วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 11:04  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 22:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b50: :b47: :b49: >> แถวนั่งพื้นหน้าสุด จากซ้าย องค์ที่ ๑, ๓ :
• พระพรหมมุนี (วิชมัย ปุญฺญาราโม) วัดบวรนิเวศวิหาร

• พระอุดมญาณโมลี (หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป) วัดโพธิสมภรณ์


:b50: :b47: :b49: >> แถวที่ ๒ นั่งเก้าอี้ จากซ้าย องค์ที่ ๑-๔ :
• สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


• พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ)
เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รูปที่ ๕
- องค์ใส่แว่นตาดำ

• พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี)
เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส รูปที่ ๙


• สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุ

:b50: :b47: :b49: >> แถวที่ ๓ แถวยืนจากหน้าสุด
จากซ้าย องค์ที่ ๗, ๘, ๙ :

• พระธรรมวราลังการ (หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ)
วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง)

• พระอริยเวที (หลวงปู่มหาเขียน ฐิตสีโล) วัดรังสีปาลิวัน

• สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) วัดราชบพิธฯ


:b50: :b47: :b49: >> องค์ที่อยู่เหนือศีรษะของหลวงปู่ศรีจันทร์พอดี :
• พระเทพสุเมธี (ไพบูลย์ อภิวณฺโณ) วัดศรีโพนเมือง

:b50: :b47: :b49: >> แถวที่ ๓ จากหลังสุด องค์ที่ ๒ จากซ้าย
[ยืนถัดจากพระคุณเจ้าองค์ที่ใส่แว่นตา] :

• พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต) วัดศรีเมือง

องค์ที่ ๔ จากซ้าย :
• พระครูอุดมธรรมคุณ (หลวงปู่มหาทองสุก สุจิตฺโต)
วัดป่าสุทธาวาส


บันทึกภาพร่วมกัน ณ ด้านหน้าพระอุโบสถ
วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱
ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ทางคณะสงฆ์หลังปี พ.ศ. ๒๕๐๐
คดีสะเทือนวงการสงฆ์ครั้งประวัติศาสตร์ !!!!

ซึ่งสร้างความสะเทือนใจให้แก่ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชนเป็นยิ่งนัก
เมื่อพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ทั้งพระมหานิกายและพระธรรมยุต
ถูกการเมืองแทรกแซง ถูกถอดจากตำแหน่งเจ้าอาวาส
ถูกถอดสมณศักดิ์ ถูกจับกุม และถูกบังคับให้ลาสิกขา

พระมหานิกายที่ดำรงตำแหน่งสูงสุด
[เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองหรือชั้นรองสมเด็จ]
ที่ถูกถอดสมณศักดิ์ คือ
“พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)”
อธิบดีสงฆ์หรือเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ ในขณะนั้น
[ต่อมาได้รับสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์
และผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช]
ท่านถูกกล่าวหาว่า เสพเมถุนทางเวจมรรค (ทวารหนัก)
คือรักร่วมเพศกับลูกศิษย์ภายในวัด
และทำอัชฌาจาร (ผิดประเวณี) ปล่อยสุกกะ (น้ำกาม)

ส่วนพระธรรมยุตที่ดำรงตำแหน่งสูงสุด
[เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองหรือชั้นรองสมเด็จ]
ที่ถูกถอดสมณศักดิ์ในคราวเดียวกันนั้น คือ

“พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี)”
เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส ในขณะนั้น
ท่านถูกกล่าวหาว่า อยู่กับสีกาสองต่อสองในที่ลับหูลับตาหลายครั้ง

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

จึงมีพระบัญชาให้ทั้งสองรูปพ้นจากตำแหน่งเจ้าอาวาส
แต่ทั้งสองรูปปฏิเสธ โดยตั้งใจจะต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตน
“คณะสังฆมนตรี” (เทียบได้กับคณะรัฐมนตรีของฝ่ายอาณาจักร) ในยุคนั้นซึ่งมี
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ “สมเด็จพระมหาวีรวงศ์” เป็นสังฆนายก
จึงมีมติว่าทั้งสองรูปฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
ไม่สมควรทรงเพศบรรพชิต และไม่สมควรดำรงสมณศักดิ์ต่อไป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ถอดออกเสียจากสมณศักดิ์
ตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๓ เป็นต้นไป

...๑๕ ปีต่อมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ พระภิกษุหลายรูปพยายามทักท้วง
และยื่นเรื่องขอความเป็นธรรมให้พระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ทั้งสองรูป
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสน์ วาสโน)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช
จึงทรงตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนขึ้นในวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๘
ผลการพิจารณาออกมาว่าพระมหาเถระทั้งสองรูปเป็นผู้บริสุทธิ์

ดังนั้น มหาเถรสมาคม (มส.) ได้มีมติออกคำสั่งที่ ๒/๒๕๑๘
ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๑๘ ให้ระงับอธิกรณ์
(คดีสงฆ์)
ของ “พระอาจ อาสโภ (อดีตพระพิมลธรรม)”
พร้อมกับ “พระปลอด อตฺถการี (อดีตพระศาสนโศภน)”
และให้ถือว่าไม่มีมลทินโทษแต่ประการใด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้พระมหาเถระทั้งสองรูปกลับคืนมีสมณศักดิ์ดังเดิม
ตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นต้นไป


:b39:

อนึ่ง หลังจากที่อดีตพระพิมลธรรมถูกคุมขังที่สันติบาล
หรือ “สันติปาลาราม” เป็นเวลานานถึง ๕ ปี หรือนับวันได้ ๑,๖๐๓ วัน
(ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๕
ถึงวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๙)

เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ เหล่าศิษยานุศิษย์ผู้เคารพนับถือ
พากันประท้วงร้องเรียนถึงความเป็นธรรม
จนนำไปสู่การตัดสินของศาลทหาร
พิพากษายกฟ้องรับรองความบริสุทธิ์ของท่าน
ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๙ มีใจความในตอนท้ายของคำพิพากษา
(คำพิพากษายาวมาก หนังสือขนาด ๑๖ หน้ายก ถึง ๖๘ หน้า) ว่า


“ตามที่ศาลได้ประมวลวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามฟ้อง
และข้อกล่าวหามาหลายข้อหลายประเด็นนี้ มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง
ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดๆ เลย
พอที่จะชี้ให้เห็นว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือน่าจะกระทำผิด


การจับกุมคุมขังจำเลยนี้ย่อมเป็นที่เศร้าหมองและน่าสลดใจ
ในวงการคณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนมาก ท่านประธานศาลฎีกาก็ดี
พระเถระผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยก็ดี ซึ่งเป็นพยาน
ต่างก็กล่าวเป็นทำนองเดียวกันว่าจำเลยนี้เป็นผู้ประกอบแต่กุศลกรรม
กระทำกิจพระศาสนาแผ่ไพศาลไปทั้งในและนอกประเทศ
ทั้งในทางปริยัติศาสนา และปฏิบัติศาสนา
มีผลประจักษ์ชัดเป็นหลักฐานมาก ไม่เชื่อว่าได้กระทำผิด
แต่กลับมาต้องถูกออกจากเจ้าอาวาส ถูกออกจากสมณศักดิ์
ถูกจับกุม ถูกบังคับให้สละเพศพรหมจรรย์
นับว่ารุนแรงที่สุดสำหรับพระเถระผู้ใหญ่ที่ปวงชนเคารพนับถือ


พระธรรมโกศาจารย์
(หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ - สาวิกาน้อย) ถึงกับกล่าวว่า
คิดได้อย่างเดียวว่า เกิดขึ้นเพราะความอิจฉาริษยากันในวงการสงฆ์
หรือมิฉะนั้นก็เป็นกรรมเก่าของจำเลยเท่านั้นเอง


พันโทประเสริฐ สุดบรรทัด ผู้ฝักใฝ่ในธรรมผู้หนึ่งกล่าวว่า
ตามที่จำเลยต้องคดีนี้ ได้สืบสวนด้วยตัวเองทราบเบื้องหลังโดยตลอด
แต่จะเบิกความก็เกรงจะกระทบกระเทือนแก่วงการพระภิกษุสงฆ์และพระศาสนา
ขอสรุปว่า มูลกรณีทั้งหลายตามที่ทราบความจริงมา
จำเลยถูกกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรมจริงๆ ไม่ได้กระทำผิดตามกล่าวหา

ดังนั้น ศาลจึงขอให้จำเลยระลึกว่าเป็นคราวเคราะห์หรือกรรมเก่าของจำเลยเอง
หรือมิฉะนั้นก็เป็นการสร้างบาปของคนมีกิเลส ไม่ใช่ความผิดของผู้ใด
แต่เป็นความผิดของสังสารวัฏเอง ศาลนี้รู้สึกสลดใจและเห็นใจจำเลย
แต่เชื่อว่าจำเลยซึ่งอบรมอยู่ในพระศาสนามานาน
คงจะซาบซึ้งดีในอุเบกขาญาณที่ว่า สัตว์ทั้งปวงมีกรรมเป็นกำเนิด
มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำกรรมใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม
ก็จะเป็นกรรมทายาทรับผลของกรรมนั้น
และคงจะตั้งอยู่ในคุณธรรมอันเป็นลักษณะของบัณฑิตในพระพุทธศาสนาสืบไป
อาศัยเหตุผลและดุลพินิจที่ได้วินิจฉัยมา
จึงพร้อมกันพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยจำเลยพ้นข้อหาไป”


ลงชื่อ พ.อ.ปาน จันทรานุตร ประธานตุลาการ
ลงชื่อ พ.อ.มณีรัตน์ จารุจินดา ตุลาการพระธรรมนูญ
ลงชื่อ น.ท.โปร่ง ชื่นใจ ร.น. ตุลาการ
พ.อ.มณีรัตน์ จารุจินดา เรียง
พ.อ.อ.ขจาย ขจรเนติยุทธ์ พิมพ์-ทาน
๓๐ สิงหาคม ๒๕๐๙


:b39:

หลังจากนั้นอดีตพระพิมลธรรมได้นุ่งสบงครองจีวร
พาดสังฆาฏิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เป็นที่ปลื้มปีติโสมนัส
แก่พุทธบริษัทที่มาประชุมฟังการพิจารณาครั้งนี้อย่างคับคั่ง
มีพระภิกษุสามเณรประมาณ ๑,๐๐๐ รูป
คฤหัสถ์ประมาณ ๓๐๐ คน ล้นแน่นศาลไปหมด

จากเหตุการณ์ที่ศาลได้รับรองความบริสุทธิ์
อดีตพระพิมลธรรมแล้วนั้น
ผู้คนต่างศรัทธาต่ออดีตพระพิมลธรรมเป็นอย่างมาก
มีการชุมนุมเรียกร้องขอความเป็นธรรมให้ท่าน เช่น
การขอให้เพิกถอนพระบัญชาความผิดคืน
การขอพระราชทานสมณศักดิ์กลับคืน
ขอคืนตำแหน่งเจ้าอาวาสดังเดิม เป็นต้น

ผลจากความบริสุทธิ์ในครั้งนี้ทำให้พระพิมลธรรม
ได้รับความเจริญงอกงามในทางพระพุทธศาสนา
ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นถึงสมเด็จพระราชาคณะที่
“สมเด็จพระพุฒาจารย์”
และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱⊰⊱

:b8: :b8: :b8: หมายเหตุ : รวบรวมและเรียบเรียงเนื้อหาเกี่ยวกับ
การถอดและการคืนสมณศักดิ์ของพระมหาเถระชั้นผู้ใหญ่ทั้งสองรูปดังกล่าวจาก...
- หนังสือ คดีประวัติศาสตร์สงฆ์ไทย ชัยชนะพระพิมลธรรม
- หนังสือ ข้อเท็จจริงกรณีพระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ)
และพระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี) ถูกรุมรังแกโดยความไม่เป็นธรรม
- หนังสือ ผจญมาร บันทึกชีวิต ๕ ปีในห้องขังของพระพิมลธรรม (อาสภมหาเถร)


:b44: พระพิมลธรรม กับ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=59027

:b44: ความอัศจรรย์แห่งสมณศักดิ์ “พระสาสนโสภณ”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=50748

:b44: ประวัติและความสำคัญ...วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายแห่งแรกในประเทศไทย

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=19342

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2019, 22:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

คณะสงฆ์วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร
(วัดราชาธิวาสวิหาร)

ในสมัย “พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี ป.ธ.๙)”
ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส (พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๕๐๕)
บันทึกภาพ ณ ลานหินหน้าพระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร

พระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี ป.ธ.๙)
ได้มรณภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๑
ราวเวลา ๐๕.๐๐ น. ณ ตึกแดง คณะเหนือ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร
สิริอายุรวมได้ ๗๖ ปี ๑๑ เดือน ๒๔ วัน พรรษา ๕๗


:b47: :b49: :b47:

:b8: ขอกราบขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ :
ท่านพระอาจารย์ Teerawit Sukontavaranon


รูปภาพ

รูปภาพ

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2019, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


ภาพประวัติศาสตร์ !!!

รูปภาพ

รถพระประเทียบ (รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช)
MERCEDES-BENZ (W110) 200D สีเหลือง
เลขทะเบียน ร.ย.ล. 19 (ราชยานยนต์หลวง 19) เป็นรถที่
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร
ใช้ประทับแล้วเกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้พระองค์สิ้นพระชนม์


วันสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ ในเช้าวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ทรงรับกิจนิมนต์เสด็จไปเสวยเช้าที่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ
พอตอนสายก็มีกิจต่อเนื่องเสด็จไปในงานพระราชทานเพลิงศพ
พระครูอุดมสมณคุณ (เติม ทองเสริม) อดีตเจ้าอาวาส
วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง) อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
อันเป็นเหตุให้ทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์สิ้นพระชนม์
โดยในช่วงเย็นยังมีกำหนดที่จะเสด็จไปเผาศพญาติ
ที่วัดเวฬุราชิน ย่านธนบุรี กรุงเทพมหานคร อีกด้วย

เหตุการณ์คราวสิ้นพระชนม์เกิดขึ้นขณะขบวนรถพระประเทียบ
กำลังแล่นไปตามถนนสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา
บนทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๔ ในระหว่างขึ้นสะพานแถวๆ ถ.บางนา-ตราด
ระหว่างกิโลเมตรที่ ๑๐-๑๑ ต.บางแก้ว อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ
มีรถตำรวจทางหลวงแล่นนำขบวน และปิดท้ายขบวนดังเช่นเคย
ทันใดนั้นรถยนต์คันหนึ่งที่ขับสวนทางมาอย่างเร็ว
ก็พุ่งเข้าชนรถพระประเทียบอย่างแรงจนตกถนน
เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันเพราะเกิดขึ้นได้ยากมาก
รถพระประเทียบพลิกคว่ำในสภาพพังยับเยิน
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ถูกนำส่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดสมุทรปราการ
แต่เนื่องจากพระอาการหนักมาก
จึงต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลตำรวจ ที่กรุงเทพฯ ทันที
แต่ก็ทรงสิ้นพระชนม์ลงในระหว่างทางนั้นเองเมื่อเวลา ๑๐.๐๕ น.
การสิ้นพระชนม์กะทันหันครั้งนั้น
ทำให้พุทธบริษัททั่วโลกตกตะลึงและเสียดายอาลัยเป็นล้นพ้น


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ สิ้นพระชนม์โดยอุบัติเหตุ
ณ วันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ เวลา ๑๐.๐๕ น.
ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือนยี่ ปีกุน ตรีศก จ.ศ. ๑๓๓๓
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

ทรงดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์ ๑๗ ปี
ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ๓ พรรษา
ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ๕๔ พรรษา
ทรงเป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ๒๗ พรรษา
ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๗ พรรษา (๖ ปี กับ ๒๒ วัน)
สิริพระชนมายุได้ ๗๓ พรรษา ๑๑ เดือน ๒ วัน


องค์กรชาวพุทธทั่วโลกเมื่อทราบข่าวเศร้าสลดนี้
ได้ส่งคำไว้อาลัยมายังรัฐบาลและคณะสงฆ์ไทย
รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการลดธงลงครึ่งเสา ๓ วัน
และข้าราชการไว้ทุกข์ ๑๕ วัน เพื่อถวายความอาลัย
ในขณะที่พระราชสำนักประกาศไว้ทุกข์ ๑๕ วัน
ส่วนพระศพนั้นทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบำเพ็ญกุศล
ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร (วัดบวรนิเวศ ราชวรวิหาร)


เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงได้รับพระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ให้ทรงพระศพ
และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์
สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๕


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
พระราชทานพระราชดำรัสแก่ประชาชนชาวไทย
เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๑๕

เมื่อวันศุกร์ที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔ ณ พลับพลาท้องสนามหลวง
ถึงการสูญเสียพระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย มีความตอนหนึ่งว่า

“ก่อนจะสิ้นปีนี้เอง เหตุการณ์ที่คิดไม่ถึงและไม่น่าจะเกิด ได้เกิดขึ้น
สมเด็จพระสังฆราช ต้องสิ้นพระชนม์โดยปัจจุบัน ด้วยอุบัติเหตุ
ทำความสะดุ้งสะเทือนและความเศร้าสลดใจแก่เราอย่างหนัก

สมเด็จพระสังฆราชพระองค์นั้น ทรงเป็นอภิปูชนียบุคคล ผู้ควรเคารพยิ่ง
เพราะทรงเป็นที่ตั้งแห่งคุณความดี ทรงเป็นตัวอย่างของกัลยาณบุคคล
ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณธรรมและความสะอาดสุจริต ทรงแผ่ความเมตตาแก่คนทุกคน
ไม่เลือกหน้า ทรงเพียรพยายามประกอบกรณียกิจทุกๆ ด้าน
เพื่อเกื้อกูลความสุขของมวลชนทุกหมู่ทุกเหล่า ไม่ว่าชาติศาสนาใด
ด้วยความเที่ยงตรง แน่วแน่และเสียสละ


ท่านทั้งหลายรำลึกถึงพระองค์ท่านดังนั้นแล้ว
ควรที่จะน้อมนำมาคิดให้เห็นแจ้งจริงแก่ใจว่า
ทุกวันนี้ที่บ้านเมืองและตัวท่านมีความสวัสดีอยู่ได้
ก็เพราะมีผู้ที่ถือมั่นในสุจริตธรรม
พยายามปฏิบัติและแผ่ความดีให้เป็นประโยชน์ถึงผู้อื่น

เพราะฉะนั้น ทุกคนจะต้องร่วมกันรักษาความดีงาม
ให้ดำรงมั่นคงอยู่ในแผ่นดิน เพื่อความเป็นปึกแผ่น
ความผาสุกและความก้าวหน้าของประเทศชาติและของคนไทยทุกถ้วนหน้า”



:b8: :b8: :b8: ที่มา >>> พระประวัติและพระปฏิปทา
สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=20007

:b50: :b49: การถอดและการคืนสมณศักดิ์ของ ๒ พระมหาเถระ
พระพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) และพระศาสนโศภน (ปลอด อตฺถการี)
กับ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=57293

:b50: :b49: “คณะสังฆมนตรี” ชุดสุดท้ายในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทย
ในยุคสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) เป็นสังฆนายก

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=49524

:b50: :b49: “สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)”
เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร ลำดับ ๕

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=47918

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2019, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2020, 10:52 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b20:
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร