วันเวลาปัจจุบัน 14 ก.ย. 2024, 05:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2016, 12:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b44: เคล็ดลับของ “สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=55428

:b44: พระศรีสรรเพชญ์ และพระศรีศากยมุนี (หลวงพ่อโต)
๒ องค์พระประธาน วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=44986

:b50: :b49: :b50:
ประมวลภาพ
“สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)”


วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร
แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


รูปภาพ

รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : อาจารย์ชลทัต สุขสำราญ

รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2016, 12:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2016, 12:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ
:b8: ขอขอบพระคุณที่มาของรูปภาพ : อ.ชลทัต สุขสำราญ (แอ๋ม)

รูปภาพ

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่
“พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส”
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต (มีพระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา)
ทรงฉายพระรูปหมู่ร่วมกับพระมหาเถรานุเถระ
พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ในยุคนั้น
หลังเสร็จการพระราชพิธีเฉลิมพระที่นั่งวิมานเมฆ
พระที่นั่งไม้สักทองทั้งหลัง ภายในพระราชวังดุสิต
เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๔๔ (ศักราชแบบเก่า)

พระรูปนี้เป็นภาพถ่ายฝีพระหัตถ์
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


:b49: :b47: :b49:

>>>>> ในภาพตามหมายเลขมีรายนาม ดังนี้

๑. พระเทพเมธี (ครุฑ จนฺทโชติ) วัดสามพระยา
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชกวี

๒. พระพิมลธรรม (นาค สุมนฺนาโค) วัดอรุณราชวราราม
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระศรีสมโพธิ์

๓. พระราชโมลี (แจ่ม โกวิทญาโณ) วัดราชบูรณะ

๔. พระอมรโมลี (หรุ่ม พรฺหมฺโชติโก) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

๕. พระราชเมธี (ท้วม กณฺณวโร) วัดพิชยญาติการาม

๖. พระธรรมเจดีย์ (แก้ว มณีรตฺโน) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

๗. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์ ธมฺมสิริ) วัดอรุณราชวราราม

๘. พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย จนฺทสิริ) วัดกัลยาณมิตร

๙. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระอมราภิรักขิต


๑๐. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศที่
“พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส”
เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต (มีพระชนมายุได้ราว ๔๐ พรรษา)


:b45: ๑๑. สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

๑๒. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ ญาณฉนฺโท)
วัดระฆังโฆสิตาราม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพเมธี

๑๓. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ยัง เขมาภิรโต) วัดโสมนัสวิหาร

๑๔. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อครั้งทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพโมลี

๑๕. พระสาสนโสภณ (อ่อน อหึสโก) วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม

๑๖. สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์

๑๗. พระพุฒาจารย์ (มา อินทฺสโร) วัดจักรวรรดิราชาวาส
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระมงคลทิพยมุนี



:b8: :b8: :b8: พระรูปจากกระทู้...
“สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)”

http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=23335

:b50: :b49: :b50:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2021, 09:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

เรื่องเล่าวันพระ : เคล็ดลับของสมเด็จพระวันรัต
สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)
เขียนเล่าเรื่องโดย...พระไพศาล วิสาโล


:b50: :b49: :b50:

พูดถึงสมเด็จพระวันรัต วัดมหาธาตุ
คนเฒ่าคนแก่ที่ใกล้ชิดวัดสักหน่อย
มักจะนึกถึง สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)
ซึ่งเป็นผู้สนองงานคนสำคัญฝ่ายมหานิกาย
ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
แต่ที่จริงยังมีสมเด็จพระวันรัตอีกองค์หนึ่ง
ซึ่งเจ้าคุณสมเด็จเฮงถือเป็นอาจารย์
นั่นคือ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต อุทโย)

เมื่อเจ้าคุณสมเด็จฑิตล่วงสู่วัยชรา
ท่านได้มอบอำนาจการบริหารและการศึกษาของวัด
ให้อยู่ในมือของเจ้าคุณสมเด็จเฮง (ซึ่งตอนนั้นเป็นพระเทพเมธี) หมด
แต่แม้อายุถึง ๘๐ ปี ท่านก็ไม่หลง
มีอาจาระงดงาม เป็นที่เคารพนับถือของพระเณรในวัด


คราวหนึ่งมีพระหนุ่มขึ้นไปกราบเรียนถามท่านว่า
ท่านทำอย่างไรจึงมีศีลาจารวัตรและสติสัมปชัญญะบริบูรณ์แม้อายุปูนนี้แล้ว
แทนที่ท่านจะตอบ กลับเปรยขึ้นมาว่า
“หมู่นี้เวลาพระตีระฆัง หมาหอนกันแปลกเหลือเกิน
มหาสงครามในยุโรป (สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง) จะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้าประชวร จะหายหรือไม่ ก็ไม่รู้ได้
ถ้าพระองค์ท่านเป็นอะไรไป
การพระศาสนาจะกระทบกระเทือนเพียงใด ก็เหลือที่จะเดาได้”


พระหนุ่มได้ฟังก็นึกว่า เจ้าคุณสมเด็จท่านจะเริ่มหลงเสียแล้วกระมัง
เพราะที่ท่านพูดมานั้นไม่เกี่ยวข้องกับคำถามที่ตรงไหน
แต่สักพัก ท่านก็หันมาแล้วพูดว่า
“ที่เธอถามฉันว่ามีกิจวัตรอันใดที่ช่วยค้ำจุนใจ
ให้ประพฤติพรหมจรรย์มาได้จนทุกวันนี้นั้น
ฉันจะบอกให้ ว่าฉันถือหลักอยู่ ๓ สูตร ท่องขึ้นใจอยู่เสมอ
ถ้าอยู่คนเดียวแล้ว เป็นต้องท่องเอาไว้
ท่องถอยหน้าถอยหลังได้โดยตลอด ถ้ามีแขกก็หยุดไว้
มีกิจอื่นต้องทำก็ทำ เช่น อ่านหนังสือพิมพ์ เซ็นหนังสือ ตอบปัญหา
เมื่อหมดกิจแล้ว ท่องค้างไว้ที่ไหน ก็ท่องต่อไปจากนั้น
โดยรำลึกนึกตามข้อความนั้นไปตลอดเวลา”


:b44: สูตรทั้งสาม ได้แก่

๑) พระภิกขุปาฏิโมกข์ ท่านขยายความว่า
ท่านท่องพระปาฏิโมกข์เป็นนิจ
เพื่อตรวจตราดูว่าได้ล่วงสิกขาบทข้อใดบ้าง
เมื่อรู้ว่าผิดพลาด ก็ทรงจำไว้ แล้วนำไปปลงอาบัติ
ถ้าไม่ถือตามพระปาฏิโมกข์อย่างเคร่งครัด ก็เป็นพระอลัชชี
อยู่ในพรหมจรรย์ไม่ได้ ถึงอยู่ไปก็เป็นคนลวงโลก


๒) มูลกัจจายน์ หรือตำราภาษาบาลี
ท่านอธิบายว่า ท่านเรียนภาษาบาลีแบบเก่า อาศัยคัมภีร์นี้เป็นแม่บท
ที่รู้พระไตรปิฎกแตกฉานก็อาศัยคัมภีร์นี้
ท่านว่าท่านต้องท่องสูตรและแม่บทแห่งภาษาบาลีให้คล่องแคล่ว
หากมีพระรุ่นใหม่มาถามแล้วท่านตอบเขาไม่ได้
เขาก็จะหาว่าเจ้าคุณสมเด็จหลงแล้ว หรือความรู้สู้เขาไม่ได้แล้ว
ถ้าเขาเกิดความคิดเช่นนี้ จะเป็นบาปแก่เขาเพราะการไม่เคารพผู้ใหญ่

๓) มหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่า สติปัฏฐานเป็นทางเอก
ที่จะช่วยให้เราพ้นจากวัฏสงสาร ที่ท่านมาบวชก็เพื่อทำตนให้พ้นทุกข์
ดังนั้น จึงท่องพระสูตรนี้เป็นประจำ พร้อมกับพิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม
อยู่เป็นประจำ ท่านขยายความว่า ถึงแม้จะไม่ได้เป็นพระอริยบุคคล
แต่ท่านก็เพียรพยายามตามนั้นอยู่ตลอดเวลา
“ยศถาบรรดาศักดิ์ อัครฐาน เพียงช่วยให้ฉันบริหารงานพระศาสนา
เพื่อประโยชน์และความสุขของมหาชนเท่านั้น
แต่ฉันก็ไม่ลืมที่จะทำหน้าที่อนุเคราะห์ตัวเองด้วยเช่นกัน”


ท่านกล่าวกับพระหนุ่มว่า วัตรปฏิบัติดังกล่าวท่านทำเป็นประจำสม่ำเสมอ
จนบัดนี้จึงยังไม่หลงใหล โลกธรรมไม่อาจกล้ำกรายได้
ที่ผ่านมายังไม่เคยบอกใครเรื่องนี้ แต่เมื่อถูกถามจึงบอกให้รู้


เคล็ดลับดังกล่าวประทับแน่นในใจของพระหนุ่มรูปนั้น
กาลเวลาล่วงเลยมาหลายสิบปีจนพระหนุ่มได้กลายเป็นชายชรา
กลับไปครองเพศฆราวาสที่อุทัยธานีบ้านเกิด
เรื่องราวดังกล่าวคงจะหายไปพร้อมกับชีวิตของชายชราผู้นั้น
หากมิใช่เป็นเพราะมีชายหนุ่มคนหนึ่งมาสนทนาพูดคุยด้วย
ชายหนุ่มรู้เรื่องวัดวาอารามดี เมื่อคุยกันถึงเจ้าคุณสมเด็จเฮง
และเจ้าคุณสมเด็จฑิต ชายชราจึงเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง นั่นเป็นปี พ.ศ. ๒๕๐๗
เวลาผ่านไป ๑๔ ปี เรื่องนี้จึงได้ถูกถ่ายทอดเป็นข้อเขียนโดยชายหนุ่มผู้นั้น
ซึ่งเวลานั้นได้กลายเป็นนักเขียนชั้นนำแล้ว มีนามปากกว่า ส.ศิวรักษ์

๓๐ กว่าปีผ่านไป ทุกวันนี้คงแทบไม่มีใครรู้จักข้อเขียนชิ้นนั้นแล้ว
เพื่อไม่ให้เรื่องนี้สูญหายไป จึงขอนำมาเล่าซ้ำอีกครั้ง


:b50: :b49: :b50:

:b47: ประมวลภาพ “สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=50335

:b47: รวมคำสอน “พระไพศาล วิสาโล”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=42477


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ก.พ. 2024, 13:54 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2884


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร