผูกพันกันแน่นแฟ้นอุทิศส่วนกุศล หรือมีพระที่ชำนาญฌานสมาบัติแผ่เมตตา ชนิดที่มีพลังสะเทือนกระตุ้นเตือนให้รับรู้และอนุโมทนาบุญสำเร็จ
.................Maybe นะคะ



..............ส่วนจำพวกนี้...กรรมไม่ค่อยเยอะ พอจะมีหวัง
พวกนี้มักจะหลุดบ่วงไปไม่ยากนัก เพราะฐานเดิมมีแรงขับดันพร้อมจะส่งไปสู่สุคติภูมิอยู่ก่อนหน้าแล้ว สำคัญคือใครจะมีช่องทางส่งเสบียงไปให้หรือเปล่าน่ะซี นั่นเป็นเรื่องขึ้นอยู่กับคนที่ยังมีชีวิตบนโลกล้วนๆ


:b44: มีบทสวดมนต์อยู่บทหนึ่ง
**มีอานิสงส์แบบไม่มีประมาณ**
....ขอให้มีศรัธทาแรงกล้าและปฏิบัติสม่ำเสมอ เชื่อว่า
แม้หยดน้ำ...ทีละหยดก็กลายเป็นมหาสมุทรได้

รูปภาพ

******ต้องเรียนให้เข้าใจกันก่อนว่าอสุรกายอยู่ในภพภูมิที่ไม่สามารถรับส่วนบุญกุศลใดๆ ได้
ฉะนั้นการอุทิศส่วนกุศลไปให้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ หรือเครื่องนุ่งห่ม จึงไม่มีประโยชน์ค่ะ

แต่....หยดน้ำในมหาสมุทรที่ยกมากล่าวในที่นี้หมายถึง
หยดน้ำแห่งความเมตตาค่ะ คือ การแผ่เมตตาแบบไม่มีประมาณ
มนุษย์อย่างเราๆ สามารถแผ่เมตตาให้กับสรรพสัตว์ในสังสารวัฏได้ทุกภพทุกภมิ
แผ่ได้ไม่มีประมาณ และสามารถแผ่ได้ตลอดเวลาเมื่อใจนึกถึงบุญกุศลที่ทำมาค่ะ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แก้ไขล่าสุดโดย Bwitch เมื่อ 04 ธ.ค. 2009, 09:39, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


เอรากอน เขียน:
Bwitch เขียน:
:b1: เขาอยู่ในภพที่ทับซ้อนกับภพภูมิมนุษย์นี่ละค่ะ มีเป็นหมื่นๆ ภพภูมิ


คุณอยากเล่า ก็ลองเล่าดูก็ได้นี่คะ...

.................
รูปภาพ ม่อนกัวอาหยามจะมาแจก...ยาน..น่ะสิคะ รูปภาพ

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


เปรตได้รับส่วนบุญที่อุทิศไปให้ได้อย่างไร


:b42: ถาม พระคุณเจ้าถามมาว่า อาตมาภาพสงสัยว่า การทำบุญไปให้ผู้ล่วงลับนั้นที่ได้ไปเกิดเป็นเปรตนั้น เขาจะได้รับอย่างไร คำว่าบุญนี้แปลออกมาให้ดี คืออะไรและทำไมต้องอุทิศบุญให้แก่เทวดาด้วย ในเมื่อเทวดามีอาหารทิพย์ ในศาสนาอื่นไม่เห็นเขาทำบุญไปให้กันเลย
อาตมาคิดว่า การทำบุญต้องเป็นของใครของมัน ไม่ใช่แผ่ให้กันได้เมื่อตายแล้ว จริงไหม

:b43: ตอบ เรื่องของการทำบุญอุทิศไปให้ผู้ตายนี้ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระสัพพัญญุตญาณ ทรงรอบรู้ทุกอย่างด้วยพระปัญญา ตรัสรู้ของพระองค์เอง ซึ่งไม่สามารถจะนำเข้าไปเทียบกับศาสนาอื่น ซึ่งมิได้สัพพัญญุตญาณเช่นพระพุทธองค์
ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการนั้นมี
ทาน การให้
ศีล การรักษากายวาจาให้สะอาด
ภาวนา การอบรมจิตใจด้วยสมถะและวิปัสสนา
เวยยาวัจจะ การขวนขวายช่วยเหลือกิจการงานอันชอบธรรมของผู้อื่น
อปจายนะ กระประพฤติอ่อนน้อม
ปัตติทาน การให้ส่วนบุญที่ตนทำแล้วแก่ผู้อื่น
ปัตตานุโมทนา การอนุโมทนาคือชื่นชมยินดีในบุญที่ผู้อื่นกระทำแล้ว
ธัมมัสสวนะ การฟังธรรม
ธัมมเทศนา การแสดงธรรม และ
ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง
ซึ่งบุญประการสุดท้ายนี้คือปัญญา ถ้าทุกคนมีปัญญารู้ทุกอย่างตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะยอมรับการทำบุญที่เหลืออีก ๙ ประการว่า เป็นสิ่งที่เป็นความจริง

จริงอยู่สัตว์ทั้งหลายเป็นไปตามกรรมที่ตนทำไว้ ใครทำดีก็ได้รับผลดี ใครทำชั่วก็ได้รับผลชั่ว ไม่มีใครรับผลของกรรมแทนกันได้ แม้พวกเปรตที่สามารถรับส่วนบุญที่ญาติมิตรอุทิศไปให้จากโลกนี้ได้ ก็เพราะเปรตได้ทำบุญด้วยตนเองในข้อปัตตานุโมทนา คือชื่นชมในบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ ถ้าไม่ชื่นชมอนุโมทนาบุญก็ไม่เกิดแก่เปรต การอนุโมทนานั้นเปรตต้องทำเอง ไม่มีใครทำให้เปรตได้ พวกเราในโลกมนุษย์นี้ทำได้แต่เพียงบุญในข้อปัตติทาน คืออุทิศบุญที่ทำแล้วให้เปรตเท่านั้น ถ้าเปรตยอมรับบุญที่เราอุทิศไปให้ เขาก็จะชื่นฃมอนุโมทนา เมื่อเขาชื่นชมอนุโมทนา บุญก็จะเกิดแก่เปรต แต่ถ้าเปรตไม่ยอมรับหรือไม่ทราบ ไม่ได้ชื่นชมอนุโมทนาบุญก็ไม่เกิดแก่เปรต เปรตก็ไม่ได้รับบุญที่มีผู้อุทิศให้ เมื่อบุญไม่เกิดแก่เปรต เปรตก็ต้องทนทุกข์ทรมานต่อไป แต่ถ้าบุญเกิดแก่เปรต เปรตก็จะพ้นจากความทุกข์ทรมาน

บางครั้งถ้ากรรมของเปรตเบาบาง อนุโมทนาแล้วก็ พ้นจากสภาพเปรตเป็นเทวดาทันที ซึ่งเรื่องเหล่านี้มีเล่าไว้ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ

สำหรับเทวดานั้น แม้ท่านจะมีความสุข มีอาหารทิพย์ แต่ถ้าท่านทราบว่ามีผู้คนในโลกมนุษย์นี้ทำบุญแล้วอุทิศให้ท่าน ท่านก็ยินดีรับ ถ้าท่านเป็นสัมมาทิฏฐิ ท่านก็ชื่นชมอนุโมทนาด้วย บุญในข้อปัตตานุโมทนาก็เกิดแก่ท่าน

แต่การอนุโมทนาของเปรตกับเทวดานั้นต่างกัน เทวดาอนุโมทนาแล้วบุญก็เกิดเทวดาเท่านั้น แต่สำหรับเปรตนั้น เมื่อเปรตอนุโมทนาแล้ว นอกจากบุญจะเกิดแก่เปรตแล้ว เปรตยังได้รับข้าวของอันสมควรแก่ฐานะของเปรต ตรงตามที่ผู้อุทิศไปให้ด้วย เช่นมีผู้ถวายอาหารแล้วอุทิศให้เปรต เปรตอนุโมทนาแล้ว ได้บุญในข้อปัตตานุโมทนาแล้ว ยังได้รับอาหารอันสมควรแก่ฐานะของเปรตด้วย ทำให้เปรตอิ่มหนำสำราญ พ้นจากความหิวโหย หรือเราถวายผ้า เปรตก็จะได้รับผ้าทิพย์ปกปิดร่างกาย ทำให้พ้นจากสภาพเปลือยกายได้ เราถวายน้ำแล้วอุทิศให้ เปรตก็ได้ดื่มน้ำทิพย์พ้นจากความหิวกระหายด้วยอำนาจของการอนุโมทนา

การอุทิศบุญที่ทำแล้วให้เปรตนั้น มิใช่หยิบยื่นของส่งให้ เพราะบุญเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ เกิดที่ใจ เมื่อใดที่ใจเกิดบุญ ใจก็จะผ่องใส ไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ธรรมชาติของบุญก็คือเป็นเครื่องชำระจิตใจให้ผ่องใส ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า บุญเป็นชื่อของความสุข เพราะผู้ที่ทำบุญแล้วย่อมได้รับผลวิบากอันเป็นสุข ด้วยเหตุนี้ บุญจึงเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า ตราบเท่าที่ยังต้องเกิดอยู่

อีกประการหนึ่ง พระที่ท่านฉันอาหารของเรานั้น ท่านก็มิได้เป็นบุรุษไปรษณีย์นำบุญของเราไปส่งให้แก่เปรต ท่านเป็นเนื้อนาที่เราจะหว่านบุญลงไปเท่านั้น พูดง่ายๆ ก็คือ ท่านเป็นปัจจัยให้เราเกิดบุญในข้อทานการให้ เมื่อให้แล้ว เรากรวดน้ำอุทิศไปให้ญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้ว ถ้าเขาไปเกิดเป็นเปรต และทราบว่าเราอุทิศบุญไปให้เขา ถ้าเขาชื่นชมอนุโมทนา บุญและวัตถุทานที่เราอุทิศให้มีข้าว น้ำเป็นต้น ก็จะเกิดแก่เปรตนั้นตามสมควรแก่ฐานะและภพภูมิของเขา ไม่ใช่เราถวายแกงส้ม เปรตก็จะได้กินแกงส้ม ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะแกงส้มไม่ใช่อาหารของเปรต
หวังว่าคำตอบนี้จะช่วยให้พระคุณเจ้าผู้ถาม คลายความสงสัยลงไปได้

________________________________________
ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ปุญญกิริยาวัตถุสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 992&Z=5046



พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

คำว่า บุญกิริยาวัตถุ 3, บุญกิริยาวัตถุ 10
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=บุญกิริยาวัตถุ



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖

อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

ชาณุสโสณีสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 420&Z=6522



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘

ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

ติโรกุฑฑเปตวัตถุ ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตญาติพระเจ้าพิมพิสาร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 021&Z=3052



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

มาตาสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 437&Z=1537



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔

อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

กาลทานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... =900&Z=915



พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕

อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ปุญญวิปากสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... 939&Z=1976


พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗

สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

อันนสูตรที่ ๓
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.ph ... =934&Z=942

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ธ.ค. 2009, 21:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7513

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


tongue
:b1:
ที่มา...หนังสือมหาการุณิโกนาโถ...ได้รับแจกฟรีจากวัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี...
:b44:
...เปรตต่างจากอสุรกายตรงที่...เปรตได้รับความทุกข์เนื่องจากหิวอาหาร...
...ส่วนอสุรกายจะได้รับความทุกข์ความทรมานจากความหิวกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลา
:b16:
...เปตติวิสยภูมิ หรือโลกเปรต...แปลว่าภูมิที่อยู่ของเหล่าสัตว์ที่ห่างไกลจากความสุขสบาย...
...ถึงแม้จะได้รับความทุกข์ทรมานน้อยกว่าสัตว์นรกก็ตาม...มีอายุยืนนานคล้ายสัตว์นรก...
...เปรตส่วนใหญ่ไม่สามารถรับส่วนบุญส่วนกุศลของใครได้...มีปรัทัตตูปชีวีเปรตเท่านั้น...
...ที่สามารถอนุโมทนารับส่วนบุญส่วนกุศลจากญาติมิตรในโลกมนุษย์อุทิศไปให้ได้...
...มีรูปกายเป็นอทิสมานกาย...คือมีกายไม่ปรากฎในวิสัยของตามนุษย์ทั้งหลาย...
...นอกจากตนต้องการจะแสดงให้มนุษย์เห็นเป็นครั้งคราวเท่านั้น...
...ชนิดเปรตคอยอ่านในวัฏสงสาร


http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=27452

:b12:
...อสุรกายภูมิ หรือวินิบาต คือโลกอสุรกาย...แปลว่าภูมิที่อยู่ของเหล่าสัตว์อันปราศจาก...
...ความแช่มชื่นร่าเริง...เป็นโลกที่มีแต่ความชั่วร้ายไม่น่าอยู่ไม่น่าอาศัย...เต็มไปด้วย...
...เหล่าอสุรกายรูปร่างแปลกประหลาดพิสดารน่าเกลียดน่าชัง...ใบหน้าเต็มไปด้วยความทุกข์...
...ปราศจากความสุขรื่นเริงโดยสิ้นเชิง...
โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับเปรตมาก...
...จะต่างกันที่เปรตได้รับความทุกข์เนื่องจากหิวอาหาร...ส่วนอสุรกายจะได้รับความทุกข์...
...ความทรมานจากความหิวกระหายน้ำอยู่ตลอดเวลา
...
จนกว่าจะสิ้นกรรม...
...อันเนื่องมาจากกรรมคือการกระทำอกุศลกรรมด้วยความโลภมากไปด้วยอภิชฌา...
...ความเพ่งเล็งอยากได้ทรัพย์สมบัติของผู้อื่น...
:b48: :b48: :b48:
:b27:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 04 ธ.ค. 2009, 09:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 01:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 31 พ.ค. 2009, 02:41
โพสต์: 5636

แนวปฏิบัติ: พอง ยุบ
ชื่อเล่น: เจ
อายุ: 0
ที่อยู่: USA

 ข้อมูลส่วนตัว www


แล้วโอปะปาติกะ กับสัมภเวสี
ต่างกันอย่างไรค่ะ?
อนุโมทนา สาธุค่ะ :b8:

.....................................................
"มิควรหวังร่มเงาจากก้อนเมฆ"


แก้ไขล่าสุดโดย ทักทาย เมื่อ 04 ธ.ค. 2009, 07:37, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 07:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 พ.ค. 2009, 09:34
โพสต์: 1478

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทไหนคะ...
จะได้ลองเอามาสวดบ้าง เผื่อจะได้ช่วยคุณเป็นหยดน้ำอีกสักหยด


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 09:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


.....โปรดใช้วิจารณญานนะคะ :b16:

ความฝันควบคู่นิมิต

>>
ตามที่ผูเขียนอธิบายบอกกล่าวให้ได้รับรู้ว่า ความฝัน กับนิมิตนั้นแยกกันแทบไม่ออก ถ้าผู้ที่
ฝันหรือนิมิตนั้น มิใช้ผู้ที่ปฏิบัติสวดมนต์ ภาวนา และแยกแยะออกว่าสิ่งใดคือ ความฝัน สิ่ง
ใดคือ นิมิต เรื่องที่ได้เกริ่นไว้ข้างต้นว่าจะเล่านั้น เป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นในคืนที่เขียนบั้น
ทึกเรื่อง ฝึกจิตแก้กรรมโดยโทรจิต กำลังจะเข้าเนื้อเรื่อง
ก็ต้องพักการเขียนดังกล่าว เพื่อที่จะเขียนบันทึกนี้

เรื่องเล่า สวดมนต์ ปลดปล่อยวิญญาณ

เข้าพรรษา ปี 2552 ผู้เขียน ต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากติดเชื้อไข้หวัด
2009 การรักษาตัว เป็นไปด้วยดี นอนรักษาจนล่วงเลยมาถึง วันพุธที่ 4 เดือนสิงหาคม ครบ
7วันอาการที่เจ็บป่วยต่างๆเริ่มดีขึ้น แทบจะกล่าวได้ว่า ร่างกายเป็นปกติ พร้อมจะกลับบ้าน

แล้ว หมอจึงให้ย้ายจากผู้ป่วยเฝ้าระวัง มาพักฟื้นที่ห้องสามัญ ซึ่งห้องสามันดังกล่าวเพิ่ง
เปิดรับคนไข้ รักษาเป็นเวลาได้ไม่นาน ผูเขียนได้มาพักฟื้นในห้องดังกล่าว
คืนแรกกว่าจะหลับได้ก็ประมาณเกือบจะเข้าเช้าวันใหม่ ก่อนนอนด้วยความที่ไม่ได้สวด
มนต์มาหลายวัน จากการไม่สบาย วันนั้นจึงสวดโดยใช้ บทสวด เมตตาพรหมวิหารภาวนา
หรือเมตตาใหญ่และชินบัญชร ซึ่งท่านที่เคยสวดบทสวดมนต์ เมตตาใหญ่ฯ จะทราบกันดีว่า
เป็นบทที่ค่อนข้างยาว ผู้เขียนสวดพอได้ ใช้เวลาในการสวด 1 จบ เกือบครึ่งชั่วโมงจึงไม่ค่อย

ใช้บทสวดนี้มาสวดนัก วันนั้นนึกอยากสวด เพราะเป็นการนอนคืนแรกในห้องสามัญ
ดังกล่าว จึงอันเชิญสวด 1 จบ พร้อมบทสวดชินบัญชรที่ผู้เขียนใช้สวดบ่อยและท่องจำได้
โดยไม่ต้องเปิดหนังสืออ่านตาม พร้อมแผ่เมตตาอย่างที่เคยกระทำในทุกๆครั้ง สวดจนครบ
ดังที่กล่าว ได้นั่งสมาธิประมาณครึ่งชั่วโมง และเข้านอนๆหลับ จิตนิ่งได้นิมิตกึ่งฝันว่า ขึ้น
ไปอยู่ในตึกที่สูง ซึ่งคล้ายกับห้องสามัญที่เรานอนพักฟื้น แต่แตกต่างกันพอประมาณ ได้เห็น
ศพคนตาย นอนสุมกันเป็นกอง มีทั้งหญิงและชายประมา 20 ถึง 30 ศพ เห็นจะได้ ผู้เขียนยืน
มองปลงในร่างกายมนุษย์ และกล่าวในจิตกับสิ่งที่เห็น " เกิดแก่เจ็บตายเป็นสิ่งที่จะต้องเจอ

กันทุกท่านขณะนี้เป็นเวลาท่าน ต่อไปก็ถึงคราวเราต้องเป็นไปทุกคน " ใจหนึ่งก็ปลง ใจหนึ่ง
ก็นึกกลัว กล่าวในจิตกับศพเหล่านั้น พร้องกับอากับกิริยาความกลัวปะปนควบคู่ อยู่ในภวังค์
ได้สักระยะ สิ่งที่เห็น ได้เปลี่ยนสภาพเป็นดวงวิญญาณและกำลังจะร้องบอกอะไรบางอย่าง
กับผู้เขียน ด้วยความที่ผู้เขียนกลัว ยังไม่ทันได้โต้ตอบและรับฟังสิ่งที่วิญญาณเหล่านั้นจะ
เจรจา ผู้เขียนกลับวิ่งหนี ดวงวิญญาณที่กล่าว กลับวิ่งตาม จนตามผู้เขียนทัน และได้ขอให้
ช่วยปลดปล่อยพวกเขาที ผู้เขียนถามกลับแล้วจะให้ทำอย่างไรตัวผู้เขียนไม่มีความสามารถที่

จะทำตามที่ขอให้หรอก ผู้เขียงโต้ตอบกับวิญญาณเสร็จ ก็เดินกึ่งวิ่ง จะหนี ก้าวเดินยังไม่ถึง
สามก้าว ก็ได้มีดวงวิญญาณดวงหนึ่งเป็นเสียงผู้ชาย กล่าวว่า " ท่านทำได้โปรดช่วยเหลือเรา
เถิด " ผู้เขียนกล่าวตอบ" ไม่! เราไม่มีบารมีที่จะสามารถปลดปล่อยพวกท่านได้หลอก
ให้ ไปขอท่านอื่นที่เขาสามารถทำตามที่ท่านร้องขอได้เถิด " ท่านทำได้ ท่านทำได้ ช่วยเรา
ด้วยเถิดขอเพียงท่านรับปากว่าจะช่วย " ผู้เขียนไม่ทราบว่าจะทำอย่าไร ใจก็อยากจะไปให้

พ้นจากวิญญาณเหล่านั้น จึงรับปากช่วย แบบขอไปที "เรารับที่ช่วยแล้ว! เราไปนะ ตัว
ผู้เขียนเดินจากมา ดวงจิตดวงเดิมได้กล่าวขึ้นอีกว่า "เดี๋ยว ท่านบอกจะช่วยให้เราหลุดพ้น
ท่านต้องส่งกุศลให้เราก่อน" ผู้เขียนกำหนดแผ่ส่วนบุญให้กับดวงวิญญาณเหล่านั้น ดวง
วิญญาณเล่านั้นได้รับบุญกุศลที่ผู้เขียนแผ่ให้ ร้องดีใจกันเสียงดังขรม พร้อมกลับกลายเป็น
ดวงจิตเล็กๆมากมากมองเห็นได้รอบๆตัวผู้เขียน ดวงจิตเหล่านั้นมีแสงระยิบระยับเป็นดวง

เล็กๆคล้ายหิงห้อย ล่องลอยขึ้นสู่บนฟ้า ผู้เขียนขึ้นตามไปส่ง ไปได้ประมาณครึ่งทางก็ตกใจ
ตื่น เหตุการณ์หมดที่เกิดขึ้นนั้นผุ้เขียนตื่นขึ้นยังจำได้ทุกเหตุการณ์ที่นิมิตฝัน และได้ถ่ายทอด
เป็นเรื่องเล่าให้คุณผู้อ่านได้อ่าน พร้อมสรุปในเรื่องราวของการนิมิตปนฝันนี้ว่า น่าจะเป็น
จากบทสวดมนต์เมตตาใหญ่ฯ และชินบัญชร ที่ผู้เขียนได้สวดและแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล

ให้กับวิญญาณเหล่านั้น ท่านผู้อ่านๆเรื่องเล่านี้แล้ว ผู้เขียนหวังว่า เรื่องเล่าเรืองนี้จะทำให้
ท่านทราบว่า สิ่งที่มองไม่เห็นรับรู้ได้ ทางฝันและนิมิตอีกทางหนึ่ง และพุทธทานุภาพของ
บทสวดมนต์ ต่างๆที่พระพุทธเจ้าได้เผยแพร่ให้เราชาวพุทธได้ปฏิบัติ เปี่ยมด้วยพุทธทา
นุภาพบารมี ถึงพระองค์ท่านจะ ปรินิพานหมดภพชาติความเป็นมนุษย์
(ตรัสรู้ไปนานแล้ว) พุทธทานุภาพ บารมีของท่านมิมีเสื่อมถอยไปตามกาลเวลา แม้ บทสวด
แม่ตาใหญ่ฯ ผู้เขียนนั้น พึ่งจะนำมาปฏิบัติสวดไม่ถึงสิบครั้ง บารมียังเกิด มีดวงวิญญาณมา

ขอบารมีให้ช่วยปลดปล่อยเขาให้ไปจุติเกิด ณ.ภพภูมิใหม่ " สาธุ ขอให้ดวงวิญญาณเหล่านั้น
สู่สุคติ หมดภพภูมิ ที่จะต้องใช้กรรมทุกข์ทรมาน ไม่ ว่าท่าน ตอนมีชีวิต ท่านจะเป็นสาวก
ของพระผู้เป็นเจ้าพระองค์ใด ปัดนี้ พุทธทานุภาพ ของสมเด็จพระพุทธเจ้า พระพุทธโคดม
ได้ปลดปล่อยท่านให้หลุดพ้น ขอให้ท่านมีภพภูมิที่สูงส่ง จุติเป็นมนุษย์ ได้มาอยู่ในร่มโพธิ์
บารมี ของพระพุทธเจ้าณ.ประเทศไทย สยามประเทศ เถิด " จบเรื่องเล่า สวดมนต์
ปลดปล่อยวิญญาณ>>


.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 10:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

พระคาถานี้เป็นที่คาถาที่แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ไม่มีประมาณ
ไม่ว่าจะเป็นวิญญาน สัมภเวสี หรือ เทวดา เทพ พรหมทั้งหลาย

:b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44: :b44:

เมตตาพรัหมะวิหาระภาวนา พิสดาร (แบบย่อเล็ก)

เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู
อามันเตสิ ภิกขะโวติฯ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
ภะคะวา เอตะทะโวจะ เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา
อาเสวิตายะ ภาวิตายะ พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ
อะนุฏฐิตายะ ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ เอกาทะสานิสังสา
ปาฏิกังขาฯ กะตะเม เอกาทะสะฯ

(๑) สุขัง สุปะติ
(๒) สุขัง ปะฏิพุชฌะติ
(๓) นะ ปาปะกัง สุปินัง ปัสสะติ
(๔) มะนุสสานัง ปิโย โหติ
(๕) อะมะนุสสานัง ปิโย โหติ
(๖) เทวะตา รักขันติ
(๗) นาสสะ อัคคิ วา วิสัง วา สัตถัง วา กะมะติ
(๘) ตุวะฏัง จิตตัง สะมาธิยะติ
(๙) มุขะวัณโณ วิปะสี ทะติ
(๑๐) อะสัมมุฬโห กาลัง กะโรติ
(๑๑) อุตตะริง อัปปะฏิวิชฌันโต พรัหมะโลกูปะโค โหติฯ

เมตตายะ ภิกขะเว เจโตวิมุตติยา อาเสวิตายะ ภาวิตายะ
พะหุลีกะตายะ ยานีกะตายะ วัตถุกะตายะ อะนุฏฐิตายะ
ปะริจิตายะ สุสะมารัทธายะ อิเม เอกาทะสานิสังสา ปาฏิกังขาฯ

อัตถิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
อัตถิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

กะตีหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
กะตีหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
กะตีหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
สัตตะหากาเรหิ โอธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ
กะตะเมหิ ปัญจะหากาเรหิ อะโนธิโส ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติ

สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพ ภูตา สัพเพ ปุคคะลา
สัพเพ อัตตะภาวะปริยาปันนา
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

สัพพา อิตถิโย สัพเพ ปุริสา สัพเพ อะริยา สัพเพ อะนะริยา
สัพเพ จาตุมมหาราชิกาเทวา สัพเพ ตาวะติงสาเทวา
สัพเพ ยามาเทวา สัพเพ ตุสิตาเทวา สัพเพ นิมมานะระตีเทวา
สัพเพ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีเทวา สัพเพ อินทา สัพเพ พรหมา
สัพเพ จตุโลกะปาลา สัพเพ ยมมะราชา สัพเพ ยะมะปาลา
สัพเพ สิริคุตตะระอมัจจา สาสะนัง อนุรักขันตุ
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

สัพเพ ยักขา สัพเพ กุมภัณฑา สัพเพ ครุทธา
สัพเพ กินนรา สัพพา กินนะรี สัพเพ นาคา สัพเพ มะนุสสา
สัพเพ อะมะนุสสา สัพเพ วิริยะปะติกา สัพเพ มิตตา
สัพเพ อมิตตา สัพเพ มัชฌะตา
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

สัพเพ ติรัฉฉา สัพเพ เปติกา สัพเพ เปตา
สัพเพ อะสุระกายา สัพเพ เปตาวัตถุโย สัพเพ เปตวิเสยยา
สัพเพ วินิปาติกา
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

อิมัสมิง จะอาราเม สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

อิมัสสมิง ชมภูทีเป สัพเพ สัตตา อะเวรา อัพยาปัชฌา
อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

อิมัสสมิง มังคลาจักกะวาเฬ สัพเพ สัตตา
อะเวรา อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

ทะสาสุทิสาสุรัฐธิตายะ สัพเพ สัตตา อะเวรา
อัพยาปัชฌา อะนีฆา โหนตุ สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ฯ

อิเมหิ ทะสะหากาเรหิ ทิสา ผะระณา เมตตาเจโตวิมุตติฯ
สัพเพสัง สัตตานัง ปีฬะนัง วัชเชตวา อะปีฬะนายะ อุปะฆาตัง
วัชเชตวา อะนุปะฆาเตนะ สันตาปัง วัชเชตวา อะสันตาเปนะ
ปะริยาทานัง วัชเชตวา อะปะริยาทาเนนะ วิเหสัง วัชเชตวา
อะวิเหสายะ สัพเพ สัตตา อะเวริโน โหนตุ มา เวริโน สุขิโน
โหนตุมา ทุกขิโน สุขิตัตตา โหนตุ มา ทุกขิตัตตาติ อิเมหิ
อัฏฐะหากาเรหิ สัพเพ สัตเต เมตตายะตีติ เมตตาตัง ธัมมัง
เจตะยะตีติ เจโต สัพพะพยาปาทะปะริยุฏฐาเนหิ มุจจะตีติ
วิมุตติ เมตตา จะ เจโตวิมุตติ จาติ เมตตาเจโตวิมุตติ ฯ
เมตตาพรัหมะวิหาระภาวนา นิฏฐิตาฯ

:b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43: :b43:


http://board.palungjit.com/f17/%E0%B8%9 ... 07427.html

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ธ.ค. 2009, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 มิ.ย. 2009, 09:55
โพสต์: 4062

แนวปฏิบัติ: มรณานุสสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: ตรงปลายจมูก

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า "เมตตาเจโตวิมุตติ" หมายถึง

ความหลุดพ้นด้วยกำลังจิตคือสมาธิ
ที่ถึงขั้น โลกียฌานสมาบัติ (ด้วยการเจริญ เมตตากัมมัฏฐาน)

-------------------------------------------------------------------------------------



รวมรวม link ที่เกี่ยวข้องมาไว้ให้ค่ะ


------------------------------------------------------------------------------


เมตตากัมมัฏฐาน จาก พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริเฉท9
http://www.abhidhamo...aphi/p9/047.htm





๑๒. เมตตากัมมัฏฐาน เจริญสมถภาวนาได้ถึงปฐมฌาน
เป็นต้นไปตามลำดับจนถึงแค่ จตุตถฌานเท่านั้น (ในกรณี ปัญจกนัย)





------------------------------------------------------------------------------

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๑
ธรรมสังคณีปกรณ์

จิตตุปปาทกัณฑ์
พรหมวิหารฌาน ๔

http://84000.org/tipitaka/read/?34/190

ดูอัฏฐสาลินี อรรถกถา หน้า 528 ประกอบ


------------------------------------------------------------------------------

พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒
วิภังคปกรณ์


เมตตาอัปปมัญญานิเทศ
http://84000.org/tip...ead/?35/742-743
ดูสัมโมหวิโนทนี อรรถกถา หน้า 485 ประกอบ

เมตตากุศลฌาน จตุกกนัย
เมตตากุศลฌาน ปัญจกนัย
http://84000.org/tipitaka/read/?35/751


------------------------------------------------------------------------------


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

เมตตากถา
http://84000.org/tip...ead/?31/574-587
(อธิบาย ความหมาย อานิสงส์ และ วิธีเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติ อย่างละเอียด)

ดูสัทธรรมปกาสินี อรรถกถา หน้า 543 ประกอบ

------------------------------------------------------------------------------


(เพิ่มเติม)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
เดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ
พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ

[๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
เดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอน
ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า
ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ



http://84000.org/tip.../read/?20/55-56

.....................................................
~ นิพพานัง ปัจจโยโหตุ ~


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 31 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร